โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ยูริพิดีส

ดัชนี ยูริพิดีส

ูริพิดีส (-en; Εὐριπίδης) (ราว 480 – 406 ก่อนค.ศ.) เป็นนักประพันธ์บทละครโศกนาฏกรรมของนครเอเธนส์ในยุคคลาสสิค และเป็น 1 ใน 3 นาฏศิลปินในสาขาโศกนาฏกรรมที่มีชื่อเสียงที่สุดของกรีซโบราณ ร่วมกับเอสคีลัส (Aeschylus) และซอโฟคลีส (Sophocles) นักประวัติศาสตร์สมัยโบราณเชื่อว่ายูริพิดีสเขียนบทละครทั้งหมด 92 ถึง 95 เรื่อง (ซูดาเชื่อว่าท่านประพันธ์ไว้ไม่เกิน 92 เรื่อง) โดยมีเหลือรอดมาในปัจจุบัน 18 หรือ 19 เรื่อง ในสภาพเนื้อหาครบถ้วน และมีบางเรื่องนอกเหนือจากนี้มี่หลงเหลือมาเป็นเพียงบางส่วน ในบรรดานาฏศิลปินของเอเธนส์โบราณ ยุริพิดีสมีงานหลงเหลือมาถึงเรามากที่สุด ส่วนหนึ่งเพราะความนิยมในงานของเอสคีลัส และของซอโฟคลีสลดต่ำลงMoses Hadas, Ten Plays by Euripides, Bantam Classic (2006), Introduction, p. ix ในขณะที่ความนิยมในงานของท่านเพิ่มมากขึ้น งานของยูริพิดีสกลายเป็นฐานรากที่สำคัญยิ่งในวรรณคดีศึกษาในสังคมกรีซสมัยเฮลเลนิสติก ร่วมกับงานของโฮเมอร์, ดีมอสเธนีส และเมแนนเดอร์L.P.E.Parker, Euripides: Alcestis, Oxford University Press (2007), Introduction p. lx ยูริพิดีสสร้างนวัตกรรมทางการละครหลายอย่างที่มีอิทธิพลต่อการละครมาจนยุคสมัยใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำเสนอตัวละครฮีโร่ หรือวีรบุรุษตามเทพปกรณัมแต่ดั้งเดิม ในฐานะคนธรรมดาที่อยู่ในเหตุการณ์พิเศษหรือลำบาก ทำให้เกิดการตีความใหม่ได้หลายรูปแบบ ยูริพิดีสได้รับการขนานนามว่าเป็นกวีที่เข้าถึงโศกนาฏกรรมมากที่สุด เนื่องจากท่านพุ่งโฟกัสไปที่ความรู้สึกนึกคิด และมูลเหตุจูงใจของตัวละครในแบบที่ไม่มีใครพบเห็นมาก่อน นำไปสู่สร้างตัวละครชายหญิงที่ต้องมาทำลายกันและกัน ด้วยความเข้มข้นของความรักและความชิงชังในหัวใจของตน อันเป็นต้นแบบที่นาฏศิลปินผู้ยิ่งใหญ่ในสมัยต่อๆมาเดินตาม ไม่ว่าเช็คสเปียร์ หรือราซีน (Racine) นักประพันธ์ในเอเธนส์สมัยโบราณล้วนแต่มีชาติกำเนิดสูง แต่ยูริพิดีสต่างกับนักประพันธ์เหล่านั้นเพราะท่านมักแสดงความเห็นอกเห็นใจผู้ที่ด้อยโอกาส หรือตกเป็นเหยื่อสังคมในทุกรูปแบบ รวมไปถึงพวกผู้หญิง เนื้อหาบทละครของยูริพิดีสจึงมักจะช็อคคนดูที่ส่วนใหญ่เป็นพลเมืองเพศชาย และมีทัศนะคติไปในทางอนุรักษ์นิยม ผู้ที่มีชีวิตอยู่ร่วมสมัยกับยูริพิดีสมักจะจัดให้ท่านรวมไปเป็นพวกเดียวกับโสเครตีส ในฐานะผู้นำของความเสื่อมทางปัญญา (decadent intellectualism) และทั้งคู่มักจะถูกล้อเลียนโดยกวี และนักแต่งบทละครแนวตลกขบขันอยู่เสมอ ดังที่งานของอริสโตฟาเนสแสดงให้เห็น แต่ในขณะที่โสเครตีสต้องคดีและต่อมาถูกตัดสินประหารชีวิตในข้อหาชักนำประเทศไปในทางชั่ว ยูริพิดีสเลือกจากเนรเทศตัวเองไปจากเอเธนส์ในวัยชรา และไปเสียชีวิตที่นครเพลลา ราชอาณาจักรมาเกโดนีอาDenys L. Page, Euripides: Medea, Oxford University Press (1976), Introduction pp.

12 ความสัมพันธ์: กรีซโบราณราชอาณาจักรมาเกโดนีอาวิลเลียม เชกสเปียร์สมัยเฮลเลนิสต์อริสโตฟานเนสซอโฟคลีสโศกนาฏกรรมโสกราตีสโฮเมอร์เพลลาเอสคิลัสเทพปกรณัมกรีก

กรีซโบราณ

กรีซโบราณ (Ancient Greece) เป็นคำที่ใช้เรียกถึงบริเวณที่มีการพูดภาษากรีกในโลกยุคโบราณ ซึ่งไม่เพียงอ้างถึงพื้นที่คาบสมุทรของกรีซยุคปัจจุบันเท่านั้น แต่ยังกล่าวรวมถึงอารยธรรมกรีกโบราณซึ่งเป็นที่ตั้งรกรากถิ่นฐานโดยชาวกรีกในยุคโบราณอันได้แก่ ไซปรัส, บริเวณชายฝั่งของทะเลอีเจียนของตุรกี (หรือที่รู้จักในนามไอโอเนีย), ซิซิลีและทางใต้ของอิตาลี (หรือที่รู้จักในนามแมกนา เกรเชีย) และถิ่นฐานซึ่งกระจายออกไปของชาวกรีกตามชายฝั่งต่างๆซึ่งปัจจุบันเป็นประเทศ บัลแกเรีย ฝรั่งเศส ยูเครน โรมาเนีย ลิเบีย สเปน อัลแบเนีย และอียิปต.

ใหม่!!: ยูริพิดีสและกรีซโบราณ · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรมาเกโดนีอา

มาเกโดนีอา (Μακεδονία) หรือ มาซิโดเนีย (Macedonia) เป็นราชอาณาจักรในกรีซโบราณที่มีศูนย์กลางอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของคาบสมุทรกรีซ มาเกโดนีอาดินแดนของชนมาเกโดนีอาโบราณมีเขตแดนติดกับราชอาณาจักรอิไพรัส (Epirus) ทางตะวันตก, ราชอาณาจักรไพโอเนีย (Paionia) ทางตอนเหนือ, เทรซทางตะวันออก และเทสซาลี (Thessaly) ทางด้านใต้ ในช่วงระยะเวลาอันสั้นหลังจากการพิชิตดินแดนต่างๆ ของอเล็กซานเดอร์มหาราชราชอาณาจักรมาเกโดนีอาก็เป็นราชอาณาจักรที่มีอิทธิพลมากที่สุดในโลกที่มีดินแดนที่ครอบคลุมกรีซทั้งหมดไปจนถึงอินเดีย ซึ่งเป็นการเริ่มต้นยุคประวัติศาสตร์ที่เรียกว่าสมัยเฮเลนนิสต.

ใหม่!!: ยูริพิดีสและราชอาณาจักรมาเกโดนีอา · ดูเพิ่มเติม »

วิลเลียม เชกสเปียร์

วิลเลียม เชกสเปียร์ (William Shakespeare; รับศีล 26 เมษายน ค.ศ. 1564 - 23 เมษายน ค.ศ. 1616) เป็นกวีและนักเขียนบทละครชาวอังกฤษ ได้รับยกย่องทั่วไปว่าเป็นนักเขียนผู้ยิ่งใหญ่ของอังกฤษและของโลก มักเรียกขานกันว่าเขาเป็นกวีแห่งชาติของอังกฤษ และ "Bard of Avon" (กวีแห่งเอวอน) งานเขียนของเขาที่ยังหลงเหลืออยู่ถึงปัจจุบัน ประกอบด้วยบทละคร 38 เรื่อง กวีนิพนธ์แบบซอนเน็ต 154 เรื่อง กวีนิพนธ์อย่างยาว 2 เรื่อง และบทกวีแบบอื่นๆ อีกหลายชุด บทละครของเขาได้รับการแปลออกไปเป็นภาษาต่างๆ มากมาย และเป็นที่นิยมนำมาแสดงมากที่สุดในบรรดาบทละครทั้งหมด เชกสเปียร์เกิดและเติบโตที่เมืองสแตรทฟอร์ด ริมแม่น้ำเอวอน เมื่ออายุ 18 ปี เขาสมรสกับแอนน์ ฮาธาเวย์ มีบุตรด้วยกัน 3 คนคือ ซูซานนา และฝาแฝด แฮมเน็ตกับจูดิธ ระหว่างช่วงปี..

ใหม่!!: ยูริพิดีสและวิลเลียม เชกสเปียร์ · ดูเพิ่มเติม »

สมัยเฮลเลนิสต์

มัยเฮลเลนิสต์ (Hellenistic period) เป็นสมัยที่เริ่มขึ้นหลังจากอเล็กซานเดอร์มหาราชแห่งมาซิดอนได้รับชัยชนะต่อจักรวรรดิเปอร์เชีย ในช่วงนี้อารยธรรมของกรีกก็ขึ้นถึงจุดสูงสุดทั้งในยุโรปและเอเชีย มักจะถือกันว่าเป็นสมัยคาบเกี่ยว (transition) หรือบางครั้งก็เกือบจะถือว่าเป็นสมัยของความเสื่อมโทรมหรือสมัยของการใช้ชีวิตอันเกินเลย (decadence) ระหว่างความรุ่งเรืองของสมัยกรีกคลาสสิก (Classical Greece) กับการเริ่มก่อตัวของจักรวรรดิโรมัน สมัยเฮลเลนิสต์ถือกันว่าเริ่มขึ้นหลังจากการเสด็จสวรรคตของอเล็กซานเดอร์มหาราชในปี 323 ก่อนคริสต์ศตวรรษ จนมาสิ้นสุดลงราวปี 146 ก่อนคริสต์ศตวรรษซึ่งเป็นปีที่สาธารณรัฐโรมันได้รับชัยชนะต่อดินแดนสำคัญของกรีซ หรืออาจจะดำเนินต่อมาถึงปี 30 ก่อนคริสต์ศตวรรษเมื่อมาเสียราชอาณาจักรทอเลมีในอียิปต์แก่จักรวรรดิโรมันซึ่งเป็นดินแดนสุดท้ายที่ยังคงรักษาอารยธรรมเฮลเลนิสต์ สมัยเฮลเลนิสต์เป็นสมัยทีเป็นการก่อตั้งราชอาณาจักร และเมืองต่าง ๆ ของกรีกในเอเชียและแอฟริก.

ใหม่!!: ยูริพิดีสและสมัยเฮลเลนิสต์ · ดูเพิ่มเติม »

อริสโตฟานเนส

อริสโตฟานีส หรือ แอริสตอฟานีส (Aristophanes; Ἀριστοφάνης,; c. 446 – c. 386 ก่อนคริสตกาล) เป็นนักประพันธ์บทละครชวนหัว (สุขนาฏกรรม) สมัยกรีซยุคคลาสสิค มีชีวิตอยู่ราวช่วงปีที่ 446-386 ก่อนคริสตกาล อริสโตฟานีสประพันธ์บทละครไว้ทั้งสิ้น 40 เรื่อง แต่ตกทอดมาถึงปัจจุบันโดนสมบูรณ์เพียง 11 เรื่อง นอกนั้นเป็นเพียงชิ้นส่วนพาไพรัสที่ส่วนใหญ่ขาดหายไป งานของอริสโตฟานีสเหล่านี้เป็นตัวอย่างเท่าที่เรามีเกี่ยวกับประเภทของงานสุขนาฏกรรมที่เรียกว่า Old Comedy ท่านได้รับฉายาว่าเป็น "บิดาแห่งสุขนาฏกรรม" กล่าวกันว่างานของอริสโตฟานีสให้ข้อมูลเกี่ยวกับเอเธนส์โบราณได้น่าเชื่อถือยิ่งกว่านักเขียนคนใดๆ ความสามารถของเขาในการเยาะเย้ยถากถาง เป็นที่ยำเกรงและรับทราบกันในผู้มีอิทธิพลร่วมสมัย เพลโตชี้ลงไปว่าบทละครเรื่อง เมฆ (The Clouds) เป็นการหมิ่นประมาทโดยการโฆษณาที่ทำให้โสเครตีสต้องถูกพิจารณาคดี และถูกตัดสินลงโทษประหารชีวิต แม้ว่าจะมีงานเสียดสีล้อเลียนตัวโสเครตีส จากนักประพันธ์เชิงเสียดสี (satirical) รายอื่นก็ตาม อริสโตฟานีสมีชีวิตผ่านช่วงเวลาที่เอเธนส์ประสบวิกฤติทางการเมืองอย่างต่อเนื่อง ทั้งหายนะจากสงครามเพโลพอนนีเซียน (ซึ่งเอเธนส์เป็นฝ่ายแพ้) การปฏิวัติของกลุ่มคณาธิปไตยสองครั้ง และการกู้คืนระบอบประชาธิปไตยสองครั้ง โสเครตีสถูกพิพากษาในข้อหาอาชญากรรมทางความคิด และยูริพิดีสต้องเนรเทศตัวเองไปตายที่เมืองอื่น ด้วยเหตุนี้จึงมีผู้เชื่อว่าแม้งานของอริสโตฟานีสจะแดกดันหรือเสียดสีเรื่องการเมืองอยู่เป็นนิตย์ แต่ตัวท่านนักประพันธ์เองคงจะไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องในทางการเมืองมากนัก เมื่อเปรียบเทียบกับนาฏศิลปินโศกนาฏกรรมอย่าง ซอโฟคลีส และยูริพิดีสแล้ว อริสโตฟานีสมีส่วนช่วยพัฒนาศิลปะการละครในยุคต่อไปมากกว่า ทั้งนี้เพราะซอโฟคลีส กับยูริพิดีส ถึงแก่กรรมลงในช่วงปลายสงครามเพโลพอนนีเซียน ทำให้ศิลปะของละครโศกนาฏกรรมหยุดพัฒนาไปเสีย แต่การละครสุขนาฏกรรมยังมีการวิวัฒนาการต่อมาเรื่อยๆ แม้หลังเอเธนส์จะพ่ายแพ้สงคราม ซึ่งสาเหตุหนึ่งเป็นเพราะการที่ปรมาจารย์ละครชวนหัวอย่างอริสโตฟานีส ยังมีชีวิตอยู่ต่อมานานพอที่จะช่วยศิลปินรุ่นหลังพัฒนาต่อยอดศิลปะแขนงนี้ thumb.

ใหม่!!: ยูริพิดีสและอริสโตฟานเนส · ดูเพิ่มเติม »

ซอโฟคลีส

ซอโฟคลีส หรือ โซโฟคลีส (Sophocles; Σοφοκλῆς, โซโพแคลส,; ราว 497/6 – 406/5 ก่อนค.ศ.)Sommerstein (2002), p. 41.

ใหม่!!: ยูริพิดีสและซอโฟคลีส · ดูเพิ่มเติม »

โศกนาฏกรรม

กนาฏกรรม (Tragedy) คือ วรรณกรรมโดยเฉพาะประเภทละคร (drama) ที่ลงท้ายด้วยความเศร้าหรือไม่สมหวัง ตัวเอกในเรื่องจะตายในที่สุด เช่น ลิลิตพระลอ, สาวเครือฟ้า, โรเมโอจูเลียต, คู่กรรม โดยความหมายดั้งเดิมของโศกนาฏกรรมในภาษาอังกฤษ คือ Tragedy (/ทรา-จิ-ดี/) มีความหมายถึง วรรณกรรมหรือวรรณคดีสำหรับชนชั้นสูง โดยจะเป็นวรรณกรรมที่ใช้ภาษาชั้นสูงหรือภาษาที่มีความสละสลวย ซึ่งจะตรงกันข้ามกับสุขนาฏกรรม หรือ Comedy ที่หมายถึง วรรณกรรมสำหรับชนชั้นล่างหรือระดับชาวบ้านทั่วไป.

ใหม่!!: ยูริพิดีสและโศกนาฏกรรม · ดูเพิ่มเติม »

โสกราตีส

''การตายของโสกราตีส'' โดยจาค์หลุยส์ ดาวิด พ.ศ. 2330 โสกราตีส (Σωκράτης; Socrates; 4 มิถุนายน 470 ปีก่อนคริสตกาล — 7 พฤษภาคม 399 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นนักปราชญ์ของกรีกโบราณและเป็นชาวเมืองเอเธนส์ ซึ่งถือกันว่าเป็นผู้วางรากฐานของปรัชญาตะวันตก.

ใหม่!!: ยูริพิดีสและโสกราตีส · ดูเพิ่มเติม »

โฮเมอร์

รูปปั้นของโฮเมอร์ โฮเมอร์ (กรีกโบราณ: Ὅμηρος Hómēros โฮแมโรส; Homer) เป็นนักแต่งกลอนในตำนานชาวกรีก ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นผู้แต่งมหากาพย์เรื่อง อีเลียด และ โอดิสซีย์ ชาวกรีกโบราณเชื่อกันว่าโฮเมอร์เป็นนักประวัติศาสตร์ แต่นักวิชาการในปัจจุบันกลับมองโฮเมอร์ด้วยความรู้สึกสงสัย เพราะเป็นข้อมูลชีวประวัติที่สืบต่อกันมายาวนานมาก อีกทั้งตัวกาพย์เอง ก็ถูกเล่าแบบปากต่อปากมานานนับศตวรรษ และถูกแก้ไขใหม่จนกลายมาเป็นกวี มาติน เวสต์ เชื่อว่า "โฮเมอร์" ไม่ใช่นามของกวีในประวัติศาสตร์ แต่เป็นเพียงชื่อที่ถูกสร้างขึ้นมา ช่วงเวลาที่โฮเมอร์มีชีวิตนั้นเองก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่มาแต่โบราณและจนถึงทุกวันนี้ โดยเฮโรโดตุสอ้างว่าโฮเมอร์เกิดก่อนเขาประมาณ 400 ปี ซึ่งน่าจะเป็นช่วงประมาณ 850 ปีก่อนคริสตกาล แต่ทว่าแหล่งอ้างอิงโบราณอื่น ๆ กลับให้ข้อมูลที่ซึ่งใกล้เคียงกับเวลาที่น่าจะเกิดสงครามเมืองทรอยมากกว่า ซึ่งช่วงเวลาที่อาจจะเกิดสงครามเมืองทรอยนั้น เอราทอสเทนีส กล่าวว่าเกิดในช่วง 1194–1184 ปีก่อนคริสตกาล.

ใหม่!!: ยูริพิดีสและโฮเมอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เพลลา

ลลา (Πέλλα) เป็นเมืองโบราณตั้งอยู่ทางตอนกลางของมาเซโดเนีย ประเทศกรีซ รู้จักกันดีในฐานะที่เป็นเมืองหลวงในประวัติศาสตร์ของราชอาณาจักรมาเกโดนีอา ในสมัยกรีซโบราณ และเป็นสถานที่ประสูติของทั้งพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช และพระเจ้าพีลิปโปสที่ 2 พระราชบิดาของพระองค์ ชื่อ เพลลา ในภาษากรีกโบราณ หมายถึง "ก้อนหิน" เพลลาถูกกล่าวถึงเป็นครั้งแรก โดยเฮรอโดตัสแห่งฮาลิคาร์นาสซัส (ล.VII, 123) ในความเกี่ยวเนื่องกับการสงครามของพระเจ้าเซิร์กซีส และ โดยนักประวัติศาสตร์ ธูซีดิดีส (Thucydides) ซึ่งบรรยายถึงการขยายตัวของมาเกโดนีอา และสงครามกับชาวเทรเชียน เพลลาถูกสร้างขึ้นให้เป็นเมืองหลวงของอาณาจักรโดยพระเจ้าอาร์คิเลอัสที่ 1 แห่งมาเกโดนีอา (Ἀρχέλαος) เพื่อแทนที่พระราชวัง-นคร ไอไก (Aigai) ซึ่งเป็นพระราชวังเก่า (ปัจจุบันตั้งอยู่ที่เมืองเวรกีน่า (Vergina) ในตอนเหนือของกรีซ) โดยอาร์คิเลอัสเชิญ ซีวซิส (Zeuxis) ช่างวาดภาพและทาสีที่เก่งที่สุดในสมัยนั้นมาตกแต่งพระราชวังให้ และยังเชิญศิลปินเรืองนามอื่นๆมาพำนักด้วย รวมถึงนาฏศิลปินเอกยูริพิดีสจากเอเธนส์ ละครของยูริพิดีสเรื่อง แบคไค (Bacchae) ก็ได้ออกแสดงบนเวทีเป็นครั้งแรกที่วังนี้ ราวปีที่ 408 ก่อนค.ศ.ฯ เซโนฟอนบันทึกไว้ (เมื่อปีที่ 382 ก่อน..) ว่า เพลลาเป็นเมืองที่ใหญ่ และรำ่รวยที่สุดในมาเกโดนีอา เมืองเพลลาเข้าสู่ยุคที่มีขีดความมั่งคั่งสูงสุดหลังจากพระเจ้าอเล็กซานเดอร์สิ้นพระชนม์ โดยเฉพาะภายใต้การปกครองของราชวงศ์แอนติปาทริด - ราชวงศ์อายุสั้นที่ก่อตั้งโดยแอนติปาเตอร์ และมีคาสซานเดอร์เป็นปฐมกษัตริย์ - และราชวงศ์แอนติโกนีด สิ่งก่อสร้างใหญ่โตที่หลงเหลือให้เห็นในแหล่งขุดค้นทางโบราณคดีส่วนใหญ่สร้างในรัชสมัยของแอนติโกนัสที่ 2 หลังจากที่พันธมิตรกรีกและมาเกโดนีอา ถูกกองทัพสาธารณรัฐโรมันกำหราบลงในสงครามมาเกโดนีอาครั้งที่สาม นครเพลลาถูกเข้าปล้นชิงโดยกองทัพของโรม ในปีที่ 168 ก่อนค.ศ. ทรัพย์สินของมีค่าถูกขนไปโรมเกือบทั้งหมด และราชอาณาจักรมาเกโดนีอาก็ถูกลดสถานะลงเป็นแค่จังหวัดหนึ่งของโรมนับแต่นั้นม.

ใหม่!!: ยูริพิดีสและเพลลา · ดูเพิ่มเติม »

เอสคิลัส

อสคีลัส (Aeschylus; Αἰσχύλος ไอส-คู-ลอส;; ราว 525/524 – 456/455 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นนักประพันธ์บทละครชาวกรีกโบราณ และได้รับการขนานนามว่าเป็นบิดาแห่งโศกนาฏกรรม งานประพันธ์ของเอสคีลัสเป็นงานโศกนาฏกรรมชุดแรกสุดที่เหลือรอดมาจากยุคโบราณ และความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับงานประเภทนี้ในสมัยแรกเริ่ม ล้วนแต่ได้มาจากการอนุมานผ่านงานที่หลงเหลืออยู่ของท่าน เอสคีลัสจึงเป็นบุคคลที่สำคัญอย่างยิ่งในประวัติศาสตร์วรรณกรรมกรีกโบราณ อริสโตเติลให้เครดิตเอสคีลิสในฐานะเป็นศิลปินคนแรกที่ขยายจำนวนนักแสดงบนเวทีการละครของกรีก ทำให้สามารถนำเสนอความขัดแย้งระหว่างตัวละครได้ ในขณะที่ก่อนหน้านั้นการละครของกรีกมีแค่ตัวนักแสดงนำกับกลุ่มประสานเสียง (คอรัส) ในระหว่างที่มีชีวิตอยู่ เอสคีลัสประพันธ์บทละครไว้ระหว่าง 70 ถึง 90 เรื่อง แต่เหลือรอดมาถึงปัจจุบันเพียง 7 เรื่อง หนึ่งในนั้น พันธนาการโพรมีเทียส (Prometheus Bound) ยังเป็นที่ถกเถียงกันในเรื่องตัวตนของผู้ประพันธ์ (บ้างเชื่อว่า ยูฟอเรียน บุตรชายของเอสคีลัส เป็นผู้แต่งขึ้น) งานนาฎกรรมบทละครที่เอสคีลัสประพันธ์ขึ้น เป็นงานที่แต่งเพื่อเข้าแข่งขันในงานเทศกาลต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานเทศกาลไดโอไนซัส ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในฤดูใบไม้ผลิ ที่เมืองไดโอไนเซีย (Dionysia) ซึ่งมีการแข่งขันสองรอบ คือ รอบแข่งขันงานโศกนาฏกรรม และรอบแข่งขันงานสุขนาฏกรรม (comedies) งานทั้งหมดที่เหลือรอดมาของเอสคิลัส ได้แก่ ชาวเปอร์เซีย, ศึกเจ็ดขุนพลชิงธีบส์, ดรุณีร้องทุกข์, ไตรภาคโศกนาฏกรรม โอเรสเตอา ประกอบด้วย: อะกาเมมนอน, ผู้ถือทักษิโณทก (the Libation Bearers), และ ยูเมนิดีส (the Eumenides) เคยได้รับรางวัลชนะเลิศในการแข่งขันละครโศกนาฏกรรม ที่เมืองไดโอไนเซียมาแล้วทั้งสิ้น เว้นก็แต่ พันธนาการโพรมีเทียส เท่านั้น นอกจากนี้เอสคิลัสอาจเป็นนาฏศิลปินเพียงท่านเดียว (เท่าที่ทราบ) ที่เคยนำเสนอละครเป็นโศกนาฏการมไตรภาค ละครเรื่อง โอเรสเตอา เป็นตัวอย่างเดียวของบทประพันธ์ไตรภาคที่หลงเหลือมาจากยุคโบราณ ในวัยหนุ่มเอสคีลัสเคยเป็นทหารที่ร่วมรบในสงครามระหว่างกรีซกับเปอร์เซียทั้งสองครั้ง ในตอนต้นของศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาล ในปีที่ 490 ก่อน..

ใหม่!!: ยูริพิดีสและเอสคิลัส · ดูเพิ่มเติม »

เทพปกรณัมกรีก

รูปปั้นครึ่งตัวของซูส, ที่เมือง Otricoli พิพิธภัณฑ์ Pio-Clementino วาติกัน) เทพปกรณัมกรีก (ΜΥΘΟΛΟΓΊΑ ΕΛΛΗΝΙΚΉ) เป็นเรื่องปรัมปราและตำนานที่เกี่ยวข้องกับเทพเจ้า, วีรบุรุษ, ธรรมชาติของโลก รวมถึงจุดกำเนิดและความสำคัญของขนบ คติและจารีตพิธีในทางศาสนาของชาวกรีกโบราณ เทพปกรณัมกรีกเป็นส่วนหนึ่งของศาสนาในกรีซโบราณ นักวิชาการสมัยใหม่มักอ้างถึงและศึกษาเรื่องปรัมปราเหล่านี้ เพื่อที่จะทราบเกี่ยวกับสถาบันทางศาสนา, สถาบันทางการเมืองในกรีซโบราณ, อารยธรรมของชาวกรีก และเพื่อเพิ่มความเข้าใจในธรรมชาติของการสร้างตำนานเทพปกรณัมขึ้น เทพปกรณัมกรีกได้ถูกรวบรวมขึ้นจากเรื่องเล่าและศิลปะที่แสดงออกในวัฒนธรรมกรีก เช่น การระบายสีแจกันและของแก้บน ตำนานกรีกอธิบายถึงการถือกำเนิดของโลก และรายละเอียดของเรื่องราวในชีวิต และการผจญภัยของบรรดาเทพเจ้า เทพธิดา วีรบุรุษ วีรสตรี และสิ่งมีชีวิตในตำนานอื่น ๆ ซึ่งเรื่องราวเหล่านี้ในตอนแรกเป็นเพียงการสืบทอดผ่านบทกวีตามประเพณีมุขปาฐะเท่านั้น ซึ่งอาจสืบย้อนหลังไปได้ถึงสมัยไมนอส และสมัยไมซีนี ตั้งแต่ศตวรรษที่ 18 ก่อน..

ใหม่!!: ยูริพิดีสและเทพปกรณัมกรีก · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »