โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ทีฆนิกาย

ดัชนี ทีฆนิกาย

ทีฆนิกาย เป็นนิกายแรกในพระสุตตันตปิฎกของพระไตรปิฎกภาษาบาลี เป็นชุมนุมพระสูตรที่มีขนาดยาว 34 สูตร ครอบคลุมพระไตรปิฎกเล่มที่ 9-11 แบ่งเป็น 3 วรรค คือ จาก.

15 ความสัมพันธ์: พรหมชาลสูตร (เถรวาท)พระสุตตันตปิฎกพระไตรปิฎกภาษาบาลีพระเจ้าอชาตศัตรูมหาวรรคมหาสติปัฏฐานสูตรมหาปุริสลักขณะมัชฌิมาปฏิปทาวรรณะศีลสมณะสัสสตทิฐิสิงคาลกสูตรอุจเฉททิฐินิวรณ์

พรหมชาลสูตร (เถรวาท)

รหมชาลสูตร มีทั้งของฝ่ายเถรวาทและฝ่ายมหายาน (ดู พรหมชาลสูตร (มหายาน)) ในพระไตรปิฎกภาษาบาลี พรหมชาลสูตรเป็นพระสูตรแรกในทีฆนิกาย สีลขันธวรรค พระโคตมพุทธเจ้าทรงแสดงแก่บรรดาพระสาวกที่พระราชอุทยานอัมพลัฏฐิกา ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างกรุงราชคฤห์และเมืองนาลันทา โดยสังเขปพระสูตรนี้ มีเนื้อหาว่าด้วยศีลทั้งหลาย คือจุลศีล มัชฌิมศีล และมหาศีล อันเป็นแนวทางการปฏิบัติตนของพระภิกษุในพระบวรพุทธศาสนา นอกจากนี้ยังทรงตรัสถึงทัศนะทางปรัชญาและแนวทางการปฏิบัติของลัทธิต่างๆ ในสมัยพุทธกาล ทั้งหมด 62 ลัทธิ หรือที่เรียกว่า ทิฏฐิ 62 ประการ.

ใหม่!!: ทีฆนิกายและพรหมชาลสูตร (เถรวาท) · ดูเพิ่มเติม »

พระสุตตันตปิฎก

ระสุตตันตปิฎก เป็นชื่อของปิฎกฉบับหนึ่งในพระไตรปิฎกภาษาบาลี ซึ่งประกอบด้วย พระวินัยปิฎก พระสุตตตันปิฎก และพระอภิธรรมปิฎก เรียกย่อว่า พระวินัย พระสูตร และพระอภิธรรม พระสุตตันตปิฎก เป็นที่รวมของพระพุทธพจน์ที่เกี่ยวกับเทศนาธรรม ซึ่งประกอบด้วย เนื้อหาสาระ บุคคล เหตุการณ์ สถานที่ ตลอดจนบทประพันธ์ ชาดก หรือ เรื่องราวอดีตชาติของพระโคตมพุทธเจ้า เมื่อกล่าวโดยรวมก็คือ คำสอนที่ประกอบด้วยองค์ 9 ที่เรียกว่า นวังคสัตถุศาสน์ นั่นเอง นับเป็นธรรมขันธ์ได้ 21,000 พระธรรมขันธ์ พระสุตตันตปิฎก แบ่งออกเป็นหมวดย่อยที่เรียกว่าคัมภีร์ 5 คัมภีร์ คือ ทีฆนิกาย มัชฌิมนิกาย สังยุตตนิกาย อังคุตรนิกาย และขุททกนิกาย ใช้อักษรย่อว่า ที ม สัง อัง ขุ อักษรย่อทั้ง 5 คำนี้เรียกกันว่า หัวใจพระสูตร.

ใหม่!!: ทีฆนิกายและพระสุตตันตปิฎก · ดูเพิ่มเติม »

พระไตรปิฎกภาษาบาลี

ปรากฏพระพุทธดำรัสในมหาปรินิพพานสูตรว่า "เมื่อทรงปรินิพานไปแล้ว พระธรรมวินัยที่ได้ทรงสั่งสอนไว้แล้ว จักเป็นศาสดาของเธอทั้งหลาย"พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒ ทีฆนิกาย มหาวรรค มหาปรินิพพานสูตร. พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ. ออนไลน์. เข้าถึงได้จากhttp://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B.

ใหม่!!: ทีฆนิกายและพระไตรปิฎกภาษาบาลี · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าอชาตศัตรู

ูปพระเจ้าอชาตศัตรู เมืองราชคฤห์ พระเจ้าอชาตศัตรู (अजातशत्रु; ครองราชย์ 2 ปีก่อน พ.ศ.- พ.ศ. 83) พระราชาองค์ที่ 3 แห่งแคว้นมคธ ปกครองทางตอนเหนือของอินเดีย เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าพิมพิสารและพระนางเวเทหิ พระธิดาของพระเจ้ามหาโกศลแห่งแคว้นโกศลและพระภคินีของพระเจ้าปเสนทิโกศล พระเจ้าอชาตศัตรูเป็นอุบาสก และผู้อุปถัมภ์สังคายนาครั้งที่หนึ่งในศาสนาพุท.

ใหม่!!: ทีฆนิกายและพระเจ้าอชาตศัตรู · ดูเพิ่มเติม »

มหาวรรค

ัมภีร์มหาวรรค หรือ มหาวรรค คือหมวดหมู่หนึ่งในคัมภีร์ขันธกะ อันเป็นคัมภีร์ที่สองในพระวินัยปิฎกเถรวาท ตามการจัดแบ่งของสมาคมบาลีปกรณ์ มหาวรรค มีเนื้อหาครอบคลุมพระไตรปิฎกเล่มที่ 4-5 มีเนื้อหาว่าด้วยหลักในการประพฤติในด้านขนบธรรมเนียมเพื่ออาจาระที่เหมาะสมของพระสงฆ์ โดยรวมหลักสิกขาบทในคัมภีร์มหาวรรคเรียกว่า สิกขาบทฝ่ายอภิสมาจาร หรือ สิกขาบทนอกพระปาติโมกข์ คัมภีร์มหาวรรคทั้งหมด จัดอยู่ในหมวดขันธกะ อันเป็นส่วนที่สองในพระวินัยปิฎก คู่กับอาทิพรหมจาริยกาสิกขา ที่เป็นข้อปฏิบัติอันเป็นสิกขาบทหลัก คือพระวินัยบัญญัติ อันเป็นสิกขาบทในพระปาติโมกข์ที่จัดอยู่ในหมวดสุตตวิภังค์ โดยสิกขาบทในคัมภีร์มหาวรรคไม่ได้จัดเป็นข้อห้ามตามสิกขาบทบัญญัติในพระปาติโมกข์ ดังนั้นพระสงฆ์ผู้ล่วงละเมิดข้อห้ามในคัมภีร์มหาวรรคก็ไม่ต้องอาบัติสูงสุดถึงปาราชิก โดยต้องเพียงอาบัติทุกกฎหรือถุลลัจจัย เนื้อหาในคัมภีร์มหาวรรค นอกจากขนบธรรมเนียมของพระสงฆ์แล้ว ยังมีเนื้อหาว่าด้วยเหตุการณ์สำคัญต่าง ๆ ในพระพุทธประวัติจำนวนมาก เช่น ในหมวดมหาขันธกะอันเป็นหมวดย่อยในคัมภีร์มหาวรรค มีเนื้อหากล่าวถึงพระพุทธประวัติตั้งแต่ครั้งปฐมโพธิกาล จนถึงมัชฌิมโพธิกาล จัดเป็นแหล่งข้อมูลทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญของพระพุทธศาสนาในยุคแรก ๆ อีกด้วย มหาวรรค มาคู่กับ จูฬวรรค อยู่ในหมวดหมู่คัมภีร์ขันธกะแห่งพระวินัยปิฎกเช่นเดียวกัน.

ใหม่!!: ทีฆนิกายและมหาวรรค · ดูเพิ่มเติม »

มหาสติปัฏฐานสูตร

ติปัฏฐานสูตร หรือ มหาสติปัฏฐานสูตร เป็นพระสูตรสำคัญในพระพุทธศาสนาที่พระพุทธเจ้าตรัสแก่ชาวกุรุชนบท ชื่อว่ากัมมาสทัมมะ (ปัจจุบันอยู่ในกรุงนิวเดลี เมืองหลวงของประเทศอินเดีย) สติปัฏฐานสูตรหรือมหาสติปัฏฐานสูตร เป็นพระสูตรที่พระพุทธเจ้าตรัสว่าเป็นหนทางนี้เป็นที่ไปอันเอก เพื่อบรรลุธรรมที่ถูกต้อง เพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน มหาสติปัฏฐานสูตร เมื่อพิจารณาจากพระพุทธพจน์ตอนเริ่มพระสูตร อาจกล่าวได้ว่าหลักการในพระสูตรนี้ เป็นหลักแนวปฏิบัติตรงที่เน้นเฉพาะเพื่อการรู้แจ้ง คือให้มีสติพิจารณากำกับดูสิ่งทั้งหลายให้รู้เห็นเท่าทันตามความเป็นจริง โดยไม่ให้ถูกครอบงำไว้ด้วยอำนาจกิเลสต่าง ๆ โดยมีแนวปฏิบัติเป็นขั้นตอน 4 ระดับ คือ พิจารณากาย, ความรู้สึก (เวทนา), จิต, และธรรมที่เกิดในจิต.

ใหม่!!: ทีฆนิกายและมหาสติปัฏฐานสูตร · ดูเพิ่มเติม »

มหาปุริสลักขณะ

มหาปุริสลักขณะ (บาลี: mahapurisalakkhana) หรือมหาปุริสลักษณะ (สันสกฤต: mahapurisalaksana) เป็นลักษณะที่บ่งบอกให้รู้ว่าผู้ที่เกิดมาแล้วมีลักษณะพิเศษสามสิบสองอย่างนี้จะได้เป็นบุคคลสำคัญอย่างยิ่งหรือที่เรียกว่า "พระโพธิสัตว์" คือสัตว์ที่อาจตรัสรู้ ลักษณะดังกล่าวได้แก.

ใหม่!!: ทีฆนิกายและมหาปุริสลักขณะ · ดูเพิ่มเติม »

มัชฌิมาปฏิปทา

มัชฌิมาปฏิปทาหรือทางสายกลาง ในศาสนาพุทธ หมายถึง การไม่ยึดถือสุดทางทั้ง 2 ได้แก่ อัตตกิลมถานุโยค คือ การประกอบตนเองให้ลำบากเกินไป กามสุขัลลิกานุโยค คือ การพัวพันในกามในความสบาย พระพุทธเจ้าทรงกำหนดหลักทางสายกลางนี้ไว้ชัดเจน คือ อริยมรรคมีองค์ 8 เมื่อย่นย่อแล้ว เรียก "ไตรสิกขา" ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา มัชฌิมาปฏิปทาหมายถึงการปฏิบัติสายกลาง ซึ่งเป็นหลักจริยธรรมย่อมต้องคู่กับหลักสัจจธรรมอันเป็นสายกลางเช่นกัน โดยที่หลักสัจจธรรมอันเป็นสายกลางนี้เรียกว่ามัชเฌนธรรม หรือหลักทฤษฎีที่ว่าด้วยความสมดุล มัชฌิมาปฏิปทา แปลว่า ทางสายกลาง หมายถึง ทางปฏิบัติที่ไม่สุดโต่งไปในทางอุดมการณ์ใดอุดมการณ์หนึ่งเกินไป มุ่งเน้นใช้ปัญญาในการแก้ปัญหา มักไม่ยืดถือหลักการอย่างงมงาย มัชฌิมาปฏิปทาในทางจิตวิญญาณหมายถึงสติ สติเป็นความสมดุลทางจิตอย่างหนึ่ง คือสมดุลระหว่างศรัทธาและปัญญา สติจะอยู่ตรงกลางระหว่างอารมณ์และเหตุผล ถ้าความคิดเปรียบเป็นน้ำไหล สมาธิเปรียบเป็นน้ำนิ่ง สติจะเป็นน้ำไหลนิ่ง สติเป็นทางสายกลางทางจิตวิญญาณ มัชฌิมาปฏิปทา ทางสายกลาง หมายถึง ความสมดุล ความเหมาะสม ความเสมอ ความพอดี ซึ่งเป็นความประสานสอดคล้องกันระหว่างข้อปฏิบัติปลีกย่อยต่าง ๆ ที่มาประชุมกันร่วมกันทำงาน ข้อปฏิบัติต่าง ๆ ในพระพุทธศาสนาจะต้องมีสมตาคือความสมดุล ซึ่งเป็นความพอดีชนิดหนึ่ง เป็นชื่อเรียกสติอีกอย่างหนึ่ง เช่นความสมดุลระหว่างวิริยะกับสมาธิ และความพอดีระหว่างศรัทธากับปัญญา โดยมีสติเป็นเครื่องควบคุม มัชฌิมาปฏิปทา ใช้ในความหมายอีกอย่างหนึ่งว่า มัตตัญญุตา คือ ความรู้จักประมาณ หรือรู้จักพอดีในการปฏิบัติต่าง ๆ โดยทั่วไป หรือรู้จักพอดีที่เป็นหลักกลาง ๆ เช่น จะรับประทานอาหารก็ต้องมีความรู้จักประมาณ รู้จักพอดีในอาหาร ถ้ารับประทานอาหารไม่พอดีก็เกิดโทษแก่ร่างกาย แทนที่จะได้สุขภาพ แทนที่จะได้กำลัง ก็อาจจะเสียสุขภาพ และอาจจะทอนกำลังทำให้อ่อนแอลงไป หรือเกิดโรค เพราะฉะนั้นท่านจึงสอนให้มีความรู้จักประมาณในการบริโภค เรียกว่า โภชเนมัตตัญญุตา จะเห็นว่าหลักพระพุทธศาสนาในทุกระดับมีเรื่องของความพอดี หรือความเป็นสายกลางนี้ ฉะนั้นความเป็นสายกลาง คือ ความพอดีที่จะให้ถึงจุดหมาย และที่จะให้ตรงกับความจริง ไม่ให้ไปสุดโต่ง เอียงสุด ซึ่งจะพลาดจากตัวความจริงไปนั้น จึงเป็นลักษณะทั่วไปอย่างหนึ่งของพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นสายกลางทั้งหลักทฤษฎี (มัชเฌนธรรม) และหลักการปฏิบัติ (มัชฌิมาปฏิปทา).

ใหม่!!: ทีฆนิกายและมัชฌิมาปฏิปทา · ดูเพิ่มเติม »

วรรณะ

วรรณะ ตามรากศัพท์ (วรฺณ वर्ण; วณฺณ) แปลว่าสี เช่น เบญจวรรณ แปลว่า ห้าสี.

ใหม่!!: ทีฆนิกายและวรรณะ · ดูเพิ่มเติม »

ศีล

ีล (บาลี: สีล) คือข้อปฏิบัติตนขั้นพื้นฐานในทางพระพุทธศาสนา เพื่อควบคุมความประพฤติทางกายและวาจาให้ตั้งอยู่ในความดีงามมีความปกติสุข เพื่อให้เป็นกติกาข้อห้ามที่ใช้แก้ปัญหาขั้นพื้นฐาน 5 ปัญหาหลัก ซึ่งทำให้เกิดความสงบสุข และ ไม่มีการเบียดเบียนซึ่งกันและกันในสังคม ประโยชน์ของศีลในขั้นพื้นฐานคือทำให้กาย วาจา ใจ สงบไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น ทำให้สามารถที่จะทำให้จิตสงบได้ง่ายในการทำสมาธิ ในระดับของบรรพชิต ศีลจะมีจำนวนมาก เพื่อกำกับให้พระภิกษุสงฆ์สามเณรสามารถครองตนในสมณภาวะได้อย่างสมบูรณ์ และเอื้อต่อการประพฤติพรหมจรรย์ในขั้นสูงต่อไปได้ ความหมายของศีลนั้นแปลได้หลายความหมาย โดยศัพท์แปลว่า ความปกติกายวาจา กล่าวคือความปกติตามระเบียบวินัย, ปกติมารยาทที่สะอาดปราศจากโทษ, ข้อปฏิบัติในการเว้นจากความชั่ว, ข้อปฏิบัติในการฝึกหัดกายวาจาให้ดียิ่งขึ้น, ความสุจริตทางกายวาจาและอาชีพ และยังมักใช้เป็นคำเรียกอย่างง่ายสำหรับคำว่า "อธิศีลสิกขา" อันได้แก่ข้อปฏิบัติขั้นต้นเพื่อการฝึกตนในทางพระพุทธศาสนาด้ว.

ใหม่!!: ทีฆนิกายและศีล · ดูเพิ่มเติม »

สมณะ

มณะ (श्रमण; Samaṇa) แปลว่า ผู้สงบ ผู้แสวงหา นักพรตMonier Monier-Williams, श्रमण zramaNa, Sanskrit-English Dictionary, Oxford University Press, page 1096 เป็นขบวนการศาสนาแบบอินเดียสมัยโบราณที่คู่ขนานไปกับศาสนาพราหมณ์ และเป็นต้นกำเนิดของศาสนาเชน ศาสนาพุทธ รวมถึงลัทธิอาชีวกและลัทธิจารวาก พัฒนาการทางศาสนาที่สำคัญที่เกิดจากขบวนการสมณะ ได้แก่ การฝึกโยคะ สังสารวัฏ และโมกษะ ซึ่งยังแพร่หลายในศาสนาแบบอินเดียจวบจนปัจจุบันFlood, Gavin.

ใหม่!!: ทีฆนิกายและสมณะ · ดูเพิ่มเติม »

สัสสตทิฐิ

ัสสตทิฐิ (อ่านว่า สัดสะตะทิถิ) แปลว่า ความเห็นว่าเที่ยง เป็นทิฐิที่ตรงกันข้ามกับ อุจเฉททิฐิ (ความเห็นว่าขาดสูญ) ศาสนาพุทธถือว่าทั้งสัสสตทิฐิและอุจเฉททิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ สัสสตทิฐิ เป็นลัทธิความเห็นที่มีมาก่อนสมัยพุทธกาล โดยเห็นว่าอัตตาหรือตัวตนเป็นสิ่งเที่ยงแท้ ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ไม่ขาดสูญ แม้ตายแล้วก็เพียงร่างกายเท่านั้นที่สลายหรือตายไป แต่สิ่งที่เรียกว่าอาตมันหรืออัตตา ชีวะ เจตภูติ ยังเป็นอมตะ ไม่มีวันตาย ไม่มีวันสูญ จะไปถือเอาปฏิสนธิในกำเนิดของภพอื่นต่อไป.

ใหม่!!: ทีฆนิกายและสัสสตทิฐิ · ดูเพิ่มเติม »

สิงคาลกสูตร

งคาลกสูตร เป็นพระสูตรหนึ่งในพระสุตตันตปิฎก หมวดทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค ว่าด้วยทิศ ๖ คือบุคคล ๖ ประเภทที่มีควารมสัมพันธ์ต่อบุคคลๆ หนึ่ง และวิธีการปฏิบัติต่อบุคคลเหล่านั้น ว่าด้วยมิตรแท้และมิตรเทียม และยังว่าด้วยกรรมกิเลส ๔ อบายมุข ๖ และการไม่ทำความชั่วโดยฐานะ ๔ รวมทั้งหมด ๑๔ ประการ โดยผู้ที่ปราศจากความชั่ว ๑๔ ประการ ถือเป็นผู้ปกปิดทิศ ๖ ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อชัยชนะในโลกทั้งสอง คือโลกนี้และโลกหน้า เมื่อตายไปก็จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ อรรถกถาสิงคาลกสูตรในสุมังคลวิลาสินี กล่าวไว้ว่า "กรรมใดที่คฤหัสถ์ควรทำอย่างใดอย่างหนึ่ง กรรมนั้นอันพระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ตรัสไว้ ย่อมไม่มี พระสูตรนี้ ชื่อว่าคิหิวินัย เพราะฉะนั้น เมื่อฟังพระสูตรนี้แล้วปฏิบัติตามที่ได้สอนไว้ ความเจริญเท่านั้นเป็นอันหวังได้ ไม่มีความเสื่อมฉะนี้" ฝ่าย ปราชญ์ด้านพุทธศาสนา แสดงความเห็นว่า "พระสูตรนี้ชาวยุโรปเลื่อมใสกันมากว่าจะแก้ปัญหาสังคมได้ เพราะเสนอหลักทิศ ๖ อันแสดงว่าบุคคลทุกประเภทในสังคมควรปฏิบัติต่อกันในทางที่ดีงาม ไม่มีการกดฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งลงไป".

ใหม่!!: ทีฆนิกายและสิงคาลกสูตร · ดูเพิ่มเติม »

อุจเฉททิฐิ

อุจเฉททิฐิ (อ่านว่า อุดเฉทะทิดถิ) แปลว่า ความเห็นว่าขาดสูญ เป็นความเห็นที่ปฏิเสธหรือตรงกันข้ามกับ สัสสตทิฐิ อุจเฉททิฐิ คือความเห็นที่ว่าสัตว์โลกทั้งปวงเมื่อตายหรือละจากอัตภาพนี้ไปแล้วก็เป็นอันขาดสูญไม่มีอะไรที่จะไปเกิดหรือไปปฏิสนธิในภพอื่นอีก สิ่งที่เรียกว่าอาตมัน หรืออัตตา ชีวะ เจตภูติ ก็สูญไปเช่นเดียวกัน เรียกว่าขาดสูญไปทั้งหมดไม่มีอะไรเหลือให้ไปเกิดในสุคติหรือทุคติอีก อุจเฉททิฐิ มีผลกระทบต่อผู้เห็นตามนั้น คือทำให้เป็นคนประมาทขาดสติ เห็นแก่ตัว ปฏิเสธบุญบาป ปฏิเสธนรกสวรรค์ ทำอะไรโดยไม่กลัวบาปกรรม มุ่งแต่หาความสุขในกามรมณ์ เบียดเบียนแก่งแย่งกันและกัน รบราฆ่าฟันกันเพื่อความเป็นใหญ่ ใช้ชีวิตให้คุ้มค่าก่อนที่จะตายไป.

ใหม่!!: ทีฆนิกายและอุจเฉททิฐิ · ดูเพิ่มเติม »

นิวรณ์

นิวรณ์(อ่านว่า นิ-วอน) (nīvaraṇāna) แปลว่า เครื่องกั้น ใช้หมายถึงธรรมที่เป็นเครื่องปิดกั้นหรือขัดขวางไม่ให้บรรลุความดี ไม่เปิดโอกาสให้ทำความดี และเป็นเครื่องกั้นความดีไว้ไม่ให้เข้าถึงจิต เป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้ผู้ปฏิบัติบรรลุธรรมไม่ได้หรือทำให้เลิกล้มความตั้งใจปฏิบัติไป นิวรณ์มี 5 อย่าง คือ.

ใหม่!!: ทีฆนิกายและนิวรณ์ · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »