โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ทุพภิกขภัยในจะงอยแอฟริกา พ.ศ. 2554

ดัชนี ทุพภิกขภัยในจะงอยแอฟริกา พ.ศ. 2554

ทุพภิกขภัยในจะงอยแอฟริก..

25 ความสัมพันธ์: บรรษัทแพร่ภาพกระจายเสียงอังกฤษกาชาดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภัยแล้งมหาสมุทรแปซิฟิกลานีญาสำนักงานเพื่อการประสานงานด้านมนุษยธรรมแห่งสหประชาชาติหยาดน้ำฟ้าองค์การอนามัยโลกองค์การแพทย์ไร้พรมแดนจะงอยแอฟริกาทุพภิกขภัยข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติประเทศยูกันดาประเทศจิบูตีประเทศซูดานประเทศโซมาเลียประเทศเอธิโอเปียประเทศเคนยาประเทศเซาท์ซูดานแอฟริกาตะวันออกโมกาดิชูโรคหัดโครงการอาหารโลกเอดส์

บรรษัทแพร่ภาพกระจายเสียงอังกฤษ

ริษัทแพร่ภาพกระจายเสียงอังกฤษราชบัณฑิตยสถาน.

ใหม่!!: ทุพภิกขภัยในจะงอยแอฟริกา พ.ศ. 2554และบรรษัทแพร่ภาพกระจายเสียงอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

กาชาด

100px 100px 100px ขบวนกาชาดและเสี้ยววงเดือนแดงนานาชาติ หรือ กาชาด (International Red Cross and Red Crescent Movement หรือ Red Cross) เป็นคำที่ใช้เรียกหน่วยงานสากลที่ประกอบด้วยอาสาสมัครจากทั่วโลกราว 97 ล้านคน ที่มีจุดประสงค์ในพิทักษ์ชีวิตและสุขภาพของมนุษย์ การบรรเทาทุกข์และการรักษาพยาบาลโดยไม่เลือกชาติพันธุ์ เชื้อชาติ เพศ ความเชื่อทางศาสนา ระดับชั้นในสังคม หรือ ความคิดเห็นทางการเมือง ตราสัญลักษณ์ที่ใช้โดยหน่วยงานนี้มีด้วยกันสามตรา ซึ่งเป็นรูป “ตรากากบาทแดง” (Red Cross), “ตราเสี้ยววงเดือนแดง” (Red Crescent) และ “ตราเพชรแดง” (Red Crystal) หน่วยงานในประเทศไทย เรียก สภากาชาดไทย และใช้ตรากากบาทแดง เป็นตราสัญลักษณ.

ใหม่!!: ทุพภิกขภัยในจะงอยแอฟริกา พ.ศ. 2554และกาชาด · ดูเพิ่มเติม »

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ คือ การเปลี่ยนแปลงการกระจายทางสถิติของรูปแบบสภาพอากาศเมื่อการเปลี่ยนแปลงนั้นกินเวลานาน (เช่น หลายสิบปีถึงหลายล้านปี) การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศอาจหมายถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศเฉลี่ย หรือความแปรผันของเวลาของสภาพอากาศเกี่ยวกับภาวะเฉลี่ยที่กินเวลานาน (คือ มีเหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้วมากขึ้นหรือน้อยลง) การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศมีสาเหตุจากปัจจัยอย่างกระบวนการชีวนะ ความแปรผันของรังสีดวงอาทิตย์ที่โลกได้รับ การแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาค และการปะทุของภูเขาไฟ กิจกรรมบางอย่างของมนุษย์ยังถูกระบุว่าเป็นสาเหตุสำคัญของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศล่าสุด มักเรียกว่า "โลกร้อน".

ใหม่!!: ทุพภิกขภัยในจะงอยแอฟริกา พ.ศ. 2554และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ · ดูเพิ่มเติม »

ภัยแล้ง

ื้นดินแตกระแหง พื้นที่แห้งแล้ง เป็นสภาพอากาศที่แห้งและไม่มีน้ำ เกิดขึ้นเมื่อพื้นที่ที่ได้รับฝนตกน้อย ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย สิ่งที่มีผลมากที่สุดคือการเกษตร องค์การสหประชาชาติคาดว่าในแต่ละปี พื้นที่ดินอุดมสมบูรณ์มีจำนวนลดลงเท่ากับขนาดเนื้อที่ของประเทศยูเครน เนื่องจากภาวะฝนแล้ง และความไม่แน่นอนของสภาพอาก.

ใหม่!!: ทุพภิกขภัยในจะงอยแอฟริกา พ.ศ. 2554และภัยแล้ง · ดูเพิ่มเติม »

มหาสมุทรแปซิฟิก

มหาสมุทรแปซิฟิก (Pacific Ocean) ตั้งชื่อโดย เฟอร์ดินานด์ มาเจลลัน ว่า Mare Pacificum เป็นภาษาละติน แปลว่า peaceful sea ภาษาฝรั่งเศส pacifique (ปาซีฟีก) หมายถึง "สงบสุข" เป็นผืนน้ำที่กว้างใหญ่ที่สุดในโลก มีพื้นน้ำประมาณ 165,000,000 ตารางกิโลเมตร หรือ 1 ใน 3 ของพื้นที่ผิวทั้งหมดของโลก ความยาวในแนวลองจิจูดมีระยะทางประมาณ 15,500 กิโลเมตร จากทะเลเบริงในเขตอาร์กติกที่อยู่ทางเหนือจรดริมฝั่งทะเลรอสส์ในแอนตาร์กติกาที่อยู่ทางใต้ มหาสมุทรแปซิฟิกมีด้านที่กว้างที่สุดตามแนวตะวันออก-ตะวันตก อยู่ ณ บริเวณละติจูด 5 องศาเหนือ ด้วยความยาวประมาณ 19,800 กิโลเมตร จากอินโดนีเซียถึงชายฝั่งโคลอมเบีย สุดเขตด้านตะวันตก คือ ช่องแคบมะละกา จุดที่ลึกที่สุดในโลก คือ ร่องลึกมาเรียนา (Mariana Trench) อยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก จุดที่ลึกที่สุดวัดได้ 10,911 เมตร มหาสมุทรแปซิฟิก ความเค็มประมาณ 33-37 ส่วนต่อพันส่วน กระแสน้ำที่สำคัญของมหาสมุทรแปซิฟิก คือ กระแสน้ำเย็นฮัมโบลต์ (เปรู) กระแสน้ำอุ่นศูนย์สูตร กระแสน้ำเย็นแคลิฟอร์เนีย กระแสน้ำอุ่นอะแลสกา และกระแสน้ำอุ่นคุโระชิโอะ (กุโรชิโว) มหาสมุทรแปซิฟิกมีเกาะอยู่ประมาณ 25,000 เกาะ (มากกว่าเกาะในมหาสมุทรอื่น ๆ ที่เหลือรวมกัน) ส่วนใหญ่อยู่ใต้เส้นศูนย์สูตร ริมมหาสมุทรประกอบด้วยทะเลจำนวนมาก ที่สำคัญ คือ ทะเลเซเลบีส ทะเลคอรัล ทะเลจีนตะวันออก ทะเลญี่ปุ่น ทะเลจีนใต้ ทะเลซูลู ทะเลแทสมัน และทะเลเหลือง ทางด้านตะวันตก ช่องแคบมะละกาเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับมหาสมุทรอินเดีย ส่วนทางด้านตะวันออก ช่องแคบมาเจลลันเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับ มหาสมุทรแอตแลนติก.

ใหม่!!: ทุพภิกขภัยในจะงอยแอฟริกา พ.ศ. 2554และมหาสมุทรแปซิฟิก · ดูเพิ่มเติม »

ลานีญา

วามผิดปกติของอุณหภูมิพื้นผิวน้ำทะเลในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2550 แสดงปรากฏการณ์ลานีญา ลานีญา (La Niña) เป็นปรากฏการณ์บรรยากาศมหาสมุทรคู่กันซึ่งเกิดขึ้นคู่กับเอลนีโญอันเป็นส่วนหนึ่งของเอลนีโญ-ความผันแปรของระบบอากาศในซีกโลกใต้ ในช่วงที่เกิดลานีญา อุณหภูมิพื้นผิวน้ำทะเลตลอดมหาสมุทรแแปซิฟิกตอนกลางตะวันออกแถบเส้นศูนย์สูตรจะต่ำกว่าปกติ 3-5 °C ชื่อลานีญากำเนิดจากภาษาสเปน หมายถึง "เด็กหญิง" คล้ายกับเอลนีโญที่หมายถึง "เด็กชาย" ลานีญา หรือที่บางทีเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า "แอนติเอลนีโญ" เป็นปรากฏการณ์ตรงกันข้ามกับเอลนีโญ ซึ่งปรากฏการณ์เอลนีโญนี้จะเป็นช่วงที่อุณหภูมิพื้นผิวน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นอย่างน้อย 0.5 °C และผลกระทบของลานีญามักจะตรงกันข้ามกับของเอลนีโญ เอลนีโญเป็นปรากฏการณ์ที่มีชื่อเสียงเนื่องจากสามารถมีผลกระทบร้ายแรงต่อสภาพอากาศของทั้งชายฝั่งชิลี เปรูและออสเตรเลีย รวมทั้งอีกหลายประเทศ ลานีญามักเกิดขึ้นหลังปรากฏการณ์เอลนีโญรุนแรง.

ใหม่!!: ทุพภิกขภัยในจะงอยแอฟริกา พ.ศ. 2554และลานีญา · ดูเพิ่มเติม »

สำนักงานเพื่อการประสานงานด้านมนุษยธรรมแห่งสหประชาชาติ

สำนักงานเพื่อการประสานงานด้านมนุษยธรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Office for the Coordination of Humanitarian Affairs, ย่อ: OCHA) เป็นองค์กรของสหประชาชาติ ก่อตั้งในปี 2534 โดยข้อมติสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติที่ 46/182 ข้อมติออกแบบมาเพื่อสร้างเสริมการสนองของสหประชาชาติต่อภาวะฉุกเฉินและภัยพิบัติธรรมชาติที่ซับซ้อน องค์การก่อนหน้านี้ของสหประชาชาติที่มีภารกิจคล้ายกัน คือ กรมกิจการมนุษยธรรม (Department of Humanitarian Affairs, DHA) และองค์การก่อนหน้า สำนักงานผู้ประสานงานการบรรเทาภัยพิบัติสหประชาชาติ (United Nations Disaster Relief Coordinator, UNDRC) ในปี 2541 เนื่องจากการจัดระเบียบใหม่ DHA รวมเข้ากับ OCHA และได้รับออกแบบให้เป็นศูนย์กลางภัยพิบัติขนาดใหญ่ของสหประชาชาติ เป็นผู้สังเกตการณ์การประชุมของกลุ่มพัฒนาสหประชาชาติ หลังรวมกับ DHA อาณัติของสำนักงานฯ ขยายไปครอบคลุมการประสานงานการสนองทางมนุษยธรรม การพัฒนานโยบายและการสนับสนุนมนุษยธรรม กิจกรรมขององค์กรมีการจัดระเบียบและการเฝ้าดูการจัดหาทุนทางมนุษยธรรม ตลอดจนการแลกเปลี่ยนสารนิเทศ การประสานงานและทีมสอบสวนเคลื่อนที่เร็วสำหรับการบรรเทาภาวะฉุกเฉิน ตั้งแต่วันที่ 29 พฤษภาคม 2558 สตีเฟน โอไบรอัน (Stephen O'Brien) เป็นหัวหน้า OCHA โดยเป็นปลัดเลขาธิการด้านกิจการมนุษยธรรมและผู้ประสานงานการบรรเทาภาวะฉุกเฉิน (USG/ERC) มีวาระห้าปี หมวดหมู่:องค์การช่วยเหลือมนุษยธรรม หมวดหมู่:การป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน หมวดหมู่:กลุ่มพัฒนาแห่งสหประชาชาติ หมวดหมู่:องค์กรสาขาสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ.

ใหม่!!: ทุพภิกขภัยในจะงอยแอฟริกา พ.ศ. 2554และสำนักงานเพื่อการประสานงานด้านมนุษยธรรมแห่งสหประชาชาติ · ดูเพิ่มเติม »

หยาดน้ำฟ้า

ในทางอุตุนิยมวิทยา หยาดน้ำฟ้า (precipitation) เป็นปรากฏการณ์ของน้ำในอากาศ (hydrometeor) ประเภทหนึ่ง ซึ่งหมายความถึงผลิตภัณฑ์ใด ๆ อันเกิดจากการควบแน่นของไอน้ำในบรรยากาศและตกลงมาด้วยอิทธิพลของแรงโน้มถ่วง รูปแบบหลักของหยาดน้ำฟ้าประกอบด้วยฝนละออง (drizzle), ฝน, ฝนน้ำแข็ง (sleet), หิมะ, ลูกปรายหิมะ (graupel) และลูกเห็บ หยาดน้ำฟ้าเกิดขึ้นเมื่อบรรยากาศเหนือพื้นดินบริเวณหนึ่งอิ่มตัวด้วยไอน้ำ จากนั้นน้ำเกิดการควบแน่นและตกลงมา หมอกและหมอกน้ำค้างจึงไม่จัดเป็นหยาดน้ำฟ้า มีอยู่สองกระบวนการที่อากาศอิ่มตัวได้ คือ อากาศได้รับความเย็นหรือเพิ่มไอน้ำเข้าไปในอากาศ ซึ่งสองกระบวนการนี้อาจเกิดร่วมกันได้ โดยทั่วไป หยาดน้ำฟ้าจะตกกลับคืนสู่พื้นดิน แต่ยกเว้นน้ำโปรยฐานเมฆ (virga) ซึ่งระเหยไปหมดก่อนตกถึงพื้น หยาดน้ำฟ้าก่อตัวขึ้นเป็นหยาดเล็กที่รวมกันโดยชนกับหยดฝนหรือผลึกน้ำแข็งอื่นภายในเมฆ หยดฝนที่ตกลงมามีขนาดแตกต่างกันตั้งแต่รูปทรงคล้ายแพนเค้กกลมแป้นสำหรับหยดขนาดใหญ่ ถึงทรงกลมเล็กสำหรับหยดขนาดเล็ก เกล็ดหิมะ (snowflake) มีหลายรูปทรงและแบบ ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิและความชื้นของอากาศที่เกล็ดหิมะเคลื่อนผ่านก่อนตกสู่พื้น หิมะและลูกปรายหิมะจะเกิดเฉพาะเมื่ออุณหภูมิใกล้ผิวดินใกล้หรือต่ำกว่าจุดเยือกแข็งของน้ำ ส่วนลูกเห็บสามารถเกิดขึ้นในเขตอุณหภูมิอบอุ่นได้จากกระบวนการก่อตัว โดยรวมหยาดน้ำฟ้าเกิดจากความชื้นเหนือแนวปะทะ (weather front) เป็นหลัก หากมีความชื้นเพียงพอและมีการเคลื่อนที่ขึ้น หยาดน้ำฟ้าจะตกจากมวลอากาศร้อนขึ้นทางแนวดิ่ง (convective cloud) เช่น คิวมูโลนิมบัส และสามารถก่อตัวเป็นบริเวณแถบฝนแคบ ๆ ได้.

ใหม่!!: ทุพภิกขภัยในจะงอยแอฟริกา พ.ศ. 2554และหยาดน้ำฟ้า · ดูเพิ่มเติม »

องค์การอนามัยโลก

องค์การอนามัยโลก (World Health Organization ตัวย่อ WHO) เป็นทบวงการชำนัญพิเศษของสหประชาชาติ ซึ่งรับผิดชอบการประสานงานด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ ก่อตั้งเมื่อ 7 เมษายน..

ใหม่!!: ทุพภิกขภัยในจะงอยแอฟริกา พ.ศ. 2554และองค์การอนามัยโลก · ดูเพิ่มเติม »

องค์การแพทย์ไร้พรมแดน

องค์การแพทย์ไร้พรมแดน (Médecins Sans Frontières,, เมดแซ็งซ็องฟรงเตียร์) หรือ แอมแอ็สเอ็ฟ (MSF) เป็นองค์การสาธารณประโยชน์ที่ก่อตั้งเพื่อให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม โดยมุ่งช่วยเหลือประเทศที่ตกอยู่ในภาวะสงคราม หรือประเทศกำลังพัฒนาที่ประสบปัญหาโรคระบาด องค์การแพทย์ไร้พรมแดน ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2514 โดยพัฒนามาจากกลุ่มความช่วยเหลือทางการแพทย์และผ่าตัดโดยรีบด่วน (Groupe d'Intervention Médicale et Chirurgicale en Urgence, กรุปแด็งแตร์ว็องซียงเมดีกาเลชีรูร์ฌีกาล็องนูร์ฌ็องส์) ซึ่งเป็นกลุ่มแพทย์อาสาสมัครชาวฝรั่งเศส ที่ให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมภายหลังการเกิดสงครามกลางเมืองในประเทศไนจีเรีย (พ.ศ. 2510 - พ.ศ. 2513) ปัจจุบันบริหารงานโดยคณะกรรมการซึ่งมีสำนักงานอยู่ที่นครเจนีวา สวิตเซอร์แลนด์ ดำเนินงานโดยแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่ประมาณ 3,000 คน ปฏิบัติงานในโครงการต่าง ๆ สำหรับในสหรัฐอเมริกา องค์การนี้ใช้ชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า Doctors Without Borders องค์การแพทย์ไร้พรมแดน ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพประจำปี ค.ศ. 1999 จากการเป็นผู้นำ ให้ความช่วยเหลือด้านการแพทย์ในทวีปต่าง.

ใหม่!!: ทุพภิกขภัยในจะงอยแอฟริกา พ.ศ. 2554และองค์การแพทย์ไร้พรมแดน · ดูเพิ่มเติม »

จะงอยแอฟริกา

ประเทศในแหลมแอฟริกา แหลมแอฟริกา (القرن الأفريقي‎, Horn of Africa, หรือเรียกในชื่อ แอฟริกาตะวันออกเฉียงเหนือ หรือ คาบสมุทรโซมาลี) เป็นคาบสมุทรในแอฟริกาตะวันออกที่มีแผ่นดินยื่นเข้าไปในทะเลอาหรับหลายร้อยกิโลเมตร และตั้งอยู่ทางด้านใต้ของอ่าวเอเดน เป็นส่วนที่อยู่ทางตะวันออกสุดของทวีปแอฟริกา จะงอยแอฟริกาเป็นที่ตั้งของประเทศเอริเตรีย, จิบูตี, เอธิโอเปีย และโซมาเลียRobert Stock, Africa South of the Sahara, Second Edition: A Geographical Interpretation, (The Guilford Press: 2004), p. 26Michael Hodd, East Africa Handbook, 7th Edition, (Passport Books: 2002), p. 21: "To the north are the countries of the Horn of Africa comprising Ethiopia, Eritrea, Djibouti and Somalia."Encyclopaedia Britannica, inc, Jacob E. Safra, The New Encyclopaedia Britannica, (Encyclopaedia Britannica: 2002), p.61: "The northern mountainous area, known as the Horn of Africa, comprises Djibouti, Ethiopia, Eritrea, and Somalia."Sandra Fullerton Joireman, Institutional Change in the Horn of Africa, (Universal-Publishers: 1997), p.1: "The Horn of Africa encompasses the countries of Ethiopia, Eritrea, Djibouti and Somalia.

ใหม่!!: ทุพภิกขภัยในจะงอยแอฟริกา พ.ศ. 2554และจะงอยแอฟริกา · ดูเพิ่มเติม »

ทุพภิกขภัย

ทุพภิกขภัย (famine) คือสภาวะของการขาดแคลนอาหารอย่างกว้างขวางซึ่งอาจใช้กับสภาวะที่เกิดในสัตว์ชนิดใดก็ได้ วิกฤติการณ์ดังกล่าวมักจะตามมาด้วยสภาวะทุพโภชนาการ, การอดอยาก, โรคระบาด และการเพิ่มจำนวนการเสียชีวิต องค์ประกอบสำคัญในการบรรเทาสภาวะทุพภิกขภัยก็ได้แก่การแจกจ่ายสารอาหารรอง เช่นวิตามินและ แร่ธาตุจากซองอาหารบำบัดที่ประกอบด้วยสารเสริมอาหาร หรือให้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารโดยตรงhttp://www.time.com/time/magazine/article/0,9171,1914655, 00.html Can one pill tame the illness no one wants to talk about? ประเภทการบรรเทาสภาวะทุพภิกขภัยแบบหนึ่งการให้เงินหรือให้ตั๋วแก่ผู้ที่อดอยากเพื่อนำไปซื้อหรือแลกเปลี่ยนเป็นอาหารจากเกษตรกรท้องถิ่น แทนที่จะนำทุนไปซื้ออาหารจากประเทศผู้บริจาค กฎหมายมักต้องระบุ เพราะเป็นการเสียเงินค่าขนส่ง การแก้ปัญหาความขาดแคลนระยะยาวก็ทำได้โดยการลงทุนในการเกษตรกรรมแบบใหม่ในภูมิภาคที่ยังไม่มีระบบดังกล่าว เช่นการใช้ปุ๋ย และสร้างระบบการชลประทานอันวิธีสำคัญที่ใช้ในการกำจัดความหิวโหยในประเทศพัฒนาแล้ว แต่กฎของธนาคารโลกจำกัดการให้ทุนช่วยเหลือเกษตรกร และการใช้ปุ๋ยก็ได้รับการต่อต้านจากนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมบางกลุ่มเพราะมีผลตามมาอย่างคาดไม่ถึง คือ ปริมาณน้ำและถิ่นที่อยู่อาศัยของสัตว์ลดลงhttp://www.theatlantic.com/issues/97jan/borlaug/borlaug.htm Forgotten benefactor of humanity.

ใหม่!!: ทุพภิกขภัยในจะงอยแอฟริกา พ.ศ. 2554และทุพภิกขภัย · ดูเพิ่มเติม »

ข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ

้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (United Nations High Commissioner for Refugees, คำย่อ UNHCR) เป็นองค์การที่รับภารกิจหน้าที่จาก UNRRA: United Nations Relief and Rehabilitation Administration ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2486 โดยแฟรงกลิน ดี. รูสเวลต์ ประธานาธิบดีคนที่ 32 ของสหรัฐอเมริกา ทำหน้าที่ช่วยเหลือการกลับถิ่นฐานเดิมของผู้ลี้ภัยจำนวนกว่า 8 ล้านคน ซึ่งเกิดจากการสู้รบในสงครามโลกครั้งที่ 2 สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2493 โดยสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ ภารกิจหลัก คือ การปกป้องและสนับสนุนในกิจการที่เกี่ยวข้องกับผู้ลี้ภัยทั่วโลก ตามข้อเรียกร้องของรัฐบาลในแต่ละประเทศหรือข้อเรียกร้องของสหประชาชาติ นอกจากนี้ สำนักงานฯ ยังมีหน้าที่สำคัญในการส่งผู้ลี้ภัยกลับประเทศต้นทาง หรือ ประเทศที่สามเพื่อตั้งถิ่นฐานใหม่ สำนักงานฯ มีภารกิจหลักคือ เป็นผู้นำและประสานงานในการรวบรวมความช่วยเหลือจากนานาประเทศ เพื่อปกป้องและแก้ปัญหาของผู้ลี้ภัยทั่วโลก และการปกป้องสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้ลี้ภัย โดยเฉพาะสิทธิที่จะอาศัยอยู่อย่างปลอดภัยในรัฐอื่น เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับทางออกที่ยั่งยืน ซึ่งได้แก่การเดินทางกลับภูมิลำเนาเดิมโดยสมัครใจ (voluntary repatriation) การตั้งถิ่นฐานในรัฐผู้รับ (local integration) หรือการไปตั้งถิ่นฐานในประเทศที่สาม (third country resettlement) และภารกิจที่ตามมาคือ การปกป้องและให้ความช่วยเหลือตามหลักมนุษยธรรมแก่บุคคลในความห่วงใย (person of concern, POC) กลุ่มอื่น ๆ ซึ่งได้แก่ ผู้แสวงหาที่พักพิง (asylum seeker) ผู้พลัดถิ่นภายในประเทศ (internally displaced person) บุคคลไร้รัฐ (stateless person) และผู้ที่เดินทางกลับประเทศต้นทาง (returnee) ภารกิจของสำนักงานฯ ในขณะนี้ มักจะอยู่ในประเทศที่ยังคงมีสถานการณ์ทางการเมืองที่ไม่ปกติและประเทศใกล้เคียง เช่น เลบานอน ซูดาน ชาด อิรัก อัฟกานิสถาน เคนยา อย่างไรก็ตาม สำนักงานฯ ยังมีภารกิจครอบคลุมไปถึงผู้ที่หนีภัยจากการประหัตประหาร และผู้ที่พลัดถิ่นอันเนื่องมาจากภัยพิบัติอีกด้วย ทั้งนี้ สำนักงานฯ มีสำนักงานระดับภูมิภาคในประเทศไทยที่อาคารสำนักงานสหประชาชาติ ถนนราชดำเนินนอก สำนักงานฯ ได้รับรางวัลโนเบลสันติภาพในปี พ.ศ. 2497 และ พ.ศ. 2524 ข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติคนปัจจุบันคือ นายฟีลิปโป กรันดี (Filippo Grandi) นักการทูตชาวอิตาลี และประธานคณะกรรมการบริหารสำนักงานฯ คนปัจจุบันได้แก่ นาย Carsten Staur เอกอัครราชทูตราชอาณาจักรเดนมาร์กประจำสำนักงานสหประชาชาติ ณ นครเจนีว.

ใหม่!!: ทุพภิกขภัยในจะงอยแอฟริกา พ.ศ. 2554และข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศยูกันดา

ูกันดา (Uganda) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐยูกันดา (Republic of Uganda) เป็นประเทศในแอฟริกาตะวันออก มีอาณาเขตทางตะวันออกจดประเทศเคนยา ทางเหนือจดประเทศซูดานใต้ ทางตะวันตกจดสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก (ซาอีร์เดิม) ทางตะวันตกเฉียงใต้จดประเทศรวันดา และทางใต้จดประเทศแทนซาเนีย ทางใต้ของประเทศรวมถึงบางส่วนของทะเลสาบวิกตอเรีย ซึ่งมีพรมแดนติดกับเคนยาและแทนซาเนียด้วย ยูกันดาได้ชื่อมาจากอาณาจักรบูกันดาซึ่งมีพื้นที่ครอบคลุมทางใต้ของประเทศ รวมถึงเมืองหลวง กัมปาลา นอกจากนี้ยังมีอาณาจักรอื่นคือ อาณาจักรโตโร อาณาจักรบุนโยโร-กิตารา อาณาจักรบูโซกา อาณาจักรอันโกเล อาณาจักรรเวนซูรูรู เมืองหลวงเก่าของประเทศนี้คือเอนเทบบี อันเป็นที่ตั้งของสนามบินแห่งชาติยูกันดาด้ว.

ใหม่!!: ทุพภิกขภัยในจะงอยแอฟริกา พ.ศ. 2554และประเทศยูกันดา · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศจิบูตี

ูตี (جيبوتي; Djibouti) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐจิบูตี (جمهورية جيبوتي; République de Djibouti) เป็นนครรัฐในแอฟริกาตะวันออกในภูมิภาคจะงอยแอฟริกา จิบูตีมีอาณาเขตทางเหนือจดประเทศเอริเทรีย ทางตะวันตกและใต้จดเอธิโอเปีย ทางตะวันออกเฉียงใต้จดโซมาเลีย อาณาเขตส่วนที่เหลือคือชายฝั่งทะเลแดงและอ่าวเอเดน ในอีกด้านของทะเลแดงคือคาบสมุทรอาหรับในส่วนของประเทศเยเมน ห่างจากฝั่งของจิบูตี 20 กิโลเมตร.

ใหม่!!: ทุพภิกขภัยในจะงอยแอฟริกา พ.ศ. 2554และประเทศจิบูตี · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศซูดาน

ซูดาน (Sudan; السودان) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐซูดาน (Republic of the Sudan; جمهورية السودان) เป็นประเทศที่ในอดีตมีพื้นที่มากที่สุดในทวีปแอฟริกา ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของทวีป มีเมืองหลวงชื่อคาร์ทูม มีพรมแดนทางทิศเหนือติดกับประเทศอียิปต์ ทิศใต้ติดต่อกับเซาท์ซูดาน ทิศตะวันออกเฉียงเหนือติดกับทะเลแดง ทิศตะวันออกติดกับเอริเทรียและเอธิโอเปีย ทิศตะวันออกเฉียงใต้ติดกับเคนยาและยูกันดา ทิศตะวันตกเฉียงใต้ติดกับคองโกและสาธารณรัฐแอฟริกากลาง ทิศตะวันตกติดกับประเทศชาด และทิศตะวันตกเฉียงเหนือติดกับลิเบีย ชื่อของประเทศมาจากภาษาอาหรับว่า Bilad-al-Sudan ซึ่งแปลว่าดินแดนของคนผิวดำ ปัจจุบันซูดานกลายเป็นประเทศที่ขาดความมั่นคงตามดัชนีความเสี่ยงของการเป็นรัฐที่ล้มเหลว เพราะการปกครองแบบเผด็จการทหารและสงครามดาร์ฟูร.

ใหม่!!: ทุพภิกขภัยในจะงอยแอฟริกา พ.ศ. 2554และประเทศซูดาน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศโซมาเลีย

ซมาเลีย (Somalia; Soomaaliya; الصومال) หรือชื่อประเทศอย่างเป็นทางการว่า สหพันธ์สาธารณรัฐโซมาเลีย (Federal Republic of Somalia; Jamhuuriyadda Federaalka Soomaaliya; جمهورية الصومال الفدرالية) มีชื่อเดิมว่า สาธารณรัฐประชาธิปไตยโซมาลี และ สาธารณรัฐโซมาลี มีพื้นที่ติดกับแหลมแอฟริกา มีพรมแดนทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือติดกับจีบูติ ทิศตะวันตกเฉียงใต้ติดกับเคนยา มีพื้นที่ทางทิศเหนือติดกับประเทศเยเมนโดยมีอ่าวเอเดนเป็นพรมแดนทางทะเล ทิศตะวันออกติดกับมหาสมุทรอินเดีย และทิศตะวันตกติดกับประเทศเอธิโอเปี.

ใหม่!!: ทุพภิกขภัยในจะงอยแอฟริกา พ.ศ. 2554และประเทศโซมาเลีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเอธิโอเปีย

อธิโอเปีย (Ethiopia; อามฮารา) หรือชื่อทางการคือ สหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเอธิโอเปีย (Federal Democratic Republic of Ethiopia; อามฮารา) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลที่ตั้งอยู่ในส่วนแหลมของทวีปแอฟริกา (Horn of Africa) เป็นหนึ่งในชาติที่มีประวัติศาสตร์อันต่อเนื่องยาวนานที่สุดบนทวีปนี้ ในฐานะชาติอิสระ เอธิโอเปียเป็นประเทศเดียวในแอฟริกาที่ยังคงเอกราชระหว่างยุคล่าอาณานิคมในแอฟริกา (Scramble for Africa) และยังคงเอกราชไว้จนถึง พ.ศ. 2479 ซึ่งกองทัพอิตาลีในสมัยของเบนิโต มุสโสลินีได้เข้ายึดครองประเทศนี้ อังกฤษและเอธิโอเปียปราบกองทัพอิตาลีในพ.ศ. 2484 แต่เอธิโอเปียไม่ได้รับเอกราชใหม่จนถึงการลงนามในสนธิสัญญาระหว่างอังกฤษกับเอธิโอเปีย (Anglo-Ethiopian Agreement) เมื่อธันวาคม พ.ศ. 2487.

ใหม่!!: ทุพภิกขภัยในจะงอยแอฟริกา พ.ศ. 2554และประเทศเอธิโอเปีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเคนยา

นยา (อังกฤษและKenya) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐเคนยา (Republic of Kenya; Jamhuri ya Kenya) เป็นประเทศในแอฟริกาตะวันออก มีอาณาเขตจรดประเทศเอธิโอเปีย (ทางเหนือ) ประเทศโซมาเลีย (ทางตะวันออกเฉียงเหนือ) ประเทศแทนซาเนีย (ทางใต้) ประเทศยูกันดา (ทางตะวันตก) ประเทศเซาท์ซูดานและทะเลสาบวิกตอเรีย (ทางตะวันตกเฉียงเหนือ) และมหาสมุทรอินเดีย มีเมืองหลวงและเมืองใหญ่ที่สุดคือ ไนโรบี.

ใหม่!!: ทุพภิกขภัยในจะงอยแอฟริกา พ.ศ. 2554และประเทศเคนยา · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเซาท์ซูดาน

ซาท์ซูดาน (South Sudan) มีชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐเซาท์ซูดาน (Republic of South Sudan) เป็นประเทศในแอฟริกาตะวันออก เมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดมีชื่อว่า จูบา ซึ่งตั้งอยู่ในรัฐอิเควทอเรียลกลางที่อยู่ทางตอนใต้ของประเทศ เซาท์ซูดานเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล ทางตะวันออกมีอาณาเขตติดต่อกับเอธิโอเปีย ทางใต้ติดต่อกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก ทางตะวันตกติดต่อกับสาธารณรัฐแอฟริกากลาง และทางเหนือติดต่อกับซูดาน พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นบึงตมซึ่งเกิดขึ้นจากแม่น้ำไนล์ขาว หลังจากซูดานได้รับเอกราชเมื่อปี..

ใหม่!!: ทุพภิกขภัยในจะงอยแอฟริกา พ.ศ. 2554และประเทศเซาท์ซูดาน · ดูเพิ่มเติม »

แอฟริกาตะวันออก

นแดนแอฟริกาตะวันออก แอฟริกาตะวันออก เป็นภูมิภาคที่อยู่ทางตะวันออกของทวีปแอฟริกา ซึ่งประกอบไปด้วย 18 ประเทศคือ.

ใหม่!!: ทุพภิกขภัยในจะงอยแอฟริกา พ.ศ. 2554และแอฟริกาตะวันออก · ดูเพิ่มเติม »

โมกาดิชู

มกาดิชู (Muqdisho, หรือนิยมว่า ฮะมัร; مقديشو; Mogadiscio) เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดและเป็นเมืองหลวงของประเทศโซมาเลีย เป็นเมืองท่าทางทะเล ในภูมิภาคมหาสมุทรอินเดีย เมืองนี้สร้างขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 10 โดยชาวอาหรับ เป็นศูนย์กลางการค้าที่สำคัญ ตกเป็นของสุลต่านแห่งแซนซิบาร์โน ใน..

ใหม่!!: ทุพภิกขภัยในจะงอยแอฟริกา พ.ศ. 2554และโมกาดิชู · ดูเพิ่มเติม »

โรคหัด

รคหัด (measles) เป็นโรคติดเชื้อชนิดหนึ่งที่ติดต่อกันได้ง่ายมาก เกิดจากเชื้อไวรัสหัด ในระยะแรกผู้ป่วยจะมีไข้ ซึ่งมักเป็นไข้สูง (>40 องศาเซลเซียส) ไอ น้ำมูกไหลจากเยื่อจมูกอักเสบ และตาแดงจากเยื่อตาอักเสบ ในวันที่ 2-3 จะเริ่มมีจุดสีขาวขึ้นในปาก เรียกว่าจุดของคอปลิก จากนั้นในวันที่ 3-5 จะเริ่มมีผื่นเป็นผื่นแดงแบน เริ่มขึ้นที่ใบหน้า จากนั้นจึงลามไปทั่วตัว อาการมักเริ่มเป็น 10-12 หลังจากรับเชื้อ และมักเป็นอยู่ 7-10 วันสามารถพบภาวะแทรกซ้อนได้ราว 30% ซึ่งภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้ได้แก่ ท้องร่วง ตาบอด สมองอักเสบ ปอดอักเสบ และอื่นๆ โรคนี้เป็นคนละโรคกับโรคหัดเยอรมันและหัดกุหลาบ โรคหัดติดต่อทางอากาศ เชื้อหัดจะออกมาพร้อมกับการไอและการจามของผู้ป่วย นอกจากนี้ยังอาจติดต่อผ่านการสัมผัสน้ำลายหรือน้ำมูกของผู้ป่วยได้ด้วย หากมีผู้ที่ไม่มีภูมิคุ้มกันและอยู่ในที่เดียวกันกับผู้ติดเชื้อ จะเกิดการติดเชื้อถึงเก้าในสิบ ผู้ติดเชื้อจะสามารถแพร่เชื้อให้คนอื่นได้ตั้งแต่ 4 วันก่อนมีอาการ ไปจนถึง 4 วัน หลังเริ่มมีผื่น.

ใหม่!!: ทุพภิกขภัยในจะงอยแอฟริกา พ.ศ. 2554และโรคหัด · ดูเพิ่มเติม »

โครงการอาหารโลก

ัญลักษณ์โครงการอาหารโลก WFP โครงการอาหารโลก (World Food Programme;WFP) เป็นฝ่ายให้ความช่วยเหลือด้านอาหารขององค์การสหประชาชาติ และเป็นองค์การด้านมนุษยธรรมใหญ่ที่สุดของโลกซึ่งจัดการปัญหาความหิวโหยทั่วโลก โครงการอาหารโลกจัดหาอาหารให้แก่ประชากรโลกเฉลี่ย 90 ล้านคนต่อปี ซึ่งในจำนวนนี้ 58 ล้านคนเป็นเด็ก โครงการดังกล่าวมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในกรุงโรม ประเทศอิตาลี และมีสำนักงานสาขาในอีกมากกว่า 80 ประเทศทั่วโลก มีหน้าที่ทำงานช่วยเหลือผู้ไม่สามารถผลิตหรือได้อาหารเพียงพอแก่ตนเองและครอบครัว โครงการดังกล่าวเป็นสมาชิกของกลุ่มพัฒนาแห่งสหประชาชาติและเป็นส่วนหนึ่งของคณะผู้บริหารระดับสูงของกลุ่มฯ ใน..

ใหม่!!: ทุพภิกขภัยในจะงอยแอฟริกา พ.ศ. 2554และโครงการอาหารโลก · ดูเพิ่มเติม »

เอดส์

หมวดหมู่:กลุ่มอาการ หมวดหมู่:โรคระบาดทั่ว หมวดหมู่:โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หมวดหมู่:ไวรัส หมวดหมู่:ภัยพิบัติทางการแพทย์ หมวดหมู่:ความผิดปกติทางระบบภูมิคุ้มกัน หมวดหมู่:โรคติดเชื้อไวรัส หมวดหมู่:วิทยาไวรัส หมวดหมู่:จุลชีววิทยา.

ใหม่!!: ทุพภิกขภัยในจะงอยแอฟริกา พ.ศ. 2554และเอดส์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ทุพภิกขภัยในฮอร์นออฟแอฟริกา พ.ศ. 2554ทุพภิกขภัยในจงอยแอฟริกา พ.ศ. 2554

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »