เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ความตกลงระหว่างประเทศว่าด้วยความเป็นกลางของลาว

ดัชนี ความตกลงระหว่างประเทศว่าด้วยความเป็นกลางของลาว

วามตกลงระหว่างประเทศว่าด้วยความเป็นกลางของลาว เป็นความตกลงระหว่างประเทศซึ่งลงนามในเจนีวาเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2505 ระหว่าง 4 รัฐ และประเทศลาว อันเป็นผลจากการประชุมระหว่างประเทศว่าด้วยการระงับปัญหาลาว ซึ่งมีขึ้นตั้งแต่วันที่ 16 กรกฎาคม 2504 ถึง 23 กรกฎาคม 2505 ประเทศพม่า กัมพูชา แคนาดา สาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนาม ฝรั่งเศส อินเดีย โปแลนนด์ สาธารณรัฐเวียดนาม ไทย สหภาพโซเวียต สหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกาลงนามในปฏิญญา ซึ่งมีผลใช้บังคับเป็นความตกลงระหว่างประเทศในวันที่ลงนาม คือ 23 กรกฎาคม 2505 พร้อมด้วยแถลงการณ์ความเป็นกลางโดยรัฐบาลลาว ลงวันที่ 9 กรกฎาคม 2505 ภาคีผู้ลงนาม 14 รัฐสัญญาจะเคารพความเป็นกลางของลาว หลีกเลี่ยงไม่เข้าแทรกแซงในกิจการภายในของลาวทั้งทางตรงและทางอ้อม และห้ามมิให้ดึงลาวเข้าสู่พันธมิตรทางทหารและตั้งฐานทัพในดินแดนลาว รัฐบาลลาวให้คำมั่นจะประกาศข้อผูกมัดดังกล่าวในรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะมีผลตามกฎหมาย อย่างไรก็ดี ความตกลงดังกล่าวถูกละเมิดเมื่อสาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนามสถาปนาแนวส่งกำลังบำรุงผ่านดินแดนลาว "ที่เป็นกลาง" เพื่อส่งกำลังบำรุงการก่อการกำเริบของเวียดกงต่อรัฐบาลเวียดนามใต้ ยิ่งไปกว่านั้น ระหว่างสงครามอินโดจีนครั้งที่สอง เวียดนามเหนือได้รับความร่วมมือจากพรรคปฏิวัติประชาชนลาว (ปะเทดลาว) ในการก่อสร้างและรักษาเส้นทางโฮจิมินห์ซึ่งผ่านประเทศลาว ทหารเวียดนามหลายพันนายประจำอยู่ในลาวเพื่อรักษาเครือข่ายถนนและดูแลความปลอดภัย กำลังพลเวียดนามยังสู้เคียงข้างปะเทดลาวในการโค่นล้มรัฐบาลที่เป็นกลางของลาว ความร่วมมือดังกล่าวยังต่อไปหลังสงครามและฝ่ายคอมมิวนิสต์ได้ชัยชนะแล้ว.

สารบัญ

  1. 4 ความสัมพันธ์: สงครามเวียดนามประเทศลาวแนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติเวียดนามใต้เจนีวา

  2. สนธิสัญญาเกี่ยวข้องกับฝรั่งเศส
  3. สนธิสัญญาเกี่ยวข้องกับสหภาพโซเวียต
  4. สนธิสัญญาเกี่ยวข้องกับสหรัฐ
  5. สนธิสัญญาเกี่ยวข้องกับสหราชอาณาจักร
  6. สนธิสัญญาเกี่ยวข้องกับสาธารณรัฐประชาชนจีน
  7. สนธิสัญญาเกี่ยวข้องกับอินเดีย
  8. สนธิสัญญาเกี่ยวข้องกับเวียดนามเหนือ
  9. สนธิสัญญาเกี่ยวข้องกับเวียดนามใต้
  10. สนธิสัญญาเกี่ยวข้องกับแคนาดา
  11. สนธิสัญญาเกี่ยวข้องกับไทย

สงครามเวียดนาม

งครามเวียดนาม หรือ สงครามอินโดจีนครั้งที่สอง หรือที่ชาวเวียดนามรู้จักกันในชื่อ สงครามอเมริกา เป็นสงครามตัวแทนสมัยสงครามเย็นที่เกิดขึ้นในประเทศเวียดนาม ลาวและกัมพูชาตั้งแต่เดือนธันวาคม 2498 กระทั่งกรุงไซ่ง่อนแตกเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2518 สงครามเวียดนามนี้เกิดขึ้นหลังสงครามอินโดจีนครั้งที่หนึ่ง และมีเวียดนามเหนือซึ่งได้รับการสนับสนุนจากจีน สหภาพโซเวียตและพันธมิตรคอมมิวนิสต์อื่นเป็นคู่สงครามฝ่ายหนึ่ง กับรัฐบาลเวียดนามใต้ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐและประเทศที่ต่อต้านคอมมิวนิสต์อื่นเป็นคู่สงครามอีกฝ่ายหนึ่ง เวียดกง (หรือ แนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติ) เป็นแนวร่วมประชาชนคอมมิวนิสต์เวียดนามใต้ที่ติดอาวุธเบาซึ่งมีเวียดนามเหนือสั่งการ สู้รบในสงครามกองโจรต่อกำลังต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค กองทัพประชาชนเวียดนาม (กองทัพเวียดนามเหนือ) ต่อสู้ในสงครามตามแบบมากกว่า และบางครั้งส่งหน่วยขนาดใหญ่เข้าสู่ยุทธการ เมื่อสงครามดำเนินไป ส่วนการต่อสู้ของเวียดกงลดลงขณะที่บทบาทของกองทัพประชาชนเวียดนามเพิ่มขึ้น กำลังสหรัฐและเวียดนามใต้อาศัยความเป็นเจ้าเวหาและอำนาจการยิงที่เหนือกว่าเพื่อดำเนินปฏิบัติการค้นหาและทำลาย ซึ่งรวมถึงกำลังภาคพื้นดิน ปืนใหญ่และการโจมตีทางอากาศ ตลอดห้วงสงคราม สหรัฐดำเนินการทัพทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์ขนานใหญ่ต่อเวียดนามเหนือ และต่อมาน่านฟ้าเวียดนามเหนือกลายเป็นน่านฟ้าที่มีการป้องกันหนาแน่นที่สุดในโลก รัฐบาลสหรัฐมองว่าการเข้ามามีส่วนในสงครามของตนเป็นหนทางป้องกันการยึดเวียดนามใต้ของคอมมิวนิสต์อันเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์การจำกัดการขยายตัวของลัทธิที่ไม่พึงปรารถนาที่ใหญ่กว่า โดยมีเป้าหมายที่แถลงไว้เพื่อหยุดการแพร่ของคอมมิวนิสต์ ตามทฤษฎีโดมิโนของสหรัฐ หากรัฐหนึ่งกลายเป็นคอมมิวนิสต์ รัฐอื่นในภูมิภาคก็จะเป็นไปด้วย ฉะนั้น นโยบายของสหรัฐจึงถือว่าการผ่อนปรนการแพร่ของคอมมิวนิสต์ทั่วประเทศเวียดนามนั้นยอมรับไม่ได้ รัฐบาลเวียดนามเหนือและเวียดกงต่อสู้เพื่อรวมเวียดนามอยู่ในการปกครองคอมมิวนิสต์ ทั้งสองมองข้อพิพาทนี้เป็นสงครามอาณานิคม ซึ่งเริ่มแรกสู้กับฝรั่งเศส โดยได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐ แล้วต่อมาสู้กับเวียดนามใต้ ซึ่งถูกมองว่าเป็นรัฐหุ่นเชิดของสหรัฐ ที่ปรึกษาทางทหารชาวอเมริกันมาถึงอินโดจีนขณะนั้นเริ่มตั้งแต่ปี 2493 การเข้ามามีส่วนของสหรัฐเพิ่มขึ้นในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1960 โดยมีระดับทหารเพิ่มเป็นสามเท่าในปี 2494 และเพิ่มอีกสามเท่าในปีต่อมา การเข้ามามีส่วนของสหรัฐทวีขึ้นอีกหลังเหตุการณ์อ่าวตังเกี๋ย ปี 2507 ซึ่งเรือพิฆาตของสหรัฐปะทะกับเรือโจมตีเร็วของเวียดนามเหนือ ซึ่งตามติดด้วยข้อมติอ่าวตังเกี๋ยซึ่งอนุญาตให้ประธานาธิบดีสหรัฐเพิ่มทหารในพื้นที่ หน่วยรบปกติของสหรัฐถูกจัดวางเริ่มตั้งแต่ปี 2498 ปฏิบัติการข้ามพรมแดนระหว่างประเทศ โดยพื้นที่ติดต่อกับประเทศลาวและกัมพูชาถูกกองทัพสหรัฐทิ้งระเบิดอย่างหนักขณะที่การเข้ามามีส่วนในสงครามของสหรัฐเพิ่มขึ้นสูงสุดในปี 2511 ปีเดียวกัน ฝ่ายคอมมิวนิสต์เปิดฉากการรุกตรุษญวน การรุกตรุษญวนไม่สัมฤทธิ์ผลในการโค่นรัฐบาลเวียดนามใต้ แต่ได้กลายเป็นจุดพลิกผันของสงคราม เพราะได้แสดงว่าเวียดนามใต้ไม่อาจป้องกันตัวเองจากเวียดนามเหนือได้ แม้สหรัฐจะทุ่มความช่วยเหลือทางทหารอย่างมหาศาลหลายปี ด้วยจุดชัยชนะของสหรัฐนั้นไม่ชัดเจน จึงค่อย ๆ มีการถอนกำลังภาคพื้นดินของสหรัฐโดยเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายเรียก การแผลงเป็นเวียดนาม (Vietnamization) ซึ่งมุ่งยุติการเข้ามามีส่วนในสงครามของสหรัฐขณะที่โอนภารกิจต่อสู้กับคอมมิวนิสต์ให้เวียดนามใต้เอง แม้ภาคีทุกฝ่ายลงนามข้อตกลงสันติภาพปารีสในเดือนมกราคม 2516 แล้วก็ตาม แต่การสู้รบยังดำเนินต่อไป ในสหรัฐและโลกตะวันตก มีการพัฒนาขบวนการต่อต้านสงครามเวียดนามขนาดใหญ่ขึ้น ขบวนการนี้ทั้งเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมต่อต้าน (Counterculture) แห่งคริสต์ทศวรรษ 1960 และเป็นปัจจัยหนึ่งของมัน การมีส่วนร่วมทางทหารของสหรัฐยุติลงเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2516 อันเป็นผลมาจากคำแปรญัตติเคส–เชิร์ช (Case–Church Amendment) ที่รัฐสภาสหรัฐผ่าน การยึดกรุงไซ่ง่อนโดยกองทัพประชาชนเวียดนามในเดือนเมษายน 2518 เป็นจุดสิ้นสุดของสงคราม และมีการรวมชาติเวียดนามเหนือกับเวียดนามใต้ในปีต่อมา สงครามนี้คร่าชีวิตมนุษย์ไปมหาศาล ประเมินตัวเลขทหารและพลเรือนชาวเวียดนามที่ถูกสังหารมีตั้งแต่น้อยกว่า 1 ล้านคนเล็กน้อย ไปถึงกว่า 3 ล้านคน ชาวกัมพูชาเสียชีวิตราว 2-3 แสนคนHeuveline, Patrick (2001).

ดู ความตกลงระหว่างประเทศว่าด้วยความเป็นกลางของลาวและสงครามเวียดนาม

ประเทศลาว

ลาว (ລາວ) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (ສາທາລະນະລັດ ປະຊາທິປະໄຕ ປະຊາຊົນລາວ, อักษรย่อ: ປປ.ລາວ) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพื้นที่ 236,800 ตารางกิโลเมตร มีพรมแดนติดต่อกับจีน ทางทิศเหนือ ติดต่อกับพม่าทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ติดต่อกับเวียดนามทางทิศตะวันออก ติดต่อกับกัมพูชาทางทิศใต้ และติดต่อกับประเทศไทยทางทิศตะวันตก กั้นด้วยแม่น้ำโขงเป็นบางช่วง.

ดู ความตกลงระหว่างประเทศว่าด้วยความเป็นกลางของลาวและประเทศลาว

แนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติเวียดนามใต้

แนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติเวียดนามใต้ หรือ เวียดกง หรือ เหวียดกง (Mặt trận Dân tộc Giải phóng miền Nam Việt Nam หรือ Việt Cộng) ก่อตั้งเมื่อ 26 ธันวาคม พ.ศ.

ดู ความตกลงระหว่างประเทศว่าด้วยความเป็นกลางของลาวและแนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติเวียดนามใต้

เจนีวา

นีวา (Geneva) หรือออกเสียงในภาษาท้องถิ่นว่า เฌอแนฟว์ (Genève) เป็นเมืองใหญ่อันดับสองของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ (รองจากซือริช) ถือเป็นเมืองที่มีประชากรมากที่สุดในภาครอม็องดีอันเป็นภูมิภาคที่ใช้ภาษาฝรั่งเศสเป็นหลักในสวิตเซอร์แลนด์ นครเจนีวาตั้งอยู่บริเวณต้นแม่น้ำโรนซึ่งไหลออกจากทะเลสาบเจนีวา เจนีวามีสถานะเป็นเมืองหลวงของสาธารณรัฐแห่งรัฐเจนีวา เจนีวาถือเป็นหนึ่งในเมืองศูนย์กลางของโลก โดยเป็นศูนย์กลางทางการเงิน, ศูนย์กลางทางการทูต เจนีวาถือเป็นเมืองที่มีองค์กรระหว่างประเทศตั้งอยู่มากที่สุดในโลก ในบรรดาองค์กรเหล่านี้อาทิ หน่วยงานของสหประชาชาติและกาชาดสากล เป็นต้น ในปี 2017 เจนีวาได้รับการจัดอันดับโดย Global Financial Centres Index ให้เป็นเมืองศูนย์กลางทางการเงินอันดับ 15 ของโลก และเป็นที่ 5 ของทวีปยุโรป รองจากลอนดอน, ซือริช, แฟรงเฟิร์ต และลักเซมเบิร์ก และยังได้รับการจัดอันดับโดย Mercer's Quality of Living index ให้เป็นเมืองที่น่าอยู่ที่สุดเป็นอันดับ 8 ของโลกในปีเดียวกัน.

ดู ความตกลงระหว่างประเทศว่าด้วยความเป็นกลางของลาวและเจนีวา

ดูเพิ่มเติม

สนธิสัญญาเกี่ยวข้องกับฝรั่งเศส

สนธิสัญญาเกี่ยวข้องกับสหภาพโซเวียต

สนธิสัญญาเกี่ยวข้องกับสหรัฐ

สนธิสัญญาเกี่ยวข้องกับสหราชอาณาจักร

สนธิสัญญาเกี่ยวข้องกับสาธารณรัฐประชาชนจีน

สนธิสัญญาเกี่ยวข้องกับอินเดีย

สนธิสัญญาเกี่ยวข้องกับเวียดนามเหนือ

สนธิสัญญาเกี่ยวข้องกับเวียดนามใต้

สนธิสัญญาเกี่ยวข้องกับแคนาดา

สนธิสัญญาเกี่ยวข้องกับไทย

หรือที่รู้จักกันในชื่อ ความตกลงนานาชาติว่าด้วยความเป็นกลางของลาว