โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เปลือกหอย

ดัชนี เปลือกหอย

ปลือกหอยนานาชนิด เปลือกหอย หรือ ฝาหอย หรือ กาบหอย คือ สสารที่เป็นของแข็งที่ห่อหุ้มลำตัวภายนอกของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในไฟลัมมอลลัสคา หรือที่นิยมเรียกกันติดปากว่า หอย มีลักษณะแตกต่างกันออกไป ซึ่งหอยจะใช้เป็นเครื่องอำพรางอันตรายจากสัตว์อื่น เป็นสัญลักษณ์สื่อสารระหว่างกัน และช่วยควบคุมอุณหภูมิภายในเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของกระแสน้ำ เปลือกหอยเป็นสิ่งที่ติดตัวกับหอยมานับตั้งแต่ยังเป็นตัวอ่อนและฟักออกมาจากไข่ โดยไม่ต้องลอกคราบเหมือนสัตว์ในไฟลัมอาร์โธพอดหรือ ครัสเตเชียน โดยขนาดจะใหญ่ขึ้นมาตามขนาดของตัวหอย เปลือกหอยประกอบด้วยสารจำพวกแคลเซียมคาร์บอเนตเป็นส่วนใหญ่ ส่วนที่เหลือเป็นสารอื่น ๆ เช่น แคลเซียมฟอสเฟต, แมกนีเซียมคาร์บอเนต, แมกนีเซียมฟอสเฟต, แมกนีเซียมซิลิเกต, โปรตีนประเภทคอนไคโอลิน เปลือกหอยแบ่งออกเป็น 3 ชั้น คือ.

64 ความสัมพันธ์: ชั้นพอลิพลาโคฟอราชั้นสแคโฟโปดาชั้นแกสโทรโพดาชั้นไบวาลเวียบาทฟองน้ำพ.ศ. 2552พระวิษณุพุทธศักราชการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ภาษาไทยมอลลัสกามิลลิเมตรยุคก่อนประวัติศาสตร์รายการโทรทัศน์รูปีวันอาทิตย์ศาสนาฮินดูสกุล (ชีววิทยา)สมมติฐานสสารสัญลักษณ์สังข์รดน้ำสัตว์พวกกุ้งกั้งปูสัตว์ขาปล้องสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังสำนวนภาษาปากสำนักงานราชบัณฑิตยสภาสีทองสีขาวสีน้ำตาลสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3สปีชีส์หอยมือเสือหอยลายหอยสังข์ยักษ์ออสเตรเลียหอยงวงช้างหอยแครงหอยเชลล์หอยเบี้ยจักจั่นหอยเสียบหาดอุณหภูมิธนบัตรทารกความงามความเชื่อประเทศอินเดียประเทศไทยปูน...แอโฟรไดทีแคลไซต์แคลเซียมคาร์บอเนตโบราณคดีโปรตีนไสยศาสตร์ไข่เกาะชวาเมตรเทพปกรณัมกรีกเครื่องรางเครื่องประดับเงินตรา30 สิงหาคม ขยายดัชนี (14 มากกว่า) »

ชั้นพอลิพลาโคฟอรา

ระวังสับสนกับ: ลิ้นทะเล ชั้นพอลิพลาโคฟอรา (ชั้น: Polyplacophora) เป็นมอลลัสคาชั้นหนึ่ง มีชื่อเรียกในชื่อสามัญว่า ลิ่นทะเล หรือ หอยแปดเกล็ด (Chiton) อาศัยอยู่ในทะเล จัดเป็นมอลลัสคาจำพวกหนึ่งที่มีลักษณะแตกต่างไปจากมอลลัสคาชั้นอื่น ๆ กล่าวคือ แทนที่จะเปลือกหรือฝาเดียวหรือสองฝา แต่กลับมีมากถึง 7-8 ชิ้น ที่แยกออกจากกันแต่ก็ยึดเข้าไว้ด้วยกันทางด้านบนลำตัวเหมือนชุดเกราะ มีวิวัฒนาการที่ต้องแนบลำตัวดัดไปตามพื้นผิวแข็งขรุขระใต้ทะเลเพื่อแทะเล็มสาหร่ายทะเลและพืชทะเลที่เจริญเติบโตบนหิน ขณะที่ในบางชนิดก็ดักซุ่มรอกินเหยื่อตัวเล็ก ๆ ที่เคลื่อนผ่านไปมา ชั้นพอลิพลาโคฟอรานั้นวิวัฒนาการมาจากบรรพบุรุษที่มีอายุยาวนานกว่า 500 ล้านปี โดยที่ในปัจจุบัน ก็มิได้เปลี่ยนแปลงรูปร่างไปจากเดิมมากน้อยเท่าไหร่นัก โดยมีลำตัวเป็นวงรีคล้ายรูปไข่ มักพบอาศัยอยู่ตามโขดหินตามริมชายฝั่ง ปัจจุบันนี้พบแล้วทั้งหมด 900-1,000 ชนิด โดยศัพท์คำว่า "Polyplacophora" นั้น แปลได้ว่า "ผู้มีหลายเกล็ด".

ใหม่!!: เปลือกหอยและชั้นพอลิพลาโคฟอรา · ดูเพิ่มเติม »

ชั้นสแคโฟโปดา

ั้นสแคโฟโปดา (ชั้น: Scaphopoda) เป็นหนึ่งในชั้นของไฟลัมมอลลัสคาที่ยังสืบเผ่าพันธุ์มาจนปัจจุบัน ซึ่งสัตว์ในชั้นนี้พบมีอยู่มายาวนานกว่า 240 ล้านปีมาแล้ว โดยพบหลักฐานในซากดึกดำบรรพ์ ปัจจุบันพบแล้วประมาณ 1,000 ชนิด ซึ่งเรียกกันในชื่อสามัญว่า หอยงาช้าง หรือ หอยฟันช้าง(Tusk Shell) ทุกชนิดจะอาศัยอยู่ภายใต้พื้นทรายใต้ทะเล มีรูปร่างโดยรวม คือ เปลือกมีรูปร่างคล้ายฝักดาบซามูไรหรืองาของช้าง มีลักษณะเรียวยาว โค้งตรงกลางเล็กน้อย หน้าตัดเป็นทรงค่อนข้างกลม มีช่องเปิดที่ปลายสุดของทั้งสองด้านซึ่งด้านหนึ่งจะใหญ่กว่าอีกด้านเสมอ มีขนาดตั้งแต่ 5 มิลลิเมตรจนถึง 15 เซนติเมตร ศัพท์คำว่า Scaphopoda นั้น สามารถแปลเป็นภาษาอังกฤษได้ว่า "เท้าเป็นจอบ" (shovel-footed) มีลักษณะโครงสร้างคือ ไม่มีตา ไม่มีเส้นเลือด ไม่มีแม้กระทั่งอวัยวะสำคัญอย่าง หัวใจ โดยเลือดจะถูกสูบโดยแรงดันน้ำภายในเนื้อเยื่อจากการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อเท้าที่มีรูปร่างคล้ายจอบ ที่ใช้ขุดเจาะเพื่อแทรกเปลืองลงวางตัวดิ่งในพื้นทราย มีอวัยวะพิเศษคล้ายหนวดเล็ก ๆ รอบ ๆ ปากด้านล่างเรียกว่า "captacula" ทำหน้าที่ดักจับอาหารเข้าสู่ปากเพื่อบดเคี้ยวและย่อยสลาย แล้วพ่นทิ้งออกอีกทางเป็นของเสีย เปลือกของหอยงาช้าง นั้น ผู้หญิงในอินเดียนแดงเผ่าลาโคตาใช้ทำเครื่องประดับสำหรับตกแต่งเสื้อผ้าหรือชุดที่สวมใส่เช่นเดียวกับขนของเม่น.

ใหม่!!: เปลือกหอยและชั้นสแคโฟโปดา · ดูเพิ่มเติม »

ชั้นแกสโทรโพดา

ั้นแกสโทรโพดา (ชั้น: Gastropoda) หรือที่เรียกกันในชื่อสามัญว่า หอยฝาเดียว หรือ หอยฝาเดี่ยว หรือ หอยกาบเดี่ยว หรือ หอยกาบเดียว หรือ หอยเปลือกเดี่ยว หรือ หอยเปลือกเดียว เป็นหนึ่งในลำดับของไฟลัมมอลลัสคา ในสิ่งมีชีวิต สัตว์ในชั้นนี้มีการสืบทอดเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบันมีอยู่ระหว่าง 60,000-80,000 ชนิด จัดเป็นมอลลัสคาที่มีวิวัฒนาการสูงสุดรองจากมอลลัสคาในชั้นเซฟาโลพอดหรือหมึกและหอยงวงช้าง.

ใหม่!!: เปลือกหอยและชั้นแกสโทรโพดา · ดูเพิ่มเติม »

ชั้นไบวาลเวีย

ั้นไบวาลเวีย (ชั้น: Bivalvia) เป็นมอลลัสคาชั้นหนึ่ง ที่ยังคงสืบทอดเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบัน โดยวิวัฒนาการให้อาศัยอยู่ได้ทั้งในทะเลและน้ำจืด มีชื่อเรียกในภาษาสามัญว่า หอยฝาคู่ หรือ หอยสองฝา หรือ หอยเปลือกคู่ หรือ หอบกาบคู.

ใหม่!!: เปลือกหอยและชั้นไบวาลเวีย · ดูเพิ่มเติม »

บาท

ท อาจหมายถึง.

ใหม่!!: เปลือกหอยและบาท · ดูเพิ่มเติม »

ฟองน้ำ

ฟองน้ำ เป็นสิ่งมีชีวิตจำพวกเดียวในไฟลัมพอริเฟอรา (Porifera มีรากศัพท์มาจากภาษาละติน - porus หมายถึง รู และ ferre หมายถึง พยุงหรือค้ำเอาไว้) เป็นสัตว์หลายเซลล์ที่มีวิวัฒนาการต่ำสุด มีรูปร่างคล้ายแจกันที่มีรูพรุนเล็ก ๆ ทั่วตัวซึ่งเป็นช่องทางให้น้ำผ่านเข้าไปในลำตัว มีเซลล์เรียงกันเป็นสองชั้นแต่ยังไม่มีเส้นประสาทและกล้ามเนื้อที่แท้จริง ไม่มีอวัยวะและทางเดินอาหาร ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในน้ำทะเล มีบางชนิดเท่านั้นที่อาศัยอยู่ในน้ำจืด ตัวอ่อนของฟองน้ำนั้นมีเซลล์ที่สามารถว่ายไดน้ำได้ เรียกระยะนี้ว่า แอมพิบลาสทูลา (Amphiblastula) โดยจะว่ายน้ำไปเกาะตามก้อนหิน เมื่อเจริญเติบโตแล้วจะกลายเป็นฟองน้ำที่ไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ ฟองน้ำในปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 7,000 สายพันธุ์ มักพบในเขตน้ำลึกกลางมหาสมุทร (ลึกประมาณ 8,500 เมตร) ต้นกำเนิดของฟองน้ำอาจย้อนไปถึงยุคพรีคัมเบรียน (Precambrian) หรือประมาณ 4,500 ล้านปีที่แล้ว พิสูจน์โดยซากฟอสซิลของฟองน้ำ นอกจากนี้แล้ว ฟองน้ำยังถือว่าเป็นสัตว์ที่มีอายุยืนสูงสุดในบรรดาอาณาจักรสัตว์ทั้งหมดอีกด้วย โดยมีอายุยืนได้ถึงหมื่นปี.

ใหม่!!: เปลือกหอยและฟองน้ำ · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2552

ทธศักราช 2552 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2009 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดีตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นปีสุดท้ายในคริสต์ทศวรรษ 2000.

ใหม่!!: เปลือกหอยและพ.ศ. 2552 · ดูเพิ่มเติม »

พระวิษณุ

ลปะโจฬะที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาตินิวเดลี ประเทศอินเดีย. ศิลปะโจฬะที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาตินิวเดลี ประเทศอินเดีย. พระวิษณุ (विष्णु วิษฺณุ) หรือที่รู้จักกันในพระนามอีกอย่างหนึ่งว่า พระนารายณ์ (नारायण นารายณ) เป็นหนึ่งในสามตรีมูรติ มีหน้าที่คุ้มครองแลดูแลรักษาทั้ง 3 โลกตามความเชื่อของชาวฮินดู จากคัมภีร์พราหมณ์ รูปร่างลักษณะมีพระวรกายจะมีสีที่เปลี่ยนไปตามยุค ฉลองพระองค์ดั่งกษัตริย์ มีมงกุฎทอง อาภรณ์สีเหลือง มี 4 กร ถือ สังข์ จักรสุทรรศน์ คทาเกาโมทกี แต่ที่จะพบเห็นได้บ่อยที่สุดคือถือ จักร์ สังข์ คทา ส่วนอีกกรจะถือ ดอกบัวบ้าง หรือ ไม่ถืออะไรเลยบ้าง (โดยจะอยู่ในลักษณะ"ประทานพร") โดยปรกติ พระวิษณุ จะทรงประทับอยู่ที่เกษียรสมุทร โดยส่วนมากจะบรรทมอยู่บนหลังพญาอนันตนาคราช โดยมีพระชายาคือพระแม่ลักษมีมหาเทวี คอยฝ้าดูแลปรนิบัติอยู่ข้าง ๆ เสมอ พาหนะของพระวิษณุคือ พญาครุฑ พระวิษณุ มีอีกพระนามอีกอย่างหนึ่งว่า "หริ" แปลว่าผู้ดูแลแห่งจักรวาลถือเป็นเทพสูงสุด เพราะทุกอย่างเกิดจาก "หริ" โดย"หริ"ได้แบ่งตนเองออกเป็น 3 คือ.

ใหม่!!: เปลือกหอยและพระวิษณุ · ดูเพิ่มเติม »

พุทธศักราช

ทธศักราช ย่อว.. เป็นศักราชที่เริ่มนับเมื่อพระโคตมพุทธเจ้าปรินิพพาน ในประเทศไทยเริ่มนับเมื่อปรินิพพานแล้ว 1 ปี แต่ในเช่น ในประเทศไทยเป็นปี..

ใหม่!!: เปลือกหอยและพุทธศักราช · ดูเพิ่มเติม »

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ หรือ การจำแนกชั้นทางชีววิทยา (Systematics) หมายถึงการจัดกลุ่มและหมวดหมู่สปีชีส์ของสิ่งมีชีวิต ทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบันและที่สูญพันธุ์ไปแล้ว การจำแนกในยุคปัจจุบันอาศัยรากฐานจากระบบการจำแนกของ คาโรลัส ลินเนียส นักพฤกษศาสตร์ผู้จัดกลุ่มสปีชีส์ต่าง ๆ โดยดูจากลักษณะเฉพาะทางกายภาพ การจัดกลุ่มแบบนี้ได้มีการปรับปรุงอยู่เสมอเพื่อให้สอดคล้องกับหลักดาร์วิน ส่วนมากเป็นผลมาจากการศึกษาอนุกรมวิธานระดับโมเลกุลด้วยการวิเคราะห์จีโนม ในการแบ่งอย่างกว้างๆจะแบ่งได้ 2 ระดับ คือ ลำดับขั้นสูง และ ลำดับขั้นต่ำ.

ใหม่!!: เปลือกหอยและการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาไทย

ษาไทย เป็นภาษาราชการของประเทศไทย ภาษาไทยเป็นภาษาในกลุ่มภาษาไท ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยของตระกูลภาษาไท-กะได สันนิษฐานว่า ภาษาในตระกูลนี้มีถิ่นกำเนิดจากทางตอนใต้ของประเทศจีน และนักภาษาศาสตร์บางส่วนเสนอว่า ภาษาไทยน่าจะมีความเชื่อมโยงกับตระกูลภาษาออสโตร-เอเชียติก ตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน และตระกูลภาษาจีน-ทิเบต ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีระดับเสียงของคำแน่นอนหรือวรรณยุกต์เช่นเดียวกับภาษาจีน และออกเสียงแยกคำต่อคำ.

ใหม่!!: เปลือกหอยและภาษาไทย · ดูเพิ่มเติม »

มอลลัสกา

มอลลัสกา (ไฟลัม: Mollusca, เสียงอ่าน) เป็นไฟลัมหนึ่งของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง คือสัตว์ที่มีลำตัวนิ่ม ส่วนใหญ่มีเปลือกแข็งหุ้มอยู่ภายนอก พบทั้งบนบก น้ำจืด น้ำเค็ม น้ำกร่อย ดำรงชีวิตเป็นอิสระ มีต่อมเมือกตามผิวลำตัว ระบบอวัยวะมีความซับซ้อน ลำตัวสั้น ด้านหน้าเป็นส่วนหัว ด้านล้างเป็นแผ่นเท้าสำหรับเคลื่อนที่และว่ายน้ำ ด้าบบนมีแมนเทิลที่ทำหน้าที่สร้างเปลือกแข็ง ภายในช่องปากมีแรดูลา ยกเว้นในหอยสองฝา ช่วยในการกินอาหาร มีต่อมน้ำลายและตับช่วยสร้างน้ำย่อย ระบบหมุนเวียนเลือดประกอบด้วยหัวใจอยู่ด้านบนและเส้นเลือดไปตามส่วนต่างๆ ระบบขับถ่ายมีเนฟริเดียม ระบบหายใจประกอบด้วยเหงือกหรือถุงหายใจที่คล้ายปอด ระบบประสาทมีปมประสาทสามคู่และมีเส้นประสาทยึดระหว่างปม มีอวัยวะสำหรับรับภาพ กลิ่นและการทรงตัว ระบบสืบพันธุ์ส่วนใหญ่แยกเพศ มีบางพวกไม่แยกเพศและเปลี่ยนเพศได้ มีการปฏิสนธิทั้งแบบภายในและภายนอก สัตว์ในไฟลัมมอลลัสกาเรียกโดยรวมว่า มอลลัสก์ (mollusc, mollusk).

ใหม่!!: เปลือกหอยและมอลลัสกา · ดูเพิ่มเติม »

มิลลิเมตร

มิลลิเมตร อักษรย่อ มม. (Millimetre: mm) เป็นหน่วยวัดความยาว มีขนาดเท่ากับ 1 x 10-3 เมตร.

ใหม่!!: เปลือกหอยและมิลลิเมตร · ดูเพิ่มเติม »

ยุคก่อนประวัติศาสตร์

ก่อนประวัติศาสตร์ (อังกฤษ: Prehistory) โดยทั่วไปหมายถึงช่วงเวลาที่ไม่มีการบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ โดยมนุษย์ (ในบางครั้งหมายถึง ช่วงเวลาก่อนมีอารยธรรมมนุษย์).

ใหม่!!: เปลือกหอยและยุคก่อนประวัติศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

รายการโทรทัศน์

รายการทอล์กโชว์ The Oprah Winfrey Show โดย โอปราห์ วินฟรีย์ รายการโทรทัศน์ เป็นส่วนต่าง ๆ ของการออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ การออกอากาศรายการโทรทัศน์ มีขึ้นเป็นครั้งแรก ในปี ค.ศ. 1936 ในกรุงลอนดอน รายการโทรทัศน์ อาจออกอากาศเพียงแค่ครั้งเดียว หรือมีตอนต่อ ที่เรียกว่า ภาพยนตร์ชุดทางโทรทัศน์ (TV series) ส่วนมากมักเป็นรายการประเภทละครโทรทัศน์ ภาพยนตร์ชุดทางโทรทัศน์มักแบ่งเป็นภาค ๆ โดยในหนึ่งภาค ในสหรัฐอเมริกาจะเรียกว่า ฤดูกาล (season) แต่ในสหราชอาณาจักรจะเรียกว่า ชุด (series) แต่ละฤดูกาลหรือชุดจะมีความยาวประมาณ 6-26 ตอน รายการโทรทัศน์ที่ออกอากาศเป็นพิเศษเพียงครั้งเดียว จะเรียกว่า รายการพิเศษ (special program) และสถานีวิทยุโทรทัศน์บางสถานี ยังมี ภาพยนตร์โทรทัศน์ (TV movies) ที่สร้างขึ้นเพื่อออกอากาศทางโทรทัศน์โดยเฉพาะ ไม่ได้ออกฉายทางโรงภาพยนตร์ หรือบันทึกลงในวิดีโอ วีซีดี ดีวีดี หรือสื่ออื่น ๆ ทุกวันนี้ การออกอากาศ ภาพยนตร์โฆษณา (commercial advertisement) ถือเป็นส่วนสำคัญของรายการโทรทัศน์ โดยมีข้อปฏิบัติเป็นเกณฑ์ว่า ในการออกอากาศรายการโทรทัศน์ 1 ชั่วโมง จะมีภาพยนตร์โฆษณาได้ไม่เกิน 15 นาที เหมือนในโรงภาพยนตร.

ใหม่!!: เปลือกหอยและรายการโทรทัศน์ · ดูเพิ่มเติม »

รูปี

รูปี (Rupee; रूपया) เป็นหน่วยเงินตราของประเทศอินเดีย สัญลักษณ์ที่นิยมใช้ทั่วไปแทนรูปี ก็คือ Rs หรือ ₨ ส่วนรหัส ISO 4217 สำหรับรูปีของอินเดีย คือ INR ในหลายท้องที่ของอินเดีย เรียกเงินรูปีว่า รูปี (Rupee), รูปะเย (Rupaye), รูไบ (Rubai) หรือ รูปยะกัม (rupyakam) ซึ่งมาจากภาษาสันสกฤต รูปฺยกมฺ (เทวนาครี: रूप्यकम्) คำว่า เราปฺย หมายถึง โลหะเงิน; รูปฺยกมฺ หมายถึง (เหรียญ)เงิน แต่ในภาษาเบงกาลี และอัสสัม (พูดในแคว้นอัสสัม ตรีปุระ และเบงกอลตะวันตก) เรียกรูปี ว่า ตะกะ (Taka) ใช้สัญลักษณ์ ৳ และเขียนบนธนบัตรของอินเดียด้วย สกุลเงินรูปีนั้น เป็นสกุลเงินที่ใช้กันมาตั้งแต่ยุคพุทธกาลแล้ว โดยในครั้งนั้นออกเสียงว่า รูปะยะ แล้วจึงเพี้ยนมาเป็น รูปี เช่นในปัจจุบัน และสันนิษฐานว่าคำว่า รูปี นั้น เป็นที่มาของคำว่า เบี้ย ที่หมายถึง เงิน ในภาษาไทยอีกด้วย จากพระไตรปิฎก รูป.

ใหม่!!: เปลือกหอยและรูปี · ดูเพิ่มเติม »

วันอาทิตย์

วันอาทิตย์ เป็นวันในสัปดาห์ที่อยู่ระหว่างวันเสาร์กับวันจันทร์ ตามวัฒนธรรมดั้งเดิมของจูเดโอ-คริสเตียน วันอาทิตย์ถือเป็นวันแรกของสัปดาห์ แต่ต่อมาในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ก็มีการนับให้วันอาทิตย์เป็นวันที่ 7 ของสัปดาห์ (และให้วันจันทร์เป็นวันที่หนึ่งแทน) ตามที่ระบุไว้ใน ISO 8601 อย่างไรก็ตามในบางวัฒนธรรมยังกำหนดให้วันอาทิตย์เป็นวันแรกของสัปดาห์อยู.

ใหม่!!: เปลือกหอยและวันอาทิตย์ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาฮินดู

ัญลักษณ์ “โอม” สัญลักษณ์ของศาสนาฮินดู หมายถึงพระตรีมูรติ เทพเจ้าผู้เป็นใหญ่ทั้ง 3 ศาสนาฮินดู (Hinduism) หรือ สนาตนธรรม เป็นศาสนาแบบพหุเทวนิยมที่พัฒนาการต่อมาจากศาสนาพราหมณ์ จึงมักเรียกรวมกันว่าศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ไม่ปรากฏแน่ชัดว่าใครเป็นศาสดา มีพระเวทเป็นคัมภีร์หลัก มีศาสนิกชนมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก มีจำนวนประมาณ 900 ล้านคน ศาสนานี้นับถือเทพเจ้าหลายองค์ เรียกว่า "พหุเทวนิยม" เทพเจ้าแต่ละองค์ในแต่ละยุคสมัย มีบทบาท และตำนานต่างกันไป ในแต่ละท้องถิ่นยังมีความเชื่อเกี่ยวกับเทพเจ้าองค์หนึ่งๆ แตกต่างกันไปด้วย โดยทั่วไปถือว่าชาวฮินดูเชื่อว่ามีเทพเจ้าสูงสุด ที่ได้อวตารแยกร่างออกมาเป็น 3 องค์ เรียกว่า "ตรีมูรติ" คือ.

ใหม่!!: เปลือกหอยและศาสนาฮินดู · ดูเพิ่มเติม »

สกุล (ชีววิทยา)

ในทางชีววิทยา สกุล (อังกฤษ genus) เป็นการจัดกลุ่มเอาสิ่งมีชีวิตสปีชีส์ที่มีลักษณะใกล้เคียงเข้ามารวมกัน ในการตั้งชื่อแบบทวินาม ชื่อสิ่งมีชีวิตประกอบขึ้นจากสองส่วน คือ สกุล ซึ่งต้องขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ และ สปีชีส์ ตัวอย่างหนึ่งคือ Homo sapiens เป็นชื่อเรียกมนุษย์ อยู่ในสกุล Homo ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่งสามารถซ้ำกับชื่อสกุลหรือชื่อในอนุกรมวิธานของอาณาจักรอื่นได้ ตัวอย่างเช่น Anura เป็นชื่อสกุลของพืชในวงศ์ และเป็นชื่ออันดับของกบ Aotus เป็นชื่อสกุลของถั่วและลิง เป็นต้น แต่ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่ง ๆ ต้องห้ามซ้ำกัน หมวดหมู่:ชีววิทยา หมวดหมู่:การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์.

ใหม่!!: เปลือกหอยและสกุล (ชีววิทยา) · ดูเพิ่มเติม »

สมมติฐาน

มมติฐาน (หรือสะกดว่า สมมุติฐาน) หรือ ข้อสันนิษฐาน คือการอธิบายความคาดหมายล่วงหน้าสำหรับปรากฏการณ์ที่สามารถสังเกตได้ มักใช้เป็นมูลฐานแห่งการหาเหตุผล การทดลอง หรือการวิจัย ในทางวิทยาศาสตร์ นักวิทยาศาสตร์จะตั้งสมมติฐานจากสิ่งที่สังเกตการณ์ได้ก่อนหน้านี้ ซึ่งอาจไม่สามารถอธิบายได้อย่างชัดเจนด้วยทฤษฎีที่มีอยู่ในปัจจุบัน สำหรับในความหมายอื่น สมมติฐานอาจเป็นบรรพบทหรือญัตติที่จัดตั้งขึ้น เพื่อใช้ในการสรุปคำตอบของปัญหาประเภท ถ้าเป็นเช่นนี้ แล้วจะเป็นเช่นไร😔.

ใหม่!!: เปลือกหอยและสมมติฐาน · ดูเพิ่มเติม »

สสาร

ว.

ใหม่!!: เปลือกหอยและสสาร · ดูเพิ่มเติม »

สัญลักษณ์

ัญลักษณ์ หรือ เครื่องหมาย (Symbol) โดยพื้นฐานหมายถึง สิ่งที่ใช้แทนความหมายของอีกสิ่งหนึ่ง หรือถ้าจะกล่าวให้ลึกลงไปอีก สัญลักษณ์ หมายถึง วัตถุ อักษร รูปร่าง หรือสีสัน ซึ่งใช้ในการสื่อความหมายหรือแนวความคิดให้มนุษย์เข้าใจไปในทางเดียวกัน อาจจะเป็นรูปธรรมหรือนามธรรมก็ได้ ในทางปรัชญามักมีคำนิยามว่า ทุกสิ่งทุกอย่างในธรรมชาติ หรือแม้ในจักรวาล สามารถแทนได้ด้วยสัญลักษณ์ทั้งสิ้น สัญลักษณ์นั้นช่วยในการสื่อสาร อาจจะเป็นรูปภาพ การเขียนอักษร การออกเสียง หรือการทำท่าทาง ซึ่งช่วยให้ผู้ส่งสารและผู้รับสารเข้าใจตรงกันแม้จะพูดกันคนละภาษา แต่ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของทั้งสองฝ่ายว่า ผู้ส่งสารมีความสามารถใช้สัญลักษณ์ให้สื่อความหมายมากเพียงใด และผู้รับสารมีความเข้าใจในสัญลักษณ์ที่ใช้มากเพียงใด ดังนั้นภาษามือจึงจัดว่าเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งเช่นกัน.

ใหม่!!: เปลือกหอยและสัญลักษณ์ · ดูเพิ่มเติม »

สังข์รดน้ำ

ังข์รดน้ำ (Valambari shank, Great indian chank) เป็นหอยทะเลฝาเดี่ยวชนิดหนึ่ง ในวงศ์หอยสังข์มงคล (Turbinellidae) จัดเป็นหอยขนาดใหญ่ มีเปลือกหนา รูปเปลือกค่อนข้างป้อม วงเกลียวตัวกลม ส่วนปลายมีร่องยาวปานกลาง ส่วนยอดเตี้ย ช่องเปลือกรูปรี ขอบด้านในมีสัน 3-4 อัน ผิวชั้นนอกสุดสีน้ำตาล เป็นชั้นที่บางและหลุดล่อนง่าย และมักจะหลุดออกเมื่อหอยตาย เปลือกชั้นรองลงไปเป็นส่วนที่มีความหนาและแข็ง ค่อนข้างเรียบ มีสีขาวนวลหรือสีขาวอมชมพู พบกระจายพันธุ์อยู่เฉพาะมหาสมุทรอินเดียทางตอนใต้ของประเทศอินเดียและประเทศศรีลังกาเท่านั้น อาศัยอยู่ตามพื้นน้ำที่เป็นพื้นทราย กินหนอนตัวแบนและแพลงก์ตอนเป็นอาหาร สังข์รดน้ำ โดยปกติแล้วจะมีเปลือกเวียนทางซ้าย (อุตราวรรต) ตามเข็มนาฬิกา แต่มีบางตัวที่เวียนไปทางด้านขวา (ทักษิณาวรรต) ซึ่งพบได้น้อยมาก ซึ่งหอยลักษณะนี้ตามคติของศาสนาฮินดูจะถือเป็นมงคล (ตามคติของพราหมณ์-ฮินดู ขว.

ใหม่!!: เปลือกหอยและสังข์รดน้ำ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์พวกกุ้งกั้งปู

รัสเตเชียน หรือ กุ้ง-กั้ง-ปู เป็นไฟลัมย่อยของสัตว์ขาปล้อง ประกอบด้วยพวกกุ้ง กั้ง และปู สัตว์ในกลุ่มนี้มีระยางค์ 5 คู่ แต่ละคู่มี 2 ก้าน ส่วนท้ายมีระยางค์อีก 8 คู่ ตาประกอบเป็นก้าน มีขนแข็งทั่วตัวใช้รับสัมผัส ระบบสืบพันธุ์แยกเพศกัน ปฏิสนธิภายใน ตัวอ่อนลอกคราบหลายครั้งจนกว่าจะเป็นตัวเต็มวัย แบ่งย่อยเป็น.

ใหม่!!: เปลือกหอยและสัตว์พวกกุ้งกั้งปู · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์ขาปล้อง

ัตว์ขาปล้อง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Arthropoda อาร์โธรโพดา) หรือที่รู้จักกันดีและนิยมเรียกว่า อาร์โธพอด เป็นไฟลัมหลักของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ที่มีขนาดของลำตัวแบ่งเป็นส่วน ๆ 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนหัว ส่วนอกและส่วนท้อง ซึ่งสัตว์ขาปล้องบางจำพวกอาจจะมีส่วนหัวและส่วนอกที่เชื่อต่อกันเป็นส่วนเดียวกันด้วยก็ได้ จะมีเปลือกแข็งหุ้มบริเวณลำตัวสำหรับทำหน้าที่ป้องกันและช่วยพยุงร่างกายที่อ่อนนิ่มที่ซ่อนอยู่ภายใต้เปลือกแข็ง ชั้นคิวติเคิลเปลี่ยนไปตามรายละเอียดของรูปร่าง ประกอบด้วยสามชั้นคือ ชั้นผิวนอก (epicuticle) เป็นชั้นนอกที่บาง มีขี้ผึ้งเคลือบเพื่อป้องกันความชื้น ชั้นนอก (exocuticle) ประกอบด้วยไคติน และโปรตีนที่ทำให้แข็ง และชั้นใน (endocuticle) ที่ประกอบด้วยไคตินและโปรตีนที่ไม่ทำให้แข็ง ชั้นนอกและชั้นในเรียกรวมกันว่า procuticle และที่สำคัญคือช่วยพยุงให้ร่างกายของพวกสัตว์ขาปล้องมีรูปร่างที่แน่นอน.

ใหม่!!: เปลือกหอยและสัตว์ขาปล้อง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง

Invertebrata สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง (Invertebrates) หมายความรวมถึงสัตว์ที่ไม่มีแท่งกระดูกสันหลังสำหรับยึดติดให้เป็นส่วนเดียวกันของร่างกาย จัดเป็นสัตว์ประเภทที่ไม่มีกระดูก และไม่มีกระดูกอ่อนอยู่ภายในร่างกาย มีความแตกต่างจากสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง ที่ทั้งหมดถูกจัดอยู่ในไฟลัมเดียวในอาณาจักรสัตว์ แต่สำหรับสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง มีจำนวนมากมายหลากหลายไฟลัม และมีจำนวนมากกว่าสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังมากที่สุดในโลกบพิธ - นันทพร จารุพันธุ์, สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เล่ม 1, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2545 หน้า 1 สัตว์จำพวกไม่มีกระดูกสันหลังมีจำนวนมากว่าสัตว์พวกมีกระดูกสันหลัง แบ่งเป็น.

ใหม่!!: เปลือกหอยและสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สำนวนภาษาปาก

ำนวนภาษาปาก (colloquialism) คือ ภาษาประเภทหนึ่งซึ่งเกิดจากการพูดที่แสดงความคุ้นเคย ไม่เหมาะที่จะใช้เป็นพิธีรีตอง เช่น ตาแป๊ะ ตะบี้ตะบัน เทน้ำเทท่า ทั้งนี้ ภาษาประเภทนี้อาจปรากฏได้ทั้งในภาษาเขียนและภาษาพูด ในพจนานุกรมไทยจะย่อชื่อภาษานี้ว่า "(ปาก)" เช่น "ทาน (ปาก) ก. กิน, กร่อนมาจาก รับประทาน" การใช้ภาษาปากที่แตกต่างจากภาษาแบบแผนหรือภาษามาตรฐานของภาษาหลักนั้น ๆ เมื่อใช้นานไป อาจกลายเป็นมาตรฐานย่อยอย่างหนึ่ง หรืออาจพัฒนาขึ้นเป็นมาตรฐานในภาษานั้นกระทั่งไม่เรียกว่าภาษาปากอีกต่อไปก็ได้หากลักษณะการใช้ภาษาเช่นนั้นเป็นที่ยอมรับและใช้โดยทั่วไป ภาษาปากนั้น แม้จะไม่ใช่ภาษาแบบแผน แต่ไม่จำเป็นว่าจะเป็นภาษาที่ไม่สุภาพเสมอไป หากเป็นลักษณะการใช้ภาษาที่สะดวก ง่าย กะทัดรัด และเป็นกันเอง.

ใหม่!!: เปลือกหอยและสำนวนภาษาปาก · ดูเพิ่มเติม »

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

ำนักงานราชบัณฑิตยสภา (Office of the Royal Society) หรือชื่อเดิมว่า ราชบัณฑิตยสถาน (the Royal Institute), ข่าวประชาสัมพันธ์ เว็บไซต.

ใหม่!!: เปลือกหอยและสำนักงานราชบัณฑิตยสภา · ดูเพิ่มเติม »

สีทอง

สีทอง เป็นสีเหลืองแกมส้ม และเป็นสีของทองคำในธรรมชาติ ทอง.

ใหม่!!: เปลือกหอยและสีทอง · ดูเพิ่มเติม »

สีขาว

ีขาว คือ โทนสี หรือ การรับรู้ที่เกิดจากแสงไปกระตุ้นเซลล์สีรูปกรวยทั้ง 3 แบบในดวงตาของมนุษย์ในปริมาณที่เกือบจะเท่ากันและมีความสว่างสูงสุดเมื่อเทียบกับสิ่งแวดล้อมรอบข้าง สีขาว เป็นสีที่เกิดจากการรวมความเข้มของแสงสเปกตรัมที่มองเห็นได้ เป็นสีที่เต็มไปด้วยความสว่าง แต่ไม่มีสีสัน แหล่งกำเนิดของแสงสีขาวมีอยู่หลายแหล่ง เช่น ดวงอาทิตย์ในเวลากลางวัน, หลอดไฟแบบไส้, หลอดไฟแบบฟลูออเรสเซนท์ และหลอด LED สีขาว สีขาวยังมีความพิเศษอยู่อีกอย่างหนึ่ง ก็คือ เป็นสีที่เกิดจากการผสมกันระหว่างแสงสีปฐมภูมิ ซึ่งได้แก่ สีแดง, เขียว และน้ำเงิน (RGB) โดยเรียกกระบวนการนี้ว่า การผสมแสงสี (additive mixing) ซึ่งพบได้ทั่วไปในเทคโนโลยีการแสดงผล แสงสีขาวที่สะท้อนออกมาจากวัตถุจะสามารถมองเห็นได้ก็ต่อเมื่อไม่มีสเปกตรัมของแสงส่วนไหนที่สะท้อนมากกว่าส่วนอื่นๆและวัตถุที่สะท้อนแสงนั้นมีมุมตกกระทบที่เหมาะสมที่จะทำให้เกิดการกระจัดกระจายของแสง (diffusion) ได้.

ใหม่!!: เปลือกหอยและสีขาว · ดูเพิ่มเติม »

สีน้ำตาล

ีน้ำตาล (Brown) เป็นสีชนิดหนึ่งที่คล้ายกับสีของลำต้นของต้นไม้ ออกสีส้มแก่ๆ ผสมกับสีเขียวไปด้วย พบเห็นได้ทั่วไป เช่น กิ่งและลำต้นของต้นไม้ เป็นต้น เป็นสีที่ไม่ค่อยจะสะท้อนแสงเท่าไรนัก จัดอยู่ในกลุ่มจำพวกสีเย็น.

ใหม่!!: เปลือกหอยและสีน้ำตาล · ดูเพิ่มเติม »

สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3

นีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 อ..ม.ท. เป็นสถานีโทรทัศน์ภาคพื้นดิน (Terrestrial Television) แห่งที่ 4 ของประเทศไทย ดำเนินกิจการโดยบริษัท บางกอก เอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด ภายใต้สัญญาสัมปทานกับบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) เริ่มแพร่ภาพเป็นปฐมฤกษ์เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2513 เวลา 10:00 น. ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ออกอากาศด้วยระบบวีเอชเอฟ ความถี่ต่ำ ทางช่องสัญญาณที่ 3 จนถึงปี พ.ศ. 2550 หลังจากนั้น จึงเปลี่ยนมาออกอากาศในระบบยูเอชเอฟ ทางช่องสัญญาณที่ 32 โดยที่เริ่มแพร่ภาพคู่ขนาน (simulcast) กับโทรทัศน์ระบบดิจิทัล ช่องหมายเลข 33 ภาพคมชัดสูง ของบริษัท บีอีซี-มัลติมีเดีย จำกัด ตามคำสั่งของศาลปกครอง ตั้งแต่เวลา 21:19 น. ของวันศุกร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2557 มีคำขวัญประจำสถานีฯ ว่า คุ้มค่าทุกนาที ดูทีวีสีช่อง 3 โดยมีประสาร มาลีนนท์ รักษาการในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2555 แทนประวิทย์ มาลีนนท์ ที่ขอลาออกเนื่องจากมีปัญหาเรื่อง.

ใหม่!!: เปลือกหอยและสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 · ดูเพิ่มเติม »

สปีชีส์

ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).

ใหม่!!: เปลือกหอยและสปีชีส์ · ดูเพิ่มเติม »

หอยมือเสือ

มุกของหอยมือเสือยักษ์ หอยมือเสือ (Giant clam) เป็นสกุลของหอยสองฝาขนาดใหญ่ ในวงศ์หอยมือเสือ (Tridacninae) ใช้ชื่อสกุลว่า Tridacna (/ไทร-แดก-นา/).

ใหม่!!: เปลือกหอยและหอยมือเสือ · ดูเพิ่มเติม »

หอยลาย

หอยลาย (Surf clam, Short necked clam, Carpet clam, Venus shell, Baby clam) เป็นหอยฝาคู่ ที่อยู่ในวงศ์หอยลาย (Veneridae) ลักษณะเปลือกมีรูปร่างเป็นรูปไข่ ฝาทั้งสองฝามีขนาดเท่ากัน ผิวด้านนอกของเปลือกหอยเรียบ มีสีน้ำตาลอ่อน และมีลวดลายหยักเป็นเส้นคล้ายตาข่ายตลอดความยาวของผิวเปลือก เส้นลายหยักเหล่านี้จะมีสีน้ำตาลเข้ม ส่วนผิวเปลือกด้านในเรียบมีสีขาว ในส่วนของบานพับ ซึ่งเป็นส่วนต่อระหว่างฝาทั้งสองมีลักษณะคล้ายฟันซี่เล็ก ๆ ฝาละ 3 ซี่ พบกระจายพันธุ์ในน้ำลึกประมาณ 8.0 เมตร โดยขุดรูอยู่ใต้พื้นทรายลึกประมาณ 20 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ในทะเลแถบเอเชียอาคเนย์ ในประเทศไทยพบมากที่ จังหวัดชลบุรี, บางปะกง, สมุทรปราการ, ตราด, สุราษฎร์ธานี หอยลายผัดน้ำพริกเผา นับเป็นหอยลายชนิด 1 ใน 3 ชนิดในสกุล Paphia ที่พบได้ในน่านน้ำไทย และเป็นชนิดที่นิยมรับมาประทานมากที่สุด สามารถนำไปปรุงเป็นอาหารชนิดต่าง ๆ เช่น ผัดน้ำพริกเผากับใบกะเพรา และนำไปแปรรูปส่งออกต่างประเท.

ใหม่!!: เปลือกหอยและหอยลาย · ดูเพิ่มเติม »

หอยสังข์ยักษ์ออสเตรเลีย

หอยสังข์ยักษ์ออสเตรเลีย (Australian trumpet, False trumpet) เป็นมอลลัสคาในชั้นหอยฝาเดียว (Gastopoda) เป็นหอยสังข์ที่มีขนาดใหญ่มาก โดยอาจยาวได้ถึง 91 เซนติเมตร มีน้ำหนักกว่า 18 กิโลกรัม และเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Syrinx นับเป็นหอยฝาเดียวที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก มีปากที่ใหญ่ขนาดที่สามารถนำเด็กทารกไปวางนอนในนั้นได้ เป็นหอยชนิดที่พบเฉพาะพรมแดนทางทะเลระหว่างอินโดนีเซียและออสเตรเลียเท่านั้น มีเปลือกภายนอกสีเหลืองออกทอง ซึ่งหอยสังข์ชนิดนี้ สันนิษฐานว่าเป็นต้นกำเนิดของวรรณคดีไทยเรื่อง สังข์ทอง สันนิษฐานว่าได้รับอิทธิพลมาจากนิทานพื้นบ้านของชวา ที่มีเนื้อเรื่องคล้ายคลึงกัน ในยุคต้นรัตนโกสินทร.

ใหม่!!: เปลือกหอยและหอยสังข์ยักษ์ออสเตรเลีย · ดูเพิ่มเติม »

หอยงวงช้าง

ำหรับหอยงวงช้างที่นิยมนำมารับประทาน ดูที่: หอยกูอีดั๊ก หอยงวงช้าง เป็นมอลลัสคาในชั้นเซฟาโลพอด จัดอยู่ในอันดับย่อย Nautilina จัดเป็นมอลลัสคาที่มีวิวัฒนาการค่อนข้างสูง เป็นสิ่งมีชีวิตดึกดำบรรพ์ที่มีชีวิตอยู่บนโลกนี้แล้วกว่า 350 ล้านปี จัดอยู่ในชั้นเซฟาโลพอด อันเป็นชั้นเดียวกับปลาหมึก ในชั้นย่อยนอติลอยด์ จัดเป็นนอติลอยด์เพียงกลุ่มเดียวเท่าที่ยังดำรงเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบัน ถือได้ว่าเป็นซากดึกดำบรรพ์มีชีวิตจำพวกหนึ่งก็ว่าได้.

ใหม่!!: เปลือกหอยและหอยงวงช้าง · ดูเพิ่มเติม »

หอยแครง

หอยแครง เป็นหอยจำพวกกาบคู่ ความยาวประมาณ 6-7 เซนติเมตร.

ใหม่!!: เปลือกหอยและหอยแครง · ดูเพิ่มเติม »

หอยเชลล์

หอยเชลล์ หรือ หอยพัด (Scallop) เป็นสัตว์มอลลัสกาฝาคู่อาศัยอยู่ในทะเล จัดอยู่ในวงศ์ Pectinidae หอยเชลล์พบได้ทุกมหาสมุทรของโลก หอยเชลล์จำนวนมากเป็นแหล่งอาหารราคาสูง ทั้งเปลือกสีสว่าง รูปพัดของหอยเชลล์บางตัว พร้อมกับแบบร่องเว้าแผ่ออกจากศูนย์กลาง ทำให้มีค่าสำหรับนักสะสมหอย โดยชื่อสามัญในภาษาอังกฤษคำว่า "scallop" แผลงมาจากภาษาฝรั่งเศสเก่า escalope หมายถึง "เปลือก".

ใหม่!!: เปลือกหอยและหอยเชลล์ · ดูเพิ่มเติม »

หอยเบี้ยจักจั่น

หอยเบี้ยจักจั่น หรือ หอยเบี้ยจั่น (Money cowry) เป็นหอยทะเลฝาเดียวชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Monetaria moneta (ศัพทมูลวิทยา: moneta (/โม-เน-ตา/) เป็นภาษาละตินแปลว่า "เงินตรา") ในวงศ์ Cypraeidae มีเปลือกแข็ง ผิวเป็นมัน หลังนูน ท้องแบน ช่องปากยาวแคบและไปสุดตอนปลายทั้ง 2 ข้าง เป็นลำราง ริมปากทั้ง 2 เป็นหยักคล้ายฟัน ไม่มีฝาปิด มีความยาวประมาณ 12-24 มิลลิเมตร มีถิ่นแพร่กระจายอยู่ในทะเลเขตอบอุ่นทั้งในมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรอินเดีย อาทิ ทะเลแดง อินโด-แปซิฟิก นอกชายฝั่งทะเลด้านมหาสมุทรแปซิฟิกของอเมริกากลาง ชายฝั่งทะเลทวีปแอฟริกาตอนตะวันออกและใต้ ทะเลอันดามัน อ่าวไทย ทะเลญี่ปุ่น ไปจนถึงโอเชียเนีย ดำรงชีวิตอยู่ตามแนวปะการังใกล้ชายฝั่ง กินอาหารจำพวกแพลงก์ตอนและสาหร่ายทะเลที่ลอยมาตามกระแสน้ำ เปลือกหอยของหอยเบี้ยชนิดนี้ มีความสำคัญต่อมนุษย์มาตั้งแต่ยุคโบราณ โดยใช้เป็นเครื่องแลกเปลี่ยนสิ่งของแทนเงินตราในปัจจุบัน สันนิษฐานว่าคำว่า "เบี้ย" ในภาษาไทยก็เรียกเพี้ยนมาจากคำว่า "รูปี" ซึ่งเป็นหน่วยเงินตราของอินเดียมาตั้งแต่สมัยพุทธกาลคอลัมน์ Aqua Pets โดย จอม สมหวัง ปัทมคันธิน "สุดยอดแฟนพันธุ์แท้เปลือกหอย 2 สมัย" หน้า 107 นิตยสาร Aquarium Biz Vo.1 issue 6 ฉบับเดือนธันวาคม 2010 นอกจากนี้แล้ว เปลือกหอยเบี้ยจักจั่นยังใช้เป็นเครื่องรางของขลังในวัฒนธรรมไทย โดยมักนำไปบรรจุปรอทแล้วเปิดทับด้วยชันโรงใต้ดิน อาจจะมีแผ่นทองแดงลงอักขระยันต์หรือไม่ก็ได้ เชื่อกันว่า ถ้าพกเปลือกหอยเบี้ยชนิดนี้ไว้กับตัวเวลาเดินทางสัญจรในป่า จะช่วยป้องกันไข้ป่า รวมถึงป้องกันและแก้ไขภยันอันตรายจากร้ายให้กลายเป็นดีได้ หรือนำไปตกแต่งพลอยเรียกว่า "ภควจั่น" ในเด็ก ๆ เชื่อว่าช่วยป้องกันฟันผุ หรือพกใส่กระเป๋าสตางค์ เชื่อว่าทำให้เงินทองไหลเทมาและโชคดี ปัจจุบัน เปลือกหอยเบี้ยจักจั่นยังนิยมสะสมกันเป็นของประดับและของสะสมกันอีกด้วย โดยมีชนิดที่แปลกแตกต่างไปจากปกติ คือ "ไนเจอร์" (Niger) ที่หอยจะสร้างเมลานินสีดำเคลือบเปลือกไว้จนกลายเป็นสีดำหรือสีน้ำตาลคล้ำทั้งหมด และชนิดที่มีราคาสูงที่สุด เรียกว่า "โรสเตรท" (Rostrat) หรือ หอยเบี้ยจักจั่นงวง คือ เป็นหอยเบี้ยจักจั่นในตัวที่ส่วนท้ายของเปลือกมิได้กลมมนเหมือนเช่นปกติ แต่สร้างแคลเซี่ยมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในเวลาหลายปี จนกระทั่งยาวยืดออกมาและม้วนขึ้นเป็นวงอย่างสวยงามเหมือนงวงช้าง ซึ่งหอยในรูปแบบนี้จะพบได้เฉพาะแถบอ่าวด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ของหมู่เกาะนิวแคลิโดเนียที่เดียวในโลกเท่านั้น มีการประเมินราคาของเปลือกหอยลักษณะนี้ไว้ถึง 25 ล้านบาท ซึ่งนับเป็นราคาของเปลือกหอยที่มีค่าสูงที่สุดในโลกอีกด้ว.

ใหม่!!: เปลือกหอยและหอยเบี้ยจักจั่น · ดูเพิ่มเติม »

หอยเสียบ

หอยเสียบ (Pharella javanica) บางแห่งอาจเรียก หอยมีดโกน หอยเสียบ หอยเสียบทราย ชื่อสามัญ: Razor clam, Knife jacked clam, Cultellus clam บางครั้งอาจจะทำให้สับสนซึ่งชื่อตามภาษาไทยในท้องถิ่น เหมือนกันกับหอยเสียบ (หอยเสียบทราย)ที่มีชื่อสามัญ Donax wedge shell หรือ Pacific bean donex ซึ่งแท้ที่จริงแล้วอยู่ต่างจำพวกกัน.

ใหม่!!: เปลือกหอยและหอยเสียบ · ดูเพิ่มเติม »

หาด

Pomerania Beach ''(Darss)'' ชายหาดในอังกฤษ หาด หรือ ชายหาด คือที่ลาดลงไปในน้ำหรือบริเวณที่ตื้นเขินเป็นเนินอยู่กลางน้ำ โดยมากเป็นเนินทราย มักมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างอยู่เสมอ (transient feature) จึงเป็นสภาพแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ (dynamic environment).

ใหม่!!: เปลือกหอยและหาด · ดูเพิ่มเติม »

อุณหภูมิ

อุณหภูมิของก๊าซอุดมคติอะตอมเดี่ยวสัมพันธ์กับค่าเฉลี่ยพลังงานจลน์ของอะตอม อุณหภูมิ คือการวัดค่าเฉลี่ยของพลังงานจลน์ของอนุภาคในสสารใดๆ ซึ่งสอดคล้องกับความร้อนหรือเย็นของสสารนั้น ในอดีตมีแนวคิดเกี่ยวกับอุณหภูมิเกิดขึ้นเป็น 2 แนวทาง คือตามแนวทางของหลักอุณหพลศาสตร์ และตามการอธิบายเชิงจุลภาคทางฟิสิกส์เชิงสถิติ แนวคิดทางอุณหพลศาสตร์นั้น ถูกพัฒนาขึ้นโดยลอร์ดเคลวิน โดยเกี่ยวข้องกับการวัดในเชิงมหภาค ดังนั้นคำจำกัดความอุณหภูมิในเชิงอุณหพลศาสตร์ในเบื้องแรก จึงระบุเกี่ยวกับค่าตัวแปรต่างๆ ที่สามารถตรวจวัดได้จากการสังเกต ส่วนแนวทางของฟิสิกส์เชิงสถิติจะให้ความเข้าใจในเชิงลึกยิ่งกว่าอุณหพลศาสตร์ โดยอธิบายถึงการสะสมจำนวนอนุภาคขนาดใหญ่ และตีความพารามิเตอร์ต่างๆ ในอุณหพลศาสตร์ (เชิงมหภาค) ในฐานะค่าเฉลี่ยทางสถิติของพารามิเตอร์ของอนุภาคในเชิงจุลภาค ในการศึกษาฟิสิกส์เชิงสถิติ สามารถตีความคำนิยามอุณหภูมิในอุณหพลศาสตร์ว่า เป็นการวัดพลังงานเฉลี่ยของอนุภาคในแต่ละองศาอิสระในระบบอุณหพลศาสตร์ โดยที่อุณหภูมินั้นสามารถมองเป็นคุณสมบัติเชิงสถิติ ดังนั้นระบบจึงต้องประกอบด้วยปริมาณอนุภาคจำนวนมากเพื่อจะสามารถบ่งบอกค่าอุณหภูมิอันมีความหมายที่นำไปใช้ประโยชน์ได้ ในของแข็ง พลังงานนี้พบในการสั่นไหวของอะตอมของสสารในสภาวะสมดุล ในแก๊สอุดมคติ พลังงานนี้พบในการเคลื่อนไหวไปมาของอนุภาคโมเลกุลของแก.

ใหม่!!: เปลือกหอยและอุณหภูมิ · ดูเพิ่มเติม »

ธนบัตร

นบัตรสกุลต่าง ๆ ธนบัตร เป็นสิ่งที่เป็นตัวแทนในการแลกเปลี่ยน ซึ่งสามารถใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย ธนบัตรจะใช้ควบคู่ไปกับเหรียญกษาปณ์ แต่โดยทั่วไปแล้วธนบัตรมักใช้สำหรับเงินจำนวนมาก ส่วนเหรียญกษาปณ์ใช้กับเงินจำนวนน้อย หรือเศษสตางค์ ในสมัยก่อน ค่าของเงินจะวัดโดยวัตถุที่นำมาใช้เป็นเงิน เช่น เบี้ย, เงิน หรือ ทอง แต่การถือวัตถุมีค่าเหล่านี้ออกไปจำนวนมากย่อมเป็นสิ่งที่ไม่สะดวกและเป็นอันตราย จึงใช้ธนบัตรเพื่อเป็นสื่อแลกเปลี่ยนแทน ธนบัตรเป็นเหมือนสัญญาว่าจะให้เงินไปจำนวนหนึ่ง ซึ่งภายหลังสามารถนำไปแลกคืนเป็นเงินหรือทองได้ ภายหลังจึงเป็นการแลกเปลี่ยนเพื่อสิ่งของและบริการ ไม่ต้องแลกเป็นเงินหรือทองอีก.

ใหม่!!: เปลือกหอยและธนบัตร · ดูเพิ่มเติม »

ทารก

ทารก (infant) คือ เด็กแบเบาะ หรือ เด็กเล็กๆ โดยทั่วไปหมายถึงเด็กอายุระหว่าง 1 เดือนขึ้นไป จนถึง 1-2 ปี ทารกอายุน้อยกว่า 1 เดือน เรียกว่า ทารกแรกเกิด (newborn, neonate) เด็กอายุ 1-2 ปีขึ้นไป อาจเรียกว่า เด็กวัยหัดเดิน (toddler) เด็กที่อยู่ในครรภ์ เรียกว่า ทารกในครรภ์ (fetus).

ใหม่!!: เปลือกหอยและทารก · ดูเพิ่มเติม »

ความงาม

อกกุหลาบเป็นสิ่งหนึ่งที่หลายคนเห็นว่างาม ความงาม คือสถานภาพของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ก่อให้เกิดความเพลิดเพลิน และความชื่นชมผ่านการเข้าใจและรับรู้ถึงความสมดุล สัดส่วน และ แรงดึงดูด ของสิ่งๆนั้น ซึ่งอาจจะเป็นบุคคล สัตว์ สิ่งของ เหตุการณ์ สถานที่ ดนตรี ศิลปะ หรือ ความคิด สิ่งตรงกันข้ามกับความงามคือความน่าเกลียดน่าชัง ซึ่งมีผลกระทบอย่างตรงกันข้ามต่อผู้ที่รับรู้.

ใหม่!!: เปลือกหอยและความงาม · ดูเพิ่มเติม »

ความเชื่อ

วามเชื่อ (belief) หมายถึง การยอมรับว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นความจริง หรือมีการดำรงอยู่จริง โดยอาศัยประสบการณ์ตรง การไตร่ตรอง หรือการอนุมาน.

ใหม่!!: เปลือกหอยและความเชื่อ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอินเดีย

อินเดีย (India; भारत, ออกเสียง) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐอินเดีย (Republic of India; भारत गणराज्य) ตั้งอยู่ในทวีปเอเชียใต้ เป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของอนุทวีปอินเดีย มีประชากรมากเป็นอันดับที่สองของโลก และเป็นประเทศประชาธิปไตยที่มีประชากรมากที่สุดในโลก โดยมีประชากรมากกว่าหนึ่งพันล้านคน มีภาษาพูดร้อยแปดสิบแปดภาษาโดยประมาณ ด้านเศรษฐกิจ อินเดียมีอำนาจการซื้อมากเป็นอันดับที่สี่ของโลก ทั้งนี้ อาณาเขตทางทิศเหนือติดกับจีน เนปาล และภูฏาน ทางตะวันตกเฉียงเหนือติดกับปากีสถาน ทางตะวันออกติดพม่า ทางตะวันตกเฉียงใต้จรดมหาสมุทรอินเดีย ทางตะวันออกเฉียงใต้ติดศรีลังกา ล้อมรอบบังกลาเทศทางทิศเหนือ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก นอกนั้นยังมีเขตแดนทางทะเลต่อเนื่องกับน่านน้ำไทย พม่า และอินโดนีเซีย และด้วยพื้นที่ 3,287,590 ตารางกิโลเมตร อินเดียจึงเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 7 ของโลก.

ใหม่!!: เปลือกหอยและประเทศอินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

ใหม่!!: เปลือกหอยและประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

ปูน

ปูน เป็นวัสดุเม็ดละเอียดของหินปูน เปลือกหอย หรือแร่ธาตุอื่น ที่มีลักษณะเป็นผง หรือฝุ่น เมื่อถูกน้ำจะมีลักษณะหนืด เหนียว สามารถปั้นได้ เมื่อแห้งจะแข็งตัวจับเป็นก้อนแข็ง.

ใหม่!!: เปลือกหอยและปูน · ดูเพิ่มเติม »

แอโฟรไดที

แอโฟรไดที (Aphrodite,; Ἀφροδίτη) เป็นพระเจ้าแห่งความรัก ความงาม สุขารมณ์และการให้กำเนิด ภาคโรมัน คือ วีนัส มีนิยายว่าด้วยกำเนิดของพระนางมากกว่าหนึ่งเรื่อง เฉกเช่นพระเจ้ากรีกโบราณหลายพระองค์ เทออกอเนียของฮีซิอัดระบุว่า พระองค์ประสูติเมื่อโครนัสตัดอวัยวะเพศของยูเรนัสแล้วโยนลงทะเล จากนั้นพระองค์กำเนิดขึ้นจากฟองสมุทร (aphros) ด้วยพระสิริโฉมงดงามของพระองค์ พระเจ้าองค์อื่นจึงเกรงว่าการชิงพระนางจะขัดขวางสันติภาพในหมู่พวกตนและนำไปสู่สงคราม ฉะนั้นซูสจึงเสกสมรสพระนางกับฮิฟีสตัส ซึ่งด้วยความอัปลักษณ์และผิดรูปของพระองค์ ไม่ถูกมองว่าเป็นภัยคุกคาม แอโฟรไดทีมีชู้รักมากมาย ทั้งพระเจ้า เช่น แอรีส และมนุษย์ เช่น แองไคซีส (Anchises) พระองค์มีบทบาทในตำนานเอียรอสและไซคี ภายหลังเป็นทั้งชู้รักของอโดนิส (Adonis) และผู้ทดแทนมารดาของพระองค์ กล่าวกันว่าเทพชั้นรองจำนวนมากเป็นโอรสธิดาของแอโฟรไดที แอโฟรไดทียังรู้จักกันในพระนามไคธีเรีย (นายหญิงแห่งไคธีรา) และไซปริส (นายหญิงแห่งไซปรัส) ซึ่งตั้งตามชื่อแหล่งลัทธิสองแห่ง ไคธีราและไซปรัส ซึ่งอ้างว่าเป็นที่ประสูติของพระนาง กล่าวกันว่าเมอร์เทิล (myrtle) นกพิราบ นกกระจอก ม้าและหงส์ศักดิ์สิทธิ์ต่อพระนาง ชาวกรีกโบราณระบุพระองค์แอโฟรไดทีกับเทพีแฮธอร์ของอียิปต์โบราณ.

ใหม่!!: เปลือกหอยและแอโฟรไดที · ดูเพิ่มเติม »

แคลไซต์

แคลไซต์ (Calcite) เป็นแร่คาร์บอเนตและเป็นแร่ที่เสถียรที่สุดในกลุ่มแร่ที่มีสูตรโครงสร้างเป็นแคลเซียมคาร์บอเนต (CaCO3) ส่วนแร่อื่นที่มีสูตรโครงสร้างเดียวกัน ได้แก่ อราโกไนท์ (Aragonite) และ วาเทอร์ไรต์ (Vaterite) โดยอราโกไนท์จะเปลี่ยนไปเป็นแคลไซต์ที่อุณหภูมิ 470 องศาเซลเซียส ส่วนวาเทอร์ไรต์นั้นไม่เสถียร.

ใหม่!!: เปลือกหอยและแคลไซต์ · ดูเพิ่มเติม »

แคลเซียมคาร์บอเนต

แคลเซียมคาร์บอเนต (Calcium carbonate) เป็นสารประกอบมีสูตรเคมีคือ CaCO3 คาร์บอเนต ไม่ละลายในน้ำ แต่สามารถทำปฏิกิริยากับน้ำและ คาร์บอนไดออกไซด์แล้วกลายเป็นแคลเซียมไบคาร์บอเนต (ซึ่งมีสูตรเคมีคือ Ca (HCO3) 2) แคลเซียมไบคาร์บอเนตละลายในน้ำได้เล็กน้อย ในธรรมชาติพบในรูปดังนี้.

ใหม่!!: เปลือกหอยและแคลเซียมคาร์บอเนต · ดูเพิ่มเติม »

โบราณคดี

การขุดค้นซากโบราณ โบราณคดี (Archaeology) คือ วิชาที่ว่าด้วย การศึกษาเรื่องราวในอดีตของมนุษย์ โดยผ่านทางการศึกษาหลักฐานทางโบราณคดี ที่ได้มาจากการสำรวจ การขุดค้น (โบราณวัตถุ) การขุดแต่ง (โบราณสถาน) และการศึกษาเอกสารทางประวัติศาสตร์ประเภทต่างๆ (ศิลาจารึก จดหมายเหตุ พงศาวดาร) โดยทั่วไป จะต้องใช้ศาสตร์ด้านอื่นๆ ประกอบในการวิเคราะห์และตีความหลักฐานทางโบราณคดีที่ได้จากกระบวนการข้างต้น เพื่อให้เรื่องราวในอดีตของมนุษย์มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น ศาสตร์เหล่านั้น เช่น ประวัติศาสตร์ศิลปะ ธรณีวิทยา สัตววิทยา พฤกษศาสตร์ เรณูวิทยา การกำหนดอายุทางวิทยาศาสตร์ เป็นต้น ที่ประเทศไทย มีการเปิดสอนคณะโบราณคดี ที่มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ เป็นเพียงที่เดียวในประเทศไท.

ใหม่!!: เปลือกหอยและโบราณคดี · ดูเพิ่มเติม »

โปรตีน

3 มิติของไมโอโกลบิน (โปรตีนชนิดหนึ่ง) โปรตีน (protein) เป็นสารประกอบชีวเคมี ซึ่งประกอบด้วยพอลิเพปไทด์หนึ่งสายหรือมากกว่า ที่พับกันเป็นรูปทรงกลมหรือเส้นใย โดยทำหน้าที่อำนวยกระบวนการทางชีววิทยา พอลิเพปไทด์เป็นพอลิเมอร์สายเดี่ยวที่เป็นเส้นตรงของกรดอะมิโนที่เชื่อมเข้ากันด้วยพันธะเพปไทด์ระหว่างหมู่คาร์บอกซิลและหมู่อะมิโนของกรดอะมิโนเหลือค้าง (residue) ที่อยู่ติดกัน ลำดับกรดอะมิโนในโปรตีนกำหนดโดยลำดับของยีน ซึ่งเข้ารหัสในรหัสพันธุกรรม โดยทั่วไป รหัสพันธุกรรมประกอบด้วยกรดอะมิโนมาตรฐาน 20 ชนิด อย่างไรก็ดี สิ่งมีชีวิตบางชนิดอาจมีซีลีโนซิสตีอีน และไพร์โรไลซีนในกรณีของสิ่งมีชีวิตโดเมนอาร์เคียบางชนิด ในรหัสพันธุกรรมด้วย ไม่นานหรือระหว่างการสังเคราะห์ สารเหลือค้างในโปรตีนมักมีขั้นปรับแต่งทางเคมีโดยกระบวนการการปรับแต่งหลังทรานสเลชัน (posttranslational modification) ซึ่งเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมี การจัดเรียง ความเสถียร กิจกรรม และที่สำคัญที่สุด หน้าที่ของโปรตีนนั้น บางครั้งโปรตีนมีกลุ่มที่มิใช่เพปไทด์ติดอยู่ด้วย ซึ่งสามารถเรียกว่า โปรสทีติกกรุป (prosthetic group) หรือโคแฟกเตอร์ โปรตีนยังสามารถทำงานร่วมกันเพื่อบรรลุหน้าที่บางอย่าง และบ่อยครั้งที่โปรตีนมากกว่าหนึ่งชนิดรวมกันเพื่อสร้างโปรตีนเชิงซ้อนที่มีความเสถียร หนึ่งในลักษณะอันโดดเด่นที่สุดของพอลิเพปไทด์คือความสามารถจัดเรียงเป็นขั้นก้อนกลมได้ ขอบเขตซึ่งโปรตีนพับเข้าไปเป็นโครงสร้างตามนิยามนั้น แตกต่างกันไปมาก ปรตีนบางชนิดพับตัวไปเป็นโครงสร้างแข็งอย่างยิ่งโดยมีการผันแปรเล็กน้อย เป็นแบบที่เรียกว่า โครงสร้างปฐมภูมิ ส่วนโปรตีนชนิดอื่นนั้นมีการจัดเรียงใหม่ขนานใหญ่จากโครงสร้างหนึ่งไปยังอีกโครงสร้างหนึ่ง การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างนี้มักเกี่ยวข้องกับการส่งต่อสัญญาณ ดังนั้น โครงสร้างโปรตีนจึงเป็นสื่อกลางซึ่งกำหนดหน้าที่ของโปรตีนหรือกิจกรรมของเอนไซม์ โปรตีนทุกชนิดไม่จำเป็นต้องอาศัยกระบวนการจัดเรียงก่อนทำหน้าที่ เพราะยังมีโปรตีนบางชนิดทำงานในสภาพที่ยังไม่ได้จัดเรียง เช่นเดียวกับโมเลกุลใหญ่ (macromolecules) อื่น ดังเช่น พอลิแซกคาไรด์และกรดนิวคลีอิก โปรตีนเป็นส่วนสำคัญของสิ่งมีชีวิตและมีส่วนเกี่ยวข้องในแทบทุกกระบวนการในเซลล์ โปรตีนจำนวนมากเป็นเอนไซม์ซึ่งเร่งปฏิกิริยาทางชีวเคมี และสำคัญต่อกระบวนการเมตาบอลิซึม โปรตีนยังมีหน้าที่ด้านโครงสร้างหรือเชิงกล อาทิ แอกตินและไมโอซินในกล้ามเนื้อและโปรตีนในไซโทสเกเลตอน ซึ่งสร้างเป็นระบบโครงสร้างค้ำจุนรูปร่างของเซลล์ โปรตีนอื่นสำคัญในการส่งสัญญาณของเซลล์ การตอบสนองของภูมิคุ้มกัน การยึดติดกันของเซลล์ และวัฏจักรเซลล์ โปรตีนยังจำเป็นในการกินอาหารของสัตว์ เพราะสัตว์ไม่สามารถสังเคราะห์กรดอะมิโนทั้งหมดตามที่ต้องการได้ และต้องได้รับกรดอะมิโนที่สำคัญจากอาหาร ผ่านกระบวนการย่อยอาหาร สัตว์จะแตกโปรตีนที่ถูกย่อยเป็นกรดอะมิโนอิสระซึ่งจะถูกใช้ในเมตาบอลิซึมต่อไป โปรตีนอธิบายเป็นครั้งแรกโดยนักเคมีชาวดัตช์ Gerardus Johannes Mulder และถูกตั้งชื่อโดยนักเคมีชาวสวีเดน Jöns Jacob Berzelius ใน..

ใหม่!!: เปลือกหอยและโปรตีน · ดูเพิ่มเติม »

ไสยศาสตร์

ตร์ หมายถึง วิชาทางไสย อันเป็นลัทธิเกี่ยวกับเวทมนตร์คาถาที่เชื่อว่ามาจากศาสนาพราหมณ์ โดยเฉพาะจากคัมภีร์อถรรพเวท ที่มีพิธีเพื่อให้เกิดสิริมงคลป้องกันอันตรายต่อตนเองหรือทำอันตรายต่อผู้อื่น.

ใหม่!!: เปลือกหอยและไสยศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ไข่

อาจหมายถึง.

ใหม่!!: เปลือกหอยและไข่ · ดูเพิ่มเติม »

เกาะชวา

กาะชวา (อินโดนีเซีย: Pulau Jawa, ชวา: Pulo Jawa) เป็นชื่อเดิมของหมู่เกาะที่ตั้งอยู่ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปัจจุบันคือประเทศอินโดนีเซีย และเป็นที่ตั้งของเมืองหลวง จาการ์ตา เป็นเกาะที่มีประชากรมากที่สุดในโลก และมีประชากรมากกว่าทวีปออสเตรเลียและแอนตาร์กติกา (รายชื่อเกาะตามจำนวนประชากร) มีเนื้อที่ 132,000 ตารางกิโลเมตร ประชากร 127 ล้านคน และมีความหนาแน่นประชากร 864 คนต่อกม.² ซึ่งถ้าเกาะชวาเป็นประเทศแล้วจะมี ความหนาแน่นประชากรเป็นปันดับ 2 รองจากประเทศบังคลาเทศ ยกเว้นนครรัฐที่มีขนาดเล็ก หมวดหมู่:เกาะในประเทศอินโดนีเซีย หมวดหมู่:เกาะในมหาสมุทรอินเดีย.

ใหม่!!: เปลือกหอยและเกาะชวา · ดูเพิ่มเติม »

เมตร

มตร อักษรย่อ ม. (mètre → metre meter The Metric Conversion Act of 1975 gives the Secretary of Commerce of the US the responsibility of interpreting or modifying the SI for use in the US., m) เป็นหน่วยฐานเอสไอของความยาวในหน่วยเอสไอ แต่เดิมนิยามว่าหนึ่งเมตรเท่ากับ 1/10,000,000 ของระยะทางจากเส้นศูนย์สูตรของโลกไปยังขั้วโลกเหนือวัดจากเส้นรอบวงที่ผ่านเมืองปารีส แต่เนื่องจากความแม่นยำทางมาตรวิทยา ที่มีมากขึ้น ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2526 ความยาวหนึ่งเมตรจึงถูกนิยามไว้ให้เท่ากับความยาวที่แสงเดินทางได้ในสุญญากาศ ในช่วงเวลา วินาที.

ใหม่!!: เปลือกหอยและเมตร · ดูเพิ่มเติม »

เทพปกรณัมกรีก

รูปปั้นครึ่งตัวของซูส, ที่เมือง Otricoli พิพิธภัณฑ์ Pio-Clementino วาติกัน) เทพปกรณัมกรีก (ΜΥΘΟΛΟΓΊΑ ΕΛΛΗΝΙΚΉ) เป็นเรื่องปรัมปราและตำนานที่เกี่ยวข้องกับเทพเจ้า, วีรบุรุษ, ธรรมชาติของโลก รวมถึงจุดกำเนิดและความสำคัญของขนบ คติและจารีตพิธีในทางศาสนาของชาวกรีกโบราณ เทพปกรณัมกรีกเป็นส่วนหนึ่งของศาสนาในกรีซโบราณ นักวิชาการสมัยใหม่มักอ้างถึงและศึกษาเรื่องปรัมปราเหล่านี้ เพื่อที่จะทราบเกี่ยวกับสถาบันทางศาสนา, สถาบันทางการเมืองในกรีซโบราณ, อารยธรรมของชาวกรีก และเพื่อเพิ่มความเข้าใจในธรรมชาติของการสร้างตำนานเทพปกรณัมขึ้น เทพปกรณัมกรีกได้ถูกรวบรวมขึ้นจากเรื่องเล่าและศิลปะที่แสดงออกในวัฒนธรรมกรีก เช่น การระบายสีแจกันและของแก้บน ตำนานกรีกอธิบายถึงการถือกำเนิดของโลก และรายละเอียดของเรื่องราวในชีวิต และการผจญภัยของบรรดาเทพเจ้า เทพธิดา วีรบุรุษ วีรสตรี และสิ่งมีชีวิตในตำนานอื่น ๆ ซึ่งเรื่องราวเหล่านี้ในตอนแรกเป็นเพียงการสืบทอดผ่านบทกวีตามประเพณีมุขปาฐะเท่านั้น ซึ่งอาจสืบย้อนหลังไปได้ถึงสมัยไมนอส และสมัยไมซีนี ตั้งแต่ศตวรรษที่ 18 ก่อน..

ใหม่!!: เปลือกหอยและเทพปกรณัมกรีก · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องราง

รื่องราง หมายถึง ของที่นับถือว่าป้องกันอันตราย ยิงไม่ออก ฟันไม่เข้า เช่น ตระกรุด ผ้ายันต์ เหล็กไหล เครื่องรางถือเป็นวัตถุมงคลประเภทหนึ่ง ของขลัง คือของที่ถือว่าศักดิ์สิทธิ์ มีพลังหรืออำนาจที่อาจบันดาลให้เป็นไป หรืออาจบันดาลสิ่งที่ต้องประสงค์สำเร็จได้ สองคำนี้มักนิยมใช้คู่กันเป็น เครื่องรางของขลัง เครื่องรางของขลัง ปกติเป็นเรื่องนอกคำสอนของศาสนาพุทธ ถูกจัดอยู่ในประเภทไสยศาสตร์มากว่า แต่เป็นที่นิยมกันมาแต่โบราณ ด้วยเห็นว่าพลังหรืออำนาจนัน้มาจากพุทธคุณ.

ใหม่!!: เปลือกหอยและเครื่องราง · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องประดับ

รื่องประดับ เป็นสิ่งของที่ใช้เสริมเติมแต่งร่างกายเพิ่มเติมจากเสื้อผ้าที่สวมใส่ โดยทำให้รูปแบบการแต่งตัวมีลักษณะที่เปลี่ยนไป ถึงแม้ว่าเสื้อผ้าที่สวมใส่จะเป็นชุดเดิม ก็สามารถสร้างความรู้สึกเปลี่ยนไปได้เมื่อทำการเปลี่ยนเครื่องประดับหรืออัญมณี ในเรื่องความเชื่อและศาสนา เครื่องประดับยังคงถูกนำมาใช้ เช่น พระเครื่อง ไม้กางเขน หรือประคำ เป็นต้น เครื่องประดับชนิดต่าง.

ใหม่!!: เปลือกหอยและเครื่องประดับ · ดูเพิ่มเติม »

เงินตรา

งิน หมายถึง วัตถุหรือเอกสารใด ๆ ที่เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปในการแลกเปลี่ยนกับสินค้าและบริการและใช้ชำระหนี้ในประเทศหรือในบริบทสังคมเศรษฐกิจหนึ่งๆตามตัวบทกฎหมาย หน้าที่หลักของเงินจำแนกได้ว่า (1) เป็นสื่อกลางการแลกเปลี่ยน (2) เป็นหน่วยวัดมูลค่า (3) เป็นเครื่องเก็บรักษามูลค่า และ (4) บางครั้งในอดีต เป็นมาตรฐานการชำระหนี้ภายหน้าT.H. Greco.

ใหม่!!: เปลือกหอยและเงินตรา · ดูเพิ่มเติม »

30 สิงหาคม

วันที่ 30 สิงหาคม เป็นวันที่ 242 ของปี (วันที่ 243 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 123 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: เปลือกหอยและ30 สิงหาคม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

กาบหอยฝาหอย🐚

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »