โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

มหาสติปัฏฐานสูตร

ดัชนี มหาสติปัฏฐานสูตร

ติปัฏฐานสูตร หรือ มหาสติปัฏฐานสูตร เป็นพระสูตรสำคัญในพระพุทธศาสนาที่พระพุทธเจ้าตรัสแก่ชาวกุรุชนบท ชื่อว่ากัมมาสทัมมะ (ปัจจุบันอยู่ในกรุงนิวเดลี เมืองหลวงของประเทศอินเดีย) สติปัฏฐานสูตรหรือมหาสติปัฏฐานสูตร เป็นพระสูตรที่พระพุทธเจ้าตรัสว่าเป็นหนทางนี้เป็นที่ไปอันเอก เพื่อบรรลุธรรมที่ถูกต้อง เพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน มหาสติปัฏฐานสูตร เมื่อพิจารณาจากพระพุทธพจน์ตอนเริ่มพระสูตร อาจกล่าวได้ว่าหลักการในพระสูตรนี้ เป็นหลักแนวปฏิบัติตรงที่เน้นเฉพาะเพื่อการรู้แจ้ง คือให้มีสติพิจารณากำกับดูสิ่งทั้งหลายให้รู้เห็นเท่าทันตามความเป็นจริง โดยไม่ให้ถูกครอบงำไว้ด้วยอำนาจกิเลสต่าง ๆ โดยมีแนวปฏิบัติเป็นขั้นตอน 4 ระดับ คือ พิจารณากาย, ความรู้สึก (เวทนา), จิต, และธรรมที่เกิดในจิต.

36 ความสัมพันธ์: พระสุตตันตปิฎกฎีกา (คัมภีร์)กรรมฐานกายคตาสติกิเลสมหาสติปัฏฐานสูตรมูลปัณณาสก์วิภังค์วิสุทธิมรรควิปัสสนาสัมปชัญญะสังโยชน์สุมังคลวิลาสินีสูตรสติปัฏฐาน 4อรรถกถาอริยสัจ 4อายตนะอานาปานสติอนุสัยจิตธาตุ (ศาสนาพุทธ)ทีฆนิกายขันธ์คำวิเศษณ์ปัจจัยปปัญจสูทนีนวสีนิพพานนิมิตนิวรณ์นิวเดลีโพชฌงค์ 7ไตรลักษณ์ไปยาลใหญ่เวทนา

พระสุตตันตปิฎก

ระสุตตันตปิฎก เป็นชื่อของปิฎกฉบับหนึ่งในพระไตรปิฎกภาษาบาลี ซึ่งประกอบด้วย พระวินัยปิฎก พระสุตตตันปิฎก และพระอภิธรรมปิฎก เรียกย่อว่า พระวินัย พระสูตร และพระอภิธรรม พระสุตตันตปิฎก เป็นที่รวมของพระพุทธพจน์ที่เกี่ยวกับเทศนาธรรม ซึ่งประกอบด้วย เนื้อหาสาระ บุคคล เหตุการณ์ สถานที่ ตลอดจนบทประพันธ์ ชาดก หรือ เรื่องราวอดีตชาติของพระโคตมพุทธเจ้า เมื่อกล่าวโดยรวมก็คือ คำสอนที่ประกอบด้วยองค์ 9 ที่เรียกว่า นวังคสัตถุศาสน์ นั่นเอง นับเป็นธรรมขันธ์ได้ 21,000 พระธรรมขันธ์ พระสุตตันตปิฎก แบ่งออกเป็นหมวดย่อยที่เรียกว่าคัมภีร์ 5 คัมภีร์ คือ ทีฆนิกาย มัชฌิมนิกาย สังยุตตนิกาย อังคุตรนิกาย และขุททกนิกาย ใช้อักษรย่อว่า ที ม สัง อัง ขุ อักษรย่อทั้ง 5 คำนี้เรียกกันว่า หัวใจพระสูตร.

ใหม่!!: มหาสติปัฏฐานสูตรและพระสุตตันตปิฎก · ดูเพิ่มเติม »

ฎีกา (คัมภีร์)

ีกา คือวรรณกรรมภาษาบาลี ที่แต่งเพื่ออธิบายความในคัมภีร์อรรถกถาของอรรถกถาจารย์ที่ได้ไขความในพระไตรปิฎกไว้ คัมภีร์ชั้นฎีกาจัดเป็นคัมภีร์ที่มีความสำคัญรองลงมาจากคัมภีร์อรรถกถาที่ขยายความในพระไตรปิฎก เรียกว่า คัมภีร์ชั้นสาม คัมภีร์ฎีกามีความแตกต่างกับคัมภีร์อรรถกถา (คัมภีร์ชั้นสอง) ที่วัตถุประสงค์ในการแต่งฎีกานั้นทำเพื่ออธิบายเนื้อความในคัมภีร์รุ่นอรรถกถา หรือฎีกาด้วยกันเอง คัมภีร์ฎีกามีผู้แต่งจำนวนมากและมีหลายคัมภีร์ ส่วนใหญ่ชื่อคัมภีร์ชั้นฎีกาจะมีคำว่า ฎีกา และตามด้วยชื่อคัมภีร์อรรถกถาที่อธิบายความ ซึ่งส่วนใหญ่จะมีคำ ทีปนี โชติกา ปกาสินี หรือ คัณฐิ ลงท้าย ซึ่งคำลงท้ายเหล่านั้นรวมแปลว่า ให้ความกระจ่าง (อธิบายความในอรรถกถาให้กระจ่าง) คัมภีร์ชั้นฎีกาจัดเป็นแหล่งความรู้ทางพระพุทธศาสนาที่มีความสำคัญรองลงมาจากคัมภีร์ชั้นอรรถก.

ใหม่!!: มหาสติปัฏฐานสูตรและฎีกา (คัมภีร์) · ดูเพิ่มเติม »

กรรมฐาน

กรรมฐาน (บาลี:kammaṭṭhāna, กมฺมฏฺาน) (สันสกฤต: karmasthana) หมายถึง ที่ตั้งแห่งการทำงานของจิต สิ่งที่ใช้เป็นอารมณ์ในการเจริญภาวนา อุปกรณ์ที่ใช้ในการฝึกอบรมจิต หรืออุบายหรือกลวิธีเหนี่ยวนำให้เกิดสมาธิ กรรมฐานจึงเป็นสิ่งที่เอามาให้จิตกำหนด เพื่อให้จิตสงบอยู่ได้ ไม่เที่ยวเตลิดเลื่อนลอยฟุ้งซ่าน ไปอย่างไร้จุดหมาย อย่าง อย่างไรในพระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับหลวงแปลคำว่า กมฺมฏฺาน ว่า ฐานะแห่งการงาน มากไปกว่านั้นในพระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐพบคำว่า กมฺมฏฺาน เฉพาะในเล่มที่ 13 ข้อที่ 711 ถึง 713 เท่านั้น.

ใหม่!!: มหาสติปัฏฐานสูตรและกรรมฐาน · ดูเพิ่มเติม »

กายคตาสติ

กายคตาสติ (อ่านว่า กา-ยะ-คะ-ตา-สะ-ติ) แปลว่า สติที่เป็นไปในกาย เป็นวิธีทำกรรมฐานอย่างหนึ่งในอนุสสติ ๑๐ กายคตาสติ คือการใช้สติไปรู้อวัยวะในร่างกายของตน เช่น ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ฯลฯ ให้เห็นตามความเป็นจริงว่าเป็นของไม่งาม ปฏิกูล น่าเกลียด โสโครก ไม่ควรยึดมั่น ถือมั่น พิจารณาไปจนเห็นความจริง จิตยอมรับความจริงได้ เกิดความเบื่อหน่าย คลายความกำหนัดยินดีในกาย ไม่ยึดมั่นถือมั่นกายต่อไป กายคตาสติ เมื่อระลึกถึงอยู่เนือง ๆ ย่อมส่งผลให้หมดความยินดียินร้าย หมดภัยและความขลาดลงได้ ใจวางอุเบกขาต่อทุกขเวทนาได้ ส่งผลให้จิตใจสงบ ไม่ฟุ้งซ่าน บรรเทาราคะและความยึดมั่นถือมั่นในกาย ถอนความเห็นผิดว่าสวยว่างามลงได้.

ใหม่!!: มหาสติปัฏฐานสูตรและกายคตาสติ · ดูเพิ่มเติม »

กิเลส

กิเลส (กิเลส; क्लेश เกฺลศ) หมายถึง สภาพที่ทำให้จิตเศร้าหมอง.

ใหม่!!: มหาสติปัฏฐานสูตรและกิเลส · ดูเพิ่มเติม »

มหาสติปัฏฐานสูตร

ติปัฏฐานสูตร หรือ มหาสติปัฏฐานสูตร เป็นพระสูตรสำคัญในพระพุทธศาสนาที่พระพุทธเจ้าตรัสแก่ชาวกุรุชนบท ชื่อว่ากัมมาสทัมมะ (ปัจจุบันอยู่ในกรุงนิวเดลี เมืองหลวงของประเทศอินเดีย) สติปัฏฐานสูตรหรือมหาสติปัฏฐานสูตร เป็นพระสูตรที่พระพุทธเจ้าตรัสว่าเป็นหนทางนี้เป็นที่ไปอันเอก เพื่อบรรลุธรรมที่ถูกต้อง เพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน มหาสติปัฏฐานสูตร เมื่อพิจารณาจากพระพุทธพจน์ตอนเริ่มพระสูตร อาจกล่าวได้ว่าหลักการในพระสูตรนี้ เป็นหลักแนวปฏิบัติตรงที่เน้นเฉพาะเพื่อการรู้แจ้ง คือให้มีสติพิจารณากำกับดูสิ่งทั้งหลายให้รู้เห็นเท่าทันตามความเป็นจริง โดยไม่ให้ถูกครอบงำไว้ด้วยอำนาจกิเลสต่าง ๆ โดยมีแนวปฏิบัติเป็นขั้นตอน 4 ระดับ คือ พิจารณากาย, ความรู้สึก (เวทนา), จิต, และธรรมที่เกิดในจิต.

ใหม่!!: มหาสติปัฏฐานสูตรและมหาสติปัฏฐานสูตร · ดูเพิ่มเติม »

มูลปัณณาสก์

มูลปัณณาสก์ จัดเป็น เล่มที่ 1 (ลำดับพระไตรปิฎก เล่มที่ 12) มี 5 วรรค 50 สูตร ดังนี้ มูลปริยายวรรค (10 สูตร), สีหนาทวรรค (10 สูตร), โอปัมมวรรค (10 สูตร), มหายมกวรรค (10 สูตร) และจูฬยมกวรรค (10 สูตร).

ใหม่!!: มหาสติปัฏฐานสูตรและมูลปัณณาสก์ · ดูเพิ่มเติม »

วิภังค์

วิภังค์ อาจหมายถึง.

ใหม่!!: มหาสติปัฏฐานสูตรและวิภังค์ · ดูเพิ่มเติม »

วิสุทธิมรรค

วิสุทธิมรรค (วิสุทฺธิมคฺค) เป็นคัมภีร์สำคัญคัมภีร์หนึ่ง ในพุทธศาสนานิกายเถรวาท ซึ่งได้รับการจัดลำดับความสำคัญเทียบเท่าชั้นอรรถกถา โดยมี พระพุทธโฆสะ ชาวอินเดีย เป็นผู้เรียบเรียงขึ้นในภาษาบาลี เมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 10 มีเนื้อหาที่อธิบายเกี่ยวกับ ศีล สมาธิ และปัญญา ตามแนววิสุทธิ 7 ในปัจจุบัน คัมภีร์วิสุทธิมรรค ได้รับการยอมรับว่าเป็นผลงานสำคัญที่สุดชิ้นหนึ่งในทางพุทธศาสนา ได้รับการยกย่องจากนักวิชาการด้านพุทธศาสนาในหลายประเทศเป็นจำนวนมาก และได้รับการบรรจุในหลักสูตรการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีของคณะสงฆ์ไทย ระดับชั้นเปรียญธรรม ๘ ประโยค และเปรียญธรรม ๙ ปร.

ใหม่!!: มหาสติปัฏฐานสูตรและวิสุทธิมรรค · ดูเพิ่มเติม »

วิปัสสนา

วิปัสสนา หมายถึง ความเห็นแจ้งในสังขารทั้งหลายว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และไม่ใช่ตัวตน สมถะและวิปัสสนาถือเป็นธรรมที่ควรเจริญ (ตามทสุตตรสูตร) และเป็นธรรมฝ่ายวิชชา (ตามพาลวรรค).

ใหม่!!: มหาสติปัฏฐานสูตรและวิปัสสนา · ดูเพิ่มเติม »

สัมปชัญญะ

ัมปชัญญะ หมายถึงความรู้ตัวทั่วพร้อม เป็นธรรมที่มีอุปการะ คู่กับสติ เป็นธรรมที่เอื้อกับสติ ที่อยู่ 4 ลักษณ.

ใหม่!!: มหาสติปัฏฐานสูตรและสัมปชัญญะ · ดูเพิ่มเติม »

สังโยชน์

ังโยชน์ (samyojana) คือ กิเลสที่ผูกมัดใจสัตว์, ธรรมที่มัดสัตว์ไว้กับทุกข์ หรือกิเลสเครื่องร้อยรัดจิตใจให้จมในวัฏฏะ มี 10 อย่าง คือ.

ใหม่!!: มหาสติปัฏฐานสูตรและสังโยชน์ · ดูเพิ่มเติม »

สุมังคลวิลาสินี

มังคลวิลาสินี เป็นคัมภีร์อรรถกถาอธิบายความในพระสุตตันตปิฎก หมวดทีฆนิกาย พระพุทธโฆษาจารย์ หรือพระพุทธโฆสะ เรียบเรียงขึ้น โดยอาศัยอรรกถาเก่าภาษาสิงหฬที่แปลมาจากภาษมคธหรือภาษาบาลีมาแต่เดิม แต่ต่อมาต้นฉบับสูญหายไปพระพุทธโฆษาจารย์จึงเดินทางไปยังลังกาทวีปเพื่อแปลอรรกถาเหล่านี้กลับคืนเป็นภาษาบาลีอีกครั้ง ซึ่งหนึ่งในนั้นคือคัมภีร์สุมังคลวิลาสินี ที่เรียบเรียงขึ้นเมื่อราว..

ใหม่!!: มหาสติปัฏฐานสูตรและสุมังคลวิลาสินี · ดูเพิ่มเติม »

สูตร

ในทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ สูตร หมายถึง แนวทางสั้นๆ ที่ใช้อธิบายความรู้ด้วยสัญลักษณ์ (เช่นสูตรคณิตศาสตร์หรือสูตรเคมี) หรือความสัมพันธ์ทั่วไปในเรื่องปริมาณ หนึ่งในสูตรต่างๆ ที่เป็นที่รู้จักกันดีคือ สูตรของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ที่ว่า E.

ใหม่!!: มหาสติปัฏฐานสูตรและสูตร · ดูเพิ่มเติม »

สติปัฏฐาน 4

ติปัฏฐาน 4 เป็นหลักการภาวนาตามมหาสติปัฏฐานสูตร เป็นข้อปฏิบัติเพื่อรู้แจ้ง คือเข้าใจตามเป็นจริงของสิ่งทั้งปวงโดยไม่ถูกกิเลสครอบงำ สติปัฏฐานมี 4 อย่าง กาย เวทนา จิต และธรรม คำว่าสติปัฏฐานนั้นแปลว่า สติที่ตั้งมั่น, การหมั่นระลึก, การมีสัมมาสติระลึกรู้นั้นพ้นจากการคิดโดยตั้งใจ แต่เกิดจากจิตจำสภาวะได้ แล้วระลึกรู้โดยอัตโนมัติ โดยคำว่า สติ หมายถึงความระลึกรู้ เป็นเจตสิกประ​เภทหนึ่ง​ ส่วนปัฏฐาน ​แปล​ได้​หลายอย่าง​ ​แต่​ใน​มหาสติปัฏฐานสูตร​และ​สติปัฏฐานสูตร ​หมาย​ถึง​ ​ความตั้งมั่น, ความแน่วแน่, ความมุ่งมั่น โดยรวมคือเข้าไปรู้เห็นในสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง ตามมุ่งมองของไตรลักษณ์หรือสามัญลักษณะ โดยไม่มีความยึดติดด้วยอำนาจกิเลสทั้งปวง ได้แก.

ใหม่!!: มหาสติปัฏฐานสูตรและสติปัฏฐาน 4 · ดูเพิ่มเติม »

อรรถกถา

ัมภีร์อรรถกถาบาลีในปัจจุบันเป็นผลงานการแปลของพระพุทธโฆสะ ที่แปลยกจากภาษาสิงหลขึ้นสู่ภาษาบาลี อรรถกถา (Atthakatha; อ่านว่า อัดถะกะถา) คือคัมภีร์ที่รวบรวมคำอธิบายความในพระไตรปิฎกภาษาบาลี เรียกว่า คัมภีร์อรรถกถา บ้าง ปกรณ์อรรถกถา บ้าง อรรถกถา จัดเป็นแหล่งความรู้ทางพระพุทธศาสนาที่มีความสำคัญรองลงมาจากพระไตรปิฎก และใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงอย่างแพร่หลายในวงการศึกษาพระพุทธศาสนา คัมภีร์อรรถกถา ไม่ใช่คำสอนของพระพุทธเจ้า แต่เป็นคัมภีร์ที่อธิบายความหรือคำที่ยากในพระไตรปิฎกให้เข้าใจง่ายขึ้น โดยยกศัพท์ออกมาอธิบายเป็นศัพท์ ๆ บ้าง ยกข้อความหรือประโยคยาวๆ มาขยายความให้ชัดเจนขึ้นบ้าง แสดงทัศนะและวินิจฉัยของผู้แต่งสอดแทรกเข้าไว้บ้าง ลักษณะการอธิบายความในพระไตรปิฎกของอรรถกถานั้น ไม่ได้นำทุกเรื่องในพระไตรปิฎกมาอธิบาย แต่นำเฉพาะบางศัพท์ วลี ประโยค หรือบางเรื่องที่อรรถกถาจารย์เห็นว่าควรอธิบายเพิ่มเติมเท่านั้น ดังนั้นบางเรื่องในพระไตรปิฎกจึงไม่มีอรรถกถาขยายความ เพราะอรรถกถาจารย์เห็นว่าเนื้อหาในพระไตรปิฎกส่วนนั้นเข้าใจได้ง่ายนั่นเอง.

ใหม่!!: มหาสติปัฏฐานสูตรและอรรถกถา · ดูเพิ่มเติม »

อริยสัจ 4

อริยสัจ หรือจตุราริยสัจ หรืออริยสัจ 4 เป็นหลักคำสอนหนึ่งของพระโคตมพุทธเจ้า แปลว่า ความจริงอันประเสริฐ ความจริงของพระอริยบุคคล หรือความจริงที่ทำให้ผู้เข้าถึงกลายเป็นอริยะ มีอยู่สี่ประการ คือ.

ใหม่!!: มหาสติปัฏฐานสูตรและอริยสัจ 4 · ดูเพิ่มเติม »

อายตนะ

อายตนะ (อ่านว่า อายะตะนะ) แปลว่า ที่เชื่อมต่อ, เครื่องติดต่อ หมายถึงสิ่งที่เป็นสื่อสำหรับติดต่อกัน ทำให้เกิดความรู้สึกขึ้น แบ่งเป็น 2 อย่างคือ.

ใหม่!!: มหาสติปัฏฐานสูตรและอายตนะ · ดูเพิ่มเติม »

อานาปานสติ

อานาปานสติเป็นกรรมฐานที่เหมาะสมกับคนทุกคน และเลือกได้หลากหลาย มีความลึกซึ้งมาก อานาปานสติ (อานะ หายใจออก - ปานะ หายใจเข้า - สะติ ความระลึก) มีอยู่ 16 คู่ คือ.

ใหม่!!: มหาสติปัฏฐานสูตรและอานาปานสติ · ดูเพิ่มเติม »

อนุสัย

อนุสัย ๗ กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในสันดาน เหมือนตะกอนนอนอยุ่ที่ก้นภาชนะ ตะกอนจะฟุ้งขึ้นมาทำน้ำให้ขุ่นเพราะมีคนไปกระทบหรือกวนภาชนะฉันใด อนุสัยกิเลสก็เช่นเดียวกัน จะฟุ้งขึ้นมาทำจิตให้ขุ่นมัว ต่อเมื่อมีอารมณ์ภายนอกมากระทบเช่นเดียวกันฉันนั้น อนุสัย ๗ เป็นกิเลสที่มีความละเอียดที่สุด สามารถกำจัดได้ด้วยปัญญาเท่านั้น ส่วนใหญ่จะเป็นกิเลสที่มีในสังโยชน์อนุสัย 7 นี้ จึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สังโยชน์ 7.

ใหม่!!: มหาสติปัฏฐานสูตรและอนุสัย · ดูเพิ่มเติม »

จิต

ต (mind) หรือจิตใจ คือ ความรู้สึกนึกคิด เชาว์ปัญญา ความสำนึก ความมีสติ แต่ความคิดเป็นองค์ประกอบสำคัญของจิตใจที่สามารถรู้เห็นได้ กำกับและควบคุมอย่างชัดเจน บางครั้งจึงใช้คำว่า "ความคิด" แทน มีทฤษฎีหลายทฤษฎีที่กล่าวถึงการทำงานของจิต ทั้งจากเพลโต อริสโตเติล หรือแม้แต่นักปรัชญาชาวกรีกและอินเดีย ก่อนที่จะมีวิทยาศาสตร์ ทฤษฎีจะเน้นไปทางปรัชญาหรือศาสนา แต่ทฤษฎีสมัยใหม่ จะอาศัยวิทยาศาสตร์ในการอธิบายการทำงานของสมอง.

ใหม่!!: มหาสติปัฏฐานสูตรและจิต · ดูเพิ่มเติม »

ธาตุ (ศาสนาพุทธ)

ตุ ในทางพระพุทธศาสนา แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ.

ใหม่!!: มหาสติปัฏฐานสูตรและธาตุ (ศาสนาพุทธ) · ดูเพิ่มเติม »

ทีฆนิกาย

ทีฆนิกาย เป็นนิกายแรกในพระสุตตันตปิฎกของพระไตรปิฎกภาษาบาลี เป็นชุมนุมพระสูตรที่มีขนาดยาว 34 สูตร ครอบคลุมพระไตรปิฎกเล่มที่ 9-11 แบ่งเป็น 3 วรรค คือ จาก.

ใหม่!!: มหาสติปัฏฐานสูตรและทีฆนิกาย · ดูเพิ่มเติม »

ขันธ์

ันธ์ แปลว่า กอง, หมวด, หมู่, ส่วน ในทางพุทธศาสนาหมายถึงร่างกายของมนุษย์ คือแยกร่างกายออกเป็นส่วนๆ ตามสภาพได้ 5 ส่วน หรือ 5 ขันธ์ คือ.

ใหม่!!: มหาสติปัฏฐานสูตรและขันธ์ · ดูเพิ่มเติม »

คำวิเศษณ์

ำวิเศษณ์ คือคำที่ทำหน้าที่ขยายคำนาม คำสรรพนาม คำกริยา หรือคำวิเศษณ์ด้วยกัน เพื่อให้ได้ความชัดเจนยิ่งขึ้น ในภาษาไทย คำวิเศษณ์สามารถใช้ขยายได้ทั้งนาม สรรพนาม กริยา และวิเศษณ์ ในขณะที่ในภาษาอังกฤษจะแยกคำวิเศษณ์ออกเป็นสองประเภทคือ คำคุณศัพท์ (adjective) ใช้ขยายได้เฉพาะคำนามและสรรพนามเท่านั้น และคำกริยาวิเศษณ์ (adverb) ใช้ขยายกริยา คุณศัพท์ และกริยาวิเศษณ์ด้วยกัน.

ใหม่!!: มหาสติปัฏฐานสูตรและคำวิเศษณ์ · ดูเพิ่มเติม »

ปัจจัย

ำสำคัญ "ปัจจัย" สามารถหมายถึง.

ใหม่!!: มหาสติปัฏฐานสูตรและปัจจัย · ดูเพิ่มเติม »

ปปัญจสูทนี

ปปัญจสูทนี คือ คัมภีร์อรรถกถาที่อธิบายความในมัชฌิมนิกายแห่งพระสุตตันตปิฎก พระพุทธโฆสะเป็นผู้เรียบเรียงขึ้นจากอรรถกถาภาษาสิงหฬ เมื่อราว..

ใหม่!!: มหาสติปัฏฐานสูตรและปปัญจสูทนี · ดูเพิ่มเติม »

นวสี

นวสี หรือ นวสีวถิกาบรรพ หมายถึง อาการ ซากศพทั้ง 9 เวลา นวสีวถิกา แปลว่า ป่าช้าสำหรับทิ้งซากศพ 9 อย่าง และความหมายในมหาสติปัฏฐานสูตรจะระบุถึงซากศพ 9 ลักษณะ ซึ่งถ้าหากหมั่นใช้เป็นที่ตั้งของสติ คือ ระลึกถึงตนเองโดยความเป็นศพหนึ่งใน 9 ลักษณ.

ใหม่!!: มหาสติปัฏฐานสูตรและนวสี · ดูเพิ่มเติม »

นิพพาน

วาดพระพุทธเจ้าเข้าสู่'''อนุปาทิเสสนิพพาน'''สภาวะ นิพพาน (निब्बान nibbāna นิพฺพาน; निर्वाण nirvāṇa นิรฺวาณ) หมายถึง ความดับสนิทแห่งกิเลสและกองทุกข์ เป็นสภาพโลกุตระอันเป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดในศาสนาพุทธ คำว่า นิพพาน เป็นคำที่ใช้กันในปรัชญาหลายระบบในอินเดีย โดยใช้ในความหมายของการหลุดพ้น แต่การอธิบายเกี่ยวกับสภาวะของนิพพานนั้นแตกต่างกันออกไป ในปรัชญาอุปนิษัทเชื่อว่านิพพานหรือโมกษะ คือการที่อาตมันย่อยหรือชีวาตมันเข้ารวมเป็นเอกภาพกับพรหมัน แต่ในพระพุทธศาสนาอธิบายว่า นิพพานคือการหลุดพ้นจากอวิชชา ตัณหา ซึ่งแสดงออกในรูปของโลภะ โทสะ และโมหะ มิได้หมายความว่าเป็นการหลุดพ้นของอัตตาหรือตัวตนในโลกนี้ ไปสู่สภาวะของนิพพานอย่างคำสอนอุปนิษัท แต่หมายถึงความดับสนิทแห่งความเร่าร้อนและเครื่องผูกพันร้อยรัดทั้งปวง ซึ่งเรียกว่าเป็นความทุก.

ใหม่!!: มหาสติปัฏฐานสูตรและนิพพาน · ดูเพิ่มเติม »

นิมิต

ำสำคัญ "นิมิต" แปลว่า เครื่องหม.

ใหม่!!: มหาสติปัฏฐานสูตรและนิมิต · ดูเพิ่มเติม »

นิวรณ์

นิวรณ์(อ่านว่า นิ-วอน) (nīvaraṇāna) แปลว่า เครื่องกั้น ใช้หมายถึงธรรมที่เป็นเครื่องปิดกั้นหรือขัดขวางไม่ให้บรรลุความดี ไม่เปิดโอกาสให้ทำความดี และเป็นเครื่องกั้นความดีไว้ไม่ให้เข้าถึงจิต เป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้ผู้ปฏิบัติบรรลุธรรมไม่ได้หรือทำให้เลิกล้มความตั้งใจปฏิบัติไป นิวรณ์มี 5 อย่าง คือ.

ใหม่!!: มหาสติปัฏฐานสูตรและนิวรณ์ · ดูเพิ่มเติม »

นิวเดลี

นิวเดลี (New Delhi; नई दिल्ली) เป็นเมืองหลวงของประเทศอินเดี.

ใหม่!!: มหาสติปัฏฐานสูตรและนิวเดลี · ดูเพิ่มเติม »

โพชฌงค์ 7

งค์ หรือ โพชฌงค์ 7 คือธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ หรือองค์ของผู้ตรัสรู้ มีเจ็ดอย่างคือ.

ใหม่!!: มหาสติปัฏฐานสูตรและโพชฌงค์ 7 · ดูเพิ่มเติม »

ไตรลักษณ์

ตรลักษณ์ เป็นธรรมะที่ทำให้เป็นพระอริยะ (อริยกรธรรม) แปลว่า ลักษณะ 3 ประการ หมายถึงสามัญลักษณะ คือ กฎธรรมดาของสรรพสิ่งทั้งปวง อันได้แก่ อนิจจลักษณะ ลักษณะไม่เที่ยง มีการแปรเปลี่ยนไปเป็นธรรมดา ทุกขลักษณะ ลักษณะทนอยู่ตลอดไปไม่ได้ ถูกบีบคั้นด้วยอำนาจของธรรมชาติทำให้ทุกสิ่งไม่สามารถทนอยู่ในสภาพเดิมได้ตลอดไป และ อนัตตลักษณะ ลักษณะไม่สามารถบังคับบัญชาให้เป็นไปตามต้องการได้ เช่น ไม่สามารถบังคับให้ชีวิตยั่งยืนอยู่ได้ตลอดไป ไม่สามารถบังคับจิตใจให้เป็นไปตามปรารถนา เป็นต้น.

ใหม่!!: มหาสติปัฏฐานสูตรและไตรลักษณ์ · ดูเพิ่มเติม »

ไปยาลใหญ่

ปยาลใหญ่ หรือ เปยยาลใหญ่ (ฯลฯ) เป็นเครื่องหมายวรรคตอนอย่างหนึ่ง ในการเขียนภาษาไทย มีรูปเป็นอักษรไทย ล ที่อยู่ระหว่างเครื่องหมายไปยาลสองตัว ใช้ละคำต่อท้ายที่ยังมีอีกมาก ยังไม่ปรากฏที่มาที่ชัดเจน คำว่า ไปยาล มาจาก คำว่า เปยฺยาล ในภาษาบาลี แปลว่า ย่อ ซึ่งเมื่อเขียนภาษาบาลีด้วยอักษรไทย จะใช้ ฯเปฯ ในคำสวดแทน.

ใหม่!!: มหาสติปัฏฐานสูตรและไปยาลใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

เวทนา

วทนา เป็นนามธรรมอย่างหนึ่งมีการกล่าวถึงในพระพุทธศาสนา หมายถึง การเสวยอารมณ์, ความรู้สึก เวทนาขันธ์ เป็นองค์ประกอบหนึ่งของขันธ์๕ (หรือ เบญจขันธ์ อันได้แก่ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์) เวทนา สามารถจัดออกเป็นประเภทต่างๆ ได้หลายแบบ เช่น.

ใหม่!!: มหาสติปัฏฐานสูตรและเวทนา · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

สติปัฏฐานสูตร

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »