โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ความงมงาย

ดัชนี ความงมงาย

ความเชื่อโชคลาง คือกลุ่มของพฤติกรรมและความเชื่อเกี่ยวข้อกับการคิดเชิงไสยศาสตร์ ที่ผู้ฝึกฝนเชื่อว่าอนาคตหรือผลลัพธ์ของเหตุการณ์บางอย่าง สามารถถูกดลบันดาลให้เป็นไปได้ด้วยพฤติกรรมที่กำหนด แนวคิดเกี่ยวกับ "โชคดี" และ "โชคร้าย" ก่อให้เกิดความเชื่อโชคลางมากมาย เช่น ความเชื่อที่ว่าถ้าจิ้งจกร้องทักก่อนเดินทางออกจากบ้านจะมีโชคร้าย เป็นต้น โดยทั่วไปแล้ว ความเชื่อเกี่ยวกับโชคลาง สามารถอธิบายได้โดยใช้คำศัพท์ทางศาสนา ซึ่งทำให้นักกังขาคติหลายคนให้ความเห็นว่าทุกศาสนาคือความเชื่อโชคลางทั้งสิ้น โดยนิยามความเชื่อโชคลางนั้นจะไม่วางอยู่บนฐานของเหตุผล ความเชื่อหลายความเชื่อเกิดจากความเข้าใจผิดเกี่ยวกับความเป็นเหตุเป็นผล หรือสถิติ ความเชื่ออีกจำนวนมากเกิดจากความกลัว ที่แสดงออกในรูปของความเชื่อทางศาสนา, ความเชื่อในเหตุการณ์เหนือจริง, การยื่นมือเข้ามาเกี่ยวข้องของสิ่งเหนือธรรมชาติ การปรากฏขึ้นของภูตผี หรือความมีประสิทธิภาพของเวทมนตร์คาถา การปลุกเสก การเชื่อในลางบอกเหตุ และการบอกเหตุล่วงหน้า ทุกอย่างที่กล่าวมาข้างต้นทำให้เกิดความกลัวที่ไม่มีหลักเกณฑ์ หรือการยึดถือหลักทางศีลธรรมอย่างเคร่งครัดจนเกินไป ความเชื่อโชคลางยังถูกใช้เพื่อหมายถึงระบบความเชื่อพื้นบ้าน ในความหมายที่แตกต่างกับความเชื่ออื่นๆ เกี่ยวกับโลกทางวิญญาณของศาสนา และในความหมายที่แตกต่างกับวิทยาศาสตร์ หมวดหมู่:ไสยศาสตร์.

12 ความสัมพันธ์: พฤติกรรมการทำนายการปลุกเสกลางวิทยาศาสตร์ศาสนาสถิติศาสตร์อนาคตความกลัวความคิดเชิงไสยศาสตร์เหตุภาพเหตุผล

พฤติกรรม

ติกรรม หมายความถึง การแสดงและกิริยาท่าทางซึ่งสิ่งมีชีวิต ระบบหรืออัตลักษณ์ประดิษฐ์ ที่เกิดร่วมกันกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งรวมระบบอื่นหรือสิ่งมีชีวิตโดยรวมเช่นเดียวกับสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ พฤติกรรมเป็นการตอบสนองของระบบหรือสิ่งมีชีวิตต่อสิ่งเร้าหรือการรับเข้าทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นภายในหรือภายนอก มีสติหรือไม่มีสติระลึก ชัดเจนหรือแอบแฝง และโดยตั้งใจหรือไม่ได้ตั้งใ.

ใหม่!!: ความงมงายและพฤติกรรม · ดูเพิ่มเติม »

การทำนาย

การทำนาย หรือ การพยากรณ์ หรือ พยากรณศาสตร์ เป็นการใช้กรรมวิธีหรือขั้นตอนปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อให้ได้ข้อมูลสำหรับการบอกกล่าวถึงเรื่องราวหรือเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งรวมถึง การพยากรณ์อากาศ โหราศาสตร์ การพยากรณ์อนาคตด้วยเครืองมือต่างๆ เช่น ไพ่ยิปซี กราฟชีวิต อักษรรูน อี้จิง ฯลฯ เป็นต้น การทำนาย หมวดหมู่:อนาคตศึกษา หมวดหมู่:ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์.

ใหม่!!: ความงมงายและการทำนาย · ดูเพิ่มเติม »

การปลุกเสก

การปลุกเสก หมายถึง ร่ายมนตร์เพื่อทำให้ขลังหรือศักดิ์สิทธิ์ เช่น เสกน้ำมนต์ล้างหน้า เสกแป้งผัดหน้.

ใหม่!!: ความงมงายและการปลุกเสก · ดูเพิ่มเติม »

ลาง

ลาง (omen, portent หรือ presage) คือ "สิ่งหรือปรากฏการณ์ที่เชื่อกันว่าจะบอกเหตุดีหรือเหตุร้าย" ลางอาจถูกมองว่าดีหรือร้ายก็ได้ ขึ้นอยู่กับการตีความ สัญญาณเดียวกันอาจถูกตีความต่างกันในต่างวัฒนธรรม ตัวอย่างเช่น ความเชื่อโชคลางในสหรัฐอเมริกาและประเทศยุโรปอื่นชี้ว่า แมวดำเป็นลางบอกโชคร้าย ดาวหางมีทั้งตีความว่าเป็นลางดีและลางร้าย ตัวอย่างที่รู้จักกันดีที่สุดอาจเป็นดาวหางฮัลเลย์ ซึ่งเป็น "ลางร้าย" แก่พระเจ้าฮาโรลด์ที่ 2 แห่งอังกฤษ แต่เป็น "ลางดี" แก่พระเจ้าวิลเลียมผู้พิชิต.

ใหม่!!: ความงมงายและลาง · ดูเพิ่มเติม »

วิทยาศาสตร์

วิทยาศาสตร์ คำว่า "วิทยาศาสตร์" มักถูกใช้เพื่อแทนคำว่า "Science" ในภาษาอังกฤษ แต่ถ้าจะกล่าวให้ตรงความหมายแล้ว เราใช้คำว่า "วิทยาศาสตร์" เพื่อหมายถึง "Exact science" ซึ่งไม่รวมสาขาวิชาทางสังคมศาสตร์เอาไว้ แม้ว่าสาขาวิชาทางสังคมศาสตร์จะใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์เช่นเดียวกัน การแบ่งแยกดังกล่าวมีขึ้นเนื่องจากความแตกต่างในด้านเนื้อหาและธรรมชาติของการศึกษา มิใช่เรื่องของความจริงหรือความถูกต้องแต่อย่างใด คำว่า "Science" ในภาษาอังกฤษจะมีความหมายเทียบเท่ากับคำว่า "ศาสตร์" หมายถึง ความรู้เกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ ในธรรมชาติทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต รวมทั้งกระบวนการประมวลความรู้เชิงประจักษ์ ที่เรียกว่ากระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และกลุ่มขององค์ความรู้ที่ได้จากกระบวนการดังกล่าว การศึกษาในด้านวิทยาศาสตร์ยังถูกแบ่งย่อยออกเป็น วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ และ วิทยาศาสตร์ประยุกต์ คำว่า science ในภาษาอังกฤษ ซึ่งแปลว่า วิทยาศาสตร์นั้น มาจากภาษาลาติน คำว่า scientia ซึ่งหมายความว่า ความรู้ ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ฟรานซิส เบคอนได้พยายามคิดค้นวิธีมาตรฐานในการอุปนัย เพื่อนำมาใช้สร้างทฤษฎีหรือกฎต่าง ๆ ทางวิทยาศาสตร์จากข้อมูลที่ทดลองหรือสังเกตได้จากธรรมชาติ เป็นผู้ถอนรื้อและปรับปรุงแนวความคิดเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สมัยเก่า ที่ยึดกับแนวความคิดของอริสโตเติลทิ้งไป.

ใหม่!!: ความงมงายและวิทยาศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนา

ัญลักษณ์ของศาสนาต่าง ๆ ภาพศาสนพิธีในศาสนาต่าง ๆ ทั่วโลก ศาสนา (Religion) หมายถึง ลัทธิความเชื่อของมนุษย์ เกี่ยวกับการกำเนิดและสิ้นสุดของโลก หลักศีลธรรม ตลอดจนลัทธิพิธีที่กระทำตามความเชื่อนั้น ๆ หลายศาสนามีการบรรยาย สัญลักษณ์และประวัติศาสตร์ศักดิ์สิทธิ์ซึ่งเจตนาอธิบายความหมายของชีวิต และ/หรืออธิบายกำเนิดชีวิตหรือเอกภพ จากความเชื่อของศาสนาเกี่ยวกับจักรวาลและธรรมชาติมนุษย์ คนได้รับศีลธรรม จริยศาสตร์ กฎหมายศาสนาหรือวิถีชีวิตลำดับก่อน บางการประมาณว่า มีศาสนาราว 4,200 ศาสนาในโลก นอกจากนี้ ยังมีผู้ไม่นับถือศาสนาใด ๆ ซึ่งเรียกว่า ผู้ที่ไม่มีศาสน.

ใหม่!!: ความงมงายและศาสนา · ดูเพิ่มเติม »

สถิติศาสตร์

ติศาสตร์ (Statistic Science) เป็นการศึกษาการเก็บ การวิเคราะห์ การตีความ การนำเสนอและการจัดระเบียบข้อมูล ในการประยุกต์สถิติศาสตร์กับปัญหาทางวิทยาศาสตร์ อุตสาหกรรมหรือสังคม ฯลฯ จำเป็นต้องเริ่มด้วยประชากรหรือกระบวนการที่จะศึกษา ประชากรเป็นได้หลากหลาย เช่น "ทุกคนที่อาศัยอยู่ในประเทศหนึ่ง" หรือ "ทุกอะตอมซึ่งประกอบเป็นผลึก" สถิติศาสตร์ว่าด้วยทุกแง่มุมของข้อมูลซึ่งรวมการวางแผนการเก็บข้อมูลในแง่การออกแบบการสำรวจและการทดลอง ในกรณีไม่สามารถเก็บข้อมูลสำมะโนได้ นักสถิติศาสตร์เก็บข้อมูลโดยการพัฒนาการออกแบบการทดลองจำเพาะและตัวอย่างสำรวจ การชักตัวอย่างเพื่อเป็นตัวแทนประกันว่าการอนุมานและการสรุปสามารถขยายจากตัวอย่างไปยังประชากรโดยรวมได้โดยปลอดภัย การศึกษาทดลองเกี่ยวข้องกับการวัดระบบที่กำลังศึกษา จัดดำเนินการระบบ แล้ววัดเพิ่มโดยใช้วิธีดำเนินการเดียวกันเพื่อตัดสินว่าการจัดดำเนินการดัดแปรค่าของการวัดหรือไม่ ในทางกลับกัน การศึกษาสังเกตไม่เกี่ยวข้องกับการจัดดำเนินการทดลอง มีการใช้ระเบียบวิธีสถิติศาสตร์สองอย่างหลักในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติศาสตร์พรรณนา ซึ่งสรุปข้อมูลจากตัวอย่างโดยใช้ดัชนีอย่างค่าเฉลี่ยหรือค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติศาสตร์อนุมาน ซึ่งดึงข้อสรุปจากข้อมูลซึ่งมีการกระจายสุ่ม (เช่น ข้อผิดพลาดสังเกต การกระจายการชักตัวอย่าง) สถิติศาสตร์พรรณนาส่วนใหญ่ว่าด้วยชุดคุณสมบัติของการกระจายสองชุด ได้แก่ แนวโน้มสู่ส่วนกลางซึ่งมุ่งให้ลักษระค่ากลางหรือตรงแบบของการกระจาย ขณะที่การกระจายให้ลักษณะขอบเขตซึ่งสมาชิกของการกระจายอยู่ห่างจากส่วนกลางและสมาชิกอื่น การอนุมานสถิติศาสตร์คณิตศาสตร์กระทำภายใต้กรอบทฤษฎีความน่าจะเป็น ซึ่งว่าด้วยการวิเคราะห์ปรากฏการณ์สุ่ม ในการอนุมานปริมาณไม่ทราบค่า มีการประเมินค่าตัวประมาณค่าตั้งแต่หนึ่งตัวโดยใช้ตัวอย่าง 1.สถิติ (Statistics) 2.เซตและการให้เหตุผล (Set and reasoning) 3.

ใหม่!!: ความงมงายและสถิติศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

อนาคต

อนาคต คือสิ่งที่จะเกิดขึ้นในเวลาหลังจากปัจจุบัน การมาถึงของอนาคตเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เพราะเวลาและกฎของฟิสิกส์ เนื่องจากอนาคตมีธรรมชาติของความเป็นจริงและมีภาวะที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ทุกสิ่งที่มีอยู่ในขณะนี้และจะมีอยู่ต่อไปนั้น สามารถจัดว่าเป็นสิ่งถาวร หมายความว่ามันจะมีอยู่ตลอดไป หรือเป็นสิ่งชั่วคราว หมายความว่ามันจะสิ้นสุดลง อนาคตและมโนทัศน์ของนิรันดร์เป็นหัวข้อหลักของวิชาปรัชญา ศาสนา และวิทยาศาสตร์ และการนิยามนิรันดร์โดยไร้ข้อถกเถียงที่ผ่านมานั้นไม่เกี่ยวข้องกับความคิดของคนส่วนใหญ่ในมุมมองของวัฒนธรรมตะวันตก ซึ่งใช้มโนทัศน์เชิงเส้นเกี่ยวกับเวลา อนาคตเป็นส่วนหนึ่งของเส้นเวลาที่ยื่นออกไปที่ถูกคาดการณ์ว่าจะเกิดขึ้น ในทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ อนาคตถือว่าเป็นอนาคตสัมพัทธ์ หรือกรวยแสงอนาคต ในปรัชญาเวลา ทฤษฏีปัจจุบันเป็นความเชื่อว่ามีเฉพาะปัจจุบันเท่านั้นที่มีอยู่จริงและอนาคตกับอดีตถือว่าไม่มีจริง เมื่อพูดถึงประเด็นต่าง ๆ เช่น กรรม ชีวิตหลังความตาย และอวสานวิทยา ศาสนาหลายศาสนามองว่าอนาคตศึกษาเรื่องจุดจบของเวลาและลักษณะจุดจบของโลกเป็นอย่างไร บุคคลทางศาสนา เช่น ผู้เผยพระวจนะ และโหร อ้างว่ามองเห็นอนาคต ความพยายามที่จะทำนายหรือพยากรณ์อนาคตอาจมาจากการสังเกตวัตถุวิเศษของคนโบราณ.

ใหม่!!: ความงมงายและอนาคต · ดูเพิ่มเติม »

ความกลัว

ม่แน่นอน สีหน้าแสดงความกลัว จากหนังสือ ''The Expression of the Emotions in Man and Animals'' ของชาลส์ ดาร์วิน ความกลัว เป็นอารมณ์ที่เกิดจากการรับรู้ภัยคุกคามของสิ่งมีชีวิต ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสมองและการทำงานของอวัยวะ และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในที่สุด เช่น การวิ่งหนี การหลบซ่อน หรือการช็อคจากเหตุการณ์ที่ทำร้ายจิตใจ ความกลัวอาจเป็นการตอบสนองต่อตัวกระตุ้นที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ปัจจุบัน หรือในอนาคต ซึ่งรับรู้ว่าเป็นความเสี่ยงต่อสุขภาพหรือชีวิต สถานภาพ อำนาจ ความปลอดภัย หรือความมั่งคั่ง หรือสิ่งมีค่าใด ๆ การตอบสนองความกลัวเกิดขึ้นได้จากการรับรู้อันตรายที่นำไปสู่การเผชิญหน้าหรือการหลบหนีจากภัยคุกคาม ซึ่งในกรณีความกลัวสุดโต่ง อาจทำให้ช็อคหรือชาได้ ในมนุษย์และสัตว์ ความกลัวเกิดขึ้นจากกระบวนการประชานและเรียนรู้ ดังนั้นความกลัวจึงสามารถประเมินได้ว่ามีเหตุผลหรือเหมาะสม และไม่มีเหตุผลหรือไม่เหมาะสม ความกลัวที่ไม่มีเหตุผลเรียกว่า โรคกลัว (phobia) นักจิตวิทยาหลายคน เช่น จอห์น บี. วัตสัน โรเบิร์ต พลุตชิก และพอล เอ็กแมน แนะว่ามีอารมณ์พื้นฐานหรืออารมณ์ที่มีตั้งแต่เกิดอยู่จำนวนหนึ่ง หนึ่งในนั้นคือความกลัว กลุ่มความรู้สึกที่เป็นสมมุติฐานนี้รวมถึงอารมณ์ต่าง ๆ เช่น ความสุข ความเศร้า ความสยองขวัญ ความตื่นตระหนก ความกังวล ปฏิกิริยาเฉียบพลันต่อความเครียด และความโกรธ ความกลัวมีความหมายใกล้เคียงกับ "ความกังวล" แต่แตกต่างกัน โดยความกังวลเกิดขึ้นเป็นผลจากภัยคุกคามที่รับรู้ว่าควบคุมไม่ได้หรือหลีกเลี่ยงไม่ได้ การตอบสนองความกลัวเป็นการเอาตัวรอดโดยสร้างการตอบสนองพฤติกรรมที่เหมาะสม คงสภาพเช่นนี้ด้วยวิวัฒนาการ.

ใหม่!!: ความงมงายและความกลัว · ดูเพิ่มเติม »

ความคิดเชิงไสยศาสตร์

วามคิดเชิงไสยศาสตร์ (Magical thinking) หรือ ความคิดเชิงเวทมนตร์ เป็นการอ้างการกระทำหนึ่ง ๆ ว่าเป็นเหตุของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ที่ไม่สมเหตุผลและไม่สมกับสิ่งที่สังเกตได้ เช่น ในความเชื่อทางศาสนา ความเชื่อพื้นบ้าน และความเชื่อเรื่องเหนือธรรมชาติ มักจะมีการอ้างความสัมพันธ์ระหว่างข้อวัตร การสวดมนต์หรือการสวดอ้อนวอน การบูชายัญ หรือการเว้นจากสิ่งต้องห้าม กับประโยชน์หรืออานิสงส์ที่พึงจะได้จากการกระทำเหล่านั้น ในจิตวิทยาคลินิก ความคิดเชิงไสยศาสตร์อาจทำให้คนไข้ประสบกับความกลัวที่จะทำอะไรอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือเกิดความคิดบางอย่าง เพราะความเชื่อว่าจะมีสิ่งเลวร้ายที่จะเกิดขึ้นเนื่องจากการกระทำนั้น นอกจากนั้นแล้ว ความคิดเชิงไสยศาสตร์อาจทำให้เราเชื่อว่า เพียงแค่ความคิดเท่านั้นสามารถทำให้เกิดผลต่าง ๆ ในโลกได้ นี้เป็นวิธีการคิดหาเหตุ (causal reasoning) แบบหนึ่ง ซึ่งเป็นเหตุผลวิบัติโดยเหตุ (causal fallacy) ที่เราพยายามหาความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์สองอย่างที่เกิดขึ้นต่อ ๆ กันหรือพร้อมกัน คือระหว่างการกระทำและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ที่ไม่ได้เป็นเหตุผลต่อกันและกันจริง ๆ ส่วนความคิดเชิงไสยศาสตร์เสมือน (Quasi-magical thinking) หมายถึง "กรณีที่เรามีพฤติกรรมเหมือนกับเชื่อผิด ๆ ว่า การกระทำของตนมีอิทธิพลต่อผลที่เกิดขึ้น แม้ว่าจริง ๆ แล้ว ตนจะไม่ได้เชื่ออย่างนั้น".

ใหม่!!: ความงมงายและความคิดเชิงไสยศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

เหตุภาพ

หตุภาพ (อาจเรียกว่า เหตุกรรม หรือ เหตุและผล) เป็นความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์หนึ่ง (สาเหตุ) และอีกเหตุการณ์หนึ่ง (ผลลัพธ์) โดยเข้าใจกันว่าเหตุการณ์แรกมีผลให้เกิดเหตุการณ์ที่สอง ในการใช้ทั่วไป เหตุภาพยังเป็นความสัมพันธ์ระหว่างชุดของปัจจัย (สาเหตุต่าง ๆ) และปรากฏการณ์ (ผลลัพธ์) สิ่งใดที่ส่งผลกระทบต่อผลลัพธ์ถือเป็นปัจจัยต่อผลลัพธ์นั้น ปัจจัยตรงคือปัจจัยที่ส่งผลต่อผลลัพธ์โดยตรง โดยไม่มีปัจจัยอื่นใดเข้ามาข้องเกี่ยว (ปัจจัยที่เข้ามาข้องเกี่ยวบางครั้งเรียกว่า "ปัจจัยระหว่างกลาง") ความเชื่อมโยงระหว่างสาเหตุและผลลัพธ์เช่นนี้อาจเรียกได้ว่าเป็น causal nexus.

ใหม่!!: ความงมงายและเหตุภาพ · ดูเพิ่มเติม »

เหตุผล

เหตุผล เป็นพฤติกรรมที่พบในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเท่านั้นและจะเกิดมากในมนุษย์ เนื่องจากมนุษย์มีสมองและประสาทที่เจริญมากกว่าสัตว์อื่นๆ จึงเกิดการเรียนรู้แบบนี้ได้ดีกว่าสัตว์อื่น การใช้เหตุผลคือการใช้ความสามารถของสัตว์ตอบโต้ต่อสิ่งเร้า หรือสิ่ หมวดหมู่:ญาณวิทยา หมวดหมู่:ความเชื่อ หมวดหมู่:ความคิด หมวดหมู่:ตรรกศาสตร์ หมวดหมู่:การให้เหตุผล หมวดหมู่:เหตุผล.

ใหม่!!: ความงมงายและเหตุผล · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ความเชื่องมงายความเชื่อโชคลาง

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »