โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การาวัจโจ

ดัชนี การาวัจโจ

ูรายชื่องานที่ รายชื่อภาพเขียนโดยการาวัจโจ; มีเกลันเจโล เมรีซี ดา การาวัจโจ (Michelangelo Merisi da Caravaggio ค.ศ. 1571 - 18 กรกฎาคม ค.ศ. 1610) เป็นจิตรกรสมัยบาโรกคนสำค้ญของประเทศอิตาลีในคริสต์ศตวรรษที่ 17 มีความสำคัญในการเขียนภาพสีน้ำมัน ผู้มีผลงานส่วนใหญ่ที่ โรม เนเปิลส์ ซิซิลี และประเทศมอลตา ระหว่างปี..

104 ความสัมพันธ์: บาคคัส (คาราวัจโจ)บาคคัสไม่สบายชุบชีวิตลาซารัส (คาราวัจโจ)ชีปีโอเน บอร์เกเซฟรันเชสโก มารีอา เดล มอนเตฟลอเรนซ์พ.ศ. 2114พ.ศ. 2135พ.ศ. 2137พ.ศ. 2142พ.ศ. 2143พ.ศ. 2144พ.ศ. 2145พ.ศ. 2146พ.ศ. 2149พ.ศ. 2153พระราชวังแฮมป์ตันคอร์ตพระเยซูเรียกนักบุญแม็ทธิว (คาราวัจโจ)พระเจ้าชาลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษพักระหว่างหนีไปอียิปต์ (คาราวัจโจ)พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์พิพิธภัณฑ์วาติกันพิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโพลิทันการดลใจนักบุญมัทธิว (การาวัจโจ)การปฏิรูปศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนต์การปฏิรูปคาทอลิกการนมัสการของคนเลี้ยงแกะ (การาวัจโจ)การเป็นมรณสักขีของนักบุญมัทธิว (การาวัจโจ)ภาพชีวิตประจำวันภาพเหมือนตนเองมรณกรรมของพระนางพรหมจารี (การาวัจโจ)มารธาและมารีย์ชาวมักดาลา (การาวัจโจ)มารีย์ชาวมักดาลามารีย์ชาวมักดาลาสำนึกผิด (การาวัจโจ)มารีโอ มินนีตีมิลานมีเกลันเจโลยอห์นแบปติสต์ (การาวัจโจ)รัฐเท็กซัสรายชื่อภาพเขียนโดยการาวัจโจลอนดอนวินเชนโซ จุสตีนีอานีสมเด็จพระสันตะปาปาเคลเมนต์ที่ 8สะโลเมกับศีรษะของยอห์นแบปติสต์ (การาวัจโจ) มาดริดหมอดู (คาราวัจโจ)หอศิลป์แห่งชาติ (ลอนดอน)อัศวินฮอสปิทัลเลอร์อันนีบาเล การ์รัชชีอารามอาร์เตมีเซีย เจนตีเลสกี...อาหารค่ำมื้อสุดท้ายฌอร์ฌ เดอ ลา ตูร์จริตนิยมจอร์โจเนจัน โลเรนโซ แบร์นีนีจิตรกรรมจิตรกรรมบาโรกจิตรกรรมสีน้ำมันจูเซปเป เซซารีทิเชียนดับลินดิเอโก เบลัซเกซดีร์ก ฟัน บาบือเรินดีทรอยต์ความกังขาของนักบุญทอมัส (คาราวัจโจ)คิวปิดคณะคาร์เมไลท์คนโกงไพ่ (คาราวัจโจ)คนเล่นลูท (คาราวัจโจ)ค่าต่างแสงซันลุยจีเดย์ฟรันเชซีซันตามาเรียเดลโปโปโลประเทศมอลตาประเทศอิตาลีปารีสนักบุญฟรานซิสเกิดปีติสานติ์ (การาวัจโจ)นักดนตรี (คาราวัจโจ)นิวยอร์ก (แก้ความกำกวม)นีกอลา ปูแซ็งนครนิวยอร์กแม่พระรับเกียรติยกขึ้นสวรรค์แม่พระแห่งลูกประคำ (การาวัจโจ)แร็มบรันต์แคว้นตอสคานาแคว้นปกครองตนเองซิซิลีโบสถ์น้อยกอนตาเรลลีโยฮันเนิส เฟอร์เมร์โรมโจวันนี บาลยีโอเนโจวันนี ปีเอโตร เบลโลรีเบอร์ลินเมทามอร์โฟซีสเลโอนาร์โด ดา วินชีเวนิสเออแฌน เดอลาครัวเอดัวร์ มาแนเด็กชายปอกผลไม้ (คาราวัจโจ)เด็กถูกจิ้งเหลนกัด (คาราวัจโจ)เคราร์ด ฟัน โฮนต์ฮอสต์เปาโลอัครทูตเปเตอร์ เปาล์ รือเบินส์เนเปิลส์18 กรกฎาคม28 กรกฎาคม ขยายดัชนี (54 มากกว่า) »

บาคคัส (คาราวัจโจ)

ัส (ภาษาอังกฤษ: Bacchus) เป็นภาพเขียนสีน้ำมันที่เขียนโดยคาราวัจโจจิตรกรสมัยบาโรกคนสำคัญชาวอิตาลีที่ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่หอศิลป์อุฟฟิซิ, ฟลอเร็นซ์ในประเทศอิตาลี ภาพ “บาคคัส” เขียนราวปี ค.ศ. 1595 เป็นภาพของเทพบาคคัสหนุ่มสวมช่อใบองุ่นบนหัวมีผ้าห่มหลวมๆ นอนเอนท่าแบบคลาสสิกมือขวาเล่นชายผ้าผูกเอว บนโต๊ะหน้าตัวแบบมีชามผลไม้และขวดไวน์ขวดใหญ่ตั้งอยู่ ในมือซ้ายของตัวแบบถือแก้วไวน์ที่เทจากขวดไวน์ยื่นออกมาจากตัวมายังผู้ดูเหมือนกับจะชวนผู้ชมภาพเข้าไปร่วมด้วย “เทพบาคคัส” ซึ่งเป็นภาพที่เขียนไม่นานหลังจากที่คาราวัจโจเข้าไปพำนักอาศัยกับคาร์ดินัลฟรานเชสโค มาเรีย เดล มอนเต ผู้เป็นผู้อุปถัมภ์สำคัญคนแรก เป็นงานที่สะท้อนให้เห็นความสนใจในลัทธิมนุษยนิยมของผู้มีการศึกษาในแวดวงของคาร์ดินัลเดล มอนเต ไม่ว่าคาราวัจโจจะตั้งใจหรือไม่ก็ตามภาพนี้แสดงความมีอารมณ์ขันที่เห็นได้จากใบหน้าอันแดงก่ำของบาคคัส และเป็นภาพของเด็กหนุ่มที่ห่มตัวด้วยผ้าผืนหลวมๆ นอนเอนสลึมสลือท่าทางมึนในพาลัซโซของคาร์ดินัลเดล มอนเตในกรุงโรม ลักษณะของบาคคัสที่แสดงในภาพนี้มิได้ทำให้ผู้ชมภาพเชื่อว่าเป็นเทพบาคคัสจริงๆ นอกจากนั้นริ้วในแก้วไวน์ทำให้ดูเหมือนว่าบาคคัสคงจะถืออยู่ได้ไม่นานก่อนที่หกลงมาจากแก้ว ผลไม้และขวดไวน์เป็นสิ่งที่นักวิชาการสนใจกันมานานกว่าตัวเทพบาคคัสเอง นักวิชาการตีความหมายว่าผลไม้ที่อยู่ในสภาพที่กินไม่ได้อาจจะหมายถึงความเปลี่ยนแปลงและความไม่แน่นอนของสิ่งต่างๆ ในโลก หลักจากภาพได้รับการทำความสะอาดก็พบว่ามีเงาของจิตรกรกำลังเขียนภาพสะท้อนอยู่บนขวดไวน์ เทพบาคคัสยื่นแก้วให้ด้วยมือซ้ายทำให้สันนิษฐานกันว่าคาราวัจโจใช้กระจกส่องช่วยในการเขียนโดยตรงบนผืนผ้าใบแทนที่จะเขียนลายเส้นหรือร่างก่อน แต่แขนหรือมือซ้ายที่เห็นอันที่จริงเป็นมือขวา ที่ตรงกับที่นักชีวประวัติจิโอวานนิ บากลิโอเนกล่าวว่าคาราวัจโจใช้กระจกช่วยในการเขียนภาพในสมัยต้นๆ จิตรกรอังกฤษเดวิด ฮ็อคนีย์ (David Hockney) ศึกษาวิธีเขียนของคาราวัจโจในวิทยานิพนธ์ที่รู้จักกันในชื่อวิทยานิพนธ์ฮ็อคนีย์-ฟาลโค (Hockney-Falco thesis) ที่ตั้งสมมุติฐานว่าจิตกรยุคเรอเนสซองซ์ และต่อมาใช้กล้องลูซิดา (camera lucida) เป็นอุปกรณ์ช่วยในการเขียน.

ใหม่!!: การาวัจโจและบาคคัส (คาราวัจโจ) · ดูเพิ่มเติม »

บาคคัสไม่สบาย

ัคคัสไม่สบาย (ภาษาอังกฤษ: Young Sick Bacchus หรือ Self-portrait as Bacchus หรือ Bacchino Malato) เป็นภาพเขียนสีน้ำมันที่เขียนโดยคาราวัจโจจิตรกรสมัยบาโรกคนสำคัญชาวอิตาลีที่ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่หอศิลป์บอร์เกเซในกรุงโรมในประเทศอิตาลี ภาพ “บัคคัสไม่สบาย” เขียนราวระหว่างปี ค.ศ. 1593 ถึงปี ค.ศ. 1594 เป็นภาพเหมือนตนเอง ตามคำอธิบายของผู้เขียนชีวประวัติของคาราวัจโจจิโอวานนิ บากลิโอเนกล่าวว่าเป็นภาพที่วาดโดยใช้กระจกส่องให้เห็นตัวเอง ภาพ “บัคคัสไม่สบาย” เป็นภาพที่เขียนในปีแรกที่คาราวัจโจมาถึงกรุงโรมจากมิลานในราวกลางปี..

ใหม่!!: การาวัจโจและบาคคัสไม่สบาย · ดูเพิ่มเติม »

ชุบชีวิตลาซารัส (คาราวัจโจ)

ีวิตลาซารัส (ภาษาอังกฤษ: The Raising of Lazarus) เป็นภาพเขียนสีน้ำมันที่เขียนโดยคาราวัจโจจิตรกรสมัยเรอเนซองส์คนสำคัญชาวอิตาลีที่ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์เรจิโอนาเล, เมสสินาในประเทศอิตาลี ภาพ “ชุบชีวิตลาซารัส” เขียนเสร็จราวปี ค.ศ. 1609 ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1608 คาราวัจโจหนีจากมอลตาที่ที่ถูกจำขังโดยไม่ทราบข้อหาไปพำนักอยู่ที่ซิซิลีกับเพื่อนศิลปินมาริโอ มินนิติ (Mario Minniti) จากความช่วยเหลือของมินนิติคาราวัจโจก็ได้รับงานสำคัญหลายชิ้นรวมทั้งภาพนี้สำหรับวัดที่เมสสินา ที่ถูกนำเสนอให้กับพ่อค้าผู้มั่งคั่งจากเจนัว จิโอวานนิ บัตติสตา เดลัซซาริเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน ค.ศ. 1609 ค่าจ้างสำหรับงานชิ้นนี้เป็นจำนวนหนึ่งพันสคุดิซึ่งมากกว่าสองเท่าของจำนวนที่คาราวัจโจได้รับก่อนหน้านั้น พระวรสารนักบุญจอห์นกล่าวถึงนักบุญลาซารัสพี่ของมาร์ธาและนักบุญแมรี แม็กดาเลนที่ล้มป่วย, เสียชีวิต, ถูกฝัง และในที่สุดก็ถูกชุบชีวิตโดยพระเยซู ภาพนี้ก็เช่นเดียวกับภาพอื่นของคาราวัจโจที่เขียนในช่วงเดียวกันที่ฉากหลังเป็นเพียงผนังว่างๆ ที่ทำให้ผู้อยู่ในภาพดูเล็กลงมาก ปฏิกิริยาต่อกันและกันของคนในภาพมีความรู้สึกร่วมกันในทางอารมณ์โดยมีช่องว่างใหญ่อยู่ด้านบนซึ่งต่างจากการเน้นนาฏกรรมอย่างใกล้เคียงเช่นที่เคยทำกันมาก่อน และตามแบบฉบับของคาราวัจโจแสงเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างนาฏกรรมที่ทำให้เห็นรายละเอียดเช่นมือของลาซารัส มือหนึ่งปล่อยและหงายขึ้นเหมือนจะรับและอีกมือหนึ่งยื่นไปทางพระเยซู และใบหน้าที่ตื่นตระหนกของผู้เห็นเหตุการณ์ เรื่องที่เล่ากันว่าคาราวัจโจให้คนขุดร่างคนที่เพิ่งถูกฝังขึ้นมาเป็นแบบเขียนเป็นเรื่องที่ “น่าจะไม่ใช่เรื่องจริง แต่ก็ไม่เกินเลยเกินกว่าความเป็นไปได้” ตัวแบบบางคนกล่าวกันว่าเป็นผู้คนในชุมชนนั้น แต่คาราวัจโจก็ใช้ความทรงจำ การวางรูปทั้งหมดมีพื้นฐานมาจากภาพพิมพ์ลายแกะโดยจูลีโอ โรมาโน และภาพพระเยซูเป็นภาพกลับด้านกับภาพพระเยซูในภาพ “พระเยซูเรียกนักบุญแม็ทธิว” ภาพเขียนอยู่ในสภาพที่ไม่ดีนักและได้รับการซ่อมอย่างมากและอาจจะเป็นไปได้ว่าบางส่วนเขียนโดยผู้ช่วย สิ่งที่น่าสังเกตในภาพนี้อีกอย่างหนึ่งคือความแตกต่างระหว่างร่างที่อ่อนระทวยของมาร์ธาและแมรี แม็กดาเลนผู้ที่เต็มไปด้วยความระทมกับร่างที่แข็งของลาซารัสพี่ชาย ในพระวรสารมาร์ธาๆ กล่าวเตือนพระเยซูว่าลาซารัสตายมาได้สี่วันแล้วและคงจะมีกลิ่น แต่ในภาพนี้ไม่มีใครที่แสดงท่าขยะแขยงกับกลิ่น เพราะปาฏิหาริย์ที่เกิดขึ้น งานเขียนเกี่ยวกับศาสนาของคาราวัจโจมักจะเน้นความทุกข์, ความทรมานและความต.

ใหม่!!: การาวัจโจและชุบชีวิตลาซารัส (คาราวัจโจ) · ดูเพิ่มเติม »

ชีปีโอเน บอร์เกเซ

ปิโอเน บอร์เกเซ (Scipione Borghese หรือ Scipione Caffarelli; ค.ศ. 1576 - (2 ตุลาคม ค.ศ. 1633) พระคาร์ดินัล สคิปิโอเน บอร์เกเซเป็นบาทหลวงโรมันคาทอลิกและนักสะสมศิลปะของยุคเรอเนสซองซ์และเป็นสมาชิกของตระกูลบอร์เกเซ thumbnail.

ใหม่!!: การาวัจโจและชีปีโอเน บอร์เกเซ · ดูเพิ่มเติม »

ฟรันเชสโก มารีอา เดล มอนเต

ฟรันเชสโก มารีอา บอร์โบเน เดล มอนเต (Francesco Maria Borbone Del Monte; 5 กรกฎาคม ค.ศ. 1549, เวนิส - 27 สิงหาคม ค.ศ. 1627, โรม) เป็นนักบวชชาวอิตาลีที่มีตำแหน่งเป็นคาร์ดินัล เดล มอนเตเป็นนักการทูตและนักสะสมศิลปะคนสำคัญ ความสำคัญของเดล มอนเตอยู่ที่เป็นหนึ่งในผู้อุปถัมภ์การาวัจโจผู้เป็นจิตรกรยุคบาโรกคนสำคัญของอิตาลี และเป็นผู้สะสมศิลปะที่เป็นงานชิ้นสำคัญ ๆ ในยุคนั้น.

ใหม่!!: การาวัจโจและฟรันเชสโก มารีอา เดล มอนเต · ดูเพิ่มเติม »

ฟลอเรนซ์

ฟลอเรนซ์ (Florence) หรือ ฟีเรนเซ (Firenze) เป็นเมืองหลวงของแคว้นทัสกานีและมณฑลฟลอเรนซ์ในประเทศอิตาลี ระหว่าง..

ใหม่!!: การาวัจโจและฟลอเรนซ์ · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2114

ทธศักราช 2114 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: การาวัจโจและพ.ศ. 2114 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2135

ทธศักราช 2135 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: การาวัจโจและพ.ศ. 2135 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2137

ทธศักราช 2137 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: การาวัจโจและพ.ศ. 2137 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2142

ทธศักราช 2142 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: การาวัจโจและพ.ศ. 2142 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2143

ทธศักราช 2143 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: การาวัจโจและพ.ศ. 2143 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2144

ทธศักราช 2144 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: การาวัจโจและพ.ศ. 2144 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2145

ทธศักราช 2145 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: การาวัจโจและพ.ศ. 2145 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2146

ทธศักราช 2146 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: การาวัจโจและพ.ศ. 2146 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2149

ทธศักราช 2149 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: การาวัจโจและพ.ศ. 2149 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2153

ทธศักราช 2153 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: การาวัจโจและพ.ศ. 2153 · ดูเพิ่มเติม »

พระราชวังแฮมป์ตันคอร์ต

ระราชวังแฮมป์ตันคอร์ต (Hampton Court Palace) เป็นพระราชวังหลวงที่ตั้งอยู่ที่ลอนดอนบะระห์แห่งริชมอนด์อัพพอนเทมส์ 18.8 กิโลเมตร ทางตะวันตกเฉียงใต้ของชาริงครอสในกรุงลอนดอนในสหราชอาณาจักร และเหนือใจกลางลอนดอนบนฝั่งแม่น้ำเทมส์ เป็นพระราชวังที่ไม่ได้ใช้ประทับโดยพระราชวงศ์อังกฤษมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 18 พระราชวังเดิมสร้างสำหรับพระคาร์ดินัลทอมัส โวลซีย์ ข้าราชสำนักคนโปรดในพระเจ้าเฮนรีที่ 8 ราวปี..

ใหม่!!: การาวัจโจและพระราชวังแฮมป์ตันคอร์ต · ดูเพิ่มเติม »

พระเยซูเรียกนักบุญแม็ทธิว (คาราวัจโจ)

ระเยซูเรียกนักบุญแม็ทธิว (The Calling of St Matthew) เป็นภาพเขียนสีน้ำมันที่เขียนโดยคาราวัจโจจิตรกรสมัยบาโรกคนสำคัญชาวอิตาลี ภาพ “พระเยซูเรียกนักบุญแม็ทธิว” เขียนเสร็จระหว่างปี ค.ศ. 1599 ถึงปี ค.ศ. 1600 สำหรับชาเปลคอนทราเรลลิ (Contarelli Chapel) ภายในวัดซานลุยจิเดอิฟรานเชซิในกรุงโรม ในทศวรรษก่อนหน้านั้น หลังจากเสียชีวิตไปแล้วคาร์ดินัลชาวฝรั่งเศสขื่อแม็ทธิว ควงแทรล (Matthieu Cointrel) หรือ “มัตเตโอ คอนทราเรลลิ” ในภาษาอิตาลีก็ทิ้งมรดกไว้โดยระบุว่าให้ใช้ในการตกแต่งชาเปลในหัวเรื่องของชื่อของท่าน (มัตเตโอ.

ใหม่!!: การาวัจโจและพระเยซูเรียกนักบุญแม็ทธิว (คาราวัจโจ) · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าชาลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ

ระเจ้าชาลส์ที่ 1 (Charles I; 19 พฤศจิกายน ค.ศ. 1600 — 30 มกราคม ค.ศ. 1649) เป็นพระเจ้าแผ่นดินแห่งราชอาณาจักรอังกฤษสมัยราชวงศ์สจวต รวมทั้งพระมหากษัตริย์แห่งสกอตแลนด์ และไอร์แลนด์ ระหว่างปี..

ใหม่!!: การาวัจโจและพระเจ้าชาลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

พักระหว่างหนีไปอียิปต์ (คาราวัจโจ)

การวางท่าของไวซ์ “การตัดสินของเฮอร์คิวลีส” โดยอันนิบาเล คารัคชี ในปี ค.ศ. 1596 ดูเหมือนจะมีอิทธิพลโดยตรงแก่ท่าของเทวดาของคาราวัจโจ พักระหว่างหนีไปอียิปต์ (Rest on the Flight into Egypt) เป็นภาพเขียนสีน้ำมันที่เขียนโดยคาราวัจโจจิตรกรสมัยบาโรกคนสำคัญชาวอิตาลีที่ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่หอศิลป์แปมฟิลจ์ในกรุงโรมในประเทศอิตาลี เนื้อหาของภาพมิได้มีรากฐานมาจากพระคัมภีร์ไบเบิลโดยตรงแต่เป็นเรื่องที่มาขยายความและเพิ่มเติมรายละเอียดกันขึ้นจากพระคัมภีร์ไบเบิลในสมัยต้นยุคกลางที่มีรากฐานมาจากเรื่องการเดินทางของครอบครัวพระเยซูขณะที่เสด็จหนีไปอียิปต์เพื่อลี้ภัยเมื่อได้ข่าวว่าพระเจ้าแฮรอด อันทิพาส์ทรงสั่งให้ฆ่าเด็กเกิดใหม่ในกรุงเยรุซาเล็ม ตามตำนานเมื่อแล้วโจเซฟและพระแม่มารีหยุดพักที่หมู่ไม้ระหว่างการเดินทาง พระทารกก็ทรงสั่งให้กิ่งไม้โน้มลงมาเพื่อให้โจเซฟเก็บผลได้ จากนั้นก็ทรงสั่งให้น้ำพุไหลเป็นสายออกมาเพื่อให้พระบิดา/มารดาได้ดื่มแก้กระหาย รายละเอียดของตำนานก็เพิ่มเติมกันไปต่างๆ ในชั่วเวลาหลายร้อยปีที่แพร่หลาย คาราวัจโจแสดงภาพของพระแม่มารีบรรทมหลับพระศอพับกับพระทารกในพระกร ขณะที่โจเซฟถือโน้ตเพลงให้เทวดาเล่นไวโอลิน ส่วนลาที่เป็นการบอกล่วงหน้าถึงการที่พระเยซูจจะทรงขี่เข้ากรุงเยรุซาเล็มยืนมองอยู่ข้างหลังโจเซฟ ปีที่วาดยังไม่สามารถตกลงกันได้ ถ้าว่ากันตามจุยเลียโน มันชินิ (Giulio Mancini) ผู้ร่วมสมัยแล้วภาพเขียนนี้และภาพ “แมรี แม็กดาเลนเศร้า” กับภาพนักบุญจอห์นแบ็พทิสต์ก็เขียนเมื่อคาราวัจโจพักอยู่กับฟันติโน เปตริยานิไม่นานหลังจากออกจากห้องเขียนภาพของจุยเซปเป เซซาริ ราวเดือนมกราคม..

ใหม่!!: การาวัจโจและพักระหว่างหนีไปอียิปต์ (คาราวัจโจ) · ดูเพิ่มเติม »

พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์

ัณฑ์ลูฟวร์ (Musée du Louvre) หรือในชื่อทางการว่า the Grand Louvre เป็นพิพิธภัณฑ์ทางศิลปะตั้งอยู่ในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์เป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีชื่อเสียงที่สุด เก่าแก่ที่สุด และใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ซึ่งได้เปิดให้สาธารณชนเข้าชมได้เมื่อปี พ.ศ. 2336 (ค.ศ. 1793) มีประวัติความเป็นมายาวนานตั้งแต่สมัยราชวงศ์กาเปเซียง ตัวอาคารเดิมเคยเป็นพระราชวังหลวง ซึ่งปัจจุบันเป็นสถานที่ที่จัดแสดงและเก็บรักษาผลงานทางศิลปะที่ทรงคุณค่าระดับโลกเป็นจำนวนมากกว่า 35,000 ชิ้น จากตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์จนถึงศตวรรษที่ 19 อย่างเช่น ภาพเขียนโมนาลิซา, The Virgin and Child with St.

ใหม่!!: การาวัจโจและพิพิธภัณฑ์ลูฟวร์ · ดูเพิ่มเติม »

พิพิธภัณฑ์วาติกัน

ัณฑ์วาติกัน (Musei Vaticani; Vatican Museums) เป็นพิพิธภัณฑ์ที่ตั้งอยู่ภายในนครรัฐวาติกันในกรุงโรมในประเทศอิตาลี “พิพิธภัณฑ์วาติกัน” เป็นพิพิธภัณฑ์ที่แสดงศิลปะที่สะสมโดยวัดโรมันคาทอริกมาเป็นเวลาหลายร้อยๆ ปี เมื่อวันที่ 11 กุมภาพัน..

ใหม่!!: การาวัจโจและพิพิธภัณฑ์วาติกัน · ดูเพิ่มเติม »

พิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโพลิทัน

ัณฑ์ศิลปะเมโทรโปลิตัน (Metropolitan Museum of Art หรือ the Met) เป็นพิพิธภัณฑ์ศิลปะที่ตั้งอยู่ที่ทางตะวันออกของเซ็นทรัลพาร์คในนครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา พิพิธภัณฑ์เมโทรโปลิตันก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1870 พิพิธภัณฑ์เป็นเจ้าของงานศิลปะถาวรกว่าสองล้านชิ้นที่แบ่งเป็นสิบเก้าแผนก อาคารหลักมักจะเรียกสั้นๆ ว่า “the Met” เป็นหอศิลป์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกหอศิลป์หนึ่งแลมีสาขาที่สองที่เล็กกว่าที่“เดอะคล็อยสเตอร์ส” ในอัพเพอร์แมนแฮตตัน ซึ่งเป็นที่ตั้งแสดงศิลปะยุคกลาง ศิลปะถาวรที่เป็นเจ้าของเป็นงานศิลปะตั้งแต่ศิลปะยุคคลาสสิกและศิลปะอียิปต์โบราณ, จิตรกรรมและประติมากรรมของจิตรกรชั้นครูจากเกือบทุกประเทศในยุโรปตะวันตก และงานสะสมศิลปะอเมริกันและศิลปะสมัยใหม่ นอกจากนั้นพิพิธภัณฑ์ก็ยังเป็นเจ้าของงานศิลปะจากแอฟริกา, เอเชีย, ศิลปะจากหมู่เกาะปาซิฟิค, ศิลปะไบเซนไทน์ และศิลปะอิสลาม นอกไปจากศิลปะแล้วพิพิธภัณฑ์ก็ยังสะสมเครื่องดนตรี, เสื้อผ้าและเครื่องตกแต่ง, อาวุธโบราณ, เสื้อเกราะและอาวุธจากทั่วโลก ภายในพิพิธภัณฑ์มีสิ่งก่อสร้างที่แสดงการตกแต่งภายในเป็นการถาวรตั้งแต่จากคริสต์ศตวรรษที่ 1 ของสมัยโรมันไปจนถึงสมัยใหม่ของสหรัฐอเมริกา พิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโปลิตันก่อตั้งในปี ค.ศ. 1870 โดยกลุ่มชาวอเมริกัน ผู้ก่อตั้งรวมทั้งนักธุรกิจและนักการเงินและผู้นำศิลปินและนักคิดในสมัยนั้นผู้ที่ประสงค์จะก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ที่นำศิลปะและการศึกษาศิลปะมาสู่ประชาชนอเมริกัน พิพิธภัณฑ์เปิดให้ประชาชนเข้าชมเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1872 ในปี..

ใหม่!!: การาวัจโจและพิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโพลิทัน · ดูเพิ่มเติม »

การดลใจนักบุญมัทธิว (การาวัจโจ)

การดลใจนักบุญมัทธิว (The Inspiration of Saint Matthew) เป็นภาพเขียนสีน้ำมันที่เขียนโดยการาวัจโจจิตรกรสมัยบาโรกคนสำคัญชาวอิตาลีที่ตั้งอยู่ภายในชาเปลคอนทราเรลลิในโบสถ์ซันลุยจีเดย์ฟรันเชซีในกรุงโรมในประเทศอิตาลี หลังจากเสียชีวิตไปแล้วคาร์ดินัลชาวฝรั่งเศสขื่อแม็ทธิว ควงแทรล (Matthieu Cointrel) หรือ “มัตเตโอ คอนทราเรลลิ” ในภาษาอิตาลีก็ทิ้งมรดกไว้โดยระบุว่าให้ใช้ในการตกแต่งชาเปลในหัวเรื่องของชื่อของท่าน (มัตเตโอ.

ใหม่!!: การาวัจโจและการดลใจนักบุญมัทธิว (การาวัจโจ) · ดูเพิ่มเติม »

การปฏิรูปศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนต์

มาร์ติน ลูเทอร์ การปฏิรูปศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนต์ (Protestant Reformation) คือขบวนการการปฏิรูปศาสนาที่เริ่มโดย มาร์ติน ลูเทอร์ เมื่อปี..

ใหม่!!: การาวัจโจและการปฏิรูปศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนต์ · ดูเพิ่มเติม »

การปฏิรูปคาทอลิก

การปฏิรูปคาทอลิกราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 147 (Catholic Reformation) หรือการปฏิรูปคู่เคียง (Counter-Reformation), from Encyclopædia Britannica Online, latest edition, full-article.

ใหม่!!: การาวัจโจและการปฏิรูปคาทอลิก · ดูเพิ่มเติม »

การนมัสการของคนเลี้ยงแกะ (การาวัจโจ)

การชื่นชมของคนเลี้ยงแกะ (Adoration of the Shepherds) เป็นภาพเขียนสีน้ำมันที่เขียนโดยคาราวัจโจ จิตรกรสมัยบาโรกคนสำคัญชาวอิตาลีที่ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์รีจิโอนาเล, เมสสินาในประเทศอิตาลี ภาพ “การชื่นชมของคนเลี้ยงแกะ” เขียนเสร็จราวปี ค.ศ. 1609 ขณะที่คาราวัจโจพำนักอยู่ที่เมสสินาคาราวัจโจได้รับสัญญาจ้างให้วาดภาพสี่ภาพจากชุดทุกขกิริยาของพระเยซู ถ้าคาราวัจโจได้เขียนตามสัญญาอย่างที่ว่าก็ไม่มีภาพใดที่เหลือให้เห็น ซัสซิโนกล่าวว่าฉากการประสูติของพระเยซูได้รับจ้างจากเซเนทของเมสสินาสำหรับวัดคาปุชินซานตามาเรียเดกลิอันเจลิ ความเรียบง่ายแบบฟรานซิสกันแสดงให้เห็นได้ในภาพนี้ ภายในโรงนาไม้ที่ประสูติมีลาและวัวยืนอย่างอดทนอยู่ข้างหลังภาพ บนพื้นเป็นฟางมีตะกร้าใส่ขนมปังและ เครื่องมือช่างไม้ของโจเซฟและชิ้นผ้าสองสามชิ้น โจเซฟใส่เสื้อแดงแนะนำคนเลี้ยงแกะที่แต่งสีน้ำตางและเทาต่อแมรี ผู้ใส่เสื้อสีแดงสด พระแม่มารีทรงโอบอุ้มพระบุตรอยู่อย่างทะนุถนอม นอกจากสองรัศมีกับชายที่คุกเข่ากุมมือชื่นชมพระเยซูอยู่เท่านั้นที่ทำให้การพบเด็กเกิดใหม่ดูมีความหมายว่าพระเจ้าเสด็จมาสมภพในร่างของมนุษย์ คาราวัจโจได้รับค่าจ้าง 1000 สคูโดสำหรับงานชิ้นนี้ซึ่งเป็นค่าจ้างที่สูงที่สุดที่ได้รับตั้งแต่เริ่มเขียนภาพม.

ใหม่!!: การาวัจโจและการนมัสการของคนเลี้ยงแกะ (การาวัจโจ) · ดูเพิ่มเติม »

การเป็นมรณสักขีของนักบุญมัทธิว (การาวัจโจ)

การพลีชีพของนักบุญแม็ทธิว (The Martyrdom of Saint Matthew) เป็นภาพเขียนสีน้ำมันที่เขียนโดยคาราวัจโจจิตรกรสมัยบาโรกคนสำคัญชาวอิตาลีที่ตั้งอยู่ภายในชาเปลคอนทราเรลลิในวัดซานลุยจิเดอิฟรานเชซิในกรุงโรมในประเทศอิตาลี หลังจากเสียชีวิตไปแล้วคาร์ดินัลชาวฝรั่งเศสขื่อแม็ทธิว ควงแทรล (Matthieu Cointrel) หรือ “มัตเตโอ คอนทราเรลลิ” ในภาษาอิตาลีก็ทิ้งมรดกไว้โดยระบุว่าให้ใช้ในการตกแต่งชาเปลของตนเองในหัวเรื่องของนักบุญผู้ที่ท่านใช้เป็นชื่อ (มัตเตโอ.

ใหม่!!: การาวัจโจและการเป็นมรณสักขีของนักบุญมัทธิว (การาวัจโจ) · ดูเพิ่มเติม »

ภาพชีวิตประจำวัน

“ชาวบ้านเต้นรำ” โดย ปิเอเตอร์ บรูเกล (ผู้พ่อ)ราว ค.ศ. 1568 ภาพชีวิตประจำวัน (ภาษาอังกฤษ: Genre works หรือ Genre scenes หรือ Genre views) เป็นภาพที่ใช้สื่อหลายอย่างเช่นจิตรกรรมหรือการถ่ายภาพในการแสดงฉากจากชีวิตประจำวันเช่น ฉากตลาด, ฉากภายในบ้าน, ฉากงานเลี้ยง หรือฉากถนนหนทาง การแสดงฉากก็อาจจะเหมือนจริง, เป็นการจินตนาการ หรือเป็นภาพแบบอุดมคติ สื่อที่เขียนก็เรียกว่า “จิตรกรรมชีวิตประจำวัน”, “ภาพพิมพ์ชีวิตประจำวัน” หรือ “ภาพถ่ายชีวิตประจำวัน” ซึ่งก็แล้วแต่สื่อ.

ใหม่!!: การาวัจโจและภาพชีวิตประจำวัน · ดูเพิ่มเติม »

ภาพเหมือนตนเอง

หมือนตนเองของอัลเบรชท์ ดือเรอร์, ค.ศ. 1493. สีน้ำมันเดิมบนหนัง, พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์, ปารีส ภาพนี้เป็นภาพเหมือนตนเองอย่างเป็นทางการภาพแรก ๆ ดือเรอร์แต่งตัวแบบอิตาลีที่สะท้อนให้เห็นถึงความสำเร็จระดับสากล ภาพเหมือนตนเอง (Self-portrait) คือภาพเหมือนของศิลปินเองผู้อาจจะวาด เขียนด้วยสี ถ่ายภาพ หรือแกะสลักด้วยตนเอง แม้ว่าศิลปินจะสร้างภาพเหมือนของตนเองมาแต่โบราณ แต่ก็ไม่ได้ทำกันอย่างแพร่หลาย หรือบอกได้ว่าเป็นภาพเหมือนของศิลปินเองจริง ๆ หรือวาดเป็นบุคคลหัวใจของภาพมาจนกระทั่งเมื่อต้นยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาในกลางคริสต์ทศวรรษ1400 กระจกที่มีคุณภาพดีขึ้นและราคาถูกลงทำการเขียนภาพเหมือนบนจิตรกรรมแผง จิตรกร ประติมากร และช่างแกะพิมพ์มีการทำกันมากขึ้น ตัวอย่างแรกก็ได้แก่ "ภาพเหมือนของชายคนหนึ่ง (ภาพเหมือนตนเอง?)" ที่เขียนโดยยัน ฟัน ไอก์ ของปี..

ใหม่!!: การาวัจโจและภาพเหมือนตนเอง · ดูเพิ่มเติม »

มรณกรรมของพระนางพรหมจารี (การาวัจโจ)

ูบทความหลักที่ แม่พระรับเกียรติยกขึ้นสวรรค์ มรณกรรมของพระนางพรหมจารี (Death of the Virgin) เป็นภาพเขียนสีน้ำมันที่เขียนโดยการาวัจโจจิตรกรสมัยเรอเนซองส์คนสำคัญชาวอิตาลีที่ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ลูฟร์ ปารีสในประเทศฝรั่งเศส ภาพ “มรณกรรมของพระนางพรหมจารี” เขียนราวระหว่างปี ค.ศ. 1604 ถึงปี ค.ศ. 1606 เป็นภาพที่การาวัจโจได้รับจ้างให้เขียนโดยเลร์ซิโอ อัลเบร์ติ (Laerzio Alberti) ทนายความของพระสันตะปาปาสำหรับชาเปลส่วนตัวภายในซันตามาเรียเดลลาสกาลาซึ่งเป็นโบสถ์คณะคาร์เมไลท์ใหม่ที่ ทรัสเตเวเร (Trastevere) ในกรุงโรม “Renaissance” เป็นภาพที่ก่อให้เกิดการต่อต้านอย่างรุนแรงเมื่อเขียนเสร็จและถูกปฏิเสธจากนักบวชไม่ให้ตั้งในชาเปลที่ตั้งใจไว้ แต่ต่อมาปีเตอร์ พอล รูเบนส์ก็แนะนำให้ชาร์ลส์ที่ 1 ดยุกแห่งมานทัวซื้อโดยสรรเสริญว่าเป็นงานเขียนที่ดีที่สุดในสมัยนั้น หลังจากนั้นภาพเขียนถูกขายต่อให้แก่พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ หลังจากพระเจ้าชาร์ลส์ถูกสำเร็จโทษภาพเขียนก็ถูกประมูลขายอีกครั้งๆ นี้ตกไปเป็นของงานสะสมหลวงของฝรั่งเศส และในที่สุดก็กลายไปเป็นของรัฐหลังการปฏิวัติฝรั่งเศส ในปัจจุบันภาพนี้ตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ลูฟร์ในกรุงปารีส ก่อนที่จะออกจากโรมภาพเขียนตั้งแสดงที่วิทยาสถานนักบุญลูการาวสองอาทิตย์ แต่ขณะนั้นการาวัจโจก็หนีออกจากโรมไปแล้วหลังจากที่ฆ่ารานุชโช โตมัสโซนีในการดวลดาบหลังจากเกมเทนนิสหลังจากที่เกิดการวิวาท ภาพเขียนทำให้นึกถึงภาพ “ชะลอร่างจากกางเขน” ในนครรัฐวาติกันในด้านความครอบคลุม, ความสุขุม และความมีลักษณะเหมือนจริงที่คล้ายภาพถ่าย ขนาดตัวแบบในภาพเกือบเท่าคนจริง ล้อมรอบพระแม่มารีย์เป็นผู้กำลังโทมนัสที่รวมทั้งมารีย์ชาวมักดาลาและอัครทูตและกลุ่มคนถัดออกไป การาวัจโจแสดงความโศรกเศร้าของผู้ที่อยู่ในภาพไม่ใช่ด้วยการแสดงหน้าที่บ่งอารมณ์แต่โดยการซ่อนใบหน้า การาวัจโจผู้มีความสามารถในการใช้สีมืดบนผืนผ้าใบไม่สนใจในลักษณะการเขียนแบบแมนเนอริสม์ที่มักจะแสดงอารมณ์ต่างๆ กันไปในภาพเขียน การแสดงความเศร้าของการาวัจโจเป็นการแสดงความเศร้าที่ลึกและเงียบไม่โวยวายด้วยคนร้องไห้ การสะอื้นเกิดจากความเงียบใบหน้าที่ไม่ปรากฏของผู้มีอารมณ์ ความศักดิ์สิทธิ์ของพระแม่มารีย์แสดงโดยรัศมีบางๆ ราวเส้นด้ายเหนือพระเศียร ม่านสีแดงผืนใหญ่ที่ขึงหัอยบนส่วนบนของภาพเป็นโมทีฟที่มักจะใช้ในภาพเกี่ยวกับความตาย ภาพนี้เขียนเสร็จเมื่อทฤษฎีความเชื่อเกี่ยวกับแม่พระรับเกียรติยกขึ้นสวรรค์หรือการขึ้นสวรรค์ของพระแม่มารียังไม่เป็นที่ตกลงกันอย่างเป็นทางการโดยพระสันตะปาปา แต่ความคิดเรื่องนี้ก็เริ่มมีรากฐานมาเป็นเวลาสองสามร้อยปีแล้วจนกระทั่งการออกธรรมนูญเรื่องแม่พระรับเกียรติยกขึ้นสวรรค์ (Munificentissimus Deus) ในปี ค.ศ. 1950 ที่กล่าวถึงการขึ้นสวรรค์ของ “ร่างและวิญญาณ” ของพระแม่มารี ธรรมนูญเลี่ยงการประกาศว่าเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นก่อนหรือหลังจากมรณกรรมตามที่เข้าใจกันตามปกติ ในเมื่อพันธสัญญาใหม่มิได้กล่าวถึงหัวข้อนี้แต่อย่างใด การจากของพระแม่มารีย์จากโลกนี้จึงเป็นเรื่องของทฤษฎีความเชื่อเฉพาะในนิกายโรมันคาทอลิกเท่านั้น แม้ว่าในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ทฤษฎีโดยทั่วไปของโรมันคาทอลิกเชื่อว่าพระแม่มารีย์ถูกนำขึ้นสวรรค์ขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ ซึ่งจะเป็นเห็นได้จากภาพเขียนร่วมสมัยในหัวข้อนั้นเป็นจำนวนมากมาย บางความเชื่อก็ว่าพระเจ้าทรงนำร่างพระแม่มารีย์ขึ้นสวรรค์เมื่อเพิ่งสิ้นพระชนม์ใหม่ๆ แต่โดยทั่วไปแล้วก็หมายถึงการที่ทรงได้รับการนำขึ้นสวรรค์โดยปราศจากความเจ็บป่วยและความเจ็บปวดและร่างที่ถูกนำขึ้นไปเป็นร่างที่สมบูรณ์ด้วยพลานามัยก่อนที่จะ “ถึงแก่มรณกรรม” แต่สิ่งที่น่าสังเกตคือการแสดงภาพมรณกรรมในยุคกลางจะเป็นจริงมากกว่ายุคเรอเนซองหรือบาโรกต่อมาเช่นในภาพ “มรณกรรมของพระนางพรหมจารี” โดยดุชโช ที่เขียนราวปี ค.ศ. 1308 “มรณกรรมของพระนางพรหมจารี” โดยดุชโช ราว ค.ศ. 1308 ภาพเขียนของการาวัจโจเป็นงานศิลปะชิ้นเอกชิ้นสุดท้ายของโรมันคาทอลิกที่แสดงมรณกรรมจริง ๆ ของพระแม่มารีย์ แต่ภาพนี้เท้าของพระแม่มารีย์บวมและในภาพไม่มีเครูบที่นำพระองค์ขึ้นสู่สวรรค์เช่นในภาพ “แม่พระรับเกียรติยกขึ้นสวรรค์” โดย อันนิบาเล คารัคชี ที่เขียนก่อนหน้านั้นเพียงน้อยกว่าสิบปีสำหรับชาเปลในซันตามาเรียเดลโปโปโล ภาพของคารัคชีไม่ได้เขียนภาพการถึงแก่มรณกรรมแต่เป็นภาพ “แม่พระรับเกียรติยกขึ้นสวรรค์” หรือการลอยขึ้นไปบนสวรรค์ ร่างเหมือนกับภาพเรอเนซองหรือบาโรกภาพอื่นๆ ที่ดูอ่อนกว่าสตรีที่มีอายุราวห้าสิบปีหรือกว่านั้นเมื่อถึงแก่มรณกรรม ผู้ร่วมสมัยกล่าวหาการาวัจโจว่าใช้โสเภณีเป็นแบบสำหรับพระแม่มารีย์ เมื่อเขียนเสร็จภาพเขียนถูกปฏิเสธไม่ให้ตั้งในวัดโดยนักบวชผู้กล่าวหาว่าเป็นภาพที่ไม่เหมาะกับการตั้งในชาเปล จูลีโอ มันชีนี (Giulio Mancini) ผู้ร่วมสมัยของการาวัจโจ บันทึกว่าสาเหตุที่ถูกปฏิเสธเป็นเพราะคาราวัจโจใช้โสเภณีมีชื่อเป็นแบบสำหรับพระแม่มารี; แต่โจวันนี บากลีโอเน (Giovanni Baglione) ผู้ร่วมสมัยอีกคนหนึ่งกล่าวว่าเป็นเพราะการาวัจโจแสดงช่วงขาที่ออกจะเปิดเผยของพระแม่มารีย์ — ทั้งสองกรณีต่างก็อ้างมาตรฐานของสังคมในขณะนั้น แต่นักวิชาการคาราวัจโจ จอห์น แกชตั้งข้อเสนอว่าปัญหาของนักบวชคาร์เมไลท์อาจจะไม่ใช่ความพอใจหรือไม่พอใจในความสวยงามของภาพ แต่ข้อขัดแย้งมีรากฐานมาจากความแตกต่างทางมุมมองของปรัชญาศาสนา ที่นักบวชคาร์เมไลท์มีความเห็นว่าภาพของการาวัจโจละเลยความเชื่อในเรื่องแม่พระรับเกียรติยกขึ้นสวรรค์ ที่ว่าพระแม่มารีย์มิได้ถึงแก่มรณกรรมอย่างธรรมดาแต่ถูก “นำ” (Assume) ขึ้นสวรรค์ ภาพเขียนที่นำมาแทนเป็นงานเขียนของผู้ติดตามของการาวัจโจเอง คาร์โล ซาราเชนิ (Carlo Saraceni) ซึ่งเป็นภาพพระแม่มารีย์ที่มิได้นอนเสียชีวิตเช่นในภาพของการาวัจโจแต่นั่งอยู่ แต่ภาพนี้ก็ยังถูกปฏิเสธ และในที่สุดก็แทนด้วยภาพที่พระแม่มารีย์ที่มิได้นอนหรือนั่งเสียชีวิตแต่ขึ้นสวรรค์พร้อมกับหมู่ทูตสวรรค์ แต่จะอย่างไรก็ตามการปฏิเสธก็ไม่ได้หมายความว่างานของคาราวัจโจไม่เป็นที่นิยม ไม่นานหลังจากที่ถูกปฏิเสธดยุกแห่งมานทัวก็ซื้อภาพตามคำแนะนำของปีเตอร์ พอล รูเบนส์ และต่อมาพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษก็ทรงซื้อต่อ ก่อนที่จะตกไปเป็นของงานสะสมของหลวงในฝรั่งเศสในปี..

ใหม่!!: การาวัจโจและมรณกรรมของพระนางพรหมจารี (การาวัจโจ) · ดูเพิ่มเติม »

มารธาและมารีย์ชาวมักดาลา (การาวัจโจ)

มารธาและมารีย์ชาวมักดาลา (Martha and Mary Magdalene) เป็นภาพเขียนสีน้ำมันที่เขียนโดยการาวัจโจ จิตรกรสมัยบาโรกคนสำคัญชาวอิตาลีที่ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่สถาบันศิลปะดีทรอยต์ในสหรัฐอเมริกา ภาพ “มารธาและมารีย์ชาวมักดาลา” เป็นภาพที่เขียนราวปี ค.ศ. 1598 เป็นภาพของพี่น้องในคัมภีร์ไบเบิล ขณะที่มารธากำลังพยายามชักชวนให้มารีย์ชาวมักดาลาละทิ้งชีวิตเดิมและหันมารับพระเยซู ใบหน้าของมารธาอยู่ในเงาเอนตัวไปข้างหน้าเพื่อหว่านล้อมมารีย์ผู้หมุนดอกส้มเล่นอยู่ในมือหนึ่งขณะที่อีกมือหนึ่งถือกระจกสัญลักษณ์ของความสำรวยที่แมรีจะต้องเลิกใช้เมื่อหันไปนับถือคริสต์ศาสนา “มารธาและมารีย์” เป็นภาพที่เขียนขณะที่พำนักอยู่ที่วังของพระคาร์ดินัลฟรันเชสโก มาเรีย เดล มอนเต ผู้เป็นผู้อุปถัมภ์คนสำคัญคนแรก ภาพที่การาวัจโจเขียนให้แก่เดล มอนเตแบ่งเป็นสองชุดชุดหนึ่งเป็นภาพชีวิตประจำวันทางโลกที่รวมทั้ง “นักดนตรี”, “คนเล่นลูท” และ “บาคคัส” - ภาพในกลุ่มนี้เป็นภาพเด็กชายหรือชายหนุ่มที่เขียนภายในห้องที่แคบ - และอีกกลุ่มหนึ่งคือภาพทางคริสต์ศาสนาที่รวมทั้ง “พักระหว่างหนีไปอียิปต์” และ “นักบุญฟรานซิสเกิดปีติสานติ์” ในบรรดาภาพทางศาสนาเป็นภาพเขียนสี่ภาพที่นางแบบเป็นสตรีคนเดียวกันสองคนทั้งรูปเดี่ยวและรูปที่มีทั้งสองคนอยู่ในภาพ ทั้งสองคนคืออันนา บิอังชินิ (Anna Bianchini) และฟิลลิเด เมลันโดรนิ (Fillide Melandroni) ผู้เป็นสาวโสเภณีผู้มีชื่อเสียงของกรุงโรมขณะนั้นและเป็นที่แสวงหาของชนชั้นสูงในสังคมของชาวโรม และมักจะมาแวะที่วังของเดล มอนเต อันนา บิอังชินิปรากฏก่อนเป็นแมรี แม็กดาเลนในภาพ “มารีย์ชาวมักดาลาสำนึกผิด” ที่เขียนร..

ใหม่!!: การาวัจโจและมารธาและมารีย์ชาวมักดาลา (การาวัจโจ) · ดูเพิ่มเติม »

มารีย์ชาวมักดาลา

มารีย์ชาวมักดาลา หรือพบเขียนว่าแมรี แม็กดาเลน (Μαρία ἡ Μαγδαληνή, Mary Magdalene) เป็นหนึ่งในผู้ติดตามพระเยซูที่ได้รับการสรรเสริญสูงสุดคนหนึ่ง และเป็นสาวกสตรีคนสำคัญที่สุดในการเคลื่อนไหวของพระเยซู พระเยซูทรงขับ "เจ็ดผี" ออกจากตัวนาง ซึ่งตามฉบับนั้นตีความว่าหมายถึงอาการป่วยอันซับซ้อนSaint Mary Magdalene.

ใหม่!!: การาวัจโจและมารีย์ชาวมักดาลา · ดูเพิ่มเติม »

มารีย์ชาวมักดาลาสำนึกผิด (การาวัจโจ)

มารีย์มักดาลาละอายใจ (Penitent Magdalene) เป็นภาพเขียนสีน้ำมันที่เขียนโดยคาราวัจโจจิตรกรสมัยบาโรกคนสำคัญชาวอิตาลีที่ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่หอศิลป์ Doria Pamphilj ในกรุงโรมในประเทศอิตาลี ภาพ “มารีย์มักดาลาละอายใจ” เขียนราวปี ค.ศ. 1597 ภาพนี้และภาพ “พักระหว่างหนีไปอียิปต์” น่าจะเขียนในช่วงเวลาเดียวกันเพราะสตรีที่เป็นแบบสำหรับมารีย์มักดาลาและพระแม่มารีเป็นคนคนเดียวกัน นางแบบกล่าวกันว่าคือสตรีในราชสำนักชื่ออันนา บิอันชินิ ในภาพนี้ไม่มีสัญลักษณ์ใดๆ ที่เป็นเครื่องแสดงว่าเป็นภาพเกี่ยวกับคริสต์ศาสนาเช่นรัศมี เป็นภาพที่เขียนจากมุมเหนือแม่แบบผู้นั่งอยู่บนม้านั่งเตี้ยๆ ในบริเวณคล้ายถ้ำที่คาราวัจโจชอบโดยมีแสงสามเหลี่ยมสูงขึ้นไปบนผนังข้างหลังแมรี แม็กดาเลน บนพื้นมีเครื่องประดับกระจัดกระจายอยู่รอบๆ ที่มีสร้อยไข่มุก กำไล และผอบ (ที่อาจจะเป็นผอบน้ำมันหอมซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของนักบุญมารีย์มักดาลา) ผมสยายราวกับเพิ่งสระ เครื่องแต่งตัวเป็นเสื้อแขนยาวสีขาว ทูนิคสีเหลืองและกระโปรงลายดอกไม้ จิโอวานนิ เปียโตร เบลโลริบรรยายภาพนี้อย่างละเอียดที่เบลโลริพบในงานสะสมของหอศิลป์ Doria Pamphilj จิโอวานนิ เปียโตร เบลโลริผู้พบภาพนี้ในงานสะสมของเจ้าชาย Pamphilj บรรยายภาพนี้อย่างละเอียดและให้ความเห็นว่าชื่อของภาพเป็นเพียงข้ออ้างว่าเป็นภาพทางศาสนา ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วก็เป็นเพียงภาพเหมือนของสตรีสาวเท่านั้น ความครุ่นคำนึงของนักบุญมารีย์มักดาลาก็เช่นเดียวกับภาพความครุ่นคำนึงของนักบุญปีเตอร์ที่เป็นหัวข้อที่นิยมกันในสมัยการปฏิรูปศาสนาของนิกายโรมันคาทอลิกเป็นหัวเรื่องที่นิยมสร้างกันในงานศิลปะและการประพันธ์โคลงกลอนที่เห็นคุณค่าของหัวเรื่องที่เป็นหัวเรื่องที่เต็มไปด้วยการแสดงออกทางอารมณ์ที่เรียกน้ำตา มารีย์มักดาลาของคาราวัจโจสะอื้นเงียบ ๆ กับตนเองและมีหยาดน้ำตาหยดเดียวที่ไหลลงมาบนแก้ม คาราวัจโจแสดงให้เราเห็นถึงมารีย์มักดาลาที่อยู่ระหว่างชีวิตเดิมที่เต็มไปด้วยความหรูหราฟุ่มเฟือยกับชีวิตใหม่ที่เลือกในฐานะผู้ติดตามพระเยซูอย่างใกล้ชิดที่เป็นชีวิตอันสมถะ การที่สามารถสื่อความรู้สึกสะเทือนอารมณ์เช่นที่เห็นในภาพเป็นความสามารถของคาราวัจโจ แม้ว่าจะไม่มีภาพของมารีย์มักดาลาภาพใดที่สร้างในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ที่กระตุ้นความสะเทือนอารมณ์เท่ากับงานแกะไม้ที่รุ่งริ่งของมารีย์มักดาลาของโดนาเทลโล (ราว ค.ศ. 1456-1460) จนกระทั่งภาพกึ่งเปลือย “มารีย์มักดาลา” ที่เขียนโดยทิเชียน ในคริสต์ทศวรรษ 1530 ที่สามสิบปีต่อมาในคริสต์ทศวรรษ 1560 กลายมาเป็นมารีย์มักดาลาที่สมถะลงในสมัยของคาราวั.

ใหม่!!: การาวัจโจและมารีย์ชาวมักดาลาสำนึกผิด (การาวัจโจ) · ดูเพิ่มเติม »

มารีโอ มินนีตี

มาริโอ มินนิติ (ภาษาอังกฤษ: Mario Minniti) (ธันวาคม ค.ศ. 1577 - 22 พฤศจิกายน ค.ศ. 1640) เป็นจิตรกรสมัยบาโรกชาวอิตาลีที่ทำงานในซิซิลีในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ผู้มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนภาพเขียนสีน้ำมัน มินนิติเกิดเมื่อเดือนธันวาคม ค.ศ. 1577 ที่เมืองไซราคิวส์ในประเทศอิตาลี และเสียชีวิตเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน ค.ศ. 1640 มินนิติมาถึงโรมในปี ค.ศ. 1593 และกลายเป็นเพื่อนของและแบบให้คาราวัจโจจิตรกรคนสำคัญของอิตาลี ชื่อเสียงของมินนิติมาจากการเป็นแบบให้คาราวัจโจในสมัยต้นของการเขียนภาพที่รวมทั้ง “เด็กชายกับตะกร้าผลไม้”, “นักดนตรี”, “เด็กถูกจิ้งเหลนกัด”, “บัคคัส”, “คนเล่นพิณ”, “พระเยซูเรียกนักบุญแม็ทธิว” และ “การพลีชีพของนักบุญแม็ทธิว” มินนิติไม่ปรากฏในภาพของคาราวัจโจราวหลังจากปี ค.ศ. 1600 เมื่อเชื่อว่าได้แต่งงาน แต่อาจจะมีส่วนร่วมในการทะเลาะเบาะแว้งในปี ค.ศ. 1606 ที่จบลงด้วยการที่คาราวัจโจฆ่ารานุชชิโอ โทมัสโซนิ นักชีวประวัติกล่าวว่ามินนิติหลบหนีไปซิซิลีหลังจากนั้น จากซิซิลีมินนิติก็ยื่นคำร้องขออภัยโทษมายังโรมที่ในที่สุดก็ได้รับ นอกจากนั้นมินนิติก็ยังให้ที่พักแก่คาราวัจโจเมื่อไปพักอยู่ที่ซิซิลีระหว่างปี ค.ศ. 1608 ถึงปี ค.ศ. 1609 และเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการหางานจ้างสำคัญๆ ให้คาราวัจโจระหว่างที่อยู่ที่นั่น มินนิติมีเวิร์คช็อพเขียนงานทางศาสนาที่มีความสำเร็จและในที่สุดก็กลายเป็นักธุรกิจผู้ที่เป็นที่นับถือในท้องถิ่น งานของมินนิติเป็นงานที่ทำร่วมกับผู้ช่วยจึงทำให้เป็นการยากที่จะบ่งได้อย่างเป็นที่แน่นอนว่าใครเป็นผู้เขียนที่แท้จริงหรือใครมีส่วน แต่ที่แน่นอนคือมินนิตินำวิธีการวาดภาพที่ได้รับจากคาราวัจโจไปเผยแพร่ในซิซิลีโดยเฉพาะการเท็คนิคการวาดที่เน้นค่าต่างแสง (chiaroscuro) และการจับภาพในชั่วนาทีที่เป็นนาฏกรรมสูงสุด แต่งานของมินิติหรืองานของมินนิติกับเวิร์คช็อพถูกวิจารณ์ว่าเป็นงานที่ใช้โมทิฟที่ซ้ำๆ กัน แต่กระนั้นมินนิติก็เป็นที่นับถือกันในซิซิลีและดีพอที่จะเรียกได้ว่าเป็น “ตระกูลการเขียนแบบมินนิติ” ในประวัติศาสตร์ศิลปะของซิซิลี.

ใหม่!!: การาวัจโจและมารีโอ มินนีตี · ดูเพิ่มเติม »

มิลาน

มิลาน (Milan) หรือ มีลาโน (Milano) เป็นเมืองหลักของแคว้นลอมบาร์เดียและเป็นเมืองสำคัญในภาคเหนือของประเทศอิตาลี ตั้งอยู่บริเวณที่ราบลอมบาร์ดี (Lombardy) เมืองมิลานมีประชากรประมาณ 1,308,500 คน (ข้อมูลปี พ.ศ. 2547) โดยถ้ารวมบริเวณรอบนอกและเขตปริมณฑลจะมีประมาณ 4 ล้านคน ซึ่งเรียกเขตทั้งหมดว่า ลากรันเดมีลาโน (La Grande Milano) มิลานมีพื้นที่ประมาณ 1,982 ตร.กม.

ใหม่!!: การาวัจโจและมิลาน · ดูเพิ่มเติม »

มีเกลันเจโล

มีเกลันเจโล หรือที่มักรู้จักกันในชื่อ ไมเคิลแองเจโล มีชื่อเต็มว่า มีเกลันเจโล ดี โลโดวีโก บูโอนาร์โรตี ซีโมนี (Michelangelo di Lodovico Buonarroti Simoni, 6 มีนาคม ค.ศ. 1475 - 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1564) เป็นจิตรกร สถาปนิก และประติมากรชื่อดัง ในช่วงยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (Renaissance) มีเกลันเจโลเกิดเมื่อปี ค.ศ. 1475 ที่หมู่บ้านคาปรีส (ปัจจุบันอยู่ในทัสกานี, อิตาลี) เขาเติบโตที่เมืองฟลอเรนซ์ หลังจากที่ไปอยู่ที่กรุงโรมเมื่ออายุ 21 ปี และใช้ชีวิตอยู่ที่นั่นถึง 5 ปี มีเกลันเจโลสร้างประติมากรรมรูปสลัก เดวิด ตอนอายุ 26 ปี จากหินอ่อนก้อนมหึมาที่ถูกทิ้งไว้กลางเมืองฟลอเรนซ์เป็นเวลาหลายปี จึงกลายเป็นที่ฮือฮาของชาวเมือง ด้วยเหตุผลที่ว่า ไม่มีใครกล้าพอที่จะแตะต้องมัน ความสำเร็จหลังจากงานชิ้นนี้ ทำให้ชื่อเสียงของเขาโด่งดังไปทั่วอิตาลี มีเกลันเจโล เดิมทีเป็นคนที่เกลียดเลโอนาร์โด ดา วินชี ถึงแม้ว่าทั้งคู่จะมีอายุห่างกันถึง 23 ปี และไม่ค่อยได้พบกันบ่อยนัก ในช่วงนี้ (ค.ศ. 1497 - ค.ศ. 1500) เขาก็ได้สร้างประติมากรรมหินอ่อนอีกชิ้นหนึ่งที่มีชื่อว่า ปีเอตะ (Pietà) ซึ่งปัจจุบันอยู่ในมหาวิหารนักบุญเปโตรที่กรุงโรม ตอนอายุได้ 30 ปี เขาได้ถูกเชิญให้กลับมาที่กรุงโรม เพื่อออกแบบหลุมฝังศพให้กับสมเด็จพระสันตะปาปาจูเลียสที่ 2 ซึ่งใช้เวลาประมาณ 40 ปี หลังจากแก้หลายครั้งหลายครา จนมาสำเร็จในปี ค.ศ. 1545 ต่อมาในปี ค.ศ. 1546 เขาเป็นสถาปนิกคนสำคัญในการสร้างมหาวิหารนักบุญเปโตรที่กรุงโรม ที่มีความยิ่งใหญ่และงดงามเป็นอย่างมาก ซึ่งถือเป็นสถาปัตยกรรมชิ้นเอกของโลก โดยเฉพาะส่วนที่เป็นโดม เขาใช้ชีวิตในบั้นปลายอยู่ในกรุงโรม ตลอด 30 ปี ช่วงนี้นั้นเองที่เขาเขียนภาพระดับโลกไว้มากมาย โดยเฉพาะภาพ คำพิพากษาครั้งสุดท้าย (The Last Judgment) ซึ่งเขาใช้เวลาในการเขียนภาพขนาดยักษ์นี้นานถึง 6 ปี มีเกลันเจโล บูโอนาร์โรตี เสียชีวิตที่กรุงโรม เมื่อปี ค.ศ. 1564 รวมอายุได้ 88 ปี ซึ่งมีคำกล่าวจากสมเด็จพระสันตะปาปาจูเลียสที่ 2 ว่า "ทรงยินดีบั่นทอนชีวิตของท่านลง เพื่อแลกกับชีวิตของมิเกลันเจโลให้ยืนยาวออกไปอีก".

ใหม่!!: การาวัจโจและมีเกลันเจโล · ดูเพิ่มเติม »

ยอห์นแบปติสต์ (การาวัจโจ)

“นักบุญจอห์นแบ็พทิสต์” โดย คาราวัจโจ นักบุญจอห์นแบ็พทิสต์ หรือ นักบุญจอห์นเร่ร่อน (John the Baptist หรือ John in the Wilderness) เป็นหัวข้อที่เขียนอย่างน้อยแปดครั้งโดยคาราวัจโจ ผู้เป็นจิตรกรสมัยบาโรกคนสำคัญชาวอิตาลี ระหว่างปี..

ใหม่!!: การาวัจโจและยอห์นแบปติสต์ (การาวัจโจ) · ดูเพิ่มเติม »

รัฐเท็กซัส

ท็กซัส (Texas) เป็นรัฐที่อยู่ทางใต้และตะวันตกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกา มีพื้นที่ทั้งหมด 695,622 ตารางกิโลเมตร และมีประชากร 22.8 ล้านคน เท็กซัสเป็นรัฐที่ใหญ่เป็นอันดับสองทั้งพื้นที่และประชากร รวมเข้ากับสหรัฐอเมริกาเป็นลำดับที่ 28 ในปี พ.ศ. 2388 อักษรย่อของที่ทำการไปรษณีย์สหรัฐคือ TX.

ใหม่!!: การาวัจโจและรัฐเท็กซัส · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อภาพเขียนโดยการาวัจโจ

รายชื่อภาพเขียนโดยการาวัจโจ เป็นรายการภาพเขียนสีน้ำมันที่เขียนโดยการาวัจโจ ผู้เป็นจิตรกรสมัยบาโรกคนสำคัญของประเทศอิตาลีในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17.

ใหม่!!: การาวัจโจและรายชื่อภาพเขียนโดยการาวัจโจ · ดูเพิ่มเติม »

ลอนดอน

ลอนดอน (London, ลันเดิน) เป็นเมืองหลวงของประเทศอังกฤษ และสหราชอาณาจักร และเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของสหภาพยุโรป เป็นเมืองที่มีศูนย์กลางทางธุรกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลก ลอนดอนเป็นหนึ่งในศูนย์กลางสำคัญทางธุรกิจ การเมือง วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ของโลก เป็นผู้นำด้านการเงิน การเมือง การสื่อสาร การบันเทิง แฟชั่น และศิลปะ ในอดีตเป็นเมืองหลวงของโลก เป็นเมืองที่เจริญที่สุดในโลก ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เป็นเมืองที่มีอิทธิพลไปทั่วโลก ถือกันว่าเป็นเมืองสากลหลักของโลก จีดีพีของลอนดอน คิดเป็นร้อยละ 19.5 ของสหราชอาณาจักร ลอนดอนมีประชากรประมาณ 7.5 ล้านคน (ข้อมูลเมื่อปี พ.ศ. 2549) และประมาณ 12 - 14 ล้านคนถ้ารวมนครหลวงลอนดอนและปริมณฑล ลอนดอนเป็นเมืองที่ประกอบด้วยหลายชนชาติอย่างมาก ประชากรมีความหลากหลายทั้งด้านเชื้อชาติ วัฒนธรรม ศาสนา และภาษา ซึ่งประมาณว่ามีมากกว่า 300 ภาษา เราเรียกชาวลอนดอนว่า ลอนดอนเนอร์ (Londoner) ลอนดอนเป็นศูนย์กลางการคมนาคมในระดับนานาชาติ และเป็นเมืองท่องเที่ยวสำคัญของทวีปยุโรป โดยสนามบินที่ใหญ่ที่สุดในลอนดอน คือ ท่าอากาศยานนานาชาติฮีทโธรว.

ใหม่!!: การาวัจโจและลอนดอน · ดูเพิ่มเติม »

วินเชนโซ จุสตีนีอานี

มาร์เกเซ วินเชนโซ จุสตีนีอานี (Marchese Vincenzo Giustiniani; 13 กันยายน ค.ศ. 1564 - 27 ธันวาคม ค.ศ. 1637) เป็นนายธนาคารและนักสะสมศิลปะคนสำคัญของประเทศอิตาลีในคริสต์ศตวรรษที่ 16 และ 17 จุสตีนีอานีมีชื่อเสียงในปัจจุบันจากงานสะสมศิลปะที่พาลัซโซจุสตีนีอานี ใกล้ตึกแพนเทียนในกรุงโรมและที่ปาลัซโซของครอบครัวที่บัสซาโนโดยวินเชนโซและพี่ชายเบนเนเดตโต และในการเป็นผู้อุปถัมภ์การาวัจโจ จิตรกรสมัยบาโรกคนสำคัญ.

ใหม่!!: การาวัจโจและวินเชนโซ จุสตีนีอานี · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระสันตะปาปาเคลเมนต์ที่ 8

thumb สมเด็จพระสันตะปาปาคลีเมนต์ที่ 8 (อังกฤษ: Clement VIII) ทรงดำรงตำแหน่งพระสันตะปาปาตั้งแต่ ค.ศ. 1592 ถึง ค.ศ. 1605 หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2079 คลีเมนต์ที่ 8 หมวดหมู่:บุคคลจากแคว้นมาร์เค.

ใหม่!!: การาวัจโจและสมเด็จพระสันตะปาปาเคลเมนต์ที่ 8 · ดูเพิ่มเติม »

สะโลเมกับศีรษะของยอห์นแบปติสต์ (การาวัจโจ) มาดริด

ลเมกับศีรษะของยอห์นแบปติสต์ (Salome with the Head of John the Baptist) เป็นภาพเขียนสีน้ำมันที่เขียนโดยการาวัจโจจิตรกรสมัยบาโรกคนสำคัญชาวอิตาลีที่ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่พระราชวังมาดริด ในประเทศสเปน นักชีวประวัติโจวันนี ปีเอโตร เบลโลรี (Giovanni Bellori) กล่าวถึงภาพเขียน “สะโลเมกับศีรษะของยอห์นแบปติสต์” ในปี..

ใหม่!!: การาวัจโจและสะโลเมกับศีรษะของยอห์นแบปติสต์ (การาวัจโจ) มาดริด · ดูเพิ่มเติม »

หมอดู (คาราวัจโจ)

หมอดู (The Fortune Teller) เป็นภาพเขียนสีน้ำมันที่มีด้วยกันสองฉบับที่เขียนโดยคาราวัจโจจิตรกรสมัยบาโรกคนสำคัญชาวอิตาลี ฉบับแรกเขียนในปี..

ใหม่!!: การาวัจโจและหมอดู (คาราวัจโจ) · ดูเพิ่มเติม »

หอศิลป์แห่งชาติ (ลอนดอน)

หอศิลป์แห่งชาติ (National Gallery) เป็นพิพิธภัณฑ์ที่ตั้งอยู่ในกรุงลอนดอนในอังกฤษ ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1824 เป็นที่แสดงและเก็บรักษาจิตรกรรมกว่า 2,300 ภาพจากตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 13 จนถึงปี ค.ศ. 1900 หอศิลป์แห่งชาติเริ่มก่อตั้งเมื่อรัฐบาลซี้อภาพเขียน 36 ภาพจากนายธนาคาร จอห์น จูเลียส แองเกอร์สไตน์ (John Julius Angerstein) ในปี ค.ศ. 1824 หลังจากนั้นลักษณะการสะสมก็ขึ้นอยู่กับผู้อำนวยการของหอศิลป์ โดยเฉพาะชาลส์ ล็อก อีสต์เลค (Charles Lock Eastlake) และโดยการอุทิศเงินส่วนบุคคลซึ่งเป็นจำนวนประมาณสองในสามของภาพในหอศิลป์เจ็นทิลิ, ออกัสโต; บาร์แชม, วิลเลียม & ไวท์ลีย์, ลินดา (ค.ศ. 2000).

ใหม่!!: การาวัจโจและหอศิลป์แห่งชาติ (ลอนดอน) · ดูเพิ่มเติม »

อัศวินฮอสปิทัลเลอร์

ณะอัศวินฮอสปิทัลเลอร์ (Knights Hospitaller) หรือคณะฮอสปิทัลเลอร์ (Order of Hospitallers) เป็นคณะบุรุษที่ทำงานที่โรงพยาบาลอมาลฟิที่ตั้งขึ้นในเยรูซาเลมในปี..

ใหม่!!: การาวัจโจและอัศวินฮอสปิทัลเลอร์ · ดูเพิ่มเติม »

อันนีบาเล การ์รัชชี

อันนิบาเล คารัคชี (ภาษาอังกฤษ: Annibale Carracci) (3 พฤศจิกายน ค.ศ. 1560 - ค.ศ. 15 กรกฎาคม ค.ศ. 1609) เป็นจิตรกรสมัยบาโรกชาวอิตาลีในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ผู้มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนจิตรกรรมฝาผนัง.

ใหม่!!: การาวัจโจและอันนีบาเล การ์รัชชี · ดูเพิ่มเติม »

อาราม

อาราม (monastery) คือสิ่งก่อสร้างหรือกลุ่มสิ่งก่อสร้างที่ใช้เป็นที่พักอาศัยและที่ทำงานของนักพรต ซึ่งอาจอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม หรืออยู่โดดเดี่ยว เช่น ฤๅษี (hermit) ในทางตะวันตก (คริสต์ศาสนา) “อาราม” มาจากภาษาอังกฤษคำว่า “Monastery” ที่มีที่มาจากภาษากรีก “μοναστήριον” - “monasterios” (จากคำว่า “μονάζειν'” - “monazein” ที่แปลว่าอยู่ตามลำพัง) คำว่า “monastērion” ใช้เป็นครั้งแรกในคริสต์ศตวรรษที่ 1 ในบทที่สามของหนังสือ “On The Contemplative Life” เขียนโดยนักปรัชญาชาวยิวชื่อไฟโล ศาสนาและปรัชญาต่าง ๆ ในโลกล้วนมีประเพณีการใช้ชีวิตอารามวาสีที่นักพรตหรือกลุ่มนักพรตที่มีความตั้งใจแน่วแน่ในการใช้ชีวิตเพื่อศาสนามารวมตัวกันเป็นชุมชน และก่อสร้างศาสนสถานและที่พำนักอาศัยที่แยกจากชุมชนของคฤหัสถ์ บริเวณที่เรียกว่าอารามปรากฏในหลายศาสนา เช่น อารามหรือวัดใน พุทธศาสนา คริสต์ศาสนา รวมไปถึงลัทธิขงจื๊อด้วย ในศาสนาเกือบทุกศาสนาชีวิตภายในอารามจะปกครองโดยกฎที่วางขึ้นโดยเฉพาะสำหรับชุมชนของตนโดยเฉพาะ เช่น กฎการสวดมนต์และเวลาสวด, กฎการใช้ชีวิต และอื่น ๆ เช่นกฎว่าด้วยเพศของสมาชิก หรือกฎที่ห้ามการมีภรรยา หรือการห้ามมีสมบัติเป็นของตนเองเป็นต้น นอกจากนั้นกฎที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของอารามกับอารามอื่นในกลุ่มเดียวกันหรือนอกกลุ่ม หรือกับชุมชนรอบข้างก็จะแตกต่างกันออกไป บางอารามก็เน้นการอยู่ร่วมกับชุมชนรอบข้างเช่นในการให้การศึกษาหรือบริการการรักษาพยาบาลหรือการสอนศาสนา แต่บางอารามก็เน้นการใช้ชีวิตที่แยกกันอย่างเด็ดขาดจากชุมชน.

ใหม่!!: การาวัจโจและอาราม · ดูเพิ่มเติม »

อาร์เตมีเซีย เจนตีเลสกี

“ภาพเหมือนตนเอง” (ราว ค.ศ. 1630) อาร์เทมิเซีย เจ็นทิเลสชิ (ภาษาอังกฤษ: Artemisia Gentileschi) (8 กรกฎาคม ค.ศ. 1593 - ค.ศ. 1651/1653) เป็นจิตรกรบาโรกสมัยต้นของประเทศอิตาลีในคริสต์ศตวรรษที่ 17 อาร์เทมิเซียเกิดที่กรุงโรมและเสียชีวิตที่เนเปิลส์มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนภาพสีน้ำมัน อาร์เทมิเซียเป็นจิตรกรคนสำคัญคนหนึ่งที่ได้รับอิทธิพลจากคาราวัจโจ และเป็นจิตรกรในสมัยที่ผู้หญิงยังไม่เป็นที่ยอมรับกันในกลุ่มนักเขียนภาพ อาร์เทมิเซียเป็นจิตรกรหญิงคนแรกที่ได้เป็นสมาชิกของสถาบันวิจิตรศิลป์แห่งฟลอเรนซ์ (Accademia di Belle Arti Firenze) และเป็นสตรีคนแรกที่เขียนภาพเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์และศาสนาในสมัยที่หัวข้อเช่นนี้เชื่อกันว่าเป็นสิ่งที่เกินกว่าผู้หญิงจะเข้าใจได้.

ใหม่!!: การาวัจโจและอาร์เตมีเซีย เจนตีเลสกี · ดูเพิ่มเติม »

อาหารค่ำมื้อสุดท้าย

“อาหารค่ำมื้อสุดท้าย” โดย ไซมอน อูชาคอฟ (Simon Ushakov) ราว ค.ศ. 1685 อาหารค่ำมื้อสุดท้าย (Last Supper, Lord's Supper, Mystical Supper) ตามความเชื่อของคริสต์ศาสนิกชนคืออาหารมื้อสุดท้ายที่พระเยซูเสวยร่วมกับสาวกของพระองค์ ก่อนจะมีการตรึงพระเยซูที่กางเขน “อาหารค่ำมื้อสุดท้าย” เป็นหัวเรื่องที่นิยมกันในการสร้างงานจิตรกรรม ภาพที่มีชื่อเสียงที่สุดคือภาพที่เขียนโดยเลโอนาร์โด ดา วินชี ตามคำกล่าวของนักบุญเปาโลอัครทูตในหนังสือโครินธ์ ระหว่างเสวยพระกระหารที่มีขนมปังและเหล้าองุ่น พระเยซูตรัสต่อสาวกว่า “จงดื่มเป็นที่ระลึกถึงเรา” เหตุการณ์อื่นและบทสนทนาบันทึกในพระวรสารสหทรรศน์และพระวรสารนักบุญยอห์น คริสต์ศาสนิกชนบางคนถือว่าเป็นรากฐานของศีลมหาสนิท ถ้วยที่ใช้ใส่ไวน์บางทีก็เรียกว่าจอกศักดิ์สิทธิ์ (Holy Chalice) และเป็นหนึ่งในวรรณกรรมเกี่ยวกับเรื่องถ้วยศักดิ์สิทธิ์ (Holy Grail) ในปรัมปราวิทยาในศาสนาคริสต.

ใหม่!!: การาวัจโจและอาหารค่ำมื้อสุดท้าย · ดูเพิ่มเติม »

ฌอร์ฌ เดอ ลา ตูร์

“นักบุญแมรี แม็กดาเลน” โดยฌอร์ฌ เดอ ลา ตูร์ ฌอร์ฌ เดอ ลา ตูร์ (Georges de La Tour; 13 มีนาคม พ.ศ. 2136 - 30 มกราคม พ.ศ. 2195) จิตรกรสมัยบาโรกคนสำคัญของประเทศฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 17 มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนภาพสีน้ำมัน โดยการเน้นการใช้ "ค่าต่างแสง" (Chiaroscuro) หรือการใช้ความตัดกันอย่างชัดเจนของแสงและเง.

ใหม่!!: การาวัจโจและฌอร์ฌ เดอ ลา ตูร์ · ดูเพิ่มเติม »

จริตนิยม

ในภาพเขียน “แม่พระพระศอยาว” (Madonna with the Long Neck)-(ค.ศ. 1534-1540) โดยปาร์มีจานีโน แมนเนอริสม์แสดงโดยการทำให้สัดส่วนยาวขึ้นซึ่งทำให้มีผลต่อการวางรูปและบิดเบือนทัศนมิติไม่กระจ่างแจ้ง จริตนิยม (Mannerism) คือยุคของศิลปะของจิตรกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรม และการตกแต่ง ที่เริ่มตั้งแต่ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาสมัยทึ่รุ่งเรืองที่สุดราวปี..

ใหม่!!: การาวัจโจและจริตนิยม · ดูเพิ่มเติม »

จอร์โจเน

“ภาพเหมือนตนเอง?” (ราว ค.ศ. 1500-1510) “ลอรา” (ค.ศ. 1506) พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์, เวียนนา จอร์โจเน (ภาษาอังกฤษ: Giorgione หรือ Giorgio Barbarelli da Castelfranco) (ราว ค.ศ. 1477 - ค.ศ. 1510) เป็นจิตรกรสมัยศิลปะเรอเนซองส์คนสำคัญของเวนิสในประเทศอิตาลีในคริสต์ศตวรรษที่ 15 ถึง 16 มีชื่อเสียงว่าเขียนภาพอย่างมีอรรถรส (elusive poetic quality) ทั้งๆ ที่มีภาพที่เป็นที่ทราบแน่นอนว่าเขียนโดยจอร์โจเนเพียงประมาณ 6 ภาพไม่นับภาพอื่นที่สันนิษฐานว่าเขียนโดยจอร์โจเนด้วย เพราะความที่ไม่ทราบว่าเป็นใครแน่และความหมายของภาพเขียนจึงทำให้งานเขียนของจอร์โจเนเป็นงานที่ยังลึกลับต่อการตีความหมายที่สุดในบรรดางานจิตรกรรมตะวันตก.

ใหม่!!: การาวัจโจและจอร์โจเน · ดูเพิ่มเติม »

จัน โลเรนโซ แบร์นีนี

ีอันโลเรนโซ แบร์นินี (Gian Lorenzo Bernini) (Giovanni Lorenzo Bernini, 7 ธันวาคม พ.ศ. 2141 - 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2223) เป็นประติมากรและสถาปนิกบาโรกที่มีชื่อเสียงในกรุงโรม เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 17.

ใหม่!!: การาวัจโจและจัน โลเรนโซ แบร์นีนี · ดูเพิ่มเติม »

จิตรกรรม

มนาลิซา เป็นหนึ่งในภาพจิตรกรรมที่เป็นที่จดจำได้มากที่สุดในโลกตะวันตก โดย นายชัยยะนุช จิตรกรรม (painting) เป็นงานศิลปะที่แสดงออกด้วยการวาด ระบายสี และการจัดองค์ประกอบความงามอื่น เพื่อให้เกิดภาพ 2 มิติ ไม่มีความลึกหรือนูนหนา จิตรกรรมเป็นแขนงหนึ่งของทัศนศิลป์ ผู้ทำงานจิตรกรรม มักเรียกว่า จิตรกร จอห์น แคนาเดย์ (John Canaday) ได้ให้ความหมายของจิตรกรรมไว้ว่า จิตรกรรม คือ การระบายชั้นของสีลงบนพื้นระนาบรองรับ เป็นการจัดรวมกันของรูปทรง และ สีที่เกิดขึ้นจากการเตรียมการของศิลปินแต่ละคนในการเขียนภาพนั้น พจนานุกรมศัพท์ อธิบายว่า เป็นการสร้างงานทัศนศิลป์บนพื้นระนาบรองรับ ด้วยการ ลาก ป้าย ขีด ขูด วัสดุ จิตรกรรมลงบนพื้นระนาบรองรับ ภาพจิตรกรรมที่เก่าแก่ที่สุดที่เป็นที่รู้จักอยู่ที่ถ้ำ Chauvet ในประเทศฝรั่งเศส ซึ่งนักประวัติศาสตร์บางคนอ้างว่ามีอายุราว 32,000 ปีเป็นภาพที่สลักและระบายสีด้วยโคลนแดงและสีย้อมดำ แสดงรูปม้า แรด สิงโต ควาย แมมมอธ หรือมนุษย์ ซึ่งมักจะกำลังล่าสัตว.

ใหม่!!: การาวัจโจและจิตรกรรม · ดูเพิ่มเติม »

จิตรกรรมบาโรก

“ยาม” โดย แรมบรังด์ ราว ค.ศ. 1642 เป็นตัวอย่างที่ดีของจิตรกรรมแบบบาโรก จิตรกรรมบาโรก (Baroque painting) เป็นจิตรกรรมที่เกี่ยวข้องกับขบวนการศิลปะบาโรก ซึ่งเป็นขบวนการที่เกี่ยวข้องกับระบบสัมบูรณนิยมทางการเมือง (absolutism), การปฏิรูปศาสนาซ้อน (Counter Reformation) และการฟื้นฟูโรมันคาทอลิก, from Encyclopædia Britannica Online, latest edition, full-article.

ใหม่!!: การาวัจโจและจิตรกรรมบาโรก · ดูเพิ่มเติม »

จิตรกรรมสีน้ำมัน

"โมนาลิซา" โดยเลโอนาร์โด ดา วินชี ราว ค.ศ. 1503-1506 จิตรกรรมสีน้ำมัน หรือ ภาพเขียนสีน้ำมัน (oil painting) คือการเขียนภาพโดยใช้สีฝุ่นที่ผสมกับน้ำมันแห้ง (drying oil) — โดยเฉพาะในตอนต้นของยุโรปสมัยใหม่, น้ำมันลินสีด (linseed oil) ตามปกติแล้วก็จะต้มน้ำมันเช่นลินสีดกับยางสนหรือยางสนหอม (frankincense) ส่วนผสมนี้เรียกว่า "น้ำมันเคลือบ" (varnish) ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้ภาพเขียนมีความหนาและเป็นเงา น้ำมันอื่นที่ใช้ก็มีน้ำมันเม็ดฝิ่น, น้ำมันวอลนัต, และน้ำมันดอกคำฝอย น้ำมันแต่ละอย่างก็มีคุณภาพต่าง ๆ กัน เช่นอาจจะทำให้สืเหลืองน้อยลง หรือใช้เวลาแห้งไม่เท่ากัน บางครั้งก็จะเห็นความแตกต่างจากเงาของภาพเขียนแล้วแต่ชนิดของน้ำมัน จิตรกรจะใช้น้ำมันหลายชนิดในภาพเขียนเดียวกันเพื่อให้ได้ลักษณะของภาพเขียนออกมาตามที่ต้องการ การแสดงออกของสีก็จะต่างกันตามแต่วัสดุที่ใช้เขียน.

ใหม่!!: การาวัจโจและจิตรกรรมสีน้ำมัน · ดูเพิ่มเติม »

จูเซปเป เซซารี

ูเซปเป เซซารี (Giuseppe Cesari) (ราว ค.ศ. 1568 - 3 กรกฎาคม ค.ศ. 1640) เป็นจิตรกรรมสมัยแมนเนอริสม์ชาวอิตาลีในคริสต์ศตวรรษที่ 16 และ 17 ผู้มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนภาพเขียนสีน้ำมัน เซซาริเกิดเมื่อวันที่ ราว ค.ศ. 1568 ที่เมืองอาร์พิโนใน ประเทศอิตาลี และเสียชีวิตเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม ค.ศ. 1640 ที่กรุงโรม ชื่ออื่นที่เซซาริเป็นที่รู้จักคือ “อิล จุยเซ็ปปิโน” และ “คาวาเลียร์ดาร์ปิโน” เพราะได้รับแต่งตั้งให้เป็น “Cavaliere di Cristo” โดยสมเด็จพระสันตะปาปาคลีเมนต์ที่ 8 ผู้อุปถัม.

ใหม่!!: การาวัจโจและจูเซปเป เซซารี · ดูเพิ่มเติม »

ทิเชียน

“ภาพเหมือน” (ราว ค.ศ. 1488) ภาพเหมือนดยุ๊คแห่งเวนิสมาร์คานโตนิโอ เทรวิซานิ (Marcantonio Trevisani) ที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะที่บูดาเพช ประเทศฮังการี เทพดานาเอ” (Danaë) ภาพหนึ่งจากหลายภาพจากตำนานเทพที่ทิเชียนเขียน จ้างโดยพระเจ้าฟิลลิปที่ 2 แห่งสเปนใน ค.ศ. 1554 แม้ว่าไมเคิล แอนเจโลจะติจากมุมมองของการวาดเส้นแต่ทิเชียนก็เขียนภาพนี้อีกหลายภาพให้กับผู้อุปถัมภ์อื่นๆ ทิเซียโน เวเชลลี หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ ทิเชียน หรือ ทิชัน (Tiziano Vecelli หรือ Tiziano Vecellio หรือ Titian.) (ค.ศ. 1485 - 27 สิงหาคม ค.ศ. 1576) เป็นจิตรกรยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาคนสำคัญของประเทศอิตาลีในคริสต์ศตวรรษที่ 16 มีความสำคัญทางการเขียนภาพสีน้ำมัน ทิเชียนเป็นจิตรกรผู้นำของศิลปะเรอเนซองส์ของตระกูลการเขียนแบบเวนิส ทิเชียนเกิดที่พิเว ดี คาดอเร (Pieve di Cadore) ใกล้เมืองเบลลูโน ในรัฐอาณาจักรเวนิส จึงรู้จักกันในนามว่า “ดา คอเดเร” ตามเมืองเกิดด้วย ทิเชียน เป็นจิตรกรที่มีความสามารถหลายด้าน ผู้เขียนได้ทั้งภาพเหมือนและภาพภูมิทัศน์อันเป็นสองลักษณะที่ทำให้มีชื่อเสียง และการเขียนตำนานเทพ และศิลปะคริสต์ศาสนา ถ้าทิเชียนเสียชีวิตเมื่ออายุได้เพียง 40 ปีก็ยังถือเป็นจิตรกรที่มีอิทธิพลที่สุดคนหนึ่งในสมัยนั้น แต่ทิเชียนก็อยู่ต่อมาอีก 50 ปีในขณะที่เปลี่ยนแปลงวิธีเขียนภาพจากเดิมไปเป็นอย่างมาก นักวิจารณ์บางคนไม่เชื่อว่างานที่สร้างเมื่อสมัยต้นและสมัยปลายของทิเชียนเป็นงานของจิตรกรคนเดียวกัน ลักษณะที่ทำให้ทราบว่าเป็นคนเดียวกันคือความสนใจอย่างลึกซึ้งในการใช้สี งานในสมัยหลังแม้จะไม่ใช้สีสดและเรืองอย่างสมัยแรก แต่ฝีแปรงที่พริ้วที่แฝงให้เห็นความที่จะเป็นสีต่างๆ เพียงเล็กน้อยเป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในประวัติศาสตร์ศิลปะตะวันตก.

ใหม่!!: การาวัจโจและทิเชียน · ดูเพิ่มเติม »

ดับลิน

ับลิน (Dublin; ไอริช: Baile Átha Cliath) เป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของสาธารณรัฐไอร์แลนด์ ชื่อดับลินนั้นมาจากคำว่า Dubh Linn ซึ่งในภาษาไอริชมีความหมายว่า "สระน้ำสีดำ" (Black Pool) ดับลินมีพื้นที่ประมาณ 114.99 ตารางกิโลเมตร มีประชากรประมาณ 495,781 คนในเขตตัวเมือง.

ใหม่!!: การาวัจโจและดับลิน · ดูเพิ่มเติม »

ดิเอโก เบลัซเกซ

อโก เบลัซเกซ ดิเอโก โรดริเกซ เด ซิลบา อี เบลัซเกซ (Diego Rodríguez de Silva y Velázquez; 6 มิถุนายน พ.ศ. 2142 - 6 สิงหาคม พ.ศ. 2203) เป็นจิตรกรชาวสเปน มีผลงานที่มีชื่อเสียง เช่น Las Meninas, La Venus del espejo และ La Rendición de Breda.

ใหม่!!: การาวัจโจและดิเอโก เบลัซเกซ · ดูเพิ่มเติม »

ดีร์ก ฟัน บาบือเริน

ีร์ก ยัสเปิร์สโซน ฟัน บาบือเริน (Dirck Jasperszoon van Baburen) หรือ เตโอดูร์ ฟัน บาบือเริน (Teodoer van Baburen; ราว ค.ศ. 1595 - 21 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1624) เป็นจิตรกรชาวดัตช์ในสมัยยุคทองของเนเธอร์แลนด์ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ผู้มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนภาพประวัติศาสตร์, คริสต์ศาสนา และชีวิตประจำวัน.

ใหม่!!: การาวัจโจและดีร์ก ฟัน บาบือเริน · ดูเพิ่มเติม »

ดีทรอยต์

ีทรอยต์ (Detroit) เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในรัฐมิชิแกน ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นเมืองท่าชั้นนำบริเวณแม่น้ำดีทรอยต์ ในภูมิภาคตะวันออกกลางของประเทศ และเป็นเมืองขนาดใหญ่เมืองเดียวของอเมริกาที่อยู่ทิศเหนือกว่าเมืองแคนาดา คือเมืองวินด์เซอร์ (รัฐออนแทริโอ) ดีทรอยต์ก่อตั้งในปี..

ใหม่!!: การาวัจโจและดีทรอยต์ · ดูเพิ่มเติม »

ความกังขาของนักบุญทอมัส (คาราวัจโจ)

วามกังขาของนักบุญทอมัส (The Incredulity of Saint Thomas) เป็นภาพเขียนสีน้ำมันที่เขียนโดยคาราวัจโจ จิตรกรสมัยบาโรกคนสำคัญชาวอิตาลีที่ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่พระราชวังซองส์ซูซิ, พอทสดัมในประเทศเยอรมนี ภาพ “ความกังขาของนักบุญทอมัส” เขียนราวระหว่างปี ค.ศ. 1601 ถึงปี ค.ศ. 1602 เป็นภาพที่ในกลุ่มเดียวกับ “แรงบันดาลใจของนักบุญแม็ทธิว” และ “สังเวยไอแซ็ค” ที่อุฟฟิซิเพราะตัวแบบอัครสาวกในทุกภาพเป็นคนคนเดียวกัน เช่นเดียวกับภาพ “นักบุญแม็ทธิวและเทวดา” ภาพนี้เดิมเป็นของวินเชนโซ จุสตินิอานิและต่อมาเป็นส่วนหนึ่งของงานสะสมหลวงของปรัสเซีย แต่โชคดีที่เก็บไว้ที่พอทสดัมจึงรอดจากการทำลายด้วยระเบิดระหว่างสงครามโลกครั้งที่สองมาได้ ภาพนี้เป็นภาพที่นิยมก็อปปีกันมากที่สุด ซึ่งมีด้วยกันทั้งสิ้น 22 ก็อปปีจากคริสต์ศตวรรษที่ 17 ตามบันทึกของพระวรสารนักบุญจอห์น นักบุญทอมัสไม่ได้เห็นการปรากฏตัวของพระเยซูแก่อัครสาวกหลังจากที่ทรงฟื้นชีพ นักบุญทอมัสจึงประกาศว่านอกจากว่าจะได้ยื่นมือไปสัมผัสแผลของพระองค์ก็จะไม่เชื่อในสิ่งที่ได้ยิน สัปดาห์หนึ่งต่อมาพระเยซูก็ทรงมาปรากฏตัวและบอกให้ทอมัสสัมผัสพระองค์และกล่าวว่า “ขอสมพรแก่ผู้ที่ยังไม่เห็นแต่เชื่อ” ความกังขาของนักบุญทอมัสประทับใจคาราวัจโจเป็นการส่วนตัวเป็นอันมาก ไม่มีภาพเขียนภาพอื่นใดของคาราวัจโจที่สร้างความประหลาดใจได้เท่าภาพนี้ นักบุญทอมัสมีความกังขาจนถึงกับต้องเอานิ้วจิ้มแผลเพื่อพิสูจน์ก่อนที่จะอุทานเมื่อทราบแน่ว่าเป็นพระเยซูว่า “My Lord and my God” การวางภาพชายสี่คนยืนรวมกันจนศีรษะแทบชนกันโดยมีพระพักตร์ของพระเยซูอยู่ในเงามืดเป็นการเพิ่มอารมณ์ของภาพ ตัวแบบอีกสามคนมีแสงส่องบนใบหน้าว่า “รู้”.

ใหม่!!: การาวัจโจและความกังขาของนักบุญทอมัส (คาราวัจโจ) · ดูเพิ่มเติม »

คิวปิด

ในเทพปกรณัมคลาสสิก คิวปิด (Cupid; Cupido) เป็นพระเจ้าแห่งความปรารถนา ความรักแบบกาม (erotic) ความดึงดูดและวิภาพ (affection) มักพรรณนาว่าพระองค์เป็นพระโอรสของเทพีวีนัส เทพีแห่งความรักของโรมัน ภาคกรีก คือ เอียรอส (Eros)Larousse Desk Reference Encyclopedia, The Book People, Haydock, 1995, p. 215.

ใหม่!!: การาวัจโจและคิวปิด · ดูเพิ่มเติม »

คณะคาร์เมไลท์

ณะภราดาพระนางมารีย์พรหมจารีแห่งภูเขาคาร์เมล (Ordo Fratrum Beatissimae Mariae Virginis de Monte Carmelo; Order of Brothers of The Blessed Virgin Mary of Mount Carmel) หรือที่มักรู้จักกันในนามคณะคาร์เมไลท์ (Carmelite Order) (บางแห่งเรียกว่า คณะคาร์แมล) เป็นคณะนักบวชภิกขาจารคณะหนึ่งในคริสตจักรโรมันคาทอลิก ในยุคแรกนักบวชในคณะนี้เน้นวัตรปฏิบัติอย่างฤๅษี (hermit) คือเก็บตัวภาวนา เพ่งฌาน เกือบตัดขาดจากโลกภายนอก.

ใหม่!!: การาวัจโจและคณะคาร์เมไลท์ · ดูเพิ่มเติม »

คนโกงไพ่ (คาราวัจโจ)

นโกงไพ่ (ภาษาอังกฤษ: Cardsharps) เป็นภาพเขียนสีน้ำมันที่เขียนโดยคาราวัจโจจิตรกรสมัยบาโรกคนสำคัญชาวอิตาลีที่ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะคิมเบลล์, ฟอร์ทเวิร์ธในสหรัฐอเมริกา ภาพ “คนโกงไพ่” เขียนราวปี ค.ศ. 1594 เป็นภาพที่เป็นก้าวสำคัญของคาราวัจโจที่เขียนเมื่อพยายามตั้งตัวไปเป็นช่างเขียนอิสระหลังจากที่ทำงานอยู่กับจุยเซ็ปปิ เซซาริที่ได้เขียนแต่ “ผักกับผลไม้” อยู่ระยะหนึ่ง คาราวัจโจออกจากห้องเขียนภาพของจุยเซ็ปปิ เซซาริในเดือนมกราคม ค.ศ. 1594 และเริ่มขายงานเขียนผ่านนักค้าศิลปะคอนแสตนติโนโดยมีโพรสเปโร ออร์ซิจิตรกรแมนเนอริสม์เป็นผู้ช่วย ออร์ซิแนะนำคาราวัจโจในแวดวงคนที่รู้จักทั้งผู้สะสมศิลปะและผู้อุปถัมภ์ ภาพเขียนแสดงเด็กหนุ่มที่แต่งตัวอย่างหรูหราแต่เป็นเพียงเด็กหนุ่มที่ยังไม่ประสีประสากับโลกที่กำลังเล่นไพ่กับเด็กชายอีกคนหนึ่ง เด็กคนที่สองคนที่โกงไพ่มีไพ่อีกใบหนึ่งเหน็บไว้ที่เข็มขัดข้างหลังเอว ซ่อนจากเด็กชายอีกคนหนึ่งแต่ไม่ได้ซ่อนจากผู้ชมภาพ และชายหนุ่มใหญ่ที่แอบมองจากหลังผู้ที่โดนโกงและส่งสัญญาณให้คู่ร่วมมือ นอกจากนั้นเด็กคนที่สองก็ยังมีมีดเหน็บอยู่ที่เอวสำหรับใช้ในโอกาสที่สถานะการณ์อาจจะเปลี่ยนแปลง ภาพนี้เป็นภาพที่สองในหัวข้อที่คล้ายคลึงกันที่คาราวัจโจเขียน ภาพแรก “หมอดู” เป็นภาพที่ทำให้เริ่มมีผู้สนใจและเริ่มเป็นที่รู้จัก ทั้ง “หมอดู” และ “การโกงไพ่” เป็นหัวข้อการเขียนภาพที่ใหม่ในขณะนั้น ที่ใช้ฉากความเป็นจริงของชีวิตตามถนนในการเขียนภาพ โดยเฉพาะการเขียนรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ เช่นปลายนิ้วถุงมือที่เป็นรูของชายที่มีอายุมากกว่า หรือสายตาของเด็กคนที่สองที่มองไปยังหนุ่มใหญ่อย่างพะวักพะวน รายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ เช่นนี้ที่เป็นการแสดงความเข้าใจอย่างลึกซึ้งทางจิตวิทยา - บุคคลสามคนที่อยู่ในเหตุการณ์เดียวกันแต่แต่ละคนต่างก็มีบทบาทของตนเองภาพในเหตุการณ์ที่ร่วมกัน - เด็กหนุ่มที่ยังไม่มีประสบการณ์ที่ถูกหลอก, เด็กอีกคนหนึ่งที่อายุไล่ๆ กันที่เป็นเด็กที่ถูกทำให้เสียคนโดยหนุ่มใหญ่ “คนโกงไพ่กับเอโพดำ” โดยชอร์ช เดอ ลา ตูร์ ราว ค.ศ. 1620-ค.ศ. 1640 “คนโกงไพ่” เป็นภาพที่วาดแบบที่แสดงความเป็นจริงของความทารุณของชีวิตคนชั้นต่ำ แต่ขณะเดียวกันก็ใช้สีเรืองอย่างการวาดภาพของเวนิส “คนโกงไพ่” กลายมาเป็นภาพที่เป็นที่นิยมกันมาก ออร์ซิถึงกับ “ไปเที่ยวเป่าประกาศถึงการวาดแบบใหม่ของคาราวัจโจและทำให้เพิ่มชื่อเสียงในการเป็นจิตรกรมากขึ้น” ภาพนี้มีด้วยกันถึง 50 ก็อปปีและจากจิตรกรคนอื่นๆ เช่นภาพ “คนโกงไพ่กับเอโพดำ” โดยชอร์ช เดอ ลา ตูร์ที่ใช้หัวข้อเดียวกัน ไม่ว่าจะโดยคอนแสตนติโนหรือออร์ซิ คาราวัจโจก็ได้รับความสนใจจากคาร์ดินัลฟรานเชสโค มาเรีย เดล มอนเตผู้ซื้อภาพและกลายมาเป็นผู้อุปถัมภ์คนสำคัญคนแรก โดยให้ที่พำนักในวังมาดามาหลังจตุรัสนาวาร์โร จากนั้นภาพก็ตกไปเป็นของคาร์ดินัลอันโตนิโอ บาร์แบรินิผู้เป็นหลานของสมเด็จพระสันตะปาปาเออร์บันที่ 8 ที่ต่อมาคาราวัจโจเขียนภาพเหมือนให้(“ภาพเหมือนของมาฟเฟโอ บาร์เบอรินิ”) ในปี..

ใหม่!!: การาวัจโจและคนโกงไพ่ (คาราวัจโจ) · ดูเพิ่มเติม »

คนเล่นลูท (คาราวัจโจ)

นเล่นลูท (The Lute Player) เป็นภาพเขียนสีน้ำมันที่เขียนโดยคาราวัจโจ จิตรกรสมัยบาโรกคนสำคัญชาวอิตาลีที่มีด้วยกันสามฉบับ โดยในแต่ละฉบับมีอบู่ด้วยกันแต่ละที่ ดังนี้ ชิ้นที่หนึ่งเป็นของงานสะสมวิลเด็นชไตน์ ชิ้นที่สองเป็นของพิพิธภัณฑ์เฮอร์มิทาจถูกเก็บรักษาในเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ชิ้นที่สามอยู่ที่คฤหาสน์แบ็ดมินตันที่กลอสเตอร์เชอร์โดยเพิ่งมีการค้นพบในปี..

ใหม่!!: การาวัจโจและคนเล่นลูท (คาราวัจโจ) · ดูเพิ่มเติม »

ค่าต่างแสง

ต่างแสง (Chiaroscuro, แปลว่า แสง-ความมืด) เป็นศัพท์ที่ใช้ในการบรรยายงานศิลปะที่ใช้ความตัดกันของความมืดกับความสว่าง ซึ่งเป็นคำที่มักจะใช้สำหรับภาพเขียนที่ใช้การตัดกันอย่างรุนแรงที่มีผลต่อองค์ประกอบของภาพทั้งภาพ ลักษณะของภาพก็คล้ายกับการใช้สป็อตไลท์บนเวที แต่ศิลปินและนักประวัติศาสตร์ศิลป์ก็ใช้คำนี้ในการกล่าวถึงเท็คนิคการใช้ค่าแตกต่างของแสงซึ่งไม่จำเป็นต้องรุนแรง เพื่อให้เกิดความรู้สึกว่าเป็นมวลในการเขียนสิ่งที่เป็นสามมิติ เช่นร่างกายของมนุษย์ ในปัจจุบันคำนี้ก็ใช้ในการบรรยายภาพถ่ายหรือภาพยนตร์ที่ปรากฏออกมาในลักษณะนี้.

ใหม่!!: การาวัจโจและค่าต่างแสง · ดูเพิ่มเติม »

ซันลุยจีเดย์ฟรันเชซี

ซันลุยจีเดย์ฟรันเชซี (Chiesa di San Luigi dei francesi; Church of Saint Louis of France) เป็นนักบุญหลุยส์ผู้เป็นพระเจ้าแผ่นดินฝรั่งเศสมาก่อนเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 13 ลักษณะแบบฝรั่งเศสเห็นได้ชัดในการออกแบบด้านหน้าของวัดที่เป็นที่ตั้งของประติมากรรมหลายรูปที่ทำให้รำลึกถึงประวัติศาสตร์ที่รวมทั้งชาร์เลอมาญ พระเจ้าหลุยส์ที่ 9 นักบุญโคลทิลด์, นักบุญเดนีส์ และ นักบุญฌานแห่งวาลัว ภายในตกแต่งด้วยจิตรกรรมฝาผนังบรรยายเรื่องราวของนักบุญหลุยส์ (โดยชาร์ลส์-โจเซฟ นาตัวร์ (Charles-Joseph Natoire)), นักบุญเดนีส์ และพระเจ้าโคลวิสที่ 1 (Clovis I) โบสถ์ซันลุยจีเดย์ฟรันเชซีได้รับเลือกให้เป็นที่บรรจุศพของนักบวชคนสำคัญ ๆ และบุคคลที่เป็นสมาชิกของชุมชนฝรั่งเศสที่อยู่ในกรุงโรมที่รวมทั้วพอลลีน เดอ โบมองต์ที่เสียชีวิตด้วยวัณโรคในปี..

ใหม่!!: การาวัจโจและซันลุยจีเดย์ฟรันเชซี · ดูเพิ่มเติม »

ซันตามาเรียเดลโปโปโล

ซันตามาเรียเดลโปโปโล (Santa Maria del Popolo) เป็นโบสถ์ออกัสติเนียนที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งในกรุงโรม ตั้งอยู่ทางด้านเหนือของปีอัซซาเดลโปโปโล ซึ่งเป็นจัตุรัสที่มีชื่อเสียงที่สุดแห่งหนึ่งของกรุงโรม อยู่ระหว่าง Porta Flaminia (หนึ่งในประตูของกำแพง Aurelian และเป็นจุดเริ่มต้นของ Via Flaminia ซึ่งเป็นเส้นทางสู่ Ariminum และเป็นเส้นทางสู่ทิศเหนือที่สำคัญที่สุดของโรมยุคโบราณ) และสวน Pincio ในปี พ.ศ. 1642 สมเด็จพระสันตะปาปาปาสคาลที่ 2 โปรดให้สร้างวิหารเพื่อสักการะแด่พระแม่มารีขึ้นเหนือสุสานของตระกูล Domitia ด้วยเหตุที่ประชาชนชาวโรมได้บริจาคเงินสมทบทุนก่อสร้างวิหาร จึงได้ชื่อว่า เดล โปโปโล (del Popolo: แห่งประชาชน) แต่แหล่งข้อมูลบางแหล่งระบุว่า ชื่อ "โปโปโล" นั้นมีที่มาจากคำในภาษาละตินคำว่า populus ซึ่งหมายถึง ต้นสน (Poplor) และอาจอ้างอิงถึงต้นไม้ที่ยืนต้นอยู่ในบริเวณใกล้เคียงนั้น ต่อมาช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 13 สมเด็จพระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 9 ทรงยกฐานะของวิหารแห่งนี้ให้เป็นโบสถ์ และประทานให้แก่คณะออกัสติเนียน ซึ่งเป็นคณะผู้ดูแลโบสถ์มาจนถึงปัจจุบัน ช่วงปี พ.ศ. 2015-2020 Baccio Pontelli และ Andrea Bregno ได้รับมอบหมายจากสมาคม Lombards of Rome ให้บูรณะโบสถ์ซันตามาเรียเดลโปโปโลขึ้นใหม่ ผลจากการบูรณะครั้งนี้ส่งผลให้โบสถ์แห่งนี้เป็นตัวอย่างสำคัญของสถาปัตยกรรมยุคเรอเนสซองค์แบบอิตาลี ต่อมาในปี พ.ศ. 2198-พ.ศ. 2203 สมเด็จพระสันตะปาปาอเล็กซานเดอร์ที่ 7 โปรดให้จานลอเรนโซ เบร์นินีปรับปรุงส่วนด้านหน้าของโบสถ์ เพื่อปรับเปลี่ยนจากโบสถ์เรอเนสซองค์ให้เป็นโบสถ์แบบบารอคที่มีความทันสมัยมากขึ้น โดมของโบสถ์ซันตามาเรียเดลโปโปโล ภายในโบสถ์เป็นที่ตั้งของวิหาร Cerasi ซึ่งเป็นบริเวณที่เก็บรักษาภาพเขียน 2 ภาพของคาราวัจโจ คือ Cruxifixion of St.

ใหม่!!: การาวัจโจและซันตามาเรียเดลโปโปโล · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศมอลตา

มอลตา (Malta) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐมอลตา (Repubblika ta' Malta) เป็นประเทศที่เป็นเกาะขนาดเล็กสองเกาะในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน แต่มีประชากรหนาแน่น (1,262 คน ต่อตารางกิโลเมตร) มีประชากรทั้งหมด (ล่าสุด พ.ศ. 2546) 399,867 คน เมืองหลวงชื่อเมืองวัลเลตตา (Valletta) ที่ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของยุโรป ถัดลงมาจากตอนใต้ของประเทศอิตาลี นับเป็นประเทศที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนานแห่งหนึ่งในยุโรป มีผู้มาครอบครองและถูกแย่งชิงนับครั้งไม่ถ้วนในอดีต.

ใหม่!!: การาวัจโจและประเทศมอลตา · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอิตาลี

อิตาลี (Italy; Italia อิตาเลีย) มีชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐอิตาลี (Italian Republic; Repubblica italiana) เป็นประเทศในทวีปยุโรป บริเวณยุโรปใต้ ตั้งอยู่ในคาบสมุทรอิตาลีที่มีรูปทรงคล้ายรองเท้าบูต และมีเกาะ 2 เกาะใหญ่ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน คือ เกาะซิซิลีและเกาะซาร์ดิเนีย และพรมแดนตอนเหนือแบ่งประเทศโดยเทือกเขาแอลป์ กับประเทศฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ ออสเตรีย และสโลวีเนีย ประเทศอิตาลีเป็นประเทศสมาชิกก่อตั้งของสหภาพยุโรป เป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ นาโต และกลุ่มจี 8 มีประเทศอิสระ 2 ประเทศ คือ ซานมารีโนและนครรัฐวาติกัน เป็นดินแดนที่ล้อมรอบไปด้วยพื้นที่ของอิตาลี ในขณะที่เมืองกัมปีโอเนดีตาเลีย เป็นดินแดนส่วนแยกของอิตาลีที่ถูกล้อมรอบด้วยพื้นที่ประเทศสวิตเซอร์แลน.

ใหม่!!: การาวัจโจและประเทศอิตาลี · ดูเพิ่มเติม »

ปารีส

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: การาวัจโจและปารีส · ดูเพิ่มเติม »

นักบุญฟรานซิสเกิดปีติสานติ์ (การาวัจโจ)

นักบุญฟรานซิสปลื้ม หรือ ความปิติของนักบุญฟรานซิสแห่งอาซิซี (Saint Francis of Assisi in Ecstasy หรือ The Ecstasy of Saint Francis of Assisi) เป็นภาพเขียนสีน้ำมันที่เขียนโดยคาราวัจโจจิตรกรสมัยบาโรกคนสำคัญชาวอิตาลีที่ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์แวดส์เวิร์ธแอนธีเนียม, ฮาร์ทฟอร์ด, คอนเนตทิคัตในสหรัฐอเมริกา ภาพ “นักบุญฟรานซิสปลื้ม” เขียนราวปี ค.ศ. 1595 เป็นภาพเขียนภาพแรกที่คาราวัจโจเขียนที่เกี่ยวกับศาสนาและเชื่อกันว่าเป็นภาพที่เขียนไม่นานหลังจากที่ย้ายไปพักอาศัยอยู่กับคาร์ดินัลฟรานเชสโค มาเรีย เดล มอนเต และคงเป็นภาพที่เขียนตามความประสงค์ของเดล มอนเตและคงเป็นภาพแรกที่เขียนในฐานะ “จิตรกรของเดล มอนเต” ที่เชื่อกันว่าคาราวัจโจใช้เป็นการบรรยายตัวเองอยู่หลายปีขณะที่พำนักอยู่ในวังมาดามา (Palazzo Madama) ของเดล มอนเต ภาพนี้เป็นภาพของนักบุญฟรานซิสแห่งอาซิซิ ซึ่งเป็นชื่อที่คาร์ดินัลใช้ในชั่วขณะที่ได้รับรอยแผลศักดิ์สิทธิ์ที่เป็นรอยแผลเดียวกับตำแหน่งแผลของพระเยซูเมื่อทรงถูกตรึงกางเขน การรับรอยแผลเป็นเรื่องที่บรรยายโดยหลวงพี่เลโอผู้เป็นสหายของนักบุญฟรานซิสในปี ค.ศ. 1224 ตามคำบรรยายแล้วนักบุญฟรานซิสออกไปในป่ากับผู้ติดตามกลุ่มหนึ่งเพื่อไปทำสมาธิ เมื่อตกกลางคือนหลวงพี่เลโอก็เห็นปรากฏการณ์ของดรุณเทพ หกปีกซึ่งเป็นเทวดาวรรณะหนึ่งลงมาปรากฏตัวตามคำสวดมนต์ของนักบุญฟรานซิสที่ว่ามีความเข้าใจถึงความทุกข์ทรมานของพระเยซูและในความรักของพระองค์: ทันใดนั้นก็มีแสงส่องสว่างลงมาราวกับสวรรค์ระเบิดเป็นแสงสีที่เต็มไปด้วยสีสรรค์และดวงดาวที่พร่าพราย ท่ามกลางสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นก็มีแสงที่สว่างที่จัดจ้าที่พุ่งลงมาจากฟ้าด้วยความเร็วอย่างน่าหวาดหวั่นและมาหยุดลงโดยไม่เคลื่อนไหวเหนือหินแหลมหน้านักบุญฟรานซิส ที่ปรากฏเป็นรูปลักษณ์ที่เป็นเพลิงมีปีกตรึงบนกางเขน สองปีกเพลิงพุ่งขึ้นไปข้างบน อีกสองปีกกางออกไปด้านข้าง และอีกสองปีกปิดตัวพระเพลิง และแผลที่มือและที่เท้ามีเลือดกระเด็นออกมา ตัวพระเพลิงที่เรืองแสงมีใบหน้าที่งามดั่งเทพแต่ในขณะเดียวกันก็เป็นใบหน้าที่เศร้า และเป็นใบหน้าของพระเยซู ในทันใดนั้นก็มีเลือดและไฟพุ่งเป็นสายออกมาจากรอยแผลของพระองค์มายังมือและเท้าของนักบุญฟรานซิสและตาปูที่หัวใจที่ทรงถูกแทงด้วยหอก นักบุญฟรานซิสเปล่งเสียงร้องดังออกมาด้วยความปิติและความเจ็บปวดเมื่อตัวพระเพลิงประทับร่างลงบนนักบุญฟรานซิสเหมือนรูปสะท้อนที่เต็มไปด้วยความรัก, ความงาม และความเศร้า เมื่อได้รับรอยแผลบนร่างกายแล้วและด้วยความปิติดั่งเพลิงของทั้งร่างกายและจิตใจแล้ว นักบุญฟรานซิสก็ทรุดลงและหมดสติลงในกองเลือด ภาพที่คาราวัจโจเขียนไม่มีความเป็นนาฏกรรมที่ใกล้เคียงกับคำบรรยายของหลวงพี่เลโอแต่อย่างใด ดรุณเทพหกปีกมาแทนด้ยวเทวดาสองปีธรรมดา นอกจากนั้นคาราวัจโจก็ละเว้นฉากการเผชิญหน้าอันรุนแรงระหว่างพระเยซูกับนักบุญฟรานซิส ไม่มีสายเลือดที่พุ่งกระฉูดลงมายังนักบุญฟรานซิส ไม่มีกองเลือด ไม่มีรูปพระเยซูในรูปของดรุณเทพ ภาพของคาราวัจโจเป็นแต่เพียงภาพของเทวดาที่ประคองนักบุญฟรานซิสอย่างอย่างอ่อนโยนโดยมีสหายของนักบุญอยู่ใกลออกไปในความมืดที่แทบจะมองไม่เห็น หัวเรื่องนี้เป็นหัวเรื่องที่นิยมวาดกันมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 13: จอตโต ดี บอนโดเน เขียนหัวข้อนี้ในปีราวปี..

ใหม่!!: การาวัจโจและนักบุญฟรานซิสเกิดปีติสานติ์ (การาวัจโจ) · ดูเพิ่มเติม »

นักดนตรี (คาราวัจโจ)

นักดนตรี (The Musicians) เป็นภาพเขียนสีน้ำมันที่เขียนโดยคาราวัจโจจิตรกรสมัยบาโรกคนสำคัญชาวอิตาลีที่ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์เมโทรโปลิตัน, นครนิวยอร์กในสหรัฐอเมริกา ภาพ “นักดนตรี” เขียนราวเสร็จในปี ค.ศ. 1595 ราว..

ใหม่!!: การาวัจโจและนักดนตรี (คาราวัจโจ) · ดูเพิ่มเติม »

นิวยอร์ก (แก้ความกำกวม)

นิวยอร์ก อาจหมายถึง.

ใหม่!!: การาวัจโจและนิวยอร์ก (แก้ความกำกวม) · ดูเพิ่มเติม »

นีกอลา ปูแซ็ง

นีกอลา ปูแซ็ง (Nicolas Poussin; 15 มิถุนายน ค.ศ. 1594 - 19 พฤศจิกายน ค.ศ. 1665) เป็นจิตรกรชาวฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ผู้มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนจิตรกรรมสีน้ำมัน ปูแซ็งเกิดเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน ค.ศ. 1594 ที่เมืองเลซ็องเดอลีในนอร์ม็องดีในประเทศฝรั่งเศส และเสียชีวิตเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน ค.ศ. 1665 ลักษณะการเขียนเป็นแบบคลาสสิกซิสม์ งานของปูแซ็งเจะชัดเจน มีเหตุผลและมีระเบียบและนิยมเส้นมากกว่าสี ปูแซ็งมีอิทธิพลต่อจิตรกรที่มีลักษณะเขียนไปทางคลาสสิกมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 20 เช่น ฌัก-หลุยส์ ดาวีด, ปอล เซซาน ปูแซ็งใช้เวลาส่วนใหญ่ในช่วงทำงานเขียนในกรุงโรม นอกจากช่วงที่คาร์ดินัลรีเชอลีเยอ (Cardinal Richelieu) เรียกตัวกลับมาฝรั่งเศสเพื่อมาเป็นเป็นจิตรกรเอกประจำราชสำนักพระเจ้าแผ่นดินฝรั่ง.

ใหม่!!: การาวัจโจและนีกอลา ปูแซ็ง · ดูเพิ่มเติม »

นครนิวยอร์ก

นครนิวยอร์ก หรือที่นิยมเรียกกันว่า นิวยอร์กซิตี (New York City; NYC) เป็นเมืองใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา เป็นเมืองที่เจริญที่สุดในโลก เป็นมหานครเอกของโลก จัดได้ว่าเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การเงิน วัฒนธรรม บันเทิง ที่สำคัญที่สุดของโลก เป็นเมืองที่มี ตึกระฟ้า ตึกสูงมาก ตลอดระยะเวลา 150 ปี และยังเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่องค์การสหประชาชาติ นิวยอร์กตั้งอยู่บริเวณชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก ทางตะวันออกเฉียงเหนือของสหรัฐอเมริกา ประกอบด้วย 5 เขตปกครองที่เรียกว่า โบโรฮ์ (Borough) คือ เดอะบรองซ์ บรูคลิน แมนแฮตตัน ควีนส์ และสแตตัน ไอส์แลนด์ ประชากรรวมทั้งหมดประมาณ 8,274,527 คน ภายในพื้นที่ 790 ตร.กม.

ใหม่!!: การาวัจโจและนครนิวยอร์ก · ดูเพิ่มเติม »

แม่พระรับเกียรติยกขึ้นสวรรค์

วาดบรรยายเหตุการณ์เมื่อพระนางมารีย์พรหมจารีถูกรับขึ้นสวรรค์ทั้งร่างกายและวิญญาณ พระนางมารีย์รับเกียรติเข้าสู่สวรรค์ หรือ แม่พระรับเกียรติยกขึ้นสวรร.

ใหม่!!: การาวัจโจและแม่พระรับเกียรติยกขึ้นสวรรค์ · ดูเพิ่มเติม »

แม่พระแห่งลูกประคำ (การาวัจโจ)

แม่พระแห่งลูกประคำ (Madonna of the Rosary) เป็นภาพเขียนสีน้ำมันที่เขียนขึ้นโดยการาวัจโจ จิตรกรสมัยบาโรกคนสำคัญชาวอิตาลี ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ศิลป์ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ภาพ “แม่พระแห่งลูกประคำ” ที่เขียนเสร็จราวปี ค.ศ. 1607 เป็นภาพเขียนขนาดใหญ่ที่ประกอบด้วยบุคคลเป็นจำนวนมากในภาพ ผู้ว่าจ้างเขียนภาพอาจเป็นเซซาเร เดสเต ดยุกแห่งโมเดนา ในปี..

ใหม่!!: การาวัจโจและแม่พระแห่งลูกประคำ (การาวัจโจ) · ดูเพิ่มเติม »

แร็มบรันต์

แร็มบรันต์ 100px แร็มบรันต์ ฮาร์เมินส์โซน ฟัน ไรน์ (Rembrandt Harmenszoon van Rijn; 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2149 - 4 ตุลาคม พ.ศ. 2212) เป็นจิตรกรและช่างพิมพ์ในประวัติศาสตร์ศิลปะยุโรปและเป็นจิตรกรที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากที่สุดรายหนึ่งของโลก ผลงานของแร็มบรันต์ทำให้เนเธอร์แลนด์รุ่งเรืองสุดขีดหรือที่เรียกว่ายุคทองในช่วงศตวรรษที่ 17 และเป็นผู้มีอำนาจทั้งด้านอิทธิพลการเมือง วิทยาศาสตร์ พาณิชย์ และวัฒนธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องจิตรกรรม เขาเป็นบุตรคนที่ 9 ของครอบครัวเจ้าของโรงงานและหุ้นส่วนโรงสีลมในเมืองไลเดิน เนเธอร์แลนด์ พี่น้องของแร็มบรันต์ถูกฝึกหัดเป็นเจ้าของโรงงาน คนทำขนมปัง หรือช่างทำรองเท้า แต่พ่อแม่ส่งลูกคนเล็กสุดของพวกเขาตอนอายุเจ็ดขวบไปที่โรงเรียนประถมมัธยมศึกษาโปรเตสแตนต์ที่ซึ่งเขาเรียนภาษาละติน เมื่อเขาอายุ 14 ปี แร็มบรันต์ลงทะเบียนที่มหาวิทยาลัยมีชื่อเสียงของไลเดิน แต่เขาแทบจะไม่เรียนมากเพราะว่าในขณะเดียวกันเขาขอให้พ่อแม่ของเขาฝึกหัดเขาให้เป็นจิตรกร ความหวังของเขาได้รับการเติมเต็ม และเขากลายเป็นลูกศิษย์ของศิลปินท้องถิ่น ยาโกบ ฟัน สวาเนินบืร์ค (Jacob van Swanenburgh) ซึ่งเพิ่งกลับมาหลังจากการอยู่อาศัยที่ยาวนานในอิตาลี ระหว่างช่วงนี้เขาได้วาดฉากมากมายของแม่มดและนรก เขาสอนแร็มบรันต์ว่าถ่ายความรู้สึกของมนุษย์ลงในภาพอย่างไร ใช้แสงและความมืดเพื่อแบ่งแยกองค์ประกอบสำคัญจากสิ่งเล็กน้อยอย่างไร หลังจากเสร็จการฝึกหัดของเขา แร็มบรันต์ในวัยเยาว์ไปอัมสเตอร์ดัมเป็นครั้งแรก รับการสอนจากปีเตอร์ ลัสต์มัน เป็นไปได้ว่าแร็มบรันต์ใช้เวลาไม่เกินหกเดือนกับลัสต์มันก่อนกลับไปบ้านเดิมของเขาที่ไลเดิน แร็มบรันต์ฝึกงานครั้งแรกของเขา เขาใช้จ่ายร้อยกิลเดอร์ต่อปี ไม่รวมอาหารและที่พัก ต่อมาเขาควบคุมสตูดิโอขนาดใหญ่กับผู้ช่วยและเด็กฝึกงานประมาณ 50 คน พ่อของแร็มบรันต์เสียชีวิตในเดือนเมษายน..

ใหม่!!: การาวัจโจและแร็มบรันต์ · ดูเพิ่มเติม »

แคว้นตอสคานา

ตอสคานา (Toscana) หรือ ทัสกานี (Tuscany) เป็นแคว้นหนึ่งของประเทศอิตาลี มีเมืองฟลอเรนซ์ (ฟีเรนเซ) เป็นเมืองหลัก มีเนื้อที่ทั้งหมด 22,990 ตารางกิโลเมตร และมีผู้คนอาศัยอยู่ 3.6 ล้านคน แคว้นตอสคานามีความสำคัญในทางประวัติศาสตร์ ศิลปกรรม (เนื่องจากเป็นที่กำเนิดของสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา) สถาปัตยกรรม ศาสนา วัฒนธรรม และอุตสาหกรรม (เนื่องจากมีโรงงานผลิตเสื้อผ้า เสื้อนุ่งห่ม เครื่องหนังจำนวนมาก) ของประเทศอิตาลี แคว้นแห่งนี้เองที่เป็นที่ตั้งของหอเอนเมืองปิซาอันโด่งดัง นอกจากนี้ แคว้นตอสคานายังขึ้นชื่อว่ามีทิวทัศน์งดงามมาก และมีไวน์รสชาติดีเยี่ยม ภาษาอิตาลีที่พูดกันในแคว้นตอสคานาเป็นที่ยอมรับว่าเป็นการพูดแบบชาวอิตาลีโดยแท้จริงและยอมรับให้เป็นสำเนียงราชการ สำหรับชื่อแคว้น ชาวอิตาลีเรียกชื่อแคว้นนี้ว่า "ตอสคานา" แต่ภาษาอังกฤษเรียกชื่อแคว้นนี้ว่า "ทัสกานี" ในภาษาอื่น ๆ ก็มีชื่อเรียกต่างกันไปอีก เช่น ภาษาฝรั่งเศสเรียกว่า Toscane ในภาษาละตินเรียกว่า Toscia เป็นต้น.

ใหม่!!: การาวัจโจและแคว้นตอสคานา · ดูเพิ่มเติม »

แคว้นปกครองตนเองซิซิลี

ซิซิลี (Sicily) หรือ ซีชีเลีย (Sicilia; Sicìlia) เป็นหนึ่งในยี่สิบแคว้นและหนึ่งในห้าแคว้นปกครองตนเองของประเทศอิตาลี มีลักษณะเป็นเกาะที่ตั้งอยู่ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางภาคใต้ของประเทศโดยมีช่องแคบเมสซีนาคั่นระหว่างตัวเกาะกับแผ่นดินใหญ่ เกาะมีพื้นที่ 25,708 ตารางกิโลเมตร นับเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดของอิตาลีและในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน จุดสูงสุดของเกาะคือภูเขาไฟเอตนา (3,320 เมตร) บนเกาะมีประชากรอาศัยอยู่กว่า 5 ล้านคน เมืองสำคัญได้แก่ ปาแลร์โม (เมืองหลัก) เมสซีนา กาตาเนีย ซีรากูซา ตราปานี เอนนา คัลตานิสเซตตา และอากรีเจนโต ซิซิลีมีประวัติต่อเนื่องยาวนานกว่า 4,000 ปี ด้วยเหตุที่เป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญแห่งหนึ่งของยุโรป ซิซิลีจึงตกเป็นเป้าหมายของการยึดครองจากชนชาติที่มีอำนาจเข้มแข็งในช่วงเวลาต่าง ๆ เริ่มตั้งแต่ชาวกรีก โรมัน คาร์เทจ อาหรับ นอร์มัน เยอรมัน ฝรั่งเศส และสเปน แต่ละชาติผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันเข้ามาปกครองดินแดนนี้ ขณะเดียวกันก็ได้นำเอาศิลปวัฒนธรรมของตนเข้ามาด้วย เกาะนี้จึงมีสถาปัตยกรรมและวัฒนธรรมที่หลากหลายผสมผสานกัน หากแต่ลงตัว นอกจากนี้ยังอุดมไปด้วยความงามทางธรรมชาติของทั้งชายหาด ทะเล และภูเขาไฟ และด้วยความที่อยู่ห่างไกลออกมา จึงสามารถสัมผัสได้ถึงความเป็นอิตาลีดั้งเดิมอย่างที่หาไม่พบอีกแล้วตามเมืองใหญ่ในอิตาลีภาคพื้นทวีป.

ใหม่!!: การาวัจโจและแคว้นปกครองตนเองซิซิลี · ดูเพิ่มเติม »

โบสถ์น้อยกอนตาเรลลี

ปลคอนทราเรลลิ (Contarelli Chapel) เป็นชาเปลหรือคูหาสวดมนต์ภายในวัดซานลุยจิเดอิฟรานเชซิที่ตั้งอยู่ที่จตุรัสนาโวนาในกรุงโรมในประเทศอิตาลี เป็นวัดที่สร้างในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาที่ออกแบบโดย จาโคโม เดลลา พอร์ตา (Giacomo della Porta) และสร้างโดยสถาปนิกโดเมนิโค ฟอนทานา (Domenico Fontana) ระหว่างปี ค.ศ. 1518 ถึงปี ค.ศ. 1589 เพื่อเป็นวัดประจำชาติของฝรั่งเศสในกรุงโรม ชาเปลคอนทราเรลลิมีความสำคัญในการเป็นที่ตั้งของภาพเขียนสามภาพโดยคาราวัจโจจิตรกรคนสำคัญของยุคบาโรกระหว่างปี ค.ศ. 1599 ถึงปี ค.ศ. 1600 ที่เป็นฉากชีวิตของนักบุญแม็ทธิวที่รวมทั้งภาพ: “พระเยซูเรียกนักบุญแม็ทธิว”, “แรงบันดาลใจของนักบุญแม็ทธิว” และ “การพลีชีพของนักบุญแม็ทธิว” ชาเปลสร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แก่คาร์ดินัลชาวฝรั่งเศสขื่อแม็ทธิว ควงแทรล (Matthieu Cointrel) หรือ “คอนทราเรลลิ” ในภาษาอิตาลีผู้ที่ก่อนเสียชีวิตในปี..

ใหม่!!: การาวัจโจและโบสถ์น้อยกอนตาเรลลี · ดูเพิ่มเติม »

โยฮันเนิส เฟอร์เมร์

''สาวใส่ต่างหูมุก'' โยฮันเนิส ไรเนียส์โซน เฟอร์เมร์ (Johannes Reynierszoon Vermeer) หรือ โยฮัน เฟอร์เมร์ (Johan Vermeer; 31 ตุลาคม พ.ศ. 2175 - 15 ธันวาคม พ.ศ. 2218) เป็นจิตรกรชาวดัตช์ มีผลงานในด้านศิลปะบาโรก มักวาดภาพที่แสดงถึงชีวิตประจำวันธรรมดาของคน เขาใช้ชีวิตอยู่ในเมืองเดลฟท์ และเป็นจิตรกรที่ประสบความสำเร็จพอสมควรในเมืองของเขา แต่ว่าไม่ได้ร่ำรวยเป็นพิเศษเพราะสร้างผลงานค่อนข้างน้อย ผลงานที่มีชื่อเสียงได้แก่ สาวใส่ต่างหูมุก ซึ่งเป็นภาพที่รู้จักกันในชื่อ "โมนาลีซาจากทางเหนือ" เฟอร์เมร์ถูกลืมไปกว่าสองร้อยปี และกลับมามีชื่อเสียงอีกครั้งเมื่อนักวิจารณ์ศิลปะชื่อ ตอเร-เบือร์เกอร์ (Thoré-Bürger) เขียนบทความระบุภาพ 66 ภาพว่าเป็นของเขา (แต่มีเพียง 35 ภาพที่เป็นที่ยอมรับอย่างแน่นอนว่าเป็นของเขาในปัจจุบัน) ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาชื่อเสียงของเฟอร์เมร์ก็เริ่มโด่งดังขึ้น ได้รับการยกย่องว่าเป็นจิตรกรที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งในสมัยยุคทองของเนเธอร์แลนด์ และเป็นที่ยอมรับในเรื่องเทคนิคการใช้แสงในผลงานของ.

ใหม่!!: การาวัจโจและโยฮันเนิส เฟอร์เมร์ · ดูเพิ่มเติม »

โรม

ลอสเซียม สัญลักษณ์ที่สำคัญของโรม โรม (Rome; Roma) เป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของแคว้นลัตซีโยและประเทศอิตาลี ตั้งอยู่ทางตอนกลางของประเทศ ในเขตตัวเมืองมีประชากรอาศัยอยู่ประมาณ 2.5 ล้านคน ถ้ารวมเมืองโดยรอบจะมีประมาณ 4.3 ล้านคน โดยมีจำนวนประชากรใกล้เคียงกับมิลานและเนเปิลส์ นอกจากนี้ โรมยังเป็นที่ตั้งของนครรัฐวาติกัน ซึ่งเป็นดินแดนที่ประทับของพระสันตะปาปาแห่งศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกอีกด้วย หลังสิ้นสุดยุคกลาง โรมได้อยู่ภายใต้การปกครองของพระสันตะปาปา เช่น สมเด็จพระสันตะปาปาอเล็กซานเดอร์ที่ 6 และสมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 10 ผู้ซึ่งสร้างสรรค์ให้โรมกลายเป็นหนึ่งในศูนย์กลางของสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลีเช่นเดียวกับฟลอเรนซ์ ซึ่งในยุคสมัยดังกล่าว ได้มีการก่อสร้างมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์แบบที่เห็นในปัจจุบัน และมีเกลันเจโลได้วาดภาพปูนเปียกประดับภายในโบสถ์น้อยซิสทีน ศิลปินและสถาปนิกที่มีชื่อเสียงอย่างบรามันเต แบร์นินี และราฟาเอล ซึ่งพำนักอยู่ในโรมเป็นครั้งคราว ได้มีส่วนช่วยสรางสรรค์สถาปัตยกรรมแบบสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาและแบบบารอกในโรมด้วยเช่นกัน ใน พ.ศ. 2550 โรมเป็นเมืองที่มีผู้มาเยือนมากเป็นอันดับที่ 11 ของโลก มากเป็นอันดับสามในสหภาพยุโรป และเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นที่นิยมมากที่สุดในอิตาลี ศูนย์กลางทางประวัติศาสตร์ใจกลางเมืองได้รับการขึ้นทะเบียนจากองค์การยูเนสโกให้เป็นมรดกโลก นอกจากนี้ อนุสรณ์สถานและพิพิธภัณฑ์อย่างพิพิธภัณฑ์วาติกันและโคลอสเซียมยังจัดอยู่ในแหล่งท่องเที่ยวที่มีนักท่องเที่ยวเยี่ยมชมมากที่สุด 50 อันดับแรกของโลก (พิพิธภัณฑ์วาติกันมีนักท่องเที่ยว 4.2 ล้านคนต่อปี และโคลอสเซียมมี 4 ล้านคนต่อปี).

ใหม่!!: การาวัจโจและโรม · ดูเพิ่มเติม »

โจวันนี บาลยีโอเน

อวานนิ บากลิโอเน (ภาษาอิตาลี: Giovanni Baglione หรือ Il Sordo del Barozzo) (ค.ศ. 1566 - 30 ธันวาคม ค.ศ. 1643) เป็นจิตรกรสมัยบาโรกสมัยต้นและนักประวัติศาสตร์ศิลปะชาวอิตาลีในคริสต์ศตวรรษที่ 16 และ 17 ผู้มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนจิตรกรรมฝาผนัง.

ใหม่!!: การาวัจโจและโจวันนี บาลยีโอเน · ดูเพิ่มเติม »

โจวันนี ปีเอโตร เบลโลรี

อวานนิ เปียโตร เบลโลริ หรือ จาน เปียโตร เบลโลริ (ภาษาอังกฤษ: Giovanni Pietro Bellori หรือ Gian Pietro Bellori) (ค.ศ. 1613 - ค.ศ. 1696) เบลโลริเป็นนักเขียนชีวประวัติของศิลปินชาวอิตาลียุคบาโรกคนสำคัญของอิตาลีในคริสต์ศตวรรษที่ 17 จิโอวานนิ เบลโลริอาจจะเป็นหลานของนักสะสมของโบราณและนักเขียนฟรานเชสโค อันเจโลนิ (Francesco Angeloni) จิโอวานนิพำนักอยูที่บ้านของอันเจโลนิในกรุงโรม นอกจากนั้นก็ยังได้รับการศึกษาด้านศิลปะจากโดเม็นนิโค แซมปิเอริ (Domenico Zampieri) เมื่อยังหนุ่มเบลโลเข้าเป็นสมาชิกของสถาบันศิลปะเซนต์ลูคแต่ศึกษาและเขียนเกี่ยวกับศิลปะคลาสสิกและศิลปะร่วมสมัย ในปี..

ใหม่!!: การาวัจโจและโจวันนี ปีเอโตร เบลโลรี · ดูเพิ่มเติม »

เบอร์ลิน

อร์ลิน (แบร์ลีน) เป็นเมืองหลวงและรัฐหนึ่งในสิบหกรัฐสหพันธ์ของประเทศเยอรมนี มีประชากร 3.4 ล้านคนในเขตเมือง มากที่สุดในเยอรมนี และมากเป็นอันดับสองในสหภาพยุโรป เป็นศูนย์กลางของเขตนครหลวงเบอร์ลิน-บรานเดนบูร์ก ทางตะวันออกเฉียงเหนือของเยอรมนี มีประชากรในเขตนครหลวงรวม 1คนจาก 1ชาติ มากเป็นอันดับเก้าในสหภาพยุโรป, Eurostat.

ใหม่!!: การาวัจโจและเบอร์ลิน · ดูเพิ่มเติม »

เมทามอร์โฟซีส

หน้าปก มหากาพย์เมทามอร์โฟซีส (Metamorphoses) เป็นมหากาพย์ที่เขียนโดยโอวิด กวีโรมันในปี ค.ศ. 8 ที่มีด้วยกันสิบห้าเล่มที่บรรยายตำนานการสร้างและประวัติศาสตร์โลก เป็นหนังสือปรัมปราวิทยาที่เป็นที่นิยมกันมาโดยตลอด และเพราะเป็นงานคลาสสิกที่เป็นที่รู้จักกันดีในสมัยกลางจึงทำให้เป็นหนังสือที่มีอิทธิพลต่อโคลงกลอนในยุคกลาง หมวดหมู่:วรรณคดีประเภทกาพย์ หมวดหมู่:มหากาพย์.

ใหม่!!: การาวัจโจและเมทามอร์โฟซีส · ดูเพิ่มเติม »

เลโอนาร์โด ดา วินชี

ลโอนาร์โด ดา วินชี (Leonardo da Vinci) เป็นชาวอิตาลี (เกิดที่เมืองวินชี วันที่ 15 เมษายน ค.ศ. 1452 - เสียชีวิตที่เมืองออมบัวซ์ ในวันที่ 2 พฤษภาคม ค.ศ. 1519) เป็นอัจฉริยบุคคลที่มีความสามารถหลากหลาย เป็นทั้ง สถาปนิกแบบเรอเนซองส์ นักดนตรี นักกายวิภาคศาสตร์ นักประดิษฐ์ วิศวกร ประติมากร นักเรขาคณิต นักวาดภาพ นักดาราศาสตร์ นักวิทยาศาสตร์ ดา วินชี มีงานศิลปะที่มีชื่อเสียงหลายชิ้น เช่น พระกระยาหารมื้อสุดท้าย และ โมนา ลิซ่า งานของ ดา วินชี ยังสร้างคุณประโยชน์กับวิชากายวิภาคศาสตร์ ดาราศาสตร์ เป็นบุคคลแรกที่วางรากฐานด้านการบิน รวมถึงวิศวกรรมโยธา ด้วยความที่เป็นบุรุษที่มีจิตวิญญาณที่รักในศาสตร์หลายแขนง เลโอนาร์โดทำให้เกิดจิตวิญญาณของสหวิทยาการในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ และกลายเป็นบุคคลสำคัญของยุคนั้น นักประวัติศาสตร์และนักวิชาการหลายคนต่างยกย่องเลโอนาร์โดเป็นผู้มีปัญญาเฉียบแหลมและเป็นผู้รู้รอบด้าน หรือ "ชายยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา" (Renaissance Man) บุคคลที่มี "ความอยากรู้อยากเห็นอย่างไม่มีข้อกังขา" และ "จินตนาการที่สร้างสรรค์ขึ้นเรื่อย ๆ".

ใหม่!!: การาวัจโจและเลโอนาร์โด ดา วินชี · ดูเพิ่มเติม »

เวนิส

วนิส (Venice) หรือ เวเน็ตเซีย (Venezia) เป็นเมืองหลักของแคว้นเวเนโต ประเทศอิตาลี มีประชากร 271,663 คน (ข้อมูลวันที่ 1 มกราคม 2547) เมืองเวนิสได้รับฉายาว่า ราชินีแห่งทะเลเอเดรียติก (Queen of the Adriatic), เมืองแห่งสายน้ำ (City of Water), เมืองแห่งสะพาน (City of Bridges) และเมืองแห่งแสงสว่าง (The City of Light) เมืองเวนิสถูกสร้างขึ้นจากการเชื่อมเกาะเล็กๆ จำนวนมากเข้าด้วยกันในบริเวณทะเลสาบเวนิเทีย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทะเลเอเดรียติก ในภาคเหนือของประเทศอิตาลี ทะเลสาบน้ำเค็มนี้ตั้งอยู่บริเวณชายฝั่งระหว่างปากแม่น้ำโปกับแม่น้ำปลาวี มีผู้อยู่อาศัยโดยประมาณ 272,000 คน ซึ่งนับรวมหมดทั้งเวนิส โดยมี 62,000 คนในบริเวณเมืองเก่า 176,000 คนในแตร์ราแฟร์มา (Terraferma) และ 31,000 คนในเกาะอื่น ๆ ในทะเล.

ใหม่!!: การาวัจโจและเวนิส · ดูเพิ่มเติม »

เออแฌน เดอลาครัว

วาดตัวเอง พ.ศ. 2380 (ค.ศ. 1837) แฟร์ดีน็อง-วิกตอร์-เออแฌน เดอลาครัว เป็นศิลปินชาวฝรั่งเศส เขาสามารถเรียนจากงานของยุคอื่นๆ เขานับถือการใช้สีของราฟาเอล และพลังวาดภาพอย่างเต็มที่ของแรมบรังด์และรูเบนส์ การศึกษางานของปีเตอร์ พอล รูเบนส์อย่างใกล้ชิดของเขาทำให้เขาพัฒนารูปแบบภาพวาดที่ทิ้งความเข้มงวดของยุคคลาสสิก นำค่าแท้จริงของสีกลับมา เดอลาครัวมีอำนาจวาสนาจากคลาสสิก ศิลปะของเขาให้ทางเข้าตรงไปสู่สถานะทางอารมณ์ภายใน ดังนั้นมันกลายเป็นบางอย่างที่ศิลปะสมัยใหม่ (Modernism) จะเอาทิศทางมาจากมัน ศิลปะซึ่งปล่อยตัวมันเองให้เป็นอิสระอย่างเพิ่มขึ้นจากความจริงเพื่อหาค่าแท้จริงของมัน ราบเรียบ นามธรรมและเต็มไปด้วยอารมณ.

ใหม่!!: การาวัจโจและเออแฌน เดอลาครัว · ดูเพิ่มเติม »

เอดัวร์ มาแน

อดัวร์ มาแน (Édouard Manet,; 23 มกราคม ค.ศ. 1832 - 30 เมษายน ค.ศ. 1883) เป็นจิตรกรสมัยอิมเพรสชันนิสม์คนสำคัญของประเทศฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 19 มีความสำคัญในการเขียนภาพสีน้ำมัน ผู้เป็นจิตรกรคนแรกในคริสต์ศตวรรษที่ 19ที่เขียนภาพเกี่ยวกับชีวิตประจำวันของคนทั่วไป มาแนเป็นจิตรกรคนสำคัญที่มีบทบาทในการเปลี่ยนจากการเขียนภาพแบบเหมือนจริง (Realism) ไปเป็นแบบอิมเพรสชันนิสม์ “อาหารกลางวันบนลานหญ้า” (Le déjeuner sur l'herbe) และ “โอลิมเปีย” (Olympia) งานชิ้นเอกสองชิ้นของมาแนเป็นงานที่ทำให้เกิดมีความเห็นขัดแย้งกันมากและเป็นจุดที่ทำให้จิตรกรหนุ่ม ๆ รุ่นนั้นเริ่มหันมาวาดภาพอิมเพรสชันนิสม์—ซึ่งในปัจจุบันถือกันว่าเป็นจุดสำคัญของศิลปะที่แยกมาเป็นศิลปะสมัยใหม.

ใหม่!!: การาวัจโจและเอดัวร์ มาแน · ดูเพิ่มเติม »

เด็กชายปอกผลไม้ (คาราวัจโจ)

็กชายปอกผลไม้ (ภาษาอังกฤษ: Boy Peeling Fruit) เป็นภาพเขียนสีน้ำมันที่เขียนโดยคาราวัจโจจิตรกรสมัยบาโรกคนสำคัญชาวอิตาลีที่ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่มูลนิธิโรเบอร์โต ลอนกีห์, โรมในประเทศอิตาลี ภาพ “เด็กชายปอกผลไม้” เขียนราวระหว่างปี ค.ศ. 1592 ถึงปี ค.ศ. 1593 เป็นงานที่เชื่อกันว่าเป็นงานชิ้นแรกของคาราวัจโจที่เขียนไม่นานหลังจากมาถึงโรมจากมิลานในกลางปี ค.ศ. 1592 ที่อยู่ระหว่างนี้ไม่ทราบแน่นอนแต่ตามคำกล่าวของจุยเลียโน มันชินิ (Giulio Mancini) คาราวัจโจพักอยู่ระยะหนึ่งกับพันดุลโฟ พุชชิที่วังโคโลนนา แต่ไม่นานก็ย้ายเพราะไม่พอใจในวิธีที่พุชชิปฏิบัติด้วย (พุชชิให้แต่ผักเขียวกับผู้ที่พักอยู่ในบ้านจนคาราวัจโจตั้งชื่อเล่นให้ว่า “มอนซิยอร์สลัด”) ในช่วงนั้นคาราวัจโจกก็อปปีงานศาสนาให้พุชชิแต่ไม่มีอะไรหลงเหลืออยู่ ในขณะเดียวกันก็เขียนงานสองสามชิ้นของตนเองที่รวมทั้งงานชิ้นนี้ซึ่งอาจจะวาดหลังจากที่พำนักกับมันชินิ และเมื่อไปทำงานกับจุยเซ็ปปิ เซซาริ หรือ “คาวาเลียร์ดาร์ปิโน” ช่างเขียนคนโปรดของสมเด็จพระสันตะปาปาคลีเมนต์ที่ 8 ผู้เป็นช่างเขียนที่มีความสำเร็จดีในเวิร์คช็อพที่คล้ายโรงงาน ระหว่างนั้นคาราวัจโจก็ได้แต่เขียน “ดอกไม้และผลไม้” งาน “เด็กชายปอกผลไม้” เป็นงานที่เขียนสำหรับขายนอกเวิร์คช็อพแต่เป็นงานที่ยึดจากดาร์พิโนโดยคาร์ดินัลสคิปิโอเน บอร์เกเซ (Scipione Borghese) ในปี..

ใหม่!!: การาวัจโจและเด็กชายปอกผลไม้ (คาราวัจโจ) · ดูเพิ่มเติม »

เด็กถูกจิ้งเหลนกัด (คาราวัจโจ)

็กถูกจิ้งเหลนกัด (Boy Bitten by a Lizard) เป็นภาพเขียนสีน้ำมันที่เขียนโดยคาราวัจโจจิตรกรสมัยบาโรกคนสำคัญชาวอิตาลีที่ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่หอศิลป์แห่งชาติ (ลอนดอน)ในอังกฤษ ภาพ “เด็กถูกจิ้งเหลนกัด” มีด้วยกันสองฉบับและทั้งสองฉบับเชื่อว่าเขียนโดยคาราวัจโจ ฉบับหนึ่งอยู่ที่มูลนิธิโรเบอร์โต ลอนกีห์ ในฟลอเรนซ์ ภาพที่สองอยู่ที่หอศิลป์แห่งชาติ (ลอนดอน) ทั้งสองภาพเขียนราวระหว่างปี ค.ศ. 1594 - ค.ศ. 1596 การบ่งเวลาเขียนทำได้จากการเปรียบเทียบลักษณะการเขียนภาพนี้กับลักษณะการเขียนของงานที่เขียนในระยะแรกๆ ขณะที่พำนักอยู่กับคาร์ดินัลฟรานเชสโค มาเรีย เดล มอนเตผู้เป็นผู้อุปถัมภ์ และเมื่อคาราวัจโจมิได้เข้าพำนักที่พาลัซโซของคาร์ดินัลจนกระะทั่งล่วงเข้าไปในปี..

ใหม่!!: การาวัจโจและเด็กถูกจิ้งเหลนกัด (คาราวัจโจ) · ดูเพิ่มเติม »

เคราร์ด ฟัน โฮนต์ฮอสต์

ราร์ด หรือ แคร์ริต แฮร์มันส์โซน ฟัน โฮนต์ฮอสต์ (Gerard, Gerrit Hermanszoon van Honthorst; 4 พฤศจิกายน ค.ศ. 1592 - 27 เมษายน ค.ศ. 1656) เป็นจิตรกรชาวดัตช์แห่งเมืองยูเทรกต์ในสมัยยุคทองของเนเธอร์แลนด์ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ผู้มีความเชี่ยวชาญในการเขียนภาพเหมือน ฟัน โฮนต์ฮอสต์ได้ร่ำเรียนกับอาบราฮัม บลุมาร์ต (Abraham Bloemaert) จิตรกรและช่างพิมพ์ภาพที่เปลี่ยนจากการเขียนแบบตระกูลฟรังก์เกิน (Francken) ไปเป็นการเขียนแบบกึ่งอิตาลีเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 เช่นเดียวกับจิตรกรเนเธอร์แลนด์ในขณะนั้นที่ตื่นเต้นกับการการวิวัฒนาการทางจิตรกรรมในแบบอิตาลี ฟัน โฮนต์ฮอสต์เดินทางไปอิตาลีในปี..

ใหม่!!: การาวัจโจและเคราร์ด ฟัน โฮนต์ฮอสต์ · ดูเพิ่มเติม »

เปาโลอัครทูต

นักบุญเปาโลอัครทูต (St.) หรือนักบุญเปาโลแห่งทาร์ซัส (St.; San Paolo di Tarso) หรือนักบุญเปาโล มาจาก ภาษากรีก “Šaʾul HaTarsi” หมายถึง “เซาโลแห่งทาร์ซัส” มาจาก “Σαουλ” “Saul” หรือ “Σαῦλος” “Saulos” หรือ “Παῦλος” “Paulos” เป็น “อัครทูตถึงชนต่างชาติ” (Apostle to the Gentiles) พร้อมกับนักบุญเปโตรและนักบุญยากอบผู้ชอบธรรม (James the Just), เป็นมิชชันนารีที่สำคัญที่สุดในศาสนาคริสต์ยุคแรก แต่ไม่เคยพบพระเยซูดังเช่นอัครทูตท่านอื่นๆ ไม่มีหลักฐานใดที่กล่าวว่านักบุญเปาโลเคยพบพระองค์ด้วยตนเองก่อนที่จะถูกตรึงกางเขนตามที่กล่าวใน “กิจการของอัครทูต” นักบุญเปาโลมานับถือศาสนาคริสต์ระหว่างที่เดินทางไป ดามัสกัส จากการที่ได้เห็นพระเยซูผู้ฟื้นคืนพระชนม.

ใหม่!!: การาวัจโจและเปาโลอัครทูต · ดูเพิ่มเติม »

เปเตอร์ เปาล์ รือเบินส์

ปเตอร์ เปาล์ รือเบินส์ เปเตอร์ เปาล์ รือเบินส์ (Peter Paul Rubens,; 28 มิถุนายน พ.ศ. 2120 - 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2183) เป็นจิตรกรชาวเฟลมิชที่มีชื่อเสียงในคริสต์ศตวรรษที่ 17 มีผลงานในรูปแบบศิลปะบาโรก.

ใหม่!!: การาวัจโจและเปเตอร์ เปาล์ รือเบินส์ · ดูเพิ่มเติม »

เนเปิลส์

นเปิลส์ (Naples), นาโปลี (Napoli) หรือ นาปูเล (เนเปิลส์: Napule) เป็นเมืองหลักของแคว้นคัมปาเนียและจังหวัดเนเปิลส์ในอิตาลี มีชื่อเสียงในด้านความร่ำรวยทางประวัติศาสตร์ ศิลปะ วัฒนธรรม สถาปัตยกรรม ดนตรี และศาสตร์การทำอาหาร เป็นเมืองที่มีบทบาทสำคัญในคาบสมุทรอิตาลีมาตลอด 2,800 ปีนับแต่ก่อตั้งเมืองขึ้นมา ตำแหน่งที่ตั้งอยู่ที่ชายฝั่งด้านตะวันตกของอิตาลีติดกับอ่าวเนเปิลส์ กึ่งกลางระหว่างพื้นที่ภูเขาไฟสองแห่ง คือ ภูเขาไฟวิสุเวียสและกัมปีเฟลเกรย์ เนเปิลส์ก่อตั้งขึ้นเมื่อ 800-900 ปีก่อนคริสตกาล ในฐานะอาณานิคมกรีก จึงจัดว่าเป็นเมืองที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก แรกเริ่มนั้นมีชื่อว่า Παρθενόπη Parthenope ต่อมาถูกเปลี่ยนชื่อเป็น Νεάπολις Neápolis (เมืองใหม่) จัดเป็นหนึ่งในเมืองสำคัญในพื้นที่ Magna Graecia โดยมีบทบาทสำคัญในการถ่ายทอดวัฒนธรรมกรีกไปสู่สังคมโรมัน ต่อมาได้กลายเป็นศูนย์กลางหลักทางวัฒนธรรมของสาธารณรัฐโรมัน โดยเวอร์จิล กวีภาษาละตินที่มีชื่อเสียง ก็ได้เคยศึกษาวิชาที่เนเปิลส์และต่อมาก็ได้อาศัยอยู่ที่บริเวณชานเมือง ตลอดระยะเวลาในประวัติศาสตร์ เนเปิลส์ได้รับสืบทอดอิทธิพลทางศิลปะและสถาปัตยกรรมจากอารยธรรมต่าง ๆ มากมาย รูปแบบสถาปัตยกรรมที่เด่นชัดที่สุดที่ยังคงพบได้ในปัจจุบันถือกำเนิดมาจากยุคกลาง สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา และสมัยบาโรก ใจกลางเนเปิลส์เป็นศูนย์กลางเมืองทางประวัติศาสตร์ที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป (1,700 เฮกตาร์ หรือ 17 ตารางกิโลเมตร) และได้รับการขึ้นทะเบียนจากองค์การยูเนสโกให้เป็นมรดกโลก ตลอดประวัติศาสตร์อันยาวนานของเมือง เนเปิลส์เคยมีฐานะเป็นเมืองหลวงของ Duchy และอาณาจักรต่าง ๆ มากมาย รวมทั้งเคยเป็นเมืองหลวงของ Crown of Aragon และยังเป็นศูนย์กลางทางวัฒนธรรมที่สำคัญ (โดยเฉพาะในสมัยของลัทธิมนุษยนิยมเรอเนสซองซ์ และตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 ถึง 19) อิทธิพลของเมืองได้แผ่ขยายครอบคลุมพื้นที่หลายส่วนในยุโรปไปจนถึงนอกทวีป และรอบเมืองก็เป็นที่ตั้งของสถานที่สำคัญต่าง ๆ (เช่น พระราชวังกาแซร์ตา ปอมเปอี และเฮอร์คิวเลเนียม) ซึ่งล้วนแต่มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดต่อเนเปิลส์ในด้านประวัติศาสตร์ ศิลปะ และสถาปัตยกรรม เนเปิลส์เคยเป็นเมืองหลวงของราชอาณาจักรเนเปิลส์ตั้งแต่ พ.ศ. 1825 ถึง พ.ศ. 2349 ต่อมาได้ถูกผนวกอาณาจักรเข้ากับราชอาณาจักรซิซิลี และกลายเป็นเมืองหลวงของ Kingdom of Two Sicilies จนกระทั่งอาณาจักรต่าง ๆ บนคาบสมุทรถูกผนวกรวมเป็นประเทศอิตาลีเมื่อ พ.ศ. 2404 ซึ่งหลังสงคราม Neapolitan ฝ่ายเนเปิลส์ก็ได้สนับสนุนการรวมประเทศนี้อย่างเต็มที่ ภายในอาณาเขตการปกครองของเนเปิลส์มีประชากรประมาณ 1 ล้านคน แต่จากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ระบุว่าเขตมหานครของเนเปิลส์มีประชากรมากเป็นอันดับสอง (รองจากมหานครมิลาน ซึ่ง Svimez Data ระบุว่ามีผู้อยู่อาศัย 4,434,136 คน ขณะที่สถาบัน Censis ระบุว่ามี 4,996,084 คน)) หรือสาม (ตามข้อมูลขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา มีผู้อยู่อาศัย 3.1 ล้านคน) ของอิตาลี นอกจากนี้ยังเป็นมหานครที่มีประชากรหนาแน่นมากที่สุดในอิตาลี เนเปิลส์ถูกจัดให้เป็นเมืองที่มีเศรษฐกิจที่เข้มแข็งมากเป็นอันดับสี่ในอิตาลี รองจากมิลาน โรม และตูริน และถูกจัดให้เป็นเมืองที่ร่ำรวยเป็นอันดับที่ 91 ของโลกโดยวัดจากกำลังซื้อของประชากร และมีผลิตภัณฑ์มวลรวมอยู่ที่ 43,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเหนือกว่าเศรษฐกิจของบูดาเปสต์และซูริก ท่าเรือเนเปิลส์เป็นท่าเรือที่มีความสำคัญมากที่สุดแห่งหนึ่งในยุโรป (มีผู้โดยสารคับคั่งมากเป็นอันดับสองของโลกรองจากท่าเรือฮ่องกง) เมื่อไม่นานมานี้เศรษฐกิจของเนเปิลส์ได้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว และอัตราการว่างงานของประชากรในเมืองและบริเวณโดยรอบก็ลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ พ.ศ. 2542 กระนั้นก็ยังคงเต็มไปด้วยการทุจริตทั้งทางการเมืองและเศรษฐกิจ รวมทั้งเป็นแหล่งตลาดมืดที่เฟื่องฟู ในตัวเมืองเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ของบริษัทขนาดใหญ่สัญชาติอิตาลีหลายแห่ง เช่น MSC-Cruises และเป็นที่ตั้งของ Center Rai of Naples (สื่อ) มาตั้งแต่ พ.ศ. 2501 ขณะที่ในเขตบัญโญลีเป็นที่ตั้งของสำนักงานขนาดใหญ่ขององค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ และยังมี SRM institution for economic research และบริษัทและศูนย์การศึกษา OPE ที่ตั้งอยู่ในตัวเมืองเช่นกัน เนเปิลส์เป็นสมาชิกเต็มของเครือข่าย Eurocities นอกจากนี้ ยังได้รับเลือกให้เป็นศูนย์กลางของ Acp/Ue และได้รับการยกย่องจาก Creative Cities Network ในสังกัดขององค์การยูเนสโกให้เป็นเมืองแห่งวรรณกรรม ในเขตโปซิลลีโปของเมืองเป็นที่ตั้งของ Vill Rosebery ซึ่งเป็นที่พำนักอย่างเป็นทางการหนึ่งในสามแห่งของประธานาธิบดีอิตาลี ในศตวรรษที่ 20 เนเปิลส์ตกอยู่ภายใต้การปกครองของลัทธิฟาสซิสต์ และในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สองก็เป็นเมืองที่ถูกทิ้งระเบิดมากที่สุดในอิตาลี ภายหลังสงครามสงบได้มีการบูรณะเมืองซึ่งได้ขยายตัวเมืองออกไปยังพื้นที่รอบนอก ในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมานี้ ได้มีการสร้างย่านธุรกิจ (เชนโตรดีเรซีโอนาเล) ที่มีอาคารระฟ้าและโครงสร้างพื้นฐานแบบ TGV ในโรม รวมถึงการขยายเส้นทางรถไฟใต้ดินที่จะครอบคลุมพื้นที่ครึ่งหนึ่งของภูมิภาค และเนเปิลส์จะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม International Astronautical Congress ใน พ.ศ. 2555 และ Universal Forum of Cultures ใน พ.ศ. 2556 เนเปิลส์เป็นเมืองที่เริ่มมีการทำพิซซาขึ้นเป็นครั้งแรก โดยในขณะนั้นจะใช้การทอดก่อนที่จะเปลี่ยนเป็นการอบในภายหลัง นอกจากนี้วัฒนธรรม Neapolitan ยังมีอิทธิพลด้านดนตรีอย่างแพร่หลาย อย่างเช่นการประดิษฐ์ Romantic guitar และแมนโดลิน รวมทั้งอุปรากรและเพลงท้องถิ่น บุคคลที่เป็นสัญลักษณ์ของเนเปิลส์คือนักบุญ Januarius ผู้ปกป้องคุ้มครองเมือง ส่วนตัวละครจากเรื่องแต่งที่ถือว่าเป็นสัญลักษณ์คือ พูลชิเนลลา และไซเรน สิ่งมีชีวิตจากมหากาพย์โอดิสซีของกรีก.

ใหม่!!: การาวัจโจและเนเปิลส์ · ดูเพิ่มเติม »

18 กรกฎาคม

วันที่ 18 กรกฎาคม เป็นวันที่ 199 ของปี (วันที่ 200 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 166 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: การาวัจโจและ18 กรกฎาคม · ดูเพิ่มเติม »

28 กรกฎาคม

วันที่ 28 กรกฎาคม เป็นวันที่ 209 ของปี (วันที่ 210 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 156 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: การาวัจโจและ28 กรกฎาคม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

CaravaggioCaravaggistiMichelangelo Merisi da Caravaggioกลุ่มการาวัจโจกลุ่มคาราวัจจิโอกลุ่มคาราวัจโจการเขียนภาพแบบการาวัจโจการเขียนภาพแบบคาราวัจจิโอการเขียนภาพแบบคาราวัจโจการเขียนแบบคาราวัจจิโอคาราวัจจิโอคาราวัจโจไมเคิลแอนเจโล คาราวัจจิโอ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »