สารบัญ
22 ความสัมพันธ์: มหาสมุทรแปซิฟิกมัตสึยามะจังหวัดฟูกูโอกะจังหวัดยามางูจิจังหวัดฮิโรชิมะจังหวัดคางาวะจังหวัดโอกายามะจังหวัดโออิตะจังหวัดโอซากะจังหวัดเอฮิเมะจังหวัดเฮียวโงะทะเลญี่ปุ่นทากามัตสึคันไซประเทศญี่ปุ่นปรากฏการณ์ขี้ปลาวาฬแพลงก์ตอนพืชโอซากะโคเบะเกาะชิโกกุเกาะฮนชูเกาะคีวชู
- ทะเลในประเทศญี่ปุ่น
- ทะเลในมหาสมุทรแปซิฟิก
มหาสมุทรแปซิฟิก
มหาสมุทรแปซิฟิก (Pacific Ocean) ตั้งชื่อโดย เฟอร์ดินานด์ มาเจลลัน ว่า Mare Pacificum เป็นภาษาละติน แปลว่า peaceful sea ภาษาฝรั่งเศส pacifique (ปาซีฟีก) หมายถึง "สงบสุข" เป็นผืนน้ำที่กว้างใหญ่ที่สุดในโลก มีพื้นน้ำประมาณ 165,000,000 ตารางกิโลเมตร หรือ 1 ใน 3 ของพื้นที่ผิวทั้งหมดของโลก ความยาวในแนวลองจิจูดมีระยะทางประมาณ 15,500 กิโลเมตร จากทะเลเบริงในเขตอาร์กติกที่อยู่ทางเหนือจรดริมฝั่งทะเลรอสส์ในแอนตาร์กติกาที่อยู่ทางใต้ มหาสมุทรแปซิฟิกมีด้านที่กว้างที่สุดตามแนวตะวันออก-ตะวันตก อยู่ ณ บริเวณละติจูด 5 องศาเหนือ ด้วยความยาวประมาณ 19,800 กิโลเมตร จากอินโดนีเซียถึงชายฝั่งโคลอมเบีย สุดเขตด้านตะวันตก คือ ช่องแคบมะละกา จุดที่ลึกที่สุดในโลก คือ ร่องลึกมาเรียนา (Mariana Trench) อยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก จุดที่ลึกที่สุดวัดได้ 10,911 เมตร มหาสมุทรแปซิฟิก ความเค็มประมาณ 33-37 ส่วนต่อพันส่วน กระแสน้ำที่สำคัญของมหาสมุทรแปซิฟิก คือ กระแสน้ำเย็นฮัมโบลต์ (เปรู) กระแสน้ำอุ่นศูนย์สูตร กระแสน้ำเย็นแคลิฟอร์เนีย กระแสน้ำอุ่นอะแลสกา และกระแสน้ำอุ่นคุโระชิโอะ (กุโรชิโว) มหาสมุทรแปซิฟิกมีเกาะอยู่ประมาณ 25,000 เกาะ (มากกว่าเกาะในมหาสมุทรอื่น ๆ ที่เหลือรวมกัน) ส่วนใหญ่อยู่ใต้เส้นศูนย์สูตร ริมมหาสมุทรประกอบด้วยทะเลจำนวนมาก ที่สำคัญ คือ ทะเลเซเลบีส ทะเลคอรัล ทะเลจีนตะวันออก ทะเลญี่ปุ่น ทะเลจีนใต้ ทะเลซูลู ทะเลแทสมัน และทะเลเหลือง ทางด้านตะวันตก ช่องแคบมะละกาเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับมหาสมุทรอินเดีย ส่วนทางด้านตะวันออก ช่องแคบมาเจลลันเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับ มหาสมุทรแอตแลนติก.
ดู ทะเลเซโตะในและมหาสมุทรแปซิฟิก
มัตสึยามะ
มัตสึยามะ เป็นเมืองหลักของจังหวัดเอฮิเมะบนเกาะชิโกกุ ประเทศญี่ปุ่น ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม..
จังหวัดฟูกูโอกะ
ังหวัดฟูกูโอกะ เป็นจังหวัดในประเทศญี่ปุ่น ตั้งอยู่บริเวณภาคคีวชู มีเมืองหลักอยู่ที่เมืองฟูกูโอกะ นอกจากนี้ยังมีความสัมพันธ์เป็นเมืองพี่น้องกับกรุงเทพมหานคร.
ดู ทะเลเซโตะในและจังหวัดฟูกูโอกะ
จังหวัดยามางูจิ
ังหวัดยามางูจิ เป็นจังหวัดในประเทศญี่ปุ่นในภูมิภาคชูโกกุบนเกาะฮนชู ยามางูจิเป็นเมืองเอกของจังหวัด แต่เมืองใหญ่ที่สุดคือชิโมโนเซก.
ดู ทะเลเซโตะในและจังหวัดยามางูจิ
จังหวัดฮิโรชิมะ
ังหวัดฮิโรชิมะ เป็นจังหวัดในประเทศญี่ปุ่น ตั้งอยู่บริเวณภาคจูโงกุของญี่ปุ่นมีเมืองเอกในชื่อเดียวกันคือ นครฮิโรชิมะ left.
ดู ทะเลเซโตะในและจังหวัดฮิโรชิมะ
จังหวัดคางาวะ
ังหวัดคางาวะ เป็นจังหวัดหนึ่งในประเทศญี่ปุ่น ตั้งอยู่บนเกาะชิโกกุ เมืองหลักคือทากามัตสึ.
ดู ทะเลเซโตะในและจังหวัดคางาวะ
จังหวัดโอกายามะ
ังหวัดโอกายามะ ตั้งอยู่บริเวณภาคจูโงะกุ บนเกาะฮนชู ประเทศญี่ปุ่น มีเมืองหลวงอยู่ที่เมืองโอกายาม.
ดู ทะเลเซโตะในและจังหวัดโอกายามะ
จังหวัดโออิตะ
จังหวัดโออิตะ ตั้งอยู่บริเวณภาคคีวชูของประเทศญี่ปุ่น มีเมืองหลวงอยู่ที่เมืองโออิตะ (โออิตะชิ) หมวดหมู่:จังหวัดในประเทศญี่ปุ่น หมวดหมู่:จังหวัดโออิตะ.
ดู ทะเลเซโตะในและจังหวัดโออิตะ
จังหวัดโอซากะ
ลากลางจังหวัดโอซากะ จังหวัดโอซากะ เป็นส่วนหนึ่งของเขตแดนคันไซ ภูมิภาคคิงกิ เกาะฮนชู ประเทศญี่ปุ่น มีเมืองเอกคือโอซากะ เป็นใจกลางของพื้นที่เคียวโตะ-โอซากะ-.
ดู ทะเลเซโตะในและจังหวัดโอซากะ
จังหวัดเอฮิเมะ
ังหวัดเอฮิเมะ ตั้งอยู่บนเกาะชิโกกุ มีมัตสึยามะเป็นเมืองหลวง เป็นแหล่งต่อเรือที่สำคัญ รวมไปถึงอุตสาหกรรมสิ่งทอ กระดาษ เคมีภัณฑ์ และขุดเจาะน้ำมัน และมีส้มเป็นสินค้าขึ้นชื่อ.
ดู ทะเลเซโตะในและจังหวัดเอฮิเมะ
จังหวัดเฮียวโงะ
ังหวัดเฮียวโงะ ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของเกาะฮนชู ในจังหวัดเฮียวโงะมีสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์คือ หลุมศพโกะฉิขิสึกะโขะฟุน จังหวัดเฮียวโงะเคยประสบกับแผ่นดินไหวที่รุนแรงที่สุดในโลกที่เมืองโคเบะ (โกเบ) เมื่อปี..
ดู ทะเลเซโตะในและจังหวัดเฮียวโงะ
ทะเลญี่ปุ่น
ทะเลญี่ปุ่น เป็นทะเลชายอาณาเขตทางตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก ระหว่างแผ่นดินใหญ่เอเชีย หมู่เกาะญี่ปุ่น และเกาะซาฮาลิน ล้อมรอบด้วยประเทศญี่ปุ่น เกาหลีใต้ เกาหลีเหนือ และรัสเซีย เป็นผืนน้ำที่ถูกปิดกั้นจากมหาสมุทรแปซิฟิกเกือบสมบูรณ์ ทำให้แทบไม่มีปรากฏการณ์น้ำขึ้นน้ำลง ซึ่งคล้ายกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และความโดดเดี่ยวเช่นนี้ยังทำให้จำนวนชนิดพันธุ์สัตว์และความเค็มของน้ำมีน้อยกว่าในมหาสมุทร ภายในพื้นที่ไม่มีเกาะ อ่าว หรือแหลมขนาดใหญ่ สมดุลของน้ำได้รับอิทธิพลอย่างมากจากกระแสน้ำที่ไหลเข้าและออกผ่านช่องแคบต่างๆ ที่เชื่อมต่อกับทะเลรอบข้างและมหาสมุทรแปซิฟิก ขณะที่แม่น้ำที่ไหลลงสู่ทะเลแห่งนี้มีจำนวนน้อย จึงมีผลต่อปริมาตรน้ำในทะเลเพียงไม่เกินร้อยละ 1 น้ำในทะเลญี่ปุ่นมีความเข้มข้นของออกซิเจนละลายอยู่สูง ส่งผลให้ความอุดมสมบูรณ์ทางชีวภาพ การประมงจึงมีความสำคัญทางเศรษฐกิจในภูมิภาคนี้ และการขนส่งทางเรือในทะเลญี่ปุนกำลังเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ตามการเติบโตทางเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชียตะวันออก แม้ว่าในอดีตจะไม่คับคั่งนักเนื่องด้วยประเด็นปัญหาทางการเมือง ขณะที่ชื่อของผืนน้ำแห่งนี้ยังคงเป็นประเด็นขัดแย้ง เนื่องจากเกาหลีใต้พยายามเรียกร้องให้ใช้ชื่อว่า ทะเลตะวันออก.
ทากามัตสึ
ทากามัตสึ เป็นเมืองหลวงของจังหวัดคางาวะบนเกาะชิโกกุ ประเทศญี่ปุ่น เป็นเมืองท่าสำคัญในบริเวณทะเลเซโตะ ใน..
คันไซ
ันไซ หรือเรียก คิงกิ (近畿) เป็นเขตแดนทางภูมิศาสตร์ของประเทศญี่ปุ่นบนเกาะฮนชู โดยเขตคันไซประกอบไปด้วย 7 จังหวัด ได้แก่ เฮียวโงะ เคียวโตะ โอซะกะ ชิงะ นะระ วะกะยะมะ และมิเอะ คันไซมีขนาดประมาณ 27,335.11 ตารางกิโลเมตร และประชากรประมาณ 22,757,897 คน (พ.ศ.
ประเทศญี่ปุ่น
ประเทศญี่ปุ่น (ชื่ออย่างเป็นทางการ) เป็นรัฐเอกราชหมู่เกาะในเอเชียตะวันออก ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกนอกฝั่งตะวันออกของแผ่นดินใหญ่เอเชีย ทางตะวันตกติดกับคาบสมุทรเกาหลีและประเทศจีน โดยมีทะเลญี่ปุ่นกั้น ส่วนทางทิศเหนือติดกับประเทศรัสเซีย มีทะเลโอค็อตสค์เป็นเส้นแบ่งแดน ตัวอักษรคันจิของชื่อญี่ปุ่นแปลว่า "ถิ่นกำเนิดของดวงอาทิตย์" จึงทำให้มักได้ชื่อว่า "ดินแดนแห่งอาทิตย์อุทัย" ประเทศญี่ปุ่นเป็นกลุ่มเกาะกรวยภูเขาไฟสลับชั้นซึ่งมีเกาะประมาณ 6,852 เกาะ เกาะใหญ่สุดคือ เกาะฮนชู ฮกไกโด คีวชู และชิโกกุ ซึ่งคิดเป็นพื้นที่แผ่นดินประมาณร้อยละ 97 ของประเทศญี่ปุ่น และมักเรียกว่าเป็นหมู่เกาะเหย้า (home islands) ประเทศแบ่งเป็น 47 จังหวัดใน 8 ภูมิภาค โดยมีฮกไกโดเป็นจังหวัดเหนือสุด และโอกินาวะเป็นจังหวัดใต้สุด ประเทศญี่ปุ่นมีประชากร 127 ล้านคน เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 10 ของโลก ชาวญี่ปุ่นเป็นร้อยละ 98.5 ของประชากรทั้งหมดของประเทศญี่ปุ่น ประมาณ 9.1 ล้านคนอาศัยอยู่ในกรุงโตเกียว เมืองหลวงของประเทศ การวิจัยทางโบราณคดีระบุว่ามีมนุษย์อาศัยในญี่ปุ่นปัจจุบันครั้งแรกตั้งแต่ยุคหินเก่า การกล่าวถึงญี่ปุ่นเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรกปรากฏในบันทึกของราชสำนักจีนตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 1 ญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลจากจีนในหลายด้าน เช่นภาษา การปกครองและวัฒนธรรม แต่ขณะเดียวกันก็มีการปรับเปลี่ยนให้เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง จึงทำให้ญี่ปุ่นมีวัฒนธรรมที่โดดเด่นมาจนปัจจุบัน อีกหลายศตวรรษต่อมา ญี่ปุ่นก็รับเอาเทคโนโลยีตะวันตกและนำมาพัฒนาประเทศจนกลายเป็นประเทศที่ก้าวหน้าและมีอิทธิพลมากที่สุดในเอเชียตะวันออก หลังจากแพ้สงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นก็มีการเปลี่ยนแปลงทางการปกครองโดยการใช้รัฐธรรมนูญใหม่ใน..
ดู ทะเลเซโตะในและประเทศญี่ปุ่น
ปรากฏการณ์ขี้ปลาวาฬ
ลาฮอยา เมืองแซนดีเอโก รัฐแคลิฟอร์เนีย ปรากฏการณ์ขี้ปลาวาฬ (red tide) คือชื่อสามัญของปรากฏการณ์สาหร่ายสะพรั่ง (algal bloom) หรือ การรวมตัวขนาดใหญ่ของจุลชีพในทะเล เกิดขึ้นจากไดโนแฟลกเจลเลตไม่กี่ชนิด ที่มีการสะพรั่งสีแดงหรือน้ำตาล ปรากฏการณ์ขี้ปลาวาฬ คือ เหตุการณ์ซึ่งสาหร่ายที่อาศัยอยู่ในน้ำกร่อย น้ำเค็ม หรือ น้ำจืด มีการสะสมอย่างรวดเร็วในห้วงน้ำ ส่งผลให้เกิดสีบนผิวน้ำ ปกติแล้วจะพบได้ตามชายหาด ในทุก ๆ ปีปรากฏการณ์นี้ยังฆ่าแมนนาทีจำนวนมาก สาหร่ายเหล่านี้ ซึ่งมีอีกชื่อนึงว่าแพลงก์ตอนพืช ซึ่งเป็นโพรทิสต์เซลล์เดียว เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะคล้ายพืช และสามารถก่อให้เกิดรอยแต้มขุ่นที่สามารถสังเกตได้ใกล้ผิวน้ำ ในขณะเดียวกันนั้น แพลงก์ตอนพืชบางชนิด เช่น ไดโนแฟลกเจลเลต ยังมีรงควัตถุสังเคราะห์แสง ซึ่งมีสีที่หลากหลายตั้งแต่สีเขียว ไปจนถึงสีเขียวและสีแดง เมื่อสาหร่ายมีจำนวนหนาแน่น จะส่งผลให้น้ำเปลี่ยนสีหรือขุ่นมัว โดยปกติแล้วจะเป็นสีแดงหรือสีเขียว โดยบางทีอาจจะเป็นสีม่วงหรือสีชมพูก็ได้ สาหร่ายสะพรั่งที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนสีของน้ำนั้นจะเกิดขึ้นเมื่อมีความหนาแน่นสูงเพียงพอเท่านั้น และไม่จำเป็นจะต้องเป็นสีแดงเสมอไป ในบางครั้ง ปรากฏการณ์ขี้ปลาวาฬอาจเกี่ยวข้องกับผลผลิตของชีวพิษ การขาดแคลนของออกซิเจนละลาย หรือผลกระทบเชิงลบอื่น ๆ ซึ่งทั้งหมดนี้โดยปกติแล้วจะเรียกว่า สาหร่ายสะพรั่งที่มีความอันตราย ผลกระทบที่เห็นได้ชัดที่สุดจากปรากฏการณ์นี้เกี่ยวข้องกับอัตราการตายของสิ่งมีชีวิตหลาย ๆ อย่างที่อาศัยอยู่ในทะเลรวมไปถึงแนวชายหาด เช่น ปลา นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทางทะเล และสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น.
ดู ทะเลเซโตะในและปรากฏการณ์ขี้ปลาวาฬ
แพลงก์ตอนพืช
แพลงก์ตอนพืชชนิดและรูปร่างต่าง ๆ ส่วนใหญ่มีขนาดเล็กไม่ถึงมิลลิเมตร ไดอะตอม สิ่งมีชีวิตหลักกลุ่มหนึ่งในแพลงก์ตอนพืช แพลงก์ตอนพืช หรือ ไฟโทแพลงก์ตอน (Phytoplankton) มีรากศัพท์จากภาษากรีกว่า φυτόν (ฟิตอน) หมายถึง "พืช" และ πλαγκτός (พลังค์ตอส) หมายถึง "ผู้เดินทาง" หรือ "ผู้เร่ร่อน" คือแพลงก์ตอนที่สามารถสังเคราะห์แสงและสร้างอาหารเองได้ สิ่งมีชีวิตกลุ่มหลักของแพลงก์ตอนพืชประกอบด้วย ไดอะตอม สาหร่ายสีเขียว สาหร่ายสีทอง ไดโนแฟลกเจลเลต และไซยาโนแบคทีเรีย (สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน) ถือเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความสำคัญอย่างมากต่อระบบนิเวศ เนื่องจากเป็นผู้ผลิตปฐมภูมิของห่วงโซ่และสายใยอาหาร พบได้ทั้งในระบบนิเวศน้ำจืด ระบบนิเวศน้ำเค็ม ตลอดจนในระบบนิเวศน้ำกร่อย แพลงก์ตอนพืชส่วนใหญ่จะเป็นสิ่งมีชีวิตจำพวกสาหร่าย ทั้งที่เป็นโพรแคริโอตและยูแคริโอต โดยในแหล่งน้ำจืดจะพบสาหร่ายสีเขียว โดยเฉพาะในอันดับเดสมิด เป็นกลุ่มหลัก ส่วนในแหล่งน้ำเค็มอย่างทะเลและทะเลสาบ พบว่าแพลงก์ตอนพืชกลุ่มหลักคือกลุ่มไดอะตอมและไดโนแฟลกเจลเลต ในทางชีววิทยา แพลงก์ตอนพืชบางสปีชี่ส์จัดอยู่ในอาณาจักรพืช เช่น สาหร่ายสีเขียว บางชนิดอยู่ในอาณาจักรโพรทิสตา เช่น ไดอะตอม สาหร่ายสีทอง บางชนิดอยู่ในกลุ่มเฮเทอโรคอนท์ ซึ่งไม่ได้จัดอันดับไว้ (จำพวกไดโนแฟลกเจลเลต) และบางชนิดถูกจัดอยู่ในอาณาจักรยูแบคทีเรีย เช่น ไซยาโนแบคทีเรีย แพลงก์ตอนพืชยังเป็นอาหารของแพลงก์ตอนสัตว์และสัตว์หลายชนิดที่อาศัยอยู่ตามพื้นน้ำหรือท้องทะเล สัตว์บางชนิดมีอวัยวะคล้ายตาข่ายเพื่อดักจับแพลงก์ตอนพืชโดยเฉพาะ เช่น กุ้งเคย ห่วงโซ่อาหารหนึ่งที่เป็นที่รู้จักกันมากที่สุดคือ แพลงก์ตอนพืช → กุ้งเคย → วาฬ มนุษย์นำแพลงก์ตอนพืชมาใช้ประโยชน์ในหลายทาง แพลงก์ตอนบางชนิดมีคุณค่าทางอาหารสูง จึงถูกนำไปใช้เป็นอาหารเสริมหรือเป็นส่วนประกอบของอาหารเสริม บางชนิดถูกนำไปใช้เป็นอาหารให้แก่สัตว์น้ำวัยอ่อนที่ต้องการเพาะพันธุ์ แพลงก์ตอนพืชที่มีปริมาณมากและเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในแหล่งน้ำใด ๆ อาจเป็นสาเหตุให้เกิดปรากฏการณ์ขี้ปลาวาฬ ทำให้น้ำเปลี่ยนสีเป็นสีเขียว แดง น้ำตาล หรือเหลือง ขึ้นอยู่กับชนิดของแพลงก์ตอนพืช เช่น ไดโนแฟลกเจลเลตอย่าง Noctiluca scintillans ทำให้น้ำเป็นสีเขียว Ceratium furca ทำให้น้ำเป็นสีน้ำตาล เป็นต้น แพลงก์ตอนพืชปริมาณมากอาจเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้น เนื่องจากทำให้น้ำขาดออกซิเจนหรือลดลงอย่างมาก หรือทำให้เกิดภาวะสะสมของสารพิษที่มาจากตัวแพลงก์ตอน แพลงก์ตอนพืชมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการผลิตออกซิเจน นักชีววิทยาคาดการณ์ว่าปริมาณออกซิเจนถึงร้อยละ 50–80 ในชั้นบรรยากาศโลกผลิตขึ้นจากแพลงก์ตอนพืช ปัจจุบันแพลงก์ตอนพืชมีจำนวนลดลงอย่างมาก ซึ่งปัจจัยสำคัญคือน้ำทะเลมีอุณหภูมิสูงขึ้น ตั้งแต..
โอซากะ
อซากะ เป็นเมืองที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2 และมีประชากรมากเป็นอันดับ 3 ของประเทศญี่ปุ่น และยังเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในสามนครเคฮันชิง ตั้งอยู่ในภาคคันไซบนเกาะฮนชู ในเขตจังหวัดโอซากะ เป็นหนึ่งในไม่กี่เมืองที่มีสถานะเป็นนครโดยข้อบัญญัติรัฐบาลญี่ปุ่น นครโอซากะมีประชากรทั้งหมดประมาณ 2.7 ล้านคน แต่ในช่วงเวลาทำงานจะเพิ่มขึ้นเป็น 3.7 ล้านคน ซึ่งเป็นรองเพียงแต่โตเกียวเท่านั้น อัตราส่วนประชากรกลางวันต่อกลางคืนเท่ากับ 141 เปอร์เซ็นต์ นครตั้งอยู่ที่ปากแม่น้ำโยะโดะ อ่าวโอซากะ และทะเลเซะโตะ โอซากะเป็นเป็นเมืองสำคัญทางประวัติศาสตร์ ทั้งการค้าและวัฒนธรรมเมืองหนึ่งของประเทศญี่ปุ่น มีสมญาว่า ครัวของชาติ เพราะเป็นศูนย์กลางการค้าข้าวของญี่ปุ่นตั้งแต่สมัยเอะโดะ และปัจจุบันเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมเมืองหนึ่งในประเทศญี่ปุ่น.
โคเบะ
() เป็นเมืองเอกของจังหวัดเฮียวโงะ ประเทศญี่ปุ่น เป็นเมืองขนาดใหญ่อันดับที่ 5 และเป็นเมืองท่าที่สำคัญของญี่ปุ่น ตั้งอยู่ทางฝั่งใต้ของเกาะฮนชู ห่างจากเมืองโอซะกะไปทางตะวันตกประมาณ 30 กิโลเมตร มีประชากรประมาณ 1.5 ล้านคนและเป็นส่วนหนึ่งของมหานครเคฮันชิง โคเบะปรากฏในหลักฐานลายลักษณ์อักษรเป็นครั้งแรกในพงศาวดารนิฮงโชะกิที่กล่าวถึงการก่อตั้งศาลเจ้าอิกุตะโดยพระจักรพรรดิจิงกูเมื่อ..
เกาะชิโกกุ
กกุ เป็นเกาะที่เล็กที่สุดในบรรดาสี่เกาะหลักของญี่ปุ่น มีพื้นที่ 18,783 ตารางกิโลเมตร ถูกล้อมรอบ 3 ด้านด้วยเกาะฮนชูและเกาะคีวชู ตอนกลางของเกาะมีภูเขาสูงกว่าระดับน้ำทะเล 1,000-2,000 เมตร มีประชากรประมาณ 4.2 ล้านคนอาศัยอยู่กระจายตามที่ลุ่มชายฝั่งทะเล หากเทียบกับอีก 3 เกาะหลักของญี่ปุ่นแล้ว ชิโกกุมีความเงียบสงบและยังคงบรรยากาศแบบธรรมชาติไว้ได้ โดยที่ไม่ถูกกลืนโดยวัฒนธรรมสมัยใหม่ ชิโกกุถูกแบ่งออกเป็นตอนเหนือและตอนใต้โดยภูเขาสูงชัน ทางเหนือมีปริมาณน้ำฝนน้อยและมีเมืองอุตสาหกรรมอยู่ตลอดแนว ส่วนทางใต้ด้านมหาสมุทรแปซิฟิกนั้นจะเป็นป่ารก อากาศจะอบอุ่น ปริมาณน้ำฝนมีมาก อากาศบนเกาะจะอบอุ่นสบายในช่วงต้นฤดูใบไม้ผลิ และช่วงเริ่มฤดูใบไม้ร่วง นอกจากอุตสาหกรรมผลิตเหล็กและเคมีแล้ว การประมงกับการเกษตรกรรมแบบเร่งผลผลิตทำกันอย่างแพร่หลาย บนที่ราบของเมืองโคจิชายฝั่งทะเลแปซิฟิก มีการมีการทำไร่ผลไม้ และการปลูกผักในเรือนกระจก เกาะชิโกกุถูกเชื่อมต่อกับเกาะฮนชูด้วยสะพานเซโตโอฮาชิ ซึ่งเป็นสะพานหกสาย ใช้เกาะเล็ก ๆ 5 แห่งเป็นจุดเชื่อมต่อ ด้วยความยาวถึง 12.3 กิโลเมตร ทำให้สะพานแห่งนี้ เป็นหนึ่งในสะพานสองชั้นที่มีความยาวมากกว่าสะพานแห่งอื่น ๆ ในโลกเก.
เกาะฮนชู
นชู (สำเนียงญี่ปุ่นอ่านว่า) เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดของประเทศญี่ปุ่น คิดเป็นพื้นที่กว่าร้อยละ 60 ของประเทศญี่ปุ่น มีพื้นที่ 227,962.59 ตารางกิโลเมตร ใหญ่กว่าเกาะอังกฤษเล็กน้อย มีความยาวประมาณ 1,300 กิโลเมตร ความกว้างตั้งแต่ 50-250 กิโลเมตร มีชายฝั่งติดทะเลยาวกว่า 5,450 กิโลเมตรรอบเกาะGeography of the World.
เกาะคีวชู
ีวชู เป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของประเทศญี่ปุ่น และตั้งอยู่ในภาคตะวันตกเฉียงใต้ของหมู่เกาะญี่ปุ่น มีเนื้อที่ 35,640 ตารางกิโลเมตร และมีประชากร 14,779,000 คน (ปี 2003) ชื่อคีวชูหมายถึง เก้าแคว้น.
ดูเพิ่มเติม
ทะเลในประเทศญี่ปุ่น
ทะเลในมหาสมุทรแปซิฟิก
หรือที่รู้จักกันในชื่อ Seto Inland Seaทะเลเซะโตะทะเลเซะโตะในทะเลเซโตะ