โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อริยสัจ 4

ดัชนี อริยสัจ 4

อริยสัจ หรือจตุราริยสัจ หรืออริยสัจ 4 เป็นหลักคำสอนหนึ่งของพระโคตมพุทธเจ้า แปลว่า ความจริงอันประเสริฐ ความจริงของพระอริยบุคคล หรือความจริงที่ทำให้ผู้เข้าถึงกลายเป็นอริยะ มีอยู่สี่ประการ คือ.

20 ความสัมพันธ์: พระโคตมพุทธเจ้าพุทธธรรม (หนังสือ)มรรคมีองค์แปดสมุทัยสัมมากัมมันตะสัมมาวายามะสัมมาวาจาสัมมาสมาธิสัมมาสังกัปปะสัมมาสติสัมมาอาชีวะสัมมาทิฐิสัสสตทิฐิอริยบุคคลอุจเฉททิฐิทุกข์ขันธ์ตัณหานิโรธไตรสิกขา

พระโคตมพุทธเจ้า

ระโคตมพุทธเจ้า มีพระนามเดิมในภาษาบาลีว่า สิทธัตถะ โคตมะ หรือในภาษาสันสกฤตว่า สิทฺธารฺถ เคาตมะ (อ่านว่า /สิดทาด —/) (เทวนาครี: सिद्धार्थ गौतम) เป็นพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบัน ผู้เป็นศาสดาของศาสนาพุทธ สาวกของพระองค์ไม่นิยมออกพระนามโดยตรง แต่เรียกตามพระสมัญญาว่า "ภควา" (พระผู้มีพระภาคเจ้า) คัมภีร์พุทธศาสนาทั้งนิกายเถรวาทและนิกายมหายานบันทึกตรงกันว่า พระโคตมพุทธเจ้าทรงดำรงพระชนมชีพอยู่ระหว่าง 80 ปีก่อนพุทธศักราช จนถึงเริ่มพุทธศักราชซึ่งเป็นวันปรินิพพาน ตรงกับ 543 ปี ก่อนคริสตกาลตามตำราไทยซึ่งอ้างอิงปฏิทินสุริยคติไทยและปฏิทินจันทรคติไทย และตรงกับ 483 ปีก่อนคริสตกาลตามปฏิทินสากล พระโคตมพุทธเจ้าเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะและพระนางสิริมหามายาแห่งศากยวงศ์ โคตมโคตร อันเป็นราชสกุลวงศ์ที่ปกครองกรุงกบิลพัสดุ์มาช้านาน ก่อนออกผนวชทรงดำรงพระอิสสริยยศเป็นรัชทายาท เมื่อเสด็จออกผนวชและบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ทรงได้รับการถวายพระนามต่าง ๆ อาทิ พระศากยมุนี, พระพุทธโคดม, พระโคดมพุทธเจ้า ฯลฯ แต่ทรงเรียกพระองค์เองว่า ตถาคต แปลว่า พระผู้ไปแล้วอย่างนั้น คือ ทรงปฏิญาณว่า ทรงพ้นจากทุกข์ทั้งปวง สำเร็จแล้วซึ่งอรหัตผล.

ใหม่!!: อริยสัจ 4และพระโคตมพุทธเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

พุทธธรรม (หนังสือ)

พุทธธรรม เป็นหนังสือธรรมะ แต่งโดยพระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)แรกเริ่มเดิมทีท่านเขียนเป็นบทความขนาดยาวลงพิมพ์เพื่อ เป็นอนุสรณ์แก่พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ หรือเรียกสั้นๆ ว่าพระองค์วรรณฯ ต่อมาได้ขยายบทความชิ้นนั้นมาเป็นหนังสือขนาดย่อม แล้วมาขยายเป็นฉบับขยายความดังที่ปรากฏในปัจจุบัน หนังสือ พุทธธรรม ของพระพรหมคุณาภรณ์เล่มนี้ เป็นหนังสือที่ทรงคุณค่าทางพระพุทธศาสนามากที่สุดเล่มหนึ่ง เพราะประมวลหลักพุทธธรรม หรือกฎของธรรมชาติในแง่มุมต่างๆ โดยดึงเอาคำอธิบายจากพระไตรปิฎก, อรรถกถา,ฎีกา, อนุฎีกา ฯลฯ เพื่อให้พุทธวจนะแจ่มกระจ่างไว้ครบถ้วน สมบูรณ์มาก เหมาะสำหรับผู้สนใจใฝ่รู้เนื้อหาพระพุทธศาสนาโดยภาพรวมทั้งหมดไว้ประจำบ้าน นับเป็นหนึ่งในหนังสือดี 100 เล่มที่คนไทยควรอ่าน นับเป็นหนังสือที่สำคัญเล่มหนึ่งในวงการพุทธศาสนา และได้รับการยกย่องเสมอมา จนปัจจุบัน หมวดหมู่:วรรณกรรมศาสนาพุทธ หมวดหมู่:หนังสือดี 100 เล่มที่คนไทยควรอ่าน.

ใหม่!!: อริยสัจ 4และพุทธธรรม (หนังสือ) · ดูเพิ่มเติม »

มรรคมีองค์แปด

มรรค (มรฺค; มคฺค) คือ หนทางสู่ความดับทุกข์ เป็นหนึ่งในอริยสัจ 4 จึงเรียกอีกอย่างว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา หรือการลงมือปฏิบัติเพื่อให้พ้นจากทุกข์ ประกอบด้วยองค์ประกอบ 8 ประการ ในธัมมจักกัปปวัตตนสูตร พระพุทธเจ้าตรัสว่าอริยมรรคมีองค์ 8 นี้เป็นทางสายกลาง คือเป็นข้อปฏิบัติอันพอดีที่จะนำไปสู่ความหลุดพ้น ตามวิภังคสูตร พระพุทธเจ้าทรงอธิบายรายละเอียดไว้ดังนี้.

ใหม่!!: อริยสัจ 4และมรรคมีองค์แปด · ดูเพิ่มเติม »

สมุทัย

สมุทัย หรือ ทุกขสมุทัย หรือ ทุกขสมุทัยอริยสัจ เป็นหลักธรรมข้อหนึ่งในหมวดอริยสัจ หรือ อริยสัจ ๔ หมายถึง เหตุปัจจัยที่ทำในเกิดทุกข์ ซึ่งเกิดจากตัณหา.

ใหม่!!: อริยสัจ 4และสมุทัย · ดูเพิ่มเติม »

สัมมากัมมันตะ

ัมมากัมมันตะ เป็นหนึ่งในมรรค 8 หรือ มรรคมีองค์แปด กระทำชอบ ทำการชอบ คือ การกระทำที่เว้นจากความประพฤติชั่วทางกาย 3 อย่าง อันได้แก.

ใหม่!!: อริยสัจ 4และสัมมากัมมันตะ · ดูเพิ่มเติม »

สัมมาวายามะ

ัมมาวายามะเป็นหนึ่งในมรรค 8 หรือ มรรคมีองค์แปด เพียรชอบ เกิดฉันทะพยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้.

ใหม่!!: อริยสัจ 4และสัมมาวายามะ · ดูเพิ่มเติม »

สัมมาวาจา

ัมมาวาจา เจรจาชอบ คือ วจีสุจริต4 (เว้นจาก วจีทุจริต4).

ใหม่!!: อริยสัจ 4และสัมมาวาจา · ดูเพิ่มเติม »

สัมมาสมาธิ

ัมมาสมาธิ แปลว่า สมาธิชอบ คือความตั้งใจมั่นโดยถูกทาง โดยการที่กุศลจิตมีอารมณ์เป็นอันเดียว (ความตั้งมั่นแห่งกุศลจิตในในอารมณ์อันใดอันหนึ่ง ไม่ฟุ้งซ่าน)เข้าถึง ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน และ จตุตถฌาน (จิตตั้งมั่นในฌานทั้ง 4 นี้ ส่วนอรูปฌาน)ทั้ง4ท่านจัดเข้าในจตุตถฌาน ตามอารมณ์ที่อรูปฌานมีเจตสิกที่เข้ามาประกอบในจิต คือ อุเบกขาเจตสิกและเอกัคคตาเจตสิก เช่นเดียวกับจตุตถฌาน.

ใหม่!!: อริยสัจ 4และสัมมาสมาธิ · ดูเพิ่มเติม »

สัมมาสังกัปปะ

ัมมาสังกัปปะ หมายถึง ดำริชอบ หรือความนึกคิดในทางที่ถูกต้อง เป็นหนึ่งในมรรค 8 หรือ มรรคมีองค์แปดสัมมาสังกัปปะ มี 3 อย่าง ได้แก.

ใหม่!!: อริยสัจ 4และสัมมาสังกัปปะ · ดูเพิ่มเติม »

สัมมาสติ

ัมมาสติ คือการมีสติกำหนดระลึกรู้อยู่เป็นนิจว่า กำลังทำอะไรอยู่ กำหนดรู้สภาวะที่เกิดขึ้นจริงในขณะปัจจุบัน ในสภาวะทั้ง 4 คือ กาย เวทนา จิต และธรรม ตามความจำกัดความแบบพระสูตร คือหลักธรรมที่เรียกว่าสติปัฏฐาน ๔ แบ่งออกเป็น 4 คือ (สัมมาสติ เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสียได้ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ฯลฯ พิจารณา เห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและ โทมนัสในโลกเสียได้ อันนี้เรียกว่า สัมมาสติ ฯ).

ใหม่!!: อริยสัจ 4และสัมมาสติ · ดูเพิ่มเติม »

สัมมาอาชีวะ

ัมมาอาชีวะเป็นหนึ่งในมรรค 8 หรือ มรรคมีองค์แป.

ใหม่!!: อริยสัจ 4และสัมมาอาชีวะ · ดูเพิ่มเติม »

สัมมาทิฐิ

ัมมาทิฐิ (สมฺมาทิฏฺฐิ) หมายถึง แนวคิดที่ถูกต้อง ความเห็นชอบตามทํานองคลองธรรม เช่น เห็นว่าทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่ว ถือเป็นองค์แรกในมรรคมีองค์แปด อันเป็นแนวทางสู่การหลุดพ้นจากทุก.

ใหม่!!: อริยสัจ 4และสัมมาทิฐิ · ดูเพิ่มเติม »

สัสสตทิฐิ

ัสสตทิฐิ (อ่านว่า สัดสะตะทิถิ) แปลว่า ความเห็นว่าเที่ยง เป็นทิฐิที่ตรงกันข้ามกับ อุจเฉททิฐิ (ความเห็นว่าขาดสูญ) ศาสนาพุทธถือว่าทั้งสัสสตทิฐิและอุจเฉททิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ สัสสตทิฐิ เป็นลัทธิความเห็นที่มีมาก่อนสมัยพุทธกาล โดยเห็นว่าอัตตาหรือตัวตนเป็นสิ่งเที่ยงแท้ ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ไม่ขาดสูญ แม้ตายแล้วก็เพียงร่างกายเท่านั้นที่สลายหรือตายไป แต่สิ่งที่เรียกว่าอาตมันหรืออัตตา ชีวะ เจตภูติ ยังเป็นอมตะ ไม่มีวันตาย ไม่มีวันสูญ จะไปถือเอาปฏิสนธิในกำเนิดของภพอื่นต่อไป.

ใหม่!!: อริยสัจ 4และสัสสตทิฐิ · ดูเพิ่มเติม »

อริยบุคคล

อริยบุคคล แปลว่า บุคคลผู้ประเสริฐ, ผู้ไกลจากข้าศึก, ผู้หักกำล้อสังสารวัฏได้แล้วแบ่งได้หลายประเภทคือแบ่งอย่างใหญ่ได้เป็น พระเสขะและพระอเสขะ แบ่งตามประเภทบุคคลมี 4 ประเภทคือ พระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์ และยังแบ่งย่อยเป็น 8 ประเภท จัดเป็น 4 คู่ได้อีก.

ใหม่!!: อริยสัจ 4และอริยบุคคล · ดูเพิ่มเติม »

อุจเฉททิฐิ

อุจเฉททิฐิ (อ่านว่า อุดเฉทะทิดถิ) แปลว่า ความเห็นว่าขาดสูญ เป็นความเห็นที่ปฏิเสธหรือตรงกันข้ามกับ สัสสตทิฐิ อุจเฉททิฐิ คือความเห็นที่ว่าสัตว์โลกทั้งปวงเมื่อตายหรือละจากอัตภาพนี้ไปแล้วก็เป็นอันขาดสูญไม่มีอะไรที่จะไปเกิดหรือไปปฏิสนธิในภพอื่นอีก สิ่งที่เรียกว่าอาตมัน หรืออัตตา ชีวะ เจตภูติ ก็สูญไปเช่นเดียวกัน เรียกว่าขาดสูญไปทั้งหมดไม่มีอะไรเหลือให้ไปเกิดในสุคติหรือทุคติอีก อุจเฉททิฐิ มีผลกระทบต่อผู้เห็นตามนั้น คือทำให้เป็นคนประมาทขาดสติ เห็นแก่ตัว ปฏิเสธบุญบาป ปฏิเสธนรกสวรรค์ ทำอะไรโดยไม่กลัวบาปกรรม มุ่งแต่หาความสุขในกามรมณ์ เบียดเบียนแก่งแย่งกันและกัน รบราฆ่าฟันกันเพื่อความเป็นใหญ่ ใช้ชีวิตให้คุ้มค่าก่อนที่จะตายไป.

ใหม่!!: อริยสัจ 4และอุจเฉททิฐิ · ดูเพิ่มเติม »

ทุกข์

ทุกข์ หรือ ทุกขัง (ทุกฺข) เป็นหลักธรรมสำคัญในพระพุทธศาสนา แปลว่าทนอยู่ในสภาพเดิมได้ยาก โดยทั่วไปหมายถึง สังขารทั้งปวง อันได้แก่ ขันธ์ 5 ซึ่งเป็นที่ตั้งของกองทุกข์ ในทางพระพุทธศาสนา การกำหนดทุกข์ถือเป็นกิจในอริยสัจ 4 ที่ชาวพุทธต้องทำเพื่อละและปล่อยวางในลำดับต่อไปในกิจทั้งสี่ในอริยสัจ อันได้แก่ รู้ทุกข์ เพื่อค้นหาสาเหตุในการดับทุกข์ (สมุทัย) แล้วจึงตั้งจุดมุ่งหมายในการดับทุกข์ (นิโรธ) และดำเนินตามเส้นทางสู่ความดับทุกข์ (มรรค) คือสละ ละ ปล่อยวาง ไม่ยึดติดในใจด้วยอำนาจกิเลส ทุกข์ จัดเป็นหนึ่งในชื่อเรียกที่เป็นไวพจน์ของขันธ์ซึ่งถูกใช้เป็นอย่างมากในพระไตรปิฎก.

ใหม่!!: อริยสัจ 4และทุกข์ · ดูเพิ่มเติม »

ขันธ์

ันธ์ แปลว่า กอง, หมวด, หมู่, ส่วน ในทางพุทธศาสนาหมายถึงร่างกายของมนุษย์ คือแยกร่างกายออกเป็นส่วนๆ ตามสภาพได้ 5 ส่วน หรือ 5 ขันธ์ คือ.

ใหม่!!: อริยสัจ 4และขันธ์ · ดูเพิ่มเติม »

ตัณหา

ตัณหา เป็นหลักธรรมข้อหนึ่งในพุทธศาสนา หมายถึง ความติดใจอยาก ความยินดี ยินร้าย หรือติดในรสอร่อยของโลก ประกอบด้วย ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ เพลิดเพลินยิ่งนักในอารมณ์นั้นๆ และ ตัณหาย่อมเจริญแก่ผู้ประพฤติประมาท ซ่านไปในอารมณ์ต่างๆ ครอบงำบุคคลใด ความโศกทั้งหลายย่อมเจริญแก่บุคคลนั้น ดังนั้น ความทุกข์ย่อมเกิดขึ้นบ่อยๆ เมื่อบุคคลยังถอนเชื้อตัณหาไม่ได้ ในหลักปฏิจจสมุปบาท ตัณหาเกิดจากเวทนาเป็นปัจจัย โดยมี อวิชชาเป็นมูลราก ควรเห็นตัณหา เป็นดังเครือเถาที่เกิดขึ้น แล้ว จงตัดรากเสียด้วยปัญญ.

ใหม่!!: อริยสัจ 4และตัณหา · ดูเพิ่มเติม »

นิโรธ

นิโรธ (อ่านว่า นิโรด) แปลว่า ความดับ (ทุกข์) คือความสำรอกออก, สลัดทิ้ง, ปลดปล่อย, ไม่มีเยื่อใยสมุทัยอันเป็นบ่อเกิดทุกข์ได้สิ้นเชิง หมายถึง การทำลายสมุทัยและดับสมุทัยคือตัวตัณหาให้สิ้นไปจนไม่เกิดขึ้นได้อีกเหมือนไฟที่สิ้นเชื้อ ด้วยอำนาจการดำเนินตามมรรคจนได้บรรลุมรรคนั้นๆ นิโรธ จัดเป็นอริยสัจอันดับที่3ในอริยสัจ 4 คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค โดยภาวะคือนิพพานนั่นเอง.

ใหม่!!: อริยสัจ 4และนิโรธ · ดูเพิ่มเติม »

ไตรสิกขา

ตรสิกขา แปลว่า สิกขา 3 หมายถึงข้อสำหรับศึกษา, การศึกษาข้อปฏิบัติที่พึงศึกษา, การฝึกฝนอบรมตนในเรื่องที่พึงศึกษา 3 อย่างคือ.

ใหม่!!: อริยสัจ 4และไตรสิกขา · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

อริยสัจอริยสัจ ๔อริยสัจสี่อริยสัจจ์อริยสัจธรรมจตุราริยสัจจตุราริยสัจจ์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »