โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ทะเลโอค็อตสค์

ดัชนี ทะเลโอค็อตสค์

แผนที่ของทะเลโอคอตสค์ ทะเลโอคอตสค์ (Охотское море; Sea of Okhotsk) เป็นส่วนหนึ่งหนึ่งของมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก อยู่ระหว่างคาบสมุทรคัมชัตคาที่อยู่ทางตะวันออก, หมู่เกาะคูริลทางตะวันออกเฉียงใต้, เกาะฮกไกโดทางใต้, เกาะซาฮาลินทางตะวันตก รวมไปถึงแนวยาวของชายฝั่งไซบีเรียตะวันออก (รวมถึงเกาะชานตาร์) ตั้งอยู่ทางตะวันตกและเหนือ ส่วนมุมตะวันออกเฉียงเหนือคืออ่าวเชลีคอฟ ชื่อตั้งตามโอคอตสค์ เมืองรัสเซียแห่งแรกที่ตะวันออกไกล อโอคอตสค์.

5 ความสัมพันธ์: มหาสมุทรแปซิฟิกจังหวัดฮกไกโดคาบสมุทรคัมชัตคาตะวันออกไกลเกาะซาฮาลิน

มหาสมุทรแปซิฟิก

มหาสมุทรแปซิฟิก (Pacific Ocean) ตั้งชื่อโดย เฟอร์ดินานด์ มาเจลลัน ว่า Mare Pacificum เป็นภาษาละติน แปลว่า peaceful sea ภาษาฝรั่งเศส pacifique (ปาซีฟีก) หมายถึง "สงบสุข" เป็นผืนน้ำที่กว้างใหญ่ที่สุดในโลก มีพื้นน้ำประมาณ 165,000,000 ตารางกิโลเมตร หรือ 1 ใน 3 ของพื้นที่ผิวทั้งหมดของโลก ความยาวในแนวลองจิจูดมีระยะทางประมาณ 15,500 กิโลเมตร จากทะเลเบริงในเขตอาร์กติกที่อยู่ทางเหนือจรดริมฝั่งทะเลรอสส์ในแอนตาร์กติกาที่อยู่ทางใต้ มหาสมุทรแปซิฟิกมีด้านที่กว้างที่สุดตามแนวตะวันออก-ตะวันตก อยู่ ณ บริเวณละติจูด 5 องศาเหนือ ด้วยความยาวประมาณ 19,800 กิโลเมตร จากอินโดนีเซียถึงชายฝั่งโคลอมเบีย สุดเขตด้านตะวันตก คือ ช่องแคบมะละกา จุดที่ลึกที่สุดในโลก คือ ร่องลึกมาเรียนา (Mariana Trench) อยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก จุดที่ลึกที่สุดวัดได้ 10,911 เมตร มหาสมุทรแปซิฟิก ความเค็มประมาณ 33-37 ส่วนต่อพันส่วน กระแสน้ำที่สำคัญของมหาสมุทรแปซิฟิก คือ กระแสน้ำเย็นฮัมโบลต์ (เปรู) กระแสน้ำอุ่นศูนย์สูตร กระแสน้ำเย็นแคลิฟอร์เนีย กระแสน้ำอุ่นอะแลสกา และกระแสน้ำอุ่นคุโระชิโอะ (กุโรชิโว) มหาสมุทรแปซิฟิกมีเกาะอยู่ประมาณ 25,000 เกาะ (มากกว่าเกาะในมหาสมุทรอื่น ๆ ที่เหลือรวมกัน) ส่วนใหญ่อยู่ใต้เส้นศูนย์สูตร ริมมหาสมุทรประกอบด้วยทะเลจำนวนมาก ที่สำคัญ คือ ทะเลเซเลบีส ทะเลคอรัล ทะเลจีนตะวันออก ทะเลญี่ปุ่น ทะเลจีนใต้ ทะเลซูลู ทะเลแทสมัน และทะเลเหลือง ทางด้านตะวันตก ช่องแคบมะละกาเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับมหาสมุทรอินเดีย ส่วนทางด้านตะวันออก ช่องแคบมาเจลลันเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับ มหาสมุทรแอตแลนติก.

ใหม่!!: ทะเลโอค็อตสค์และมหาสมุทรแปซิฟิก · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดฮกไกโด

กไกโด (ไอนุ: アィヌ・モシリ อัยนูโมซีร์) เดิมเรียก เอะโซะ เป็นชื่อจังหวัดและเกาะที่ใหญ่เป็นอันดับสองในประเทศญี่ปุ่น รองจากเกาะฮนชู แต่มีอุโมงค์เซกังเชื่อมถึงกัน นอกจากนี้ฮกไกโดยังเป็นเขตการปกครอง ซึ่งประกอบไปด้วยหมู่เกาะ โดยมีเกาะฮกไกโดเป็นศูนย์กลาง และเป็นที่ตั้งของเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของเขต คือ ซัปโปโระ ฮกไกโดเป็นเขตที่มีคนอาศัยอยู่เบาบาง มีประชากรทั้งเกาะประมาณ 5 ล้านคน คนส่วนใหญ่ย้ายมาจากเกาะฮนชูเมื่อราว 100 กว่าปีก่อน โดยเป็นแหล่งที่ซามูไรแพ้สงครามจึงต้องหนีมาอยู่ที่เกาะนี้ ความจริงแล้วที่เกาะนี้มีชนพื้นเมืองอาศัยอยู่มานานแล้ว คือ ชาวไอนุ แต่โดนกลืนชนชาติไป ปัจจุบันหลงเหลืออยู่น้อยมากและมีชีวิตเช่นชาวญี่ปุ่นทั่วไป ฮกไกโดเป็นเขตที่มีอากาศหนาวเย็น โดยเฉลี่ยจะมีหิมะท่วมอยู่ทั่วไปประมาณ 4-6 เดือน ในถดูหนาวจะมีอุณหภูมิ -20 ถึง 5 องศาเซลเซียส ในหน้าร้อนจะมีอุณหภูมิ 15 ถึง 30 องศาเซลเซียส ในด้านภูมิประเทศเป็นภูเขาเป็นส่วนใหญ่ ในบริเวณที่ราบลุ่มก็จะเป็นเมืองที่คนอาศัย โดยจะหนาแน่นในบริเวณเมืองซัปโปโระ ซึ่งมีอากาศอุ่นกว่าบริเวณต่าง ๆ ของเกาะ แต่ก็ยังหนาวกว่าเมืองอื่น ๆ ในเกาะฮนชู ฮกไกโดเป็นเกาะที่มีธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ มีทิวทัศน์ที่สวยงาม ชาวญี่ปุ่นจากส่วนอื่น ๆ ของประเทศจึงนิยมมาตากอากาศหรือย้ายมาอยู่อาศัยและทำงานเป็นจำนวนมาก.

ใหม่!!: ทะเลโอค็อตสค์และจังหวัดฮกไกโด · ดูเพิ่มเติม »

คาบสมุทรคัมชัตคา

แผนที่แสดงลักษณะภูมิประเทศของคาบสมุทรคัมชัตคา คาบสมุทรคัมชัตคา (полуо́стров Камча́тка; Kamchatka Peninsula) เป็นคาบสมุทรทางภาคตะวันออกของประเทศรัสเซีย มีพื้นที่ประมาณ 472,300 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่ระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิก (ทางทิศตะวันออก) และทะเลโอคอตสค์ (ทางทิศตะวันตก) คาบสมุทรมีความยาว 1,250 กิโลเมตรโดยประมาณ คาบสมุทรคัมชัตคาเป็นส่วนหนึ่งของดินแดนคัมชัตคา ซึ่งเป็นเขตการปกครองเขตหนึ่งของรัสเซีย โดยคาบสมุทรกินพื้นที่ส่วนใหญ่ของเขตการปกครองนั้น คัมชัตคา คัมชัตคา หมวดหมู่:คัมชัตคาไคร หมวดหมู่:คาบสมุทรคัมชัตคา.

ใหม่!!: ทะเลโอค็อตสค์และคาบสมุทรคัมชัตคา · ดูเพิ่มเติม »

ตะวันออกไกล

ตะวันออกไกล ตะวันออกไกล (Far East) ในความหมายที่จำกัดหมายถึงพื้นที่ซึ่งประกอบด้วยประเทศทางด้านตะวันออกของทวีปเอเชีย ได้แก่ ประเทศจีน ญี่ปุ่น เกาหลีเหนือ เกาหลีใต้ มองโกเลีย ไต้หวัน และไซบีเรีย แต่ในความหมายที่กว้างขึ้นมักหมายรวมถึงอาเซียนและบางส่วนของเอเชียใต้ ในทางประวัติศาสตร์ ชาติมหาอำนาจในยุโรปเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 19 เรียกดินแดนแถบนี้และกลุ่มเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกว่าตะวันออกไกลเนื่องจากอยู่ห่างไกลจากอาณาจักรของตนไปทางทิศตะวันออก.

ใหม่!!: ทะเลโอค็อตสค์และตะวันออกไกล · ดูเพิ่มเติม »

เกาะซาฮาลิน

เกาะซาฮาลิน (ภาษารัสเซีย: Сахали́н) เป็นเกาะทางตะวันตกเฉียงเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิก ตั้งอยู่ระหว่างละติจูด 45° 50’ และ 54° 24' เหนือ โดยตั้งอยู่เหนือเกาะฮกไกโดของญี่ปุ่นเพียงเล็กน้อย เกาะซาฮาลินเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดของรัสเซียและครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของแคว้นซาฮาลิน ในปี ค.ศ. 1905 เกาะซาฮาลินถูกแบ่งเป็นสองส่วน คือเหนือและใต้ โดยเกาะซาฮาลินใต้นั้นถูกยึดครองโดยจักรวรรดิญี่ปุ่น ซึ่งในปี ค.ศ. 1907 ญี่ปุ่นได้จัดตั้งจังหวัดคาราฟูโตะ ขึ้นบนเกาะซาฮาลินใต้ โดยมีเมืองเอกคือ โอโตมาริ ในปี ค.ศ. 1945 ภายหลังญี่ปุ่นพ่ายแพ้สงครามโลกครั้งที่สอง เกาะซาฮาลินทั้งหมดจึงตกเป็นของสหภาพโซเวียต และเป็นของรัสเซียในปัจจุบัน เกาะซาฮาลินเป็นที่อยู่ของกลุ่มชาติพันธุ์ท้องถิ่นหลายกลุ่ม กลุ่มที่สำคัญและเป็นที่รู้จักทั่วไปคือชาวไอนุ ซึ่งปัจจุบันชาวไอนุส่วนใหญ่ได้ย้ายไปอยู่ในเกาะฮอกไกโด หลังจากที่ญี่ปุ่นต้องสูญเสียเกาะซาฮาลินให้กับโซเวียต ซาฮาลิน หมวดหมู่:เกาะในประเทศรัสเซีย หมวดหมู่:เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก หมวดหมู่:รัสเซียตะวันออกไกล หมวดหมู่:ซาฮาลินโอบลาสต์.

ใหม่!!: ทะเลโอค็อตสค์และเกาะซาฮาลิน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Sea of Okhotskทะเลโอคอตสก์ทะเลโอคอตสค์ทะเลโอค็อตสก์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »