โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ปรากฏการณ์ขี้ปลาวาฬ

ดัชนี ปรากฏการณ์ขี้ปลาวาฬ

ลาฮอยา เมืองแซนดีเอโก รัฐแคลิฟอร์เนีย ปรากฏการณ์ขี้ปลาวาฬ (red tide) คือชื่อสามัญของปรากฏการณ์สาหร่ายสะพรั่ง (algal bloom) หรือ การรวมตัวขนาดใหญ่ของจุลชีพในทะเล เกิดขึ้นจากไดโนแฟลกเจลเลตไม่กี่ชนิด ที่มีการสะพรั่งสีแดงหรือน้ำตาล ปรากฏการณ์ขี้ปลาวาฬ คือ เหตุการณ์ซึ่งสาหร่ายที่อาศัยอยู่ในน้ำกร่อย น้ำเค็ม หรือ น้ำจืด มีการสะสมอย่างรวดเร็วในห้วงน้ำ ส่งผลให้เกิดสีบนผิวน้ำ ปกติแล้วจะพบได้ตามชายหาด ในทุก ๆ ปีปรากฏการณ์นี้ยังฆ่าแมนนาทีจำนวนมาก สาหร่ายเหล่านี้ ซึ่งมีอีกชื่อนึงว่าแพลงก์ตอนพืช ซึ่งเป็นโพรทิสต์เซลล์เดียว เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะคล้ายพืช และสามารถก่อให้เกิดรอยแต้มขุ่นที่สามารถสังเกตได้ใกล้ผิวน้ำ ในขณะเดียวกันนั้น แพลงก์ตอนพืชบางชนิด เช่น ไดโนแฟลกเจลเลต ยังมีรงควัตถุสังเคราะห์แสง ซึ่งมีสีที่หลากหลายตั้งแต่สีเขียว ไปจนถึงสีเขียวและสีแดง เมื่อสาหร่ายมีจำนวนหนาแน่น จะส่งผลให้น้ำเปลี่ยนสีหรือขุ่นมัว โดยปกติแล้วจะเป็นสีแดงหรือสีเขียว โดยบางทีอาจจะเป็นสีม่วงหรือสีชมพูก็ได้ สาหร่ายสะพรั่งที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนสีของน้ำนั้นจะเกิดขึ้นเมื่อมีความหนาแน่นสูงเพียงพอเท่านั้น และไม่จำเป็นจะต้องเป็นสีแดงเสมอไป ในบางครั้ง ปรากฏการณ์ขี้ปลาวาฬอาจเกี่ยวข้องกับผลผลิตของชีวพิษ การขาดแคลนของออกซิเจนละลาย หรือผลกระทบเชิงลบอื่น ๆ ซึ่งทั้งหมดนี้โดยปกติแล้วจะเรียกว่า สาหร่ายสะพรั่งที่มีความอันตราย ผลกระทบที่เห็นได้ชัดที่สุดจากปรากฏการณ์นี้เกี่ยวข้องกับอัตราการตายของสิ่งมีชีวิตหลาย ๆ อย่างที่อาศัยอยู่ในทะเลรวมไปถึงแนวชายหาด เช่น ปลา นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทางทะเล และสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น.

15 ความสัมพันธ์: ฟอสเฟตพะยูนแมนนาทีมลพิษทางน้ำมหาสมุทรแปซิฟิกรัฐแคลิฟอร์เนียรงควัตถุสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมทางทะเลออกซิเจนทะเลทรายสะฮาราแพลงก์ตอนพืชแซนดีเอโกโพรทิสต์ไดโนแฟลกเจลเลตไนเตรตเอลนีโญ

ฟอสเฟต

ฟอสเฟต (phosphate) คือ หินชนิดหนึ่ง แร่ที่สำคัญของฟอสเฟต คือ อะพาไทต์ เกิดจากการสะสมตัวจากฟอสเฟต ส่วนใหญ่มักจะใช้ในอุตสาหกรรมปุ๋ยเคมี ไฟล์:3-phosphoric-acid-3D-balls.png| ไฟล์:2-dihydrogenphosphate-3D-balls.png| ไฟล์:1-hydrogenphosphate-3D-balls.png| ไฟล์:0-phosphate-3D-balls.png|.

ใหม่!!: ปรากฏการณ์ขี้ปลาวาฬและฟอสเฟต · ดูเพิ่มเติม »

พะยูนแมนนาที

ูนแมนนาที บางทีเรียก พะยูนหางกลม หรือ วัวทะเล (Manatee, Sea cow) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอาศัยในน้ำขนาดใหญ่สกุลหนึ่ง สัตว์ในวงศ์ Trichechidae ต่างจากสัตว์ในวงศ์ Dugongidae หรือพะยูนตรงรูปร่างของกะโหลกศีรษะและรูปร่างของหาง โดยหางของพะยูนแมนนาทีจะมีรูปร่างแบนกลมคล้ายใบพาย ส่วนหางของพะยูนจะแยกออกเป็นส้อมคล้ายหางโลมา แมนนาทีเป็นสัตว์กินพืชซึ่งใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการหาอาหารกินในเขตน้ำตื้น รวมถึงอาจเข้าไปหากินในแหล่งน้ำจืดที่ไกลจากทะเล 300 กิโลเมตรได้ด้วย โดยคำว่า "แมนนาที" (manatí) มาจากภาษาตีโน ซึ่งเป็นชนเผ่าพื้นเมืองในแถบแคริบเบียน หมายถึง "เต้านม" เขตอาศัยของพะยูนแมนนาทีได้แก่ พื้นที่หนองน้ำตื้นแถบชายฝั่งของอเมริกาเหนือ อเมริกากลาง อเมริกาใต้ และทะเลแคริบเบียน พะยูนแมนนาทีชนิด Trichechus senegalensis (พะยูนแมนนาทีแอฟริกาตะวันตก หรือ พะยูนแมนนาทีเซเนกัล) อยู่อาศัยแถบชายฝั่งตะวันตกของทวีปแอฟริกา ส่วนชนิด T. inunguis (พะยูนแมนนาทีแอมะซอน) อยู่อาศัยแถบชายฝั่งตะวันออกของทวีปอเมริกาใต้ ส่วนอีกชนิดหนึ่งได้แก่ T. manatus (พะยูนแมนนาทีอินเดียตะวันตก หรือ พะยูนแมนนาทีแคริบเบียน) อยู่อาศัยแถบหมู่เกาะอินเดียตะวันตกในทะเลแคริบเบียน สำหรับแมนนาทีฟลอริดานั้น นักสัตวศาสตร์บางส่วนถือว่าได้สูญพันธุ์ไปแล้ว อย่างไรก็ตาม ระบบไอทีไอเอสจัดให้พะยูนแมนนาทีฟลอริดาเป็นชนิดย่อยของ T. manatus และปัจจุบันถือเป็นที่ยอมรับทั่วไปพะยูน แมนนาทีฟลอริดามีลำตัวยาว 4.5 เมตรหรือมากกว่านั้น และอยู่ได้ทั้งในน้ำจืดและน้ำเค็ม ในอดีตพะยูนแมนนาทีฟลอริดาเคยถูกล่าเพื่อเอาน้ำมันและหนัง แต่ปัจจุบันสัตว์ชนิดนี้ได้รับความคุ้มครองจากกฎหมายให้พ้นจากการถูกล่า พะยูนแมนนาที พะยูนแมนนาทีอินเดียตะวันตกเป็นหนึ่งในกลุ่มสัตว์ชนิดที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ แม้มันจะไม่มีผู้ล่าตามธรรมชาติ แต่การขยายดินแดนของมนุษย์ทำให้ที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติแถบบึงน้ำตื้นชายฝั่งของมันลดลง พะยูนแมนนาทีจำนวนมากยังได้รับบาดเจ็บจากการถูกใบพัดเรือบาด อีกทั้งพะยูนแมนนาทียังมักกินอุปกรณ์ตกปลาที่มนุษย์ทิ้งไว้ เช่นเบ็ดหรือตุ้มถ่วงเข้าไปบ่อย ๆ วัตถุแปลกปลอมเหล่านี้โดยมากจะไม่ทำอันตรายแก่พะยูนแมนนาที ยกเว้นแต่สายเบ็ดหรือเอ็นตกปลา ซึ่งจะเข้าไปอุดตันระบบย่อยอาหารของพะยูนแมนนาที และทำให้มันค่อย ๆ ตายอย่างช้า ๆ พะยูนแมนนาทีมักมารวมกันอยู่ใกล้โรงไฟฟ้าซึ่งน้ำในแถบนั้นจะมีอุณหภูมิสูงกว่าที่อื่น จนกระทั่งกลายเป็นการพึงพิงแหล่งน้ำอุ่นที่มนุษย์สร้างขึ้นนี้ไปในที่สุด โดยไม่ยอมอพยพไปยังแหล่งที่น้ำอุ่นกว่าเนื่องจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้าจะให้ความร้อนตลอดทั้งปี ไม่นานมานี้ โรงไฟฟ้าหลายแห่งได้ปิดตัวลง กรมคุ้มครองสัตว์น้ำและสัตว์ป่าของสหรัฐอเมริกาซึ่งทราบถึงการพึ่งพิงแหล่งน้ำอุ่นของพะยูนแมนนาที จึงได้พยายามหาหนทางที่จะเพิ่มอุณหภูมิของน้ำเพื่อช่วยพะยูนแมนนาที.

ใหม่!!: ปรากฏการณ์ขี้ปลาวาฬและพะยูนแมนนาที · ดูเพิ่มเติม »

มลพิษทางน้ำ

องเสียที่ปล่อยจากโรรงาน ก่อให้เกิดมลพิษทางน้ำ มลพิษทางน้ำ (water pollution) เป็นปัญหาทางน้ำมีสาเหตุสำคัญมาจากการน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นน้ำเสียจากขั้นตอนและกระบวนการผลิต การล้าง ขบวนการ หล่อเย็น เป็นต้น แม้ว่าจะมีกฎหมายบังคับให้โรงงานอุตสาหกรรมต้องบำบัดน้ำทิ้งเหล่านี้ก่อนปล่อยออกสู่แหล่งน้ำธรรมชาติก็ แต่ในทางปฏิบัติรัฐบาลไม่สามารถควบคุมได้อย่างทั่วถึง ทำการบ้านอะไรเอาจากเว็บนี้หมด เว็บนี้เชื่อใจไม่ได้การก่อสร้างอาคารบ้านเรือนและชุมชน โดยเฉพาะในชุมชนเขตเมืองเช่น กรุงเทพมหานคร ที่มีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่นทุกครัวเรือนปล่อยน้ำทิ้งสู่แหล่งน้ำธรรมชาติโดยตรง มิได้ผ่านขบวนการกำจัดใดๆ นอกจากนี้ ยังมีการทิ้งขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลต่างๆ ลงสู่แม่น้ำลำคลองอันเป็นการเพิ่มความสกปรกให้กับแหล่งน้ำต่างๆ อีกด้วย รวมทั้งการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ ในกระบวนการเพาะปลูกมักมีการใช้ปุ๋ยและสารเคมีป้องกัน กำจัดศัตรูพืชและสัตว์ซึ่งเกษตรกรส่วนใหญ่ใช้อย่างขาดความระมัดระวัง ทำให้สารเคมีแพร่กระจายสู่แหล่งน้ำซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ในระหว่างการฉีดพ่นสาร การชะล้างโดยฝน การล้างภาชนะที่บรรจุหรืออุปกรณ์การฉีดพ่นในแหล่งน้ำ.

ใหม่!!: ปรากฏการณ์ขี้ปลาวาฬและมลพิษทางน้ำ · ดูเพิ่มเติม »

มหาสมุทรแปซิฟิก

มหาสมุทรแปซิฟิก (Pacific Ocean) ตั้งชื่อโดย เฟอร์ดินานด์ มาเจลลัน ว่า Mare Pacificum เป็นภาษาละติน แปลว่า peaceful sea ภาษาฝรั่งเศส pacifique (ปาซีฟีก) หมายถึง "สงบสุข" เป็นผืนน้ำที่กว้างใหญ่ที่สุดในโลก มีพื้นน้ำประมาณ 165,000,000 ตารางกิโลเมตร หรือ 1 ใน 3 ของพื้นที่ผิวทั้งหมดของโลก ความยาวในแนวลองจิจูดมีระยะทางประมาณ 15,500 กิโลเมตร จากทะเลเบริงในเขตอาร์กติกที่อยู่ทางเหนือจรดริมฝั่งทะเลรอสส์ในแอนตาร์กติกาที่อยู่ทางใต้ มหาสมุทรแปซิฟิกมีด้านที่กว้างที่สุดตามแนวตะวันออก-ตะวันตก อยู่ ณ บริเวณละติจูด 5 องศาเหนือ ด้วยความยาวประมาณ 19,800 กิโลเมตร จากอินโดนีเซียถึงชายฝั่งโคลอมเบีย สุดเขตด้านตะวันตก คือ ช่องแคบมะละกา จุดที่ลึกที่สุดในโลก คือ ร่องลึกมาเรียนา (Mariana Trench) อยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก จุดที่ลึกที่สุดวัดได้ 10,911 เมตร มหาสมุทรแปซิฟิก ความเค็มประมาณ 33-37 ส่วนต่อพันส่วน กระแสน้ำที่สำคัญของมหาสมุทรแปซิฟิก คือ กระแสน้ำเย็นฮัมโบลต์ (เปรู) กระแสน้ำอุ่นศูนย์สูตร กระแสน้ำเย็นแคลิฟอร์เนีย กระแสน้ำอุ่นอะแลสกา และกระแสน้ำอุ่นคุโระชิโอะ (กุโรชิโว) มหาสมุทรแปซิฟิกมีเกาะอยู่ประมาณ 25,000 เกาะ (มากกว่าเกาะในมหาสมุทรอื่น ๆ ที่เหลือรวมกัน) ส่วนใหญ่อยู่ใต้เส้นศูนย์สูตร ริมมหาสมุทรประกอบด้วยทะเลจำนวนมาก ที่สำคัญ คือ ทะเลเซเลบีส ทะเลคอรัล ทะเลจีนตะวันออก ทะเลญี่ปุ่น ทะเลจีนใต้ ทะเลซูลู ทะเลแทสมัน และทะเลเหลือง ทางด้านตะวันตก ช่องแคบมะละกาเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับมหาสมุทรอินเดีย ส่วนทางด้านตะวันออก ช่องแคบมาเจลลันเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับ มหาสมุทรแอตแลนติก.

ใหม่!!: ปรากฏการณ์ขี้ปลาวาฬและมหาสมุทรแปซิฟิก · ดูเพิ่มเติม »

รัฐแคลิฟอร์เนีย

รัฐแคลิฟอร์เนีย (California,, แคลึฟอรฺนยะ) เป็นรัฐที่มีประชากรมากที่สุดในสหรัฐอเมริกาและมีพื้นที่ใหญ่สุดเป็นอันดับสาม ตั้งอยู่บนชายฝั่งตะวันตก (ติดมหาสมุทรแปซิฟิก) ของสหรัฐอเมริกา มีชายแดนติดกับรัฐแอริโซนา รัฐเนวาดาและรัฐออริกอน และมีชายแดนระหว่างประเทศติดต่อกับรัฐบาฮากาลิฟอร์เนียของประเทศเม็กซิโก เมืองหลวงรัฐ คือ แซคราเมนโต ลอสแอนเจลิสเป็นนครที่มีประชากรมากที่สุดของรัฐแคลิฟอร์เนีย และเป็นนครใหญ่สุดอันดับสองของประเทศรองจากนครนิวยอร์ก รัฐแคลิฟอร์เนียยังมีเคาน์ตีที่มีประชากรที่สุดของประเทศ คือ ลอสแอนเจลิสเคาน์ตี และมีพื้นที่มากที่สุด คือ แซนเบอร์นาร์ดีโนเคาน์ตี ภูมิศาสตร์หลากหลายของรัฐแคลิฟอร์เนียมีตั้งแต่ชายฝั่งแปซิฟิกทางทิศตะวันตกถึงเทือกเขาเซียร์ราเนวาดาทางทิศตะวันออก และตั้งแต่ป่าเรดวูด–สนดักลาสทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือจนถึงทะเลทรายโมฮาวีทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ เซ็นทรัลแวลลี พื้นที่เกษตรกรรมหลัก กินพื้นที่ตอนกลางส่วนใหญ่ของรัฐ แม้รัฐแคลิฟอร์เนียจะขึ้นชื่อด้านภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียนอบอุ่น แต่ขนาดที่ใหญ่หมายความว่าภูมิอากาศมีหลากหลายตั้งแต่ป่าฝนเขตอบอุ่นชื้นทางทิศเหนือ ถึงทะเลทรายแห้งแล้งด้านใน ตลอดจนแบบแอลป์หิมะในเขตภูเขา ทีแรกพื้นที่รัฐแคลิฟอร์เนียปัจจุบันมีชนเผ่าอเมริกันพื้นเมืองตั้งถิ่นฐานอยู่ก่อนมีการสำรวจของชาวยุโรปจำนวนหนึ่งระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 16 และ 17 ต่อมาจักรวรรดิสเปนอ้างสิทธิ์เป็นส่วนหนึ่งของอัลตาแคลิฟอร์เนียในอาณานิคมนิวสเปน พื้นที่ดังกล่าวกลายเป็นส่วนหนึ่งของเม็กซิโกใน..

ใหม่!!: ปรากฏการณ์ขี้ปลาวาฬและรัฐแคลิฟอร์เนีย · ดูเพิ่มเติม »

รงควัตถุ

ีฟ้านี้เป็นรงควัตถุธรรมชาติในรูปของผง สีฟ้านี้เป็นรงควัตถุที่สังเคราะห์ขึ้นมา รงควัตถุ คือสารที่ดูดกลืนแสงที่มีความยาวคลื่นแตกต่างกันไปแล้วแต่ชนิด แต่สามารถเปลี่ยนเป็นพลังงานเพื่อนำไปใช้ได้เหมือนกัน โดยการสังเคราะห์แสงแบ่งเป็น 2 ระบบตามความยาวคลื่นของพลังงาน 1.Photosyntem I (PS I): มีความยาวคลื่น 700 nm มีรงควัตถุเพียงตัวเดียว คือ Chlorophyll A มีสีเขียวเข้มหรือสีเขียวแกมน้ำเงิน พบในพืชชั้นสูงทุกชนิดที่สังเคราะห์แสงได้ และในยูกลีนา แบคทีเรียบางชนิด 2.Photosystem II (PS II): ความยาวคลื่นพลังงานที่ใช้กระตุ้น 680 nm หมวดหมู่:อุปกรณ์และวัสดุสำหรับเขียนงานจิตรกรรม หมวดหมู่:สี.

ใหม่!!: ปรากฏการณ์ขี้ปลาวาฬและรงควัตถุ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมทางทะเล

ัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมทางทะเล (Marine mammals) คือ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมที่อาศัยอยู่ในทะเลหรืออาศัยอยู่ใกล้ทะเล โดยสัตว์ในกลุ่มนี้มีจำนวนทั้งสิ้น 129 ชนิด (Species) ตัวอย่างของสัตว์ในกลุ่มนี้ ได้แก่ แมวน้ำ วาฬ โลมา วอลรัส หมีขั้วโลก ฯลฯPompa, S., Ehrlich, P. R. & Ceballos, G. (2011) "Global distribution and conservation of marine mammals".

ใหม่!!: ปรากฏการณ์ขี้ปลาวาฬและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมทางทะเล · ดูเพิ่มเติม »

ออกซิเจน

ออกซิเจน (Oxygen) เป็นธาตุในตารางธาตุที่มีสัญลักษณ์ O และเลขอะตอม 8 ธาตุนี้พบมาก ทั้งบนโลกและทั่วทั้งจักรวาล โมเลกุลออกซิเจน (O2 หรือที่มักเรียกว่า free oxygen) บนโลกมีความไม่เสถียรทางเทอร์โมไดนามิกส์จึงเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันกับธาตุอื่น ๆ ได้ง่าย ออกซิเจนเกิดขึ้นครั้งแรกในโลกจากการสังเคราะห์ด้วยแสงของแบคทีเรียและพื.

ใหม่!!: ปรากฏการณ์ขี้ปลาวาฬและออกซิเจน · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลทรายสะฮารา

ทะเลทรายสะฮารา หรือ ซาฮารา หรือ สาฮารา (Sahara) เป็นทะเลทรายขนาดใหญ่ที่สุดของโลก และเป็นบริเวณแห้งแล้งใหญ่สุดเป็นอันดับสามรองจากทวีปแอนตาร์กติกาและอาร์กติก มีเนื้อที่มากกว่า 9,000,000 ตารางกิโลเมตร หรือ 3,500,000 ตารางไมล์ คำว่า สะฮารา ในภาษาอาหรับ (صحراء) หมายถึง ทะเลทราย อาณาเขตของทะเลทรายสะฮารา ด้านทิศตะวันตกจรดมหาสมุทรแอตแลนติก ทิศเหนือคือเทือกเขาแอตลาสและทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทิศตะวันออกจรดทะเลแดงและประเทศอียิปต์ ทิศใต้จรดประเทศซูดานและหุบเขาของแม่น้ำไนเจอร์ วิดีโอที่ถ่ายในมุมมองจากอวกาศ ของ ทะเลทรายสะฮารา และ แถวตะวันออกกลาง โดยสมาชิกนักบินอวกาศในการสำรวจที่ 29.

ใหม่!!: ปรากฏการณ์ขี้ปลาวาฬและทะเลทรายสะฮารา · ดูเพิ่มเติม »

แพลงก์ตอนพืช

แพลงก์ตอนพืชชนิดและรูปร่างต่าง ๆ ส่วนใหญ่มีขนาดเล็กไม่ถึงมิลลิเมตร ไดอะตอม สิ่งมีชีวิตหลักกลุ่มหนึ่งในแพลงก์ตอนพืช แพลงก์ตอนพืช หรือ ไฟโทแพลงก์ตอน (Phytoplankton) มีรากศัพท์จากภาษากรีกว่า φυτόν (ฟิตอน) หมายถึง "พืช" และ πλαγκτός (พลังค์ตอส) หมายถึง "ผู้เดินทาง" หรือ "ผู้เร่ร่อน" คือแพลงก์ตอนที่สามารถสังเคราะห์แสงและสร้างอาหารเองได้ สิ่งมีชีวิตกลุ่มหลักของแพลงก์ตอนพืชประกอบด้วย ไดอะตอม สาหร่ายสีเขียว สาหร่ายสีทอง ไดโนแฟลกเจลเลต และไซยาโนแบคทีเรีย (สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน) ถือเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความสำคัญอย่างมากต่อระบบนิเวศ เนื่องจากเป็นผู้ผลิตปฐมภูมิของห่วงโซ่และสายใยอาหาร พบได้ทั้งในระบบนิเวศน้ำจืด ระบบนิเวศน้ำเค็ม ตลอดจนในระบบนิเวศน้ำกร่อย แพลงก์ตอนพืชส่วนใหญ่จะเป็นสิ่งมีชีวิตจำพวกสาหร่าย ทั้งที่เป็นโพรแคริโอตและยูแคริโอต โดยในแหล่งน้ำจืดจะพบสาหร่ายสีเขียว โดยเฉพาะในอันดับเดสมิด เป็นกลุ่มหลัก ส่วนในแหล่งน้ำเค็มอย่างทะเลและทะเลสาบ พบว่าแพลงก์ตอนพืชกลุ่มหลักคือกลุ่มไดอะตอมและไดโนแฟลกเจลเลต ในทางชีววิทยา แพลงก์ตอนพืชบางสปีชี่ส์จัดอยู่ในอาณาจักรพืช เช่น สาหร่ายสีเขียว บางชนิดอยู่ในอาณาจักรโพรทิสตา เช่น ไดอะตอม สาหร่ายสีทอง บางชนิดอยู่ในกลุ่มเฮเทอโรคอนท์ ซึ่งไม่ได้จัดอันดับไว้ (จำพวกไดโนแฟลกเจลเลต) และบางชนิดถูกจัดอยู่ในอาณาจักรยูแบคทีเรีย เช่น ไซยาโนแบคทีเรีย แพลงก์ตอนพืชยังเป็นอาหารของแพลงก์ตอนสัตว์และสัตว์หลายชนิดที่อาศัยอยู่ตามพื้นน้ำหรือท้องทะเล สัตว์บางชนิดมีอวัยวะคล้ายตาข่ายเพื่อดักจับแพลงก์ตอนพืชโดยเฉพาะ เช่น กุ้งเคย ห่วงโซ่อาหารหนึ่งที่เป็นที่รู้จักกันมากที่สุดคือ แพลงก์ตอนพืช → กุ้งเคย → วาฬ มนุษย์นำแพลงก์ตอนพืชมาใช้ประโยชน์ในหลายทาง แพลงก์ตอนบางชนิดมีคุณค่าทางอาหารสูง จึงถูกนำไปใช้เป็นอาหารเสริมหรือเป็นส่วนประกอบของอาหารเสริม บางชนิดถูกนำไปใช้เป็นอาหารให้แก่สัตว์น้ำวัยอ่อนที่ต้องการเพาะพันธุ์ แพลงก์ตอนพืชที่มีปริมาณมากและเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในแหล่งน้ำใด ๆ อาจเป็นสาเหตุให้เกิดปรากฏการณ์ขี้ปลาวาฬ ทำให้น้ำเปลี่ยนสีเป็นสีเขียว แดง น้ำตาล หรือเหลือง ขึ้นอยู่กับชนิดของแพลงก์ตอนพืช เช่น ไดโนแฟลกเจลเลตอย่าง Noctiluca scintillans ทำให้น้ำเป็นสีเขียว Ceratium furca ทำให้น้ำเป็นสีน้ำตาล เป็นต้น แพลงก์ตอนพืชปริมาณมากอาจเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้น เนื่องจากทำให้น้ำขาดออกซิเจนหรือลดลงอย่างมาก หรือทำให้เกิดภาวะสะสมของสารพิษที่มาจากตัวแพลงก์ตอน แพลงก์ตอนพืชมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการผลิตออกซิเจน นักชีววิทยาคาดการณ์ว่าปริมาณออกซิเจนถึงร้อยละ 50–80 ในชั้นบรรยากาศโลกผลิตขึ้นจากแพลงก์ตอนพืช ปัจจุบันแพลงก์ตอนพืชมีจำนวนลดลงอย่างมาก ซึ่งปัจจัยสำคัญคือน้ำทะเลมีอุณหภูมิสูงขึ้น ตั้งแต..

ใหม่!!: ปรากฏการณ์ขี้ปลาวาฬและแพลงก์ตอนพืช · ดูเพิ่มเติม »

แซนดีเอโก

แซนดีเอโก (San Diego) เป็นเมืองใหญ่ที่ตั้งอยู่ที่บริเวณชายฝั่งแปซิฟิก ตอนใต้ของรัฐแคลิฟอร์เนีย ติดกับเส้นเขตแดนระหว่างสหรัฐอเมริกากับเม็กซิโก และห่างจากลอสแอนเจลิสไปทางใต้ประมาณ 190 กิโลเมตร แซนดีเอโกเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองของรัฐแคลิฟอร์เนีย และอันดับที่ 8 ในสหรัฐอเมริกา มีประชากรโดยประมาณ 1,394,928 คนในปี 2015 เมืองชายฝั่งนี้ตั้งอยู่ในซานดิเอโกเคาน์ตี ซึ่งอยู่ใกล้กับจุดศูนย์กลางทางเศรษฐกิจอย่างเมืองลาฮอยอา (La Jolla) และ คาร์ลสแบด (Carlsbad) จากการสำรวจของฟอร์บ เมืองซานดิเอโกนี้ก็อยู่อันดับ 5 ในเมืองที่รวยที่สุดในสหรัฐ อุตสาหกรรมหลักของซานดิเอโกคือ สิ่งทำมือ, การทหาร และการท่องเที่ยว.

ใหม่!!: ปรากฏการณ์ขี้ปลาวาฬและแซนดีเอโก · ดูเพิ่มเติม »

โพรทิสต์

รทิสต์ (protist มาจากคำในภาษากรีกว่า protiston แปลว่า สิ่งแรกสุด) หมายถึงจุลชีพยูแคริโอตหลากหลายกลุ่มใหญ่กลุ่มหนึ่ง ในอดีตกลุ่มโพรทิสต์มีสถานะเป็นอาณาจักร โพรทิสตา (Protista) ซึ่งรวมสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวที่ไม่สามารถจัดประเภทลงอาณาจักรอื่นได้เลย ซึ่งต่อมาก็ถูกคัดค้านในอนุกรมวิธานสมัยใหม่ มันอาจพิจารณาได้ว่าเป็นการรวมกลุ่มอย่างหลวม ๆ ของสิ่งมีชีวิต 30-40 ไฟลัมที่ผสมผสานกันต่าง ๆ นานาในเรื่องภาวะโภชนาการ กลไกของการเคลื่อนไหวเอง ผนังที่ห่อหุ้มเซลล์ และวงจรชีวิต คำศัพท์ โพรทิสตา ถูกใช้เป็นครั้งแรกโดย แอร์นสท์ เฮคเคิล (Ernst Haeckel) เมื่อ..

ใหม่!!: ปรากฏการณ์ขี้ปลาวาฬและโพรทิสต์ · ดูเพิ่มเติม »

ไดโนแฟลกเจลเลต

นแฟลกเจลเลต (Dinoflagellate) เป็น สาหร่ายเซลล์เดียวชนิดหนึ่ง ผนังเซลล์เป็นเซลลูโลส สังเคราะห์ด้วยแสงได้ มีคลอโรฟิลล์เอและซี มักมีสีเหลือง-เขียว น้ำตาลหรือแดง เป็นแพลงก์ตอนพืชในน้ำจืดและในทะเล ไดโนแฟลกเจลเลตสีแดงเช่น Gonyaulax เมื่อมีการเจริญมากขึ้นทำให้น้ำเป็นสีน้ำตาลหรือสีแดงเรียกว่า Red tides ซึ่งจะผลิตสารพิษที่เป็นพิษต่อระบบประสาท ทำให้ปลาตายเป็นจำนวนมาก มนุษย์ที่กินปลาเหล่านี้มีโอกาสได้รับสารพิษเช่นเดียวกัน.

ใหม่!!: ปรากฏการณ์ขี้ปลาวาฬและไดโนแฟลกเจลเลต · ดูเพิ่มเติม »

ไนเตรต

นเตรต ในทางอนินทรีย์เคมีเป็นเกลือของกรดไนตริก ไนเตรตไอออน เป็น พอลิอะตอมิกไอออน (polyatomic ion) ซึ่งมีสูตรเอมไพริกัล ดังนี้ NO3− และมีน้ำหนักโมเลกุลเท่ากับ 62.01 ดัลตัน (daltons) มันเป็นด่างร่วม (conjugate) ของกรดไนตริก ไนเตรตไอออนมีโครงสร้างเป็นสามเหลี่ยมแบนราบ (trigonal planar-โดยแต่ละออร์บิทัลทำมุมกัน 120 องศา) และสามารถแทนด้วยลูกผสม (hybrid) ดังรูปข้างล่างนี้ 300px เกลือไนเตรตเกิดเมื่อไอออนประจุไฟฟ้าบวกเข้าเชื่อมต่อกับอะตอมของออกซิเจน ประจุไฟฟ้าลบตัวหนึ่งของไนเตรตไอออน.

ใหม่!!: ปรากฏการณ์ขี้ปลาวาฬและไนเตรต · ดูเพิ่มเติม »

เอลนีโญ

อลนีโญ (El Niño) เป็นรูปแบบสภาพอากาศที่เกิดขึ้นตลอดมหาสมุทรแปซิฟิกเขตร้อน โดยเกิดขึ้นเฉลี่ยทุกห้าปี ลักษณะของเอลนีโญ คือ เกิดการเปลี่ยนแปลงในอุณหภูมิผิวน้ำทะเลของมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออก โดยอุ่นขึ้นหรือเย็นลงผิดปกติ ซึ่งเรียกว่า เอลนีโญและลานีญาตามลำดับ และความดันบรรยากาศบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันตกเขตร้อน ซึ่งเรียกว่า ความผันแปรของระบบอากาศในซีกโลกใต้ การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเกิดขึ้นได้สองกรณี: เอลนีโญ ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่อุณหภูมิมหาสมุทรอุ่นขึ้นผิดปกติ ประกอบกับความดันบรรยากาศสูงบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันตก ส่วนลานีญา เป็นปรากฏการณ์ที่อุณหภูมิมหาสมุทรเย็นลงผิดปกติ ประกอบกับความดันบรรยากาศต่ำบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันตก กลไกที่ทำให้เกิดความผันแปรดังกล่าวยังคงอยู่ในระหว่างการศึกษาวิจัย เอนโซก่อให้เกิดสภาพอากาศเลวร้าย อย่างเช่น อุทกภัย ภัยแล้ง หรือการรบกวนสภาพอากาศในหลายภูมิภาคของโลก ประเทศกำลังพัฒนาซึ่งมีเศรษฐกิจเน้นเกษตรกรรมและการประมง โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่อยู่ในบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก ได้รับผลกระทบมากที่สุด ส่วนใหญ่แล้ว ปรากฏการณ์เอลนีโญ-ความผันแปรของระบบอากาศในซีกโลกใต้ มักถูกเรียกย่อเหลือเพียง "เอลนีโญ" ซึ่งเป็นคำในภาษาสเปน ซึ่งแปลว่า "เด็กชาย" และหมายความถึงบุตรพระคริสต์ เนื่องจากมีการสังเกตว่าความอุ่นขึ้นผิดปกตินี้มักเกิดขึ้นในช่วงเทศกาลคริสต์มาส ลักษณะที่เกิดจากเอนโซเป็นไปได้ว่าก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วอันเป็นผลกระทบของปรากฏการณ์โลกร้อน และเป็นเป้าหมายสำหรับการวิจัยในการนี้.

ใหม่!!: ปรากฏการณ์ขี้ปลาวาฬและเอลนีโญ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Red tide

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »