โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ประเทศเซาท์ซูดาน

ดัชนี ประเทศเซาท์ซูดาน

ซาท์ซูดาน (South Sudan) มีชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐเซาท์ซูดาน (Republic of South Sudan) เป็นประเทศในแอฟริกาตะวันออก เมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดมีชื่อว่า จูบา ซึ่งตั้งอยู่ในรัฐอิเควทอเรียลกลางที่อยู่ทางตอนใต้ของประเทศ เซาท์ซูดานเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล ทางตะวันออกมีอาณาเขตติดต่อกับเอธิโอเปีย ทางใต้ติดต่อกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก ทางตะวันตกติดต่อกับสาธารณรัฐแอฟริกากลาง และทางเหนือติดต่อกับซูดาน พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นบึงตมซึ่งเกิดขึ้นจากแม่น้ำไนล์ขาว หลังจากซูดานได้รับเอกราชเมื่อปี..

43 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2554พลังงานน้ำกองทุนการเงินระหว่างประเทศการลงประชามติแยกเซาท์ซูดานเป็นเอกราช พ.ศ. 2554ภาษาสเปนภาษาอังกฤษระบบประธานาธิบดีรัฐสมาชิกสหประชาชาติสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติสหภาพยุโรปสังกะสีสันนิบาตอาหรับสาธารณรัฐสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกสาธารณรัฐแอฟริกากลางอุมัร ฮะซัน อะห์มัด อัลบะชีรองค์การกำหนดหมายเลขอินเทอร์เน็ตฮิวแมนไรตส์วอตช์จูบาธนาคารโลกทองคำทองแดงทังสเตนคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติซีเอ็นเอ็นประเทศรวันดาประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลประเทศซูดานประเทศเอธิโอเปียประเทศเคนยาปอนด์เซาท์ซูดานปิโตรเลียมแอฟริกาตะวันออกแองกลิคันโครเมียมไมกาเวลาแอฟริกาตะวันออกเอกราชเดอะ บีเอ็มเจเครือจักรภพแห่งประชาชาติเงิน (โลหะ).ss14 กรกฎาคม

พ.ศ. 2554

ทธศักราช 2554 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2011 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันเสาร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น.

ใหม่!!: ประเทศเซาท์ซูดานและพ.ศ. 2554 · ดูเพิ่มเติม »

พลังงานน้ำ

ลังงานน้ำ (hydropower, water power) เป็นรูปแบบหนึ่งการสร้างกำลังโดยการอาศัยพลังงานของน้ำที่เคลื่อนที่ ปัจจุบันนี้พลังงานน้ำส่วนมากจะถูกใช้เพื่อใช้ในการผลิตไฟฟ้า นอกจากนี้แล้วพลังงานน้ำยังถูกนำไปใช้ในกรมชลประทาน การสี การทอผ้า และใช้ในโรงเลื่อย พลังงานของมวลน้ำที่เคลื่อนที่ได้ถูกมนุษย์นำมาใช้มานานแล้วนับศตวรรษ โดยได้มีการสร้างกังหันน้ำ (Water Wheel) เพื่อใช้ในการงานต่างๆ ในอินเดีย และชาวโรมันก็ได้มีการประยุกต์ใช้เพื่อใช้ในการโม่แป้งจากเมล็ดพืชต่างๆ ส่วนในจีนและตะวันออกไกลก็ได้มีการใช้พลังงานน้ำในการวิดน้ำเพื่อการชลประทาน โดยในช่วงทศวรรษที่ 1830 ซึ่งเป็นยุคที่การสร้างคลองเฟื่องฟู ก็ได้มีการประยุกต์เอาพลังงานน้ำมาใช้เพื่อขับเคลื่อนเรือขึ้นและลงจากเขา โดยอาศัยรางรถไฟที่ลาดเอียง อย่างไรก็ตามเนื่องจากการประยุกต์ใช้พลังงานน้ำในยุคแรกนั้นเป็นการส่งต่อพลังงานโดยตรง (Direct Mechanical Power Transmission) ทำให้การใช้ พลังงานน้ำในยุคนั้นต้องอยู่ใกล้แหล่งพลังงาน เช่น น้ำตก เป็นต้น ปัจจุบันนี้ พลังงานน้ำได้ถูกใช้เพื่อการผลิตกระแสไฟฟ้ากันอย่างกว้างขวาง ทำให้สามารถส่งต่อพลังงานไปใช้ในที่ที่ห่างจากแหล่งน้ำได้ พลังงานน้ำเกิดจากพลังงานแสงอาทิตย์ ที่ให้ความร้อนแก่น้ำและทำให้น้ำกลายเป็นไอน้ำลอยตัวสูงขึ้น มวลน้ำที่อยู่สูงขึ้นจากจุดเดิม (พลังงานศักย์) เมื่อมวลไอน้ำกระทบความเย็นก็จะเปลี่ยนเป็นของเหลวอีกครั้ง และตกลงมาเนื่องจากเนื่องจากแรงดึงดูดของโลก (พลังงานจลน์) การนำเอาพลังงานน้ำมาใช้ประโยชน์ทำได้โดยการเปลี่ยนพลังงานจลน์ของน้ำที่ไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำให้เป็นกระแสไฟฟ้า อุปกรณ์ที่ใช้ในการเปลี่ยนนี้คือ กังหันน้ำ (Turbines) น้ำที่มีความเร็วสูงจะผ่านเข้าท่อแล้วถ่ายทอดพลังงานจลน์เข้าสู่กังหันน้ำ ซึ่งจะไปหมุนขับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าอีกทอดหนึ่ง ในปัจจุบันพลังงานที่ได้จากแหล่งน้ำที่รู้จักกันโดยทั่วไปคือ พลังงานน้ำตก พลังงานน้ำขึ้นน้ำลง พลังงานคลื่น.

ใหม่!!: ประเทศเซาท์ซูดานและพลังงานน้ำ · ดูเพิ่มเติม »

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ

ัญลักษณ์ของ IMF กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund) หรือ ไอเอ็มเอฟ (IMF) เป็นองค์กรที่รัฐบาลของกลุ่มประเทศพันธมิตรได้ร่วมก่อตั้งขึ้น มีฐานะเป็นทบวงการชำนาญพิเศษของสหประชาชาติ โดยมีข้อบังคับว่าประเทศที่จะเป็นสมาชิกธนาคารโลก และจะต้องเป็นสมาชิกของ IMF ด้วย เริ่มเปิดดำเนินการในเดือนมีนาคม ปี..

ใหม่!!: ประเทศเซาท์ซูดานและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ · ดูเพิ่มเติม »

การลงประชามติแยกเซาท์ซูดานเป็นเอกราช พ.ศ. 2554

การลงประชามติแยกเซาท์ซูดานเป็นเอกร..

ใหม่!!: ประเทศเซาท์ซูดานและการลงประชามติแยกเซาท์ซูดานเป็นเอกราช พ.ศ. 2554 · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาสเปน

ษาสเปน (Spanish; สเปน: español) หรือ ภาษาคาสตีล (Castilian; สเปน: castellano) เป็นภาษาในกลุ่มภาษาไอบีเรียนโรมานซ์ หนึ่งในภาษาทางการ 6 ภาษาขององค์การสหประชาชาติ และภาษาที่มีผู้พูดเป็นภาษาแม่มากที่สุดในโลกรองจากภาษาจีนกลาง รวมทั้งยังเป็นภาษาราชการขององค์การระหว่างประเทศทางเศรษฐกิจและการเมืองที่สำคัญอีกหลายองค์การอีกด้วย เช่น สหภาพยุโรป สหภาพแอฟริกา องค์การรัฐอเมริกา องค์การรัฐไอบีเรียอเมริกา ข้อตกลงการค้าเสรีอเมริกาเหนือ และสหภาพชาติอเมริกาใต้ เป็นต้น มีผู้พูดภาษาสเปนเป็นภาษาที่หนึ่งและภาษาที่สองเป็นจำนวนระหว่าง 450-500 ล้านคนEl País.

ใหม่!!: ประเทศเซาท์ซูดานและภาษาสเปน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอังกฤษ

ษาอังกฤษ หรือ ภาษาอังกฤษใหม่ เป็นภาษาในกลุ่มภาษาเจอร์แมนิกตะวันตกที่ใช้ครั้งแรกในอังกฤษสมัยต้นยุคกลาง และปัจจุบันเป็นภาษาที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก ประชากรส่วนใหญ่ในหลายประเทศ รวมทั้ง สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย ไอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ และประเทศในแคริบเบียน พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่หนึ่ง ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ที่มีผู้พูดมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก รองจากภาษาจีนกลางและภาษาสเปน มักมีผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองอย่างกว้างขวาง และภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการของสหภาพยุโรป หลายประเทศเครือจักรภพแห่งชาติ และสหประชาชาติ ตลอดจนองค์การระดับโลกหลายองค์การ ภาษาอังกฤษเจริญขึ้นในราชอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนอังกฤษ และบริเวณสกอตแลนด์ตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน หลังอิทธิพลอย่างกว้างขวางของบริเตนใหญ่และสหราชอาณาจักรตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 จนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผ่านจักรวรรดิอังกฤษ และรวมสหรัฐอเมริกาด้วยตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ภาษาอังกฤษได้แพร่หลายทั่วโลก กลายเป็นภาษาชั้นนำของวจนิพนธ์ระหว่างประเทศและเป็นภาษากลางในหลายภูมิภาค ในประวัติศาสตร์ ภาษาอังกฤษกำเนิดจากการรวมภาษาถิ่นหลายภาษาที่สัมพันธ์อย่างใกล้ชิด ซึ่งปัจจุบันเรียกรวมว่า ภาษาอังกฤษเก่า ซึ่งผู้ตั้งนิคมนำมายังฝั่งตะวันออกของบริเตนใหญ่เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 5 คำในภาษาอังกฤษจำนวนมากสร้างขึ้นบนพื้นฐานรากศัพท์ภาษาละติน เพราะภาษาละตินบางรูปแบบเป็นภาษากลางของคริสตจักรและชีวิตปัญญาชนยุโรปDaniel Weissbort (2006).

ใหม่!!: ประเทศเซาท์ซูดานและภาษาอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ระบบประธานาธิบดี

ระบบประธานาธิบดี คือ ระบอบที่ตั้งให้ประมุขแห่งรัฐมีอำนาจสูงสุดอย่างเต็มที่ คณะรัฐบาลอยู่ใต้อำนาจของประมุขแห่งรัฐ (เช่น อำนาจในการแต่งตั้งหรือถอดถอนคณะรัฐบาล) ในรัฐธรรมนูญของบางประเทศ อาจให้มีตำแหน่งนายกรัฐมนตรีควบคู่ไปกับประธานาธิบดีได้ แต่ส่วนมากนายกรัฐมนตรีในระบบประธานาธิบดีจะไม่มีอำนาจเท่ากับในระบอบรัฐสภา ระบบประธานาธิบดีมีต้นกำเนิดในสหรัฐอเมริกา ประเทศที่ใช้ระบบประธานาธิบดีได้แก่ สหรัฐอเมริกา บราซิล เม็กซิโก เป็นต้น.

ใหม่!!: ประเทศเซาท์ซูดานและระบบประธานาธิบดี · ดูเพิ่มเติม »

รัฐสมาชิกสหประชาชาติ

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: ประเทศเซาท์ซูดานและรัฐสมาชิกสหประชาชาติ · ดูเพิ่มเติม »

สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ

มัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ (United Nations General Assembly) เป็นองค์กรที่มีอำนาจมากที่สุดและเป็นหนึ่งในเสาหลักของสหประชาชาติ เป็นเพียงองค์กรเดียวของสหประชาชาติที่ตัวแทนของแต่ละประเทศสมาชิกมีสิทธิและฐานะเท่าเทียมกัน สมัชชาใหญ่มีหน้าที่ตรวจสอบงบประมาณและการใช้จ่ายในโครงการของสหประชาชาติ แต่งตั้งสมาชิกไม่ถาวรในคณะมนตรีความมั่นคง รับรายงานจากทั่วทุกมุมโลกเพื่ออภิปรายและให้ความเห็น ตลอดจนจัดตั้งองค์กรลูกต่างๆมากมายของสหประชาชาติ การประชุมสมัชชาใหญ่ครั้งแรกมีขึ้นในวันที่ 10 มกราคม..

ใหม่!!: ประเทศเซาท์ซูดานและสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ · ดูเพิ่มเติม »

สหภาพยุโรป

หภาพยุโรป (European Union: EU) เป็นสหภาพทางเศรษฐกิจและการเมือง ประกอบด้วยรัฐสมาชิก 28 ประเทศซึ่งส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในทวีปยุโรป มีพื้นที่ 4,324,782 ตารางกิโลเมตร มีประชากรที่ประเมินกว่า 510 ล้านคน สหภาพยุโรปพัฒนาตลาดเดี่ยวภายในผ่านระบบกฎหมายทำให้เป็นมาตรฐานซึ่งใช้บังคับในรัฐสมาชิกทุกประเทศ นโยบายสหภาพยุโรปมุ่งประกันการเคลื่อนย้ายบุคคล สินค้า บริการและทุนอย่างเสรีในตลาดเดี่ยว ตรากฎหมายด้านยุติธรรมและกิจการในประเทศและธำรงนโยบายร่วมกันด้านการค้า เกษตรกรรม การประมงและการพัฒนาภูมิภาค การควบคุมหนังสือเดินทางถูกเลิกภายในพื้นที่เชงเกน มีการตั้งสหภาพการเงินในปี 2542 และมีผลบังคับเต็มที่ในปี 2545 ประกอบด้วยรัฐสมาชิกสหภาพยุโรป 19 ประเทศซึ่งใช้สกุลเงินยูโร สหภาพยุโรปดำเนินการผ่านระบบผสมระหว่างสหภาพเหนือชาติและความร่วมมือระหว่างรัฐบาล องค์กรตัดสินใจหลักเจ็ดองค์กร เรียก สถาบันของสหภาพยุโรป ได้แก่ ที่ประชุมยุโรป คณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรป รัฐสภายุโรป คณะกรรมาธิการยุโรป ศาลยุติธรรมแห่งสหภาพยุโรป ธนาคารกลางยุโรปและศาลผู้สอบบัญชียุโรป สหภาพยุโรปกำเนิดขึ้นจากประชาคมถ่านหินและเหล็กกล้าแห่งยุโรป (ECSC) และประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (EEC) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2494 และ 2501 ตามลำดับโดยประเทศอินเนอร์ซิกส์ ประชาคมและองค์การสืบเนื่องมีขนาดเติบโตขึ้นโดยการเข้าร่วมของสมาชิกใหม่และมีอำนาจมากขึ้นโดยการเพิ่มขอบเขตนโยบายในการจัดการ สนธิสัญญามาสทริชท์สถาปนาสหภาพยุโรปในปี 2536 และนำเสนอความเป็นพลเมืองยุโรป การแก้ไขหลักพื้นฐานรัฐธรรมนูญล่าสุดของสหภาพยุโรปล่าสุด สนธิสัญญาลิสบอน มีผลใช้บังคับในปี 2552 สหภาพยุโรปมีประชากรคิดเป็น 7.3% ของประชากรโลก ในปี 2559 สหภาพยุโรปผลิตผลิตภัณฑ์มวลรวมภายใน 16.477 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็น 22.2% ของจีดีพีราคาตลาดโลก และ 16.9% เมื่อวัดในแง่ความเท่าเทียมกันของอำนาจซื้อ นอกจากนี้ ประเทศสหภาพยุโรป 26 จาก 28 ประเทศมีดัชนีการพัฒนามนุษย์สูงมาก ตามข้อมูลของโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ ในปี 2555 สหภาพยุโรป ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ สหภาพยุโรปพัฒนาบทบาทด้านความสัมพันธ์ภายนอกและการกลาโหมผ่านนโยบายต่างประเทศและความมั่นคงร่วม สหภาพฯ คงคณะผู้แทนทางทูตถาวรทั่วโลกและมีผู้แทนในสหประชาชาติ องค์การการค้าโลก จี7 และจี-20 เนื่องจากมีอิทธิพลทั่วโลก จึงมีการอธิบายสหภาพยุโรปเป็นอภิมหาอำนาจปัจจุบันหรืออภิมหาอำนาจในอนาคต.

ใหม่!!: ประเทศเซาท์ซูดานและสหภาพยุโรป · ดูเพิ่มเติม »

สังกะสี

ังกะสี (Zinc) คือธาตุที่มีหมายเลขอะตอม 30 และสัญลักษณ์คือ Zn สังกะสีอยู่ในตารางธาตุหมู่ 12 ชื่อในภาษาอังกฤษมาจากภาษาเยอรมันว่า Zink เป็นธาตุประเภทโลหะที่มีความไวต่อปฏิกิริยาเคมีพอสมควรกับออกซิเจนและธาตุที่ไม่ใช่โลหะ สังกะสีเมื่อทำปฏิกิริยากับกรดเจือจางจะปล่อยก๊าซไฮโดรเจนออก ธาตุชนิดนี้เป็นโลหะธาตุที่มีลักษณะที่เป็นสีเงิน มันวาว เป็นที่นิยมนำมาใช้ในภาคอุตสาหกรรมมากมาย เพื่อเป็นโลหะโครงสร้างหรือโลหะผสมกับโลหะอื่นสำหรับประยุกต์ใช้งานในด้านต่างๆ นอกจากนั้น สังกะสียังเป็นแร่ธาตุชนิดหนึ่งที่สามารถพบได้ในร่างกายมนุษย์ และสัตว์ เนื่องจากจัดเป็นแร่ที่ร่างกายต้องการชนิดหนึ่ง.

ใหม่!!: ประเทศเซาท์ซูดานและสังกะสี · ดูเพิ่มเติม »

สันนิบาตอาหรับ

ันนิบาตอาหรับ สันนิบาตอาหรับ (جامعة الدول العربية‎) คือองค์กรของกลุ่มประเทศอาหรับ ตั้งขึ้นในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2488 มีศูนย์กลางที่ประเทศอียิปต์ ซึ่งต่อมาย้ายไปยังเมืองตูนิส ในประเทศตูนิเซียในช่วงปี พ.ศ. 2522 ถึงปี พ.ศ. 2532 ปัจจุบันมีสมาชิกทั้งหมด 22 ประเทศ มีวัตถุประสงค์เพื่อปกป้องเอกราชและอธิปไตยของประเทศสมาชิก.

ใหม่!!: ประเทศเซาท์ซูดานและสันนิบาตอาหรับ · ดูเพิ่มเติม »

สาธารณรัฐ

รณรัฐ (Republic) เป็นระบอบการปกครองที่ประเทศถูกพิจารณาว่าเป็น "กิจสาธารณะ" (res publica) มิใช่ธุระหรือทรัพย์สินส่วนตัวของผู้ปกครอง และที่ตำแหน่งหน้าที่ของรัฐได้รับเลือกตั้งโดยตรงหรือโดยอ้อม หรือได้รับแต่งตั้ง มิใช่ได้รับทอด ในสมัยใหม่ นิยามทั่วไปที่เข้าใจง่ายของสาธารณรัฐ คือ ระบอบการปกครองที่ประมุขแห่งรัฐมิใช่พระมหากษัตริย์ ปัจจุบัน รัฐเอกราช 135 จาก 206 รัฐใช้คำว่า "สาธารณรัฐ" เป็นส่วนหนึ่งชื่ออย่างเป็นทางการ ทั้งสาธารณรัฐสมัยใหม่และสมัยโบราณแตกต่างกันอย่างมากทั้งในอุดมการณ์และองค์ประกอบ ในสมัยคลาสสิกและสมัยกลาง ต้นแบบของทุกสาธารณรัฐ คือ สาธารณรัฐโรมัน ซึ่งหมายถึงกรุงโรมในระหว่างสมัยที่มีพระมหากษัตริย์กับสมัยที่มีจักรพรรดิ ประเพณีการเมืองสมัยกลางและสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาอิตาลีปัจจุบันที่เรียกว่า "มนุษยนิยมพลเมือง" (civic humanism) นั้น บางครั้งถูกมองว่าได้รับมาจากนักสาธารณรัฐนิยมโรมันโดยตรง อย่างไรก็ดี นักประพันธ์โรมันที่ได้รับอิทธิพลจากกรีก อย่างพอลิเบียสและคิเคโร บางครั้งใช้คำดังกล่าวเป็นคำแปลของคำภาษากรีกว่า politeia ซึ่งอาจหมายถึงระบอบโดยทั่วไป แต่ยังสามารถใช้กับระบอบบางประเภทโดยเจาะจงซึ่งมิได้สอดคล้องพอดีกับสาธารณรัฐโรมัน สาธารณรัฐมิได้เทียบเท่ากับประชาธิปไตยคลาสสิก เช่น เอเธนส์ แต่มีลักษณะความเป็นประชาธิปไตย ในสาธารณรัฐสมัยใหม่ เช่น สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส รัสเซีย และอินเดีย ฝ่ายบริหารมีความชอบธรรมจากทั้งโดยรัฐธรรมนูญและการออกเสียงเลือกตั้งของประชาชน มงแต็สกีเยอรวมประชาธิปไตยทั้งสองแบบ ซึ่งประชาชนทุกคนมีส่วนร่วมในการปกครอง และอภิชนาธิปไตยหรือคณาธิปไตย ซึ่งมีคนเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่ปกครอง เป็นระบอบการปกครองแบบสาธารณรัฐ ส่วนใหญ่สาธารณรัฐมักเป็นรัฐเอกราช แต่ยังมีหน่วยต่ำกว่ารัฐที่เรียกว่า สาธารณรัฐ หรือมีการปกครองที่ถูกอธิบายว่า "เป็นสาธารณรัฐ" โดยธรรมชาติเช่นกัน ตัวอย่างเช่น มาตรา 4 ของรัฐธรรมนูญแห่งสหรัฐอเมริกา "ประกันว่าทุกรัฐในสหภาพนี้มีระบอบการปกครองแบบสาธารณรัฐ" เขตการปกครองของสหภาพโซเวียตถูกอธิบายว่าเป็นสาธารณรัฐ และสองในนั้น คือ สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครนและเบลารุส มีที่นั่งของตนในสหประชาชาติ ขณะที่รัฐธรรมนูญแห่งสหภาพโซเวียตอธิบายสหภาพว่าเป็น "รัฐเดี่ยว สหพันธ์และพหุชาติ" ที่จริงแล้วเป็นรัฐเดี่ยวเพราะพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียตใช้อำนาจในรูปรวมศูนย์เหนือสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตซึ่งปกครองตนเองแต่ในนาม.

ใหม่!!: ประเทศเซาท์ซูดานและสาธารณรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก

รณรัฐประชาธิปไตยคองโก (République Démocratique du Congo) หรือบางครั้งมีผู้เรียกว่า คองโก (Congo) และ คองโก-กินชาซา (Congo-Kinshasa) เป็นประเทศหนึ่งในภูมิภาคแอฟริกากลางและเป็นประเทศที่มีขนาดใหญ่อันดับที่ 2 ของทวีป สาธารณรัฐประชาธิปไตยมีอาณาเขตจรดสาธารณรัฐแอฟริกากลางและซูดานทางทิศเหนือ จรดยูกันดา รวันดา บุรุนดี และแทนซาเนียทางทิศตะวันออก จรดแซมเบียและแองโกลาทางทิศใต้ และจรดสาธารณรัฐคองโกทางทิศตะวันตก โดยมีทางออกสู่ทะเลตามแม่น้ำคองโกไปสู่อ่าวกินี ชื่อ คองโก (หมายถึง "นักล่า") มาจากกลุ่มชาติพันธุ์บาคองโก (Bakongo) ซึ่งอาศัยอยู่บริเวณลุ่มน้ำคองโก ในอดีตสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกเคยเป็นอาณานิคมของเบลเยียม โดยมีชื่อว่า เบลเจียน คองโก (Belgian Congo) ในปี พ.ศ. 2514 หลังจากได้รับเอกราช 11 ปี ก็ได้เปลี่ยนชื่อประเทศจากคองโก-กินชาซา (ใส่ชื่อเมืองหลวงไว้ข้างหลัง เพื่อแยกความแตกต่างระหว่างประเทศนี้กับ สาธารณรัฐคองโก หรือ (คองโก-บราซาวีล) เป็นสาธารณรัฐซาอีร์ จนถึงปี พ.ศ. 2540 จึงได้เปลี่ยนชื่อกลับมาเป็น "คองโก" ตามเดิม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541 เป็นต้นมา สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกต้องเผชิญกับความทุกข์ยากอย่างใหญ่หลวงจากสงครามคองโกครั้งที่ 2 (Second Congo War) อันเป็นความขัดแย้งที่ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 บางครั้งจึงมีผู้เรียกว่า "สงครามโลกแอฟริกา" (African World War).

ใหม่!!: ประเทศเซาท์ซูดานและสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก · ดูเพิ่มเติม »

สาธารณรัฐแอฟริกากลาง

รณรัฐแอฟริกากลาง (République centrafricaine; ซังโก: Ködörösêse tî Bêafrîka) หรือ ซ็องทราฟริก (Centrafrique) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลในแอฟริกากลาง มีอาณาเขตทางเหนือจรดประเทศชาด ทางตะวันออกจรดประเทศซูดาน ทางใต้จรดสาธารณรัฐคองโกและสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก (ซาอีร์เดิม) และทางตะวันตกจรดประเทศแคเมอรูน ตั้งอยู่เหนือเส้นศูนย์สูตร และแบ่งลุ่มแม่น้ำคองโกจากทะเลสาบชาดและลุ่มแม่น้ำไนล์ขาว.

ใหม่!!: ประเทศเซาท์ซูดานและสาธารณรัฐแอฟริกากลาง · ดูเพิ่มเติม »

อุมัร ฮะซัน อะห์มัด อัลบะชีร

อุมัร ฮะซัน อะห์มัด อัลบะชีร (عمر حسن أحمد البشير, 1 มกราคม ค.ศ. 1944 -) เป็นหัวหน้าพรรคเนชันแนลคองเกรส และประธานาธิบดีของประเทศซูดานคนปัจุจบัน เริ่มเข้ามามีอำนาจทางการเมืองครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1989 ขณะยังเป็นนายทหารยศพันโท โดยเป็นผู้นำกลุ่มนายทหารทำรัฐประหารไม่นองเลือดขับไล่รัฐบาลของนายกรัฐมนตรีซาดิก อัลมะฮ์ดี (Sadiq al-Mahdi) ซึ่งเป็นรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2004 รัฐบาลของนายอัลบะชีรได้เจรจายุติสงครามกลางเมืองซูดานครั้งที่สอง ซึ่งเป็นสงครามที่ดำเนินมาต่อเนื่องยาวนานที่สุดและนองเลือดที่สุดครั้งหนึ่งในคริสต์ศตวรรษที่ 20 โดยให้อำนาจปกครองตนเองบางส่วนในเซาท์ซูดานซึ่งเป็นพื้นที่เกิดสงคราม อย่างไรก็ตาม นับตั้งแต่สิ้นสุดสงครามกลางเมืองแล้ว รัฐบาลของนายอัลบะชีรได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางต่อบทบาทของรัฐบาลในการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ที่ดาร์ฟูร์ อันเป็นการกวาดล้างชาติพันธุ์ประชากรที่ไม่ใช่ชาวอาหรับครั้งใหญ่ในซูดาน มีผู้เสียชีวิตจากกรณีดังกล่าวอยู่ระหว่าง 200,000 ถึง 400,000 คน บทบาทของนายอัลบะชีรในเรื่องนี้ได้นำไปสู่การสู้รบอย่างรุนแรงระหว่างกองกำลังติดอาวุธของพวกยันยาวิด (Janjaweed) ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากฝ่ายรัฐบาล และกองกำลังกบฏฝ่ายต่างๆ อันได้แก่ กองทัพปลดแอกประชาชนซูดาน (Sudan People's Liberation Army, SPLA) กองทัพปลดปล่อยซูดาน (Sudanese Liberation Army, SLA) และขบวนการความยุติธรรมและความเสมอภาค (Justice and Equality Movement, JEM) ซึ่งทำการรบในรูปแบบสงครามกองโจรในแคว้นดาร์ฟูร์ ผลจากสงครามครั้งนี้ทำให้ประชาชนกว่า 2.5 ล้านคนต้องไร้ที่อยู่อาศัย และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศชาดกับซูดานตกต่ำลงจนถึงระดับวิกฤต เดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2008 หลุยส์ โมเรโน-โอแคมโป อัยการประจำศาลอาญาระหว่างประเทศ (International Criminal Court, ICC) ได้ฟ้องร้องนายอัลบะชีรในข้อหาฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ กระทำอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ และอาชญากรรมสงครามในแคว้นดาร์ฟูร์ ศาลได้ออกหมายจับนายอัลบะชีรเมื่อวันที่ 4 มีนาคม ค.ศ. 2009 ในข้อหาอาชญากรรมต่อมนุษยชาติและอาชญากรรมสงคราม แต่ไม่รวมข้อหาฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ เนื่องจากศาลได้ชี้ว่าหลักฐานที่จะฟ้องร้องด้วยข้อหาดังกล่าวยังมีไม่เพียงพอBBC News, 4 March 2009.

ใหม่!!: ประเทศเซาท์ซูดานและอุมัร ฮะซัน อะห์มัด อัลบะชีร · ดูเพิ่มเติม »

องค์การกำหนดหมายเลขอินเทอร์เน็ต

องค์การกำหนดหมายเลขอินเทอร์เน็ต (Internet Assigned Numbers Authority, ย่อ: IANA) เป็นหน่วยงานซึ่งควบคุมดูแลการจัดสรรหมายเลขไอพีทั่วโลก การจัดสรรหมายเลขระบบอิสระ การจัดการ root zone ในระบบการตั้งชื่อโดเมน ประเภทสื่อ ตลอดจนหมายเลขและสัญลักษณ์อื่นที่เกี่ยวข้องกับโพรโทคอลอินเทอร์เน็ต IANA ดำเนินการโดย ICANN.

ใหม่!!: ประเทศเซาท์ซูดานและองค์การกำหนดหมายเลขอินเทอร์เน็ต · ดูเพิ่มเติม »

ฮิวแมนไรตส์วอตช์

วแมนไรตส์วอตช์ (Human Rights Watch; ย่อ: HRW) เป็นองค์การนอกภาครัฐระหว่างประเทศซึ่งทำวิจัยและส่งเสริมสิทธิมนุษยชน สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในนครนิวยอร์ก โดยมีสำนักงานในอัมสเตอร์ดัม เบรุต เบอร์ลิน บรัสเซลส์ ชิคาโก เจนีวา โจฮันเนสเบิร์ก ลอนดอน ลอสแอนเจลิส มอสโก ปารีส ซานฟรานซิสโก โตเกียว โตรอนโตและวอชิงตัน ดี.ซี.

ใหม่!!: ประเทศเซาท์ซูดานและฮิวแมนไรตส์วอตช์ · ดูเพิ่มเติม »

จูบา

ูบา (Juba) เป็นเมืองหลวงของสาธารณรัฐเซาท์ซูดานเมืองแห่งนี้ตั้งอยู่บนไวท์ไนล.

ใหม่!!: ประเทศเซาท์ซูดานและจูบา · ดูเพิ่มเติม »

ธนาคารโลก

นาคารโลก (World Bank) หรือเรียกว่า ธนาคารระหว่างประเทศเพื่อการบูรณะและวิวัฒนาการ (International Bank for Reconstruction and Development; IBRD) เป็นองค์กรระหว่างประเทศที่ได้จัดตั้งขึ้นมาหลังสงครามโลกครั้งที่สอง โดยประเทศมหาอำนาจในทวีปอเมริกาเหนือและทวีปยุโรป โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อช่วยให้ประเทศสมาชิกได้ทำการฟื้นฟูประเทศหลังสงครามโลกครั้งที่สอง โดยมุ่งเน้นการลงทุนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและเร่งรัดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ เป็นองค์กรอยู่ในสังกัดขององค์การสหประชาชาติ มีสำนักงานใหญ่ตั้งที่กรุงวอชิงตัน ดีซี ประเทศสหรัฐอเมริกา ปัจจุบันมีประเทศสมาชิกทั้งหมด 188 ประเทศ เงินทุนของธนาคารโลกได้มาจากการจำหน่ายพันธบัตรในตลาดการเงินสำคัญของโลก ค่าบำรุงจากประเทศสมาชิก และเงินค่าหุ้นของประเทศสมาชิก.

ใหม่!!: ประเทศเซาท์ซูดานและธนาคารโลก · ดูเพิ่มเติม »

ทองคำ

ทองคำ (gold) คือธาตุเคมีที่มีหมายเลขอะตอม 79 และสัญลักษณ์คือ Au (มาจากภาษาละตินว่า aurum) จัดอยู่ในกลุ่มธาตุโลหะมีสกุลชนิดหนึ่ง ทองคำเป็นธาตุโลหะทรานซิชันสีเหลืองทองมันวาวเนื้ออ่อนนุ่ม สามารถยืดและตีเป็นแผ่นได้ ทองคำไม่ทำปฏิกิริยากับสารเคมีส่วนใหญ่ ทองคำใช้เป็นทุนสำรองทางการเงินของหลายประเทศ ใช้ประโยชน์เป็นเครื่องประดับ งานทันตกรรม และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิก.

ใหม่!!: ประเทศเซาท์ซูดานและทองคำ · ดูเพิ่มเติม »

ทองแดง

ทองแดง (Copper) คือธาตุที่มีเลขอะตอม 29 และสัญลักษณ์คือ Cu ทองแดงอยู่ในตารางธาตุหมู่ 29 เป็นที่ทราบกันว่ามนุษย์ใช้ประโยชน์จากทองแดงมาไม่น้อยกว่า 10,000 ปี พบหลักฐานว่ามนุษย์สามารถหลอมสกัดทองแดงให้บริสุทธิ์ได้เมื่อประมาณ 5000 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งเป็นช่วงก่อนที่มนุษย์จะรู้จักกับทองคำ โดยมนุษย์รู้จักทองคำ เมื่อประมาณ 4000 ปีก่อนคริสตกาล.

ใหม่!!: ประเทศเซาท์ซูดานและทองแดง · ดูเพิ่มเติม »

ทังสเตน

|- | 182W || 26.50% || > 1 E21 y | α || colspan.

ใหม่!!: ประเทศเซาท์ซูดานและทังสเตน · ดูเพิ่มเติม »

คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ

ณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (United Nations Security Council; UNSC) เป็นหนึ่งใน 6 เสาหลักของสหประชาชาติ และเป็นองค์กรในสหประชาชาติที่มีอิทธิพลรองลงมาจากสมัชชาใหญ่ เป็นองค์กรที่มีอำนาจในการเรียกระดมพลจากรัฐสมาชิกในสหประชาชาติเพื่อจัดตั้งเป็นกองกำลังรักษาสันติภาพเข้าไปปฏิบัติหน้าที่รักษาสันติภาพในประเทศและสงครามต่างๆ และยังมีอำนาจในการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่อประเทศต่าง.

ใหม่!!: ประเทศเซาท์ซูดานและคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ · ดูเพิ่มเติม »

ซีเอ็นเอ็น

ล นิวส์ เน็ตเวิร์ก (Cable News Network) หรือรู้จักกันในชื่อ ซีเอ็นเอ็น (CNN) เป็นเครือข่ายโทรทัศน์เคเบิล ที่เสนอข่าวสารตลอด 24 ชั่วโมง ก่อตั้งโดย เท็ด เทอร์เนอร์ เริ่มต้นออกอากาศเมื่อวันอาทิตย์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2523 ปัจจุบันบริหารงานโดยเทิร์นเนอร์บรอดแคสติงซิสเตม หน่วยงานในเครือไทม์วอร์เนอร์ ซึ่งสำนักงานใหญ่ที่เรียกว่า ศูนย์กลางซีเอ็นเอ็น (CNN Center) ตั้งอยู่ที่เมืองแอตแลนตา รัฐจอร์เจีย และมีห้องส่งอื่นๆ อยู่ที่นครนิวยอร์ก และกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ซึ่งซีเอ็นเอ็นที่ออกอากาศในสหรัฐอเมริกา จะส่งสัญญาณไปยังประเทศแคนาดาเพียงแห่งเดียว ส่วนซีเอ็นเอ็นที่ออกอากาศอยู่ใน 212 ประเทศทั่วโลกนั้น เป็นอีกช่องหนึ่งที่เรียกว่า ซีเอ็นเอ็นนานาชาติ (CNN International) ทั้งนี้ซีเอ็นเอ็นเป็นสถานีโทรทัศน์ข่าว ที่มีผู้ชมมากเป็นอันดับต้นๆ ของสหรัฐอเมริกาและทั่วโลก โดยมีคู่แข่งในประเทศที่สำคัญคือ ฟ็อกซ์นิวส์ และระดับนานาชาติคือ บีบีซี เวิลด์นิว.

ใหม่!!: ประเทศเซาท์ซูดานและซีเอ็นเอ็น · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศรวันดา

รวันดา (กิญญาร์วันดา, อังกฤษ และRwanda) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐรวันดา (กิญญาร์วันดา: Republika y'u Rwanda; Republic of Rwanda; République du Rwanda) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลแต่อยู่ติดกับทะเลสาบเกรตเลกส์ (Great Lakes) ทางตะวันออกของประเทศ รวันดาเป็นประเทศเล็ก ๆ ที่อยู่ทางระหว่างตอนกลางและตะวันออกของทวีปแอฟริกา มีประชากรร่วม ๆ 8 ล้านคน รวันดามีอาณาเขตติดต่อกับยูกันดาทางตอนเหนือ บุรุนดีทางตอนใต้ สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกทางตะวันตกเฉียงเหนือมาจนถึงตะวันตก และแทนซาเนียที่อยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ไล่ขึ้นมาถึงทางตะวันออก รวันดามีลักษณะทางภูมิประเทศที่เป็นเนินเขาที่อุดมสมบูรณ์ ทำให้ได้สมญานามจากเบลเยียม เจ้าอาณานิคมเก่าว่าเป็น ดินแดนแห่งเขาพันลูก (Pays des Mille Collines เป็นภาษาฝรั่งเศส หรือ Igihugu cy'Imisozi Igihumbi เป็นภาษากิญญาร์วันดา) รวันดายังถือเป็นประเทศที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดในแอฟริกาส่วนภูมิภาค (ไม่นับเกาะเล็ก ๆ) เหตุการณ์ที่โด่งดังที่สุดของประเทศรวันดาในระดับสากลคือเหตุการณ์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวทุตซีในปี พ.ศ. 2537 (1994) ซึ่งส่งผลให้ประชากรเกือบล้านคนต้องเสียชีวิตไป เศรษฐกิจของรวันดาล้วนมาจากการเกษตรกรรม แต่เกือบทั้งหมดเป็นเกษตรกรรมเพื่อการเลี้ยงชีพ มิใช่เพื่อการค้า ในปัจจุบันที่ความหนาแน่นและจำนวนประชากรที่เพิ่มสูงขึ้น ในขณะที่คุณภาพดินที่เสื่อมลงและสภาพอากาศที่ไม่แน่นอนทำให้รวันดาเป็นประเทศที่มีปัญหาร้ายแรงด้านการขาดสารอาหารของประชาชนที่เป็นไปอย่างกว้างขวาง รวมถึงประสบกับปัญหาความยากจนอย่างต่อเนื่อง หมวดหมู่:ประเทศรวันดา ร หมวดหมู่:รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2505 หมวดหมู่:อดีตอาณานิคมของเบลเยียม.

ใหม่!!: ประเทศเซาท์ซูดานและประเทศรวันดา · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล

ประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล ประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล มักจะถูกนิยามว่าเป็นประเทศที่ถูกปิดล้อมหรือเกือบถูกปิดล้อมด้วยแผ่นดิน ในปี 2551 มีทั้งหมด 45 ประเทศ การเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลนับเป็นข้อด้อยทางภูมิศาสตร์ เพราะนอกจากจะถูกปิดกั้นจากทรัพยากรทางทะเลแล้ว ยังทำให้ไม่สามารถค้าขายทางทะเลได้อีกด้วย ประเทศที่มีชายฝั่งมีแนวโน้มที่จะร่ำรวยกว่าและมีประชากรมากกว่าประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล นอกจากนี้ยังมีคำว่า ทะเลปิด หมายถึงทะเลที่ไม่ได้เชื่อมกับมหาสมุทร เช่น ทะเลแคสเปียน ซึ่งในบางครั้งมองเป็นทะเลสาบ นอกจากนี้ทะเลอื่นๆ เช่น ทะเลดำ ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทะเลบอลติก และ ทะเลแดง มีช่องทางออกสู่ทะเลน้อ.

ใหม่!!: ประเทศเซาท์ซูดานและประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศซูดาน

ซูดาน (Sudan; السودان) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐซูดาน (Republic of the Sudan; جمهورية السودان) เป็นประเทศที่ในอดีตมีพื้นที่มากที่สุดในทวีปแอฟริกา ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของทวีป มีเมืองหลวงชื่อคาร์ทูม มีพรมแดนทางทิศเหนือติดกับประเทศอียิปต์ ทิศใต้ติดต่อกับเซาท์ซูดาน ทิศตะวันออกเฉียงเหนือติดกับทะเลแดง ทิศตะวันออกติดกับเอริเทรียและเอธิโอเปีย ทิศตะวันออกเฉียงใต้ติดกับเคนยาและยูกันดา ทิศตะวันตกเฉียงใต้ติดกับคองโกและสาธารณรัฐแอฟริกากลาง ทิศตะวันตกติดกับประเทศชาด และทิศตะวันตกเฉียงเหนือติดกับลิเบีย ชื่อของประเทศมาจากภาษาอาหรับว่า Bilad-al-Sudan ซึ่งแปลว่าดินแดนของคนผิวดำ ปัจจุบันซูดานกลายเป็นประเทศที่ขาดความมั่นคงตามดัชนีความเสี่ยงของการเป็นรัฐที่ล้มเหลว เพราะการปกครองแบบเผด็จการทหารและสงครามดาร์ฟูร.

ใหม่!!: ประเทศเซาท์ซูดานและประเทศซูดาน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเอธิโอเปีย

อธิโอเปีย (Ethiopia; อามฮารา) หรือชื่อทางการคือ สหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเอธิโอเปีย (Federal Democratic Republic of Ethiopia; อามฮารา) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลที่ตั้งอยู่ในส่วนแหลมของทวีปแอฟริกา (Horn of Africa) เป็นหนึ่งในชาติที่มีประวัติศาสตร์อันต่อเนื่องยาวนานที่สุดบนทวีปนี้ ในฐานะชาติอิสระ เอธิโอเปียเป็นประเทศเดียวในแอฟริกาที่ยังคงเอกราชระหว่างยุคล่าอาณานิคมในแอฟริกา (Scramble for Africa) และยังคงเอกราชไว้จนถึง พ.ศ. 2479 ซึ่งกองทัพอิตาลีในสมัยของเบนิโต มุสโสลินีได้เข้ายึดครองประเทศนี้ อังกฤษและเอธิโอเปียปราบกองทัพอิตาลีในพ.ศ. 2484 แต่เอธิโอเปียไม่ได้รับเอกราชใหม่จนถึงการลงนามในสนธิสัญญาระหว่างอังกฤษกับเอธิโอเปีย (Anglo-Ethiopian Agreement) เมื่อธันวาคม พ.ศ. 2487.

ใหม่!!: ประเทศเซาท์ซูดานและประเทศเอธิโอเปีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเคนยา

นยา (อังกฤษและKenya) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐเคนยา (Republic of Kenya; Jamhuri ya Kenya) เป็นประเทศในแอฟริกาตะวันออก มีอาณาเขตจรดประเทศเอธิโอเปีย (ทางเหนือ) ประเทศโซมาเลีย (ทางตะวันออกเฉียงเหนือ) ประเทศแทนซาเนีย (ทางใต้) ประเทศยูกันดา (ทางตะวันตก) ประเทศเซาท์ซูดานและทะเลสาบวิกตอเรีย (ทางตะวันตกเฉียงเหนือ) และมหาสมุทรอินเดีย มีเมืองหลวงและเมืองใหญ่ที่สุดคือ ไนโรบี.

ใหม่!!: ประเทศเซาท์ซูดานและประเทศเคนยา · ดูเพิ่มเติม »

ปอนด์เซาท์ซูดาน

ปอนด์เซาท์ซูดาน เป็นเงินตราของสาธารณรัฐเซาท์ซูดานอย่างเป็นทางการ แบ่งเป็นหน่วยย่อยได้ 100 เฟียสเตอร์ (piastre) ได้รับการรับรองโดยสภานิติบัญญัติเซาท์ซูดานก่อนหน้าการแยกตัวออกเป็นอิสระจากซูดานเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 เริ่มใช้เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 และแทนที่ปอนด์ซูดานตามมูลค่าที่ตราไว้ (at par).

ใหม่!!: ประเทศเซาท์ซูดานและปอนด์เซาท์ซูดาน · ดูเพิ่มเติม »

ปิโตรเลียม

แหล่งน้ำมันสำรองทั่วโลกที่พิสูจน์แล้วใน ค.ศ. 2009 บ่อปิโตรเลียมแห่งหนึ่งในเท็กซัส ปิโตรเลียม (petroleum, petra (หิน) + oleum (น้ำมัน) รวมหมายถึง "น้ำมันที่ได้จากหิน") หรือ น้ำมันดิบ เป็นของเหลวไวไฟที่เกิดเองตามธรรมชาติ ประกอบด้วยสารผสมซับซ้อนระหว่างไฮโดรคาร์บอนที่มีน้ำหนักโมเลกุลต่างกัน กับสารประกอบอินทรีย์ที่เป็นของเหลวอื่น ๆ ซึ่งพบในชั้นธรณีวิทยาใต้ผิวโลก เป็นเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ เกิดได้จากซากสิ่งมีชีวิต (มักเป็นแพลงก์ตอนสัตว์และสาหร่าย) จำนวนมากทับถมกันใต้หินตะกอนและได้รับความร้อนและความดันมหาศาล การขุดเจาะน้ำมันเป็นวิธีการส่วนใหญ่ในการได้มาซึ่งปิโตรเลียม ซึ่งเป็นขั้นตอนหลังการศึกษาโครงสร้างธรณีวิทยา การวิเคราะห์แอ่งตะกอน และลักษณะหินกักเก็บปิโตรเลียม หลังขุดเจาะขึ้นมาแล้ว ปิโตรเลียมจะถูกกลั่นและแยกเป็นผลิตภัณฑ์บริโภคหลายชนิด ตั้งแต่แก๊สโซลีนและน้ำมันก๊าด ไปจนถึงยางมะตอยและตัวทำปฏิกิริยาเคมีซึ่งใช้ในการทำพลาสติกและเภสัชภัณฑ์ นอกจากนี้ ปิโตรเลียมยังใช้ในการผลิตวัสดุอีกหลายชนิด ปิโตรเลียมมีธาตุองค์ประกอบหลัก 2 ชนิด คือ คาร์บอนและไฮโดรเจน และอาจมีธาตุอโลหะชนิดอื่นปนอยู่ด้วย เช่น กำมะถัน ออกซิเจน และไนโตรเจน ทั้งนี้ปิโตรเลียมเป็นได้ทั้ง 3 สถานะ คือ ของแข็ง ของเหลว และแก๊ส ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ รวมถึงความร้อนและความดันของสภาพแวดล้อมในการเกิดและการกักเก็บปิโตรเลียม แบ่งตามสถานะได้เป็นสองชนิดหลัก คือ น้ำมันดิบและแก๊สธรรมชาติ โดยแก๊สธรรมชาตินั้น ประกอบด้วยคาร์บอนตั้งแต่ 1-4 อะตอม.

ใหม่!!: ประเทศเซาท์ซูดานและปิโตรเลียม · ดูเพิ่มเติม »

แอฟริกาตะวันออก

นแดนแอฟริกาตะวันออก แอฟริกาตะวันออก เป็นภูมิภาคที่อยู่ทางตะวันออกของทวีปแอฟริกา ซึ่งประกอบไปด้วย 18 ประเทศคือ.

ใหม่!!: ประเทศเซาท์ซูดานและแอฟริกาตะวันออก · ดูเพิ่มเติม »

แองกลิคัน

นิกายแองกลิคัน (Anglicanism) คือคำที่กล่าวถึงความเชื่อหรือการปฏิบัติของนิกายศาสนาคริสต์ที่มีประวัติเกี่ยวข้องกับ หรือ มีการปฏิบัติที่คล้ายคลึงกับคริสตจักรแห่งอังกฤษ คำว่า “อังกลิคัน” มาจากคำว่า “ecclesia anglicana” ในภาษาละตินยุคกลางที่ใช้กันมาตั้งแต..

ใหม่!!: ประเทศเซาท์ซูดานและแองกลิคัน · ดูเพิ่มเติม »

โครเมียม

รเมียม (Chromium) เป็นธาตุในตารางธาตุซึ่งมีสัญลักษณ์เป็น Cr มีหมายเลขอะตอมเป็น 24 ชื่อโครเมียมมีรากศัพท์ดั้งเดิมมาจากภาษากรีก คำว่า Chrome หมายถึงสี.

ใหม่!!: ประเทศเซาท์ซูดานและโครเมียม · ดูเพิ่มเติม »

ไมกา

รูปแสดงกลุ่มแร่ไมกา(Muscovite)รูปแสดงรอยแตกกลุ่มแร่ไมกา(Muscovite) กลุ่มแร่ไมกา (Mica Group) ได้แก่ แร่ดิน (Clay mineral) และแร่กลีบหิน (flaky minerals) ประกอบด้วย ปิรามิดฐานสามเหลี่ยมที่จับตัวกันเป็นแผ่นซิลิเกด (sheet silicste) โดยแต่ละปิรามิดมีการใช้ออกซิเจนร่วมกับปิรามิดอื่นสามตัว จึงเหลือออกซิเจนอีกตัวที่ยังไม่สมดุล จึงมีสูตรทั่วไปว่า (Si4O10)n-4 ในกรณีที่ง่ายที่สุดก็คือเอา Al+3 มาจับกับออกซิเจน จนเกิดเป็นแร่ดินขาว (kaolinite) ในกรณีของแร่ไมกาตัวอื่น เช่น คลอไรด์หรือไบโอไทด์ นอกจาก Al แล้วยังมีไอออนตัวอื่นปรากฏและจับตัวเป็นแผ่นซิลิเกด แรงเกาะยึดก็มีลักษณะคล้ายพวกที่เป็นโซ่ คือแรงเกาะยึดระหว่างซิลิเกดกับออกซิเจนมากกว่าแรงจากออกซิเจนกับแคทไอออนตัวอื่น ด้วยเหตุนี้เองแร่ดินและแร่กลีบหินจึงมักแตกออกหรือปรากฏรอยแตกถี่ๆ ไปตามระนาบของแผ่นนั่นเองสำหรับกรณีกลุ่มแร่แผ่น (mica group) เช่น ไบโอไทต์ (biotite) แคทไอออน Al+3 สามารถเข้ามาแทนที่ Si+4 ในปิรามิดโดยการแทนที่ไอออน และไม่ทำให้สมบัติการจัดต่อสายโซ่เปลี่ยนแปลง เนื่องจาก Al+3 มีขนาดประจุเล็กกว่า Si+4 เล็กน้อย จึงอาจจับกับปิรามิดที่มีประจุลบเกินค่าอยู่หนึ่งประจุก็พบการทำให้ประจุสมดุลไม่สามารถทำได้การจัดต่อเพียงอย่างเดียว ดังนั้นจึงต้องนำเอาแคทไอออนมาเพิ่มในโครงสร้างผลึก โดยทั่วไปประมาณหนึ่งในสี่ของปิรามิดในกลุ่มแร่ไมกา (หรือกลุ่มแร่แผ่น) ประกอบด้วย Al+3 (แทนที่จะเป็น Si+4 ตามปกติ) ดังนั้นเพื่อให้ประจุสมดุล ต้องมีการเพิ่มประจุบวกของ K+1 หรือ Mg+2 หรือแม้แต่ Al+3 ด้วยกัน ภายนอกปิรามิด ตัวอย่างแร่ที่สำคัญคือ แร่กลีบหินขาว (Muscovite-มัสโคไวต์ ซึ่งมีสูตร KAl2(Si3Al)O10(OH) 2 แร่คลอไรต์ (Chlorite) นับได้ว่าเป็นแร่แผ่น ซึ่งโดยมากเป็นสีเขียว (คลอไรต์มาจากภาษากรีกซึ่งก็แปลว่าเขียว) มีปิรามิดจับต่อสายโซ่เป็นแผ่น ซึ่งประกอบด้วยประจุไม่สมดุล ดังนั้นจึงต้องต่อกันหรือเกาะกับไอออนประจุบวกของ Mg+2,Fe+2 และ Al+3 เพื่อให้ได้มากซึ่งสูตร (Mg,Fe,Al)6(Si,Al)4O10(OH)8 แร่กลีบหินเขียว (หรือแร่คลอไรด์) นี้มักเป็นแร่ที่เป็นผลมาจากการแปลงเปลี่ยน (alteration) มาจากแร่ตัวอื่นที่มี Fe และ Mg เป็นองค์ประกอบ เช่น ไบโอไทด์ ฮอนเบลด์ หรือออ.

ใหม่!!: ประเทศเซาท์ซูดานและไมกา · ดูเพิ่มเติม »

เวลาแอฟริกาตะวันออก

วลาแอฟริกาตะวันออก (East Africa Time) เป็นเขตเวลาที่ใช้แถบแอฟริกาตะวันออก โดยเร็วกว่าเวลาสากลเชิงพิกัดอยู่ 3 ชั่วโมง (UTC+3) เขตเวลานี้ส่วนใหญ่อยู่ในแถบเส้นศูนย์สูตรและไม่มีเวลาออมแสง ประเทศที่ใช้.

ใหม่!!: ประเทศเซาท์ซูดานและเวลาแอฟริกาตะวันออก · ดูเพิ่มเติม »

เอกราช

อกราช คือ ความเป็นอิสระในการปกครองตนเองของชาติหรือรัฐ มีอำนาจอธิปไตยไม่ถูกกดขี่ควบคุมทางการเมืองหรือเป็นอาณานิคมจากรัฐบาลภายนอก.

ใหม่!!: ประเทศเซาท์ซูดานและเอกราช · ดูเพิ่มเติม »

เดอะ บีเอ็มเจ

The BMJ เป็นวารสารการแพทย์รายสัปดาห์ที่มีการทบทวนโดยผู้รู้เสมอกัน โดยเป็นวารสารการแพทย์ทั่วไปที่เก่าที่สุดวารสารหนึ่งในโลก โดยดั้งเดิมเรียกว่า British Medical Journal ซึ่งย่อลงเหลือ BMJ ในปี 2531 และเปลี่ยนเป็น The BMJ ในปี 2557 เป็นวารสารที่ตีพิมพ์โดย BMJ Group ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของสมาคมการแพทย์อังกฤษ (British Medical Association) หัวหน้าบรรณาธิการคนปัจจุบันคือ พญ.

ใหม่!!: ประเทศเซาท์ซูดานและเดอะ บีเอ็มเจ · ดูเพิ่มเติม »

เครือจักรภพแห่งประชาชาติ

รือจักรภพแห่งประชาชาติ (Commonwealth of Nations) ชื่อเดิมคือ เครือจักรภพบริเตน (British Commonwealth) หรือเรียกอย่างง่ายว่า เครือจักรภพ เป็นองค์กรระหว่างประเทศในระดับรัฐบาล ประกอบด้วย 52 ชาติสมาชิกซึ่งส่วนมากเป็นอดีตอาณานิคมของจักรวรรดิบริเตน เครือจักรภพมีการดำเนินงานโดยยึดหลักฉันทามติของชาติสมาชิกจากที่ประชุม เครือจักรภพมีการดำเนินงานโดยสำนักเลขาธิการเครือจักรภพและองค์กรอิสระ ในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 อาณานิคมต่างๆของสหราชอาณาจักรเริ่มได้รับเอกราชเป็นของตนเอง เครือจักรภพแห่งประชาชาติกำเนิดขึ้นเมื่อมีปฏิญญาลอนดอนใน..

ใหม่!!: ประเทศเซาท์ซูดานและเครือจักรภพแห่งประชาชาติ · ดูเพิ่มเติม »

เงิน (โลหะ)

งิน (silver) คือธาตุที่มีหมายเลขอะตอม 47 และสัญลักษณ์คือ Ag (άργυρος árguros, Argentum) เงินเป็นโลหะทรานซิชันสีขาวเงิน มีสมบัติการนำความร้อนและไฟฟ้าได้ดีมาก ในธรรมชาติอาจรวมอยู่ในแร่อื่นๆ หรืออยู่อิสระ เงินใช้ประโยชน์ในการทำเหรียญ เครื่องประดับ ภาชนะบนโต๊ะอาหาร และอุตสาหกรรมการถ่ายรูป มีผู้ค้นพบคือ โรเบิร์ต แบนฟอตร.

ใหม่!!: ประเทศเซาท์ซูดานและเงิน (โลหะ) · ดูเพิ่มเติม »

.ss

.ss เป็นโดเมนอินเทอร์เน็ตระดับบนสุดตามรหัสประเทศ (ccTLD) สำหรับประเทศเซาท์ซูดาน เริ่มมีขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 2554 แต่ยังไม่ได้เปิดใช้ บางส่วนอาจยังคงใช้.sd ของประเทศซูดานตามเดิมก่อนเซาท์ซูดานได้รับเอกร.

ใหม่!!: ประเทศเซาท์ซูดานและ.ss · ดูเพิ่มเติม »

14 กรกฎาคม

วันที่ 14 กรกฎาคม เป็นวันที่ 195 ของปี (วันที่ 196 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 170 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ประเทศเซาท์ซูดานและ14 กรกฎาคม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

South Sudanสาธารณรัฐเซาท์ซูดานซูดานใต้ประเทศซูดานใต้เซาท์ซูดาน

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »