สารบัญ
24 ความสัมพันธ์: บรรยากาศชีวมณฑลการรับรู้จากระยะไกลภูมิภาคภูมิศาสตร์ภูมิศาสตร์กายภาพภูมิศาสตร์ภูมิภาคภูมิศาสตร์มนุษย์ภูมิศาสตร์สิ่งแวดล้อมมนุษย์ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์รัฐบาลวิทยาธารน้ำแข็งสมาคมเนชั่นแนล จีโอกราฟิกสมุทรศาสตร์อุทกวิทยาอุตุนิยมวิทยาธรรมชาติธรณีภาคธรณีสัณฐานวิทยาประเทศเยอรมนีแฟรงก์เฟิร์ตแผนที่โยฮันเนิส เฟอร์เมร์
- สาขาวิชา
บรรยากาศ
มุมมองของชั้นบรรยากาศที่ตื่นตัวของดาวพฤหัสบดี รวมทั้งจุดแดงใหญ่ (Great Red Spot) บรรยากาศ หมายถึงชั้นแก๊สชนิดต่าง ๆ ที่ปกคลุมอยู่ทั่วดาวเคราะห์หรือวัตถุท้องฟ้านั้น ๆ ซึ่งจะแตกต่างกันไปในแต่ละดาว บางดาวไม่มีชั้นบรรยากาศ สำหรับบรรยากาศของโลกนั้นเป็นอากาศที่ห้อหุ้มโลก ประกอบไปด้วยไนโตรเจน, ออกซิเจน และแก๊สอื่น ๆ มีขอบเขตนับจากระดับน้ำทะเลขึ้นไปประมาณ 1000 กิโลเมตรโดยเฉลี่ย ดาวเคราะห์ชั้นในมีส่วนประกอบเป็นแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เป็นหลัก ส่วนดาวเคราะห์ชั้นนอกมีไฮโดรเจน, ฮีเลียม และแก๊สอื่นๆ เป็นหลัก.
ชีวมณฑล
ีวมณฑล (Biosphere.) จากβίος "ชีวิต" และ σφαῖρα (sphaira) หรือทรงกลม เป็นผลรวมทั่วโลกของระบบนิเวศทั้งหมด นอกจากนี้ยังสามารถที่เรียกว่าโซนของสิ่งมีชีวิตบนโลก ซึ่งเป็นระบบปิด (นอกเหนือจากรังสีจากดวงอาทิตย์ รังสีจักรวาล และความร้อนจากชั้นหินร้อนภายในของโลก) และระบบที่ปรับสมดุลตัวเองได้ ภายใต้นิยามที่กว้างที่สุดในทางชีวกายภาพของดาวเคราะห์ (biophysiological) ชีวมณฑล คือ ระบบนิเวศในระดับดาวเคราะห์ที่ควบรวมเอาสิ่งมีชีวิตทั้งหมด และความสัมพันธ์ทั้งระหว่างกันเอง กับทั้งปฏิสัมพันธ์กับองค์ประกอบต่างๆของธรณีภาค ปฐพีภาค อุทกภาค และชั้นบรรยากาศ มาไว้ด้วยกัน มีการสันนิษฐานว่าชีวมณฑลมีการวิวัฒนาการ มาตั้งแต่ต้นกำเนิดของชีวิตบนโลก ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการกำเนิดชีวิตจากสิ่งไร้ชีวิต (biopoiesis) หรือ กระบวนการกำเนิดชีวิตจากสิ่งมีชีวิต (biogenesis) ซึ่งเริ่มต้นขึ้นอย่างน้อยเมื่อ 3.5 พันล้านปีก่อน หมวดหมู่:สมุทรศาสตร์ หมวดหมู่:ระบบชีวภาพ.
การรับรู้จากระยะไกล
รดาร์ช่องเปิดสังเคราะห์บริเวณหุบเขามรณะ ผสมสีด้วยการโพลาไรซ์ การรับรู้จากระยะไกล (remote sensing) เป็นการได้มาซึ่งข้อมูลเกี่ยวกับวัตถุหรือปรากฏการณ์โดยปราศจากการสัมผัสทางกายภาพกับวัตถุหรือปรากฏการณ์นั้นๆ โดยตรง การรับรู้จากระยะไกลถูกนำมาใช้ในหลายสาขาโดยเฉพาะในสาขาภูมิศาสตร์ การสำรวจรังวัดที่ดินและวิทยาศาสตร์โลก เช่น อุทกวิทยา นิเวศวิทยาGiacomo Capizzi, Grazia Lo Sciuto, Marcin Wozniak, Robertas Damasevicius:, ICAISC (2) 2016: 613-623 สมุทรศาสตร์ วิทยาธารน้ำแข็ง และธรณีวิทยา รวมถึงด้านการทหาร การสืบราชการลับ การค้า เศรษฐกิจ การวางแผน และการใช้งานด้านมนุษยธรรม ในปัจจุบันการรับรู้จากระยะไกลโดยทั่วไปหมายถึงการใช้เทคโนโลยีการรับรู้ทางอากาศในการตรวจสอบและจำแนกประเภทวัตถุบนโลกทั้งบนพื้นผิว มหาสมุทร และชั้นบรรยากาศของโลกด้วยหลักของการกระจายของคลื่น เช่น คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งอาจแบ่งประเภทออกเป็นเป็นการรับรู้ระยะไกลแบบใช้พลังงานในตัวเอง (active remote sensing) เมื่ออากาศยานหรือดาวเทียมมีการปล่อยสัญญาณด้วยตัวเอง หรือการรับรู้ระยะไกลแบบไม่ใช้พลังงานในตัวเอง (passive remote sensing) โดยได้รับข้อมูลจากการสะท้อนของพลังงานอื่น ๆ เช่น แสงอาทิต.
ดู นักภูมิศาสตร์และการรับรู้จากระยะไกล
ภูมิภาค
ูมิภาค (region) เป็นคำที่ใช้โดยทั่วไปทางภูมิศาสตร์ที่มีความหมายแตกต่างกันไปหลายอย่างตามแต่สาขาวิชาภูมิศาสตร์ โดยทั่วไปแล้วภูมิภาคหมายถึงบริเวณของบริเวณบนบกหรือในน้ำที่เล็กกว่าบริเวณทั้งหมดที่กล่าวถึง (เช่นภูมิภาคของโลก ภูมิภาคของชาติ ภูมิภาคของลุ่มแม่น้ำ ภูมิภาคของเทือกเขา และอื่นๆ) แต่ใหญ่กว่าจุดใดจุดหนึ่ง บริเวณอาจจะเป็นกลุ่มของหน่วยที่เล็กกว่า (เช่นรัฐในนิวอิงแลนด์ของสหรัฐอเมริกา) หรือ ส่วนหนึ่งของส่วนที่ใหญ่กว่า (เช่นบริเวณนิวอิงแลนด์ของสหรัฐอเมริกา).
ภูมิศาสตร์
แผนที่โลก ภูมิศาสตร์ (geography) เป็นสาขาวิชาหนึ่งที่ทำการศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับคุณลักษณะเฉพาะ ของสถานที่ที่ปรากฏอยู่บนพื้นผิวโลก ภูมิศาสตร์จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการจัดวางสิ่งต่าง ๆ และความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ ที่แบ่งแยกสิ่งหนึ่งออกจากสิ่งอื่น ๆ โดยภูมิศาสตร์พยายามค้นหาเพื่อที่จะตีความให้กระจ่างถึงความสำคัญ ของสิ่งที่เหมือนและแตกต่างกันระหว่างพื้นที่ในรูปของสาเหตุและความเกี่ยวเนื่อง ปัจจุบันการศึกษาด้านภูมิศาสตร์ จะมุ่งเน้นความเข้าใจเกี่ยวกับรายละเอียดเบื้องต้นที่เกี่ยวกับพื้นที่มากกว่าที่จะศึกษาลักษณะเฉพาะและสถานที่ต่าง ๆ ของโลกอย่างคร่าว ๆ อย่างที่เคยปฏิบัติขึ้นมาในระยะแรก ๆ ภูมิศาสตร์ได้เปลี่ยนแนวทางมาสู่การศึกษารายละเอียดของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในพื้นที่นั้น ๆ โดยเฉพาะ ซึ่งจะใช้การศึกษานี้พิจารณาว่า "มีสิ่งใดบ้างที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดสิ่งนั้นสิ่งนี้ขึ้น และแต่ละสิ่งมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันอย่างไร" โดยถือรูปแบบและวิธีการดังกล่าวว่า เป็นการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับ ปฏิสัมพันธ์เชิงภูมิศาสตร์ ภายใต้สภาวะต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดลักษณะเฉพาะหรือเกิดปรากฏการณ์พิเศษในพื้นที่นั้น ๆ ขึ้น และถือว่าเป็น ปรากฏการณ์ทางภูมิศาสตร์ ที่เกิดขึ้น ซึ่งมีหลายลักษณะ เช่น ปรากฏการณ์ทางภูมิศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับลักษณะภูมิประเทศ ลักษณะทางธรณีวิทยาของโลก ลักษณะทางสภาพภูมิอากาศ เป็นต้น โดยจะมีความเกี่ยวเนื่องและมีความสัมพันธ์ระหว่างกันในแต่ละลักษณะที่กล่าวถึง.
ภูมิศาสตร์กายภาพ
ีผสมจริงของพื้นผิวและชั้นบรรยากาศโลกจากศูนย์การบินอวกาศก็อดเดิร์ด นาซา. ภูมิศาสตร์กายภาพ เป็นหนึ่งในสองสาขาหลักของภูมิศาสตร์ และเป็นสาขาย่อยของสาขาวิทยาศาสตร์ธรรมชาติซึ่งเกี่ยวข้องกับการศึกษาถึงกระบวนการและแบบรูปของสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ เช่น บรรยากาศ อุทกภาค ชีวมณฑล และธรณีภาค ตรงข้ามกับภูมิศาสตร์มนุษย์ที่เน้นทางวัฒนธรรมหรือสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างมากกว.
ดู นักภูมิศาสตร์และภูมิศาสตร์กายภาพ
ภูมิศาสตร์ภูมิภาค
ูมิศาสตร์ภูมิภาค เป็นสาขาหนึ่งของภูมิศาสตร์ที่ศึกษาถึงทุกภูมิภาคของโลกซึ่งแต่ละภูมิภาคมีความแตกต่างเฉพาะตัว หลักสำคัญของภูมิศาสตร์ภูมิภาคคือเพื่อเข้าใจถึงเอกลักษณ์และลักษณะเฉพาะตัวของภูมิภาคนั้น ๆ โดยจะมุ่งเน้นในการศึกษาข้อมูลเชิงพื้นที่หรือบุคคล, ปฏิสัมพันธ์ของวัฒนธรรมและธรรมชาติ, ปัจจัยทางภูมิศาสตร์ของที่ดินและภูมิประเทศที่ทำการศึกษาอย่างเช่นพื้นที่ต่าง ๆ อย่างบริเวณชายแดน, ชายทะเล ซึ่งต่างจากสาขาของภูมิศาสตร์ส่วนใหญ่ที่จะมุ่งเน้นในการศึกษาปัจจัยต่าง ๆ ในระดับโลก ภูมิศาสตร์ภูมิภาคยังมีผลต่อภูมิภาคาภิวัตน์ซึ่งครอบคลุมถึงการใช้วิธีที่เหมาะสมในการแบ่งพื้นที่ออกเป็นภูมิภาคต่าง ๆ ตามเกณฑ์และวัตถุประสงค์ ซึ่งจะแบ่งตามปัจจัยต่าง ๆ อย่างภูมิอากาศ ความคล้ายคลึงทางวัฒนธรรม เศรษฐกิจ การเมือง.
ดู นักภูมิศาสตร์และภูมิศาสตร์ภูมิภาค
ภูมิศาสตร์มนุษย์
350px คาร์ล ริทเทอร์ นักภูมิศาสตร์ชาวเยอรมัน - ถือกันว่าเป็นหนึ่งในผู้บุกเบิกภูมิศาสตร์สมัยใหม่ คู่กับ อเล็กซานเดอร์ ฟอน ฮุมโบลด์ท ภูมิศาสตร์มนุษย์ เป็นหนึ่งในสองสาขาหลักของภูมิศาสตร์ ภูมิศาสตร์มนุษย์คือการศึกษาความเข้าใจและการใช้งานผืนโลกของมนุษย์ และกระบวนการที่มีผลกระทบต่อสิ่งนั้น มันเกี่ยวโยงกับทั้งสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ภูมิศาสตร์มนุษย์นั้นโดยทั่วไปแตกต่างอยากมากจากภูมิศาสตร์กายภาพ โดยมันเน้นมากกว่าในการศึกษาแบบแผนที่จับต้องไม่ได้หรือเป็นนามธรรมรอบ ๆ กิจกรรมของมนุษย์ และเปิดรับวิธีวิจัยเชิงคุณภาพมากกว่า ภูมิศาสตร์มนุษย์รวมเอาแง่มุมทางมนุษย์ การเมือง วัฒนธรรม สังคม และเศรษฐกิจของสังคมศาสตร์เอาไว้ ในขณะที่จุดเน้นหลักของภูมิศาสตร์มนุษย์จะไม่ใช่ภูมิทัศน์เชิงกายภาพของโลก แต่มันก็เป็นไปไม่ได้ที่จะคุยเรื่องภูมิศาสตร์มนุษย์ โดยไม่พูดถึงภูมิทัศน์ทางกายภาพที่กิจกรรมของมนุษย์ดำเนินอยู่ในนั้น และโดยไม่พูดถึงภูมิศาสตร์สิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นตัวเชื่อมสำคัญระหว่างมนุษย์และโลก ภูมิศาสตร์มนุษย์นั้นมีความหลากหลายทั้งในวิธีวิทยาและทฤษฎี ซึ่งรวมถึงวิธีในแบบสตรีนิยม มาร์กซิสม์ หลังโครงสร้างนิยม ฯลฯ และใช้ทั้งระเบียบวิธีเชิงคุณภาพ (เช่น ชาติพันธุ์วรรณาและการสัมภาษณ์) และเชิงปริมาณ (เช่น การสำรวจทางสถิติ, การวิเคราะห์ทางสถิติ, และการสร้างตัวแบบ) สาขาหลักของภูมิศาสตร์มนุษย์ ได้แก่ วัฒนธรรม, การพัฒนา, เศรษฐกิจ, สุขภาพ, ประวัติศาสตร์, การเมือง, ประชากร, การท่องเที่ยว, และเมือง.
ดู นักภูมิศาสตร์และภูมิศาสตร์มนุษย์
ภูมิศาสตร์สิ่งแวดล้อม
ูมิศาสตร์สิ่งแวดล้อม (environmental geography), ภูมิศาสตร์มนุษย์และสิ่งแวดล้อม (human–environment geography) หรือ ภูมิศาสตร์บูรณาการ (integrated geography, integrative geography) เป็นสาขาหนึ่งของภูมิศาสตร์ว่าด้วยการอธิบายถึงข้อเท็จจริงและการตีความลักษณะของการมีปฏิสัมพันธ์เชิงพื้นที่ระหว่างปัจเจกบุคคลหรือสังคมมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาต.
ดู นักภูมิศาสตร์และภูมิศาสตร์สิ่งแวดล้อม
มนุษย์
มนุษย์ (ภาษาละตินแปลว่า "คนฉลาด" หรือ "ผู้รู้") เป็นสปีชีส์เดียวที่ยังมีชีวิตอยู่ในสกุล Homo ในทางกายวิภาค มนุษย์สมัยใหม่ถือกำเนิดขึ้นในทวีปแอฟริการาว 200,000 ปีที่แล้ว และบรรลุความนำสมัยทางพฤติกรรม (behavioral modernity) อย่างสมบูรณ์เมื่อราว 50,000 ปีที่แล้ว เชื้อสายมนุษย์แยกออกจากบรรพบุรุษร่วมสุดท้ายกับชิมแพนซี สิ่งมีชีวิตที่ใกล้ชิดที่สุด เมื่อราว 5 ล้านปีที่แล้วในแอฟริกา ก่อนจะวิวัฒนาการไปเป็นออสตราโลพิเธซีน (Australopithecines) และสุดท้ายเป็นสกุล Homo สปีชีส์ โฮโม แรก ๆ ที่อพยพออกจากแอฟริกา คือ Homo erectus, Homo ergaster ร่วมกับ Homo heidelbergensis ซึ่งถูกมองว่าเป็นบรรพบุรุษสายตรงของมนุษย์สมัยใหม่ Homo sapiens ยังเดินหน้าตั้งถิ่นฐานในทวีปต่าง ๆ โดยมาถึงยูเรเซียระหว่าง 125,000-60,000 ปีที่แล้ว ทวีปออสเตรเลียราว 40,000 ปีที่แล้ว ทวีปอเมริการาว 15,000 ปีที่แล้ว และเกาะห่างไกล เช่น ฮาวาย เกาะอีสเตอร์ มาดากัสการ์และนิวซีแลนด์ระหว่าง..
ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
ตัวอย่างแผนที่ใช้ในการแบ่งโซนอาศัย สร้างโดยใช้ระบบจีไอเอส โดยโปรแกรม ชื่อ อาร์คจีไอเอส (ArcGIS) ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System: GIS) คือ กระบวนการทำงานเกี่ยวกับข้อมูลเชิงพื้นที่ (spatial data) ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ โดยการกำหนดข้อมูลเชิงบรรยายหรือข้อมูลคุณลักษณะ (attribute data) และสารสนเทศ เช่น ที่อยู่ บ้านเลขที่ ที่มีความสัมพันธ์กับตำแหน่งในเชิงพื้นที่ (spatial data) เช่น ตำแหน่งบ้าน ถนน แม่น้ำ เป็นต้น ในรูปของ ตารางข้อมูล และ ฐานข้อมูล ระบบ GIS ประกอบไปด้วยชุดของเครื่องมือที่มีความสามารถในการเก็บรวบรวม ปรับปรุงและการสืบค้นข้อมูล เพื่อจัดเตรียม ปรับแต่ง วิเคราะห์และการแสดงผลข้อมูลเชิงพื้นที่ เพื่อให้สอดคล้องตามวัตถุประสงค์การใช้งาน ซึ่งรูปแบบและความสัมพันธ์ของข้อมูลเชิงพื้นที่ทั้งหลาย จะสามารถนำมาวิเคราะห์ด้วย GIS ให้สื่อความหมายในเรื่องการเปลี่ยนแปลงที่สัมพันธ์กับช่วงเวลาได้ เช่น.
ดู นักภูมิศาสตร์และระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
รัฐบาล
รัฐบาล คือองค์การที่มีอำนาจในการออกและบังคับใช้กฎหมาย สำหรับดินแดนหนึ่งๆ นิยามที่ชัดเจนของรัฐบาลนั้นมีอยู่หลายนิยาม ในกรณีทั่วไป รัฐบาล คือผู้ที่มีอำนาจในการปกครอง กล่าวคือมีอำนาจในการบริหารจัดการเหนือพื้นที่ใดๆ หรือเหนือกลุ่มคน รัฐบาลตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า government ซึ่งมีความหมายสองนัยยะ นัยยะแรกหมายถึงกิจกรรมการปกครอง และอีกความหมายหนึ่งคือคณะบุคคลที่มีอำนาจในการปกครอง หมวดหมู่:การปกครอง.
วิทยาธารน้ำแข็ง
Lateral moraine on a glacier joining the Gorner Glacier, Zermatt, Swiss Alps. The moraine is the high bank of debris in the top left hand quarter of the picture. For more explanation, click on the picture. วิทยาธารน้ำแข็ง (Glaciology) เป็นศาสตร์เกี่ยวกับธารน้ำแข็ง น้ำแข็ง และปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกี่ยวกับน้ำแข็ง วิทยาธารน้ำแข็ง เป็นสหวิทยาการของวิทยาศาสตร์โลกที่รวมเอา ธรณีฟิสิกส์, ธรณีวิทยา, ภูมิศาสตร์กายภาพ, ธรณีสัณฐานวิทยา, climatology, อุตุนิยมวิทยา, อุทกวิทยา, ชีววิทยา, และ นิเวศวิท.
ดู นักภูมิศาสตร์และวิทยาธารน้ำแข็ง
สมาคมเนชั่นแนล จีโอกราฟิก
มาคมเนชั่นแนล จีโอกราฟิก (National Geographic Society) เป็นองค์กรด้านวิทยาศาสตร์และการศึกษาแห่งหนึ่งของโลกที่ไม่แสวงหาผลกำไร มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี.
ดู นักภูมิศาสตร์และสมาคมเนชั่นแนล จีโอกราฟิก
สมุทรศาสตร์
Thermohaline circulation สมุทรศาสตร์ หรือ สมุทรวิทยา (oceanography, oceanology, หรือ marine science) คือ ศาสตร์ที่ศึกษาเรื่องเกี่ยวกับทะเลและมหาสมุทร สมุทรศาสตร์เกี่ยวพันกับศาสตร์แขนงอื่น ๆ อีกหลายสาขา เช่น ธรณีวิทยา ภูมิศาสตร์ ธรณีฟิสิกส์ ฟิสิกส์ เคมี ธรณีเคมี คณิตศาสตร์ อุตุนิยมวิทยา พฤกษศาสตร์และสัตวศาสตร์ เราอาจแบ่งสมุทรศาสตร์ออกได้เป็น 5 สาขา ดังนี้.
ดู นักภูมิศาสตร์และสมุทรศาสตร์
อุทกวิทยา
น้ำปกคลุมร้อยละ 70 ของพื้นที่ผิวโลก อุทกวิทยา (hydrology) เป็นคำที่มาจากภาษากรีก คือ νερό ซึ่งแปลว่า น้ำ (water) และ μελέτη ซึ่งแปลว่า การศึกษา (study)เป็นการศึกษาการเคลื่อนที่ การกระจาย และคุณภาพของน้ำ รวมถึงวงจรอุทกวิทยา ทรัพยากรน้ำ และการดูแลน้ำอย่างยั่งยืน นักอุทกวิทยาจะมีพื้นความรู้ในด้าน ภูมิศาสตร์ ธรณีวิทยา วิทยาศาสตร์โลก วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม วิศวกรรมโยธา และ วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม "อุทกวิทยา" ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน (พ.ศ.2542) หมายถึง วิชาที่ว่าด้วยน้ำที่มีอยู่ในโลก ดังนั้น งานด้านอุทกวิทยาจึงหมายถึง งานที่เกี่ยวกับการสำรวจ เก็บสถิติข้อมูล การศึกษา วิเคราะห์ และวิจัยที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำ ทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ เพื่อนำข้อมูลและความรู้ไปใช้ประโยชน์ในการบริหารจัดการน้ำและการพัฒนาประเทศ คำว่า ไฮโดรโลจี (hydrology) ในภาษาอังกฤษ มาจากภาษากรีกคำว่า ὕδωρ (ไฮโดร) ที่แปลว่า "น้ำ" และ λόγος (โลโกส) ที่แปลว่า "ศึกษา".
อุตุนิยมวิทยา
อุตุนิยมวิทยา (Meteorology) เป็นการศึกษาเชิงวิทยาศาสตร์ ว่าด้วยบรรยากาศของโลก โดยเน้นการพยากรณ์อากาศ และกระบวนการของสภาพอากาศ ปรากฏการณ์ทางอุตุนิยมวิทยาเป็นเหตุการณ์เกี่ยวกับสภาพอากาศที่สังเกตได้ ซึ่งให้ความกระจ่างและอธิบายได้ด้วยศาสตร์แห่งอุตุนิยมวิทยา เหตุการณ์เหล่านี้เกิดจากความแปรผันที่มีอยู่ในบรรยากาศของโลก ได้แก่ อุณหภูมิ ความกดอากาศ ไอน้ำ และองค์ประกอบต่างๆ และปฏิกิริยาของตัวแปรต่างๆ และการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาต่างๆ กัน ประเด็นหลักของการศึกษาและการสังเกตเกี่ยวกับสภาพอากาศของโลกนั้น อยู่ที่ชั้นบรรยากาศโทรโพสเฟียร์ (troposphere) อุตุนิยมวิทยา, climatology, ฟิสิกส์บรรยากาศ และเคมีบรรยากาศ ถือเป็นสาขาย่อยของบรรยากาศศาสตร์ (atmospheric sciences) สำหรับอุตุนิยมวิทยาและอุทกวิทยารวมกันเป็นสาขาของศาสตร์ที่เรียกว่า อุทกอุตุนิยมวิทยา (hydrometeorology).
ดู นักภูมิศาสตร์และอุตุนิยมวิทยา
ธรรมชาติ
ฟ้าผ่าระหว่างภูเขาไฟกาลองกังปะทุ ถ่ายเมื่อ พ.ศ. 2525 ธรรมชาติ ในความหมายอย่างกว้างสุด เทียบเท่ากับโลกธรรมชาติ โลกกายภาพ หรือโลกวัตถุ "ธรรมชาติ" หมายถึง ปรากฏการณ์ของโลกกายภาพ และยังหมายถึงชีวิตโดยรวม มีขนาดตั้งแต่เล็กกว่าอะตอมไปจนถึงจักรวาล คำว่า nature มาจากคำภาษาละติน natura หรือ "คุณสมบัติสำคัญ, พื้นนิสัยสืบทอด" และในสมัยโบราณ ตามตัวอักษรหมายถึง "กำเนิด" natura เป็นคำแปลภาษาละตินของคำภาษากรีก physis (φύσις) ซึ่งเดิมเกี่ยวข้องกับลักษณะภายในซึ่งพืช สัตว์และลักษณะเฉพาะ (feature) อื่นของโลกพัฒนาแนว (accord) ของตน มโนทัศน์ธรรมชาติโดยรวม จักรวาลทางกายภาพ เป็นหนึ่งในหลายการต่อขยายของความคิดดั้งเดิม เริ่มต้นด้วยการประยุกต์ใช้แก่นบางอย่างของคำว่า φύσις โดยนักปรัชญายุคก่อนโสเครติส และได้รับความแพร่หลายอย่างต่อเนืองนับแต่นั้น การใช้นี้ได้รับการยืนยันระหว่างการมาถึงของระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ในหลายศตวรรษหลัง ปัจจุบัน "ธรรมชาติ" มักหมายถึง ธรณีวิทยาและสัตว์ป่า ธรรมชาติอาจหมายถึงอาณาจักรของพืชและสัตว์หลายชนิดทั่วไป และในบางกรณีหมายถึง ขบวนการซึ่งเกี่ยวข้องกับวัตถุไร้ชีวิต คือ วิถีซึ่งสิ่งบางประเภทโดยเฉพาะดำรงและเปลี่ยนแปลงแนวของตน เช่น ลมฟ้าอากาศและธรณีวิทยาของโลก และสสารและพลังงานอันประกอบขึ้นเป็นทุกสิ่งเหล่านี้ นอกจากนี้ยังใช้หมายถึง "สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ" สัตว์ป่า หิน ป่า ชายหาด และโดยทั่วไปสิ่งเหล่านี้ที่ไม่ถูกเปลี่ยนแปลงอย่างสำคัญโดยอันตรกิริยาของมนุษย์โดยทั่วไปไม่ถูกพิจารณาว่าเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ ยกเว้นถูกจัดเป็น อย่างเช่น "ธรรมชาติมนุษย์" มโนทัศน์เก่ากว่าของสิ่งธรรมชาติซึ่งยังพบในปัจจุบันอยู่ชี้ข้อแตกต่างระหว่างธรรมชาติกับที่มนุษย์สร้างขึ้น (artificial) โดยสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเข้าใจว่าเป็นสิ่งที่ถูกทำให้เกิดขึ้นจากความรู้สึกตัวหรือจิตของมนุษย์ ขึ้นอยู่กับบริบทเฉพาะ คำว่า "ธรรมชาติ" ยังอาจแตกต่างจากไม่เป็นธรรมชาติ เหนือธรรมชาติหรือสังเคราะห.
ธรณีภาค
รณีภาค (lithosphere; มีรากศัพท์จากภาษากรีก "λίθος " แปลว่า "หิน" และ "sphere" แปลว่า "โลก") เป็นชั้นหินแข็ง ที่อยู่ส่วนนอกสุดของโลก ซึ่งรวมตั้งแต่ชั้นหินหนืดตอนบนและชั้นเปลือกโลก.
ธรณีสัณฐานวิทยา
รณีสัณฐาน. ธรณีสัณฐานวิทยา (Geomorphology) คือศึกษาทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับต้นกำเนิดและวิวัฒนาการของภูมิประเทศชนิดต่าง ๆ ซึ่งเกิดการเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยาตามกระบวนการทางกายภาพหรือทางเคมี เช่น ภูมิประเทศที่เกิดจากการกัดเซาะ การพัดพา การเคลื่อนไหวของเปลือกโลกนักธรณีวิทยาพยายามที่จะทำความเข้าใจเกี่ยวกับภูมิทัศน์ว่าทำไมแต่ละที่จึงมีลักษณะต่างกันจึงพยายามศึกษาประวัติและพลศาสตร์ของธรณีสัณฐานเพื่อรวบรวมการเปลี่ยนแปลงผ่านการสังเกตภาคสนาม การทดลองทางกายภาพและการสร้างแบบจำลองเชิงตัวเลข ธรณีสัณฐานวิทยาเป็นส่วนหนึ่งในสาขาของภูมิศาสตร์กายภาพ ธรณีวิทยา จีออเดซี วิศวกรรมธรณี โบราณคดีและวิศวกรรมธรณีเทคนิคซึ่งแต่ละสาขาวิชาจะทำให้เกิดรูปแบบและผลงานวิจัยที่แตกก่างกันไป.
ดู นักภูมิศาสตร์และธรณีสัณฐานวิทยา
ประเทศเยอรมนี
ประเทศเยอรมนี (Germany; Deutschland ดอยฺชลันฺท) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (Federal Republic of Germany; Bundesrepublik Deutschland) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐแบบรัฐสภาในยุโรปกลาง มีรัฐองค์ประกอบ 16 รัฐ มีพื้นที่ 357,021 ตารางกิโลเมตร และมีภูมิอากาศตามฤดูกาลแบบอบอุ่นเป็นส่วนใหญ่ มีประชากรประมาณ 82 ล้านคน ซึ่งเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในสหภาพยุโรป ประเทศเยอรมนีเป็นจุดหมายการเข้าเมืองยอดนิยมอันดับสองในโลกรองจากสหรัฐ เมืองหลวงและมหานครใหญ่สุดของประเทศคือ กรุงเบอร์ลิน ขณะที่เขตเมืองขยายใหญ่สุด คือ รูร์ โดยมีศูนย์กลางหลักดอร์ทมุนด์และเอสเซิน นครหลักอื่นของประเทศ ได้แก่ ฮัมบวร์ค มิวนิก โคโลญ แฟรงก์เฟิร์ต ชตุทท์การ์ท ดึสเซิลดอร์ฟ ไลพ์ซิจ เบรเมิน เดรสเดิน ฮันโนเฟอร์และเนือร์นแบร์ก ประเทศนี้มีระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยเชิงเสรีภาพและรัฐสวัสดิการ พรมแดนทางทิศเหนือติดทะเลเหนือ เดนมาร์ก และทะเลบอลติก ทิศตะวันออกติดโปแลนด์และเช็กเกีย ทิศใต้ติดออสเตรีย และสวิตเซอร์แลนด์ ทิศตะวันตกติดฝรั่งเศส ลักเซมเบิร์ก เบลเยียม และเนเธอร์แลนด์ มีเมืองหลวงและเมืองใหญ่ของประเทศคือเบอร์ลิน เยอรมนีมีประชากรประมาณ 80 ล้านคนและเป็นประเทศที่มีความหนาแน่นประชากรสูงสุดแห่งหนึ่ง อีกทั้งยังเป็นประเทศที่มีคนย้ายถิ่นมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก หลังจากที่สหรัฐอเมริกาเยอรมนีเป็นปลายทางการย้ายถิ่นที่สองได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก เยอรมนีเป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรปและยังก่อตั้งสหภาพการเงินกับสมาชิกในสหภาพยุโรปอีก 17 ประเทศ โดยใช้ชื่อว่ายูโรโซน เยอรมนีเป็นสมาชิกของกลุ่ม UNO, OECD, NATO, G7 และ G20 เยอรมนีเป็นประเทศที่มีอิทธิพลต่อประเทศอื่นๆในยุโรปและเป็นประเทศที่มีความสามารถที่จะแข่งขันในระดับโลก หากวัดจากผลผลิตมวลรวมภายในประเทศแบบปกติแล้ว เยอรมนีเป็นเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปและใหญ่เป็นอันดับสี่ของโลก ในปี 2012 เป็นประเทศที่มีการนำเข้าส่งออกมากที่สุดเป็นอันดับสาม ดัชนีการพัฒนามนุษย์ถือว่าสูงมาก.
ดู นักภูมิศาสตร์และประเทศเยอรมนี
แฟรงก์เฟิร์ต
แฟรงก์เฟิร์ต (Frankfurt) หรือ ฟรังค์ฟวร์ทอัมไมน์ (Frankfurt am Main) เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของรัฐเฮสส์และใหญ่เป็นอันดับ 5 ของประเทศเยอรมนี ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำไมน์ (Main river) และเป็นที่ตั้งของตลาดหลักทรัพย์แฟรงก์เฟิร์ตและธนาคารกลางยุโรป แฟรงก์เฟิร์ตเป็นเมืองที่ร่ำรวยที่สุดในกลุ่มสหภาพยุโรป โดยในเขตเมืองและปริมณฑลมีประชากรประมาณ 5 ล้านคน ชื่อเมืองแฟรงก์เฟิร์ตในประเทศเยอรมนี นิยมเรียกชื่อเต็มคือ "ฟรังค์ฟวร์ทอัมไมน์" หมายถึงเมืองแฟรงก์เฟิร์ตที่อยู่บนแม่น้ำไมน์ เพื่อแยกความแตกต่างจากเมืองฟรังค์ฟวร์ทอันเดอร์โอเดอร์ (Frankfurt an der Oder) ริมฝั่งแม่น้ำโอเดอร์ในรัฐบรันเดนบูร์กทางด้านตะวันออกของประเท.
ดู นักภูมิศาสตร์และแฟรงก์เฟิร์ต
แผนที่
231x231px แผนที่ คือ รูปภาพอย่างง่ายซึ่งจำลองบริเวณบริเวณหนึ่ง และมีการแสดงความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่าง ๆ เช่น วัตถุ หรือบริเวณย่อย ๆ ที่อยู่ในบริเวณนั้น แผนที่มักเป็นรูปสองมิติซึ่งแสดงระยะห่างระหว่างจุดสองจุดในบริเวณใดบริเวณหนึ่งได้อย่างถูกต้องตามหลักเรขาคณิต ยกตัวอย่างเช่น แผนที่ทางภูมิศาสตร์ นอกจากนี้เรายังสามารถวาดแผนที่แสดงคุณสมบัติของบริเวณต่าง ๆ บนพื้นโลก เช่น ความหนาแน่นของประชากร ความสูงของพื้นที่ ดัชนีการพัฒนาของมนุษย์ในแต่ละประเทศ เป็นต้น.
โยฮันเนิส เฟอร์เมร์
''สาวใส่ต่างหูมุก'' โยฮันเนิส ไรเนียส์โซน เฟอร์เมร์ (Johannes Reynierszoon Vermeer) หรือ โยฮัน เฟอร์เมร์ (Johan Vermeer; 31 ตุลาคม พ.ศ. 2175 - 15 ธันวาคม พ.ศ.
ดู นักภูมิศาสตร์และโยฮันเนิส เฟอร์เมร์
ดูเพิ่มเติม
สาขาวิชา
- กีฏวิทยาการแพทย์
- จิตเวชศาสตร์
- นักภูมิศาสตร์
- นิรุกติศาสตร์
- ประวัติศาสตร์กฎหมาย
- รายการสาขาวิชา
- สังคมศาสตร์
- สังคมสงเคราะห์
- อาชญาวิทยา