สารบัญ
25 ความสัมพันธ์: ช่อการะเกดพ.ศ. 2507กระทรวงวัฒนธรรม (ประเทศไทย)กรุงเทพมหานครกวีนิพนธ์การทับศัพท์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชรางวัลพานแว่นฟ้าสกุลไทยสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยสตรีสารหน้าต่างจังหวัดนครปฐมขวัญเรือนขายหัวเราะงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติประเทศไทยนิเทศศาสตร์โรงพยาบาลศิริราชโรงเรียนพระปฐมวิทยาลัยโรงเรียนไทยวิจิตรศิลปไทยสกายทีวีเรื่องสั้นเนชั่นสุดสัปดาห์19 พฤษภาคม
ช่อการะเกด
อการะเกด เป็นนิตยสารเรื่องสั้นที่ถือกำเนิดขึ้นพร้อมกับนิตยสาร โลกหนังสือ โดยมี สุชาติ สวัสดิ์ศรี เป็นบรรณาธิการเมื่อ พ.ศ.
ดู ธาร ยุทธชัยบดินทร์และช่อการะเกด
พ.ศ. 2507
ทธศักราช 2507 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1964 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันพุธตามปฏิทินเกรกอเรียน.
ดู ธาร ยุทธชัยบดินทร์และพ.ศ. 2507
กระทรวงวัฒนธรรม (ประเทศไทย)
กระทรวงวัฒนธรรม (Ministry of Culture) เป็นกระทรวงที่มีหน้าที่ดูแลเกี่ยวกับวัฒนธรรม ภาษา ศาสนา และขนบธรรมเนียมประเพณีอื่น.
ดู ธาร ยุทธชัยบดินทร์และกระทรวงวัฒนธรรม (ประเทศไทย)
กรุงเทพมหานคร
กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวงและนครที่มีประชากรมากที่สุดของประเทศไทย เป็นศูนย์กลางการปกครอง การศึกษา การคมนาคมขนส่ง การเงินการธนาคาร การพาณิชย์ การสื่อสาร และความเจริญของประเทศ เป็นเมืองที่มีชื่อยาวที่สุดในโลก ตั้งอยู่บนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านและแบ่งเมืองออกเป็น 2 ฝั่ง คือ ฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานครมีพื้นที่ทั้งหมด 1,568.737 ตร.กม.
ดู ธาร ยุทธชัยบดินทร์และกรุงเทพมหานคร
กวีนิพนธ์
กวีนิพนธ์ (Poetry, Poem, Poesy) คือรูปแบบทางศิลปะที่มนุษย์ใช้ภาษา เพื่อคุณประโยชน์ด้านสุนทรียะ ซึ่งเพิ่มเติมจากเนื้อหาทางความหมาย นับเป็นส่วนหนึ่งของวรรณกรรม โดยเป็นคำประพันธ์ที่กวีแต่ง เป็นงานเขียนที่มีวรรณศิลป์ เร้าให้สะเทือนอารมณ์ได้ คำที่มีความหมายทำนองเดียวกันได้แก่ ร้อยกรอง ซึ่งหมายถึง ถ้อยคำที่เรียบเรียงให้เป็นระเบียบตามบัญญัติแห่งฉันทลักษณ์ นอกจากนี้ยังมีคำอื่น ๆ อีกหลายคำที่มีความหมายทำนองเดียวกับ กวีนิพนธ์ และร้อยกรอง ได้แก่ บทกวี บทประพันธ์ คำประพันธ์ กวีวัจนะ ลำนำ บทกลอน กาพย์กลอน กลอนกานท์ กานท์ รวมทั้งคำว่า ฉันท์ กาพย์ และกลอน ซึ่งในปัจจุบันหมายถึงคำประพันธ์ที่มีรูปแบบต่างกัน ก็เคยใช้ในความหมายเดียวกันกับ กวีนิพนธ์ และ ร้อยกรอง มาในยุคสมัยหนึ่ง ผลงานที่จัดเป็นกวีนิพนธ์เรียกว่า บทกวี ส่วนผู้ที่สร้างสรรค์ผลงานดังกล่าว เรียกว่า กวี หรือ นักกวี บทกวี คือ ภาษาของอารมณ์ความรู้สึกนึกคิด คือเครื่องมือที่จะนำสิ่งที่เรารู้สึกว่าเป็นข่าวสารออกมาแสดงให้ประจักษ์ ตระหนัก ตระหนก สะทก สะท้อน กวีอาจไม่มีหน้าที่สรุปหรือฟันธงความจริง แต่กวีอาจหมุนแปรคำและความให้เห็นความจริงใหม่ ๆ ของชีวิตหลายด้าน ทั้งเรื่องที่บางทีคนทั่วไปคิดไม่ถึง และแม้แต่ตัวกวีเองก็เพิ่งจะคิดถึง.
ดู ธาร ยุทธชัยบดินทร์และกวีนิพนธ์
การทับศัพท์
ตัวอย่างหนึ่งของการเปรียบเทียบอักษรเพื่อการทับศัพท์ จากอักษรซีริลลิกไปเป็นอักษรละติน การทับศัพท์ หรือ การปริวรรต คือ การถอดอักษร หรือแปลงข้อความจากระบบการเขียนหรือภาษาหนึ่งไปสู่อีกระบบหนึ่งอย่างมีหลักการ เพื่อให้สามารถเขียนคำในภาษาต่างประเทศด้วยภาษาและอักษรในภาษานั้น ๆ ได้สะดวก เช่น การทับศัพท์ภาษาอังกฤษซึ่งเขียนด้วยอักษรโรมัน มาเป็นอักษรไทยเพื่อใช้ในภาษาไทย หรือการทับศัพท์ภาษาไทย ไปเป็นอักษรโรมันเพื่อใช้ในภาษาอังกฤษ เป็นต้น ส่วนมากใช้กับวิสามานยนาม อาทิ ชื่อบุคคล สถานที่ หรือชื่อเฉพาะที่ไม่สามารถแปลความหมายเป็นภาษาอื่นได้โดยสะดวก.
ดู ธาร ยุทธชัยบดินทร์และการทับศัพท์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (ื่อย่อ: ม., STOU) เป็นสถาบันอุดมศึกษาของรัฐแบบไม่จำกัดรับจำนวน (มหาวิทยาลัยเปิด) แห่งเดียวของประเทศไทย และเป็นมหาวิทยาลัยเปิดโดยใช้ระบบการศึกษาทางไกลแห่งเดียวในประเทศไทย มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชจัดตั้งขึ้นเพื่อขยายและกระจายโอกาสทางการศึกษาระดับอุดมศึกษาแก่ประชาชน มีลักษณะเป็นมหาวิทยาลัยในระบบเปิด ดำเนินการดำเนินการสอนโดยใช้ระบบการสอนทางไกลซึ่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อ "มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช" ตามพระนามกรมของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นกรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา และพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้พระราชลัญจกรในรัชกาลที่ 7 ซึ่งเป็นรูปพระแสงศรสามองค์ นำมาประกอบกับเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของ กรุงสุโขทัย เป็นตราประจำมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 5 กันยายน พ.ศ.
ดู ธาร ยุทธชัยบดินทร์และมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
รางวัลพานแว่นฟ้า
รางวัลพานแว่นฟ้า เป็นรางวัลการประกวดผลงานเขียน วรรณกรรมการเมือง จัดโดยสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทยและรัฐสภาไทย เพื่อสนับสนุนการปกครองระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และให้ประชาชนได้ใช้เสรีภาพแสดงออกทางการเมืองและสืบสานวรรณกรรมการเมืองให้มีส่วนปลุกจิตสำนึกประชาธิปไตย จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.
ดู ธาร ยุทธชัยบดินทร์และรางวัลพานแว่นฟ้า
สกุลไทย
กุลไทย เป็นนิตยสารสตรีชนิดรายสัปดาห์ ผลิตโดย บริษัท อักษรโสภณ จำกัด ซึ่งดำเนินงานโดย นายประยูร ส่งเสริมสวัสดิ์ และ นายสันติ ส่งเสริมสวัสดิ์ ออกจำหน่ายฉบับแรกเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ.
ดู ธาร ยุทธชัยบดินทร์และสกุลไทย
สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย
ำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย เป็นส่วนราชการฐานะเทียบเท่ากรม ในสังกัดกระทรวงวัฒนธรรม จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม..
ดู ธาร ยุทธชัยบดินทร์และสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย
สตรีสาร
ตรีสาร เป็นนิตยสารรายสัปดาห์สำหรับผู้หญิง ที่เกิดขึ้นในปี..
ดู ธาร ยุทธชัยบดินทร์และสตรีสาร
หน้าต่าง
หน้าต่าง เป็นช่องเปิดบนผนังหรือประตู ที่ยอมให้แสงผ่านหรืออาจเป็นหน้าต่างทึบ ที่อาจปิดกันลมหรือเสียง หน้าต่างส่วนมากมักมีติดกระจกหรือวัสดุโปร่งแสงอื่น ๆ หรือวัสดุทึบแสง หน้าต่างยึดติดกับบานกรอบหน้าต่าง หน้าต่างอาจจะเปิดออกได้เพื่อให้ลมเข้ามา หรืออาจปิดตายเพื่อหลีกเลี่ยงสภาวะอากาศที่รุนแรง.
ดู ธาร ยุทธชัยบดินทร์และหน้าต่าง
จังหวัดนครปฐม
ังหวัดนครปฐม เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางของประเทศไทย เป็นหนึ่งในห้าจังหวัดที่อยู่ในพื้นที่ปริมณฑลของกรุงเทพมหานคร จังหวัดนี้มีประวัติศาสตร์เก่าแก่ยาวนาน เชื่อว่าเป็นที่ตั้งเก่าแก่ของเมืองในสมัยทวารวดี โดยมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีเป็นจำนวนมาก.
ดู ธาร ยุทธชัยบดินทร์และจังหวัดนครปฐม
ขวัญเรือน
วัญเรือน เป็นนิตยสารรายปักษ์ ของบริษัท ศรีสยามการพิมพ์ จำกัด วางตลาดเป็นฉบับปฐมฤกษ์ ในเดือนธันวาคม..
ดู ธาร ยุทธชัยบดินทร์และขวัญเรือน
ขายหัวเราะ
ปกหนังสือขายหัวเราะ สมัยราคา 12 บาท ผลงานของวัฒนา เพ็ชรสุวรรณ ขายหัวเราะ เป็นชื่อของนิตยสารการ์ตูนไทยรายสัปดาห์ จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์บรรลือสาส์น ภายใต้การบริหารงานของ วิธิต อุตสาหจิต และเป็นหนังสือการ์ตูนที่ได้รับความนิยมมากที่สุดเล่มหนึ่งในประเทศไทย ควบคู่ไปกับนิตยสารมหาสนุก ซึ่งจัดพิมพ์โดยบรรลือสาส์นเช่นกัน เริ่มตีพิมพ์ฉบับแรกเมื่อ พ.ศ.
ดู ธาร ยุทธชัยบดินทร์และขายหัวเราะ
งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ
ัญลักษณ์ประจำงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ (Thai National Book Fair) เป็นงานจำหน่ายหนังสือและสื่อการศึกษา ที่มีบริษัทผู้ผลิตหนังสือ สำนักพิมพ์และร้านหนังสือ ร่วมออกร้านมากที่สุดในประเทศไทย ตามปกติจะจัดขึ้นในราวปลายเดือนมีนาคม ถึงต้นเดือนเมษายนของทุกปี.
ดู ธาร ยุทธชัยบดินทร์และงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ
ประเทศไทย
ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.
ดู ธาร ยุทธชัยบดินทร์และประเทศไทย
นิเทศศาสตร์
นิเทศศาสตร์ (อังกฤษ: Communication Arts) หมายถึง ศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับศิลปะในการสื่อสาร โดยให้ความสำคัญกับการสื่อสาร จากองค์ประกอบของการสื่อสาร กล่าวคือ ผู้ส่งสาร สาร สื่อ และผู้รับสาร ซึ่งผู้ส่งสารอาจเป็นตัวบุคคล องค์กร หรือบริษัทก็ได้ ข่าวสารจะต้องเป็นเนื้อหาสาระที่ผู้ส่งต้องการที่จะกระจายให้ประชาชนได้รับทราบ สื่อหรือช่องทาง เป็นการหาวิธีการกระจายข่าวสารต่างๆ ไปสู่กลุ่มเป้าหมายให้ได้มาก และกว้างไกล ตามวัตถุประสงค์ของผู้ส่ง และผู้รับสาร หรือกลุ่มป้าหมาย จะต้องสามารถรับข่าวสารนั้นได้ โดยผู้ส่งสารจะต้องหาวิธีการทำให้ข่าวสารที่ส่งไป ถึงผู้รับสารได้มากที่สุด พลตรีพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ประทานความหมายของ "นิเทศศาสตร์" ไว้ว่า "เป็นวิชาสื่อสารไปยังมวลชนโดยทางใดก็ตาม ไม่จำเพาะทางหนังสือพิมพ์ เช่น การสื่อสารทางการละครก็เข้าไปอยู่ในนิเทศศาสตร์ การสื่อสารมวลชนทางอื่นนอกจากทางหนังสือพิมพ์ เช่น ทางวิทยุ ทางโทรทัศน์ ก็เข้าอยู่ในนิเทศศาสตร์".
ดู ธาร ยุทธชัยบดินทร์และนิเทศศาสตร์
โรงพยาบาลศิริราช
รงพยาบาลศิริราช เป็นโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย สังกัดคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นโรงพยาบาลแห่งแรกของ ประเทศไทย ตั้งอยู่เลขที่ 2 ถนนวังหลัง แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร ริมฝั่ง แม่น้ำเจ้าพระยา ตรงข้ามกับ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ท่าพระจันทร์) เคยเป็นที่ประทับรักษาพระประชวรของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ตลอดจนพระบรมวงศานุวงศ์หลายพระองค์ เช่น พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร.
ดู ธาร ยุทธชัยบดินทร์และโรงพยาบาลศิริราช
โรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย
รงเรียนพระปฐมวิทยาลัย (Phrapathom Witthayalai School; อักษรย่อ: พ.ป., P.T.) เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ ก่อตั้งเมื่อวันที่ 23 มกราคม..
ดู ธาร ยุทธชัยบดินทร์และโรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย
โรงเรียนไทยวิจิตรศิลป
วิทยาลัยเทคโนโลยีไทยวิจิตรศิลป์ ก่อตั้งโดย ร.ท. โภคัย ว่องกสิกร (ยศในขณะนั้น) ปัจจุบันเป็นสถาบันเอกชนที่เปิดสอนในระดับอาชีวศึกษาในหลักสูตร ปว.
ดู ธาร ยุทธชัยบดินทร์และโรงเรียนไทยวิจิตรศิลป
ไทยสกายทีวี
นีโทรทัศน์ไทยสกาย (Thai Sky Television ชื่อย่อ: TST) หรือ ไทยสกายทีวี (Thai Sky TV) ดำเนินการโดย บริษัท สยาม บรอดแคสติ้ง จำกัด ในเครือธนายง ภายใต้สัมปทานกับองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย (อ.ส.ม.ท.).
ดู ธาร ยุทธชัยบดินทร์และไทยสกายทีวี
เรื่องสั้น
รื่องสั้น คือ บันเทิงเรียงความร้อยแก้วรูปแบบหนึ่ง มีลักษณะคล้ายนวนิยาย แต่สั้นกว่า โดยมีเหตุการณ์ในเรื่องและตัวละครน้อย มักจบแบบพลิกความคาดหมายหรือจบแบบทิ้งให้คิด เป็นต้น การดำเนินเรื่องจะมุ่งเข้าสู่ประเด็นหลักอย่างรวดเร็ว ต้นกำเนิดของเรื่องสั้นมาจากประเพณีการเล่านิทาน ซึ่งมักจะปูโครงเรื่องอย่างคร่าวๆ แล้วเข้าสู่จุดสำคัญของเรื่องอย่างรวดเร็ว ลักษณะเด่นของเรื่องสั้นคือ มักมีเหตุการณ์หลักเพียงเหตุการณ์เดียว โครงเรื่องเป็นคู่ ฉากคู่ จำนวนตัวละครมีมากหรือน้อยก็ได้ และมีระยะเวลาตั้งแต่ต้นจนจบเรื่องไม่นานนัก สามารถให้อารมณ์ได้เช่นเดียวกับนวน.
ดู ธาร ยุทธชัยบดินทร์และเรื่องสั้น
เนชั่นสุดสัปดาห์
นชั่นสุดสัปดาห์ เป็นนิตยสารรายสัปดาห์ประเภทข่าวสารบ้านเมืองในเครือเนชั่น มีต้นกำเนิดมาจาก การเป็นเนื้อหาส่วนหนึ่ง ของหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจรายวัน ฉบับประจำวันเสาร์ ซึ่งเริ่มนำเสนอเนื้อหาในลักษณะดังกล่าว ตั้งแต่ฉบับประจำวันศุกร์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ.
ดู ธาร ยุทธชัยบดินทร์และเนชั่นสุดสัปดาห์
19 พฤษภาคม
วันที่ 19 พฤษภาคม เป็นวันที่ 139 ของปี (วันที่ 140 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 226 วันในปีนั้น.
ดู ธาร ยุทธชัยบดินทร์และ19 พฤษภาคม