โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

จูปิเตอร์, เนปจูน และพลูโต (การาวัจโจ)

ดัชนี จูปิเตอร์, เนปจูน และพลูโต (การาวัจโจ)

ูปิเตอร์, เนปจูน และพลูโต (Jupiter, Neptune and Pluto) เป็นจิตรกรรมฝาผนังที่เขียนโดยการาวัจโจ จิตรกรสมัยบาโรกคนสำคัญชาวอิตาลีที่ปัจจุบันยังคงอยู่ที่วิลลาลูโดวีซีในกรุงโรมในประเทศอิตาลี ภาพ "จูปิเตอร์, เนปจูน และพลูโต" เขียนราว ค.ศ. 1597 เป็นภาพที่นักเขียนชีวประวัติคนหนึ่งบรรยายว่าการาวัจโจเขียนขึ้นเพื่อแสดงความประทับใจให้แก่นักวิจารณ์ผู้กล่าวหาว่าไม่มีความรู้เรื่องทัศนมิติ ตัวแบบสามตัวในภาพลวงตาของทัศนมิติ (foreshortening) หรือ "ลักษณะกินตา" ที่เห็นได้อย่างเด่นชัด และยังเป็นการท้าทายผู้วิจารณ์ว่าการาวัจโจเขียนได้แต่จากผู้เป็นแบบที่มีชีวิตเท่านั้น "จูปิเตอร์, เนปจูน และพลูโต" เป็นภาพที่เขียนให้แก่คาร์ดินัลฟรันเชสโก มารีอา เดล มอนเต ผู้เป็นผู้อุปถัมภ์ของการาวัจโจเขียน เป็นภาพที่เขียนบนเพดานที่วิลลาในสวนที่คาร์ดินัลใช้ในการการเล่นแร่แปรธาตุ การาวัจโจจึงเขียนภาพเป็นอุปมานิทัศน์ของผู้มีความเกี่ยวข้องกับศาสตร์นี้ ที่รวมทั้งพาราเซลซัส (Paracelsus) ผู้เป็นนายแพทย์ นักชีววิทยา และนักเล่นแร่แปรธาตุ; เทพจูปิเตอร์ผู้เป็นสัญลักษณ์ของกำมะถันและอากาศ; เทพเนปจูนผู้เป็นสัญลักษณ์ของปรอทและน้ำ; และเทพพลูโตผู้เป็นสัญลักษณ์ของเกลือและโลก เทพแต่ละองค์ก็มีสัตว์สัญลักษณ์เคียงข้าง จูปิเตอร์กับเหยี่ยว, เนปจูนกับม้าน้ำ และพลูโตกับสุนัขสามหัวเซอร์เบอรัส จูปิเตอร์ยื่นมือไปหมุนวงกลมที่มีดวงอาทิตย์โคจรรอบโลก - กาลิเลโอ กาลิเลอีเป็นเพื่อนของเดล มอนเตแต่ขณะนั้นยังมิได้ประกาศทฤษฎีใหม่ที่ตรงกันข้ามกับความเชื่อที่ว.

21 ความสัมพันธ์: บรรยากาศของโลกบารอกฟรันเชสโก มารีอา เดล มอนเตพ.ศ. 2140พลูโต (เทพปกรณัม)การาวัจโจการเล่นแร่แปรธาตุกาลิเลโอ กาลิเลอีกำมะถันอุปมานิทัศน์จิตรกรรมฝาผนังจูปิเตอร์ (เทพปกรณัม)ทัศนมิติปรอทประเทศอิตาลีน้ำแพราเซลซัสโรมโลกเกลือเซอร์เบอรัส

บรรยากาศของโลก

ลักษณะบรรยากาศของโลก บรรยากาศของโลก คือ อากาศที่ห่อหุ้มโลกอยู่โดยรอบ วันที่สืบค้น 6 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: จูปิเตอร์, เนปจูน และพลูโต (การาวัจโจ)และบรรยากาศของโลก · ดูเพิ่มเติม »

บารอก

“การแต่งงานของนักบุญแคทเธอรินแห่งอเล็กซานเดรีย” (The Mystic Marriage of St. Catherine) โดย อันโตนิโอ ดา คอร์เรจจิโอ บารอก (Baroque) หรือบาโรก เป็นสมัยหนึ่งของศิลปะตะวันตกซึ่งเริ่มประมาณต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 ที่กรุงโรม ประเทศอิตาลี บาโรกจะเน้นความเป็นนาฏกรรม ศิลปะจะแสดงความขัดแย้ง (tension) และความหรูหรา โอ่อ่า บาโรกเป็นลักษณะของ ประติมากรรม จิตรกรรม วรรณกรรม นาฏศิลป์ และดนตรี ถ้ากล่าวถึงดนตรีแบบบารอกก็จะหมายถึงสมัยสุดท้ายของเคาน์เตอร์พ็อยต์ (Counterpoint) ที่กล่างวถึงความสัมพันธ์ของการเล่นระหว่างเสียงหรือเครื่องดนตรีมากกว่าสองชนิดที่อาจจะสะท้อนกันและกัน แต่คนละระดับเสียง หรือบางครั้งก็อาจจะสลับเสียงสะท้อน หรือไม่อีกทีก็อาจจะย้อนแก่นสาร (reversing theme) ของดนตรีชิ้นนั้นไปเลย ยุคบารอกรุ่งเรืองขึ้นมาด้วยการสนับสนุนจากคริสตจักรโรมันคาทอลิก ระหว่างการประชุมสภาสังคายนาแห่งเทรนต์ เมื่อปี..

ใหม่!!: จูปิเตอร์, เนปจูน และพลูโต (การาวัจโจ)และบารอก · ดูเพิ่มเติม »

ฟรันเชสโก มารีอา เดล มอนเต

ฟรันเชสโก มารีอา บอร์โบเน เดล มอนเต (Francesco Maria Borbone Del Monte; 5 กรกฎาคม ค.ศ. 1549, เวนิส - 27 สิงหาคม ค.ศ. 1627, โรม) เป็นนักบวชชาวอิตาลีที่มีตำแหน่งเป็นคาร์ดินัล เดล มอนเตเป็นนักการทูตและนักสะสมศิลปะคนสำคัญ ความสำคัญของเดล มอนเตอยู่ที่เป็นหนึ่งในผู้อุปถัมภ์การาวัจโจผู้เป็นจิตรกรยุคบาโรกคนสำคัญของอิตาลี และเป็นผู้สะสมศิลปะที่เป็นงานชิ้นสำคัญ ๆ ในยุคนั้น.

ใหม่!!: จูปิเตอร์, เนปจูน และพลูโต (การาวัจโจ)และฟรันเชสโก มารีอา เดล มอนเต · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2140

ทธศักราช 2140 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: จูปิเตอร์, เนปจูน และพลูโต (การาวัจโจ)และพ.ศ. 2140 · ดูเพิ่มเติม »

พลูโต (เทพปกรณัม)

พลูโต (Πλούτων, Ploutōn) ทรงเป็นผู้ครองโลกบาดาลในเทพปกรณัมคลาสสิก พระนามก่อนหน้าของพระองค์ คือ เฮดีส ซึ่งใช้เป็นชื่อเรียกโลกบาดาลมากกว่า ในศาสนาและเรื่องปรัมปรากรีกโบราณ พลูโตแทนมโนทัศน์ด้านบวกมากกว่าของพระเจ้าผู้ทรงเป็นประธานเหนือชีวิตหลังความตาย พลูตอนมักผสมกับพลูตอส (Ploutos, Πλοῦτος, Plutus) พระเจ้าแห่งความมั่งคั่ง เพราะพบทรัพย์แร่ใต้ดิน และด้วยพระองค์ทรงเป็นพระเจ้าคะเธาะนิค (chthonic) พระองค์จึงทรงปกครองแผ่นดินลึกอันมีเมล็ดพืชที่จำเป็นสำหรับการเก็บเกี่ยวอันอุดมสมบูรณ์ด้วย หมวดหมู่:เทพเจ้าโรมัน.

ใหม่!!: จูปิเตอร์, เนปจูน และพลูโต (การาวัจโจ)และพลูโต (เทพปกรณัม) · ดูเพิ่มเติม »

การาวัจโจ

ูรายชื่องานที่ รายชื่อภาพเขียนโดยการาวัจโจ; มีเกลันเจโล เมรีซี ดา การาวัจโจ (Michelangelo Merisi da Caravaggio ค.ศ. 1571 - 18 กรกฎาคม ค.ศ. 1610) เป็นจิตรกรสมัยบาโรกคนสำค้ญของประเทศอิตาลีในคริสต์ศตวรรษที่ 17 มีความสำคัญในการเขียนภาพสีน้ำมัน ผู้มีผลงานส่วนใหญ่ที่ โรม เนเปิลส์ ซิซิลี และประเทศมอลตา ระหว่างปี..

ใหม่!!: จูปิเตอร์, เนปจูน และพลูโต (การาวัจโจ)และการาวัจโจ · ดูเพิ่มเติม »

การเล่นแร่แปรธาตุ

การเล่นแร่แปรธาตุ การเล่นแร่แปรธาตุ หรือ รสายนเวท (alchemy) เป็นแบบแผนประเพณีทางปรัชญาทรงอิทธิพล ซึ่งผู้ปฏิบัติแต่โบราณอ้างว่าเป็นการตั้งต้นอำนาจที่ลึกซึ้ง วัตถุประสงค์ซึ่งนิยามการเล่นแร่แปรธาตุนั้นมีมากมาย แต่ในประวัติศาสตร์ มักรวมเอาเป้าหมายต่อไปนี้ คือ การสร้างศิลานักปราชญ์ ความสามารถเปลี่ยนโลหะฐานเป็นโลหะมีสกุล การพัฒนาน้ำอมฤต ซึ่งจะมอบความเยาว์และอายุยืนยาว การเล่นแร่แปรธาตุต่างจากวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ตรงที่รวมเอาหลักและการปฏิบัติอันเกี่ยวข้องกับปรัมปราวิทยา เวทมนตร์ ศาสนาและเจตสภาพ (spirituality) ถือกันว่าเป็นศาสตร์ก่อนวิทยาศาสตร์ (protoscience) ซึ่งเอื้อต่อการ พัฒนาการของเคมีและแพทยศาสตร์สมัยใหม่ นักเล่นแร่แปรธาตุพัฒนาโครงสร้างเทคนิคห้องปฏิบัติการ ทฤษฎี ศัพทวิทยา และวิธีการทดลองพื้นฐาน ซึ่งบางอย่างยังใช้มาจนปัจจุบัน.

ใหม่!!: จูปิเตอร์, เนปจูน และพลูโต (การาวัจโจ)และการเล่นแร่แปรธาตุ · ดูเพิ่มเติม »

กาลิเลโอ กาลิเลอี

กาลิเลโอ กาลิเลอี (Galileo Galilei; 15 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1564 - 8 มกราคม ค.ศ. 1642) เป็นชาวทัสกันหรือชาวอิตาลี ซึ่งมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการปฏิวัติวิทยาศาสตร์ ผลงานของกาลิเลโอมีมากมาย งานที่โดดเด่นเช่นการพัฒนาเทคนิคของกล้องโทรทรรศน์และผลสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ที่สำคัญจากกล้องโทรทรรศน์ที่พัฒนามากขึ้น งานของเขาช่วยสนับสนุนแนวคิดของโคเปอร์นิคัสอย่างชัดเจนที่สุด กาลิเลโอได้รับขนานนามว่าเป็น "บิดาแห่งดาราศาสตร์สมัยใหม่" "บิดาแห่งฟิสิกส์สมัยใหม่"Weidhorn, Manfred (2005).

ใหม่!!: จูปิเตอร์, เนปจูน และพลูโต (การาวัจโจ)และกาลิเลโอ กาลิเลอี · ดูเพิ่มเติม »

กำมะถัน

กำมะถัน(สุพรรณถัน) หรือ ซัลเฟอร์ (Sulfur หรือ Sulphur) เป็นธาตุเคมีในตารางธาตุที่มีสัญลักษณ์ S และเลขอะตอม 16 เป็นอโลหะที่มีอยู่ทั่วไป ไม่มีรสหรือกลิ่น และมีวาเลนซ์ได้มากมาย กำมะถันในรูปแบบปกติเป็นของแข็งสีเหลืองที่เป็นผลึก ในธรรมชาติ สามารถพบได้ในรูปธาตุเอง หรือแร่ซัลไฟด์และซัลเฟต เป็นธาตุจำเป็นสำหรับสิ่งมีชีวิต และพบในกรดอะมิโนหลายชนิด การใช้ในเชิงพาณิชย์ที่เป็นหลัก คือ ในปุ๋ย แต่นอกจากนี้ยังใช้ในดินปืน ไม้ขีดไฟ ยาฆ่าแมลง และยาฆ่าร.

ใหม่!!: จูปิเตอร์, เนปจูน และพลูโต (การาวัจโจ)และกำมะถัน · ดูเพิ่มเติม »

อุปมานิทัศน์

''อุปมานิทัศน์ของดนตรี'' โดยฟีลิปปีโน ลิปปี “อุปมานิทัศน์ของดนตรี” เป็นหัวเรื่องที่นิยมกันในจิตรกรรมในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา เช่นการที่ลิบปีใช้ในภาพเขียนภาพนี้ซึ่งใช้ตำนานกรีกเป็นสัญลักษณ์ อุปมานิทัศน์ (Allegory) มาจากภาษากรีก “αλλος” หรือ “allos” ที่แปลว่า “อื่น” และคำว่า “αγορευειν” หรือ “agoreuein” ที่แปลว่า “การพูดในที่สาธารณะ” ซึ่งหมายถึงศิลปะที่ใช้สัญลักษณ์แทนความหมายโดยตรงในภาษาเขียน อุปมานิทัศน์มิได้ใช้แต่ในงานวรรณกรรม แต่อาจจะใช้ทางจักษุศิลป์ซึ่งมักจะพบในจิตรกรรมหรือประติมากรรม หรือ การแสดงสัญลักษณ์ทางศิลปะอื่นๆ ความหมายทางภาษาศาสตร์จะกว้างกว่าที่ใช้กันโดยทั่วไป ความหมายของ “อุปมานิทัศน์” จะมีน้ำหนักกว่ามากกว่าการใช้ “อุปลักษณ์” (metaphor) และเมื่อใช้ก็จะทำให้ผู้รับเกิดแรงบันดาลใจทางจินตนาการมากกว่า ขณะที่ “แนวเทียบ” (analogy) จะคำนึงถึงเหตุผลและตรรกศาสตร์มากกว่า เช่น “นิทานคติสอนใจ” (parable) จะเป็น “แนวเทียบ” ที่มีคำสอนทางจริยธรรมเพียงหัวข้อเดียว ความหมายของ “อุปมานิทัศน์” มักจะเป็นสัญลักษณ์แทนความหมายของหัวข้อที่กว้างกว่าการใช้ “แนวเทียบ” ฉะนั้นในงาน “อุปมานิทัศน์” ชิ้นหนึ่งก็อาจจะมี “แนวเทียบ” หลายประเด็น จึงทำให้ตีความหมายกันไปได้หลายอย่าง ซึ่งบางครั้งก็อาจจะบิดเบือนไปจากความหมายที่ศิลปินตั้งใจเอาไว้ เช่นบางคนให้ความเห็นว่า “อุปมานิทัศน์” ของ “เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์” คือสงครามโลกเป็นต้น แต่วรรณกรรมชิ้นนี้เขียนก่อนที่สงครามโลกครั้งที่สอง จะเกิดขึ้น และถึงแม้ว่า เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ผู้ประพันธ์จะกล่าวไว้ในคำนำในฉบับพิมพ์อเมริกันว่า “(หนังสือเล่มนี้) ไม่ใช่อุปมานิทัศน์หรือหัวข้อ....กระผมไม่ชอบอุปมานิทัศน์ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบใหน...”.

ใหม่!!: จูปิเตอร์, เนปจูน และพลูโต (การาวัจโจ)และอุปมานิทัศน์ · ดูเพิ่มเติม »

จิตรกรรมฝาผนัง

วาติกัน, โรม ประเทศอิตาลี จิตรกรรมฝาผนังโดยดิโอนิเซียส (Dionisius) เล่าเรื่องนักบุญนิโคลัส จิตรกรรมฝาผนัง จากมหากาพย์ “ไตรภูมิดานเต” ของดานเตโดยโดเมนิโค ดิ มิเคลลิโน (Domenico di Michelino) ที่มหาวิหารฟลอเรนซ์ จิตรกรรมฝาผนังจากบาวาเรียประเทศเยอรมนี “ที่ฝังศพของนักดำน้ำ” พบเมื่อปีค.ศ. 1968 (470 ปีก่อนคริสต์ศักราช) จิตรกรรมฝาผนังจากอจันตา (Ajanta) คริสต์ศตวรรษที่ 6 จิตรกรรมฝาผนังโคลาของนักรำที่ Brihadisvara Temple ประมาณ ค.ศ. 1100 จิตรกรรมฝาผนัง (ภาษาอังกฤษ: Mural painting) คือภาพเขียนหลายชนิดที่เขียนบนปูนบนผนังหรือเพดาน เทคนิคที่นิยมกัน คือ การวาดภาพบนผนังปูนปลาสเตอร์เปียก (fresco) โดยที่คำว่า “fresco” มาจากภาษาอิตาลี “affresco” ซึ่งมาจากคำว่า “fresco” หรือ “สด” รากศัพท์มาจากภาษาเยอรมัน.

ใหม่!!: จูปิเตอร์, เนปจูน และพลูโต (การาวัจโจ)และจิตรกรรมฝาผนัง · ดูเพิ่มเติม »

จูปิเตอร์ (เทพปกรณัม)

“เทพจูปิเตอร์และนิมฟ์ธีทิส” โดย ฌอง โอกุสต์ โดมินิค อิงเกรส์, ค.ศ. 1811 จูปิเตอร์ หรือโจฟ ทรงเป็นราชาแห่งพระเจ้าและเทพเจ้าแห่งท้องฟ้าและฟ้าผ่าในเรื่องปรัมปรา จูปิเตอร์ทรงเป็นพระเจ้าหลักของศาสนารัฐโรมันตลอดสมัยสาธารณรัฐและจักรวรรดิ จนศาสนาคริสต์กลายเป็นศาสนาครอบงำในจักรวรรดิ ในเทพปกรณัมโรมัน พระองค์ทรงเจรจากับนูมา ปอมปีลีอัส พระมหากษัตริย์โรมพระองค์ที่สอง เพื่อสถาปนาหลักการของศาสนาโรมันอย่างการบูชายัญ ปกติคาดว่าจูปิเตอร์กำเนิดขึ้นเป็นเทพเจ้าท้องฟ้า สิ่งที่บอก คือ ฟ้าผ่า และสัตว์ศักดิ์สิทธิ์หลักของพระองค์ คือ นกอินทรี ซึ่งถือว่าดีกว่านกอื่นในการยึดลาง (augury) และกลายเป็นสัญลักษณ์ที่ใช้บ่อยที่สุดอันหนึ่งของกองทัพโรมัน สองสัญลักษณ์นี้มักรวมกันเพื่อแสดงจูปิเตอร์ในรูปอินทรีกำฟ้าผ่าในกรงเล็บ ซึ่งเห็นได้บ่อยในเหรียญกรีกและโรมัน ในฐานะเทพเจ้าท้องฟ้า พระองค์ทรงเป็นพยานศักดิ์สิทธิ์ของคำสาบาน ความไว้วางใจศักดิ์สิทธิ์ซึ่งความยุติธรรมและธรรมาภิบาลยึดถือ หลายหน้าที่ของพระองค์ได้รับความสนใจบนเนินแคพิทะไลน์ ("เนินรัฐสภา") อันเป็นที่ตั้งของป้อม พระองค์ทรงเป็นพระเจ้าหลักในสามแคพิทะไลน์ (Capitoline Triad) ช่วงต้นร่วมกับมาร์สและควิไรนัส ในสามแคพิทะไลน์ช่วงหลัง พระองค์ทรงเป็นผู้พิทักษ์กลางของรัฐร่วมกับจูโนและมิเนอร์วา ไม้ต้นศักดิ์สิทธิ์ของพระองค์ คือ โอ๊ก ชาวโรมันถือว่าจูปิเตอร์เทียบเท่าซูสของกรีก และในวรรณคดีละตินและศิลปะโรมัน รับเรื่องปรัมปราและสัญรูปของซูสมาภายใต้พระนาม Iuppiter ในประเพณีที่ได้รับอิทธิพลจากกรีก จูปิเตอร์ทรงเป็นพระอนุชาของเนปจูนและพลูโต ซึ่งทรงเป็นประธานเหนือหนึ่งในสามอาณาเขตแห่งเอกภพ อันได้แก่ ท้องฟ้า มหาสมุทรและโลกบาดาล มักถือว่า ทิเนียเป็นภาคอิทรัสคัน.

ใหม่!!: จูปิเตอร์, เนปจูน และพลูโต (การาวัจโจ)และจูปิเตอร์ (เทพปกรณัม) · ดูเพิ่มเติม »

ทัศนมิติ

ทัศนมิติแบบสองจุด ทัศนมิติ (perspective) หรือทับศัพท์ว่าเพอร์สเปกทีฟ คือการเขียนภาพให้ปรากฏออกมาในลักษณะที่เหมือนการมองเห็นจริง โดยปรกติมักจะใช้เพื่อการนำเสนอภาพจำลองของแนวความคิดในการออกแบบผลงาน เช่นภาพงานอาคารในงานสถาปัตยกรรม ภาพการตกแต่งภายในสำหรับงานมัณฑนศิลป เป็นต้น.

ใหม่!!: จูปิเตอร์, เนปจูน และพลูโต (การาวัจโจ)และทัศนมิติ · ดูเพิ่มเติม »

ปรอท

ปรอท (Mercury; Hydragyrum) เป็นธาตุเคมีสัญลักษณ์ Hg และเลขอะตอมเท่ากับ 80 รู้จักกันทั่วไปในชื่อ ควิกซิลเวอร์ (quicksilver) และมีชื่อเดิมคือ ไฮดราเจอรัม (hydrargyrum) ปรอทเป็นโลหะหนักสีเงินในบล็อก-d เป็นธาตุโลหะชนิดเดียวที่เป็นของเหลวในที่อุณหภูมิและความดันมาตรฐาน ธาตุอื่นอีกธาตุหนึ่งที่เป็นของเหลวภายใต้สภาวะเช่นนี้คือ โบรมีน แม้ว่าโลหะอย่างซีเซียม แกลเลียม และรูบิเดียมจะละลายที่อุณหภูมิสูงกว่าอุณหภูมิห้อง ปรอทพบได้ทั่วโลก ส่วนใหญ่พบในรูปซินนาบาร์ (เมอร์คิวริกซัลไฟด์) เมอร์คิวริกซัลไฟด์บริสุทธิ์เป็นผงสีแดงชาด ได้จากปฏิกิริยาของปรอท (เกิดจากรีดักชันจากซินนาบาร์) กับกำมะถัน หากสัมผัส สูดดมไอ หรือทานอาหารทะเลที่ปนเปื้อนปรอทที่ละลายน้ำ (เช่น เมอร์คิวริกคลอไรด์ หรือเมธิลเมอร์คิวรี) อาจเกิดเป็นพิษได้ ปรอทมักใช้ประโยชน์ในเทอร์โมมิเตอร์ บารอมิเตอร์ มาโนมิเตอร์ สฟิกโมมาโนมิเตอร์ โฟลตวาล์ว สวิตช์ปรอท ปรอทรีเลย์ หลอดฟลูออเรสเซนต์ และอุปกรณ์อื่น ๆ แม้ว่ายังมีประเด็นเรื่องพิษที่อาจทำให้เทอร์โมมิเตอร์และสฟิกโมมาโนมิเตอร์ไม่ถูกนำมาใช้อีก แต่จะใช้แอลกอฮอล์ หรือแก้วที่เติมกาลินสแตน หรือเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นเทอร์มิสเตอร์ หรืออินฟราเรดแทน เช่นเดียวกัน สฟิกโมมาโนมิเตอร์ถูกแทนด้วยเกจความดันเชิงกลและเกจรับความตึงอิเล็กทรอนิกส์ ปรอทยังคงมีใช้ในงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ และสารอะมัลกัมสำหรับอุดฟันในบางท้องที่ ปรอทนำมาใช้ผลิตแสงสว่าง กล่าวคือ กระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านไอปรอทในหลอดไฟฟลูออเรสเซนต์จะสร้างแสงอัลตราไวโอเลตคลื่นสั้น ก่อให้เกิดฟอสเฟอร์ ทำให้หลอดเรืองแสง และเกิดเป็นแสงสว่างขึ้นม.

ใหม่!!: จูปิเตอร์, เนปจูน และพลูโต (การาวัจโจ)และปรอท · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอิตาลี

อิตาลี (Italy; Italia อิตาเลีย) มีชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐอิตาลี (Italian Republic; Repubblica italiana) เป็นประเทศในทวีปยุโรป บริเวณยุโรปใต้ ตั้งอยู่ในคาบสมุทรอิตาลีที่มีรูปทรงคล้ายรองเท้าบูต และมีเกาะ 2 เกาะใหญ่ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน คือ เกาะซิซิลีและเกาะซาร์ดิเนีย และพรมแดนตอนเหนือแบ่งประเทศโดยเทือกเขาแอลป์ กับประเทศฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ ออสเตรีย และสโลวีเนีย ประเทศอิตาลีเป็นประเทศสมาชิกก่อตั้งของสหภาพยุโรป เป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ นาโต และกลุ่มจี 8 มีประเทศอิสระ 2 ประเทศ คือ ซานมารีโนและนครรัฐวาติกัน เป็นดินแดนที่ล้อมรอบไปด้วยพื้นที่ของอิตาลี ในขณะที่เมืองกัมปีโอเนดีตาเลีย เป็นดินแดนส่วนแยกของอิตาลีที่ถูกล้อมรอบด้วยพื้นที่ประเทศสวิตเซอร์แลน.

ใหม่!!: จูปิเตอร์, เนปจูน และพลูโต (การาวัจโจ)และประเทศอิตาลี · ดูเพิ่มเติม »

น้ำ

น้ำในสองสถานะ: ของเหลว (รวมทั้งก้อนเมฆซึ่งเป็นตัวอย่างของละอองลอย) และของแข็ง (น้ำแข็ง) น้ำเป็นสิ่งที่โปร่งใส ไม่มีรส ไม่มีกลิ่น และเกือบจะไม่มีสี ซึ่งเป็นสารเคมีที่เป็นองค์ประกอบหลักของลำธาร, แม่น้ำ, และมหาสมุทรในโลก เป็นต้น และยังเป็นของเหลวในสิ่งมีชีวิต มีสูตรเคมีคือ H2O โมเลกุลของน้ำประกอบด้วยออกซิเจน 1 อะตอมและไฮโดรเจน 2 อะตอมเชื่อมติดกันด้วยพันธะโควาเลนต์ น้ำเป็นของเหลวที่อุณหภูมิและความดันมาตรฐาน แต่พบบนโลกที่สถานะของแข็ง (น้ำแข็ง) และสถานะแก๊ส (ไอน้ำ) น้ำยังมีในสถานะของผลึกของเหลวที่บริเวณพื้นผิวที่ขอบน้ำ นอกจากนี้ยังสามารถเกิดขึ้นตามธรรมชาติ เช่น หิมะ, ธารน้ำแข็ง, และภูเขาน้ำแข็ง, ก้อนเมฆ, หมอก, น้ำค้าง, ชั้นหินอุ้มน้ำ และ ความชื้นในบรรยากาศ น้ำปกคลุม 71% บนพื้นผิวโลก และเป็นปัจจัยสำคัญต่อชีวิต น้ำบนโลก 96.5% พบในมหาสมุทร 1.7% ในน้ำใต้ดิน 1.7% ในธารน้ำแข็งและชั้นน้ำแข็งของทวีปแอนตาร์กติกาและเกาะกรีนแลนด์ ซึ่งเป็นเศษส่วนเล็กน้อยบนผิวน้ำขนาดใหญ่ และ 0.001% พบในอากาศเป็นไอน้ำ ก้อนเมฆ (ก่อตัวขึ้นจากอนุภาคน้ำในสถานะของแข็งและของเหลวแขวนลอยอยู่บนอากาศ) และหยาดน้ำฟ้า น้ำบนโลกเพียง 2.5% เป็นน้ำจืด และ 98.8% ของน้ำจำนวนนั้นพบในน้ำแข็งและน้ำใต้ดิน น้ำจืดน้อยกว่า 0.3% พบในแม่น้ำ ทะเลสาบ และชั้นบรรยากาศ และน้ำจืดบนโลกในปริมาณที่เล็กลงไปอีก (0.003%) พบในร่างกายของสิ่งมีชีวิตและผลิตภัณฑ์ น้ำบนโลกเคลื่อนที่ต่อเนื่องตามวัฏจักรของการระเหยเป็นไอและการคายน้ำ (การคายระเหย) การควบแน่น การตกตะกอน และการไหลผ่าน โดยปกติจะไปถึงทะเล การระเหยและการคายน้ำนำมาซึ่งการตกตะกอนลงสู่พื้นดิน น้ำดื่มสะอาดเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ แม้ว่าน้ำจะไม่มีแคลอรีหรือสารอาหารที่เป็นสารประกอบอินทรีย์ใดๆ การเข้าถึงน้ำดื่มสะอาดได้เปลี่ยนแปลงไปในช่วงหลายศตวรรษที่ผ่านมาในเกือบทุกส่วนของโลก แต่ประชากรประมาณ 1 พันล้านคนยังคงขาดแคลนน้ำดื่มสะอาดและกว่า 2.5 พันล้านคนขาดแคลนสุขอนามัยที่เพียงพอ มีความเกี่ยวพันกันเรื่องน้ำสะอาดและค่า GDP ต่อคน อย่างไรก็ดี นักสังเกตบางคนประมาณไว้ว่าภายในปี..

ใหม่!!: จูปิเตอร์, เนปจูน และพลูโต (การาวัจโจ)และน้ำ · ดูเพิ่มเติม »

แพราเซลซัส

วาดแพราเซลซัส โดยเควนติน แมตซิส แพราเซลซัส (Paracelsus; 11 พฤศจิกายน หรือ 17 ธันวาคม ค.ศ. 1493 - 24 กันยายน ค.ศ. 1541) เป็นชาวเยอรมันในประเทศสวิตเซอร์แลนด์, นักฟิสิกส์, นักพฤกษศาสตร์, นักเล่นแร่แปรธาตุ, นักดาราศาสตร์ และผู้ใช้เวทมนตร์ทั่วไปแห่งสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา เขาเป็นผู้กำหนดกฎแห่งพิษวิทยา (The Discipline of Toxicology) อีกทั้งยังเป็นนักปฏิวัติผู้ยืนหยัดในเรื่องของการสังเกตความเป็นไปของธรรมชาติ แทนที่จะมัวดูแค่ตำราเก่า ๆ โบราณ เขายังเป็นผู้ตั้งชื่อให้กับธาตุสังกะสี (Zinc) โดยให้ชื่อว่า zincum นักจิตวิทยาสมัยใหม่มักจะให้การยอมรับว่าเขาเป็นผู้บันทึกคนแรกเกี่ยวกับเรื่องที่ว่า โรคบางโรคมีสาเหตุมาจากภาวะการป่วยทางจิต เขาเป็นคนหัวแข็งและรักอิสระ เติบโตขึ้นด้วยความผิดหวังและชีวิตที่ขมขื่น ซึ่งนั่นเองคงเป็นสาเหตุที่ว่าทำไมเขาถึงได้กลายเป็นนักปฏิรูป คำว่า "แพราเซลซัส" หมายถึง "เทียบเท่าหรือยิ่งใหญ่กว่าเซลซัส" ซึ่งในที่นี้คือผู้เขียนสารานุกรมชาวโรมันชื่อ อูลัส คอลเนลเลียส เซลซัส เป็นที่รู้จักกันในเรื่องตำราเวชศาสตร์ของ.

ใหม่!!: จูปิเตอร์, เนปจูน และพลูโต (การาวัจโจ)และแพราเซลซัส · ดูเพิ่มเติม »

โรม

ลอสเซียม สัญลักษณ์ที่สำคัญของโรม โรม (Rome; Roma) เป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของแคว้นลัตซีโยและประเทศอิตาลี ตั้งอยู่ทางตอนกลางของประเทศ ในเขตตัวเมืองมีประชากรอาศัยอยู่ประมาณ 2.5 ล้านคน ถ้ารวมเมืองโดยรอบจะมีประมาณ 4.3 ล้านคน โดยมีจำนวนประชากรใกล้เคียงกับมิลานและเนเปิลส์ นอกจากนี้ โรมยังเป็นที่ตั้งของนครรัฐวาติกัน ซึ่งเป็นดินแดนที่ประทับของพระสันตะปาปาแห่งศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกอีกด้วย หลังสิ้นสุดยุคกลาง โรมได้อยู่ภายใต้การปกครองของพระสันตะปาปา เช่น สมเด็จพระสันตะปาปาอเล็กซานเดอร์ที่ 6 และสมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 10 ผู้ซึ่งสร้างสรรค์ให้โรมกลายเป็นหนึ่งในศูนย์กลางของสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลีเช่นเดียวกับฟลอเรนซ์ ซึ่งในยุคสมัยดังกล่าว ได้มีการก่อสร้างมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์แบบที่เห็นในปัจจุบัน และมีเกลันเจโลได้วาดภาพปูนเปียกประดับภายในโบสถ์น้อยซิสทีน ศิลปินและสถาปนิกที่มีชื่อเสียงอย่างบรามันเต แบร์นินี และราฟาเอล ซึ่งพำนักอยู่ในโรมเป็นครั้งคราว ได้มีส่วนช่วยสรางสรรค์สถาปัตยกรรมแบบสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาและแบบบารอกในโรมด้วยเช่นกัน ใน พ.ศ. 2550 โรมเป็นเมืองที่มีผู้มาเยือนมากเป็นอันดับที่ 11 ของโลก มากเป็นอันดับสามในสหภาพยุโรป และเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นที่นิยมมากที่สุดในอิตาลี ศูนย์กลางทางประวัติศาสตร์ใจกลางเมืองได้รับการขึ้นทะเบียนจากองค์การยูเนสโกให้เป็นมรดกโลก นอกจากนี้ อนุสรณ์สถานและพิพิธภัณฑ์อย่างพิพิธภัณฑ์วาติกันและโคลอสเซียมยังจัดอยู่ในแหล่งท่องเที่ยวที่มีนักท่องเที่ยวเยี่ยมชมมากที่สุด 50 อันดับแรกของโลก (พิพิธภัณฑ์วาติกันมีนักท่องเที่ยว 4.2 ล้านคนต่อปี และโคลอสเซียมมี 4 ล้านคนต่อปี).

ใหม่!!: จูปิเตอร์, เนปจูน และพลูโต (การาวัจโจ)และโรม · ดูเพิ่มเติม »

โลก

"เดอะบลูมาร์เบิล" ภาพถ่ายดาวเคราะห์โลกจากยาน ''อพอลโล 17'' โลก (loka; world) มีความหมายโดยปริยายหมายถึงหมู่มนุษย์ รวมทั้งอารยธรรมมนุษย์โดยรวมทั้งหมด โดยเฉพาะในด้านประสบการณ์ ประวัติศาสตร์ หรือสภาพของมนุษย์โดยทั่ว ๆ ไป ทั้งนี้ คำว่า ทั่วโลก หมายถึงสถานที่ใด ๆ บนดาวเคราะห์โลก ในทางปรัชญามองโลกอยู่ 2 แบบ คือ.

ใหม่!!: จูปิเตอร์, เนปจูน และพลูโต (การาวัจโจ)และโลก · ดูเพิ่มเติม »

เกลือ

กลือ เกลือ เป็นแร่ธาตุส่วนใหญ่ประกอบด้วยโซเดียมคลอไรด์ (NaCl) สารประกอบในระดับสูงกว่าเกลือชนิดต่าง ๆ เกลือในธรรมชาติก่อตัวเป็นแร่ผลึกรู้จักกันว่า เกลือหิน หรือแฮไลต์ เกลือพบได้ในปริมาณมหาศาลในทะเลซึ่งเป็นองค์ประกอบของแร่ที่สำคัญ ในมหาสมุทรมีแร่ธาตุ 35 กรัมต่อลิตร ความเค็ม 3.5% เกลือเป็นสิ่งจำเป็นต่อชีวิตสัตว์ ความเค็มเป็นรสชาติพื้นฐานของมนุษย์ เนื้อเยื่อสัตว์บรรจุเกลือปริมาณมากกว่าเนื้อเยื่อพืช ดังนั้นอาหารของชนเผ่าเร่ร่อนที่ดำรงชีวิตในฝูงต้องการเกลือเพียงเล็กน้อย หรือไม่ต้องการเกลือเลย ขณะอาหารประเภทซีเรียลจำเป็นต้องเพิ่มเกลือ เกลือเป็นหนึ่งในเครื่องปรุงรสที่เก่าแก่ที่สุดและหาได้ง่ายที่สุด และการดองเค็มก็เป็นวิธีการถนอมอาหารที่สำคัญวิธีหนึ่ง หลักฐานการทำเกลือยุคแรกที่สุดย้อนไปถึง 6,000 ปีที่แล้ว เมื่อคนที่อาศัยในประเทศโรมาเนียต้มน้ำเพื่อสกัดเกลือ การทำนาเกลือในจีนก็เกิดขึ้นในเวลาไล่เลี่ยกัน เกลือถูกชาวฮีบรู กรีก โรมัน ไบแซนไทน์ ฮิไทต์ และอียิปต์ ตีราคาสูง เกลือกลายเป็นวัตถุสำคัญและขนส่งทางเรือผ่านทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ผ่านทางทางเกลือที่สร้างขึ้นเฉพาะ และผ่านทะเลทรายซาฮาราในคาราวานอูฐ ความขาดแคลนและความต้องการเกลือทั่วโลกนำไปสู่สงครามชิงเกลือ และใช้เกลือเพื่อเพิ่มภาษีเงินได้ เกลือยังถูกใช้ในพิธีทางศาสนา และวัฒนธรรมต่าง ๆ ด้วย เกลือผลิตจากเหมืองเกลือ หรือจากการระเหยน้ำทะเล หรือน้ำซับที่อุดมไปด้วยแร่ธาตุในบ่อตื้น ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมหลักของเกลือคือโซดาไฟ และคลอรีน และใช้ในกระบวนการทางอุตสาหกรรมและในการผลิตโพลีไวนิลคลอไรด์ พลาสติก เยื่อกระดาษ และผลิตภัณฑ์อื่น ๆ จากการผลิตเกลือปริมาณสองล้านตันต่อปี มีเพียง 6% ที่ให้มนุษย์บริโภค ส่วนอื่น ๆ ใช้ในการปรับสภาวะของน้ำ กำจัดน้ำแข็งบนถนน และใช้ในการเกษตร เกลือที่กินได้มีขายในหลายรูปแบบ เช่น เกลือสมุทรและเกลือโต๊ะปกติจะบรรจุสารป้องกันการรวมตัวเป็นก้อน และอาจเสริมไอโอดีนเพื่อป้องกันภาวะพร่องไอโอดีน นอกจากจะใช้ปรุงอาหารและวางบนโต๊ะแล้ว เกลือยังพบได้ในอาหารแปรรูปจำนวนมาก อาหารที่มีโซเดียมมากเกินไปทำให้ความดันโลหิตสูง และอาจเพิ่มความเสี่ยงของกล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือด และโรคหลอดเลือดสมอง องค์การอนามัยโลกแนะนำว่าผู้ใหญ่ควรบริโภคโซเดียมน้อยกว่า 2,000 มิลลิกรัม หรือเทียบเท่ากับเกลือ 5 กรัมต่อวัน.

ใหม่!!: จูปิเตอร์, เนปจูน และพลูโต (การาวัจโจ)และเกลือ · ดูเพิ่มเติม »

เซอร์เบอรัส

ประติมากรรมเทพเจ้าเฮดีสกับเซอร์เบอรัส เซอร์เบอรัส หรือ เคร์เบรอส (Cerberus; Κέρβερος เคร์เบรอส) ในเทพปกรณัมกรีกและโรมัน เป็นหมาหลายหัว (ปกติมีสาม) มีหางอสรพิษ พังพานงู และกรงเล็บสิงโต มันเฝ้าทางเข้าโลกบาดาลเพื่อป้องกันคนตายมิให้หลบหนีและคนเป็นมิให้เข้า เซอร์เบอรัสปรากฏในวรรณกรรมกรีกและโรมันโบราณหลายงาน และในงานศิลปะและสถาปัตยกรรมทั้งโบราณและสมัยใหม่ แม้การพรรณนาเซอร์เบอรัสแตกต่างกันแล้วแต่ตีความ ความแตกต่างที่สำคัญที่สุด คือ จำนวนหัว แหล่งข้อมูลส่วนมากอธิบายหรือบรรยายไว้สามหัว แต่แหล่งอื่นแสดงเซอร์เบอรัสมีสองหัวหรือหัวเดียว มีแหล่งน้อยกว่านั้นที่แสดงจำนวนต่าง ๆ บ้างว่าห้าสิบหรือกระทั่งหนึ่งร้อย เซอร์เบอรัสเป็นลูกของอีคิดนา ครึ่งสตรีครึ่งอสรพิษ กับไทฟอน สัตว์ประหลาดยักษ์ซึ่งแม้แต่เทพเจ้ากรีกยังขยาด พี่น้องมีเลอร์เนียนไฮดรา, ออร์ธรัส (Orthrus) หมานรกสองหัว และคิเมียรา สัตว์ประหลาดสามหัว การพรรณนาสามัญของเซอร์เบอรัสในเทพปกรณัมและศิลปะกรีก คือ มีสามหัว ในงานส่วนใหญ่ สามหัวนั้นมองและเป็นเครื่องหมายของอดีต ปัจจุบันและอนาคต ขณะที่แหล่งอื่นแนะว่า หัวทั้งสามเป็นสัญลักษณ์ของการเกิด เยาว์วัยและชราวัย กล่าวกันว่า หัวของเซอร์เบอรัสมีความอยากอาหารเฉพาะเนื้อมีชีวิต ฉะนั้นจึงให้วิญญาณผู้วายชนม์เข้าโลกบาดาลได้อย่างเสรี แต่ไม่อนุญาตให้ผู้ใดออก เซอร์เบอรัสเป็นหมาเฝ้าที่ซื่อสัตย์ของเฮดีส และเฝ้าประตูเข้าออกโลกบาดาล ไม่มีบันทึกว่าเซอร์เบอรัสเป็นสุนัขพันธุ์ใด ดังนั้นในทางศิลปะจึงพบเห็นเซอร์บีรัสได้หลากหลายสายพันธุ์มาก.

ใหม่!!: จูปิเตอร์, เนปจูน และพลูโต (การาวัจโจ)และเซอร์เบอรัส · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Jupiter, Neptune and Plutoจูปิเตอร์, เนพจูน และพลูโต (การาวัจโจ)จูปิเตอร์, เนพจูน และพลูโต (คาราวัจจิโอ)จูปิเตอร์, เนพจูน และพลูโต (คาราวัจโจ)

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »