โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ซอโฟคลีส

ดัชนี ซอโฟคลีส

ซอโฟคลีส หรือ โซโฟคลีส (Sophocles; Σοφοκλῆς, โซโพแคลส,; ราว 497/6 – 406/5 ก่อนค.ศ.)Sommerstein (2002), p. 41.

7 ความสัมพันธ์: ยูริพิดีสอีดิปัสนักเขียนแอนติโกเน่โศกนาฏกรรมเอสคิลัสเอเธนส์

ยูริพิดีส

ูริพิดีส (-en; Εὐριπίδης) (ราว 480 – 406 ก่อนค.ศ.) เป็นนักประพันธ์บทละครโศกนาฏกรรมของนครเอเธนส์ในยุคคลาสสิค และเป็น 1 ใน 3 นาฏศิลปินในสาขาโศกนาฏกรรมที่มีชื่อเสียงที่สุดของกรีซโบราณ ร่วมกับเอสคีลัส (Aeschylus) และซอโฟคลีส (Sophocles) นักประวัติศาสตร์สมัยโบราณเชื่อว่ายูริพิดีสเขียนบทละครทั้งหมด 92 ถึง 95 เรื่อง (ซูดาเชื่อว่าท่านประพันธ์ไว้ไม่เกิน 92 เรื่อง) โดยมีเหลือรอดมาในปัจจุบัน 18 หรือ 19 เรื่อง ในสภาพเนื้อหาครบถ้วน และมีบางเรื่องนอกเหนือจากนี้มี่หลงเหลือมาเป็นเพียงบางส่วน ในบรรดานาฏศิลปินของเอเธนส์โบราณ ยุริพิดีสมีงานหลงเหลือมาถึงเรามากที่สุด ส่วนหนึ่งเพราะความนิยมในงานของเอสคีลัส และของซอโฟคลีสลดต่ำลงMoses Hadas, Ten Plays by Euripides, Bantam Classic (2006), Introduction, p. ix ในขณะที่ความนิยมในงานของท่านเพิ่มมากขึ้น งานของยูริพิดีสกลายเป็นฐานรากที่สำคัญยิ่งในวรรณคดีศึกษาในสังคมกรีซสมัยเฮลเลนิสติก ร่วมกับงานของโฮเมอร์, ดีมอสเธนีส และเมแนนเดอร์L.P.E.Parker, Euripides: Alcestis, Oxford University Press (2007), Introduction p. lx ยูริพิดีสสร้างนวัตกรรมทางการละครหลายอย่างที่มีอิทธิพลต่อการละครมาจนยุคสมัยใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำเสนอตัวละครฮีโร่ หรือวีรบุรุษตามเทพปกรณัมแต่ดั้งเดิม ในฐานะคนธรรมดาที่อยู่ในเหตุการณ์พิเศษหรือลำบาก ทำให้เกิดการตีความใหม่ได้หลายรูปแบบ ยูริพิดีสได้รับการขนานนามว่าเป็นกวีที่เข้าถึงโศกนาฏกรรมมากที่สุด เนื่องจากท่านพุ่งโฟกัสไปที่ความรู้สึกนึกคิด และมูลเหตุจูงใจของตัวละครในแบบที่ไม่มีใครพบเห็นมาก่อน นำไปสู่สร้างตัวละครชายหญิงที่ต้องมาทำลายกันและกัน ด้วยความเข้มข้นของความรักและความชิงชังในหัวใจของตน อันเป็นต้นแบบที่นาฏศิลปินผู้ยิ่งใหญ่ในสมัยต่อๆมาเดินตาม ไม่ว่าเช็คสเปียร์ หรือราซีน (Racine) นักประพันธ์ในเอเธนส์สมัยโบราณล้วนแต่มีชาติกำเนิดสูง แต่ยูริพิดีสต่างกับนักประพันธ์เหล่านั้นเพราะท่านมักแสดงความเห็นอกเห็นใจผู้ที่ด้อยโอกาส หรือตกเป็นเหยื่อสังคมในทุกรูปแบบ รวมไปถึงพวกผู้หญิง เนื้อหาบทละครของยูริพิดีสจึงมักจะช็อคคนดูที่ส่วนใหญ่เป็นพลเมืองเพศชาย และมีทัศนะคติไปในทางอนุรักษ์นิยม ผู้ที่มีชีวิตอยู่ร่วมสมัยกับยูริพิดีสมักจะจัดให้ท่านรวมไปเป็นพวกเดียวกับโสเครตีส ในฐานะผู้นำของความเสื่อมทางปัญญา (decadent intellectualism) และทั้งคู่มักจะถูกล้อเลียนโดยกวี และนักแต่งบทละครแนวตลกขบขันอยู่เสมอ ดังที่งานของอริสโตฟาเนสแสดงให้เห็น แต่ในขณะที่โสเครตีสต้องคดีและต่อมาถูกตัดสินประหารชีวิตในข้อหาชักนำประเทศไปในทางชั่ว ยูริพิดีสเลือกจากเนรเทศตัวเองไปจากเอเธนส์ในวัยชรา และไปเสียชีวิตที่นครเพลลา ราชอาณาจักรมาเกโดนีอาDenys L. Page, Euripides: Medea, Oxford University Press (1976), Introduction pp.

ใหม่!!: ซอโฟคลีสและยูริพิดีส · ดูเพิ่มเติม »

อีดิปัส

อีดิปัสกับสฟิงซ์ (Oedipus and the Sphinx) วาดโดยฌ็อง-โอกุสต์-ดอมีนิก แอ็งกร์ ค.ศ. 1805 ภาพ Oedipus at Colonus วาดโดย Fulchran-Jean Harriet ค.ศ. 1798 อีดิปัส หรือ ออยดิปุส(Oedipus, (อีดิปัส), (เอดิปัส); Οἰδίπους (ออยดิปุส) แปลว่า "เท้าบวม") เป็นกษัตริย์เมืองธีบส์ในเทพปกรณัมกรีก เป็นบุตรของกษัตริย์ไลอัส (Laius) แห่งธีบส์ ที่เกิดแต่พระนางโยคัสตา (Jocasta) เมื่อแรกเกิดได้รับคำทำนายจากเทพพยากรณ์ว่า เมื่อโตขึ้นจะเป็นผู้ฆ่าบิดาและสมรสกับมารดาตัวเอง และนำหายนะมาสู่ครอบครัวและเมืองทีบส์ อีดิปัสมีชื่อเสีงเป็นที่จดจำได้ในฐานะวีรบุรุษกรีกผู้แก้ปริศนาของสฟิงซ์ได้ เรื่องราวของอีดิปัสเป็นแรงบัลดาลใจให้กับงานศิลปะมากมายทั้งในยุคโบราณและยุคต่อๆมา ผู้สืบสายเลือดของอีดิปัสถูกสาปให้มีชะตากรรมยากลำบาก และเป็นแนวคิดที่นำไปสู่การพัฒนาละครโศกนาฏกรรม ตำนานของอีดิปัสได้รับการเล่าขานต่อมา และได้รับการบันทึกเป็นครั้งแรกราวศตวรรษที่ 8 ก่อนคริสตกาล โดยโฮเมอร์ ตำนานที่มีชื่อเสียงคือเรื่อง "Oedipus the King" (Οἰδίπους Τύραννος, Oedipus Rex, อีดิปุส จอมราชันย์) และ "Oedipus at Colonus" (Οἰδίπους ἐπὶ Κολωνῷ) โดยซอโฟคลีส ถูกนำมาเล่นเป็นละครไตรภาคในศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาล อีดิปัสถูกนำชื่อมาใช้ในการอธิบายภาวะการเติบโตทางจิตของวัยเด็ก.

ใหม่!!: ซอโฟคลีสและอีดิปัส · ดูเพิ่มเติม »

นักเขียน

นักเขียน คือผู้ที่สร้างงานเขียน อย่างไรก็ตามคำนี้มักใช้เฉพาะกับผู้ที่เขียนงานสร้างสรรค์หรือเป็นอาชีพ หรือผู้ที่ได้สร้างงานเขียนในลักษณะอื่น ๆ นักเขียนที่มีความชำนาญจะแสดงความสามารถในการใช้ภาษาเพื่อที่จะนำเสนอแนวคิดและภาพพจน์ ไม่ว่าจะเป็นการเขียนบันเทิงคดีหรือสารคดี นักเขียนอาจสร้างผลงานในรูปแบบต่าง ๆ เช่น บทกวี ร้อยกรอง ร้อยแก้ว เรื่องสั้น นวนิยาย บทละคร สารคดี นักเขียนที่ทำงานเฉพาะมักได้รับการเรียกแตกต่างกัน เช่น กวี นักเขียนเรื่องสั้น นักเขียนนวนิยาย นักเขียนบทละคร นักหนังสือพิมพ์ นักเขียนสารคดี นักเขียนอื่น ๆ เป็นต้น.

ใหม่!!: ซอโฟคลีสและนักเขียน · ดูเพิ่มเติม »

แอนติโกเน่

แอนติโกเน่ หรือ แอนทิโกนี (Antigone; Ἀντιγόνη อ่านว่า แอนติกอแน) ตามตำนานเทพปกรณัมกรีก เป็นบุตรีของอีดิปัสกษัตริย์แห่งธีบส์ และพระนางโยคัสตา (Jocasta) ชื่อของ แอนติโกเน่ (Ἀντιγόνη) เป็นอิตถีลิงค์ (feminine gender) ของชื่อ แอนติโกนัส (Ἀντίγονος) แปลว่า "เทียบได้กับบรรพบุรุษ" ตำนานของแอนติโกเน่เป็นที่รู้จักกันดี จากบทละครโศกนาฏกรรมที่มีชื่อเสียงของซอโฟคลีสนาฏศิลปินของเอเธน.

ใหม่!!: ซอโฟคลีสและแอนติโกเน่ · ดูเพิ่มเติม »

โศกนาฏกรรม

กนาฏกรรม (Tragedy) คือ วรรณกรรมโดยเฉพาะประเภทละคร (drama) ที่ลงท้ายด้วยความเศร้าหรือไม่สมหวัง ตัวเอกในเรื่องจะตายในที่สุด เช่น ลิลิตพระลอ, สาวเครือฟ้า, โรเมโอจูเลียต, คู่กรรม โดยความหมายดั้งเดิมของโศกนาฏกรรมในภาษาอังกฤษ คือ Tragedy (/ทรา-จิ-ดี/) มีความหมายถึง วรรณกรรมหรือวรรณคดีสำหรับชนชั้นสูง โดยจะเป็นวรรณกรรมที่ใช้ภาษาชั้นสูงหรือภาษาที่มีความสละสลวย ซึ่งจะตรงกันข้ามกับสุขนาฏกรรม หรือ Comedy ที่หมายถึง วรรณกรรมสำหรับชนชั้นล่างหรือระดับชาวบ้านทั่วไป.

ใหม่!!: ซอโฟคลีสและโศกนาฏกรรม · ดูเพิ่มเติม »

เอสคิลัส

อสคีลัส (Aeschylus; Αἰσχύλος ไอส-คู-ลอส;; ราว 525/524 – 456/455 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นนักประพันธ์บทละครชาวกรีกโบราณ และได้รับการขนานนามว่าเป็นบิดาแห่งโศกนาฏกรรม งานประพันธ์ของเอสคีลัสเป็นงานโศกนาฏกรรมชุดแรกสุดที่เหลือรอดมาจากยุคโบราณ และความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับงานประเภทนี้ในสมัยแรกเริ่ม ล้วนแต่ได้มาจากการอนุมานผ่านงานที่หลงเหลืออยู่ของท่าน เอสคีลัสจึงเป็นบุคคลที่สำคัญอย่างยิ่งในประวัติศาสตร์วรรณกรรมกรีกโบราณ อริสโตเติลให้เครดิตเอสคีลิสในฐานะเป็นศิลปินคนแรกที่ขยายจำนวนนักแสดงบนเวทีการละครของกรีก ทำให้สามารถนำเสนอความขัดแย้งระหว่างตัวละครได้ ในขณะที่ก่อนหน้านั้นการละครของกรีกมีแค่ตัวนักแสดงนำกับกลุ่มประสานเสียง (คอรัส) ในระหว่างที่มีชีวิตอยู่ เอสคีลัสประพันธ์บทละครไว้ระหว่าง 70 ถึง 90 เรื่อง แต่เหลือรอดมาถึงปัจจุบันเพียง 7 เรื่อง หนึ่งในนั้น พันธนาการโพรมีเทียส (Prometheus Bound) ยังเป็นที่ถกเถียงกันในเรื่องตัวตนของผู้ประพันธ์ (บ้างเชื่อว่า ยูฟอเรียน บุตรชายของเอสคีลัส เป็นผู้แต่งขึ้น) งานนาฎกรรมบทละครที่เอสคีลัสประพันธ์ขึ้น เป็นงานที่แต่งเพื่อเข้าแข่งขันในงานเทศกาลต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานเทศกาลไดโอไนซัส ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในฤดูใบไม้ผลิ ที่เมืองไดโอไนเซีย (Dionysia) ซึ่งมีการแข่งขันสองรอบ คือ รอบแข่งขันงานโศกนาฏกรรม และรอบแข่งขันงานสุขนาฏกรรม (comedies) งานทั้งหมดที่เหลือรอดมาของเอสคิลัส ได้แก่ ชาวเปอร์เซีย, ศึกเจ็ดขุนพลชิงธีบส์, ดรุณีร้องทุกข์, ไตรภาคโศกนาฏกรรม โอเรสเตอา ประกอบด้วย: อะกาเมมนอน, ผู้ถือทักษิโณทก (the Libation Bearers), และ ยูเมนิดีส (the Eumenides) เคยได้รับรางวัลชนะเลิศในการแข่งขันละครโศกนาฏกรรม ที่เมืองไดโอไนเซียมาแล้วทั้งสิ้น เว้นก็แต่ พันธนาการโพรมีเทียส เท่านั้น นอกจากนี้เอสคิลัสอาจเป็นนาฏศิลปินเพียงท่านเดียว (เท่าที่ทราบ) ที่เคยนำเสนอละครเป็นโศกนาฏการมไตรภาค ละครเรื่อง โอเรสเตอา เป็นตัวอย่างเดียวของบทประพันธ์ไตรภาคที่หลงเหลือมาจากยุคโบราณ ในวัยหนุ่มเอสคีลัสเคยเป็นทหารที่ร่วมรบในสงครามระหว่างกรีซกับเปอร์เซียทั้งสองครั้ง ในตอนต้นของศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาล ในปีที่ 490 ก่อน..

ใหม่!!: ซอโฟคลีสและเอสคิลัส · ดูเพิ่มเติม »

เอเธนส์

อเธนส์ (Athens; Αθήνα อธีนา) เป็นเมืองหลวงของประเทศกรีซ และยังเป็นเมืองใหญ่ที่สุดในประเทศกรีซ ใช้ชื่อตามพระเจ้าอะธีนาในปุราณวิทยา เป็นหนี่งในเมืองที่เก่าแก่ที่สุดในโลก โดนกินช่วงระยะเวลามากกว่า 3,400 ปี และมีการตั้งถิ่นฐานมาตั้งแต่ประมาณช่วงสหัสวรรษที่ 11 และ 7 ก่อนคริสตกาล ในช่วงยุคคลาสสิกของกรีซ หรือประมาณปีที่ 508-322 ก่อนคริสต์ศักราช เอเธนส์ขึ้นสู่จุดสูงสุดของอำนาจ และเป็นนครรัฐที่มีอิทธิพลอย่างมากในยุคนั้น อีกทั้งยังเป็นศูนย์กลางของศิลปะ การเรียนรู้ และปรัชญา เมืองเอเธนส์ยังได้รับการอ้างอิงอย่างกว้างขวางว่าเป็นต้นกำเนิดของอารยธรรมตะวันตก และเป็นที่ที่การปกครองระบอบประชาธิปไตยถือกำเนิดขึ้นเป็นครั้งแรก ปัจจุบันเอเธนส์เป็นเมืองนานาชาติที่ทันสมัย เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การเงิน อุตสาหกรรม การเมือง และชีวิตทางวัฒนธรรมในกรีซ และภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ของยุโรป เป็นที่ตั้งของท่าเรือไพรีอัส ซึ่งเป็นท่าเรือผู้โดยสารที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป เอเธนส์ถูกจัดอันดับให้เป็นเมืองที่รวยที่สุดอันดับที่ 39 ของโลก ในปี 2012 ประชากรในเขตเทศบาลเมือง บนขนาดพื้นที่ มีประมาณ 655,442 คน (796,442 คน ณ ปี ค.ศ. 2004) ส่วนประชากรในเขตเมือง (urban area) ทั้งหมด บนขนาดพื้นที่ มี 3,090,508 คน ตามสถิติเมื่อปี..

ใหม่!!: ซอโฟคลีสและเอเธนส์ · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »