โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

คณะออกัสติเนียน

ดัชนี คณะออกัสติเนียน

นักบุญออกัสตินแห่งฮิบโปจากรายละเอียดของการประดับกระจกสีโดย หลุยส์ คอมฟอร์ต ทิฟฟานี (Louis Comfort Tiffany) ที่พิพิธภัณฑ์ไลท์เนอร์ (Lightner museum) โบสถ์เซนต์ออกัสติน รัฐฟลอริดา คณะออกัสติเนียน (Augustinian Order) เป็นคณะนักบวชคาทอลิกกลุ่มหนึ่ง ตั้งชื่อตามนักบุญออกัสตินแห่งฮิปโป (ค.ศ. 354 - ค.ศ. 450) ปัจจุบันมีสองแบบ ได้แก.

10 ความสัมพันธ์: ชีวิตอารามวาสีแบบศาสนาคริสต์การประกาศข่าวดีออกัสตินแห่งฮิปโปอัคราธิการคณะออกัสติเนียนคณะนักบวชภิกขาจารคณะนักบวชคาทอลิกไฟรเออร์เขตแพริชเคลอจี

ชีวิตอารามวาสีแบบศาสนาคริสต์

รูปเคารพของนักบุญแอนโทนีอธิการผู้ริเริ่มใช้ชีวิตอารามวาสีแบบศาสนาคริสต์ ชีวิตอารามวาสีแบบศาสนาคริสต์' (Christian monasticism) เป็นวิถีการปฏิบัติที่เริ่มวิวัฒนาการมาตั้งแต่ศาสนาคริสต์ยุคแรก โดยอาศัยแบบอย่างและอุดมคติจากคัมภีร์ไบเบิล ซึ่งรวมทั้งพันธสัญญาเดิมด้วย แต่มิได้ระบุไว้อย่างเป็นทางการ จนกระทั่งมีการบัญญัติวินัยของนักบวชขึ้นเช่น วินัยของนักบุญบาซิล วินัยของนักบุญเบเนดิกต์ วินัยของนักบุญออกัสติน ตลอดจนกฎหมายศาสนจักรคาทอลิกซึ่งระบุถึงการใช้ชีวิตอารามวาสี ผู้ที่ใช้ชีวิตอารามวาสีเรียกว่านักพรต (ชาย) และนักพรตหญิง หรือเรียกโดยรวม ๆ ว่าอารามิกชน ในสมัยแรก นักพรตไม่ใด้อาศัยในอาราม แต่เป็นฤๅษีที่อยู่โดดเดี่ยวในป่า เมื่อนักพรตเริ่มมีจำนวนมากขึ้น จึงหันมาอาศัยอยู่ร่วมกัน จนกลายเป็นชุมชนนักพรตในอารามที่ยึดถือการปฏิบัติแบบพรตนิยม.

ใหม่!!: คณะออกัสติเนียนและชีวิตอารามวาสีแบบศาสนาคริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

การประกาศข่าวดี

การประกาศข่าวดี (ศัพท์คาทอลิก) หรือ การประกาศข่าวประเสริฐ (ศัพท์โปรเตสแตนต์) (Evangelism) คือการเผยแพร่พระวรสารหรือประกาศข่าวดีตามความเชื่อของคริสต์ศาสนิกชนว่าพระเยซูเป็นพระเจ้าผู้มารับสภาพมนุษย์และถูกตรึงกางเขนจนสิ้นพระชนม์ เพื่อไถ่มนุษย์ผู้เชื่อจากบาป หลังจากนั้น 3 วัน ก็ทรงคืนพระชนม์แล้วเสด็จขึ้นสวรรค์ คริสต์ศาสนิกชนเชื่อว่าผู้เชื่อข่าวดีนี้จะถูกไถ่จากบาปทันทีและได้ขึ้นสวรรค์หลังจากเสียชีวิต จนถึงการพิพากษาครั้งสุดท้ายก็จะได้รับบำเหน็จจากพระเจ้า การประกาศข่าวดีถือเป็นพันธกิจสำคัญที่พระเยซูฝากไว้แก่สาวกของพระองค์ก่อนจะเสด็จขึ้นสวรรค์ ดังปรากฏในพระวรสารนักบุญมัทธิวว่า "ท่านทั้งหลายจงออกไปและนำชนทุกชาติมาเป็นสาวกของเรา จงบัพติศมาพวกเขาในพระนามของพระบิดา พระบุตร และพระวิญญาณบริสุทธิ์" ผู้อุทิศตนทำงานประกาศข่าวดีเรียกว่า ผู้ประกาศข่าวดี (ศัพท์โรมันคาทอลิก) หรือ ผู้ประกาศข่าวประเสริฐ (ศัพท์โปรเตสแตนต์) (Evangelist).

ใหม่!!: คณะออกัสติเนียนและการประกาศข่าวดี · ดูเพิ่มเติม »

ออกัสตินแห่งฮิปโป

นักบุญออกัสตินแห่งฮิปโป (Augustine of Hippo) เกิดเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: คณะออกัสติเนียนและออกัสตินแห่งฮิปโป · ดูเพิ่มเติม »

อัคราธิการ

อัคราธิการ (superior general; general) บางคณะเรียกว่ามหาธิการ เป็นตำแหน่งอธิการสูงสุดในคณะนักบวชคาทอลิกแต่ละคณะ หากเป็นประมุขคณะนักบวชหญิงจะเรียกว่าอัคราธิการิณีหรือมหาธิการิณีตามแต่ละคณะจะบัญญัติศัพท์ ในกฎหมายศาสนจักรจึงใช้คำว่าอธิการสูงสุด (supreme moderator) เพื่อหมายถึงอัคราธิการ อัคราธิการิณี มหาธิการ และมหาธิการิณี โดยรวมทั้งหมดซึ่งถืออำนาจปกครองเหนือแขวง บ้านพัก และสมาชิกทั้งหมดในคณะนักบวชที่ตนปกครอง ผู้ที่จะดำรงตำแหน่งเป็นอัคราธิการจะต้องมาจากการเลือกตั้งตามกฎหมายศาสนจักรและบทบัญญัติของธรรมนูญประจำคณะนักบวช รายละเอียดเกี่ยวกับระยะเวลาการดำรงตำแหน่งจะขึ้นอยู่กับธรรมนูญประจำคณะเช่นกัน.

ใหม่!!: คณะออกัสติเนียนและอัคราธิการ · ดูเพิ่มเติม »

คณะออกัสติเนียน

นักบุญออกัสตินแห่งฮิบโปจากรายละเอียดของการประดับกระจกสีโดย หลุยส์ คอมฟอร์ต ทิฟฟานี (Louis Comfort Tiffany) ที่พิพิธภัณฑ์ไลท์เนอร์ (Lightner museum) โบสถ์เซนต์ออกัสติน รัฐฟลอริดา คณะออกัสติเนียน (Augustinian Order) เป็นคณะนักบวชคาทอลิกกลุ่มหนึ่ง ตั้งชื่อตามนักบุญออกัสตินแห่งฮิปโป (ค.ศ. 354 - ค.ศ. 450) ปัจจุบันมีสองแบบ ได้แก.

ใหม่!!: คณะออกัสติเนียนและคณะออกัสติเนียน · ดูเพิ่มเติม »

คณะนักบวชภิกขาจาร

ณะนักบวชภิกขาจาร (mendicant order) คือกลุ่มนักบวชที่ไม่ถือครองกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินใด ๆ (หรือครอบครองเฉพาะที่จำเป็น) ไม่ว่าเป็นการส่วนตัวหรือในนามองค์กร แต่อาศัยปัจจัยยังชีพจากฆราวาสหรือของที่ถูกทิ้งแล้ว และจาริกไปเรื่อย ๆ ไม่อาศัยประจำอยู่ที่แห่งใดโดยเฉพาะ นักบวชภิกขาจารในศาสนาพุทธคือพระภิกษุ ในศาสนาคริสต์คือไฟรเออร์ ในศาสนาฮินดูคือสันนยาสิน.

ใหม่!!: คณะออกัสติเนียนและคณะนักบวชภิกขาจาร · ดูเพิ่มเติม »

คณะนักบวชคาทอลิก

ในคริสตจักรโรมันคาทอลิก คณะนักบวช หรือ สถาบันนักบวช (religious institute) เป็นสถาบันชีวิตที่ถวายแล้วประเภทหนึ่ง สมาชิกประกอบด้วยชาวคาทอลิกที่สละชีวิตทางโลกมาถือคำปฏิญาณของนักบวชตลอดชีวิต เพื่ออุทิศตนทำงานรับใช้พระศาสนจักรเพียงอย่างเดียว และอยู่รวมกันเป็นคณะ (order/society/congregation) โดยแต่ละคณะมีแนวทางการทำงานและเน้นวัตรปฏิบัติแตกต่างกันไป นอกจากเรียกว่า "คณะนักบวช" แล้ว ราชบัณฑิตยสถานยังใช้คำว่า คณะนักพรต และ คณะนักบวชถือพรต โดยถือว่ามีความหมายเดียวกันราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 163, 421-2 ส่วนประมวลกฎหมายพระศาสนจักร ค.ศ. 1983 ฉบับภาษาไทย ใช้คำว่า คณะสถาบันนักพรต.

ใหม่!!: คณะออกัสติเนียนและคณะนักบวชคาทอลิก · ดูเพิ่มเติม »

ไฟรเออร์

ฟรเออร์คณะออกัสติเนียนรีคอลเลกต์ ไฟรเออร์ (Friar) เป็นนักบวชคาทอลิกประเภทหนึ่ง ซึ่งสังกัดคณะนักบวชภิกขาจาร คำว่า ไฟรเออร์ มาจากภาษาอังกฤษ Friar ซึ่งมาจากภาษาฝรั่งเศส frère และภาษาละติน frater แปลว่า ภราดา (พี่น้องชาย) เป็นคำที่คริสตชนยุคแรกใช้เรียกกันภายในกลุ่มเพื่อแสดงความสัมพันธ์ฉันพี่น้อง นักบุญฟรังซิสแห่งอัสซีซีจึงนำคำนี้มาใช้เป็นชื่อคณะนักบวชที่ตนเองก่อตั้งขึ้น ว่า Ordo Fratrum Minorum (ในประเทศไทยแปลกันว่า คณะภราดาน้อย) ต่อมาคำว่าไฟรเออร์จึงแพร่หลายไปใช้กับคณะนักบวชอื่น ๆ (เฉพาะบางคณะ).

ใหม่!!: คณะออกัสติเนียนและไฟรเออร์ · ดูเพิ่มเติม »

เขตแพริช

ตแพริช (Parish) หรือที่ชาวคาทอลิกในประเทศไทยเรียกว่าเขตวัด เป็นเขตปกครองในคริสต์ศาสนา ใช้หลายคริสตจักร เช่น โรมันคาทอลิก แองกลิคัน เป็นต้น นอกจากใช้ในทางศาสนาแล้วในบางประเทศ เช่น อังกฤษ สหรัฐอเมริกา ยังใช้เขตแพริชหมายถึงเขตปกครองส่วนท้องถิ่นด้ว.

ใหม่!!: คณะออกัสติเนียนและเขตแพริช · ดูเพิ่มเติม »

เคลอจี

ลอจี เคลอจี (clergy อ่านว่า เคลอ-จี) คือ ผู้ได้รับศีลบวช ราชบัณฑิตยสถานบัญญัติว่านักบวช รูปเอกพจน์เรียกว่าเคลริก (cleric) ศาสนาคริสต์เริ่มใช้คำนี้เพื่อหมายถึงศาสนบุคคลที่ได้รับศีลบวช ได้แก่ ดีกัน บาทหลวง และบิชอป ในปัจจุบันหมายถึง บุคคลในศาสนาใด ๆ ที่ผ่านพิธีบวชเพื่อปฏิบัติหน้าที่รับใช้ศาสน.

ใหม่!!: คณะออกัสติเนียนและเคลอจี · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Augustinian orderลัทธิออกัสติเนียนวินัยของนักบุญออกัสตินนิกายออกัสติเนียน

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »