สารบัญ
15 ความสัมพันธ์: พริสมาทอยด์รอมบิคิวบอกทาฮีดรอนรอมบิโคซิโดเดคาฮีดรอนระนาบรูปสามเหลี่ยมรูปสี่เหลี่ยมรูปหลายเหลี่ยมรูปแปดเหลี่ยมทรงหลายหน้าทรงตันจอห์นสันคิวบอกทาฮีดรอนคิวโพลาสามเหลี่ยมคิวโพลาสี่เหลี่ยมจัตุรัสคิวโพลาห้าเหลี่ยมไบคิวโพลา
- ทรงหลายหน้า
พริสมาทอยด์
ริสมาทอยด์ (prismatoid) หมายถึงทรงหลายหน้า (polyhedron) ที่จุดยอด (vertex) ทุกจุดเรียงกันอยู่บนระนาบสองระนาบที่ขนานกัน และพริสมาทอยด์ที่มีจำนวนจุดยอดบนระนาบเท่ากับทั้งสองระนาบ จะเรียกอีกอย่างว่า พริสมอยด์ (prismoid) ปริมาตรของพริสมาทอยด์ V สามารถหาได้จาก V.
รอมบิคิวบอกทาฮีดรอน
รอมบิคิวบอกทาฮีดรอน รูปทรงนี้ได้รับการตีพิมพ์เป็นครั้งแรกในหนังสือ ''Divina Proportione'' โดยเลโอนาร์โด ดา วินชี รอมบิคิวบอกทาฮีดรอน (เล็ก) (อังกฤษ: (small) rhombicuboctahedron, พหูพจน์: -dra) เป็นทรงหลายหน้า (polyhedron) ที่ประกอบด้วยหน้ารูปสามเหลี่ยมด้านเท่า 8 หน้า และรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส 18 หน้า รวม 26 หน้า โดยหน้ารูปสามเหลี่ยมทุกหน้าจะมีรูปสี่เหลี่ยมล้อมอยู่โดยรอบ ทรงนี้มี 24 จุดยอด 48 ขอบ และเป็นหนึ่งในทรงตันอาร์คิมิดีส (Archimedean solid) รูปทรงนี้สามารถเรียกในชื่ออื่นอีกคือ ออร์โทไบคิวโพลาสี่เหลี่ยมจัตุรัสอีลองเกต (elongated square orthobicupola).
ดู คิวโพลาและรอมบิคิวบอกทาฮีดรอน
รอมบิโคซิโดเดคาฮีดรอน
รอมบิโคซิโดเดคาฮีดรอน รอมบิโคซิโดเดคาฮีดรอน (เล็ก) (อังกฤษ: (small) rhombicosidodecahedron, พหูพจน์: -dra) เป็นทรงหลายหน้า (polyhedron) ที่ประกอบด้วยหน้ารูปสามเหลี่ยมด้านเท่า 20 หน้า รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส 30 หน้า และรูปห้าเหลี่ยมด้านเท่า 12 หน้า รวม 62 หน้า โดยหน้ารูปห้าเหลี่ยมทุกหน้าจะล้อมรอบด้วยรูปสามเหลี่ยมและสี่เหลี่ยมสลับกันไป ทรงนี้มี 60 จุดยอด 120 ขอบ และเป็นหนึ่งในทรงตันอาร์คิมิดีส (Archimedean solid).
ดู คิวโพลาและรอมบิโคซิโดเดคาฮีดรอน
ระนาบ
องระนาบตัดกันในปริภูมิสามมิติ ในทางคณิตศาสตร์ ระนาบ (plane) คือแผ่นราบใดๆ ในพื้นผิวสองมิติ ระนาบคืออุปมัยสองมิติของจุด (ศูนย์มิติ), เส้นตรง (หนึ่งมิติ) และปริภูมิ (สามมิติ) ระนาบสามารถเกิดขึ้นจากปริภูมิย่อยของปริภูมิที่มีมิติมากกว่า อย่างกำแพงในห้อง หรืออาจอยู่อย่างอิสระด้วยตัวเอง ตามในนิยามของเรขาคณิตแบบยุคลิด ในอีกความหมายหนึ่งก็คือ ระนาบเป็นพื้นผิวสองมิติมีความกว้างและความยาว เกิดจากแนวเส้นที่ต่อเนื่องกัน ปิดล้อมพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งทำ ให้เกิดรูปร่าง หรือกลุ่มของจุดและเส้นซึ่งเรามองผ่านไปแล้วเกิดลักษณะของระนาบ ในทางคณิตศาสตร์โดยเฉพาะเรื่องเรขาคณิต, ตรีโกณมิติ, ทฤษฎีกราฟ และกราฟของฟังก์ชันการกระทำจำนวนมากกระทำอยู่ในระน.
รูปสามเหลี่ยม
รูปสามเหลี่ยม (อังกฤษ: triangle) เป็นหนึ่งในร่างพื้นฐานในเรขาคณิต คือรูปหลายเหลี่ยมซึ่งมี หรือจุดยอด และมี 3 ด้านหรือขอบที่เป็นส่วนของเส้นตรง รูปสามเหลี่ยมที่มีจุดยอด A, B, และ C เขียนแทนด้วย ในเรขาคณิตแบบยุคลิด จุด 3 จุดใดๆ ที่ไม่อยู่ในเส้นตรงเดียวกัน จะสามารถสร้างรูปสามเหลี่ยมได้เพียงรูปเดียว และเป็นรูปที่อยู่บนระนาบเดียว (เช่นระนาบสองมิติ).
รูปสี่เหลี่ยม
ในเรขาคณิตแบบยูคลิด รูปสี่เหลี่ยม คือรูปหลายเหลี่ยมที่มีด้านสี่ด้าน (หรือขอบ) และมุมสี่มุม (หรือจุดยอด) รูปสี่เหลี่ยมมีทั้งที่เป็นรูปสี่เหลี่ยมอย่างง่าย (ไม่มีด้านที่ตัดกันเอง) และรูปสี่เหลี่ยมซับซ้อน (มีด้านที่ตัดกันเอง หรือเรียกว่ารูปสี่เหลี่ยมไขว้) รูปสี่เหลี่ยมอย่างง่ายอาจเป็นรูปสี่เหลี่ยมนูน (convex) หรือรูปสี่เหลี่ยมเว้า (concave) อย่างใดอย่างหนึ่ง มุมภายในของรูปสี่เหลี่ยมอย่างง่ายรวมกันได้ 360 องศา ส่วนรูปสี่เหลี่ยมซับซ้อน เนื่องจากมุมภายในที่ด้านตรงข้ามเป็นมุมกลับ ทำให้รวมกันได้ 720 องศา รูปสี่เหลี่ยมนูนทุกรูปสามารถปูเต็มปริภูมิโดยการหมุนรอบจุดกึ่งกลางที่ด้านของมัน.
รูปหลายเหลี่ยม
ในทางเรขาคณิต รูปหลายเหลี่ยม (อังกฤษ: polygon) ตามความหมายดั้งเดิม หมายถึงรูปร่างอย่างหนึ่งที่เป็นรูปปิดหรือรูปครบวงจรบนระนาบ ซึ่งประกอบขึ้นจากลำดับของส่วนของเส้นตรงที่มีจำนวนจำกัด ส่วนของเส้นตรงเหล่านั้นเรียกว่า ขอบ หรือ ด้าน และจุดที่ขอบสองข้างบรรจบกันเรียกว่า จุดยอด หรือ เหลี่ยม (corner) ภายในรูปหลายเหลี่ยมบางครั้งก็เรียกว่า เนื้อที่ (body) รูปหลายเหลี่ยมเป็นวัตถุในสองมิติ ซึ่งเป็นตัวอย่างหนึ่งของพอลิโทป (polytope) ที่อยู่ใน n มิติ ด้านสองด้านที่บรรจบกันเป็นเหลี่ยม เป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการเกิดมุมที่ไม่เป็นมุมตรง (180°) ถ้าไม่เช่นนั้นแล้ว ส่วนของเส้นตรงทั้งสองจะถูกพิจารณาว่าเป็นด้านเดียวกัน ความคิดทางเรขาคณิตพื้นฐานได้ถูกดัดแปลงไปในหลากหลายทาง เพื่อที่จะทำให้เข้ากับจุดประสงค์เฉพาะ ตัวอย่างเช่นในสาขาวิชาคอมพิวเตอร์กราฟิกส์ คำว่า รูปหลายเหลี่ยม ถูกนำไปใช้และมีการเปลี่ยนแปลงความหมายไปโดยเล็กน้อย ซึ่งเกี่ยวข้องกับวิธีการบันทึกและจัดการรูปร่างภายในคอมพิวเตอร์มากขึ้น รูปหลายเหลี่ยม หลายชน.
รูปแปดเหลี่ยม
รูปแปดเหลี่ยม (octagon) คือ รูปหลายเหลี่ยมที่มีด้าน 8 ด้าน มุมภายในแต่ละมุมของรูปแปดเหลี่ยมปรกติ มีขนาดเท่ากับ 135° พื้นที่ของรูปแปดเหลี่ยมปกติ ที่แต่ละด้านยาว a จะมีพื้นที.
ทรงหลายหน้า
ทรงหลายหน้า (polyhedron, พหูพจน์: polyhedra) หมายถึง วัตถุทางเรขาคณิตที่ประกอบด้วยหน้าเรียบและขอบตรง ทรงหลายหน้าเป็นที่น่าหลงใหลของมนุษยชาติมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่งได้ศึกษาอย่างเป็นกิจลักษณะโดยชาวกรีกโบราณ ต่อเนื่องมาจนถึงนักเรียน นักคณิตศาสตร์ และศิลปินทุกวันนี้ คำว่า polyhedron มาจากภาษากรีก πολυεδρον โดยที่ poly- มาจาก πολυς แปลว่า "มากมาย" และ -edron มาจาก εδρον แปลว่า "ฐาน, ที่นั่ง, หน้า".
ทรงตันจอห์นสัน
The elongated square gyrobicupola (''J''37), a Johnson solid 24 equilateral triangle example is not a Johnson solid because it is not convex. (This is actually a stellation, the only one possible for the octahedron.) This 24-square example is not a Johnson solid because it is not strictly convex (has 180° dihedral angles.) ในทางเรขาคณิต ทรงตันจอห์นสัน หมายถึงทรงหลายหน้าที่เป็นทรงนูน และแต่ละหน้าเป็นรูปหลายเหลี่ยมด้านเท่า ที่ไม่ใช่ทรงตันเพลโต ทรงตันอาร์คิมิดีส ปริซึม และแอนติปริซึม ทรงตันจอห์นสันได้ตั้งชื่อตาม นอร์แมน จอห์นสัน นักคณิตศาสตร์ชาวอเมริกัน ในปี พ.ศ.
คิวบอกทาฮีดรอน
วบอกทาฮีดรอน (cuboctahedron, พหูพจน์: -dra) คือทรงหลายหน้า (polyhedron) ที่ประกอบด้วยหน้ารูปสามเหลี่ยมด้านเท่า 8 หน้า และรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส 6 หน้า รวม 14 หน้า โดยหน้าทั้งสองประเภทจะสลับกันทุกทิศทางไม่ว่าจะมองจากมุมใด มี 12 จุดยอด 24 ขอบ คิวบอกทาฮีดรอนเป็นหนึ่งในทรงตันอาร์คิมิดีส (Archimedean solid) รูปทรงนี้มีชื่อเรียกอื่นอีกคือ ไจโรไบคิวโพลาสามเหลี่ยม (triangular gyrobicupola).
คิวโพลาสามเหลี่ยม
วโพลาสามเหลี่ยม (triangular cupola) หมายถึงคิวโพลา (cupola) ที่มีฐานด้านเล็กเป็นรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า กล่าวคือประกอบด้วยหน้ารูปสามเหลี่ยมด้านเท่าเป็นฐานด้านหนึ่ง หน้ารูปหกเหลี่ยมด้านเท่ามุมเท่าเป็นฐานอีกด้านหนึ่ง และหน้าด้านข้างเป็นรูปสามเหลี่ยมด้านเท่าสลับกับรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส รูปทรงนี้มี 9 จุดยอด 15 ขอบ 8 หน้า และเป็นทรงตันจอห์นสันหมายเลข 3 (Johnson solid: J3) ซึ่งมีรูปร่างเหมือนคิวบอกทาฮีดรอน (cuboctahedron) ที่ผ่าครึ่ง.
ดู คิวโพลาและคิวโพลาสามเหลี่ยม
คิวโพลาสี่เหลี่ยมจัตุรัส
วโพลาสี่เหลี่ยมจัตุรัส คิวโพลาสี่เหลี่ยมจัตุรัส (square cupola) หมายถึงคิวโพลา (cupola) ที่มีฐานด้านเล็กเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส กล่าวคือประกอบด้วยหน้ารูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสเป็นฐานด้านหนึ่ง หน้ารูปแปดเหลี่ยมด้านเท่ามุมเท่าเป็นฐานอีกด้านหนึ่ง และหน้าด้านข้างเป็นรูปสามเหลี่ยมด้านเท่าสลับกับรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส รูปทรงนี้มี 12 จุดยอด 20 ขอบ 10 หน้า และเป็นทรงตันจอห์นสันหมายเลข 4 (Johnson solid: J4) ซึ่งมีรูปร่างเหมือนรอมบิคิวบอกทาฮีดรอน (rhombicuboctahedron) ที่ตัดมาส่วนหนึ่ง และส่วนที่เหลือก็จะกลายเป็น คิวโพลาสี่เหลี่ยมจัตุรัสอีลองเกต (elongated square cupola: J19).
ดู คิวโพลาและคิวโพลาสี่เหลี่ยมจัตุรัส
คิวโพลาห้าเหลี่ยม
วโพลาห้าเหลี่ยม คิวโพลาห้าเหลี่ยม (pentagonal cupola) หมายถึงคิวโพลา (cupola) ที่มีฐานด้านเล็กเป็นรูปห้าเหลี่ยมปรกติ กล่าวคือประกอบด้วยหน้ารูปห้าเหลี่ยมปรกติเป็นฐานด้านหนึ่ง หน้ารูปสิบเหลี่ยมปรกติเป็นฐานอีกด้านหนึ่ง และหน้าด้านข้างเป็นรูปสามเหลี่ยมด้านเท่าสลับกับรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส รูปทรงนี้มี 15 จุดยอด 25 ขอบ 12 หน้า และเป็นทรงตันจอห์นสันหมายเลข 5 (Johnson solid: J5) ซึ่งมีรูปร่างเหมือนรอมบิโคซิโดเดคาฮีดรอน (rhombicosidodecahedron) ที่ตัดมาส่วนหนึ่ง และส่วนที่เหลือก็จะกลายเป็น ดิมินิชรอมบิโคซิโดเดคาฮีดรอน (diminished rhombicosidodecahedron: J76).
ดู คิวโพลาและคิวโพลาห้าเหลี่ยม
ไบคิวโพลา
วโพลา หรือ คิวโพลาคู่ (bicupola, พหูพจน์: bicupolae) หมายถึงทรงหลายหน้า (polyhedron) ที่สร้างจากการประกบฐานของคิวโพลา (cupola) สองอันเข้าด้วยกัน ไบคิวโพลามี 2 รูปแบบเนื่องจากหน้าด้านข้างของคิวโพลาเป็นรูปสามเหลี่ยมด้านเท่าสลับกับรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส หากหน้าชนิดเดียวกันสัมผัสกันจะเรียกว่า ออร์โทไบคิวโพลา (orthobicupola) และหากหน้าสามเหลี่ยมสัมผัสกับหน้าสี่เหลี่ยมจะเรียกว่า ไจโรไบคิวโพลา (gyrobicupola).
ดูเพิ่มเติม
ทรงหลายหน้า
- คิวโพลา
- ทรงลิ่ม
- ทรงสามสิบหน้ารอมบิกปลายตัด
- ทรงสิบหน้า
- ทรงหกหน้า
- ทรงหลายหน้า
- ทรงห้าหน้า
- ทรงเจ็ดหน้า
- พีระมิด (เรขาคณิต)
- พีระมิดคู่
- ฟรัสตัม
- หน้า (เรขาคณิต)
- เดลตาฮีดรอน
- ไบคิวโพลา
- ไบฟรัสตัม
หรือที่รู้จักกันในชื่อ Cupola (geometry)Cupolae