โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ภูมิศาสตร์กายภาพ

ดัชนี ภูมิศาสตร์กายภาพ

ีผสมจริงของพื้นผิวและชั้นบรรยากาศโลกจากศูนย์การบินอวกาศก็อดเดิร์ด นาซา. ภูมิศาสตร์กายภาพ เป็นหนึ่งในสองสาขาหลักของภูมิศาสตร์ และเป็นสาขาย่อยของสาขาวิทยาศาสตร์ธรรมชาติซึ่งเกี่ยวข้องกับการศึกษาถึงกระบวนการและแบบรูปของสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ เช่น บรรยากาศ อุทกภาค ชีวมณฑล และธรณีภาค ตรงข้ามกับภูมิศาสตร์มนุษย์ที่เน้นทางวัฒนธรรมหรือสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างมากกว.

23 ความสัมพันธ์: บรรยากาศชีวมณฑลพืดน้ำแข็งภูมิศาสตร์ภูมิศาสตร์มนุษย์ภูมิศาสตร์สิ่งแวดล้อมภูมิอากาศวัฏจักรของน้ำวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมวิทยาศาสตร์ธรรมชาติวิทยาธารน้ำแข็งสมุทรศาสตร์สิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างหิมะภาคอุทกภาคอุทกวิทยาอุตุนิยมวิทยาธรณีภาคธรณีสัณฐานวิทยาธารน้ำแข็งควอเทอร์นารีนิเวศวิทยาน้ำแข็ง

บรรยากาศ

มุมมองของชั้นบรรยากาศที่ตื่นตัวของดาวพฤหัสบดี รวมทั้งจุดแดงใหญ่ (Great Red Spot) บรรยากาศ หมายถึงชั้นแก๊สชนิดต่าง ๆ ที่ปกคลุมอยู่ทั่วดาวเคราะห์หรือวัตถุท้องฟ้านั้น ๆ ซึ่งจะแตกต่างกันไปในแต่ละดาว บางดาวไม่มีชั้นบรรยากาศ สำหรับบรรยากาศของโลกนั้นเป็นอากาศที่ห้อหุ้มโลก ประกอบไปด้วยไนโตรเจน, ออกซิเจน และแก๊สอื่น ๆ มีขอบเขตนับจากระดับน้ำทะเลขึ้นไปประมาณ 1000 กิโลเมตรโดยเฉลี่ย ดาวเคราะห์ชั้นในมีส่วนประกอบเป็นแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เป็นหลัก ส่วนดาวเคราะห์ชั้นนอกมีไฮโดรเจน, ฮีเลียม และแก๊สอื่นๆ เป็นหลัก.

ใหม่!!: ภูมิศาสตร์กายภาพและบรรยากาศ · ดูเพิ่มเติม »

ชีวมณฑล

ีวมณฑล (Biosphere.) จากβίος "ชีวิต" และ σφαῖρα (sphaira) หรือทรงกลม เป็นผลรวมทั่วโลกของระบบนิเวศทั้งหมด นอกจากนี้ยังสามารถที่เรียกว่าโซนของสิ่งมีชีวิตบนโลก ซึ่งเป็นระบบปิด (นอกเหนือจากรังสีจากดวงอาทิตย์ รังสีจักรวาล และความร้อนจากชั้นหินร้อนภายในของโลก) และระบบที่ปรับสมดุลตัวเองได้ ภายใต้นิยามที่กว้างที่สุดในทางชีวกายภาพของดาวเคราะห์ (biophysiological) ชีวมณฑล คือ ระบบนิเวศในระดับดาวเคราะห์ที่ควบรวมเอาสิ่งมีชีวิตทั้งหมด และความสัมพันธ์ทั้งระหว่างกันเอง กับทั้งปฏิสัมพันธ์กับองค์ประกอบต่างๆของธรณีภาค ปฐพีภาค อุทกภาค และชั้นบรรยากาศ มาไว้ด้วยกัน มีการสันนิษฐานว่าชีวมณฑลมีการวิวัฒนาการ มาตั้งแต่ต้นกำเนิดของชีวิตบนโลก ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการกำเนิดชีวิตจากสิ่งไร้ชีวิต (biopoiesis) หรือ กระบวนการกำเนิดชีวิตจากสิ่งมีชีวิต (biogenesis) ซึ่งเริ่มต้นขึ้นอย่างน้อยเมื่อ 3.5 พันล้านปีก่อน หมวดหมู่:สมุทรศาสตร์ หมวดหมู่:ระบบชีวภาพ.

ใหม่!!: ภูมิศาสตร์กายภาพและชีวมณฑล · ดูเพิ่มเติม »

พืดน้ำแข็ง

ทางอากาศของพืดน้ำแข็งบนชายฝั่งตะวันออกของเกาะกรีนแลนด์ พืดน้ำแข็ง (Ice sheet) หรือเรียกอีกอย่างว่าธารน้ำแข็งภาคพื้นทวีป (continental glacier) เป็นมวลของธารน้ำแข็งที่ปกคลุมภูมิประเทศโดยรอบและมีขนาดมากกว่า 50,000 ตารางกิโลเมตร ปัจจุบันพืดน้ำแข็งสามารถพบได้เพียงในกรีนแลนด์และแอนตาร์กติกา ช่วงยุคน้ำแข็งยุคสุดท้ายในยุคน้ำแข็งใหญ่สุดครั้งสุดท้ายพืดน้ำแข็งลอเรนไทด์ได้ปกคลุมพื้นที่จำนวนมากของทวีปอเมริกาเหนือ พืดน้ำแข็งไวช์เซเลียนปกคลุมทางเหนือของทวีปยุโรปและพืดน้ำแข็งปาตาโกเนียปกคลุมทางใต้ของทวีปอเมริกาใต้ พืดน้ำแข็งนั้นมีขนาดใหญ่กว่าหิ้งน้ำแข็งและธารน้ำแข็งแบบแอลป์ มวลของน้ำแข็งที่ปกคลุมพื้นที่น้อยกว่า 50,000 เรียกว่าทุ่งน้ำแข็ง ถึงแม้ว่าผิวหน้าของพืดน้ำแข็งจะหนาวและเย็นแต่บริเวณฐานจะอุ่นเนื่องจากความร้อนใต้พิภพ ในสถานที่ ๆ ทำให้น้ำแข็งด้านล่างละลายจากนั้นก็จะค่อย ๆ พาน้ำแข็งไหลไปเร็วกว่าบริเวณอื่นจะเรียกว่าภูมิภาคน้ำแข็งไหล (Ice stream) ปัจจุบันพืดน้ำแข็งบริเวณขั่วโลกนั้นยังถือว่ามีอายุน้อยมาก พืดน้ำแข็งแอนตาร์กติกก่อตัวขึ้นครั้งแรกจากทุ่งน้ำแข็งขนาดเล็กในช่วงต้นสมันโอลิโกซีนจากนั้นก็เพิ่มขนาดและลดลงหลายครั้งจนถึงสมัยพลิโอซีนพืดน้ำแข็งก็คลอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดของแอนตาร์กติกา พืดน้ำแข็งกรีนแลนด์นั้นไม่ได้ขยายตัวเลยจนถึงปลายสมัยพลิโอซีนแต่หลังจากนั้นก็พัฒนาตัวอย่างรวดเร็วในช่วงที่ธารน้ำแข็งปกคลุมทวีป ทำให้พืดน้ำแข็งกรีนแลนด์ที่เกิดแบบรวดเร็วและเฉียบผลันสามารถเก็บรักษาซากดึกดำบรรพ์ของพืชที่งอกบนเกาะได้ดีกว่าพืดน้ำแข็งแอนตาร์กติกที่ค่อย ๆ ก่อตัวอย่างช้.

ใหม่!!: ภูมิศาสตร์กายภาพและพืดน้ำแข็ง · ดูเพิ่มเติม »

ภูมิศาสตร์

แผนที่โลก ภูมิศาสตร์ (geography) เป็นสาขาวิชาหนึ่งที่ทำการศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับคุณลักษณะเฉพาะ ของสถานที่ที่ปรากฏอยู่บนพื้นผิวโลก ภูมิศาสตร์จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการจัดวางสิ่งต่าง ๆ และความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ ที่แบ่งแยกสิ่งหนึ่งออกจากสิ่งอื่น ๆ โดยภูมิศาสตร์พยายามค้นหาเพื่อที่จะตีความให้กระจ่างถึงความสำคัญ ของสิ่งที่เหมือนและแตกต่างกันระหว่างพื้นที่ในรูปของสาเหตุและความเกี่ยวเนื่อง ปัจจุบันการศึกษาด้านภูมิศาสตร์ จะมุ่งเน้นความเข้าใจเกี่ยวกับรายละเอียดเบื้องต้นที่เกี่ยวกับพื้นที่มากกว่าที่จะศึกษาลักษณะเฉพาะและสถานที่ต่าง ๆ ของโลกอย่างคร่าว ๆ อย่างที่เคยปฏิบัติขึ้นมาในระยะแรก ๆ ภูมิศาสตร์ได้เปลี่ยนแนวทางมาสู่การศึกษารายละเอียดของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในพื้นที่นั้น ๆ โดยเฉพาะ ซึ่งจะใช้การศึกษานี้พิจารณาว่า "มีสิ่งใดบ้างที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดสิ่งนั้นสิ่งนี้ขึ้น และแต่ละสิ่งมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันอย่างไร" โดยถือรูปแบบและวิธีการดังกล่าวว่า เป็นการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับ ปฏิสัมพันธ์เชิงภูมิศาสตร์ ภายใต้สภาวะต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดลักษณะเฉพาะหรือเกิดปรากฏการณ์พิเศษในพื้นที่นั้น ๆ ขึ้น และถือว่าเป็น ปรากฏการณ์ทางภูมิศาสตร์ ที่เกิดขึ้น ซึ่งมีหลายลักษณะ เช่น ปรากฏการณ์ทางภูมิศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับลักษณะภูมิประเทศ ลักษณะทางธรณีวิทยาของโลก ลักษณะทางสภาพภูมิอากาศ เป็นต้น โดยจะมีความเกี่ยวเนื่องและมีความสัมพันธ์ระหว่างกันในแต่ละลักษณะที่กล่าวถึง.

ใหม่!!: ภูมิศาสตร์กายภาพและภูมิศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ภูมิศาสตร์มนุษย์

350px คาร์ล ริทเทอร์ นักภูมิศาสตร์ชาวเยอรมัน - ถือกันว่าเป็นหนึ่งในผู้บุกเบิกภูมิศาสตร์สมัยใหม่ คู่กับ อเล็กซานเดอร์ ฟอน ฮุมโบลด์ท ภูมิศาสตร์มนุษย์ เป็นหนึ่งในสองสาขาหลักของภูมิศาสตร์ ภูมิศาสตร์มนุษย์คือการศึกษาความเข้าใจและการใช้งานผืนโลกของมนุษย์ และกระบวนการที่มีผลกระทบต่อสิ่งนั้น มันเกี่ยวโยงกับทั้งสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ภูมิศาสตร์มนุษย์นั้นโดยทั่วไปแตกต่างอยากมากจากภูมิศาสตร์กายภาพ โดยมันเน้นมากกว่าในการศึกษาแบบแผนที่จับต้องไม่ได้หรือเป็นนามธรรมรอบ ๆ กิจกรรมของมนุษย์ และเปิดรับวิธีวิจัยเชิงคุณภาพมากกว่า ภูมิศาสตร์มนุษย์รวมเอาแง่มุมทางมนุษย์ การเมือง วัฒนธรรม สังคม และเศรษฐกิจของสังคมศาสตร์เอาไว้ ในขณะที่จุดเน้นหลักของภูมิศาสตร์มนุษย์จะไม่ใช่ภูมิทัศน์เชิงกายภาพของโลก แต่มันก็เป็นไปไม่ได้ที่จะคุยเรื่องภูมิศาสตร์มนุษย์ โดยไม่พูดถึงภูมิทัศน์ทางกายภาพที่กิจกรรมของมนุษย์ดำเนินอยู่ในนั้น และโดยไม่พูดถึงภูมิศาสตร์สิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นตัวเชื่อมสำคัญระหว่างมนุษย์และโลก ภูมิศาสตร์มนุษย์นั้นมีความหลากหลายทั้งในวิธีวิทยาและทฤษฎี ซึ่งรวมถึงวิธีในแบบสตรีนิยม มาร์กซิสม์ หลังโครงสร้างนิยม ฯลฯ และใช้ทั้งระเบียบวิธีเชิงคุณภาพ (เช่น ชาติพันธุ์วรรณาและการสัมภาษณ์) และเชิงปริมาณ (เช่น การสำรวจทางสถิติ, การวิเคราะห์ทางสถิติ, และการสร้างตัวแบบ) สาขาหลักของภูมิศาสตร์มนุษย์ ได้แก่ วัฒนธรรม, การพัฒนา, เศรษฐกิจ, สุขภาพ, ประวัติศาสตร์, การเมือง, ประชากร, การท่องเที่ยว, และเมือง.

ใหม่!!: ภูมิศาสตร์กายภาพและภูมิศาสตร์มนุษย์ · ดูเพิ่มเติม »

ภูมิศาสตร์สิ่งแวดล้อม

ูมิศาสตร์สิ่งแวดล้อม (environmental geography), ภูมิศาสตร์มนุษย์และสิ่งแวดล้อม (human–environment geography) หรือ ภูมิศาสตร์บูรณาการ (integrated geography, integrative geography) เป็นสาขาหนึ่งของภูมิศาสตร์ว่าด้วยการอธิบายถึงข้อเท็จจริงและการตีความลักษณะของการมีปฏิสัมพันธ์เชิงพื้นที่ระหว่างปัจเจกบุคคลหรือสังคมมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาต.

ใหม่!!: ภูมิศาสตร์กายภาพและภูมิศาสตร์สิ่งแวดล้อม · ดูเพิ่มเติม »

ภูมิอากาศ

การแบ่งประเภทของภูมิอากาศทั่วโลก ภูมิอากาศ (climate) เป็นการวัดอย่างหนึ่งของรูปแบบค่าเฉลี่ยของการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ ความชื้น ความกดอากาศ หยาดน้ำฟ้า(ฝน ลูกเห็บ หิมะ) ปริมาณอนุภาคในบรรยากาศ และตัวแปรทางอุตุนิยมวิทยาอื่นในภูมิภาคหนึ่งๆในช่วงระยะเวลานาน ภูมิอากาศแตกต่างจากลมฟ้าอากาศ (weather) ที่นำเสนอสภาพขององค์ประกอบเหล่านี้และการแปรผันในเวลาสั้นๆในพื้นที่ที่กำหนด ภูมิอากาศของภูมิภาคหนึ่งเกิดจาก "ระบบภูมิอากาศ" ซึ่งประกอบด้วยห้าองค์ประกอบ ได้แก่ บรรยากาศ (atmosphere) อุทกบรรยากาศ (hydrosphere) เยือกแข็ง (cryosphere) เปลือกโลก (lithosphere) และ ชีวมณฑล (biosphere).

ใหม่!!: ภูมิศาสตร์กายภาพและภูมิอากาศ · ดูเพิ่มเติม »

วัฏจักรของน้ำ

* การระเหยเป็นขี้ (evaporation) เป็นการเปลี่ยนแปลงสถานะของน้ำบนพื้นผิวไปสู่บรรยากาศ ทั้งการระเหยเป็นไอ (evaporation) โดยตรงจากการคายน้ำของพืช (transpiration) ซึ่งเรียกว่า evapotranspiration.

ใหม่!!: ภูมิศาสตร์กายภาพและวัฏจักรของน้ำ · ดูเพิ่มเติม »

วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม

วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (Environmental science) หมายถึง การศึกษาทางวิทยาศาสตร์ ที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของสิ่งแวดล้อมต่อมนุษย์ และมนุษย์ต่อสิ่งแวดล้อม ในเรื่องของชนิด ปริมาณ และสัดส่วนของการอยู่ร่วมกันภายในระบบสิ่งแวดล้อมนั้นๆ ที่มีบทบาท และความสำคัญต่อมนุษย์เป็นหลักสำคัญ โดยจะเน้นถึงปัญหาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น ใช้หลักการประยุกต์หลักการทางวิทยาศาสตร์ มาเพื่อการศึกษาสิ่งแวดล้อมอย่างมีขั้นตอนและมีเงื่อนไข สำหรับการค้นคว้าหาความจริงต่างๆ ซึ่งขั้นตอนเหล่านั้นได้แก่ การสังเกต, การบันทึก, การทดลอง และขบวนการให้เหตุผล แต่ยังคงพิจารณาถึง ชนิด ปริมาณ และสัดส่วนของสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ ในสภาพธรรมชาติที่ไม่มีมนุษย์ยุ่งเกี่ยวโดยตรงด้วย หรืออยู่เป็นระบบที่จะมีบทบาทโดยตรง หรือต่อมนุษย์ไม่มีทางใดก็ทางหนึ่ง สามารถรวมถึง พืช สัตว์ ทะเล น้ำ ดิน อากาศได้ เป็นต้น จนสามารถนำความรู้ไปใช้ในการกำหนดมาตรฐานสิ่งแวดล้อมได้ และสามารถนำไปปฏิบัติได้กับแบบฉบับของชีวิต หรือนำไปปรับปรุงสิ่งแวดล้อมที่ตนเองอาศัยอยู่ให้เหมาะต่อคุณภาพชีวิตที่ดีได้.

ใหม่!!: ภูมิศาสตร์กายภาพและวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม · ดูเพิ่มเติม »

วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ

วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ (อังกฤษ: natural science) หมายถึงกลุ่มของสาขาวิชาทางวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ อย่างไรก็ตามการจัดให้สาขาใดสาขาหนึ่งอยู่ในวิทยาศาสตร์ธรรมชาตินั้น ขึ้นอยู่กับทั้งข้อตกลงในอดีตและความหมายสาขาในปัจจุบัน ตามธรรมเนียมดั้งเดิม ความหมายของ.

ใหม่!!: ภูมิศาสตร์กายภาพและวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ · ดูเพิ่มเติม »

วิทยาธารน้ำแข็ง

Lateral moraine on a glacier joining the Gorner Glacier, Zermatt, Swiss Alps. The moraine is the high bank of debris in the top left hand quarter of the picture. For more explanation, click on the picture. วิทยาธารน้ำแข็ง (Glaciology) เป็นศาสตร์เกี่ยวกับธารน้ำแข็ง น้ำแข็ง และปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกี่ยวกับน้ำแข็ง วิทยาธารน้ำแข็ง เป็นสหวิทยาการของวิทยาศาสตร์โลกที่รวมเอา ธรณีฟิสิกส์, ธรณีวิทยา, ภูมิศาสตร์กายภาพ, ธรณีสัณฐานวิทยา, climatology, อุตุนิยมวิทยา, อุทกวิทยา, ชีววิทยา, และ นิเวศวิท.

ใหม่!!: ภูมิศาสตร์กายภาพและวิทยาธารน้ำแข็ง · ดูเพิ่มเติม »

สมุทรศาสตร์

Thermohaline circulation สมุทรศาสตร์ หรือ สมุทรวิทยา (oceanography, oceanology, หรือ marine science) คือ ศาสตร์ที่ศึกษาเรื่องเกี่ยวกับทะเลและมหาสมุทร สมุทรศาสตร์เกี่ยวพันกับศาสตร์แขนงอื่น ๆ อีกหลายสาขา เช่น ธรณีวิทยา ภูมิศาสตร์ ธรณีฟิสิกส์ ฟิสิกส์ เคมี ธรณีเคมี คณิตศาสตร์ อุตุนิยมวิทยา พฤกษศาสตร์และสัตวศาสตร์ เราอาจแบ่งสมุทรศาสตร์ออกได้เป็น 5 สาขา ดังนี้.

ใหม่!!: ภูมิศาสตร์กายภาพและสมุทรศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

สิ่งแวดล้อมสรรค์สร้าง

งแวดล้อมสรรค์สร้าง (built environment) กล่าวถึงบริเวณโดยรอบที่ถูกสร้างขึ้นโดยมนุษย์ให้เหมาะสำหรับกิจกรรมของมนุษย์ โดยเริ่มจากระดับขอบเขตของคน ย่าน และเมือง โดยมักจะรวมถึงโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ไฟฟ้าหรือประปา ซึ่งในทางปฏิบัติคำนี้จะถูกกล่าวถึงในส่วนของ การออกแบบ การก่อสร้าง และ การจัดการ สิ่งโดยรอบให้เหมาะสมกับมนุษย์ ไม่ควรจำกัดจำเพาะแต่ว่าเป็นการทำเพื่อการปรับปรุง ออกแบบ ก่อสร้างเพื่อ "มนุษย์" เพราะจะทำให้เกิดผลกระทบต่อสรรพชีวิตอื่น แต่ควรใช้กรอบแนวคิดที่เป็นการพัฒนาที่ยั่งยืน และการคิดแบบองค์รวม (Sustainable Development & Holistic Thinking) จึงควรนิยามว่า "สิ่งแวดล้อมสรรค์สร้าง" (lang-en|built environment) กล่าวถึงบริเวณโดยรอบที่ถูกสร้างขึ้นโดยมนุษย์ให้เหมาะสำหรับกิจกรรมการอยู่อาศัยของมนุษย์ที่กลมกลืนกับธรรมชาติและเอื้อต่อระบบนิเวศอย่างสมดุลตามหลักการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยเริ่มจากระดับขอบเขตของ คน ย่าน และเมือง โดยมุ่งเน้นไปที่ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสีเขียว (Green Infrastructure) เช่น ระบบสาธารณูปโภค เช่น ไฟฟ้า หรือ ประปา ระบบสาธารณูปการ เช่น โรงเรียน สถานที่ราชการ โรงบำบัดและกำจัดของเสีย สวนสาธารณะ พื้นที่อันควรสงวนคุ้มครองและอนุรักษ์ ซึ่งในทางปฏิบัติคำนี้จะถูกกล่าวถึงในส่วนของ การออกแบบ การก่อสร้าง และ การจัดการ สิ่งโดยรอบให้เหมาะสมกับมนุษ.

ใหม่!!: ภูมิศาสตร์กายภาพและสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้าง · ดูเพิ่มเติม »

หิมะภาค

มุมสูงของหิมะภาค จาก http://maps.grida.no/go/graphic/cryosphere UN Environment Programme Global Outlook for Ice and Snow IPCC แสดงขอบเขตของบริเวณที่ได้รับผลจากองค์ประกอบของหิมะภาคทั่วโลก เหนือพื้นดิน ชั้นดินเยือกแข็งคงตัวต่อเนื่องแสดงด้วยสีชมพูเข้ม ขณะที่ชั้นดินเยือกแข็งคงตัวไม่ต่อเนื่องแสดงด้วยสีชมพูที่อ่อนกว่า สีขาวกึ่งโปร่งใสเหนือพื้นที่ดินกว้างใหญ่ของซีกโลกเหนือแสดงบริเวณซึ่งมีหิมะตกอย่างน้อยหนึ่งวันระหว่างปี 2543-2555 เส้นสีเขียวสว่างตามขอบทิศใต้ของบริเวฯนี้แสดงขอบเขตหิมะสูงสุด ขณะที่เส้นสีดำตามทวีปอเมริกาเหนือ ยุโรปและเอเชียแสดงเส้นขอบเขตหิมะ 50% ธารน้ำแข็งแสดงเป็นจุดสีทองเล็ก ๆ ในพื้นที่ภูเขาและในละติจูดเหนือและใต้จัด เหนือพื้นน้ำ หิ้งน้ำแข็งแสดงรอบทวีปแอนตาร์กติกาตามน้ำแข็งทะเลรอบหิ้งน้ำแข็ง น้ำแข็งทะเลยังแสดงที่ขั้วโลกเหนือ สำหรับทั้งสองขั้ว ขอบเขตน้ำแข็งทะเลเฉลี่ย 30 ปีแสดงโดยขอบสีเหลือง นอกากนี้ จะเห็นแผ่นน้ำแข็งกรีนแลนด์และแอนตาร์กติกาได้ชัดเจน หิมะภาค (Cryosphere) เป็นส่วนหนึ่งของผิวโลกซึ่งประกอบด้วยน้ำในรูปของแข็ง รวมถึงทะเลที่เป็นน้ำแข็ง ทะเลสาบน้ำแข็ง แม่น้ำที่เป็นน้ำแข็ง ธารน้ำแข็ง แผ่นน้ำแข็ง และพื้นดินซึ่งเยือกแข็ง พื้นที่ส่วนใหญ่ของหิมะภาคมักจะซ้อนอยู่บนพื้นที่ของอุทกภาค หิมะภาคนั้นเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกหลายประการ โดยมักมีอิทธิพลต่อเมฆ ปริมาณหยาดน้ำฟ้า อุทกวิทยา และการไหลเวียนของอากาศและกระแสน้ำ.

ใหม่!!: ภูมิศาสตร์กายภาพและหิมะภาค · ดูเพิ่มเติม »

อุทกภาค

World water distribution. อุทกภาค (จากภาษาบาลี "อุทก" แปลว่า น้ำ, "ภาค" แปลว่า ส่วน รวมกันหมายถึงส่วนที่เป็นน้ำ) ในวิชาภูมิศาสตร์กายภาพหมายถึง แหล่งที่น้ำจำนวนมากมาอยู่รวมกันบนหรือใต้ผิวโลก อีกอร์ ชีโคลมานอฟ ผู้ถูกคัดเลือกโดยองค์การสหประชาชาติให้ศึกษารวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับทรัพยากรน้ำ ได้ประเมินว่าบนโลกมีน้ำทั้งสิ้น 1,386 ล้านลูกบาศก์กิโลเมตร ซึ่งรวมถึงน้ำในรูปของเหลว ของแข็ง น้ำบาดาล ธารน้ำแข็ง มหาสมุทร ทะเลสาบ และแม่น้ำ โดยร้อยละ 97.5 ของน้ำทั้งหมดบนโลกเป็นน้ำเค็ม น้ำจืดมีอยู่เพียงร้อยละ 2.5 เท่านั้น และร้อยละ 68.7 ของน้ำจืดก็อยู่ในรูปของน้ำแข็งและหิมะปกคลุมบริเวณอาร์กติก แอนตาร์กติกา และในเขตภูเขา ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 29.9 อยู่ในรูปของน้ำบาดาล ร้อยละ 0.26 ของน้ำจืดเท่านั้นที่สามารถใช้เป็นสาธารณูปโภคได้ ซึ่งสามารถพบน้ำเหล่านี้ใต้ในทะเลสาบ อ่างเก็บน้ำ และระบบแม่น้ำต่าง ๆ มวลทั้งหมดของน้ำบนโลกอยู่ที่ประมาณ 1.4 × 1018 ตัน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 0.023 ของมวลโลกทั้งหมด ประมาณ 20 × 1012 ตันของน้ำทั้งหมดนั้นอยู่ในบรรยากาศของโลก (โดยน้ำ 1 ลูกบาศก์เมตรมีน้ำหนักเท่ากับ 1 ตัน) ประมาณร้อยละ 75 ของผิวโลกทั้งหมดหรือประมาณ 361 ล้านตารางกิโลเมตรนั้นเป็นมหาสมุทร ค่าความเค็มเฉลี่ยของมหาสมุทรในโลกนั้นอยู่ที่ประมาณ 35 ของเกลือหนึ่งกรัมต่อน้ำทะเลหนึ่งกิโลกรัม (ร้อยละ 3.5).

ใหม่!!: ภูมิศาสตร์กายภาพและอุทกภาค · ดูเพิ่มเติม »

อุทกวิทยา

น้ำปกคลุมร้อยละ 70 ของพื้นที่ผิวโลก อุทกวิทยา (hydrology) เป็นคำที่มาจากภาษากรีก คือ νερό ซึ่งแปลว่า น้ำ (water) และ μελέτη ซึ่งแปลว่า การศึกษา (study)เป็นการศึกษาการเคลื่อนที่ การกระจาย และคุณภาพของน้ำ รวมถึงวงจรอุทกวิทยา ทรัพยากรน้ำ และการดูแลน้ำอย่างยั่งยืน นักอุทกวิทยาจะมีพื้นความรู้ในด้าน ภูมิศาสตร์ ธรณีวิทยา วิทยาศาสตร์โลก วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม วิศวกรรมโยธา และ วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม "อุทกวิทยา" ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน (พ.ศ.2542) หมายถึง วิชาที่ว่าด้วยน้ำที่มีอยู่ในโลก ดังนั้น งานด้านอุทกวิทยาจึงหมายถึง งานที่เกี่ยวกับการสำรวจ เก็บสถิติข้อมูล การศึกษา วิเคราะห์ และวิจัยที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำ ทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ เพื่อนำข้อมูลและความรู้ไปใช้ประโยชน์ในการบริหารจัดการน้ำและการพัฒนาประเทศ คำว่า ไฮโดรโลจี (hydrology) ในภาษาอังกฤษ มาจากภาษากรีกคำว่า ὕδωρ (ไฮโดร) ที่แปลว่า "น้ำ" และ λόγος (โลโกส) ที่แปลว่า "ศึกษา".

ใหม่!!: ภูมิศาสตร์กายภาพและอุทกวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

อุตุนิยมวิทยา

อุตุนิยมวิทยา (Meteorology) เป็นการศึกษาเชิงวิทยาศาสตร์ ว่าด้วยบรรยากาศของโลก โดยเน้นการพยากรณ์อากาศ และกระบวนการของสภาพอากาศ ปรากฏการณ์ทางอุตุนิยมวิทยาเป็นเหตุการณ์เกี่ยวกับสภาพอากาศที่สังเกตได้ ซึ่งให้ความกระจ่างและอธิบายได้ด้วยศาสตร์แห่งอุตุนิยมวิทยา เหตุการณ์เหล่านี้เกิดจากความแปรผันที่มีอยู่ในบรรยากาศของโลก ได้แก่ อุณหภูมิ ความกดอากาศ ไอน้ำ และองค์ประกอบต่างๆ และปฏิกิริยาของตัวแปรต่างๆ และการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาต่างๆ กัน ประเด็นหลักของการศึกษาและการสังเกตเกี่ยวกับสภาพอากาศของโลกนั้น อยู่ที่ชั้นบรรยากาศโทรโพสเฟียร์ (troposphere) อุตุนิยมวิทยา, climatology, ฟิสิกส์บรรยากาศ และเคมีบรรยากาศ ถือเป็นสาขาย่อยของบรรยากาศศาสตร์ (atmospheric sciences) สำหรับอุตุนิยมวิทยาและอุทกวิทยารวมกันเป็นสาขาของศาสตร์ที่เรียกว่า อุทกอุตุนิยมวิทยา (hydrometeorology).

ใหม่!!: ภูมิศาสตร์กายภาพและอุตุนิยมวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

ธรณีภาค

รณีภาค (lithosphere; มีรากศัพท์จากภาษากรีก "λίθος " แปลว่า "หิน" และ "sphere" แปลว่า "โลก") เป็นชั้นหินแข็ง ที่อยู่ส่วนนอกสุดของโลก ซึ่งรวมตั้งแต่ชั้นหินหนืดตอนบนและชั้นเปลือกโลก.

ใหม่!!: ภูมิศาสตร์กายภาพและธรณีภาค · ดูเพิ่มเติม »

ธรณีสัณฐานวิทยา

รณีสัณฐาน. ธรณีสัณฐานวิทยา (Geomorphology) คือศึกษาทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับต้นกำเนิดและวิวัฒนาการของภูมิประเทศชนิดต่าง ๆ ซึ่งเกิดการเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยาตามกระบวนการทางกายภาพหรือทางเคมี เช่น ภูมิประเทศที่เกิดจากการกัดเซาะ การพัดพา การเคลื่อนไหวของเปลือกโลกนักธรณีวิทยาพยายามที่จะทำความเข้าใจเกี่ยวกับภูมิทัศน์ว่าทำไมแต่ละที่จึงมีลักษณะต่างกันจึงพยายามศึกษาประวัติและพลศาสตร์ของธรณีสัณฐานเพื่อรวบรวมการเปลี่ยนแปลงผ่านการสังเกตภาคสนาม การทดลองทางกายภาพและการสร้างแบบจำลองเชิงตัวเลข ธรณีสัณฐานวิทยาเป็นส่วนหนึ่งในสาขาของภูมิศาสตร์กายภาพ ธรณีวิทยา จีออเดซี วิศวกรรมธรณี โบราณคดีและวิศวกรรมธรณีเทคนิคซึ่งแต่ละสาขาวิชาจะทำให้เกิดรูปแบบและผลงานวิจัยที่แตกก่างกันไป.

ใหม่!!: ภูมิศาสตร์กายภาพและธรณีสัณฐานวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

ธารน้ำแข็ง

right right ธารน้ำแข็ง Baltoro ในเทือกเขาการาโกรัม, ในบอลติสตัน (Baltistan), ทางภาคเหนือของปากีสถาน ที่ความยาว 62 กิโลเมตร (39 ไมล์) มันเป็นหนึ่งในธารน้ำแข็งในเทือกเขาแอลป์ที่ยาวที่สุดในโลก ธารน้ำแข็ง (glacier) ธารน้ำแข็งเกิดจากการที่หิมะตกลงมาแล้วสะสมกันจนหนา 45-60 เมตร แล้วเกิดการเคลื่อนตัวลงมาอย่างช้า ๆ ซึ่งมักจะเกิดบริเวณที่ลาดชันหรือตามไหล่เขา การเคลื่อนตัวลงมาตามไหล่เขาอย่างช้า ๆ ทำให้เกิดการสึกกร่อนลึกลงไปเพราะความหนักของหิมะที่สะสมกันจนเป็นน้ำแข็ง ธารน้ำแข็งที่เคลื่อนตัวไปในหุบเขาจะทำให้พื้นดินที่รองรับเกิดร่องลึกและกว้างเพราะมีน้ำหนักของน้ำแข็งกดทับ ธารน้ำแข็งจะค่อย ๆ ครูดบริเวณที่รองรับจนเกิดหุบเขาตัดขวางรูปตัวยู เมื่อธารน้ำแข็งไหลไปถึงตอนล่างธารน้ำแข็งก็จะค่อย ๆ แตกออกแล้วก็จะค่อย ๆ ละลายกลายเป็นลำธาร ธารน้ำแข็งที่ถูกตัดขาดและแตกออกไหลลงทะเลเรียกว่าภูเขาน้ำแข็ง สีของธารน้ำแข็งมักจะมีสีเขียวแกมม่วง หรือ แกมน้ำเงิน รูปร่างของธารน้ำแข็งบนบกมักจะยกตัวสูงและมีความแตกต่างจากน้ำแข็งในทะเล (sea ice) ที่มีขนาดบางมากและน้ำแข็งในทะเลสาบซึ่งรูปทรงของมันจะอยู่บนพื้นผิวของแผ่นน้ำ บนโลก 99% ของเกล็ดน้ำแข็งจะอยู่ภายในแผ่นน้ำแข็งขนาดใหญ่ในบริเวณดินแดนขั้วโลก, แต่ธารน้ำแข็งอาจจะพบได้ในแถบเทือกเขาของทุก ๆ ทวีป, และในไม่กี่ละติจูดสูงของเกาะในมหาสมุทร ระหว่าง 35 องศาเหนือ และ 35 องศาใต้, ธารน้ำแข็งเกิดขึ้นเฉพาะในเทือกเขาหิมาลัย, เทือกเขาแอนดีส, ภูเขาสูงไม่กี่ลูกในแอฟริกาตะวันออก, เม็กซิโก, นิวกินี และซาร์ด คู (Zard Kuh) ในอิหร่าน.

ใหม่!!: ภูมิศาสตร์กายภาพและธารน้ำแข็ง · ดูเพิ่มเติม »

ควอเทอร์นารี

รณีกาล ยุคควอเทอร์นารี (Quaternary) เป็นยุคปัจจุบันและล่าสุดของสามยุคของมหายุคซีโนโซอิกในธรณีกาล ควอเทอร์นารีเป็นยุคหลังจากนีโอจีน และเริ่มขึ้นเมื่อประมาณ 2.588 ล้านปีก่อนและสืบเนื่องมาจนปัจจุบัน ยุคควอเทอร์นารีแบ่งออกเป็นสองช่วงใหญ่ๆ คือ ไพลส์โตซีน (2,588,000 – 11,700 ปีก่อน) และโฮโลซีน (11,700 ปีก่อนถึงปัจจุบัน) นักธรณีวิทยาคาดว่าช่วงปลายยุคควอเทอร์นารี คือประมาณ 0.5 – 1.0 ล้านปีข้างหน้.

ใหม่!!: ภูมิศาสตร์กายภาพและควอเทอร์นารี · ดูเพิ่มเติม »

นิเวศวิทยา

นิเวศวิทยา (ecology) (มาจากภาษากรีก: οἶκος "บ้าน"; -λογία, "การศึกษาของ") คือ การวิเคราะห์และการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ของปฏิสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมของสิ่งมีชีวิต ได้แก่ ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตที่มีต่อกันและกัน และปฏิสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตที่มีกับสิ่งแวดล้อมแบบ'อชีวนะ' (abiotic) ของสิ่งมีชีวิตนั้น หัวข้อนักนิเวศวิทยามักสนใจจะรวมถึงความหลากหลายทางนิเวศวิทยา การกระจาย ปริมาณ (ชีวมวล) จำนวน (ประชากร) ของสิ่งมีชีวิต เช่นเดียวกับการแข่งขันระหว่างพวกมันภายในและระหว่างระบบนิเวศ ปฏิสัมพันธ์ที่เป็นองค์ประกอบของระบบนิเวศมีลักษณะเป็นไดนามิค ซึ่งประกอบไปด้วย สิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในระบบนิเวศ ชุมชนของสิ่งมีชีวิตที่พวกมันสร้างขึ้น และองค์ประกอบที่ไม่มีชีวิตของสภาพแวดล้อมของสิ่งมีชีวิต กระบวนการในระบบนิเวศ (ecosystem process) เช่น การผลิตโดยผู้ผลิต (เช่น พืช สาหร่าย) การเกิดขึ้นของดิน (pedogenesis) วัฏจักรสารอาหาร และกิจกรรมการสร้างสภาวะที่เหมาะสม (niche construction) จะเป็นตัวกำหนดการไหลของพลังงานและสสารจากสถานะหนึ่งไปยังอีกสถานะหนึ่งในระบบนิเวศ กระบวนการเหล่านี้จะทำงานอย่างเป็นปกติโดยสิ่งมีชีวิตที่มีบทบาทที่เฉพาะเจาะจงและความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศนั้น โดยความหลากหลายทางชีวภาพ (biodiversity) ที่หมายถึงความหลากหลายของสายพันธุ์ ของยีน และของระบบนิเวศ จะช่วยเพิ่มการบริการในระบบนิเวศ (ecosystem services) นิเวศวิทยาเป็นสาขาการศึกษาแบบสหวิทยาการที่รวมชีววิทยาและวิทยาศาสตร์โลก โดยคำว่า "ระบบนิเวศ" ("Ökologie") เกิดขึ้นในปี 1866 โดยนักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน แอรนส์ แฮกเกล (Ernst Haeckel) (1834-1919) ความคิดเกี่ยวกับนิเวศวิทยาเป็นผลลัพธ์ที่เกิดจากความคิดในเชิงปรัชญา โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากจริยธรรมและการเมือง นักปรัชญากรีกโบราณเช่น Hippocrates และ อริสโตเติล ได้วางรากฐานของนิเวศวิทยาในการศึกษาเรื่อง 'ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ' (natural history) ของพวกเขา นิเวศวิทยาสมัยใหม่ถูกแปลงให้เป็น 'วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ' ที่เข้มงวดมากขึ้นในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 แนวคิดวิวัฒนาการในการปรับตัวของสิ่งมีชีวิตและ 'การคัดเลือกโดยธรรมชาติ' กลายเป็นเสาหลักของ 'ทฤษฎีทางนิเวศวิทยาสมัยใหม่' คำว่านิเวศวิทยาเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับ 'ชีววิทยาวิวัฒนาการ' พันธุศาสตร์ และ พฤฒิกรรมของสัตว์ที่อาศัยอยู่ในธรรมชาติ (ethology) ความเข้าใจถึงกระบวนการที่ความหลากหลายทางชีวภาพจะสามารถส่งผลกระทบต่อการทำงานของระบบนิเวศเป็นหัวข้อที่สำคัญในการศึกษาระบบนิเวศ โดยนักนิเวศวิทยาพยายามที่จะอธิบายดังต่อไปนี้.

ใหม่!!: ภูมิศาสตร์กายภาพและนิเวศวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

น้ำแข็ง

น้ำค้างแข็งเกาะบนต้นไม้ ก้อน(น้ำ)แข็งตามธรรมชาติ เกล็ดหิมะ (ผลึกน้ำแข็ง) โดยวิลสัน เบนท์ลีย์ (Wilson Bentley), 1902 น้ำแข็ง เป็นชื่อเรียกของสภาวะของแข็งของน้ำซึ่งมักอยู่ในรูปของผลึกของน้ำ ซึ่งโดยปกติจะมีลักษณะใสหรือมีสีฟ้าขาวใสปนอยู่ด้วย ขึ้นอยู่กับการมีสิ่งเจือปนในน้ำแข็งนั้น โดยสภาวะปกติน้ำแข็งจะเกิดขึ้นเมื่อน้ำในรูปของเหลวมีอุณหภูมิต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส (32 องศาฟาเรนไฮต์ หรือ 273.15 เคลวิน(K)) ที่ความดันปกติ และสามารถแข็งตัวจากสถานะก๊าซโดยไม่ผ่านสถานะของเหลวเลยก็ได้ เช่น ปรากฏการณ์น้ำค้างแข็งหรือแม่คะนิ้ง น้ำแข็งในธรรมชาติอยู่ในแหล่งต่างๆ เช่น เกล็ดหิมะ ลูกเห็บ น้ำแข็งย้อย ธารน้ำแข็ง ภูเขาน้ำแข็ง และน้ำแข็งขั้วโลก ซึ่งน้ำแข็งเป็นส่วนสำคัญของสมดุลภูมิอากาศของโลก โดยเฉพาะวัฏจักรของน้ำ นอกจากนี้ยังเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมต่างๆ อีกด้วย ตั้งแต่ การใส่น้ำแข็งในน้ำดื่ม กีฬาฤดูหนาว จนไปถึงประติมากรรมน้ำแข็ง.

ใหม่!!: ภูมิศาสตร์กายภาพและน้ำแข็ง · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »