โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ขนมไทย

ดัชนี ขนมไทย

นมไทยหลายชนิด อาทิ ทองหยอด, ทองหยิบ, ฝอยทอง ซึ่งเป็นขนมที่มีที่มาจากโปรตุเกส โดย ท้าวทองกีบม้า ขนมไทย มีเอกลักษณ์ด้านวัฒนธรรมประจำชาติไทยคือ มีความละเอียดอ่อนประณีตในการเลือกสรรวัตถุดิบ วิธีการทำ ที่พิถีพิถัน รสชาติอร่อยหอมหวาน สีสันสวยงาม รูปลักษณ์ชวนรับประทาน ตลอดจนกรรมวิธีที่ประณีตบรรจง.

109 ความสัมพันธ์: บุญข้าวจี่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหยสูรยพิมานพิธีไหว้ครูกระบี่กระบองกระยาสารทกระดังงากรุงเทพมหานครกล้วยน้ำว้ากล้วยไข่กะละแมฝอยทองมวยไทยมะพร้าวมะลิมะโย่งรายชื่อขนมไทยลอดช่องศาลพระภูมิศีลอดสมเด็จพระนารายณ์มหาราชสะบ้าสังขยาสุหนัตสงกรานต์หญ้าฝรั่นอำเภอบางกระทุ่มอำเภอบางปลาม้าอำเภอพระประแดงอำเภอวิเศษชัยชาญผีหิ้งผงอิทธิเจจังหวัดชลบุรีจังหวัดชุมพรจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจังหวัดพัทลุงจังหวัดพิษณุโลกจังหวัดสมุทรสงครามจังหวัดสมุทรปราการจังหวัดสิงห์บุรีจังหวัดสุพรรณบุรีจังหวัดสตูลจังหวัดอุบลราชธานีจังหวัดอุทัยธานีจังหวัดอุตรดิตถ์จังหวัดอ่างทองจังหวัดจันทบุรีจังหวัดตรังจังหวัดตราด...จังหวัดฉะเชิงเทราจังหวัดปราจีนบุรีจังหวัดนครพนมจังหวัดนครสวรรค์จังหวัดนครปฐมจังหวัดเพชรบุรีจ่ามงกุฎทองหยอดทองหยิบท้าวทองกีบม้า (มารี กีมาร์)ขมิ้นขนมชะมดขนมชั้นขนมบ้าบิ่นขนมฟักเขียวกวนขนมกงขนมก้อขนมฝรั่งกุฎีจีนขนมลาขนมลืมกลืนขนมวงขนมหม้อแกงขนมอาละหว่าขนมอาซูรอขนมอาเก๊าะขนมผิงขนมจากขนมถั่วแปบขนมขี้หนูขนมครกขนมตาลขนมต้มขนมแดกงาขนมเบื้องขนมเกสรลำเจียกขนมเทียนขนมเขียวขนมเปี๊ยะข้าวหลามข้าวจี่ข้าวต้มมัดข้าวโพดข้าวโป่งข้าวเม่าครั่งฆานมตาลซ่าหริ่มประเทศโปรตุเกสแกงบวดแป้งมันสำปะหลังแป้งสาลีแป้งข้าวเหนียวแป้งข้าวเจ้าโมจิเจ้าพระยาวิชเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน)เทียนอบเขตธนบุรีเขตปทุมวัน ขยายดัชนี (59 มากกว่า) »

บุญข้าวจี่

ทำบุญข้าวจี่ วันเพ็ญเดือน 3 เป็นวันมาฆบูชา รุ่งขึ้นวันแรม 1 ค่ำก็ถวายข้าวจี่ เรียกว่าวันทำบุญเนื่องในวันมาฆบูชานั่นเอง ข้าวจี่คือเอาข้าวเหนียวปั้นเป็นก้อนเอาไม้เสียบย่างไฟเหมือนไก่ย่าง เมื่อข้าวสุกเกรียมแล้วก็เอาไข่ซึ่งตีไว้แล้วทาแล้วย่างซ้ำอีกกลายเป็นไข่เคลือบข้าวเหนียว เสร็จแล้วถอดไม้ออกแล้วเอาน้ำอ้อยหรือน้ำตาลที่เป็นก้อนยัดใส่แทนกลายเป็นข้าวเหนียวยัดไส้ แล้วถวายพระเณรฉันตอนเช้า ส่วนมากชาวบ้านจะรีบทำแต่เช้ามืด พอสว่างก็ลงศาลาการเปรียญ (ชาวบ้านเรียกหัวแจก) นิมนต์พระเณรสวดแล้วฉัน เป็นทั้งงานบุญและงานรื่นเริงประจำแต่ละหมู่บ้าน เพราะได้ทำข้าวจี่ไปถวายพระหลังจากพระฉันแล้วก็เลี้ยงกันเองสนุกสนาน มีคำพังเพยอีสานว่า "เดือนสามค้อยเจ้าหัวคอยปั้นเข้าจี่ เข้าจี่บ่ใส่น้ำอ้อยจัวน้อยเช็ดน้ำตา" เดือนนี้ชาวนาส่วนใหญ่ถือกันตั้งแต่โบราณมาว่าเป็นเดือนสู่ขวัญข้าว คือมีการถวายข้าวเปลือกพระและนิยมทำบุญบ้าน สวดมนต์เสร็จพิธีสงฆ์ แล้วก็สู่ขวัญข้าวตามธรรมเนียมพราหมณ์ บางบ้านก็ทำเล็กน้อยพอเป็นพิธี คือเอาข้าวไปถวายสงฆ์แล้วทำพิธีตุ้มปากเล้าเล็กน้อยเป็นการบูชาคุณของข้าวในเล้าหรือยุ้ง "เถิงเมื่อเดือนสามได้จงพากันทำเข้าจี่ ไปถวายสงฆเจ้าเอาแท้หมู่บุญ" ทั้งนี้ประเพณีบุญข้าวจี่จัดขึ้นโดยทั่วไปในภาคอีสาน โดยเฉพาะบริเวณแถบ อ.พังโคน และ อ.สว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร โดยจะมีการทำบุญและกิจกรรมการละเล่นต่างๆในงาน.

ใหม่!!: ขนมไทยและบุญข้าวจี่ · ดูเพิ่มเติม »

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

ระบาทสมเด็จพระปรโมรุราชามหาจักรีบรมนารถ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (พระราชสมภพ 20 มีนาคม พ.ศ. 2279 — สวรรคต 7 กันยายน พ.ศ. 2352) เป็นพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 1 ในราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันพุธ เดือน 4 แรม 5 ค่ำ ปีมะโรงอัฐศก เวลา 3 ยาม ตรงกับวันที่ 20 มีนาคม..

ใหม่!!: ขนมไทยและพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช · ดูเพิ่มเติม »

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

งชาติสยามในรัชกาลที่ 4 ธงช้างเผือก พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พระราชสมภพ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2347 - สวรรคต 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411) พระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 4 แห่งราชวงศ์จักรี มีพระนามเดิมว่า "เจ้าฟ้ามงกุฎ" เสด็จพระราชสมภพในวันพฤหัสบดี ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 ปีชวด ตรงกับวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2347 ในรัชสมัย รัชกาลที่ 1 ณ นิวาสสถานพระราชวังพระราชนิเวศน์ พระราชวังเดิม ด้านใต้ของวัดอรุณราชวรารามอ.

ใหม่!!: ขนมไทยและพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว · ดูเพิ่มเติม »

พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหยสูรยพิมาน

ระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหยสูรยพิมาน หรือ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย เป็นพระที่นั่งอยู่ในหมู่พระมหามณเฑียร ในพระบรมมหาราชวัง อยู่ทางทิศเหนือ ติดกับพระที่นั่งไพศาลทักษิณ มีกำแพงแก้วล้อมด้านทิศเหนือและทิศตะวันตก อยู่ในพระราชฐานชั้นกลาง ใช้เป็นท้องพระโรงสำหรับเสด็จออกฝ่ายหน้า เป็นที่เสด็จออกว่าราชการ บางคราวก็ใช้เป็นที่ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล และเป็นที่เสด็จออกมหาสมาคมในพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีน.

ใหม่!!: ขนมไทยและพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหยสูรยพิมาน · ดูเพิ่มเติม »

พิธีไหว้ครู

ีไหว้ครูในโรงเรียนที่จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 2552 พิธีไหว้ครู เป็นพิธีกรรมที่เป็นประเพณีของไทยที่นิยมปฏิบัติมาแต่สมัยโบราณ แสดงถึงความระลึกถึงบุญคุณของครู การไหว้ครูเป็นการแสดงตนว่าขอเป็นศิษย์ของท่านโดยตรง การไหว้ครูมีใช้ในหลายกิจกรรม เช่น การไหว้ครูในโรงเรียน พิธีกรรมของโรงเรียนในวันครู การไหว้ครูมวย เป็นการไหว้ครูด้วยลีลาของศิลปะมวยไทย เช่นเดียวกับกระบี่กระบอง การไหว้ครู ก่อนการแสดงศิลปะดนตรี เช่น หนังตะลุง และการไหว้ครูในงานประพันธ์ เรียกว่า บทไหว้ครู หรือ อาเศียรวาท (อาเศียรพาท ก็ว่า) เป็นการกล่าวระลึกถึงบุญคุณครู และขอความเป็นมงคล.

ใหม่!!: ขนมไทยและพิธีไหว้ครู · ดูเพิ่มเติม »

กระบี่กระบอง

กระบี่กระบอง เป็นกีฬา การแสดงสาธิต และการต่อสู้ป้องกันตัวด้วยอาวุธโบราณของไทย โดยทำเลียนแบบอาวุธจริง เป็นไม้ โลหะ หนังสัตว์ ซึ่งประกอบด้วยอาวุธทั้งแบบสั้นและแบบยาว อาทิเช่น ดาบ หอก ง้าว กระบี่ พลอง นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์สำหรับป้องกันตัว อันได้แก่ ดั้ง เขน โล่ ไม้ศอกสั้น.

ใหม่!!: ขนมไทยและกระบี่กระบอง · ดูเพิ่มเติม »

กระยาสารท

245px กระยาสารท (/กระยาสาด/) เป็นขนมไทย ทำจากถั่ว งา ข้าวคั่ว และน้ำตาล มักทำกันมากในช่วงสารทไทยแรม 15 ค่ำ เดือน 10 และบางท้องถิ่นนิยมรับประทานกับกล้วยไข่ มีกล่าวถึงในนิราศเดือนว่า ขนมกระยาสารทเป็นขนมโบราณ มีความพิเศษตรงที่เป็นขนมสำหรับงานบุญประเพณีของไทย เรียกได้ว่าเป็นขนมที่มีประเพณี และวันเวลาเป็นของตัวเองชัดเจนมากเลยทีเดียว จนอาจจะทำให้หลายคนนึกสงสัยขึ้นมาได้ ว่าทำไมขนมกระยาสาทรหอมหวานที่เป็นแพเหนียว ๆ นี้ จึงมีความสำคัญมากเสียจนต้องจัดพิธีทำบุญด้วยขนมกระยาสารท แม้ขนมกระยาสารทจะเป็นขนมไทยที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย แต่รากศัพท์ของคำว่าสารทจริง ๆ แล้วเป็นคำในภาษาอินเดีย มีความหมายว่า ฤดูใบไม้ร่วง หรือช่วงระยะปลายฝนต้นหนาว ซึ่งเป็นเวลาเดียวกันกับฤดูการผลิดอกออกผลของพืชพันธุ์ โบราณจึงถือกันวาควรจะนำผลผลิตเหล่านั้นมาถวายแด่สิ่งศักสิทธิ์เพื่อเป็นการสักการะ และขอพรให้พืชของตนออกดอกออกผลดกดี และประเพณีนี้ก็มีในแถบประเทศจีนและตอนเหนือของยุโรปด้วย แต่สำหรับไทยแล้วประเพณีนี้มาแพร่หลายในช่วงสมัยสุโขทัย พร้อม ๆ กับพราหมณ์ที่เริ่มเข้ามามีบทบาทในไทย แต่ช่วงเวลาของประเพณีตามอินเดีย เป็นช่วงเวลาที่ตรงกับระยะข้าวเริ่มออกรวงของไทย ชาวบ้านจึงเกี่ยวข้าวที่ยังมีเปลือกอ่อน ๆ และเมล็ดยังไม่แก่ เอามาคั่วแล้วตำให้เป็นเมล็ดข้าวแบน ๆ เรียกว่า ข้าวเม่าแทน ส่วนตำราความเชื่อของขนมกระยาสารทมีอยู่ 2 ตำราด้วยกัน ตำราหนึ่งกล่าวว่า มีพี่น้องอยู่สองคนชื่อ มหากาลผู้พี่ และจุลกาลผู้น้อง ทั้งสองทำการเกษตรกรรมร่วมกันคือ ปลูกข้าวสาลีบนที่ผืนเดียวกัน จุลกาลนั้นเห็นว่าข้าวสาลีที่กำลังท้องนั้นมีรสหวานอร่อย ก็เลยอยากนำข้าวนั้นไปถวายแด่พระสงฆ์ จึงปรึกษากับมหากาลพี่ชาย แต่มหากาลไม่เห็นด้วย มหากาลจึงแบ่งที่ดินออกเป็น 2 ส่วน เพื่อให้ต่างคนต่างนำข้าวไปใช้กิจอันใดก็ได้ จุลกาลจึงนำเมล็ดข้าวที่กำลังตั้งท้องมาผ่า แล้วต้มกับน้ำนมสด ใส่เนยใส น้ำผึ้ง น้ำตาลทรายกรวด เมื่อเสร็จแล้วจึงนำไปถวายแด่พระสงฆ์ เมื่อถวายภัตตาหารเหล่านี้แด่พระสงฆ์ จุลกาลได้ทูลความปรารถนาของตนกับพระพุทธเจ้าว่า ขอให้ตนบรรลุธรรมวิเศษก่อนใคร และเมื่อกลับบ้านไป ก็พบว่านาข้าวสาลีของตนนั้นออกรวงอุดมสมบูรณ์สวยงาม จนเก็บเกี่ยวไป 9 ครั้งก็ยังอุดมสมบูรณ์อยู่อย่างนั้นตลอดไป เป็นอาหารที่ทำให้ฤดูสารท กระยาสารทนี้เนื่องมาจาก ข้าวมธุปายาส ซึ่งเป็นอาหารอินเดียใช้ข้าว น้ำตาล น้ำนม ผสมกัน ซึ่งนางสุชาดาหุงถวายพระพุทธเจ้าส่วนผสมของกระยาสารทไทยมีข้าวตอก ข้าวเม่า ถั่วลิสง งาคั่วให้สุกเสียก่อน แล้วนำมากวนกับน้ำอ้อยกวนให้เหนียวกรอบเกาะกันเป็นปึก จะทำเป็นกรอบเป็นก้อนหรือตัดเป็นชิ้นๆ เก็บไว้ได้นานทำจากพืชผลแรกได้กระยาสารทเป็นของหวานจัด โดยมากจะกินกับกล้วยไข่สุกทำถวายพระเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว กระยาสารทกำหนดทรงบาตรที่วิเศษ ในการพระราชพิธีสารทนี้ตกทอดกันมานาน คนผู้นับถือพระพุทธศาสนาจะพากันหยุดงาน ตระเตรียมสิ่งของทำบุญที่เรียกว่ากระยาสารทเป็นของหวาน ประจำเทศกาลสารท นิยมทำกันก่อนวันสิ้นเดือนเป็นวันโกน วันแรม 14 ค่ำ เดือน 10 นี้จึงมีการกวนกระยาสารทในงานสารทไทยกล้วยไข่เมืองกำแพงเพชร นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาเมื่อถึงวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 ซึ่งตรงกับเดือนกันยายน ชาวบ้านจะกวนกระยาสารทมาทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติผู้ล่วงลับไปแล้ว จนกลายเป็นประเพณีสารทไทย หรือเทศกาลกวนขนมกระยาสารทจนถึงทุกวันนี้นั่นเอง กระยาสารทเป็นสัญลักษณ์ของ ผลิตผลทางการเกษตรที่อุดมสมบูรณ์ รวมทั้งเป็นการทำบุญเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ข้าวในนา ซึ่งเป็นการเก็บ พืชผลครั้งแรกอีกด้วย นอกจากนี้ ทางจังหวัดกำแพงเพชรได้จัดงานกวนกระยาสารท กล้วยไข่มาตั้งแต..

ใหม่!!: ขนมไทยและกระยาสารท · ดูเพิ่มเติม »

กระดังงา

กระดังงา หรือกระดังงาไทย อังกฤษ: Ylang-ylang (ชื่อวิทยาศาสตร์: Cananga odorata (Lamk.) Hook.f. et Th.) ชื่ออื่น สะบันงา สะบันงาต้น สะบานงาhttp://www.mmp.mju.ac.th/Search_Detail_Herb_MJU.aspx?Herb_ID.

ใหม่!!: ขนมไทยและกระดังงา · ดูเพิ่มเติม »

กรุงเทพมหานคร

กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวงและนครที่มีประชากรมากที่สุดของประเทศไทย เป็นศูนย์กลางการปกครอง การศึกษา การคมนาคมขนส่ง การเงินการธนาคาร การพาณิชย์ การสื่อสาร และความเจริญของประเทศ เป็นเมืองที่มีชื่อยาวที่สุดในโลก ตั้งอยู่บนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านและแบ่งเมืองออกเป็น 2 ฝั่ง คือ ฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานครมีพื้นที่ทั้งหมด 1,568.737 ตร.กม.

ใหม่!!: ขนมไทยและกรุงเทพมหานคร · ดูเพิ่มเติม »

กล้วยน้ำว้า

กล้วยน้ำว้า (Cultivated banana) เป็นกล้วยพันธุ์หนึ่ง พัฒนามาจากลูกผสมระหว่างกล้วยป่ากับกล้วยตานี บริโภคกันอย่างแพร่หลาย ปลูกง่าย รสชาติดี สำหรับกล้วยน้ำว้าแบ่งออกเป็น 3 ชนิด ตามสีของเนื้อ คือ น้ำว้าแดง น้ำว้าขาว และน้ำว้าเหลือง คนไทยรับประทานกล้วยน้ำว้าทั้งผลสด ต้ม ปิ้ง และนำมาประกอบอาหาร นอกจากนี้ยังมีกล้วยน้ำว้าดำ ซึ่งเปลือกมีสีครั่งปนดำ แต่เนื้อมีสีขาว รสชาติอร่อยคล้ายกล้วยน้ำว้าขาว สำหรับกล้วยตีบเหมาะที่จะรับประทานผลสด เพราะเมื่อนำไปย่าง หรือต้มจะมีรสฝาด กล้วยน้ำว้ามีชื่อพื้นเมืองอื่นเช่น กล้วยน้ำว้าเหลือง กล้วยใต้ หรือ กล้วยอ่อง เดิมจัดเป็นชนิด Musa sapientum L. เต็ม สมิตินันทน์ สำนักงานหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช,..

ใหม่!!: ขนมไทยและกล้วยน้ำว้า · ดูเพิ่มเติม »

กล้วยไข่

กล้วยไข่ดิบ (เพิ่งเก็บมาจากสวน) กล้วยไข่ เป็นชื่อของผลไม้ชนิดหนึ่งที่อยู่ในตระกูลกล้วย (Musaceae) โดยมีชื่อสามัญว่า Pisang Mas กล้วยชนิดนี้สามารถปลูกได้ทุกภาคของประเทศไทยถือว่าเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญอย่างหนึ่งที่สามารถนำรายได้เข้าประเทศได้ กล้วยไข่เป็นสินค้าขึ้นชื่อของจังหวัดกำแพงเพชร นิยมรับประทานกับกระยาสารท กล้วยไข่ปลูกกันมากในจังหวัดกำแพงเพชร จากงานวิจัยของสำนักโภชนาการ กรมอนามัย พบว่า มีประโยชน์สูง โดยมีวิตามินอี เบต้าแคโรทีน และวิตามีนซี ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่เป็นสาเหตุของโรคมะเร็ง หรือทำให้เกิดการอักเสบ การทำลายเนื้อเยื่อ รวมทั้งโรคตาต้อกระจกได้ ผลการวิจัยพบว่าในกล้วยไข่ 1 ผล ซึ่งมีน้ำหนักประมาณ 40 กรัม มีเบต้าแคโรทีน 108 ไมโครกรัม มีวิตามินอี 0.19 มิลลิกรัม วิตามินซี 4 มิลลิกรัม และให้พลังงาน 44 กิโลแคลอรี่ ในการกินนั้น แนะนำให้กินกล้วยไข่แทนข้าวได้ 2 ผล เด็กกินได้ 1-2 ผล จะต้องลดปริมาณข้าวลง เพราะกล้วยไข่ 2 ผลเท่ากับข้าว 1 ทัพพี หากแปรรูปทำเป็นกล้วยไข่อบแห้ง จะต้องไม่ใส่น้ำตาล หากนำไปทอดให้ระวังเรื่องน้ำมัน ส่วนการเชื่อมต้องระวังเรื่องความหวาน โดยเด็กสามารถกินกล้วยฉาบแทนขนมกรุบกรอบได้ เพราะมีประโยชน์มากกว่า กล้วยไข่เป็นผลไม้ส่งออกที่สำคัญของประเทศไทย มีปริมาณ และมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นทุกปี ข้อมูลจากสำนักงานเศรษฐกิจเกษตรในปี 2550 รายงานว่ามีปริมาณการส่งออก 15,000 ตัน มูลค่า 100 ล้านบาท แต่ข้อมูลที่ได้รับฟังจากผู้ส่งออกมีปริมาณสูงกว่าทางราชการประมาณ 2-3 เท่า และมูลค่าการส่งออกนับพันล้านบาท ทำนองเดียวกับพื้นที่ปลูกกล้วยไข่ ซึ่งยังไม่ทราบแน่ชัด เพราะกล้วยไข่มีปลูกทั้งเป็นพืชเชิงเดี่ยวและปลูกแซมในสวนผลไม้ ข้อมูลในปี 2546 รายงานว่ามีพื้นที่ปลูก 75,177 ไร่ แต่ปัจจุบันพื้นที่ปลูกกล้วยไข่มีการเปลี่ยนแปลงไปมาก แหล่งปลูกกล้วยไข่เชิงเดี่ยว เช่น จังหวัดกำแพงเพชร ตาก นครสวรรค์ ลดพื้นที่ปลูกลง เพราะปัญหาลมพายุทำให้ผลผลิตเสียหาย ขณะเดียวกันก็มีพืชอื่นที่มีราคาดีเช่น อ้อย มันสำปะหลัง และข้าวโพด จึงได้มีการนำมาปลูกแทน ทำให้พื้นที่ปลูกกล้วยไข่ลดลง ตรงกันข้ามกับในภาคตะวันออกนั้นได้มีการขยายพื้นที่ปลูกเพิ่มขึ้น เช่น ที่จังหวัดจันทบุรี ระยอง และตราด ปลูกแซมในสวนผลไม้ ทำให้ลดปัญหาการโค่นล้มจากลมพายุ ทางภาคใต้มีการปลูกมากที่จังหวัดชุมพร ซึ่งสามารถผลิตกล้วยไข่ออกสู่ตลาดได้ตลอดทั้งปี หมวดหมู่:กล้วย หมวดหมู่:จังหวัดกำแพงเพชร.

ใหม่!!: ขนมไทยและกล้วยไข่ · ดูเพิ่มเติม »

กะละแม

กะละแม เป็นขนมไทยลักษณะเป็นแป้งเหนียวสีดำ เป็นขนมหนึ่งในสามชนิดที่นิยมทำขึ้นในวันปีใหม่ของคนไทยในสมัยก่อน ซึ่งจะต้องทำให้เสร็จก่อนวันสงกรานต์ คือ ข้าวเหนียวแก้ว ข้าวเหนียวแดง และกะละแม ยังไม่ทราบว่ากะละแมมีที่มาจากขนมหวานของชาติใด บางท่านกล่าวว่ามาจากขนมกาลาเม็กของฝรั่งเศส หรือคาราเมลของอังกฤษ หรือเกละไมของชาวมลายู พุทธทาสภิกขุตั้งข้อเสนอว่าน่าจะมาจากขนมฮูละวะของอินเดียที่มีส่วนผสมเป็นนม แป้ง และน้ำตาลเส้นทางขนมไท.

ใหม่!!: ขนมไทยและกะละแม · ดูเพิ่มเติม »

ฝอยทอง

ฝอยทอง (fios de ovos, ฟีอุชดือโอวุช, "เส้นด้ายที่ทำจากไข่") เป็นขนมโปรตุเกส ลักษณะเป็นเส้นฝอยสีทอง ทำจากไข่แดงของไข่เป็ด เคี่ยวในน้ำเดือดและน้ำตาลทราย ชาวโปรตุเกสใช้รับประทานกับขนมปัง กับอาหารมื้อหลักจำพวกเนื้อสัตว์ และใช้รับประทานกับขนมเค้ก โดยมีกำเนิดจากเมืองอาไวรู (Aveiro) เมืองชายฝั่งทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศโปรตุเกส ฝอยทองเป็นที่รู้จักในประเทศสเปนว่า อูเอโบอิลาโด (huevo hilado "ไข่ที่ปั่นเป็นเส้นด้าย"), ญี่ปุ่นว่า เครังโซเม็ง ("เส้นไข่ไก่")Kyoto Foodie,.

ใหม่!!: ขนมไทยและฝอยทอง · ดูเพิ่มเติม »

มวยไทย

มวยไทย มวยไทย เป็นศิลปะการต่อสู้จากประเทศไทย มีความโดดเด่นด้านเทคนิคการกอดคอต่อสู้ ซึ่งเป็นการใช้ทั้งกายและใจ สำหรับการต่อสู้ที่ใช้ร่างกายเป็นอาวุธ โดยเป็นที่รู้จักว่าเป็น "นวอาวุธ" ซึ่งประกอบด้วยการโจมตีจากร่างกายทั้ง หมัด, ศอก, เข่า และเท้า หากมีการเตรียมพร้อมด้านร่างกายดี จะก่อให้เกิดอาวุธที่มีอานุภาพ มวยไทยได้เป็นที่แพร่หลายในระดับนานาชาติในช่วงศตวรรษที่ยี่สิบ เมื่อเหล่านักมวยไทยสามารถเป็นฝ่ายชนะนักต่อสู้ที่มีชื่อเสียงในแขนงอื่น ซึ่งการแข่งขันมวยไทยในระดับอาชีพ ได้รับการดูแลโดยสภามวยไทยโลก ปัจจุบัน ทางสหพันธ์มวยไทยสมัครเล่นนานาชาติ (IFMA) มีแผนที่จะผลักดันกีฬามวยไทยเข้าสู่กีฬาโอลิมปิก และใน..

ใหม่!!: ขนมไทยและมวยไทย · ดูเพิ่มเติม »

มะพร้าว

มะพร้าว เป็นพืชยืนต้นชนิดหนึ่ง อยู่ในตระกูลปาล์ม มะพร้าว เป็นพืชซึ่งสามารถใช้ประโยชน์ได้ในหลายทาง เช่น น้ำและเนื้อมะพร้าวอ่อนใช้รับประทาน เนื้อในผลแก่นำไปขูดและคั้นทำกะทิ กะลานำไปประดิษฐ์สิ่งของต่าง ๆ เช่น กระบวย โคมไฟ ฯลฯ นอกจากนี้มะพร้าวจัดเป็นพรรณไม้มงคลชนิดหนึ่ง ตามตำราพรหมชาติฉบับหลวง ได้กำหนดให้ปลูกมะพร้าวไว้ทางทิศตะวันออกของบ้าน เพื่อความเป็นสิริมงคล.

ใหม่!!: ขนมไทยและมะพร้าว · ดูเพิ่มเติม »

มะลิ

มะลิ เป็นไม้พุ่มหรือไม้เถาในวงศ์มะลิ มีประมาณ 200 ชนิด มีถิ่นกำเนิดในพื้นที่เขตร้อนและกึ่งเขตร้อนในแถบทวีปยุโรป เอเชีย และแอฟริกา ลักษณะดอกและกลิ่นมีความแตกต่างกันไปตามแต่ละชนิดหรือพัน.

ใหม่!!: ขนมไทยและมะลิ · ดูเพิ่มเติม »

มะโย่ง

การแสดงมะโย่งของชาวอำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มะโย่ง หรือ เมาะโย่ง (รูมี: Mak Yong, Mak Yung) เป็นการแสดงพื้นบ้านของชาวไทยเชื้อสายมลายูในแถบสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งได้แก่ จังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา จังหวัดนราธิวาส และบางส่วนของจังหวัดสงขลา นอกจากนี้ยังมีการแสดงมะโย่งใน รัฐกลันตัน รัฐตรังกานู รัฐเกดะห์ และรัฐปะลิส ในประเทศมาเลเซีย และหมู่เกาะริเยา ในประเทศอินโดนีเซีย โดยการแสดงมะโย่ง เป็นศิลปะการร่ายรำที่ผสมผสานทางพิธีกรรม ความเชื่อ การละคร นาฏศิลป์ และดนตรีเข้าด้วยกัน ปัจจุบันการแสดงมะโย่งกำลังขาดผู้สืบทอด ในมาเลเซียมะโย่งเป็นการแสดงที่ถูกห้ามโดยพรรคอิสลามแห่งมาเลเซีย เพราะความที่แฝงความเชื่องของลัทธิวิญญาณนิยม (animism) และรากเหง้าความเชื่อฮินดู-พุทธดั้งเดิมของชาวมลายู ก่อนที่จะเปลี่ยนไปนับถืออิสลาม นอกจากนี้การเข้ามาของสื่อวิทยุโทรทัศน์ก็ทำให้การแสดงมะโย่งหมดความสำคัญลงไป อย่างไรก็ตามประเทศไทยได้เล็งเห็นความสำคัญของการแสดงมะโย่งในฐานะศิลปะพื้นบ้านของชาวไทยมลายู ทางมหาวิทยาลัยราชภัฎยะลาจึงได้มีการฟื้นฟู และให้นักศึกษาได้ศึกษาและค้นหาความรู้และค้นหาความรู้ เพื่อนำมาปฏิบัติจริง โดย มะโย่ง หรือ เมาะโย่ง มีลีลาคล้ายคลึงกับมโนราห์มาก แสดงเพื่อความบันเทิง และเพื่อใช้แก้บนหรือสะเดาะเคราะห์ ในปี..

ใหม่!!: ขนมไทยและมะโย่ง · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อขนมไทย

''ดาราทอง'' หรือ ''ทองเอกกระจัง'' นี่คือ รายชื่อขนมไทย ประกอบด้วยขนมขบเคี้ยวและขนมหวาน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอาหารไท.

ใหม่!!: ขนมไทยและรายชื่อขนมไทย · ดูเพิ่มเติม »

ลอดช่อง

วต ที่ขายในตลาดที่มาลัง ชวาตะวันออก ประมาณ พ.ศ. 2478 ลอดช่อง คือ ขนมพื้นบ้านที่ใช้แป้งข้าวเจ้าเป็นวัตถุดิบ เป็นที่นิยมแพร่หลายในไทยชนิดหนึ่ง มีจุดกำเนิดร่วมในทั่วทั้ง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เชื่อกันว่ามีต้นกำเนิดมาจากประเทศ อินโดนีเซียhttp://www.belindo.com/Default.aspx?NavID.

ใหม่!!: ขนมไทยและลอดช่อง · ดูเพิ่มเติม »

ศาลพระภูมิ

ลพระภูมิ ศาลพระภูมิ หมายถึง ศาลที่สร้างขึ้นเพื่อให้เป็นที่สถิตของเทพารักษ์ พบได้ทั่วไปในประเทศไทย มีลักษณะเป็นบ้านหรือวิหารหลังเล็กตั้งอยู่บนเสาเดี่ยว หรือปะรำทำจากปูนหรือไม้เป็นต้น ตั้งไว้ในจุดที่เชื่อว่าเป็นมงคล ซึ่งมักจะอยู่ริมรั้วหรือมุมหนึ่งนอกบ้าน และบ้านหนึ่งก็อาจมีศาลพระภูมิมากกว่าหนึ่งหลัง การบวงสรวงศาลพระภูมิเป็นการถวายพวงมาลัย ดอกไม้ และอาหาร ให้กับวิญญาณที่สถิตอยู่ในศาล ซึ่งมักจะทำก่อนพิธีกรรมของบ้านนั้นหรือเนื่องในวันสำคัญ ศาลพระภูมิที่ถอนแล้วมักจะนำไปไว้ที่วัดหรือทิ้งไว้ตามข้างทางแยก.

ใหม่!!: ขนมไทยและศาลพระภูมิ · ดูเพิ่มเติม »

ศีลอด

ีลอด หรือภาษามลายูปัตตานีว่า ปอซอ หรือ ศิยาม ในภาษาอาหรับ หมายถึง การอดอาหารและเครื่องดื่ม และงดการร่วมประเวณี ตั้งแต่ยามรุ่งอรุณ จนกระทั่งถึงเวลาหลังตะวันตกดิน.

ใหม่!!: ขนมไทยและศีลอด · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระนารายณ์มหาราช

มเด็จพระนารายณ์มหาราช หรือ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 3 (พ.ศ. 2174/2175 - 2231; ครองราชย์ พ.ศ. 2199-2231) เป็นพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 27 ในสมัยกรุงศรีอ.

ใหม่!!: ขนมไทยและสมเด็จพระนารายณ์มหาราช · ดูเพิ่มเติม »

สะบ้า

้า อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ขนมไทยและสะบ้า · ดูเพิ่มเติม »

สังขยา

ังขยา อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ขนมไทยและสังขยา · ดูเพิ่มเติม »

สุหนัต

ีตาน (ختان; Khitan) คนไทยมักเรียกว่า สุหนัต (สุ-หนัด) หมายถึง พิธีการขริบหนังหุ้มปลายตามข้อกำหนดในศาสนายูดาห์และศาสนาอิสลาม คำว่า สุหนัต มาจากคำว่า "ซูนัต" ในภาษามลายู ซึ่งมาจากคำว่า "ซุนนะฮ์" ในภาษาอาหรับ ซึ่งหมายถึงแบบแผนการปฏิบัติของนบีมุฮัมมัด พิธีสุหนัตเกิดขึ้นครั้งแรกในศาสนายูดาห์ ซึ่งเริ่มทำพิธีนี้ครั้งแรกในสมัยของอับราฮัม การเรียกว่า "เข้าสุนัต" มาจากวลี "มาซุก ญาวี" หรือ "มะโซะยาวี" (แปลว่า เข้าญาวี) ในภาษามลายู หมายถึง เข้า (ศาสนาของ) คนญาวี (มลายูมุสลิม) ด้วยการขริบหนังที่ปลายอวัยวะเพศ การขริบหนังองคชาตเป็นประเพณีของชาวยิว ชาวมุสลิม และคริสต์ศาสนิกชนบางนิกาย เช่นเดียวกับเผ่าหลายเผ่าในแอฟริกา ผู้ที่นับถือศาสนาอื่นนิยมขริบเนื่องจากเหตุผลทาง.

ใหม่!!: ขนมไทยและสุหนัต · ดูเพิ่มเติม »

สงกรานต์

ำหรับ สงกรานต์ ความหมายอื่น ดูที่: สงกรานต์ (แก้ความกำกวม) สงกรานต์ (សង្រ្កាន្ត; သင်္ကြန်; ສົງການ; 泼水节) เป็นประเพณีของประเทศไทย กัมพูชา ลาว พม่า ชนกลุ่มน้อยชาวไทแถบเวียดนามและมณฑลยูนนานของจีน ศรีลังกาและทางตะวันออกของประเทศอินเดีย สันนิษฐานว่า สงกรานต์ได้รับอิทธิพลมาจากเทศกาลโฮลี (होली) ในอินเดีย แต่เทศกาลโฮลีจะใช้การสาดสีแทน เริ่มในทุกวันแรม 1 ค่ำเดือน 4 คือ ในเดือนมีนาคม สงกรานต์เป็นคำสันสกฤต หมายถึง "การเคลื่อนย้าย" ซึ่งเป็นการอุปมาถึงการเคลื่อนย้ายของการประทับในจักรราศี คือการเคลื่อนขึ้นปีใหม่ในความเชื่อของไทยและบางประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สงกรานต์สืบทอดมาแต่โบราณคู่กับตรุษ จึงเรียกรวมกันว่า ประเพณีตรุษสงกรานต์ หมายถึง ส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ เดิมวันที่จัดเทศกาลกำหนดโดยการคำนวณทางดาราศาสตร์ แต่ปัจจุบันระบุแน่นอนว่า 13 ถึง 15 เมษายน วันขึ้นปีใหม่ไทยเป็นวันเริ่มปีปฏิทินของไทยจนถึง..

ใหม่!!: ขนมไทยและสงกรานต์ · ดูเพิ่มเติม »

หญ้าฝรั่น

หญ้าฝรั่น หรือ สรั่น บรรจบ พันธุเมธา, ศาสตราจารย์, ดอกเตอร.

ใหม่!!: ขนมไทยและหญ้าฝรั่น · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอบางกระทุ่ม

อำเภอบางกระทุ่ม เป็นอำเภอหนึ่งใน 9 อำเภอของจังหวัดพิษณุโลก.

ใหม่!!: ขนมไทยและอำเภอบางกระทุ่ม · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอบางปลาม้า

อำเภอบางปลาม้า เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดสุพรรณบุรี ก่อตั้งขึ้นเมื่อ..2440 ตั้งอยู่ในบริเวณลุ่มแม่น้ำท่าจีนตอนใต้ มีเนื้อที่ 482.954 ตร.กม.

ใหม่!!: ขนมไทยและอำเภอบางปลาม้า · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอพระประแดง

ระประแดง เป็นอำเภอที่มีขนาดพื้นที่เล็กที่สุดในจังหวัดสมุทรปราการ ในอดีตมีฐานะเป็นศูนย์กลางของจังหวัดพระประแดง แต่ต่อมาถูกยุบรวมเข้ากับจังหวัดสมุทรปราการดังเช่นปัจจุบัน.

ใหม่!!: ขนมไทยและอำเภอพระประแดง · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอวิเศษชัยชาญ

อำเภอวิเศษชัยชาญ เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดอ่างทอง เดิมชื่อ อำเภอวิเศษไชยชาญ และก่อนหน้านั้น ชื่อ อำเภอไผ่จำศีล.

ใหม่!!: ขนมไทยและอำเภอวิเศษชัยชาญ · ดูเพิ่มเติม »

ผีหิ้ง

ผีหิ้ง เป็นพิธีกรรมในการเรียกผีบรรพบุรุษของชาวชอง มีที่มาจากการเล่นเชิญผีของเด็กเลี้ยงควาย จนกลายเป็นพิธีกรรมสำคัญในการติดต่อกับบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว และเป็นพิธีที่ทำให้ญาติพี่น้องได้มาพบปะกัน.

ใหม่!!: ขนมไทยและผีหิ้ง · ดูเพิ่มเติม »

ผงอิทธิเจ

อิธะเจ หรือ อิทธิเจของเทพย์ สาริกบุตร เป็นวิชาทางไสยศาสตร์ว่าด้วยการทำผงตามคัมภีร์อิธะเจ ซึ่งเป็นหนึ่งในคัมภีร์หลักของระบบไสยศาสตร์ไทยโบราณ อันประกอบด้วยคัมภีร์ปถมัง อิธะเจ ตรีนิสิงเห และมหาราช นอกจากนั้นชื่อวิชาอิธะเจยังปรากฏอยู่ในเสภาขุนช้างขุนแผนตอนพลายงามเรียนวิชาด้วย เนื้อหาของวิชาอิธะเจคือการทำผงด้วยการตั้งตัวตามสูตรบาลีมูลกัจจายน์ ซึ่งเป็นระบบบาลีไวยากรณ์ใหญ่ที่ปัจจุบันได้ล้มเลิกไป อิธะเจมีหลายตำรับด้วยกัน แต่ที่เป็นหลักสำคัญจะตั้งตัวด้วย อิทะ อิติ อิติ อัสสา อุทัง อะหัง อัคคัง อะหัง อะหัง อิถัง อัมมะ อัสสา จากนั้นจึงกระทำตามสูตรสนธิโดยอ้างสูตรตามคัมภี์บาลีไวยากรณ์จนสำเร็จเป็น อิธเจตโสทฬฺหํคณฺหาหิถามสา เป็นอันขาดตัวในสูตรสนธิ ผงที่ได้จากการเขียนและลบอักขระตามคัมภีร์อิธะเจ เรียกว่าผงอิธะเจ เชื่อว่ามีอานุภาพทางเมตตามหานิยม เป็นเสน่ห์โดยเฉพาะแก่สตรี.

ใหม่!!: ขนมไทยและผงอิทธิเจ · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดชลบุรี

ังหวัดชลบุรี เป็นจังหวัดที่ติดกับอ่าวไทยจังหวัดหนึ่งในภาคตะวันออกของประเทศไทย มีสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงหลายแห่งตั้งอยู่ นอกจากด้านอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแล้วยังเป็นจังหวัดที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจสำคัญของภาคตะวันออกอย่างมาก นอกจากนั้นยังเป็นทั้งในด้านพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรมต่าง ๆ ของประเทศ ในอดีตจังหวัดชลบุรีนั้นเคยเป็นแหล่งที่ตั้งของเมืองท่าที่มีความสำคัญมาก แม้แต่ในปัจจุบันนี้ก็ยังคงเป็นที่ตั้งของท่าเรือที่มีความสำคัญของประเทศรองจากท่าเรือกรุงเทพ นั่นก็คือท่าเรือแหลมฉบัง เนื่องจากมีทำเลที่ตั้งเหมาะสม จังหวัดชลบุรีนั้นมีอาณาเขตติดกับจังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดระยอง และจังหวัดจันทบุรี.

ใหม่!!: ขนมไทยและจังหวัดชลบุรี · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดชุมพร

มพร มีชื่อปรากฏมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 1098 โดยมีฐานะเป็นเมืองสิบสองนักษัตรของราชอาณาจักรนครศรีธรรมราช ใช้รูปแพะเป็นตราเมือง และเป็นเมืองหน้าด่านฝ่ายเหนือ เพราะอยู่ตอนบนของภาคใต้ ใน พ.ศ. 1997 รัชสมัยแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ปรากฏในกฎหมายตราสามดวงว่า เมืองชุมพรเป็นเมืองตรี อาณาจักรฝ่ายใต้ของราชอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา ในช่วงนี้ชนชาติจาม แห่งราชอาณาจักรจามปา ถูกชาวเวียดนามรุกราน ชาวจามกลุ่มนี้อพยพเข้าสู่กรุงศรีอยุธยาครั้งแรก ปรากฏว่ามี "อาสาจาม" ในแผ่นดินนี้ เพื่อการขยายอาณานิคมของกรุงศรีอยุธยา ส่วนหนึ่งต้องมารักษาด่านเมืองชุมพร ซึ่งเป็นเมืองตรี และตั้งชาวจาม เป็นเจ้าเมืองชุมพร และดินแดนแถบนี้ขึ้นตรงต่อกรุงศรีอยุธยา เนื่องด้วย ชาวจาม มีความสามารถในการรบ ที่มีชื่อเสียง เช่น กองอาสาจาม เป็นทหารชั้นดี มีวินัย เชี่ยวชาญการเดินเรือ รับใช้ราชสำนักมานาน และเก่งการค้ามาหลายพันปี และต่อมาระหว่าง ปี พ.ศ. 2173 - 2199 ในแผ่นดิน พระเจ้าปราสาททองแห่งราชอาณาจักกรุงศรีอยุธยา ได้กวาดต้อนชาวเมืองแถง หรือ (เดียนเบียนฟู) อยู่ในประเทศเวียดนาม และชาวเมืองพงสาลี อยู่ในประเทศลาว มาเป็นพลเมือง เมืองชุมพร เมืองปะทิว(อำเภอปะทิว) เพื่อทำการเกษตรกรรม และเมืองท่าการค้าสำคัญ ตั้งแต่นั้นมา เดิมชาวจามนับถือศาสนาพราหมณ์-ฮินดู พ.ศ. 1400 นับถือศาสนาพุทธมหายาน และเมื่อค้าขายกับอาหรับก็นับถือ ศาสนาอิสลาม แต่ชาวจามที่มาอยู่เมืองชุมพร ต่อมานับถือ ศาสนาพุทธ มีวัฒนธรรม ประเพณี เหมือนกัน แต่เมื่อเวลาผ่านไปกว่า 500 -600 ปี ที่ชาวจาม เข้าปกครองเมืองชุมพร และดินแดนแถบนี้จนแทบจะไม่เหลือวัฒนธรรมเดิมเลย เช่น ข้าวต้มใบพ้อ ที่ใช้ในงานมงคล เช่นเดียวกับชาวมุสลิม บ้านกาลอ ตำบลกาลอ อำเภอรามัญ จังหวัดยะลา ก็สูญหายไม่ได้ใช้ในงานมงคลแล้ว.

ใหม่!!: ขนมไทยและจังหวัดชุมพร · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางซึ่งเป็นเขตเศรษฐกิจที่สำคัญ โดยมีผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัดมีมูลค่าสูงเป็นอันดับ 3 ของประเทศ และมีประวัติศาสตร์ความเป็นมาที่ยาวนาน เคยมีชื่อเสียงในฐานะเป็นแหล่งปลูกข้าวที่สำคัญ จังหวัดพระนครศรีอยุธยาเป็นจังหวัดที่ไม่มีอำเภอเมือง มีอำเภอพระนครศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลางการบริหารจัดการด้านต่าง ๆ ชาวบ้านโดยทั่วไปนิยมเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "กรุงเก่า" หรือ "เมืองกรุงเก่า".

ใหม่!!: ขนมไทยและจังหวัดพระนครศรีอยุธยา · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดพัทลุง

ัทลุง เป็นจังหวัดในภาคใต้ตอนล่างของประเทศไทย เคยเป็นเมืองที่มีประวัติศาสตร์เก่าแก่แห่งหนึ่ง และยังมีสภาพภูมิประเทศทั้งที่ราบ เนินเขา และชายฝั่ง โดยทางทิศตะวันตกของจังหวัด จะเป็นพื้นที่ที่ราบสูงและที่ราบเชิงเขา อันเนื่องมาจากมีพื้นที่ติดต่อกับเทือกเขานครศรีธรรมราช ถัดลงมาทางตอนกลางและทางทิศตะวันออกของจังหวัด จรดทะเลสาบสงขลาจะเป็นที่ราบลุ่ม เหมาะแก่การทำการเกษตรกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำนาข้าว ชาวภาคใต้จะเรียกจังหวัดนี้ว่า เมืองลุง.

ใหม่!!: ขนมไทยและจังหวัดพัทลุง · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดพิษณุโลก

ังหวัดพิษณุโลก เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางตอนบนของประเทศไทย มีประชากรในปี..

ใหม่!!: ขนมไทยและจังหวัดพิษณุโลก · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดสมุทรสงคราม

ังหวัดสมุทรสงคราม เป็นจังหวัดในภาคกลางของประเทศไทย (หน่วยงานบางแห่งถือเป็นส่วนหนึ่งของภาคตะวันตก) มีขนาดพื้นที่เล็กที่สุดของประเทศ คือประมาณ 416.7 ตารางกิโลเมตร ทั้งยังมีจำนวนประชากรน้อยที่สุดเป็นอันดับ 2 ของประเทศด้วย นับเป็นจังหวัดที่มีความอุดมสมบูรณ์ทางทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและมีชายฝั่งทะเลติดอ่าวไทยยาวประมาณ 23 กิโลเมตรซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์มากเพราะเป็นดินดอนปากแม่น้ำ มีภูเขา 1 ลูก (เขายี่สาร) ไม่มีเกาะ มีลักษณะเป็นที่ราบลุ่มโดยพื้นที่ฝั่งตะวันตกจะสูงกว่าฝั่งตะวันออกเล็กน้อย ปลายปี พ.ศ. 2550 ผลการสำรวจดัชนีความมั่นคงของมนุษย์พบว่า สมุทรสงครามเป็นจังหวัดที่มีความมั่นคงของมนุษย์สูงที่สุดในประเทศไท.

ใหม่!!: ขนมไทยและจังหวัดสมุทรสงคราม · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดสมุทรปราการ

ังหวัดสมุทรปราการ เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางของประเทศไทย และยังเป็นจังหวัดในเขตปริมณฑลของกรุงเทพมหานคร จัดตั้งขึ้นครั้งล่าสุดโดย พระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดนนทบุรี จังหวัดสมุทรสาคร และจังหวัดนครนายก พุทธศักราช 2489 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2489.

ใหม่!!: ขนมไทยและจังหวัดสมุทรปราการ · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดสิงห์บุรี

ังหวัดสิงห์บุรี เป็นจังหวัดหนึ่งที่ตั้งอยู่ในภาคกลางของประเทศไท.

ใหม่!!: ขนมไทยและจังหวัดสิงห์บุรี · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดสุพรรณบุรี

รรณบุรี เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางของประเทศไทย ห่างจากกรุงเทพมหานคร 107 กิโลเมตร จังหวัดที่อยู่ติดกัน (จากทิศเหนือ วนตามเข็มนาฬิกา) ได้แก่ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา นครปฐม และกาญจนบุรี.

ใหม่!!: ขนมไทยและจังหวัดสุพรรณบุรี · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดสตูล

ตูล เป็นจังหวัดที่อยู่ใต้สุดของประเทศไทย (ทางชายฝั่งทะเลอันดามัน) คำว่า สตูล มาจากคำภาษามลายูเกดะห์ว่า เซอตุล (ستول) (ภาษามาเลย์ว่า เซอตุล (setul)) แปลว่ากระท้อน ซึ่งเป็นผลไม้ชนิดหนึ่งที่ขึ้นอยู่ชุกชุมในท้องที่นี้ โดยชื่อเมือง นครสโตยมำบังสการา (Negeri Setoi Mumbang Segara) นั้นหมายความว่า สตูล เมืองแห่งพระสมุทรเทวา ดังนั้น "ตราพระสมุทรเทวา" จึงกลายเป็นตราหรือสัญลักษณ์ของจังหวัดมาตราบเท่าทุกวันนี้.

ใหม่!!: ขนมไทยและจังหวัดสตูล · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดอุบลราชธานี

อุบลราชธานี เป็นจังหวัดขนาดใหญ่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันออกสุดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือและของประเทศไทย ทั้งยังเป็นตำบลที่ตั้งของเส้นเวลาหลักของประเทศ ที่เส้นแวง 105 องศาตะวันออก โดยเป็นจังหวัดแรกที่ได้เห็นดวงอาทิตย์ก่อนพื้นที่อื่น ๆ ทั่วประเทศ จังหวัดอุบลราชธานีเป็นเมืองใหญ่ริมฝั่งแม่น้ำมูลที่มีประวัติศาสตร์ที่ยาวนานมากว่า 200 ปี มีพื้นที่กว้างใหญ่ ภายหลังถูกแบ่งออกเป็นจังหวัดใหม่คือจังหวัดยโสธรในปี พ.ศ. 2515 และจังหวัดอำนาจเจริญในปี พ.ศ. 2536 ซึ่งถ้ารวมพื้นที่อีกสองจังหวัดที่แยกออกไป จังหวัดอุบลราชธานีจะมีพื้นที่เป็นอันดับ 1 ของประเทศไท.

ใหม่!!: ขนมไทยและจังหวัดอุบลราชธานี · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดอุทัยธานี

ังหวัดอุทัยธานี เดิมสะกดว่า อุไทยธานี เป็นจังหวัดในภาคกลางของประเทศไทย มีพื้นที่ประมาณ 6,730 ตารางกิโลเมตร มีประชากรในปี..

ใหม่!!: ขนมไทยและจังหวัดอุทัยธานี · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดอุตรดิตถ์

ังหวัดอุตรดิตถ์ เดิมสะกดว่า อุตรดิฐ เป็นจังหวัดหนึ่งตั้งอยู่ทางภาคเหนือของประเทศไทย ได้ชื่อว่าเมืองท่าแห่งทิศเหนือ ตำนานอันลึกลับของเมืองลับแล ดินแดนแห่งลางสาดหวานหอม อุตรดิตถ์เป็นเมืองที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์มายาวนาน โดยมีการค้นพบหลักฐานการตั้งถิ่นฐานของชุมชนมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เดิมทีตัวเมืองอุตรดิตถ์ในปัจจุบันนี้เป็นเพียงตำบลชื่อ "บางโพธิ์ท่าอิฐ" แต่เพราะบางโพธิ์ท่าอิฐซึ่งอยู่ริมฝั่งขวาของแม่น้ำน่านมีความเจริญรวดเร็ว เพราะเป็นท่าเรือขนถ่ายสินค้าสำคัญในหัวเมืองฝ่ายเหนือ ดังนั้นในสมัยรัชกาลที่ 5 พระองค์จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ย้ายเมืองหลักมาจากเมืองพิชัยมายังตำบลบางโพธิ์ท่าอิฐ และยกฐานะขึ้นเป็นเมือง "อุตรดิตถ์" ซึ่งมีความหมายว่า ท่าน้ำแห่งทิศเหนือของสยามประเทศ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 เมืองอุตรดิตถ์มีความเจริญขึ้น เมืองอุตรดิตถ์จึงได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นจังหวัด จังหวัดอุตรดิตถ์ตั้งอยู่ทางใต้สุดของภาคเหนือตอนล่าง โดยสภาพภูมิศาสตร์จังหวัดอุตรดิตถ์เป็นจังหวัดที่มีภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาและที่สูงสลับซับซ้อน ซึ่งจะอยู่ทางตอนเหนือและทางตะวันออกของจังหวัด เนื่องจากทำเลที่ตั้งดังกล่าวจึงทำให้จังหวัดอุตรดิตถ์มีอากาศค่อนข้างร้อนอบอ้าวในฤดูร้อน มีอากาศฝนเมืองร้อนเฉพาะฤดูฝน และมีช่วงฤดูแล้งคั่นอยู่อย่างชัดเจนตั้งแต่ประมาณกลางเดือนตุลาคมถึงเดือนพฤษภาคม เดือนที่ร้อนที่สุดคือเดือนเมษายน จังหวัดอุตรดิตถ์ได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันออกเฉียงใต้เป็นส่วนใหญ่ มรสุมตะวันออกเฉียงใต้ปกติจะมีแหล่งกำเนิดบริเวณทะเลอันดามัน ทำให้จังหวัดอุตรดิตถ์มีช่วงฤดูฝนกินระยะเวลาตั้งแต่เดือนพฤษภาคมจนถึงเดือนกันยายน โดยเดือนกันยายนเป็นเดือนที่มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยสูงที่สุด ประชากรส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 99.66 นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท โดยประกอบอาชีพทางด้านการเกษตรกรรมเป็นหลัก โดยใช้พื้นที่ในการทำการเกษตรประมาณร้อยละ 26.70 ของพื้นที่ทั้งหมด นอกจากนี้ ยังประกอบอาชีพทางด้านปศุสัตว์ รวมทั้งมีการทำพืชไร่ปลูกผลไม้นานาชนิด โดยผลไม้ที่ขึ้นชื่อของจังหวัดอุตรดิตถ์คือลางสาด ส่วนการเดินทางมายังจังหวัดอุตรดิตถ์สามารถใช้เส้นทางได้หลายเส้นทาง ทั้งทางรถไฟ ทางรถโดยสารประจำทาง และทางรถยนต์ส่วนบุคคล สำหรับการเดินทางโดยเครื่องบิน จังหวัดอุตรดิตถ์เคยมีท่าอากาศยาน 1 แห่ง สำหรับการเดินทางพาณิชย์ แต่ปัจจุบันได้ยกเลิกไปแล้ว สถานที่สำคัญภายในจังหวัดนั้น มีทั้งแหล่งโบราณสถาน เช่น วัดพระแท่นศิลาอาสน์ วัดพระฝางสว่างคบุรีมุนีนาถ วัดพระยืนพุทธบาทยุคล วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง ซากเมืองโบราณสมัยอาณาจักรสุโขทัย แหล่งโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ เช่น อุทยานแห่งชาติภูสอยดาว อุทยานแห่งชาติต้นสักใหญ่ อุทยานแห่งชาติลำน้ำน่าน และแหล่งท่องเที่ยวอีกมากมาย ทั้งน้ำตก เขื่อนสิริกิติ์ วัด พระพุทธรูปสำคัญของจังหวัด เป็นต้น.

ใหม่!!: ขนมไทยและจังหวัดอุตรดิตถ์ · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดอ่างทอง

ังหวัดอ่างทอง เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางของประเทศไทย ตั้งอยู่ในที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นจังหวัดที่เป็นแหล่งผลิตหัตถกรรมพื้นบ้าน เช่น ตุ๊กตาชาววัง งานจักสาน เป็นต้น.

ใหม่!!: ขนมไทยและจังหวัดอ่างทอง · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดจันทบุรี

ังหวัดจันทบุรี เป็นจังหวัดทางชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกของประเทศไทย มีเนื้อที่ 6,388 ตารางกิโลเมตร สภาพภูมิประเทศประกอบไปด้วยป่าไม้ ภูเขา ที่ราบสูง ที่ราบลุ่มน้ำ และที่ราบชายฝั่งทะเล ในส่วนของพื้นที่ป่าไม้มีประมาณ 3 ใน 10 ของพื้นที่ทั้งจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดฉะเชิงเทรา และสระแก้วทางทิศเหนือ ทิศตะวันออกติดกับจังหวัดตราดและประเทศกัมพูชา ทิศใต้ติดกับอ่าวไทย และทิศตะวันตกติดกับจังหวัดระยองและชลบุรี อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 238 กิโลเมตร ประชากรส่วนใหญ่ของจังหวัดจันทบุรีอาศัยอยู่ทางตอนใต้ของจังหวัด โดยอาชีพที่ประชากรในจังหวัดนิยมประกอบอาชีพมากที่สุดคือเกษตรกรรมและประมง และศาสนาที่มีการนับถือมากที่สุดในจังหวัดคือศาสนาพุท.

ใหม่!!: ขนมไทยและจังหวัดจันทบุรี · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดตรัง

ตรัง เป็นจังหวัดในภาคใต้ของประเทศไทย ตรังหรือเมืองทับเที่ยงเป็นจังหวัดท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่งของภาคใต้.

ใหม่!!: ขนมไทยและจังหวัดตรัง · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดตราด

ตราด เป็นจังหวัดชายฝั่งทะเลทางภาคตะวันออกของประเทศไทย มีเนื้อที่ 2,819 ตารางกิโลเมตร ติดต่อกับจังหวัดจันทบุรีและประเทศกัมพูชา ตราดนับเป็นเมืองศูนย์กลางการค้าแห่งหนึ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงปลายอยุธยา สินค้าที่ส่งออกขายยังแดนไกล โดยเฉพาะของป่า เช่น เขากวาง หนังสัตว์ ไม้หอม และเครื่องเทศต่าง ๆ ล้วนมาจากเขตป่าเขาชายฝั่งทะเลตะวันออก แถบระยอง จันทบุรี ตราด โดยลำเลียงสินค้าผ่านมาตามแม่น้ำเขาสมิง ออกสู่ปากอ่าวตร.

ใหม่!!: ขนมไทยและจังหวัดตราด · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดฉะเชิงเทรา

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: ขนมไทยและจังหวัดฉะเชิงเทรา · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดปราจีนบุรี

ปราจีนบุรี เดิมสะกดว่า ปราจิณบุรี เป็นจังหวัดในภาคตะวันออกของประเทศไทย เป็นเมืองที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน มีการพบซากโบราณสถานในหลายพื้นที่ของจังหวัด นอกจากนี้ยังมีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติหลายแห่ง มีอุทยานแห่งชาติอยู่ในเขตมรดกโลกถึง 3 แห่ง ทั้งยังเป็นจังหวัดที่มีพื้นที่ป่ามากที่สุดในภาคตะวันออกอีกด้วย แต่เดิมจังหวัดปราจีนบุรีมีพื้นที่กว้างใหญ่มาก เนื่องจากในอดีตเคยมีการยุบรวมจังหวัดนครนายกเข้ากับจังหวัดปราจีนบุรีในปี..

ใหม่!!: ขนมไทยและจังหวัดปราจีนบุรี · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดนครพนม

ังหวัดนครพนม เป็นจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนตั้งอยู่ในแอ่งสกลนคร นับเป็นเมืองชายแดนที่มีความอุดมสมบูรณ์ ความสวยงามของทิวทัศน์ และมีความหลากหลายของวัฒนธรรมและชาติพันธุ์ รวมทั้งประวัติศาสตร์ที่ยาวนานมีพระธาตุพนมเป็นปูชนียสถานคู่บ้านคู่เมือง พื้นที่ด้านเหนือและตะวันออกของจังหวัดติดกับแม่น้ำโขงโดยตลอ.

ใหม่!!: ขนมไทยและจังหวัดนครพนม · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดนครสวรรค์

ังหวัดนครสวรรค์ เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ระหว่างตอนบนของภาคกลาง มีพื้นที่ประมาณ 9,597 ตารางกิโลเมตร เป็นจังหวัดที่มีความสำคัญในทางประวัติศาสตร์อีกจังหวัดหนึ่งของประเทศไทย มีพื้นที่ติดต่อกับหลายจังหวัด ได้แก่ ด้านเหนือ ติดต่อกับจังหวัดพิจิตรและกำแพงเพชร ทางตะวันออกติดกับจังหวัดเพชรบูรณ์และลพบุรี ด้านใต้ติดกับจังหวัดสิงห์บุรี ชัยนาท และอุทัยธานี ส่วนด้านตะวันตกติดกับจังหวัดตาก.

ใหม่!!: ขนมไทยและจังหวัดนครสวรรค์ · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดนครปฐม

ังหวัดนครปฐม เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางของประเทศไทย เป็นหนึ่งในห้าจังหวัดที่อยู่ในพื้นที่ปริมณฑลของกรุงเทพมหานคร จังหวัดนี้มีประวัติศาสตร์เก่าแก่ยาวนาน เชื่อว่าเป็นที่ตั้งเก่าแก่ของเมืองในสมัยทวารวดี โดยมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีเป็นจำนวนมาก.

ใหม่!!: ขนมไทยและจังหวัดนครปฐม · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดเพชรบุรี

ังหวัดเพชรบุรี (/เพ็ดชะบุรี/; เดิมสะกดว่า เพ็ชร์บุรี) เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคตะวันตก (บ้างก็จัดอยู่ในภาคกลางตอนล่าง ด้านของการพยากรณ์อากาศจัดอยู่ภาคใต้ตอนบน) มีภูมิประเทศทั้งเป็นที่สูงติดเทือกเขาและที่ราบชายฝั่งทะเล มักเรียกชื่อสั้น ๆ ว่า เมืองเพชร เดิมเรียก พริบพรี และจากหลักฐานในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ปรากฏชื่อว่า ศรีชัยวัชรปุระ จังหวัดเพชรบุรีมีชื่อเสียงในฐานะแหล่งผลิตน้ำตาล เนื่องจากมีต้นตาลหนาแน่น เป็นเมืองเก่าแก่ มีประวัติศาสตร์ยาวนาน เพชรบุรีเป็นเมืองที่เคยรุ่งเรืองมาตั้งแต่สมัยโบราณและเป็นเมืองหน้าด่านที่สำคัญของไทยในกลุ่มหัวเมืองฝ่ายตะวันตก ปัจจุบันมีวัดเก่าแก่และบ้านเรือนทรงไทยจำนวนมาก นอกจากนี้ยังมีคำพูดติดปากว่า นักเลงเมืองเพชร ปัจจุบันเพชรบุรีเป็นเมืองด่านสำคัญระหว่างภาคกลางและภาคใต้ และยังเป็นเมืองท่องเที่ยวที่สำคัญ เช่น หาดชะอำ หาดปึกเตียน หาดเจ้าสำราญ แหลมหลวง แหลมเหลว และเขื่อนแก่งกระจาน.

ใหม่!!: ขนมไทยและจังหวัดเพชรบุรี · ดูเพิ่มเติม »

จ่ามงกุฎ

มงกุฎ จ่ามงกุฎ เป็นชื่อขนมไทยชนิดหนึ่ง มีลักษณะคล้ายกะละแมสีขาว ไม่ใส่สี ทำจากแป้งข้าวเจ้าหรือแป้งข้าวเหนียวนวดผสมกับแป้งถั่วเขียว นำไปกวนกับกะทิและน้ำตาลทรายขาวจนเหนียว โรยเมล็ดถั่วลิสงคั่วซอยหรือเมล็ดแตงโมกะเทาะเปลือกเป็นไส้ในตัวขนม (สูตรโบราณจะโรยแป้งทอดตัดเป็นชิ้นเล็ก ๆ เท่าเมล็ดข้าวสุก ซึ่งใช้เวลาทำนานกว่า)แม่กลองทูเดย์ดอทคอม.

ใหม่!!: ขนมไทยและจ่ามงกุฎ · ดูเพิ่มเติม »

ทองหยอด

ทองหยอด (ovos moles de Aveiro, โอวุชมอลึชดืออาไวรู) เป็นขนมโปรตุเกส มีถิ่นกำเนิดจากเมืองอาไวรู (Aveiro) เมืองชายฝั่งทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศโปรตุเกส ทำจากแป้งผสมกับไข่แดงและน้ำ หยอดลงในน้ำเดือดเคี่ยวกับน้ำตาล เมื่อแป้งสุกจะเป็นเม็ดคล้ายหยดน้ำ มีสีเหลืองทอง ทองหยอดเข้ามาเผยแพร่ในประเทศไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยท้าวทองกีบม้า ในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาร.

ใหม่!!: ขนมไทยและทองหยอด · ดูเพิ่มเติม »

ทองหยิบ

ทองหยิบ (trouxas das Caldas, โตรชัชดัชกัลดัช) เป็นขนมโปรตุเกสที่เผยแพร่ในประเทศไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยาโดยท้าวทองกีบม้า จนเป็นที่แพร่หลายมาจนถึงปัจจุบัน ทำจากไข่แดงตีจนฟู ก่อนนำไปหยอดลงในน้ำเชื่อมเดือดเพื่อทำให้สุก เมื่อสุกแล้วจึงนำมาจับจีบ ใส่ถ้วยตะไล ปัจจุบัน มักใช้เป็นของหวานในงานมงคลต่าง ๆ เช่น งานมงคลสมรส งานขึ้นบ้านใหม่ ฯลฯ.

ใหม่!!: ขนมไทยและทองหยิบ · ดูเพิ่มเติม »

ท้าวทองกีบม้า (มารี กีมาร์)

ท้าวทองกีบม้า มีชื่อตัวว่า มารีอา กูโยมาร์ เด ปิญญา (Maria Guyomar de Pinha) แต่มักเป็นที่รู้จักในชื่อ มารี กีมาร์ (Marie Guimarชื่อของเธอมีการสะกดได้หลายทาง ได้แก.

ใหม่!!: ขนมไทยและท้าวทองกีบม้า (มารี กีมาร์) · ดูเพิ่มเติม »

ขมิ้น

มิ้นชัน เป็นพืชล้มลุกในวงศ์ขิง มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีเหง้าอยู่ใต้ดิน เนื้อในของเหง้าเป็นสีเหลือง มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว มีสีเหลืองเข้ม จนสีแสดจัด มีชื่อสามัญอื่นอีกคือ ขมิ้นแกง (เชียงใหม่) ขมิ้นชัน (กลาง, ใต้) ขมิ้นหยอก (เชียงใหม่) ขมิ้นหัว (เชียงใหม่) ขี้มิ้น (ตรัง, ใต้) ตายอ (กะเหรี่ยง กำแพงเพชร) สะยอ (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) และ หมิ้น (ตรัง, ใต้).

ใหม่!!: ขนมไทยและขมิ้น · ดูเพิ่มเติม »

ขนมชะมด

นมชะมด เป็นขนมที่มีหลักฐานว่ามีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาและสุโขทัย มีกล่าวไว้ในจดหมายเหตุว่า ในตลาดขายขนมหรือป่าขนมมีขนมชะมดขายด้วย ขนมนี้จัดเป็นขนมเสี่ยงทายในงานแต่งงาน ไส้เป็นถั่วทองแช่น้ำนึ่งสุกโขลกผสมเกลือและพริกไทย เป็น 3 ลูกบีบติดแล้วชุบแป้งทอด ถ้าทอดแล้วแยกออกจากกัน หมายความว่าจะอยู่ด้วยกันไม่ยืด ถ้ายังติดกัน 2 ลูก หมายความว่าจะมีลูกยาก บางทีต้องชุบแป้ง 3-4 ครั้งจึงไม่แตกจากกัน การแตกจากกันของขนมนี้หมายถึงความแตกแยกของคู่สมรส บางครั้งต้องเปลี่ยนคนทำใหม่ เรียกว่า หาหมอมาแก้ ขนมที่ใกล้เคียงกับขนมชะมดได้แก่ ขนมสามเกลอ ซึ่งวิธีทำและรูปร่างคล้ายกันแต่ไส้ต่างไปคือไส้กระฉีกผสมถั่วทองบดหุ้มด้วยแป้งข้าวเหนียวแล้วชุบแป้งทอด กับขนมละมุดที่คล้ายขนมสามเกลอแต่ทำเป็นลูกโดดขนาดใหญ.

ใหม่!!: ขนมไทยและขนมชะมด · ดูเพิ่มเติม »

ขนมชั้น

นมชั้น เป็นขนมไทยโบราณที่ใช้ในงานพิธีมงคล โดยมีความเชื่อว่าจะต้องหยอดขนมให้ได้ 9 ชั้น จึงจะเป็นศิริมงคลเจริญก้าวหน้าแก่เจ้าภาพ ส่วนผสมของขนมส่วนใหญ่จะเป็นกะทิ และน้ำตาล แป้ง 3 - 4 ชนิด แล้วแต่สูตรและความชอบเนื้อขนมในแต่ละแบบ ซึ่งแป้งแต่ละอย่างก็จะมีคุณสมบัติทำให้ขนมมีเนื้อต่างกัน.

ใหม่!!: ขนมไทยและขนมชั้น · ดูเพิ่มเติม »

ขนมบ้าบิ่น

นมบ้าบิ่น ขนมบ้าบิ่น ขนมไทยอย่างหนึ่ง ทำจากแป้งข้าวเหนียวผสมกับมะพร้าวและนํ้าตาลทรายรวมถึงไข่ไก่ ทำให้สุกด้วยการผิงไฟล่างไฟบน มีลักษณะเป็นชิ้นเล็ก ๆ แบน ๆ เป็นขนมที่มีที่มาจากขนมโปรตุเกสเช่นเดียวกับขนมไทยอีกหลาย ๆ ประเภท แต่ขนมบ้าบิ่นน่าจะถือกำเนิดในยุครัตนโกสินทร์ ที่มาของชื่อ "บ้าบิ่น" มีที่มาด้วยกันสองกระแส บ้างก็ว่ามาจากผู้ที่เป็นเจ้าของตำรับซึ่งเป็นชาวชุมชนกุฎีจีนชื่อ "แม่บิ่น" โดยครั้งแรกใช้ชื่อว่า "ขนมป้าบิ่น" และเรียกเพี้ยนจนกลายเป็นบ้าบิ่นในที่สุด ขณะที่อีกกระแสหนึ่งกล่าวว่า ด้วยความที่ขนมบ้าบิ่นมีที่มาจากขนมโปรตุเกสชื่อ กลชาดาซ เดอ กรูอิงบรา (Queijadas de Coimbra) ซึ่งใช้เนยแข็งเป็นวัตถุดิบ แต่เรียกกันติดปากเพียงคำสุดท้าย คือ "บรา" และต่อมาเพิ่มคำว่า "บิ่น" เข้าไป จนกลายมาเป็นขนมบ้าบิ่นในที่สุด โดยแหล่งของขนมบ้าบิ่นที่ขึ้นชื่อ คือ อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ทั้งนี้คำว่า "บ้าบิ่น" พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถานได้ให้นิยามว่า ว. มุทะลุ หุนหันพลันแล่น อวดกล้าทําการอย่างไม่มีสติยั้งคิด บิ่น ก็ว.

ใหม่!!: ขนมไทยและขนมบ้าบิ่น · ดูเพิ่มเติม »

ขนมฟักเขียวกวน

นมฟักเขียวกวนเป็นขนมพื้นบ้านของจังหวัดนครสวรรค์ นิยมใช้ในงานทำบุญเพราะเชื่อว่าฟักเป็นพืชที่ให้ความเย็น ลักษณะของขนมตัดเป็นชิ้นสี่เหลี่ยม ขนาดพอคำ มีความเหนียว รสชาติหวานมัน โรยถั่วลิสงคั่วหั่นฝอย การทำขนมชนิดนี้ เริ่มจากนำฟักเขียวแก่มาขูดเอาแต่เนื้อแล้วบีบน้ำออก ใส่เนื้อฟักลงในกระทะทอง กวนกับกะทิ น้ำตาลปี๊บ และแป้งข้าวเจ้า จนกว่าขนมจะล่อน ไม่ติดกระทะ แล้วเทใส่ถาด โดรยด้วยถั่ว ขนมที่คล้ายกันนี้มีทำที่จังหวัดจันทบุรีด้วยแต่เรียกขนมฟัก.

ใหม่!!: ขนมไทยและขนมฟักเขียวกวน · ดูเพิ่มเติม »

ขนมกง

นมกง หรือ ขนมไข่ปลา เป็นขนมพื้นเมืองชนิดหนึ่งของทางพื้นที่ภาคกลางของประเทศไทย แถบจังหวัดสมุทรสาคร รวมถึงทางภาคใต้ด้วย มีลักษณะเป็นวงกลมและมีเส้นไขว้พาดกันคล้ายรูปล้อเกวียน นำไปชุบลงในน้ำแป้งข้าวเหนียวหรือแป้งสาลี และนำลงไปทอดในน้ำมันพืช โดยถือเป็นหนึ่งในขนมทั้งห้าชนิดที่มีความสำคัญในการประกอบพิธีกรรมในประเพณีสารทเดือนสิบทางภาคใต้มุ่งหมายให้เป็นเครื่องประดับของบรรพบุรุษ ในส่วนของภาคกลาง ใช้ในพิธีมงคล เช่น ไหว้เจ้า หรือพิธีแต่งงานให้คู่บ่าวสาวครองคู่ด้วยกันไปตลอด โดยมีความหมายถึงการหมุนไปข้างหน้า หรือการก้าวไปข้างหน้า เช่นเดียวกับพระธรรมจักร เนื่องจากรูปร่างของขนมที่คล้ายวงกลมหรือวงจักร จึงทำให้ได้อีกชื่อหนึ่งว่า ขนมกงเกวียน.

ใหม่!!: ขนมไทยและขนมกง · ดูเพิ่มเติม »

ขนมก้อ

นมก้อ เป็นขนมพื้นบ้านของภาคใต้ ทำจากแป้งข้าวเจ้า ไส้ของขนมนี้ทำจากน้ำตาลโตนด เคี่ยวให้ข้น ผสมถั่วลิสง และแป้งโม่ผัดจนแห้ง ตัวขนมทำจากแป้งกวนกับน้ำตาลตักใส่พิมพ์ครึ่งหนึ่ง แล้วจึงใส่ไส้ขนม แล้วใส่ตัวขนมอีกชั้น กดให้แน่น ขนมก้ออีกชนิดหนึ่งเรียกขนมก้ออ่อน เป็นการนำแป้งของขนมก้อมานวดกับน้ำเชื่อม แล้วตัดเป็นชิ้น.

ใหม่!!: ขนมไทยและขนมก้อ · ดูเพิ่มเติม »

ขนมฝรั่งกุฎีจีน

นมฝรั่งกุฎีจีน ขนมฝรั่งกุฎีจีน เป็นขนมไทยอย่างหนึ่ง ที่มีประวัติยาวนานมาตั้งแต่กรุงธนบุรีเป็นราชธานี โดยเป็นขนมที่อยู่คู่กับชุมชนกุฎีจีน ชุมชนของชาวไทยเชื้อสายโปรตุเกส ที่ตั้งอยู่ที่บริเวณใกล้เคียงกับโบสถ์ซางตาครู้ส โบสถ์คาทอลิกเก่าแก่ติดแม่น้ำเจ้าพระยาทางด้านฝั่งธนบุรี ซึ่งเป็นชุมชนที่อยู่ที่นี่มาตั้้งแต่ยุคกรุงธนบุรี ขนมฝรั่งกุฎีจีน เป็นขนมที่ได้รับอิทธิพลมาจากขนมโปรตุเกสเช่นเดียวกับขนมไทยหลายอย่าง เช่น ทองหยิบ, ทองหยอด, ฝอยทอง หรือลูกชุบ ตั้งแต่ยุคกรุงศรีอยุธยาตอนกลาง รัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดยท้าวทองกีบม้า หรือ มารี กีมาร์ ตัวขนมเป็นตำรับของขนมแบบโปรตุเกส โดยใช้วัตถุดิบสามอย่าง คือ แป้งสาลี, ไข่เป็ด และน้ำตาลทราย ตีให้ส่วนผสมเข้ากันจนขึ้นฟูและเทลงแม่พิมพ์ โดยไม่ผสมผงฟู, ยีสต์ หรือสารกันบูด จากนั้นโรยด้วยลูกเกด, ลูกพลับอบแห้ง, ฟักเชื่อม และน้ำตาลทราย ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากขนมของจีน โดยชาวจีนเชื่อว่าเมื่อรับประทานฟักเชื่อมแล้วจะก่อให้เกิดความร่มเย็น ส่วนน้ำตาลทรายจะเกิดความมั่งคั่งไม่รู้จบเหมือนกับน้ำตาลทรายที่นับเม็ดไม่ได้ ส่วนลูกพลับอบแห้งและลูกเกด ก็เป็นผลไม้ที่มีราคาและมีคุณค่าทางอาหารอีกด้วย แล้วจึงนำไปเทใส่แม่พิมพ์แล้วอบจนสุกโดยใช้วิธีอบแบบโบราณด้วยเตาถ่าน รสชาติมีความกรอบนอก นุ่มใน เดิมที ขนมฝรั่งกุฎีจีนจะทำกันเฉพาะในช่วงเทศกาลสำคัญทางศาสนาและแจกจ่ายรับประทานกันเองในครอบครัวหรือชุมชน เช่น คริสต์มาส ต่อมาเมื่อได้รับความนิยมและเป็นที่รู้จักกันมากขึ้น จึงมีการทำออกมาขาย จนมีคำร้องคล้องจองกันของผู้ค้า เมื่อนำขนมออกไปเร่ขายเพื่อดึงดูดความสนใจผู้ซื้อว่า "อ้อยจีนบางใหญ่ อ้อยไทยบางคูวัด ข้าวหลามตัดวัดระฆัง ขนมฝรั่งกุฎีจีน แม่เอ๊ย" อันบ่งบอกได้ถึงอดีตที่เคยรุ่งเรืองของอาหารพื้นถิ่นและการค้าขายในแถบนี้ ซึ่งในอดีตก็จะมีขายเฉพาะในช่วงปลายปีเท่านั้น อันตรงกับช่วงเทศกาลคริสต์มาส ปัจจุบัน ที่ชุมนุมกุฎีจีนเหลือร้านที่ทำและจำหน่ายขนมฝรั่งกุฎีจีนเพียงไม่กี่รายเท่านั้น.

ใหม่!!: ขนมไทยและขนมฝรั่งกุฎีจีน · ดูเพิ่มเติม »

ขนมลา

นมลา เป็นขนมหวานพื้นบ้านของทางภาคใต้ ของประเทศไทย ซึ่งทำมาจากแป้งข้าวเจ้า เป็นขนมสำคัญหนึ่งในห้าชนิดที่ใช้สำหรับจัดเพื่อนำไป ถวายพระสงฆ์ในงานประเพณีบุญสารทเดือนสิบ ซึ่งเป็นงานบุญประเพณีที่สำคัญของจังหวัดในภาคใต้ ประจำจังหวัด นครศรีธรรมราช โดยอุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษที่ล่วงลับ ขนมลาปรุงขึ้นเพื่อเป็นเสมือนแพรพรรณเสื้อผ้า ปัจจุบันขนมลามีจำหน่ายตลอด ทั้งปี ไม่ปรุงเฉพาะในเทศกาลอย่างที่เคยปฏิบัติมา ขนมลามี 2 ชนิดคือลาเช็ดและลากรอบ ขนมลาเช็ดจะใช้น้ำมันน้อย โรยแป้งให้หนา เมื่อสุกพับเป็นครึ่งวงกลม รูปร่างเหมือนแห ลากรอบ นำลาเช็ดมาโรยน้ำตาลแล้วนำไปตากแดด ในปัจจุบันมีการทำลากรอบแบบใหม่ โดยเพิ่มแป้งข้าวเจ้าให้มากขึ้น ใช้น้ำมันมากขึ้น เมื่อแป้งสุกแล้วม้วนเป็นแท่งกลม พักไว้จนเย็นจึงดึงไม้ออก.

ใหม่!!: ขนมไทยและขนมลา · ดูเพิ่มเติม »

ขนมลืมกลืน

นมลืมกลืน (ขนมไทย) ขนมไทยที่ทำจากแป้งถั่วเขียวหรือแป้งสลิ่ม ผสมน้ำลอยดอกไม้และน้ำตาล นำไปกวนจนใส หยอดหน้าด้วยกะทิ ส่วนประกอบของขนมมี 2 ส่วน คือ ส่วนของตัวขนมที่ทำจากแป้งถั่วเขียวและหน้าขนมที่ทำจากกะทิ รสชาติหวานหอม มันๆ เค็มๆ จากตัวกะทิ เนื้อของขนมมีลักษณะนุ่ม ทานอร่อยจนทำให้ลืมกลืนตามชื่อขนมไปเล.

ใหม่!!: ขนมไทยและขนมลืมกลืน · ดูเพิ่มเติม »

ขนมวง

นมวงหรือเข้ามูนข่วย เป็นขนมชนิดหนึ่งของชาวไทใหญ่ เป็นรูปวงกลมมีรูตรงกลางคล้ายกำไลหรือโดนัท ทำจากแป้งข้าวเหนียวนวดกับน้ำและมะพร้าวขูด นำไปคลุกกับงาขาวแล้วต่อให้เป็นวงกลม ทอดในน้ำมันให้สุก พอขนมเย็นลงจึงนำไปชุบน้ำตาลอ้อยให้ทั่ว ชาวไทใหญ่นิยมทำขนมนี้ในงานปอยหรืองานบุญ.

ใหม่!!: ขนมไทยและขนมวง · ดูเพิ่มเติม »

ขนมหม้อแกง

นมหม้อแกง ขนมหม้อแกง หรือ ขนมกุมภมาศ คือขนมที่ใช้ไข่ แป้ง และกะทิเป็นส่วนประกอบสำคัญ นำผสมกันในถาดตามสัดส่วน แล้วจึงนำไปอบจนหน้าของขนมหม้อแกงมีสีน้ำตาลทอง น่ารับประทาน ปัจจุบันมีการทำเผือก เม็ดบัว ถั่ว และหอมเจียว มาผสม และแต่งหน้าขนมหม้อแกง ทำให้ขนมหม้อแกงมีรสชาติที่กลมกล่อมมากขึ้น.

ใหม่!!: ขนมไทยและขนมหม้อแกง · ดูเพิ่มเติม »

ขนมอาละหว่า

ขนมอาละหว่าเป็นชื่อขนมพื้นเมืองไทยใหญ่ชนิดหนึ่งที่ทำมาจากแป้งข้าวเจ้าผสมกะทิและน้ำตาลอ้อย ถือเป็นขนมพื้นเมืองที่ขึ้นชื่อของจังหวัดแม่ฮ่องสอน หมวดหมู่:จังหวัดแม่ฮ่องสอน หมวดหมู่:ขนมไทย หมวดหมู่:อาหารไทใหญ่ หมวดหมู่:บทความเกี่ยวกับอาหารที่ต้องการภาพ.

ใหม่!!: ขนมไทยและขนมอาละหว่า · ดูเพิ่มเติม »

ขนมอาซูรอ

Aşure ของชาวตุรกี Aşure ของชาวตุรกี ขนมอาซูรอหรือขนมบูโบร์ซูรอ (ภาษาตุรกี:Aşure) เป็นขนมที่ชาวไทยมุสลิมทำขึ้นในวันที่ 10 เดือนมุฮัรรอม ซึ่งเป็นเดือนแรกของปฏิทินอาหรับ ขนมชนิดนี้เป็นขนมที่ได้จากการนำอาหารหลายอย่างมารวมกันแล้วกวนให้เป็นเนื้อเดียวกันคล้ายขนมเปียกปูน ประเพณีการกวนขนมอาซูรอเริ่มจากเจ้าภาพประกาศเชิญชวนชาวบ้านว่าจะมีการกวนขนม เมื่อถึงวันนัดหมาย ชาวบ้านจะนำเครื่องปรุงขนมมารวมกันและช่วยกันกวน เมื่อเสร็จแล้วจะกล่าวขอพรพระเจ้า แล้วจึงแบ่งขนมไปกินกัน เครื่องปรุงขนมที่ใช้ได้แก่ เครื่องแกง ข้าวสาร น้ำตาล กะทิ และของที่กินได้อื่นๆ เช่น มัน กล้วย ผลไม้ เนื้อสัตว์ ไข่ เทศกาลดังกล่าวนี้เป็นเทศกาลอาชูรออ์ของชาวชีอะหฺที่ไว้อาลัยต่อการเสียชีวิตของอิหม่ามฮุเซน ชาวตุรกีเรียกขนมที่ทำในเทศกาลนี้ว่า Aşure หรือพุดดิ้งของโนอาห์ ซึ่งจะประกอบด้วยธัญพืช ผลไม้และถั่ว ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นขนมที่ครอบครัวของโนอาห์ทำขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองการที่พวกเขามาถึงภูเขาอารารัต ซึ่งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของตุรกี ชาวตุรกีทำขนมนี้ในวันอาชูรออ์ เพื่อระลึกถึงการสิ้นสุดของสงครามที่คัรบาลา สูตรการทำขนมนี้ต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น.

ใหม่!!: ขนมไทยและขนมอาซูรอ · ดูเพิ่มเติม »

ขนมอาเก๊าะ

นมอาเก๊าะเป็นขนมของชาวไทยมุสลิมในภาคใต้ที่ปรุงจากแป้ง ไข่เป็ด น้ำตาลและกะทิ เนื้อขนมคล้ายขนมหม้อแกง สังขยา รูปร่างคล้ายขนมไข่ เพราะหยอดแป้งลงในพิมพ์ขนมเหมือนกัน แต่พิมพ์ของขนมอาเก๊าะใหญ่กว่า ทำให้สุกด้วยการผิงไฟบนล่าง นิยิมรับประทานในเดือนรอมฎอน ซึ่งเป็นช่วงถือศีลอดของชาวมุสลิม.

ใหม่!!: ขนมไทยและขนมอาเก๊าะ · ดูเพิ่มเติม »

ขนมผิง

นมผิง เป็นขนมไทยชนิดหนึ่ง ทำมาจากแป้งผสมกับน้ำตาล แล้วนำไปอบด้วยไฟบนและไฟล่างจนกรอบ มีรูปร่างแบนคล้ายไข่แมงมุม มีสีเหลืองนวล ขนมผิงมีต้นกำเนิดมาจากอาหารโปรตุเกส โดยหญิงลูกครึ่งโปรตุเกส-ญี่ปุ่น มารี กีมาร์ ที่เกิดในอาณาจักรอยุธยา หลังจากที่ทหารญี่ปุ่นชุดแรกได้เข้ามาเป็นทหารอาสาในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ไม่นานมารี กีมาร์ ก็ได้เข้ารับราชการในตำแหน่งหัวหน้าห้องเครื่องต้น และได้ชื่อในภาษาไทยว่า "ท้าวทองกีบม้า" ได้สอนการทำขนมหวาน อาทิ ทองหยอด, ฝอยทอง และอีกหลาย ๆ อย่าง ให้กับผู้ที่ทำงานอยู่ใกล้ชิด และจากนั้นก็ได้กลายมาเป็นขนมไทยหลากหลายอย่างรวมถึง ขนมผิงด้ว.

ใหม่!!: ขนมไทยและขนมผิง · ดูเพิ่มเติม »

ขนมจาก

ต้นจากที่มีการนำใบไปห่อขนมจากและเป็นที่มาของชื่อชนมชนิดนี้ ในภาพเป็นต้นจากในฟิลิปปินส์ ขนมจาก คือของหวานชนิดหนึ่งสำหรับกินเล่น เป็นขนมพื้นบ้านในย่านจังหวัดสมุทรปราการ หรือเมืองปากน้ำสมุทรปราการมาก่อน ภายหลังมีขายในระหว่างเทศกาลงานไหว้พระสมุทรเจดีย์ประจำปี แต่ละปีผู้ที่ไปไหว้พระหรือชมงานออกร้านในเทศกาลดังกล่าวมักซื้อเป็นของติดมือไปฝากญาติ ขนมจากทำด้วยแป้งข้าวเหนียว ส่วนมากนิยมใช้ข้าวเหนียวดำ มะพร้าวทึนทึกขูดหยาบๆ น้ำตาลมะพร้าว และเกลือเล็กน้อย ที่เรียกว่าขนมจาก เพราะเป็นขนมที่ห่อด้วยใบจากสด ที่ได้จากต้นจากซึ่งเป็นพืชในวงศ์ปาล์มชนิด ขึ้นเป็นกออยู่ตามป่าชายเลนและบริเวณริมน้ำเค็ม ขนมนี้ทำให้สุกด้วยการย่างไฟคล้ายการเผาข้าวหลามแต่ใช้ความร้อนน้อยกว.

ใหม่!!: ขนมไทยและขนมจาก · ดูเพิ่มเติม »

ขนมถั่วแปบ

บทความที่เป็นพืชดูที่ ถั่วแปบ ขนมถั่วแปบเป็นขนมไทยชนิดหนึ่ง ทำด้วยแป้งข้าวเหนียวห่อไส้ที่เป็นถั่วเหลือง มะพร้าวขูด แล้วนำไปนึ่ง ขนมที่มีลักษณะใกล้เคียงกับขนมถั่วแปบคือขนมเขียว มีไส้เป็นแบบเดียวกัน หมวดหมู่:ขนมไทย หมวดหมู่:อาหารประเภทข้าวเหนียว.

ใหม่!!: ขนมไทยและขนมถั่วแปบ · ดูเพิ่มเติม »

ขนมขี้หนู

นมขี้หนู เป็นขนมไทยโบราณ บ้างเรียกขนมทราย ทำจากแป้งข้าวเจ้า น้ำเชื่อม โรยหน้าด้วยมะพร้าว การรับประทาน ตักใส่ภาชนะ (จานแบน ๆ) โรยด้วยมะพร้าวแก่ขูดฝอยตามชอบ (ไม่ใช่มะพร้าวซึก) ขนมที่ดีจะต้องเป็นเหมือนเม็ดทรายละเอียด ร่วนซุย ไม่จับเป็นก้อน หวานเล็กน้อย หอมชื่นใจเมื่อทาน.

ใหม่!!: ขนมไทยและขนมขี้หนู · ดูเพิ่มเติม »

ขนมครก

นมครก ขนมครก เป็นขนมไทยโบราณชนิดหนึ่ง ทำจากแป้งน้ำตาลและกะทิ แล้วเทลงบนเตาหลุม เวลาจะรับประทานต้องแคะออกมา เป็นแผ่นวงกลม แล้วมักวางประกบกันตอนรับประทาน เป็นขนมของไทยที่มีมาตั้งแต่โบราณ นอกจากนี้ยังพบในพม่า ลาว และอินโดนีเซีย โดยชาวอินโดนีเซียเรียกว่าเซอราบี (serabi).

ใหม่!!: ขนมไทยและขนมครก · ดูเพิ่มเติม »

ขนมตาล

นมตาล ขนมตาล เป็นขนมไทยดั้งเดิม เนื้อขนมมีลักษณะเป็นแป้งสีเหลืองเข้ม นุ่ม ฟู มีกลิ่นตาลหอมหวาน ขนมตาลทำจากเนื้อตาลจากผลตาลที่สุกงอม แป้งข้าวเจ้า กะทิ และน้ำตาล ผสมกันตามกรรมวิธี ใส่กระทงใบตอง โรยมะพร้าวขูด และนำไปนึ่งจนสุก เนื้อลูกตาลยีที่เป็นส่วนผสมในการทำขนมตาล ได้จากการนำผลตาลที่สุกจนเหลืองดำ เนื้อข้างในมีสีเหลือง มีกลิ่นแรง ซึ่งส่วนมากจะหล่นจากต้นเอง มาปอกเปลือกออก นำมายีกับน้ำสะอาดให้หมดสีเหลือง นำน้ำที่ยีแล้วใส่ถุงผ้า ผูกไว้ให้น้ำตกเหลือแต่เนื้อลูกตาล ในปัจจุบัน หาทานขนมตาลรสชาติดีได้ยาก เนื่องจากปริมาณการปลูกต้นตาลที่ลดลง ขนมตาลที่ขายตามท้องตลาดส่วนใหญ่ ผู้ประกอบการมักใส่เนื้อตาลน้อย เพิ่มแป้งและเจือสีเหลืองแทน ซึ่งทำให้ขนมตาลมีเนื้อกระด้าง ไม่หอมหวาน และไม่อร่อ.

ใหม่!!: ขนมไทยและขนมตาล · ดูเพิ่มเติม »

ขนมต้ม

ำหรับบทความที่เป็นชื่อนักมวยดูที่ นายขนมต้ม ขนมต้ม ขนมต้มเป็นขนมที่มีหลักฐานว่ามีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย เข้ามาพร้องกับศาสนาพราหมณ์และลัทธิความเชื่อเกี่ยวกับเทพเจ้า โดยเชื่อกันว่าพระพิฆเนศโปรดขนมนี้มาก ครั้งหนึ่งเสวยเข้าไปจนเต็มพุง เมื่อขี่หนูกลับวิมาน ระหว่างทางหนูมาเจองู ตกใจจึงหยุดทันที พระพิฆเนศตกจากหลังหนู พุงแตก พระพิฆเนศเสียดายขนมจึงกอบเข้าใส่พุงใหม่แล้วเอาซากงูที่ตีตายแล้วมาพันพุงไว้ แล้วจึงกลับไปวิมาน พลศรี คชาชีว.

ใหม่!!: ขนมไทยและขนมต้ม · ดูเพิ่มเติม »

ขนมแดกงา

นมแดกงา เป็นขนมพื้นบ้านของชาวไทยและชาวมอญ พบได้ในหลายพื้นที่ทางภาคกลางเรียกข้าวเหนียวแดกงาหรือขนมแดกงา ทางจังหวัดพิจิตรเรียกขนมข้าวโป่ง ชาวไทใหญ่แต่เดิมเรียกข้าวตำงา แต่ปัจจุบันเรียกขนมข้าวปุกและโยงความหมายเข้ากับการปลุกใจคนไทใหญ่ให้กอบกู้ชาติบ้านเมือง ภาคอีสานเรียกขนมข้าวเบียง ส่วนภาษามอญเรียกขนมนี้ว่ากวาญย์คะเปียง การทำขนมชนิดนี้จะนำข้าวเหนียวมาตำในครกตำข้าว ขณะตำจะโรยงาคั่ว เหยาะน้ำเกลือ ตำให้แหลกเหนียวเป็นเนื้อเดียวกัน ตักขึ้นมาแบ่งเป็นชิ้น จิ้มน้ำผึ้งหรือน้ำตาลทราย ทางจังหวัดอุทัยธานีจะทำขนมนี้ให้มีไส้หวานอยู่ข้างใน ขนมแดกงาทางภาคกลางนั้น ทางภาคเหนือเรียกข้าวหนุกงา นำข้าวเหนียวนึ่งร้อนๆเคล้ากับเม็ดงาขี้ม้อนคั่ว ให้เม็ดงาติดข้าวเหนียวจนทั่ว แล้วนำมารับประทาน.

ใหม่!!: ขนมไทยและขนมแดกงา · ดูเพิ่มเติม »

ขนมเบื้อง

นมเบื้องไทย ขนมเบื้องเป็นขนมไทยที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ มีลักษณะเป็นแผ่นแป้ง มีไส้รสต่างๆ มีหลักฐานกล่าวถึงในคำให้การขุนหลวงหาวัดว่า "บ้านหม้อปั้นหม้อข้าวหม้อแกงใหญ่เล็ก และกระทะเตาขนมครกขนมเบื้อง" ขนมเบื้องมีหลายแ.

ใหม่!!: ขนมไทยและขนมเบื้อง · ดูเพิ่มเติม »

ขนมเกสรลำเจียก

นมเกสรลำเจียก เป็นขนมพื้นบ้านที่เป็นเอกลักษณ์ ของจังหวัดอ่างทอง โดยทำจากแป้งข้าวเหนียวผสมน้ำกะทิ ร่อนผ่านตะแรงลงในกะทะร้อนๆ เป็นแผ่นบาง ม้วนใส่ไส้มะพร้าวขูด กวนกับน้ำตาล ต้องรับประทานตอนร้อนๆ เนื้อแป้งจะนุ่มลิ้น รสชาติหวาน หอมกลิ่นใบเต.

ใหม่!!: ขนมไทยและขนมเกสรลำเจียก · ดูเพิ่มเติม »

ขนมเทียน

'''ขนมเทียน''' หรือ ขนมนมสาว ทางภาคเหนือเรียกว่า ขนมจ็อก ซึ่งเป็นขนมที่นิยมใช้ในงานบุญ โดยเฉพาะเทศกาลสงกรานต์ แต่เดิมมีไส้มะพร้าวและไส้ถั่วเขียว แต่ในปัจจุบันมีการดัดแปลงไส้ออกไปหลากหลายมาก ชาวจีนใช้ขนมเทียนในการไหว้บรรพบุรุษช่วงวันตรุษและวันสารท ไส้เป็นถั่วเขียวกวนบด ถ้าแบบเค็มจะใส่พริกไทยและเกลือ แบบหวานใส่มะพร้าวและน้ำตาลลงไปเพิ่ม ถ้าตัวแป้งทำด้วยแป้งถั่วเรียกขนมเทียนแก้ว ในพิธีกรรมของชาวชอง จะใช้ขนมเทียนในพิธีไหว้ผีหิ้งด้วย ขนมเทียน.

ใหม่!!: ขนมไทยและขนมเทียน · ดูเพิ่มเติม »

ขนมเขียว

นมเขียว เป็นขนมพื้นบ้านของจังหวัดปราจีนบุรี ต้นกำเนิดอยู่ที่อำเภอนาดี เป็นขนมลูกผสมระหว่างข้าวเกรียบปากหม้อกับขนมถั่วแปบ เปลือกที่ใช้ห่อข้างนอกใช้แป้งข้าวเจ้าที่เป็นแป้งโม่ โดยผสมข้าวเจ้าแข็ง น้ำปูนใส ใบเตยสับนำไปโม่ด้วยเครื่องโม่จนได้น้ำแป้งสีเขียว นำไปผสมกับแป้งข้าวเจ้าชนิดและแป้งมัน นำไปละเลงบนผ้าขาวบางที่คลุมอยู่บนปากหม้อที่ตั้งน้ำไว้จนเดือด พอสุกแคะใส่จาน ตักไส้ที่ประกอบด้วยถั่วเหลือง มะพร้าวขูด น้ำตาลทราย และเกลือ พับครึ่ง ตักใส่จาน ขนมนี้ต่างจากข้าวเกรียบปากหม้อที่ไม่ต้องกินกับผัก และไม่ต้องกินกับน้ำตาลทรายโรยเกลือเหมือนขนมถั่วแป.

ใหม่!!: ขนมไทยและขนมเขียว · ดูเพิ่มเติม »

ขนมเปี๊ยะ

นมเปี๊ยะ เป็นขนมที่มักใช้ประกอบในเทศกาลขนมไหว้พระจันทร์ของชาวจีน ซึ่งความหมายของขนมเปี๊ยะในเทศกาลนี้คือ เป็นขนมแห่งความศิริมงคล สื่อถึงความปรารถนาดีระหว่างผู้รับกับผู้ให้ พร้อมทั้งยังเป็นขนมที่แสดงถึงความสามัคคีกัน เพราะเทศกาลไหว้พระจันทร์ ชาวจีนส่วนใหญ่มักอยู่พร้อมหน้ากันทั้งครอบครัว เพื่อชมพระจันทร์พร้อมทั้งกินขนมเปี๊ยะไปด้วย ปัจจุบันขนมเปี๊ยะในประเทศไทยนั้นมีหลากหลายขนาดละหลากหลายรสชาติตามแต่สูตรเฉพาะของแต่ละพื้นที่บ้างก็เป็นขนมเปี๊ยะแบบดั้งเดิมที่มีขนาดใหญ่ไส้ถั่ว ไส้เค็มและไส้ฟักหวาน แต่ก็มีขนมเปี๊ยะอีกชนิดหนึ่งนั้นคือขนมเปี๊ยะลูกเล็กที่ได้รับความนิยิมไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันเนื่องจากมีขนาดที่เหมาะพอดีคำและยังสามารถบริโภคได้หลากหลายไส้ในครั้งเดียว.

ใหม่!!: ขนมไทยและขนมเปี๊ยะ · ดูเพิ่มเติม »

ข้าวหลาม

้าวหลาม ข้าวหลาม เป็นขนมชนิดหนึ่งนิยมทำรับประทานกันในฤดูหนาว หรือเมื่อได้ข้าวใหม่ ใช้ไผ่ข้าวหลาม หรือไม้ป้างเป็นกระบอกใส่ข้าวหลาม ข้าวหลามแบบชาวบ้าน ใช้ข้าวสารเหนียวกับน้ำเปล่า และเกลือเท่านั้น สำหรับข้าวหลามที่ทำขายกันโดยทั่วไป จะใส่น้ำกะทิ และเติมถั่วดำ หรืองาขี้ม้อน การทำข้าวหลามตามประเพณีนิยมของชาวล้านนาจะเพื่อถวายพระในวันเพ็ญเดือนสี่ หรือประมาณเดือนมกราคม ซึ่งเป็นการทานร่วมกับการทานข้าวจี่ และข้าวล้นบาตร เดิมทีจะใช้กระบอกไม้ไผ่ในการหุงข้าวด้วย ข้าวที่ได้จะมีลักษณะเป็นทรงกระบอก เชื่อมกันด้วยเยื่อไผ่ทำให้เป็นรูปทรงสวยงาม แต่ในปัจจุบันนี้ นิยมนำมารับประทานเป็นขนมหวาน โดยมีส่วนผสมคือ ข้าวเหนียว,กะทิ และบางตำราจะมีการใส่ถั่วดำด้ว.

ใหม่!!: ขนมไทยและข้าวหลาม · ดูเพิ่มเติม »

ข้าวจี่

้าวจี่ เป็นขนมพื้นบ้านของภาคอีสาน ทำจากข้าวเหนียวนึ่งทาเกลือ ปั้นเป็นรูปกลมหรือรีเสียบไม้นำไปย่างบนเตาถ่าน ไฟอ่อนพอเกรียมนำมาชุบไข่ แล้วนำไปย่างใหม่จนเหลือง ดึงไม้ที่เสียบไว้ออก ยัดน้ำตาลอ้อยเข้าไปแทน น้ำตาลจะละลายเป็นไส้ และนิยมทำกันมากในช่วงเดือนสามของทุกปี ซึ่งจะมีการทำข้าวจี่ไปทำบุญในงานประเพณีบุญข้าวจี่ อาจเป็นเพราะข้าวเหนียวจะเสียเร็วในตอนกลางวัน สมัยก่อนข้าวเหนียวจึงถูกทำเป็นข้าวจี่แล้วห่อใบตองไปกินเป็นอาหารตอนทำนาหรือเดินทางไกล เพราะสามารถเก็บได้นานขึ้น ทางภาคเหนือ มีข้าวจี่เช่นเดียวกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพียงแต่จะเพิ่มกะทิเข้ามาด้วย เดือนสี่ทางเหนือซึ่งตรงกับราว ๆ เดือนมกราคมของภาคกลาง (การนับเดือนของทางเหนือจะเร็วกว่าภาคกลาง 2 เดือน) จะนำข้าวจี่กับข้าวหลามไปทำบุญตักบาตร เรียกว่า บุญข้าวจี่ข้าวหลาม ข้าวจี่อีกชนิดหนึ่งของทางภาคเหนือ เป็นการอุ่นข้าวเหนียวเปล่า มักจะทำกินกันตอนน้ำท่วม โดยการนำข้าวเหนียวสุกที่เหลือจากมื้อก่อนหน้า (เรียกว่า ข้าวเย็น) มาเสียบไม้ ปั้นแผ่ให้บาง ปิ้งไฟพอเกรียมนิดหน่อยให้อุ่นหอม นิยมกินกับปลากระดี่ที่ควักไส้แล้วเสียบไม้ตากแห้ง (เรียกว่า ฮ้าแห้ง หรือ ปลาร้าแห้ง) ปิ้งไฟให้กรอบเกรียม นำมาโขลกป่นให้ละเอียด ผสมเกลือป่นเล็กน้อย หากเป็นเกลือเม็ดก็โขลกให้ป่นพร้อมปลาไปเลย เก็บใส่กระปุกไว้เป็นกับข้าวได้นาน การจี่ในภาษาเหนือจะไม่เหมือนกับภาษากลาง ซึ่งแบบภาคกลางจะหมายถึงการนาบอาหารกับกระทะ ในภาษาเหนือจะเรียก นาบ ประเทศลาวก็มีอาหารที่เรียกว่าข้าวจี่เช่นกัน ที่หลวงพระบางข้าวจี่คือขนมปังแท่งยาว ๆ แบบฝรั่งเศส นำมาผ่าซีก เสร็จแล้วนำไปใส่เครื่องเคียงต่าง ๆ เช่น แตงกวา ไข่เจียวตัดเป็นเส้น ๆ หมูยอ หมูหย็อง (คนลาวเรียกหมูฝอย) และปรุงรสด้วยซอสมะเขือเทศ ข้าวจี่ของลาวจะต่างจากข้าวจี่ทางภาคเหนือและอีสานของไท.

ใหม่!!: ขนมไทยและข้าวจี่ · ดูเพิ่มเติม »

ข้าวต้มมัด

อีบอส ขนมของฟิลิปปินส์ที่คล้ายข้าวต้มมัดของไทย ข้าวต้มมัดไส้กล้วย หรือ ข้าวต้มกล้วย ข้าวต้มมัด หรือ ข้าวต้มผัด เป็นขนมชนิดหนึ่งที่ทำด้วยข้าวเหนียวผัดกับกะทิ แล้วนำไปห่อด้วยใบตองหรือใบมะพร้าวอ่อน ใส่ไส้กล้วย นำไปนึ่งให้สุก ทางภาคใต้ใช้ข้าวเหนียวกับน้ำกะทิ ห่อด้วยใบพ้อ เรียกห่อต้ม ถ้าห่อด้วยใบมะพร้าว และมัดด้วยเชือกเรียกห่อมัด ขนมแบบเดียวกับข้าวต้มยังพบในประเทศอื่นอีก เช่นในฟิลิปปินส์เรียก อีบอส หรือ ซูมัน ที่แบ่งย่อยได้หลายชนิดเช่นเดียวกับข้าวต้มมัดของไทย ข้าวต้มมัดอีกชนิดหนึ่งเรียก ข้าวต้มลูกโยน เป็นขนมที่ใช้ในเทศกาลออกพรรษา ห่อด้วยใบพ้อหรือยอดมะพร้าวเป็นรูปรี ข้างในเป็นข้าวเหนียวผสมถั่วดำไม่มีไส้ ผูกเข้าด้วยกันเป็นพวงแล้วนำไปต้ม ส่วน ข้าวต้มมัดไต้ เป็นข้าวต้มที่ห่อแล้วมัดให้มีลักษณะเหมือนไต้ที่ใช้จุดไฟ ไส้เป็นถั่วทองโขลกกับรากผักชี กระเทียม พริกไทย ใส่หมู มันหมู ปรุงรสด้วยเกลือ น้ำ น้ำตาลทราย ห่อด้วยใบตองเป็นแท่ง มัดเป็นเปลาะ 4-5 เปลาะ แล้วนำไปต้ม บางท้องที่ใช้เป็นขนมไหว้เจ้าในเทศกาลตรุษจีนและสารทจีนด้วย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเรียกข้าวต้มมัดว่า ข้าวต้มกล้วย ใช้ข้าวเหนียวดิบมาห่อ ปรุงรสด้วยเกลือนิดหน่อย ใส่ถั่วลิสงต้มสุกเคล้าให้เข้ากันแล้วจึงห่อเป็นมัด ใส่ไส้กล้วย เอาไปต้มให้สุก ถ้าเป็นแบบผัด จะผัดข้าวเหนียวกับกะทิก่อนแล้วจึงห่อใส่ไส้กล้วย แล้วต้มให้สุก ถ้าต้องการหวานจะเอามาจิ้มน้ำตาล ส่วนทางภาคเหนือนิยมนำข้าวต้มมัดที่สุกแล้วมาหั่นเป็นชิ้นๆ คลุกกับมะพร้าวขูด โรยน้ำตาลทราย เรียก ข้าวต้มหัวหงอก ในประเทศลาวมีข้าวต้มมัดเช่นเดียวกันเรียกว่า "เข้าต้ม" ไส้เค็มใส่มันหมูกับถั่วเขียว ไส้หวานใส่กล้วย ข้าวต้มมัดทางภาคใต้ไม่มีไส้ เป็นข้าวเหนียวผัดกับกะทิ ใส่ถั่วขาว ไม่นิยมใช้ถั่วดำ ออกรสเค็มเป็นหลัก ถ้าต้องการให้มีรสหวานจะเอาไปจิ้มน้ำตาล เส้นทางขนมไท.

ใหม่!!: ขนมไทยและข้าวต้มมัด · ดูเพิ่มเติม »

ข้าวโพด

ลักษณะของข้าวโพด ''Zea mays "fraise"'' ''Zea mays "Oaxacan Green"'' ''Zea mays "Ottofile giallo Tortonese”'' ข้าวโพด (Linn.) ชื่ออื่นๆ ข้าวสาลี สาลี (เหนือ) คง (กระบี่) โพด (ใต้) บือเคเส่ะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) เป็นพืชตระกูลเดียวกับหญ้ามีลำต้นสูง โดยเฉลี่ย 2.2 เมตร ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของลำต้น 0.5-2.0 นิ้ว เมล็ดจากฝักใช้เป็นอาหารคนและสัตว.

ใหม่!!: ขนมไทยและข้าวโพด · ดูเพิ่มเติม »

ข้าวโป่ง

้าวโป่ง ข้าวโป่ง เป็นขนมพื้นบ้านภาคอีสาน นิยมในฤดูหนาวหลังจากเกี่ยวข้าวแล้ว การทำเริ่มจากนำข้าวเหนียวที่นึ่งสุกแล้วไปตำด้วยครกมอง เมื่อละเอียดแล้วจะเอาใบตดหมูตดหมาหรือย่านพาโหมขยี้กับน้ำแล้วสลัดใส่ครก เพื่อให้ข้าวเหนียวจับตัวกันดี นำน้ำอ้อยโขลกแล้วตำผสมลงในครกจนเหนียวได้ที่ นำน้ำมันหมูทามือแล้วปั้นข้าวเหนียวเป็นก้อนผสมกับไข่แดง กดก้อนข้าวเหนียวที่ปั้นให้เป็นแผ่นบางๆ แล้ววางบนใบตองที่ทาน้ำมันหมูแล้ว ตากแดดให้แห้ง เมื่อจะรับประทานจึงเอามาปิ้งให้สุก ทางภาคเหนือมีขนมชนิดนี้เช่นกันแต่เรียกข้าวปองหรือข้าวคว.

ใหม่!!: ขนมไทยและข้าวโป่ง · ดูเพิ่มเติม »

ข้าวเม่า

้าวเม่า ข้าวเม่า ได้มาจากรวงข้าวสีเขียวไล่มาจนถึงสีเขียวตกน้ำตาล การบริโภคข้าวเม่าพบในทุกประเทศที่ปลูกข้าว ตั้งแต่ไทยลาว กัมพูชา เวียดนาม พม่า ภูฏาน อินเดีย ทิเบต ในภูฏานใช้เป็นอาหารว่างกินกับน้ำชา เส้นทางขนมไท.

ใหม่!!: ขนมไทยและข้าวเม่า · ดูเพิ่มเติม »

ครั่ง

รั่ง (Lac) คือแมลงจำพวกเพลี้ยหลายชนิดที่อยู่ในวงศ์ Kerridae อาทิ Laccifer lacca ถือว่าเป็นแมลงที่เป็นศัตรูต่อพืชตามธรรมชาติ ที่จะใช้งวงปากเจาะเพื่อดูดน้ำเลี้ยงของต้นไม้ ประเภทไม้เนื้อแข็ง แต่ว่ากลับเป็นแมลงที่มีประโยชน์ต่อมนุษย์เป็นอย่างมากนับจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ครั่งจะขับสารชนิดหนึ่งซึ่งมีลักษณะเป็นเหมือนยางหรือชันออกมาไว้ป้องกันตัวเองจากศัตรู ซึ่งสารที่ขับถ่ายออกมานี้เรียกว่า "ครั่งดิบ" ตามชื่อเรียก สารนี้มีสีแดงม่วง ลักษณะคล้ายขี้ผึ้งสีเหลืองแก่ หรือยางสีส้ม ซึ่งมนุษย์ได้นำมาใช้ประโยชน์กันมานานกว่า 4,000 ปี แล้วในหลายอารยธรรม โดยใช้เป็นสมุนไพร เป็นยารักษาโรคโลหิตจาง, โรคลมขัดข้อ เป็นต้น นอกจากนี้ยังนำไปใช้ในอุตสาหกรรมการทำเชลแล็ก, แลกเกอร์, เครื่องใช้, เครื่องประดับต่าง ๆ, ย้อมสีผ้า สีโลหะ หรือผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ตลอดจนใช้ประทับในการไปรษณีย์ขนส่งหรือตราประทับเอกสารทางราชการใด ๆ ปัจจุบันครั่งเป็นสินค้าออกที่สำคัญของหลาย ๆ ประเทศ อาทิ อินเดีย, ไทย ซึ่งมีการเลี้ยงในเชิงเกษตร มีราคาขายที่แพงมาก.

ใหม่!!: ขนมไทยและครั่ง · ดูเพิ่มเติม »

ฆานม

นม เป็นขนมพื้นบ้านของชาวไทยมุสลิมนิยมใช้ในพิธีเข้าสุหนัต ขึ้นบ้านใหม่ แต่งงาน หรือนำเรือใหม่ลงน้ำ ประกอบด้วย ข้าวเจ้า ข้าวเหนียว ขิง หอม ขมิ้น กะทิ ไข่ไก่ บดผสมกันจนละเอียด ผสมกับน้ำพอควรแล้วเอาไปทอด รูปร่างคล้ายขนมฝักบัวของภาคกลาง รับประทานกับน้ำตาลเหลว.

ใหม่!!: ขนมไทยและฆานม · ดูเพิ่มเติม »

ตาล

ตาล หรือ ตาลโตนด หรือ โหนด ในภาษาใต้ เป็นพันธุ์ไม้พวกปาล์มขนาดใหญ่ สกุล Borassus ในวงศ์ปาล์ม (Arecaceae) เป็นปาล์มที่แข็งแรงมากชนิดหนึ่ง และเป็นปาล์มที่แยกเพศกันอยู่คนละต้น ต้นสูงถึง 40 เมตร และโตวัดผ่ากลางประมาณ 60 เซนติเมตร ลำต้นเป็นเสี้ยนสีดำแข็งมาก แต่ไส้กลางลำต้นอ่อน บริเวณโคนต้นจะมีรากเป็นกลุ่มใหญ่ ใบเหมือนพัดขนาดใหญ่ กว้าง 1 – 1.5 เมตร มีก้านเป็นทางยาว 1 – 2 เมตร ขอบของทางของก้านทั้งสองข้าง มีหนามเหมือนฟันเลื่อยสีดำแข็ง ๆ และคมมาก โคนก้านแยกออกจากกันคล้ายคีมเหล็กโอบหุ้มลำต้นไว้ ช่อดอกเพศผู้ใหญ่ รวมกันเป็นกลุ่มคล้ายนิ้วมือ เรียกว่านิ้วตาลแต่ละนิ้วยาวประมาณ 40 เซนติเมตร และโตวัดผ่า กลางประมาณ 1.5 – 2 เซนติเมตร โคนกลุ่มช่อจะมีก้าน ช่อรวมและมีกาบแข็ง ๆ หลายกาบหุ้มโคนก้านช่ออีกทีหนึ่ง ช่อดอกเพศเมียก็คล้าย ๆ กัน แต่นิ้วจะเป็นปุ่มปม ปุ่มปมคือดอกที่ติดนิ้วตาล ดอกหนึ่ง ๆ โตวัดผ่ากลางประมาณ 2 เซนติเมตร และมีกาบแข็ง ๆ หุ้ม แต่ละดอก กาบนี้จะเติบโตไปเป็นหัวจุกลูกตาลอีกทีหนึ่ง ผลกลมหรือรูปทรงกระบอกสั้น ๆ โตวัดผ่ากลางประมาณ 15 เซนติเมตร ผลเป็นเส้นใยแข็งเป็นมัน มักมีสีเหลืองแกมดำคล้ำเป็นมันหุ้มห่อเนื้อเยื่อสีเหลืองไว้ภายใน ผลหนึ่ง ๆ จะมีเมล็ดใหญ่แข็ง 1 – 3 เมล็.

ใหม่!!: ขนมไทยและตาล · ดูเพิ่มเติม »

ซ่าหริ่ม

ซ่าหริ่มเป็นขนมไทยประเภทหนึ่งมีลักษณะเป็นเส้นที่มักมีหลายสีและรับประทานกับน้ำกะทิโดยมีรสชาติหอมมันและมีกลิ่นใบเตยอีกด้วย ซ่าหริ่มมีขายอยู่ตามตลาดทั่วไปในประเทศไทยและเป็นที่นิยมเป็นอย่างมาก มักรับประทานโดยเติมน้ำเชื่อมและน้ำแข็ง ส่วนผสมสำคัญของซ่าหริ่มจะมีแป้งถั่วเขียว น้ำลอยดอกมะลิ น้ำตาลทราย น้ำใบเตยคั้น และน้ำกะทิ ในช่วงวิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2548–2553 ได้มีการเปรียบเทียบกลุ่มเสื้อหลากสีเป็นซ่าหริ่มเพราะซ่าหริ่มมีหลายสี.

ใหม่!!: ขนมไทยและซ่าหริ่ม · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศโปรตุเกส

ปราสาทแห่งกีมารานช์ (Castle of Guimarães) ที่ถูกสร้างขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 10 ถือเป็นสัญลักษณ์ประจำชาติของประเทศโปรตุเกส เรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่า "ต้นกำเนิดของโปรตุเกส" ศึกแห่งเซามาเมเด (São Mamede) เกิดขึ้นใกล้ๆ กับที่นี่ในปี พ.ศ. 1671 โปรตุเกส (Portugal ปุรตุกาล) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐโปรตุเกส (República Portuguesa) เป็นสาธารณรัฐซึ่งมีระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย ตั้งอยู่ในภาคตะวันตกและตะวันตกเฉียงใต้ของคาบสมุทรไอบีเรียทางตอนใต้ของทวีปยุโรป และถือว่าเป็นประเทศที่อยู่ทางทิศตะวันตกมากที่สุดในบรรดาประเทศในทวีปยุโรปทั้งหลาย (ยกเว้นหมู่เกาะบริเตนใหญ่และหมู่เกาะใกล้เคียง) โปรตุเกสมีพรมแดนติดกับประเทศสเปนในทางทิศเหนือและทิศตะวันออก และอยู่ติดกับมหาสมุทรแอตแลนติกในทางทิศตะวันตกและทิศใต้ นอกจากนี้ โปรตุเกสยังประกอบไปด้วยอาณาเขตหมู่เกาะอยู่หลายหมู่เกาะด้วยกันในมหาสมุทรแอตแลนติก อาทิเช่น อะโซร์ส (Azores หรือ Açores) และเกาะมาเดราและโปร์ตูซันตู (รวมถึงหมู่เกาะซาเวจด้วย).

ใหม่!!: ขนมไทยและประเทศโปรตุเกส · ดูเพิ่มเติม »

แกงบวด

แกงบวด เป็นของหวานของไทยจำพวกหนึ่งที่ใช้ผลไม้จำพวก เผือก มัน ฟักทองมาต้มกับน้ำตาลและกะทิ หมวดหมู่:อาหารประเภทแกง.

ใหม่!!: ขนมไทยและแกงบวด · ดูเพิ่มเติม »

แป้งมันสำปะหลัง

https://www.bigtree15.com/ แป้งมันสำปะหลัง(Tapioca Starch) สำปะหลัง เป็นแป้งที่ได้จากมันสำปะหลัง ลักษณะของแป้งมีสีขาว เนื้อเนียน ลื่นเป็นมัน เมื่อทำให้สุกด้วยการกวนกับน้ำไฟอ่อนปานกลาง แป้งจะละลายง่าย สุกง่าย แป้งเหนียวติดภาชนะ หนืดข้นขึ้นเรื่อยๆ ไม่มีการรวมตัวเป็นก้อน เหนียวเป็นใย ติดกันหมด เนื้อแป้งใสเป็นเงา พอเย็นแล้วจะติดกันเป็นก้อนเหนียว ติดภาชนะ ใช้ทำลอดช่องสิงคโปร์ ครองแครงแก้ว เป็นต้น.

ใหม่!!: ขนมไทยและแป้งมันสำปะหลัง · ดูเพิ่มเติม »

แป้งสาลี

แป้งสาลี เป็นผงที่มนุษย์ใช้บริโภค ทำจากการบดข้าวสาลี แป้งสาลีเป็นแป้งประกอบอาหารที่ผลิตมากที่สุด ข้าวสาลีมีหลายประเภทตามปริมาณกลูเตน ข้าวสาลีแข็งหรือข้าวสาลีขนมปัง มีปริมาณกลูเตนสูง ระหว่าง 12% ถึง 14% และมีความเหนียวยืดหยุ่นที่รักษารูปทรงได้ดีเมื่ออบ แป้งอ่อนมีกลูเตนค่อนข้างต่ำ จึงให้เนื้อที่ละเอียดหรือร่วนกว่า แป้งอ่อนตามปกติแบ่งได้เป็นแป้งเค้ก ซึ่งมีปริมาณกลูเตนต่ำสุด และแป้งพาสต้า ซึ่งมีกลูเตนมากกว่าแป้งเค้กเล็กน้อย ในศัพท์ส่วนประกอบของธัญพืชที่ใช้ในแป้ง เอนโดสเปิร์ม หรือส่วนโปรตีน/แป้ง จมูก (germ) หรือส่วนที่อุดมด้วยโปรตีน/ไขมัน/วิตามิน และส่วนรำข้าวหรือเส้นใย เป็นแป้งสามประเภททั่วไป แป้งขาวผลิตจากเอนโดสเปิร์มอย่างเดียว ธัญพืชเต็มเมล็ดผลิตจากธัญพืชทั้งเมล็ด ทั้งรำข้าว เอนโดสเปิร์ม และจมูก แป้งเมล็ดผลิตจากเอนโดสเปิร์มและจมูก.

ใหม่!!: ขนมไทยและแป้งสาลี · ดูเพิ่มเติม »

แป้งข้าวเหนียว

แป้งข้าวเหนียวเป็นแป้งที่ได้จากข้าวเหนียว ในสมัยก่อนได้แป้งโม่ ปัจจุบันนิยมใช้แป้งแห้ง ลักษณะของผงแป้งข้าวเหนียวมีสีขาวนวล สากมือน้อยกว่าแป้งข้าวเจ้า ขนมที่ทำจากแป้งข้าวเหนียวมีความเหนียวนุ่ม เช่น ขนมถั่วแปบ แป้งจี่ ขนมโค ขนมโก๋ไทย ขนมต้ม ขนมบ้าบิ่น ข้าวเหนียวตัด บัวลอย ขนมเทียน ขนมเข่ง ข้าวเหนียวเปียก ขนมหัวล้าน เป็นต้น ถ้าไม่ต้องการให้ขนมเหนียวเกินไป จะผสมแป้งข้าวเจ้าลงไปด้ว.

ใหม่!!: ขนมไทยและแป้งข้าวเหนียว · ดูเพิ่มเติม »

แป้งข้าวเจ้า

แป้งข้าวเจ้า หรือ แป้งญวน เป็นแป้งที่ทำมาจากข้าว เป็นแป้งที่ใช้มากที่สุดในการทำขนมไทย ในสมัยก่อนใช้แป้งสดที่โม่จากข้าวสารแช่น้ำค้างคืน นำแป้งที่ได้จากการโม่มาทับน้ำออก ก็จะได้แป้งที่พร้อมนำไปทำขนม ปัจจุบันนิยมใช้แป้งแห้งที่ผลิตจากโรงงาน เนื้อแป้งข้าวเจ้ามีลักษณะสากมือ เป็นผงหยาบกว่าแป้งสาลี.

ใหม่!!: ขนมไทยและแป้งข้าวเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

โมจิ

''คิริโมจิ'' (切り餅) หรือ ''คากูโมจิ'' (角餅) กระบวนการผลิตโมจิด้วยอุปกรณ์สมัยใหม่ โมจิ เป็นอาหารชนิดหนึ่งของญี่ปุ่นที่ทำจากข้าวเหนียว ตัดเป็นก้อน สามารถนำมาไปประยุกต์ทำขนมได้หลายชน.

ใหม่!!: ขนมไทยและโมจิ · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าพระยาวิชเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน)

้าพระยาวิชเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน) (Κωνσταντίνος Γεράκης, กอนสตันตีโนส เยราจิส; Constantine Phaulkon) เป็นนักผจญภัยชาวกรีก ผู้กลายมาเป็นสมุหนายกในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยา นอกจากภาษากรีกซึ่งเป็นภาษาแม่แล้ว ฟอลคอนยังสามารถพูดภาษาต่าง ๆ มากมาย ได้แก่ ภาษาไทย, ภาษาอังกฤษ, ภาษาฝรั่งเศส, ภาษาโปรตุเกส และภาษามลายู.

ใหม่!!: ขนมไทยและเจ้าพระยาวิชเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน) · ดูเพิ่มเติม »

เทียนอบ

ทียนอบ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้อบขนมไทยให้มีกลิ่นหอม ในสมัยก่อนใช้ขี้ผึ้งแท้ โรยกำยานแล้วเคล้าขี้ผึ้งกับกำยานให้เข้ากัน นำไปตากแดดแล้วนำเทียนมาแผ่เป็นแผ่น วางไส้ตรงกลาง จากนั้นจึงขดตัวเทียนเป็นรูปคล้ายกิ้งกือ ในปัจจุบัน ส่วนใหญ่จะผสมขี้ผึ้งเทียนหรือพาราฟิน เพื่อให้เทียนอยู่ตัวง่าย รูปร่างเป็นโค้งงอ ดัดปลายเข้าหากัน บางแห่งเพิ่มเครื่องหอมเข้าไปในตัวเทียน เช่น ผิวมะกรูดหั่นฝอย น้ำตาลทรายแดง เปลือกชะลูดบด พิมเสน น้ำมันจันทน.

ใหม่!!: ขนมไทยและเทียนอบ · ดูเพิ่มเติม »

เขตธนบุรี

ตธนบุรี เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงธนเหนือ ซึ่งถือเป็นเขตอนุรักษ์เมืองเก่า แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมทางฝั่งธนบุรี.

ใหม่!!: ขนมไทยและเขตธนบุรี · ดูเพิ่มเติม »

เขตปทุมวัน

ตปทุมวัน เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพใต้ ซึ่งถือเป็นเขตศูนย์กลางธุรกิจ การค้า การบริการ การพยาบาล วัฒนธรรม การศึกษา และการทูต เป็นเขตหนึ่งที่มีที่ตั้งอยู่บริเวณใจกลางที่สุดของกรุงเทพมหานครและที่มีการคมนาคมหลากหลายช่องทาง.

ใหม่!!: ขนมไทยและเขตปทุมวัน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ขนมหวานไทยเครื่องหวาน

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »