สารบัญ
6 ความสัมพันธ์: ช่องว่างความกว้างศูนย์ยูนิโคดอักษรอาหรับอักษรเทวนาครีตระกูลอักษรพราหมีตัวไม่เชื่อมความกว้างศูนย์
- ศิลปะการใช้ตัวพิมพ์
- อักขระควบคุม
ช่องว่างความกว้างศูนย์
องว่างความกว้างศูนย์ (ZWSP ย่อมาจาก zero-width space) คืออักขระควบคุมที่ใชัในการเรียงพิมพ์ เพื่อแสดงขอบเขตของคำสำหรับระบบประมวลข้อความในคอมพิวเตอร์ ไม่ได้ใช้เพื่อจุดประสงค์ในการเว้นวรรค ปกติแล้วช่องว่างความกว้างศูนย์จะเป็นตัวแบ่งที่ไม่สามารถมองเห็นได้ แต่เราจะเห็นได้เมื่อกระจายช่องไฟ (justification) ของข้อความอย่างเต็มที่ ในหน้า HTML ช่องว่างนี้สามารถใช้เป็นจุดตัดแบ่งคำยาว เพื่อให้ขึ้นบรรทัดใหม่ที่จุดตัดเมื่อคำนั้นยาวเกินกว่าบรรทัด แทนที่การใช้แท็กที่ไม่มาตรฐาน อย่างไรก็ตามอักขระนี้ก็ไม่ได้รองรับในเบราว์เซอร์ทุกชนิด โดยเฉพาะอินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์รุ่น 6 หรือต่ำกว่า ช่องว่างความกว้างศูนย์มีรหัสยูนิโคด U+200B และมี HTML เอนทิตี เป็น #8203; หรือ #x200B; บางเบราว์เซอร์ก็รองรับรหัส zwsp; ด้ว.
ดู ตัวเชื่อมความกว้างศูนย์และช่องว่างความกว้างศูนย์
ยูนิโคด
The Unicode Standard, Version 5.0 อักขระยูนิโคดทั้งหมดเมื่อพิมพ์ลงกระดาษ (รวมทั้งสองแผ่น) ยูนิโคด (Unicode) คือมาตรฐานอุตสาหกรรมที่ช่วยให้คอมพิวเตอร์แสดงผลและจัดการข้อความธรรมดาที่ใช้ในระบบการเขียนของภาษาส่วนใหญ่ในโลกได้อย่างสอดคล้องกัน ยูนิโคดประกอบด้วยรายการอักขระที่แสดงผลได้มากกว่า 100,000 ตัว พัฒนาต่อยอดมาจากมาตรฐานชุดอักขระสากล (Universal Character Set: UCS) และมีการตีพิมพ์ลงในหนังสือ The Unicode Standard เป็นแผนผังรหัสเพื่อใช้เป็นรายการอ้างอิง นอกจากนั้นยังมีการอธิบายวิธีการที่ใช้เข้ารหัสและการนำเสนอมาตรฐานของการเข้ารหัสอักขระอีกจำนวนหนึ่ง การเรียงลำดับอักษร กฎเกณฑ์ของการรวมและการแยกอักขระ รวมไปถึงลำดับการแสดงผลของอักขระสองทิศทาง (เช่นอักษรอาหรับหรืออักษรฮีบรูที่เขียนจากขวาไปซ้าย) ยูนิโคดคอนซอร์เทียม (Unicode Consortium) ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร เป็นผู้รับผิดชอบในการพัฒนายูนิโคด องค์กรนี้มีจุดมุ่งหมายเกี่ยวกับการแทนที่การเข้ารหัสอักขระที่มีอยู่ด้วยยูนิโคดและมาตรฐานรูปแบบการแปลงยูนิโคด (Unicode Transformation Format: UTF) แต่ก็เป็นที่ยุ่งยากเนื่องจากแผนการที่มีอยู่ถูกจำกัดไว้ด้วยขนาดและขอบเขต ซึ่งอาจไม่รองรับกับสภาพแวดล้อมหลายภาษาในคอมพิวเตอร์ ความสำเร็จของยูนิโคดคือการรวมรหัสอักขระหลายชนิดให้เป็นหนึ่งเดียว นำไปสู่การใช้งานอย่างกว้างขวางและมีอิทธิพลต่อการแปลภาษาของซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ นั่นคือโปรแกรมจะสามารถใช้ได้หลายภาษา มาตรฐานนี้มีการนำไปใช้เป็นเทคโนโลยีหลักหลายอย่าง อาทิ เอกซ์เอ็มแอล ภาษาจาวา ดอตเน็ตเฟรมเวิร์ก และระบบปฏิบัติการสมัยใหม่ ยูนิโคดสามารถนำไปใช้งานได้ด้วยชุดอักขระแบบต่าง ๆ ชุดอักขระที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดคือ UTF-8 (ใช้ 1 ไบต์สำหรับอักขระทุกตัวในรหัสแอสกีและมีค่ารหัสเหมือนกับมาตรฐานแอสกี หรือมากกว่านั้นจนถึง 4 ไบต์สำหรับอักขระแบบอื่น) UCS-2 ซึ่งปัจจุบันเลิกใช้แล้ว (ใช้ 2 ไบต์สำหรับอักขระทุกตัว แต่ไม่ครอบคลุมอักขระทั้งหมดในยูนิโคด) และ UTF-16 (เป็นส่วนขยายจาก UCS-2 โดยใช้ 4 ไบต์ สำหรับแทนรหัสอักขระที่ขาดไปของ UCS-2).
ดู ตัวเชื่อมความกว้างศูนย์และยูนิโคด
อักษรอาหรับ
อักษรอาหรับ เป็นอักษรที่มีความสำคัญในศาสนาอิสลาม เพราะคัมภีร์อัลกุรอานเขียนด้วยอักษรนี้ อักษรนี้จึงมีใช้แพร่หลายในกลุ่มผู้นับถือศาสนาอิสลาม แม้แต่ภาษานอกกลุ่มเซมิติก เช่น ภาษาเปอร์เซีย ภาษาอูรดู และภาษามลายูปัตตานี ตัวอักษรมีหลายแบบแต่รูปร่างของอักษรเหมือนกัน.
ดู ตัวเชื่อมความกว้างศูนย์และอักษรอาหรับ
อักษรเทวนาครี
อักษรเทวนาครี (देवनागरी อ่านว่า เท-วะ-นา-คะ-รี; Devanagari) พัฒนามาจากอักษรพราหมีในราวคริสต์ศตวรรษที่ 11 ใช้เขียนภาษาฮินดี ภาษาสันสกฤต ภาษามราฐี ภาษาบาลี ภาษาสินธี ภาษาเนปาล และภาษาอื่นๆในประเทศอินเดีย อักษรเทวนาครีมีลักษณะการเขียนจากซ้ายไปขวา มีเส้นเล็กๆ อยู่เหนือตัวอักษร หากเขียนต่อกัน จะเป็นเส้นยาวคล้ายเส้นบรรทัด มีการแยกพยัญชนะ สระ และเครื่องหมายต่าง.
ดู ตัวเชื่อมความกว้างศูนย์และอักษรเทวนาครี
ตระกูลอักษรพราหมี
ตระกูลอักษรพราหมี เป็นกลุ่มของอักษรที่พัฒนามาจากอักษรพราหมี ได้แก่อักษรที่ใช้ในอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้.
ดู ตัวเชื่อมความกว้างศูนย์และตระกูลอักษรพราหมี
ตัวไม่เชื่อมความกว้างศูนย์
ตัวไม่เชื่อมความกว้างศูนย์ (ZWNJ ย่อมาจาก zero-width non-joiner) คืออักขระควบคุมที่ใชัในการเรียงพิมพ์ในคอมพิวเตอร์ ใช้เพื่อจัดการการเชื่อมต่อระหว่างอักษรตัวเขียนบางชนิด เช่นอักษรอาหรับหรืออักษรฮีบรู เมื่อใส่ตัวไม่เชื่อมความกว้างศูนย์ลงไประหว่างอักษรสองตัว จะเป็นการบังคับให้อักษรสองตัวนั้นไม่เชื่อมต่อกัน แต่ยังคงปรากฏอยู่ในตำแหน่งที่ติดกัน ซึ่งอาจจำเป็นต้องใช้ในบางโอกาส โดยเฉพาะภาษาเปอร์เซียซึ่งมีการเขียนต่างจากภาษาอาหรับเล็กน้อย ปกติแล้วตัวไม่เชื่อมความกว้างศูนย์จะไม่สามารถมองเห็นได้ แต่อาจสังเกตได้จากอักษรรูปแบบธรรมดาที่อยู่ติดกัน ตัวไม่เชื่อมอาจแทรกอยู่ระหว่างนั้น ตัวไม่เชื่อมความกว้างศูนย์มีรหัสยูนิโคด U+200C และมี HTML เอนทิตี เป็น #8204; #x200C; และ zwnj;.
ดู ตัวเชื่อมความกว้างศูนย์และตัวไม่เชื่อมความกว้างศูนย์
ดูเพิ่มเติม
ศิลปะการใช้ตัวพิมพ์
- การพิมพ์ออฟเซต
- การยกบรรทัดและยกคำ
- ช่องว่างความกว้างศูนย์
- ตัวยกและตัวห้อย
- ตัวอักษร
- ตัวเชื่อมความกว้างศูนย์
- ตัวไม่เชื่อมความกว้างศูนย์
- ฟอนต์
- ยัติภาค
- ระบบการเขียน
- เครื่องพิมพ์
- เครื่องหมายวรรคตอน
- เครื่องหมายเสริมสัทอักษร
- แพนแกรม
- ไทป์เฟซ
อักขระควบคุม
- ช่องว่างความกว้างศูนย์
- ตัวเชื่อมความกว้างศูนย์
- ตัวไม่เชื่อมความกว้างศูนย์
หรือที่รู้จักกันในชื่อ ZWJZero-width joiner