โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

มอลลัสกา

ดัชนี มอลลัสกา

มอลลัสกา (ไฟลัม: Mollusca, เสียงอ่าน) เป็นไฟลัมหนึ่งของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง คือสัตว์ที่มีลำตัวนิ่ม ส่วนใหญ่มีเปลือกแข็งหุ้มอยู่ภายนอก พบทั้งบนบก น้ำจืด น้ำเค็ม น้ำกร่อย ดำรงชีวิตเป็นอิสระ มีต่อมเมือกตามผิวลำตัว ระบบอวัยวะมีความซับซ้อน ลำตัวสั้น ด้านหน้าเป็นส่วนหัว ด้านล้างเป็นแผ่นเท้าสำหรับเคลื่อนที่และว่ายน้ำ ด้าบบนมีแมนเทิลที่ทำหน้าที่สร้างเปลือกแข็ง ภายในช่องปากมีแรดูลา ยกเว้นในหอยสองฝา ช่วยในการกินอาหาร มีต่อมน้ำลายและตับช่วยสร้างน้ำย่อย ระบบหมุนเวียนเลือดประกอบด้วยหัวใจอยู่ด้านบนและเส้นเลือดไปตามส่วนต่างๆ ระบบขับถ่ายมีเนฟริเดียม ระบบหายใจประกอบด้วยเหงือกหรือถุงหายใจที่คล้ายปอด ระบบประสาทมีปมประสาทสามคู่และมีเส้นประสาทยึดระหว่างปม มีอวัยวะสำหรับรับภาพ กลิ่นและการทรงตัว ระบบสืบพันธุ์ส่วนใหญ่แยกเพศ มีบางพวกไม่แยกเพศและเปลี่ยนเพศได้ มีการปฏิสนธิทั้งแบบภายในและภายนอก สัตว์ในไฟลัมมอลลัสกาเรียกโดยรวมว่า มอลลัสก์ (mollusc, mollusk).

38 ความสัมพันธ์: ชั้นพอลิพลาโคฟอราชั้นสแคโฟโปดาชั้นอะพลาโคฟอราชั้นแกสโทรโพดาชั้นโมโนพลาโคฟอราชั้นไบวาลเวียชั้นเซฟาโลพอดพ.ศ. 2301การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์การปฏิสนธิยุคแคมเบรียนระบบสืบพันธุ์ระบบประสาทสัตว์สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหมึก (แก้ความกำกวม)หมึกหอมหลอดเลือดหอยมือเสือหอยทากหอยงวงช้างหอยนางรมหอยแมลงภู่หอยแครงหอยเสียบหอยเต้าปูนทากทะเลคาโรลัส ลินเนียสตับต่อมน้ำลายปอดน้ำกร่อยน้ำจืดน้ำเค็มแคลเซียมคาร์บอเนตไฟลัมเส้นประสาทเนื้อโลก

ชั้นพอลิพลาโคฟอรา

ระวังสับสนกับ: ลิ้นทะเล ชั้นพอลิพลาโคฟอรา (ชั้น: Polyplacophora) เป็นมอลลัสคาชั้นหนึ่ง มีชื่อเรียกในชื่อสามัญว่า ลิ่นทะเล หรือ หอยแปดเกล็ด (Chiton) อาศัยอยู่ในทะเล จัดเป็นมอลลัสคาจำพวกหนึ่งที่มีลักษณะแตกต่างไปจากมอลลัสคาชั้นอื่น ๆ กล่าวคือ แทนที่จะเปลือกหรือฝาเดียวหรือสองฝา แต่กลับมีมากถึง 7-8 ชิ้น ที่แยกออกจากกันแต่ก็ยึดเข้าไว้ด้วยกันทางด้านบนลำตัวเหมือนชุดเกราะ มีวิวัฒนาการที่ต้องแนบลำตัวดัดไปตามพื้นผิวแข็งขรุขระใต้ทะเลเพื่อแทะเล็มสาหร่ายทะเลและพืชทะเลที่เจริญเติบโตบนหิน ขณะที่ในบางชนิดก็ดักซุ่มรอกินเหยื่อตัวเล็ก ๆ ที่เคลื่อนผ่านไปมา ชั้นพอลิพลาโคฟอรานั้นวิวัฒนาการมาจากบรรพบุรุษที่มีอายุยาวนานกว่า 500 ล้านปี โดยที่ในปัจจุบัน ก็มิได้เปลี่ยนแปลงรูปร่างไปจากเดิมมากน้อยเท่าไหร่นัก โดยมีลำตัวเป็นวงรีคล้ายรูปไข่ มักพบอาศัยอยู่ตามโขดหินตามริมชายฝั่ง ปัจจุบันนี้พบแล้วทั้งหมด 900-1,000 ชนิด โดยศัพท์คำว่า "Polyplacophora" นั้น แปลได้ว่า "ผู้มีหลายเกล็ด".

ใหม่!!: มอลลัสกาและชั้นพอลิพลาโคฟอรา · ดูเพิ่มเติม »

ชั้นสแคโฟโปดา

ั้นสแคโฟโปดา (ชั้น: Scaphopoda) เป็นหนึ่งในชั้นของไฟลัมมอลลัสคาที่ยังสืบเผ่าพันธุ์มาจนปัจจุบัน ซึ่งสัตว์ในชั้นนี้พบมีอยู่มายาวนานกว่า 240 ล้านปีมาแล้ว โดยพบหลักฐานในซากดึกดำบรรพ์ ปัจจุบันพบแล้วประมาณ 1,000 ชนิด ซึ่งเรียกกันในชื่อสามัญว่า หอยงาช้าง หรือ หอยฟันช้าง(Tusk Shell) ทุกชนิดจะอาศัยอยู่ภายใต้พื้นทรายใต้ทะเล มีรูปร่างโดยรวม คือ เปลือกมีรูปร่างคล้ายฝักดาบซามูไรหรืองาของช้าง มีลักษณะเรียวยาว โค้งตรงกลางเล็กน้อย หน้าตัดเป็นทรงค่อนข้างกลม มีช่องเปิดที่ปลายสุดของทั้งสองด้านซึ่งด้านหนึ่งจะใหญ่กว่าอีกด้านเสมอ มีขนาดตั้งแต่ 5 มิลลิเมตรจนถึง 15 เซนติเมตร ศัพท์คำว่า Scaphopoda นั้น สามารถแปลเป็นภาษาอังกฤษได้ว่า "เท้าเป็นจอบ" (shovel-footed) มีลักษณะโครงสร้างคือ ไม่มีตา ไม่มีเส้นเลือด ไม่มีแม้กระทั่งอวัยวะสำคัญอย่าง หัวใจ โดยเลือดจะถูกสูบโดยแรงดันน้ำภายในเนื้อเยื่อจากการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อเท้าที่มีรูปร่างคล้ายจอบ ที่ใช้ขุดเจาะเพื่อแทรกเปลืองลงวางตัวดิ่งในพื้นทราย มีอวัยวะพิเศษคล้ายหนวดเล็ก ๆ รอบ ๆ ปากด้านล่างเรียกว่า "captacula" ทำหน้าที่ดักจับอาหารเข้าสู่ปากเพื่อบดเคี้ยวและย่อยสลาย แล้วพ่นทิ้งออกอีกทางเป็นของเสีย เปลือกของหอยงาช้าง นั้น ผู้หญิงในอินเดียนแดงเผ่าลาโคตาใช้ทำเครื่องประดับสำหรับตกแต่งเสื้อผ้าหรือชุดที่สวมใส่เช่นเดียวกับขนของเม่น.

ใหม่!!: มอลลัสกาและชั้นสแคโฟโปดา · ดูเพิ่มเติม »

ชั้นอะพลาโคฟอรา

ั้นอะพลาโคฟอรา (Class Aplacophora) เป็นชั้นหนึ่งในไฟลัมมอลลัสคาเป็นมอลลัสที่โบราณ ตัวคล้ายหนอน ไม่มีเปลือก อาศัยอยู่ตามโคลนใต้ทะเลหรือตามผิวของฟองน้ำ ตัวยาวประมาณ 1-40 มิลลิเมตร ไม่มีเท้าหรือถ้ามีจะมีขนาดเล็กมาก มีแมนเทิล ที่ผิวของแมนเทิลมีสปิคุลฝังอยู่ ด้านท้องมีร่องกลางท้องยาวตลอดตัวตัวอย่างเช่น Solenogaster.

ใหม่!!: มอลลัสกาและชั้นอะพลาโคฟอรา · ดูเพิ่มเติม »

ชั้นแกสโทรโพดา

ั้นแกสโทรโพดา (ชั้น: Gastropoda) หรือที่เรียกกันในชื่อสามัญว่า หอยฝาเดียว หรือ หอยฝาเดี่ยว หรือ หอยกาบเดี่ยว หรือ หอยกาบเดียว หรือ หอยเปลือกเดี่ยว หรือ หอยเปลือกเดียว เป็นหนึ่งในลำดับของไฟลัมมอลลัสคา ในสิ่งมีชีวิต สัตว์ในชั้นนี้มีการสืบทอดเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบันมีอยู่ระหว่าง 60,000-80,000 ชนิด จัดเป็นมอลลัสคาที่มีวิวัฒนาการสูงสุดรองจากมอลลัสคาในชั้นเซฟาโลพอดหรือหมึกและหอยงวงช้าง.

ใหม่!!: มอลลัสกาและชั้นแกสโทรโพดา · ดูเพิ่มเติม »

ชั้นโมโนพลาโคฟอรา

มโนพลาโคฟอรา (Class Monoplacophora) เป็นชั้นหนึ่งในไฟลัมมอลลัสคาเป็นมอลลัสที่มีเปลือกเพียงชิ้นเดียว รูปร่างคล้ายฝาชีแต่ปลายยอดเอนมาด้านหน้า เท้าเป็นแผ่นกลมแบนอยู่ที่ท้อง ไม่มีหนวด ไม่มีตา เดิมเชื่อว่สัตว์ชนิดนี้สูญพันธุ์หมดแล้ว จนกระทั่งเรือเดินสมุทรของเดนมาร์กได้พบสัตว์ชนิดนี้จากดินที่ตักมาจากทะเลทางตะวันตกของคอสตาริกาเมื่อ..

ใหม่!!: มอลลัสกาและชั้นโมโนพลาโคฟอรา · ดูเพิ่มเติม »

ชั้นไบวาลเวีย

ั้นไบวาลเวีย (ชั้น: Bivalvia) เป็นมอลลัสคาชั้นหนึ่ง ที่ยังคงสืบทอดเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบัน โดยวิวัฒนาการให้อาศัยอยู่ได้ทั้งในทะเลและน้ำจืด มีชื่อเรียกในภาษาสามัญว่า หอยฝาคู่ หรือ หอยสองฝา หรือ หอยเปลือกคู่ หรือ หอบกาบคู.

ใหม่!!: มอลลัสกาและชั้นไบวาลเวีย · ดูเพิ่มเติม »

ชั้นเซฟาโลพอด

ั้น เซฟาโลพอด (Cephalopod) เป็นชั้นในไฟลัมมอลลัสคา เซฟาโลพอดมีลักษณะเด่นตรงที่ร่างกายสมมาตร มีส่วนศีรษะเด่นออกมา การดัดแปลงส่วนเท้าของมอลลัสคา (muscular hydrostat) ไปเป็นแขนหรือหนว.

ใหม่!!: มอลลัสกาและชั้นเซฟาโลพอด · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2301

ทธศักราช 2301 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: มอลลัสกาและพ.ศ. 2301 · ดูเพิ่มเติม »

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ หรือ การจำแนกชั้นทางชีววิทยา (Systematics) หมายถึงการจัดกลุ่มและหมวดหมู่สปีชีส์ของสิ่งมีชีวิต ทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบันและที่สูญพันธุ์ไปแล้ว การจำแนกในยุคปัจจุบันอาศัยรากฐานจากระบบการจำแนกของ คาโรลัส ลินเนียส นักพฤกษศาสตร์ผู้จัดกลุ่มสปีชีส์ต่าง ๆ โดยดูจากลักษณะเฉพาะทางกายภาพ การจัดกลุ่มแบบนี้ได้มีการปรับปรุงอยู่เสมอเพื่อให้สอดคล้องกับหลักดาร์วิน ส่วนมากเป็นผลมาจากการศึกษาอนุกรมวิธานระดับโมเลกุลด้วยการวิเคราะห์จีโนม ในการแบ่งอย่างกว้างๆจะแบ่งได้ 2 ระดับ คือ ลำดับขั้นสูง และ ลำดับขั้นต่ำ.

ใหม่!!: มอลลัสกาและการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

การปฏิสนธิ

การเข้าปฏิสนธิของสเปิร์ม การปฏิสนธิ (Fertilisation) หมายถึง การหลอมรวมระหว่างนิวเคลียสของเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้กับเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย การปฏิสนธิในสัตว์และพืชเป็นดังนี้.

ใหม่!!: มอลลัสกาและการปฏิสนธิ · ดูเพิ่มเติม »

ยุคแคมเบรียน

อีดีแอคารัน←ยุคแคมเบรียน→ยุคออร์โดวิเชียน ยุคแคมเบรียน (Cambrian) เป็นธรณีกาลยุคแรกของมหายุคพาลีโอโซอิก อยู่ในช่วง 542 ± 0.3 ล้านปีมาแล้วถึง 488.3 ± 1.7 ล้านปีมาแล้ว ก่อนจะเข้าสู่ยุคออร์โดวิเชียน คำว่าแคมเบรียนตั้งโดย อดัม ซิดก์วิค (Adam Sedgwick) เป็นชื่อโรมันของเวลส์ซึ่งเป็นสถานที่ที่พบหินยุคแคมเบรียนดีที่สุดของอังกฤษ ยุคแคมเบรียนเป็นช่วงสำคัญของการเปลี่ยนแปลงของสิ่งมีชีวิตบนโลก ก่อนยุคแคมเบรียน สิ่งมีชีวิตนั้นมีขนาดเล็กและเรียบง่าย ก่อนจะค่อยๆเป็นองค์ประกอบซับซ้อนในอีกล้านปีถัดมาก่อนหน้ายุคแคมเบรียนButterfield, N. J. (2007).

ใหม่!!: มอลลัสกาและยุคแคมเบรียน · ดูเพิ่มเติม »

ระบบสืบพันธุ์

ระบบสืบพันธุ์ (reproductive system) เป็นระบบของอวัยวะในร่างกายสิ่งมีชีวิตซึ่งทำงานร่วมกันโดยมีจุดประสงค์เพื่อการสืบพันธุ์เพิ่มจำนวนสิ่งมีชีวิตให้มากขึ้น ในระบบนี้จำเป็นต้องอาศัยสารต่างๆ อาทิ ของเหลว ฮอร์โมน และฟีโรโมนหลายชนิดเพื่อช่วยเหลือในการทำงาน ระบบสืบพันธุ์เป็นระบบซึ่งแตกต่างจากระบบอวัยวะอื่นๆ กล่าวคือระบบเพศของสัตว์ต่างชนิดกันก็มีความแตกต่างกัน ความหลากหลายนี้ก่อให้เกิดการผสมรวมกันของสารพันธุกรรมระหว่างสิ่งมีชีวิตสองตัว เพื่อเพิ่มความสามารถในการดำรงอยู่ในสิ่งแวดล้อมของลูกหลานต่อไป Body Guide powered by Adam.

ใหม่!!: มอลลัสกาและระบบสืบพันธุ์ · ดูเพิ่มเติม »

ระบบประสาท

ระบบประสาทของมนุษย์ ระบบประสาทของสัตว์ มีหน้าที่ในการออกคำสั่งการทำงานของกล้ามเนื้อ ควบคุมการทำงานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย และประมวลข้อมูลที่รับมาจากประสาทสัมผัสต่างๆ และสร้างคำสั่งต่าง ๆ (action) ให้อวัยวะต่าง ๆ ทำงาน (ดูเพิ่มเติมที่ ระบบประสาทกลาง) ระบบประสาทของสัตว์ที่มีสมองจะมีความคิดและอารมณ์ ระบบประสาทจึงเป็นส่วนของร่างกายที่ทำให้สัตว์มีการเคลื่อนไหว (ยกเว้นสัตว์ชั้นต่ำที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้เช่น ฟองน้ำ) สารเคมีที่มีฤทธิ์ต่อระบบประสาทหรือเส้นประสาท (nerve) เรียกว่า สารที่มีพิษต่อระบบประสาท (neurotoxin) ซึ่งมักจะมีผลทำให้เป็นอัมพาต หรือตายได้.

ใหม่!!: มอลลัสกาและระบบประสาท · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: มอลลัสกาและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง

Invertebrata สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง (Invertebrates) หมายความรวมถึงสัตว์ที่ไม่มีแท่งกระดูกสันหลังสำหรับยึดติดให้เป็นส่วนเดียวกันของร่างกาย จัดเป็นสัตว์ประเภทที่ไม่มีกระดูก และไม่มีกระดูกอ่อนอยู่ภายในร่างกาย มีความแตกต่างจากสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง ที่ทั้งหมดถูกจัดอยู่ในไฟลัมเดียวในอาณาจักรสัตว์ แต่สำหรับสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง มีจำนวนมากมายหลากหลายไฟลัม และมีจำนวนมากกว่าสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังมากที่สุดในโลกบพิธ - นันทพร จารุพันธุ์, สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เล่ม 1, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2545 หน้า 1 สัตว์จำพวกไม่มีกระดูกสันหลังมีจำนวนมากว่าสัตว์พวกมีกระดูกสันหลัง แบ่งเป็น.

ใหม่!!: มอลลัสกาและสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

หมึก (แก้ความกำกวม)

หมึก อาจหมายถึง.

ใหม่!!: มอลลัสกาและหมึก (แก้ความกำกวม) · ดูเพิ่มเติม »

หมึกหอม

หมึกหอม หรือ หมึกตะเภา (Bigfin reef squid, Soft cuttlefish; ชื่อวิทยาศาสตร์: Sepioteuthis lessoniana) หมึกหอมหรือหมึกตะเภา แม้จะได้ชื่อในภาษาอังกฤษว่า Cuttlefish ซึ่งหมายถึง หมึกกระดอง แต่แท้ที่จริงแล้ว หมึกหอมเป็นหมึกในอันดับหมึกกล้วย มีลำตัวทรงกระบอก มีขนาดความยาวประมาณ 26 เซนติเมตร ตัวผู้มีขนาดเรียวยาวกว่าตัวเมีย ครีบหรือแพนข้างตัวทั้ง 2 ด้าน มีลักษณะกว้างและแบนยาวเกือบตลอดลำตัวคล้ายหมึกในอันดับหมึกกระดอง กระดองของหมึกหอมจะเป็นแผ่นใส เห็นเส้นกลางกระดอง หนวดรอบปากมี 10 เส้น เป็นแขน 8 เส้น มีหนวดคู่ยาว 2 เส้น ที่ลำตัวมีจุดสีน้ำตาลอมแดงกระจายอยู่ทั่วไป นัยน์ตามีสีเขียว ชอบรวมกลุ่มอยู่เป็นฝูง กินสิ่งมีชีวิตและสัตว์น้ำชนิดอื่น ๆ ที่มีขนาดเล็กเป็นอาหาร ออกหากินในเวลากลางคืน โดยสามารถกินอาหารได้มากถึง 30 เปอร์เซนต์ของน้ำหนักตัว พบได้ทั่วไปในเขตร้อนของมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรอินเดีย อาศัยอยู่ตั้งแต่ผิวน้ำจนถึงหน้าดิน นิยมบริโภคเป็นอาหาร โดยการปรุงสด เนื่องจากหากินในเวลากลางคืน ชาวประมงจึงมักจับในเวลากลางคืน โดยใช้แสงไฟจากนีออนล่อ หมึกหอมสามารถสืบพันธุ์วางไข่ได้ตลอดทั้งปี โดยสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ช่วง คือ ระหว่างปลายเดือนพฤศจิกายนถึงกุมภาพันธ์ พฤษภาคมถึงต้นเดือนกรกฎาคม และปลายเดือนสิงหาคมถึงตุลาคม โดยสามารถสืบพันธุ์วางไข่ได้เมื่อมีอายุ 3-4 เดือน หลังจากการผสมพันธุ์ 1 สัปดาห์ ตัวเมียจะวางไข่ติดกับวัสดุใต้น้ำ โดยที่เพศผู้คอยว่ายน้ำ ดูแลอยู่ใกล้ ๆ ไข่ของหมึกหอมมีลักษณะคล้ายฝักมะขาม ติดกันเป็นพวง มีความดกของไข่เฉลี่ย 486-2,186 ฟอง ใช้ระยะเวลา ในการฟัก 2-3 สัปดาห์ มีความยาวลำตัวแรกฟัก 0.5 เซนติเมตร น้ำหนัก 0.1-0.3 กรัม รูปร่างคล้ายกับหมึกตัวเต็มวั.

ใหม่!!: มอลลัสกาและหมึกหอม · ดูเพิ่มเติม »

หลอดเลือด

ระบบหลอดเลือดแดง หลอดเลือด (Blood vessel) เป็นส่วนของระบบไหลเวียนโลหิต ทำหน้าที่ในการขนส่งเลือดไปยังส่วนต่างๆ ในร่างกาย แบ่งออกเป็น3 ประเภท ได้แก่ หลอดเลือดแดง (artery) ทำหน้าที่ขนส่งเลือดออกจากหัวใจ และหลอดเลือดดำ (vein) ซึ่งขนส่งเลือดเข้าสู่หัวใจและหลอดเลือดฝอย (capillary).

ใหม่!!: มอลลัสกาและหลอดเลือด · ดูเพิ่มเติม »

หอยมือเสือ

มุกของหอยมือเสือยักษ์ หอยมือเสือ (Giant clam) เป็นสกุลของหอยสองฝาขนาดใหญ่ ในวงศ์หอยมือเสือ (Tridacninae) ใช้ชื่อสกุลว่า Tridacna (/ไทร-แดก-นา/).

ใหม่!!: มอลลัสกาและหอยมือเสือ · ดูเพิ่มเติม »

หอยทาก

หอยทาก หอยทาก (Snail) จัดอยู่ในประเภทสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ไฟลัมมอลลัสคา เป็นสัตว์โบราณที่มีกำเนิดมาในราวตอนกลางยุคคาร์บอนิเฟอรัส (Carboniferous Period) ราวๆ เกือบสี่ร้อยล้านปีที่ผ่านมา วิวัฒนาการถึงปัจจุบันพบมีหอยทาก มากกว่า 500 ชนิด หมวดหมู่:หอยฝาเดี่ยว หมวดหมู่:มอลลัสกาที่รับประทานได้.

ใหม่!!: มอลลัสกาและหอยทาก · ดูเพิ่มเติม »

หอยงวงช้าง

ำหรับหอยงวงช้างที่นิยมนำมารับประทาน ดูที่: หอยกูอีดั๊ก หอยงวงช้าง เป็นมอลลัสคาในชั้นเซฟาโลพอด จัดอยู่ในอันดับย่อย Nautilina จัดเป็นมอลลัสคาที่มีวิวัฒนาการค่อนข้างสูง เป็นสิ่งมีชีวิตดึกดำบรรพ์ที่มีชีวิตอยู่บนโลกนี้แล้วกว่า 350 ล้านปี จัดอยู่ในชั้นเซฟาโลพอด อันเป็นชั้นเดียวกับปลาหมึก ในชั้นย่อยนอติลอยด์ จัดเป็นนอติลอยด์เพียงกลุ่มเดียวเท่าที่ยังดำรงเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบัน ถือได้ว่าเป็นซากดึกดำบรรพ์มีชีวิตจำพวกหนึ่งก็ว่าได้.

ใหม่!!: มอลลัสกาและหอยงวงช้าง · ดูเพิ่มเติม »

หอยนางรม

หอยนางรม หอยนางรมกำลังอ้าปากกินแพลงตอนใต้น้ำ หอยนางรม หรือ หอยอีรมบรรจบ พันธุเมธา, ศาสตราจารย์, ดอกเตอร.

ใหม่!!: มอลลัสกาและหอยนางรม · ดูเพิ่มเติม »

หอยแมลงภู่

หอยแมลงภู่ จัดอยู่ในไฟลัมมอลลัสคาเป็นหอยสองฝา สีของเปลือกเปลี่ยนไปตามสภาพการอยู่อาศัย กล่าวคือ ถ้าอยู่ใต้น้ำตลอดเวลามีสีเขียวอมดำ ถ้าอยู่บริเวณน้ำขึ้นน้ำลง ถูกแดดบ้างเปลือกจะออกเหลือง เปลือกด้านนอกมีสีเขียว ส่วนท้ายจะกว้างกว่าส่วนหน้า เนื้อหอยมีสีเหลืองนวลหรือสีส้ม มีหนวดหรือเส้นใยเหนียวสำหรับเกาะหลักเรียกว่า เกสร หรือ ซัง หอยแมลงภู่ ขนาดความยาวของเปลือกหอยที่สามารถสืบพันธุ์ได้มีความยาวตั้งแต่ 2.13 เซนติเมตรขึ้นไป มีความยาวตั้งแต่ 4-20 เซนติเมตร เป็นหอยที่กระจายพันธุ์ทั่วไปในทะเลแถบอินโดแปซิฟิก กินอาหารแบบกรองกิน ซึ่งกินได้ทั้งแพลงก์ตอนพืชและแพลงก์ตอนสัตว์ หอยแมลงภู่มีทั้งเพศแยก และมีสองเพศในตัวเดียวกัน มีการผสมพันธุ์นอกลำตัว หอยเพศผู้จะมีลำตัวหรือที่ห่อหุ้มตัวสีครีมหรือขาว ส่วนเพศเมียจะมีสีส้ม มีช่วงฤดูสืบพันธุ์อยู่ 2 ช่วงในรอบ 1 ปี คือช่วงระหว่างเดือนพฤษภาคม-สิงหาคม และช่วงระหว่างเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์ หอยแมลงภู่ อาศัยด้วยการเกาะตามโขดหินและตามไม้ไผ่บริเวณชายฝั่งทะเล ห่างฝั่งประมาณ 1,000-3,000 เมตร ในน่านน้ำไทยพบได้ทั้ง 2 ฝั่งทะเล หอยแมลงภู่เมื่อปรุงสุกแล้ว เป็นหอยที่นิยมบริโภคกันเป็นอย่างมาก สามารถนำไปปรุงเป็นอาหารได้หลากหลาย เช่น หอยทอด, ออส่วน เป็นต้น เป็นสัตว์เศรษฐกิจที่มีการเพาะเลี้ยงกันมาเป็นเวลานาน โดยที่พันธุ์ของหอย เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงจะอาศัยจากธรรมชาติ ที่เมื่อหอยในธรรมชาติได้ผสมพันธุ์และปฏิสนธิเป็นลูกหอยตัวอ่อน ซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กลอยไปตามกระแสน้ำแบบแพลงก์ตอนแล้ว จะใช้วัสดุที่เพาะเลี้ยงปักลงไปในทะเล เพื่อให้ลูกหอยนั้นเกาะอาศัยตลาดสดสนามเป้า, รายการทางช่อง 5: อาทิตย์ที่ 29 เมษายน 2555 แบ่งออกได้เป็น การเลี้ยงแบบปักหลักล่อลูกหอย, การเลี้ยงแบบแพ, การเลี้ยงแบบแขวนบนราวเชือก และการเลี้ยงแบบตาข่ายเชือก แบบที่นิยมเลี้ยงกันมาก คือ แบบปักหลักล่อลูกหอย โดยใช้ไม้ไผ่หรือไม้ลวกในการล่อลูกหอยในระดับน้ำลึก 4-6 เมตร และเลี้ยงจนมีขนาดใหญ่ ถึงขนาดต้องการ บางแห่งนิยมใช้ไม้ไผ่ทำเป็นโป๊ะ เพื่อดักจับปลาและล่อลูกหอยในพื้นที่ 1 ไร่ หรือ 1,600 ตารางเมตร จะปักหลักได้ประมาณ 1,200 หลัก ทั้งนี้ใช้ระยะเวลาในการเลี้ยง 6-8 เดือน จะได้หอยขนาดความยาวเฉลี่ย 5-6 เซนติเมตร เป็นขนาดที่สามารถส่งตลาด แต่ก็เป็นสัตว์ที่มีความเปราะบางต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมมาก เช่น อุณหภูมิร้อน หรือน้ำเสีย หรือมีน้ำจืดปะปนลงมาในทะเลเป็นจำนวนมาก หอยก็จะตาย ซึ่งภายในรอบปีสามารถเลี้ยงได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น นอกจากนี้แล้ว เปลือกหอยสามารถนำไปบดเพื่อผสมเป็นอาหารสัตว์ และผสมทำเป็น.

ใหม่!!: มอลลัสกาและหอยแมลงภู่ · ดูเพิ่มเติม »

หอยแครง

หอยแครง เป็นหอยจำพวกกาบคู่ ความยาวประมาณ 6-7 เซนติเมตร.

ใหม่!!: มอลลัสกาและหอยแครง · ดูเพิ่มเติม »

หอยเสียบ

หอยเสียบ (Pharella javanica) บางแห่งอาจเรียก หอยมีดโกน หอยเสียบ หอยเสียบทราย ชื่อสามัญ: Razor clam, Knife jacked clam, Cultellus clam บางครั้งอาจจะทำให้สับสนซึ่งชื่อตามภาษาไทยในท้องถิ่น เหมือนกันกับหอยเสียบ (หอยเสียบทราย)ที่มีชื่อสามัญ Donax wedge shell หรือ Pacific bean donex ซึ่งแท้ที่จริงแล้วอยู่ต่างจำพวกกัน.

ใหม่!!: มอลลัสกาและหอยเสียบ · ดูเพิ่มเติม »

หอยเต้าปูน

หอยเต้าปูน (Cone snail, Cone shell) จัดอยู่ในประเภทสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ไฟลัมมอลลัสคา ชั้นแกสโทรโพดา เป็นสัตว์นักล่า พบได้ตามแถบแนวปะการัง เปลือกมีสีสันสดใส และมีลวดลายสวยงาม ดึงดูดสายตา แต่มีบางสายพันธุ์ที่สีของหอยเต้าปูนจะซ่อนอยู่ภายใต้เนื้อเยื่อพิเศษ ที่ยังไม่ทราบการทำงานที่แน่ชัด (Periostracum) บางชนิดในแถบทะเลเขตร้อน จะมีขนาดที่ค่อนข้างใหญ่ มีมากกว่า 500 สปีชี่ส์ จัดเป็นสัตว์กินเนื้อ มักจะล่าหนอนทะเล ปลาเล็ก ๆ หอย หรือแม้กระทั่งหอยเต้าปูนด้วยกันเองเป็นอาหาร เนื่องจากเคลื่อนที่ได้ช้า จึงมีการพัฒนาอาวุธเฉพาะตัวขึ้นมาคือ เข็มพิษ (venomous harpoon) เพื่อใช้สำหรับล่าเหยื่อและทำให้เหยื่อหมดสติก่อนกลายเป็นอาหาร ที่มีความรวดเร็วสูง ซึ่งในสายพันธุ์ขนาดใหญ่ พิษของหอยเต้าปูนมีความรุนแรงมากพอที่จะฆ่าคนได้.

ใหม่!!: มอลลัสกาและหอยเต้าปูน · ดูเพิ่มเติม »

ทากทะเล

ทากทะเล (Nudibranch, Sea slug) เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังจำพวกมอลลัสกา เช่นเดียวกับหอย และหมึก จัดอยู่ในชั้นหอยฝาเดี่ยว ในอันดับย่อย Nudibranchia ทากทะเล มีลักษณะเด่น คือ ไม่มีเปลือกห่อหุ้มลำตัว เพราะเปลือกลดรูปจนมีขนาดเล็กคลุมตัวไม่มิด หรือไม่มีเปลือกเลย ทากทะเลส่วนใหญ่มีสีสวยสดงดงาม บางชนิดมีหลายสีบนตัวเดียวกัน และสามารถปรับสีของตัวให้เข้ากับสภาพของแหล่งอาศัย สีที่ฉูดฉาดของทากทะเลทำให้สัตว์อื่นหลีกเลี่ยงที่จะกินเป็นอาหาร เพราะทากทะเลจะสร้างสารเคมีที่เป็นพิษสะสมไว้ตามผิว เพื่อป้องกันตัว บางชนิดมีอวัยวะช่วยหายใจอยู่ทางด้านบนของหัวหรือลำตัว ซึ่งอาจมีลักษณะเป็นเส้น เป็นกระจุก หรือเป็นแผ่น หรือคล้ายเขา และเป็นสัตว์ที่ไม่มีตาสำหรับการมองเห็น ส่วนมากอาศัยอยู่ในแนวปะการัง และบริเวณใกล้เคียง กินอาหารพวกสาหร่าย, ฟองน้ำ, ดอกไม้ทะเล, ปะการังอ่อน, กัลปังหา และเพรียงหัวหอม ทั่วโลกพบประมาณ 2,000 ชนิด ในน่านน้ำไทยสำรวจพบประมาณ 100 ชนิด เช่น ทากเปลือย เป็นต้น.

ใหม่!!: มอลลัสกาและทากทะเล · ดูเพิ่มเติม »

คาโรลัส ลินเนียส

รลัส ลินเนียส (ภาษาละติน) หรือ คาร์ล ลินเนียส (ภาษาสวีเดน) ปัจจุบันภาพนี้จัดแสดงที่ราชวิทยาลัยวิทยาศาสตร์แห่งสวีเดน ลายมือชื่อของคาร์ล ลินเนียส คาโรลัส ลินเนียส (Carolus Linnaeus) หรือ คาร์ล ฟอน ลินเนีย บ้างก็เรียก คาร์ล ลินเนียส (Carl Linnaeus) (23 พฤษภาคม พ.ศ. 2250 - 10 มกราคม พ.ศ. 2321) เป็นนักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดน ผู้ริเริ่มการจัดแบ่งสิ่งมีชีวิตออกเป็นหมวดหมู่ และการประยุกต์ใช้ระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแบบทวินาม ซึ่งมีประโยชน์ในการศึกษาชีววิทยาต่อมาจวบจนปัจจุบัน อนึ่ง ชื่อวิทยาศาสตร์ของสิ่งมีชีวิตที่จัดจำแนกโดยเขา จะลงท้ายด้วย L. หรือ Linn.

ใหม่!!: มอลลัสกาและคาโรลัส ลินเนียส · ดูเพิ่มเติม »

ตับ

ตับ (liver) เป็นอวัยวะสำคัญที่พบในสัตว์มีกระดูกสันหลังและสัตว์บางชนิด ในร่างกายมนุษย์ อยู่ในช่องท้องซีกขวาด้านบนใต้กระบังลม มีหน้าที่หลายอย่างรวมทั้งการกำจัดพิษในเมแทบอไลท์ (metabolites) (สารที่ได้จากขบวนการเมแทบอลิซึม) การสังเคราะห์โปรตีน และการผลิตสารชีวเคมีต่างๆที่จำเป็นในกระบวนการย่อยอาหาร ถ้าตับล้มเหลว หน้าที่ของตับไม่สามารถทดแทนได้ในระยะยาว โดยที่เทคนิคการฟอกตับ (liver dialysis) อาจช่วยได้ในระยะสั้น ตับยังจัดเป็นต่อมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในร่างกาย ในศัพท์ทางการแพทย์ คำที่มีความหมายเกี่ยวข้องกับตับจะขึ้นต้นด้วยคำว่า hepato- หรือ hepatic ซึ่งมาจากคำในภาษากรีก hepar ซึ่งหมายถึงตับ มีหน้าที่สำคัญในขบวนการเมแทบอลิซึมหลายประการในร่างกาย เช่นการควบคุมปริมาณไกลโคเจนสะสม การสลายเซลล์เม็ดเลือดแดง การสังเคราะห์พลาสมาโปรตีน การผลิตฮอร์โมน และการกำจัดพิษ ตับยังเป็นต่อมช่วยย่อยอาหารโดยผลิตน้ำดีซึ่งเป็นสารประกอบอัลคาไลน์ช่วยย่อยอาหารผลิตโดยขบวนการผสมกับไขมัน (emulsification of lipids) ถุงนํ้าดีจะใช้เป็นที่เก็บน้ำดีนี้ ถุงน้ำดีมีลักษณะเป็นถุงอยู่ใต้ตับ ก่อนอาหารถุงน้ำดีจะป่องมีขนาดเท่าผลลูกแพร์เล็กเต็มไปด้วยน้ำดี หลังอาหาร น้ำดีจะถูกนำไปใช้หมด ถุงน้ำดีจะแฟบ เนื้อเยื่อของตับมีความเป็นพิเศษอย่างมาก ส่วนใหญ่ประกอบด้วย hepatocytes ที่ควบคุมปฏิกิริยาชีวเคมีปริมาณสูง รวมทั้งการสังเคราะห์และการแตกตัวของโมเลกุลที่ซับซ้อนขนาดเล็กที่จำเป็นอย่างมากในการทำงานเพื่อการดำรงชีวิตปกติ หน้าที่การทำงานทั้งหมดอาจแตกต่างกันไป แต่ในตำราประมาณว่ามีจำนวนประมาณ 500 อย่าง.

ใหม่!!: มอลลัสกาและตับ · ดูเพิ่มเติม »

ต่อมน้ำลาย

ต่อมน้ำลาย (salivary gland) เป็นต่อมที่สร้างน้ำลายอยู่ภายในบริเวณช่องปาก พบได้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมและแมลง สำหรับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมจะผลิตน้ำลายเพื่อเป็นน้ำย่อยและคลุกเคล้าอาหาร ส่วนในแมลงจะใช้สำหรับสร้างกาวหรือใย ต่อมน้ำลายของมนุษย์มีด้วยกัน 3 คู่ คือ.

ใหม่!!: มอลลัสกาและต่อมน้ำลาย · ดูเพิ่มเติม »

ปอด

ปอด คำว่าปอดในภาษาอังกฤษ ใช้คำว่า lung ในทางการแพทย์สิ่งที่เกี่ยวกับปอดใช้คำว่า Pulmonary นำหน้าสิ่งนั้น ๆ ในมนุษย์นั้นมีปอดอยู่ในทรวงอก มีสองข้าง คือขวาและซ้าย ปอดมีลักษณะนิ่ม ร่างกายจึงมีกระดูกซี่โครงคอยปกป้องปอดไว้อีกชั้นหนึ่ง ปอดแต่ละข้างจะมีถุงบาง ๆ 2 ชั้นหุ้มอยู่ เรียกว่า เยื่อหุ้มปอด เยื่อหุ้มปอดที่เป็นถุงบาง ๆ 2 ชั้นนี้เรียกว่า เยื่อหุ้มปอดชั้นในและ เยื่อหุ้มปอดชั้นนอก เยื่อหุ้มปอดชั้นในจะแนบติดไปกับผิวของปอด ส่วนเยื่อหุ้มปอดชั้นนอกจะแนบติดไปกับช่องทรวงอก ระหว่างเยื่อหุ้มปอด 2 ชั้นบางๆนี้จะมีช่องว่าง เรียกว่า ช่องเยื่อหุ้มปอด ในช่องเยื่อหุ้มปอดจะมีของเหลวคอยหล่อลื่นอยู่ เรียกว่า ของเหลวเยื่อหุ้มปอด ของเหลวนี้จะช่วยให้เยื่อหุ้มปอดแต่ละชั้นสไลด์ไปมาระหว่างกันได้โดยไม่เสียดสีกัน และของเหลวเยื่อหุ้มปอดก็ยังช่วยยึดเยื่อหุ้มปอดทั้งสองชั้นไว้ไม่ให้แยกจากกันโดยง่าย ปอดข้างซ้ายนั้นมีขนาดเล็กกว่าปอดข้างขวา เพราะปอดข้างซ้ายต้องเว้นที่เอาไว้ให้หัวใจอยู่ในทรวงอกด้วยกันด้ว.

ใหม่!!: มอลลัสกาและปอด · ดูเพิ่มเติม »

น้ำกร่อย

น้ำกร่อย (Brackish water) คือน้ำทะเล (น้ำเค็ม) ผสมกับน้ำจืด สามารถพบได้ตามตามปากอ่าวแม่น้ำออกทะเล เช่น สมุทรปราการ (แม่น้ำเจ้าพระยาออกทะเล) บริเวณสมุทรสาคร (แม่น้ำท่าจีนออกทะเล) สมุทรสงคราม (แม่น้ำแม่กลองออกทะเล) โดยทั่วไปแล้ว น้ำกร่อยหรือน้ำทะเลในสภาพปกติมีสภาพเป็นด่างอ่อน ๆ pH ราว 7.3 ไปจนถึง 8.5 เหตุที่น้ำทะเลมีสภาพเป็นด่างอ่อน ๆ เป็นเพราะในน้ำทะเลมีแร่ธาตุหลายชนิด ที่ทำให้น้ำเป็นด่างอ่อน เครื่องมือวัดความเค็ม เรียก ซาลิโนมิเตอร์ (Salinometer) หรือ รีแฟรกโตซาลิโนมิเตอร์ (Refractosalinometer) วัดโดยใช้หลักการหักเหของแสง ยิ่งเค็มมาก ยิ่งหักเหมาก แล้วแปลงไปเป็นสเกลของ ppt (part per thousand.

ใหม่!!: มอลลัสกาและน้ำกร่อย · ดูเพิ่มเติม »

น้ำจืด

น้ำจืดในลำธาร น้ำจืด หมายถึงน้ำในแหล่งน้ำทั่วไปอาทิ บ่อน้ำ ทะเลสาบ แม่น้ำ ลำธาร เป็นต้น ที่ซึ่งมีเกลือและของแข็งอื่นละลายอยู่ในระดับต่ำ มีความหนาแน่นน้อย นั่นคือน้ำจืดไม่ได้เป็นน้ำเค็มและน้ำกร่อย น้ำจืดสามารถเป็นผลผลิตของน้ำทะเลที่เอาเกลือออกแล้วได้ น้ำจืดเป็นทรัพยากรหมุนเวียนที่สำคัญต่อสิ่งมีชีวิตบนบกเป็นส่วนใหญ่ และเป็นที่จำเป็นต่อมนุษย์สำหรับน้ำดื่ม และใช้ในเกษตรกรรม เป็นต้น องค์การสหประชาชาติได้คาดการณ์ไว้ว่า ประชากรโลกประมาณร้อยละ 18 ขาดแคลนน้ำดื่มที่ปลอดภั.

ใหม่!!: มอลลัสกาและน้ำจืด · ดูเพิ่มเติม »

น้ำเค็ม

น้ำเค็ม อาจหมายถึง.

ใหม่!!: มอลลัสกาและน้ำเค็ม · ดูเพิ่มเติม »

แคลเซียมคาร์บอเนต

แคลเซียมคาร์บอเนต (Calcium carbonate) เป็นสารประกอบมีสูตรเคมีคือ CaCO3 คาร์บอเนต ไม่ละลายในน้ำ แต่สามารถทำปฏิกิริยากับน้ำและ คาร์บอนไดออกไซด์แล้วกลายเป็นแคลเซียมไบคาร์บอเนต (ซึ่งมีสูตรเคมีคือ Ca (HCO3) 2) แคลเซียมไบคาร์บอเนตละลายในน้ำได้เล็กน้อย ในธรรมชาติพบในรูปดังนี้.

ใหม่!!: มอลลัสกาและแคลเซียมคาร์บอเนต · ดูเพิ่มเติม »

ไฟลัม

ฟลัม (phylum) เป็นขั้นอนุกรมวิธานขั้นหนึ่งในการจำแนกสัตว์ในทางวิทยาศาสตร์ (ในทางพืชนิยมใช้คำว่า ส่วน แทนไฟลัม ไฟลัมถือเป็นการจัดกลุ่มในขั้นสูงที่สุดแยกตามสายวิวัฒนาการ แต่บางครั้งก็มีการรวมไฟลัมเป็นไฟลัมใหญ่ (superphylum) อีกทีหนึ่ง เช่น สัตว์ที่มีการลอกคราบในการเจริญเติบโต (Echdysozoa) ประกอบด้วยสัตว์มีเปลือกแข็งและหนอนตัวกลม และ สัตว์ที่มีช่องปากเกิดภายหลังช่องทวาร (Deuterostomia) ประกอบด้วยปลาดาวและสัตว์มีแกนสันหลัง ไฟลัมของสัตว์ที่รู้จักกันมากที่สุด ได้แก่ มอลลัสกา, ฟองน้ำ, ไนดาเรีย, หนอนตัวแบน, นีมาโทดา, หนอนปล้อง, สัตว์ขาปล้อง, เอคคิโนเดอร์มาทา และสัตว์มีแกนสันหลัง (ซึ่งมนุษย์อยู่ในไฟลัมนี้) ถึงแม้ว่าจะมีไฟลัมทั้งหมดประมาณ 35 ไฟล่า (หน่วยของไฟลัม) ไฟลัมที่กล่าวทั้ง 9 ตัวนี้ครอบคลุมสปีชีส์ส่วนใหญ่ และทุกไฟลัมยกเว้นหนอนกำมะหยี่ ต่างก็มีสมาชิกอาศัยในมหาสมุทร.

ใหม่!!: มอลลัสกาและไฟลัม · ดูเพิ่มเติม »

เส้นประสาท

'''เส้นประสาท'''ของรยางค์บน แทนด้วยสีเหลือง เส้นประสาท หรือ ประสาท เป็นโครงสร้างในร่างกายที่มีลักษณะเป็นมัดของเส้นใยของเนื้อเยื่อประสาทที่เชื่อมระหว่างอวัยวะในระบบประสาทกับอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย ทำหน้าที่ในการนำกระแสประสาท เส้นประสาทประกอบด้วยกลุ่มของแอกซอนจำนวนมาก ซึ่งเป็นโครงสร้างยาวที่ยื่นออกมาจากเซลล์ประสาท อย่างไรก็ตามเส้นประสาทไม่ได้ประกอบขึ้นจากตัวเซลล์ประสาท แต่ประกอบขึ้นจากแอกซอนที่ยื่นออกมาจากเซลล์ประสาท และในเส้นประสาทก็มีเซลล์เกลียซึ่งทำหน้าที่สร้างเยื่อไมอีลินห่อหุ้มอะเมซอน.

ใหม่!!: มอลลัสกาและเส้นประสาท · ดูเพิ่มเติม »

เนื้อโลก

หน้าตัดของโลกทั้งหมด เนื้อโลก (mantle) เป็นชั้นโครงสร้างของโลกที่อยู่ระหว่างเปลือกโลกกับแก่นโลก นอกจากนี้เรายังสามารถพบชั้นหินในลักษณะเดียวกับชั้นเนื้อโลกหรือแมนเทิลนี้ได้ในดาวเคราะห์หินทั่วไป สำหรับชั้นแมนเทิลของดาวเคราะห์โลกนี้มีความหนาประมาณ 2,885 กิโลเมตร ซึ่งนับเป็นองค์ประกอบร้อยละ 84 ของปริมาตรทั้งหมดของโลก ส่วนประกอบหลักของชั้นเนื้อโลกส่วนใหญ่เป็นแมกนีเซียมและเหล็ก เกือบทั้งหมดมีสถานะเป็นของแข็ง ยกเว้นที่ความลึกประมาณ 70-260 กิโลเมตรหรือที่เรียกว่าฐานธรณีภาค (asthenosphere) ในชั้นนี้มีการหลอมละลายของหินเป็นบางส่วน.

ใหม่!!: มอลลัสกาและเนื้อโลก · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

MolluscMolluscaMolluskมอลลัสก์มอลลัสคาพวกหอยกับปลาหมึกโมลลัสคา

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »