โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

วิมตินิยมทางวิทยาศาสตร์

ดัชนี วิมตินิยมทางวิทยาศาสตร์

วิมตินิยมทางวิทยาศาสตร์ (Scientific skepticism, Scientific scepticism) เป็นหลักปฏิบัติในการที่จะสืบหาว่า เรื่องที่อ้างว่าเป็นจริงนั้นมีหลักฐานโดยงานวิจัยเชิงประสบการณ์ (เชิงประจักษ์) หรือไม่ สามารถทำซ้ำได้หรือไม่ เป็นหลักปฏิบัติที่ใช้เป็นปกติในการ "เพิ่มขยายความรู้ที่ยืนยันได้พิสูจน์ได้" ยกตัวอย่างเช่น.

38 ความสัมพันธ์: ชาวอเมริกันชีววิทยาพระผู้สร้างพระเจ้าพระเป็นเจ้าพ็อลเทอร์ไกสท์กลฉ้อฉลการวิจัยการคิดวิเคราะห์การแพทย์ทางเลือกมหาวิทยาลัยโคลัมเบียมนุษยนิยมแบบฆราวาสระเบียบวิธีแบบวิทยาศาสตร์ริชาร์ด ดอว์กินส์รูปแบบเอกสารใช้ได้หลายระบบวิมตินิยมวิทยาสัตว์ลึกลับศาสนาสิ่งพิมพ์รายคาบฮอโลคอสต์ทฤษฎีสมคบคิดทฤษฎีสมคบคิดเรื่องเหยียบดวงจันทร์ทูตสวรรค์ดาวซิ่งความเอนเอียงความเอนเอียงเพื่อยืนยันคาร์ล เซแกนตรรกศาสตร์ปรากฏการณ์โลกร้อนนักพิสูจน์ท้าทดลองแฮร์รี ฮูดินีแนวคิดปฏิเสธเอดส์ไพ่ทาโรต์ไทม์เบอร์ทรันด์ รัสเซลล์เพลโตเหนือธรรมชาติเนสซี

ชาวอเมริกัน

วอเมริกัน หรือ ประชากรของสหรัฐอเมริกา (People of the United States หรือ U.S. Americans หรือ Americans หรือ American people) คือประชาชนของสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นประเทศที่ประกอบด้วยกลุ่มชนจากหลายชาติพันธุ์และเชื้อชาติ ซึ่งทำให้ชาวอเมริกันบางคนไม่ถือว่าอเมริกันเป็น "ชาติพันธุ์" (ethnicity) และจะบ่งตนเองโดยเชื้อชาติ (nationality) และชาติพันธุ์ดั้งเดิม (ancestral origin) เช่นชาวฮังการีอเมริกันเป็นต้น นอกไปจากชาวอเมริกันอินเดียนแล้ว ชาวอเมริกันเกือบทั้งหมดหรือบรรพบุรุษก็เป็นผู้ที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในช่วงระยะเวลาห้าร้อยปีที่ผ่านมา การที่ชาวอเมริกันมาจากหลายชาติพันธุ์ทำให้เป็นชาติที่มีธรรมเนียม และคุณค่าที่แตกต่างกันออกไปเป็นอันมากAdams, J.Q., and Pearlie Strother-Adams (2001).

ใหม่!!: วิมตินิยมทางวิทยาศาสตร์และชาวอเมริกัน · ดูเพิ่มเติม »

ชีววิทยา

ีววิทยา (Biology) เป็นแขนงหนึ่งของวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ (natural science) ที่ศึกษาเกี่ยวกับชีวิต และสิ่งมีชีวิต ซึ่งรวมถึง โครงสร้าง การทำงาน การเจริญเติบโต ถิ่นกำเนิด วิวัฒนาการ การกระจายพันธุ์ และอนุกรมวิธาน โดยเป็นการศึกษาในทุก ๆ แง่มุมของสิ่งมีชีวิต โดยคำว่า ชีววิทยา (Biology) มาจากภาษากรีก คือคำว่า "bios" แปลว่า สิ่งมีชีวิต และ "logos" แปลว่า วิชา หรือการศึกษาอย่างมีเหตุผล.

ใหม่!!: วิมตินิยมทางวิทยาศาสตร์และชีววิทยา · ดูเพิ่มเติม »

พระผู้สร้าง

ระยาห์เวห์ทรงสร้างอาดัม พระผู้สร้าง (Creator) หมายถึง พระเป็นเจ้า (ตามความเชื่อแบบเอกเทวนิยม) หรือเทวดาผู้เป็นใหญ่ (ตามความเชื่อแบบพหุเทวนิยม) ที่มีอำนาจบันดาลให้โลก (ทั้งเอกภพและจักรวาล) เกิดขึ้น.

ใหม่!!: วิมตินิยมทางวิทยาศาสตร์และพระผู้สร้าง · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้า

ระเจ้า อาจหมายถึง; ศาสน.

ใหม่!!: วิมตินิยมทางวิทยาศาสตร์และพระเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

พระเป็นเจ้า

ระนามพระยาห์เวห์ในภาษาฮีบรู พระเป็นเจ้า (God) หมายถึง เทวดาผู้เป็นใหญ่ ถือเป็นเทวดาเพียงพระองค์เดียวตามความเชื่อแบบเอกเทวนิยม หรือเป็นเทวดาผู้เป็นสารัตถะเดียวของเอกภพตามความเชื่อแบบพหุเทวนิยมSwinburne, R.G. "God" in Honderich, Ted.

ใหม่!!: วิมตินิยมทางวิทยาศาสตร์และพระเป็นเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

พ็อลเทอร์ไกสท์

หน้าปกนิตยสาร ''La Vie Mysterieuse'' ของ ฝรั่งเศสฉบับเดือนเมษายน ค.ศ. 1911 หน้าปกเป็นรูปปรากฏการณ์พ็อลเทอร์ไกสท์ พ็อลเทอร์ไกสท์ (Poltergeist) เป็นชื่อเรียกปรากฏการณ์ชนิดหนึ่ง ที่ไม่สามารถอธิบายได้ด้วยหลักการทางวิทยาศาสตร์ในปัจจุบัน คำว่า "พ็อลเทอร์ไกสท์" มาจากภาษาเยอรมันคำว่า "Poltern" หมายถึง "ก่อความรำคาญหรือเอะอะมะเทิ่ง" และคำว่า "Geist" หมายถึง "ผี" เมื่อรวมความแล้ว คำว่า "พ็อลเทอร์ไกสท์" พอจะแปลความหมายได้ว่า "ผีที่น่ารำคาญหรือส่งเสียงดัง" ปรากฏการณ์พ็อลเทอร์ไกสท์จะแสดงออกด้วยการเคลื่อนข้าวของภายในบ้าน โดยที่ไม่มีใครไปเคลื่อนย้าย ซึ่งปรากฏการณ์เช่นนี้จะปรากฏในบ้านของโลกตะวันตก จึงมีความเชื่อกันว่าเป็นการกระทำของผี ซึ่งจะไม่ถึงขั้นหลอกหลอนมนุษย์จนขวัญผวา เพียงแค่ทำให้ตกใจเล่นเท่านั้น แต่ในบางกรณีก็อาจรุนแรงถึงขั้นทำให้ข้าวของเสียหายหรือเกิดเป็นรอยข่วน รอยกัดตามร่างกายมนุษย์ก็มี บางครั้งปรากฏการณ์พ็อลเทอร์ไกสท์อาจเกิดติดต่อกันเป็นวัน ๆ แต่นักวิทยาศาสตร์บางคนเชื่อว่า พ็อลเทอร์ไกสท์ เป็นการกระทำที่เกิดจากมนุษย์เอง โดยเกิดจากความกดดัน โดยเฉพาะในวัยรุ่น เชื่อว่าเป็นลักษณะของการใช้พลังจิตแบบที่เคลื่อนย้ายสิ่งของ ที่เรียกว่าไซโคคิเนซิส (Psychokinesis) นั่นเอง โดยที่เจ้าตัวไม่รู้ตัว ขณะที่นักวิชาการชาวญี่ปุ่น โอทสึ โยะชิฮิโกะ แห่งมหาวิทยาลัยวะเซะดะ ที่ศึกษาเรื่องเหนือธรรมชาติต่าง ๆ เห็นว่า พ็อลเทอร์ไกสท์เป็นปรากฏการณ์ของพลาสมา คือ ไฟฟ้าสถิตที่ไหลวนอยู่ในอากาศ ซึ่งปรากฏการณ์แบบนี้เป็นปรากฏการณ์เดียวกับการเกิด "ลูกไฟวิญญาณ" หรือ "ฮิโตะดะมะ" (ญี่ปุ่น: 人魂) ตามความเชื่อของชาวจีนและชาวญี่ปุ่นนั่นเอง พ็อลเทอร์ไกสท์ได้ถูกอ้างอิงในวัฒนธรรมร่วมสมัย โดยมีการเขียนเป็นนวนิยายในชื่อเดียวกันนี้ (ฉบับแปลเป็นภาษาไทยใช้ชื่อว่า "โพลเทอร์ไกสท์ผีเกเร") โดย เจมส์ คาห์น นักเขียนชาวอเมริกัน ในปี ค.ศ. 1982 ซึ่งต่อมาทางฮอลลีวูดก็ได้สร้างภาพยนตร์จากนวนิยายเรื่องนี้ด้วยในชื่อเดียวกัน อำนวยการแสดงโดยสตีเวน สปีลเบิร์ก ในปีเดียวกัน ซึ่งภาพยนตร์ประสบความสำเร็จอย่างมาก จนต้องมีการสร้างต่อมาอีก 3 ภาค และสร้างเป็นซีรีส์ (ในชื่อภาษาไทยใช้ชื่อว่า "ผีหลอกวิญญาณหลอน") ซึ่งทำให้ทั้งโลกได้รู้จักกับปรากฏการณ์พ็อลเทอร์ไกสท์มากขึ้น.

ใหม่!!: วิมตินิยมทางวิทยาศาสตร์และพ็อลเทอร์ไกสท์ · ดูเพิ่มเติม »

กลฉ้อฉล

กลฉ้อฉล (fraud) หมายถึง การใช้อุบายหลอกลวงด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือการจงใจปิดบังซ่อนเร้นข้อความจริง เพื่อให้ผู้อื่นหลงผิดแสดงเจตนาทำ นิติกรรม การแสดงเจตนาเพราะถูกกลฉ้อฉลเป็นโมฆียะ หมวดหมู่:ความผิดอาญาเกี่ยวกับทรัพย์สิน หมวดหมู่:การเสแสร้ง หมวดหมู่:Tort law.

ใหม่!!: วิมตินิยมทางวิทยาศาสตร์และกลฉ้อฉล · ดูเพิ่มเติม »

การวิจัย

อลิน เลวี วอร์เนอร์ (Olin Levi Warner) การวิจัยชูคบเพลิงแห่งความรู้ (พ.ศ. 2439) ห้องสมุดรัฐสภาสหรัฐฯ อาคารโทมัส เจฟเฟอร์สัน, วอชิงตัน ดีซี การวิจัย (research) หมายถึงการกระทำของมนุษย์เพื่อค้นหาความจริงในสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่กระทำด้วยพื้นฐานของปัญญา ความมุ่งหมายหลักในการทำวิจัยได้แก่การค้นพบ (discovering), การแปลความหมาย, และ การพัฒนากรรมวิธีและระบบ สู่ความก้าวหน้าในความรู้ด้านต่าง ๆ ในเชิงวิทยาศาสตร์ที่หลากหลายในโลกและจักรวาล การวิจัยอาจต้องใช้หรือไม่ต้องใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ก็ได้ การวิจัยทางวิทยาศาสตร์ อาศัยการประยุกต์ระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์ที่ได้แรงผลักดันจากความอยากรู้อยากเห็น การวิจัยเป็นตัวสร้างข้อมูลข่าวสารเชิงวิทยาศาสตร์และทฤษฎีที่มนุษย์นำมาใช้ในการอธิบายธรรมชาติและคุณสมบัติของสรรพสิ่งต่าง ๆ รอบตัวเรา การวิจัยช่วยให้การประยุกต์ทฤษฎีต่าง ๆ มีความเป็นไปได้ในเชิงปฏิบัติ การวิจัยทางวิทยาศาสตร์ได้รับเงินสนับสนุนจากหน่วยงานของรัฐ องค์การการกุศล กลุ่มเอกชนซึ่งรวมถึงบริษัทต่าง ๆ งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์จำแนกได้เป็นประเภทตามสาขาวิทยาการและวิชาเฉพาะทาง คำว่าการวิจัยยังใช้หมายถึงการเก็บรวบรวมข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวกับวิชาการบางสาขาอีกด้ว.

ใหม่!!: วิมตินิยมทางวิทยาศาสตร์และการวิจัย · ดูเพิ่มเติม »

การคิดวิเคราะห์

ประติมากรรม "The Thinker" (พ.ศ. 2422-2432) โดยออกัสต์ โรแดง ประติมากรชาวฝรั่งเศส (พ.ศ. 2383 - 2460) ที่มีการจำลองไปตั้งตามมหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษา-วิจัยสำคัญรวมทั้งพิพิธภัณฑ์ต่าง ๆ เกือบทุกทวีปทั่วโลกไม่น้อยกว่า 30 แห่ง การคิดวิเคราะห์, การคิดเชิงวิพากษ์ หรือ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ (critical thinking) เป็นกระบวนการทางจิตสำนึกเพื่อวิเคราะห์ หรือ ประเมินข้อมูล ในคำแถลง หรือ ข้อเสนอที่มีผู้แถลงหรืออ้างว่าเป็นความจริง การคิดวิเคราะห์เป็นรูปแบบของกระบวนการที่สะท้อนให้เห็นความหมายของคำแถลง (statement) และการตรวจสอบหลักฐานที่ได้รับการไต่ตรองด้วยเหตุและผล แล้วจึงทำการตัดสินคำแถลงหรือข้อเสนอที่ถูกอ้างว่าเป็นความจริงนั้น การคิดวิเคราะห์อาจทำได้จากการรวบรวมข้อมูล การสังเกตการณ์ ประสบการณ์ หลักแห่งเหตุและผล หรือการสื่อความ การคิดวิเคราะห์ต้องมีพื้นฐานของคุณค่าเชิงพุทธิปัญญาที่สูงเลยไปจากการเป็นเพียงการแบ่งเนื้อหาที่รวมไปถึง ความกระจ่างชัด ความแม่นยำ ความต้องตรงเนื้อหา หลักฐาน ความครบถ้วนและความยุติธรรม ความหมายหรือนิยามการคิดวิเคราะห์มีมากมายและหลากหลาย แต่ส่วนใหญ่ไปในแนวเดียวกันคือการใช้เหตุผล หลักฐานและตรรกะมาวิเคราะห์ให้แน่ชัดก่อนลงความเห็นหรือตัดสิน พระพุทธเจ้าได้ใช้วิธีการสอนที่อาจนับเป็นการคิดวิเคราะห์ที่เรียกว่า "ปุจฉาวิสัชนา" ด้วยการให้พระสงฆ์ใช้ "วิจารณญาน" ถามตอบซักไซ้ไล่เลียงค้านกันไปมาจนได้คำตอบซึ่งอาจถือได้ว่าเป็นการคิดวิเคราะห์ โดยทรงให้หลักแห่งความเชื่อที่ไม่งมงายไว้ในพระสูตรชื่อ กาลามสูตร.

ใหม่!!: วิมตินิยมทางวิทยาศาสตร์และการคิดวิเคราะห์ · ดูเพิ่มเติม »

การแพทย์ทางเลือก

การฝังเข็ม การแพทย์ทางเลือก (alternative medicine) เป็นศาสตร์เพื่อการวินิจฉัย การรักษาและการป้องกันโรคที่นอกเหนือจากศาสตร์การแพทย์แผนปัจจุบัน เป็นการปฏิบัติใดๆที่ถูกหยิบยกว่ามีผลในการรักษาโรคอะไรก็ตามที่ไม่ได้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของ"หลักฐาน"ที่มีการเก็บรวบรวมโดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ มันประกอบไปด้วยความหลากหลายของการดูแลสุขภาพ ผลิตภัณฑ์และการบำบัดรักษาต่างๆ ตัวอย่างเช่นการปฏิบัติทางการแพทย์แบบใหม่และดั้งเดิมเช่น การรักษาโรคด้วยโรคเดียวกัน (homeopathy) ธรรมชาติบำบัด (naturopathy) การจัดกระดูก (chiropractic) การแพทย์พลังงาน (energy medicine) รูปแบบต่างๆของการฝังเข็ม แพทย์แผน​​จีน อายุรเวท และการรักษาตามความเชื่อของคริสเตียน และการรักษาโดยวิธีการที่ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของระบบการดูแลสุขภาพแผนปัจจุบันบนพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ และไม่ได้รับการสนับสนุนจากหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ การแพทย์ผสมผสาน (complementary medicine) เป็นการแพทย์ทางเลือกที่ใช้ร่วมกับการรักษาพยาบาลแผนปัจจุบันตาม"ความเชื่อ"ที่ไม่ได้รับการพิสูจน์โดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ มันช่วย"เสริม"การรักษ.

ใหม่!!: วิมตินิยมทางวิทยาศาสตร์และการแพทย์ทางเลือก · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย

Alma Mater มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย (Columbia University in the City of New York) เป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยในกลุ่มไอวีลีก ได้ขึ้นชื่อว่าเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงของโลกแห่งหนึ่ง เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของนครนิวยอร์กและเก่าแก่ที่สุดอันดับที่ห้าของสหรัฐอเมริกา ตั้งอยู่ที่นิวยอร์กซิตี ในรัฐนิวยอร์กในส่วนของชุมชนมอร์นิงไซด์บริเวณส่วนเหนือของเกาะแมนแฮตตัน ก่อตั้งก่อนการประกาศอิสรภาพของประเทศในปี พ.ศ. 2297 (ค.ศ. 1754) ในชื่อของ วิทยาลัยคิงส์ (King's College) โดยได้รับเงินสนับสนุนจากสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 2 แห่งอังกฤษ ภายหลังสหรัฐอเมริกาปฏิวัติ โคลัมเบียได้รับการสนับสนุนในฐานะเอกลักษณ์ทางปรัชญาของรัฐตั้งแต่ปี 2327 - 2330 ผู้ได้รับรางวัลโนเบล ทั้งที่เป็นศิษย์เก่าและคณาจารย์ของมหาวิทยาลัยทั้งสิ้น 102 ท่าน ถือว่ามากที่สุดอันดับ 2 ของโลก ศิษย์เก่าที่เป็นประธานาธิบดีและนากยกรัฐมนตรีจากทั่วโลกจำนวน 29 ท่าน ศิษย์เก่าที่ดำรงตำแหน่ง CEO ของบริษัทยักษ์ใหญ่ของโลก (Fortune Global 500) จำนวน 45 ท่าน และมีผู้ชนะรางวัลออสการ์ 28 ท่าน นอกจากนี้มหาวิทยาลัยยังเป็นผู้มอบรางวัลพูลิตเซอร์ แก่ผู้ได้รับเกียรติสูงสุดระดับชาติในวงการสิ่งพิมพ์ การบรรลุความสำเร็จทางวรรณกรรม และการประพันธ์เพลงในสาขาวารสารศาสตร์ เมื่อกว่า 100 ปีมาแล้ว ซึ่งวิทยาลัยวิชาการหนังสือพิมพ์ของโคลัมเบียนับได้ว่าโดดเด่นมากที่สุดของโลกในปัจจุบัน last.

ใหม่!!: วิมตินิยมทางวิทยาศาสตร์และมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย · ดูเพิ่มเติม »

มนุษยนิยมแบบฆราวาส

มนุษยนิยมแบบฆราวาส (secular humanism; Humanism) เป็นปรัชญามนุษยนิยมแบบหนึ่งที่เน้นเหตุผล จริยธรรม และความยุติธรรมทางสังคมของมนุษย์ และปฏิเสธการใช้หลักคำสอนต้องเชื่อ คตินิยมเหนือธรรมชาติ วิทยาศาสตร์เทียม รวมถึงความเชื่อเรื่องไสยศาสตร์ มาเป็นพื้นฐานทางศีลธรรมและการตัดสินใจต่าง ๆ แม้มนุษยนิยมแบบฆราวาสจะเชื่อว่ามนุษย์เป็นคนดีมีจริยธรรมและศีลธรรมได้โดยไม่จำเป็นต้องมีศาสนาหรือเชื่อเรื่องพระเจ้า แต่ก็ไม่ได้มองว่ามนุษย์เป็นสิ่งชั่วร้ายหรือดีงามมาแต่กำเนิด หรือมองว่ามนุษย์เป็นสิ่งเหนือกว่าธรรมชาติ แต่เน้นความรับผิดชอบต่อมนุษย์และผลจากการตัดสินใจ มนุษยนิยมแบบฆราวาสมีมโนทัศน์พื้นฐานว่าคตินิยมใด ๆ ไม่ว่าเกี่ยวกับศาสนาหรือการเมืองจะต้องถูกตรวจสอบเสียก่อน ไม่ใช่ยอมรับหรือปฏิเสธไปโดยง่าย จึงถือว่าการแสวงหาความจริงโดยอาศัยปรัชญาและวิทยาศาสตร์เป็นหลักนั้นเป็นสารัตถะของมนุษยนิยมแบบฆราว.

ใหม่!!: วิมตินิยมทางวิทยาศาสตร์และมนุษยนิยมแบบฆราวาส · ดูเพิ่มเติม »

ระเบียบวิธีแบบวิทยาศาสตร์

ระเบียบวิธีแบบวิทยาศาสตร์ (scientific method) หรือ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (scientific process) เป็นหลักการพื้นฐานของการตรวจสอบและเสาะหาความรู้ใหม่แบบวิทยาศาสตร์ ที่ใช้หลักฐานทางกายภาพ นักวิทยาศาสตร์เสนอความเชื่อใหม่เกี่ยวกับโลกในรูปของทฤษฎีที่ผ่านขั้นตอนของ การสังเกต, การตั้งสมมติฐาน, และการอนุมาน ผลการทำนายของทฤษฎีเหล่านี้จะถูกทดสอบด้วยการทดลอง ถ้าผลการทำนายนั้นถูกต้องหรือสอดคล้องกับการทดลอง ทฤษฎีดังกล่าวจะถูกเก็บไว้ ทฤษฎีที่ความน่าเชื่อถือจะถูกนำไปทดลองซ้ำเพื่อยืนยันความถูกต้องเพิ่มเติม ระเบียบวิธีนี้ถูกจัดให้เป็นตรรกะสำคัญของธรรมเนียมปฏิบัติทางวิทยาศาสตร์ โดยสาระสำคัญนั้นระเบียบวิธีแบบวิทยาศาสตร์คือวิธีการที่รอบคอบมาก สำหรับสร้างความเข้าใจ ที่มีหลักฐานและยืนยันได้เกี่ยวกับโลก.

ใหม่!!: วิมตินิยมทางวิทยาศาสตร์และระเบียบวิธีแบบวิทยาศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ริชาร์ด ดอว์กินส์

ริชาร์ด ดอว์กินส์ ริชาร์ด ดอว์กินส์ (Richard Dawkins) นักชีววิทยาและนักเขียนชาวอังกฤษที่มีชื่อเสียง มีชื่อเต็มว่า คลินตัน ริชาร์ด ดอว์กินส์ (Clinton Richard Dawkins) เกิดเมื่อวันที่ 26 มีนาคม ค.ศ. 1941 ที่เมืองไนโรบี ประเทศเคนยา เมื่อครั้งที่ยังเป็นอาณานิคมของอังกฤษ จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ปัจจุบันเป็นศาสตราจารย์ด้านสัตววิทยา แห่งมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ดอว์กินส์ มีชื่อเสียงจากการเป็นนักวิทยาศาสตร์ทางด้านพฤติกรรมศาสตร์และทฤษฎีวิวัฒนาการ โดยได้ศึกษาทฤษฎีวิวัฒนาการของชาร์ลส์ ดาร์วิน และมีความคิดในทฤษฎีนี้ มีผลงานการเขียนหนังสือที่โด่งดัง มีชื่อเสียงกว่า 10 เล่ม อาทิ The Selfish Gene, River out of Eden, The Blind Watchmaker, The God Delusion ซึ่งในแต่ละเล่มนั้นเกี่ยวกับทฤษฎีวิวัฒนาการที่ตรงกันข้ามกับความเชื่อในคริสต์ศาสนาและอิสลาม ซึ่งทำให้ดอว์กินส์ได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่คิดในอย่างอเทวนิยม และยังเป็นนักเขียนบทสารคดีสำหรับภาพยนตร์สารคดีทางโทรทัศน์อีกด้วย ในปี ค.ศ. 2012 โรฮัน เพธิยาโกดา นักวิทยาศาสตร์ชาวศรีลังกา ได้ตั้งชื่อสกุลของปลาน้ำจืดขนาดเล็ก ที่อาศัยอยู่ในประเทศอินเดีย ในวงศ์ Cyprinidae จำนวน 4 ชนิด ว่า Dawkinsia เพื่อเป็นเกียรติแก่ ริชาร์ด ดอว์กิน.

ใหม่!!: วิมตินิยมทางวิทยาศาสตร์และริชาร์ด ดอว์กินส์ · ดูเพิ่มเติม »

รูปแบบเอกสารใช้ได้หลายระบบ

รูปแบบเอกสารใช้ได้หลายระบบ (portable document format (ย่อ: pdf)) คือ รูปแบบแฟ้มลักษณะหนึ่ง ที่พัฒนาโดยบริษัทอะโดบีซิสเต็มส์ สำหรับแสดงเอกสารที่สามารถใช้งานได้ในทุกระบบปฏิบัติการ และยังคงลักษณะเอกสารเหมือนต้นฉบับ เอกสารในรูปแบบนี้สามารถจัดเก็บ ตัวอักษร รูปภาพ รูปลายเส้น ในลักษณะเป็นหน้าหนังสือ ตั้งแต่ หนึ่งหน้า หรือหลายพันหน้าได้ในแฟ้มเดียวกัน รูปแบบเป็นมาตรฐานที่เปิดให้คนอื่นสามารถเขียนโปรแกรมมาทำงานร่วมกันได้ รูปแบบนี้ เหมาะสมสำหรับงานที่ต้องการให้แสดงผลลักษณะเดียวกับต้นฉบับ ซึ่งแตกต่างกับการใช้งานรูปแบบอื่น เช่น HTML เพราะการแสดงผลของ HTML จะขึ้นอยู่กับโปรแกรมเบราว์เซอร์และคอมพิวเตอร์ที่ใช้ และเพราะฉะนั้น จะแสดงผลต่างกัน ถ้าใช้ต่างกัน.

ใหม่!!: วิมตินิยมทางวิทยาศาสตร์และรูปแบบเอกสารใช้ได้หลายระบบ · ดูเพิ่มเติม »

วิมตินิยม

วิมัตินิยม (Skepticism) โดยทั่วไปคือทัศนคติหรือข้อสงสัยใด ๆ ที่มีต่อความรู้หรือความเชื่อที่สมมุติฐานอย่างน้อยหนึ่งข้อ มักกำกับตวามที่โดเมน เช่น ศีลธรรม (วิมตินิยมทางศีลธรรม),ศาสนา, (วิมัตินิยมเกี่ยวกับการดำรงอยู่ของพระเจ้า) หรือ ความรู้ (วิมัตินิยมเกี่ยวกับความเป็นไปได้ของความรู้หรือความเชื่อมั่น) วิมัตินิยมทางปรัชญา มีในรูปแบบต่างๆ รูปแบบที่รุนแรงของความสงสัยเชื่อว่าความรู้หรือความเชื่อที่มีเหตุผลเป็นไปได้ และให้เราระงับการตัดสินในเรื่องที่ขัดแย้งกันหลายเรื่องหรือทั้งหมด รูปแบบอื่น ๆ ในระดับปานกลางของการเรียกร้องความสงสัยเพียงว่าไม่มีอะไรที่สามารถเป็นที่รู้จักด้วยความมั่นใจหรือว่าเราสามารถรู้อะไรเล็ก ๆ น้อย ๆ หรือเกี่ยวกับ "คำถามใหญ่" ในชีวิตเช่นว่าพระเจ้ามีอยู่จริงหรือไม่ว่าจะมีชีวิตหลังความตาย วิมัตินิยมแบบเคร่งศาสนา คือ "ข้อสงสัยเกี่ยวกับหลักการทางศาสนาขั้นพื้นฐาน (เช่นความเป็นอมตะรอบคอบ และการเปิดเผย)" วิมตินิยมทางวิทยาศาสตร์ กังวลเกี่ยวกับการทดสอบความเชื่อมั่นต่อความน่าเชื่อถือโดยการนำเสนอวิธีการทางวิทยาศาสตร์เพื่อตรวจสอบหลักฐานเชิงประจักษ.

ใหม่!!: วิมตินิยมทางวิทยาศาสตร์และวิมตินิยม · ดูเพิ่มเติม »

วิทยาสัตว์ลึกลับ

วิทยาสัตว์ลึกลับ หรือ วิทยาสัตว์ประหลาด (Cryptozoology; มาจากภาษากรีก κρυπτός, (kryptos), "ซ่อนเร้น" รวมกับคำว่า สัตววิทยา อันหมายถึง "การศึกษาสัตว์ที่ซ่อนเร้น") เป็นศาสตร์ชนิดหนึ่ง ที่ศึกษาเกี่ยวกับสัตว์ที่ยังไม่เป็นที่รู้จักกันในทางวิทยาศาสตร์ หรือสัตว์ประหลาด อาทิ บิ๊กฟุต, ชูปาคาบรา ศาสตร์แขนงนี้ได้ถูกบัญญัติขึ้นโดย แบร์นาร์ด อูเวลมงส์ นักชีววิทยาชาวเบลเยียม จนได้รับการยกย่องว่าเป็น "บิดาแห่งวิทยาสัตว์ลึกลับ" วิทยาสัตว์ลึกลับ ได้มีผู้ที่ศึกษาศาสตร์ทางด้านนี้อย่างจริงจัง มีนักวิทยาศาสตร์หลายคนที่มีชื่อเสียงทางด้านนี้ อาทิ คาร์ล ชูเกอร์ ชาวอังกฤษ, รอย แมคคัล และลอเรน โคลแมน ชาวอเมริกัน เป็นต้น จนมีการก่อตั้งขึ้นเป็น สมาคมวิทยาสัตว์ลึกลับนานาชาติ (International society of Cryptozoology, ตัวย่อ: ISC) ขึ้นในปี ค.ศ. 1982 มีสำนักงานใหญ่ที่เมืองทูซอน รัฐแอริโซนา สหรัฐอเมริกา โดยทุกปีสมาคมจัดการประชุมใหญ่เพื่อให้สมาชิกแลกเปลี่ยนความรู้และยังมีการจัดส่งคณะออกสำรวจค้นหาสัตว์ลึกลับจากทั่วโลกเป็นประจำ เช่น การทดสอบดีเอ็นเอของเยติ เป็นต้น อย่างไรก็ดี ได้มีการวิจารณ์ว่า วิทยาสัตว์ลึกลับเป็นศาสตร์ที่ไม่ได้รับการยอมรับจากนักวิทยาศาสตร์อย่างแท้จริง และไม่ยอมรับให้เป็นแขนงหนึ่งของสัตววิทยา โดยถือเป็นวิทยาศาสตร์เทียม ด้วยหลายอย่างมิได้ใช้ระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์ แต่สำหรับผู้ที่ศึกษาศาสตร์ทางด้านนี้กลับมีความเชื่อมั่น ด้วยมีการค้นพบสัตว์หลายชนิดที่โลกไม่รู้จักหรือคิดว่าสูญพันธุ์ไปแล้วหลายอย่าง เช่น ปลาซีลาแคนท์ ที่แอฟริกา, ซาวลา ที่เวียดนาม เป็นต้น.

ใหม่!!: วิมตินิยมทางวิทยาศาสตร์และวิทยาสัตว์ลึกลับ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนา

ัญลักษณ์ของศาสนาต่าง ๆ ภาพศาสนพิธีในศาสนาต่าง ๆ ทั่วโลก ศาสนา (Religion) หมายถึง ลัทธิความเชื่อของมนุษย์ เกี่ยวกับการกำเนิดและสิ้นสุดของโลก หลักศีลธรรม ตลอดจนลัทธิพิธีที่กระทำตามความเชื่อนั้น ๆ หลายศาสนามีการบรรยาย สัญลักษณ์และประวัติศาสตร์ศักดิ์สิทธิ์ซึ่งเจตนาอธิบายความหมายของชีวิต และ/หรืออธิบายกำเนิดชีวิตหรือเอกภพ จากความเชื่อของศาสนาเกี่ยวกับจักรวาลและธรรมชาติมนุษย์ คนได้รับศีลธรรม จริยศาสตร์ กฎหมายศาสนาหรือวิถีชีวิตลำดับก่อน บางการประมาณว่า มีศาสนาราว 4,200 ศาสนาในโลก นอกจากนี้ ยังมีผู้ไม่นับถือศาสนาใด ๆ ซึ่งเรียกว่า ผู้ที่ไม่มีศาสน.

ใหม่!!: วิมตินิยมทางวิทยาศาสตร์และศาสนา · ดูเพิ่มเติม »

สิ่งพิมพ์รายคาบ

งพิมพ์รายคาบ หมายถึง สิ่งพิมพ์เย็บเล่มที่มีกำหนดออกระบุไว้แน่นอนและต่อเนื่อง มีกำหนดระยะเวลาออกไว้แน่นอนและสม่ำเสมอ เช่น ทุก 1 เดือน (รายเดือน) ทุก 15 วัน (รายปักษ์) ทุก 7 วัน (รายสัปดาห์) เนื้อหาในเล่มประกอบไปด้วยบทความต่างๆ เรื่องราวที่ทันสมัย ทันต่อเหตุการณ์ บางเรื่องจบในฉบับแต่บางเรื่องลงต่อเนื่องกันไปหลายฉบับ เนื้อเรื่องภายในเล่มอาจจะจำกัดขอบเขตตามแขนงวิชาใดวิชาหนึ่ง หรืออาจจะเป็นเรื่องทั่วๆ ไปแตกต่างกันตามวัตถุประสงค์ของผู้จัดทำ.

ใหม่!!: วิมตินิยมทางวิทยาศาสตร์และสิ่งพิมพ์รายคาบ · ดูเพิ่มเติม »

ฮอโลคอสต์

"การเลือกสรร" ในค่ายกักกันเอาชวิทซ์ พฤษภาคม/มิถุนายน 1944; ผู้ที่ถูกส่งไปอยู่ทางขวา คือ ไปใช้แรงงานทาส ส่วนผู้ที่ถูกส่งไปทางซ้าย คือ ไปห้องรมแก๊ส จากภาพ เป็นชาวยิวฮังการีที่เพิ่งมาถึงค่าย ผู้ถ่าย คือ แอร์นสท์ ฮอฟมันน์หรือเบอร์นาร์ด วอลเตอร์แห่งหน่วยเอสเอส ฮอโลคอสต์, โฮโลคอสต์ (The Holocaust) หรือรู้จักในอีกชื่อว่า haShoah (ภาษาฮีบรู: השואה), Churben (ภาษายิดดิช: חורבן) เป็นพันธุฆาตชาวยิวในยุโรปประมาณ 6 ล้านคนระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง โครงการฆาตกรรมที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐโดยเยอรมนี นำโดยอดอล์ฟ ฮิตเลอร์และพรรคนาซี ทั่วทั้งดินแดนที่เยอรมนียึดครอง จากชาวยิว 9 ล้านคนที่อาศัยอยู่ในทวีปยุโรปก่อนฮอโลคอสต์ ประมาณสองในสามถูกสังหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เด็กชาวยิวกว่า 1 ล้านคนถูกสังหารในฮอโลคอสต์ เช่นเดียวกับหญิงชาวยิวประมาณ 2 ล้านคน และชายชาวยิว 3 ล้านคน นักวิชาการบางส่วนเสนอว่า นิยามของฮอโลคอสต์ยังควรรวมถึงพันธุฆาตประชากรกลุ่มอื่นอีกหลายล้านคนของนาซี รวมทั้งชาวโรมานี นักคอมมิวนิสต์ เชลยศึกโซเวียต พลเรือนโปแลนด์และโซเวียต พวกรักเพศเดียวกัน ผู้ทุพพลภาพ พยานพระยะโฮวา และคู่แข่งทางการเมืองและศาสนาอื่น ๆ ไม่ว่ากลุ่มชาติพันธุ์เยอรมันหรือไม่ก็ตาม นิยามนี้เป็นนิยามที่สามัญที่สุดนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดจนถึงคริสต์ทศวรรษ 1960 หากใช้นิยามนี้ จำนวนเหยื่อฮอโลคอสต์ทั้งสิ้นอยู่ระหว่าง 11 ถึง 17 ล้านคน เฮนรี ฟีแลนเดอร์นิยามฮอโลคอสต์ว่า "การสังหารหมู่มนุษย์ เพราะพวกเขาเป็นสมาชิกของกลุ่มที่นิยามทางชีวภาพ" หมายความว่า "พวกนาซีใช้นโยบายการกำจัดที่คงเส้นคงวาและครอบคลุมเฉพาะกับมนุษย์สามกลุ่ม ผู้พิการ ชาวยิวและพวกยิปซี" การเบียดเบียนและพันธุฆาตมีการดำเนินแบ่งเป็นขั้น มีกฎหมายหลายฉบับที่ดึงชาวยิวออกจากประชาสังคม ที่เห็นชัดที่สุดคือ กฎหมายเนือร์นแบร์ก ซึ่งใช้บังคับในเยอรมนีหลายปีก่อนสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มต้น มีการสร้างค่ายกักกันซึ่งผู้ถูกกักกันถูกบังคับให้ใช้แรงงานทาสกระทั่งเสียชีวิตด้วยการหมดแรงหรือโรค ที่ใดที่เยอรมนียึดครองดินแดนใหม่ในยุโรปตะวันออก หน่วยเฉพาะที่เรียกว่า ไอน์ซัทซกรุพเพน จะฆาตกรรมยิวและคู่แข่งทางการเมืองในการยิงหมู่ ผู้ยึดครองกำหนดให้ชาวยิวและโรมานีถูกจำกัดอยู่ในเกตโตที่แออัดยัดเยียดก่อนถูกขนส่งโดยรถสินค้าไปยังค่ายมรณะ ที่ซึ่ง หากพวกเขารอดชีวิตจากการเดินทาง จะถูกสังหารไปโดยมากในห้องรมแก.

ใหม่!!: วิมตินิยมทางวิทยาศาสตร์และฮอโลคอสต์ · ดูเพิ่มเติม »

ทฤษฎีสมคบคิด

ทฤษฎีสมคบคิด (Conspiracy Theory) คือ เรื่องเล่า บทความที่สร้างขึ้นมาจากความคิดของคน หรือกลุ่มคน โดยนำเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นมาปะติดปะต่อเข้าด้วยกัน ซึ่งอาจมีวัตถุประสงค์ซ่อนเร้นอื่นๆเพื่อให้ประโยชน์/ให้โทษต่อบุคคลหรือกลุ่มบุคคลหนึ่งใด หรืออธิบายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ลักษณะของทฤษฎีสมคบคิดโดยทั่วไปมีข้อเท็จจริงประกอบอยู่เพียงเล็กน้อย หรือส่วนหนึ่ง เพียงเพื่อเสริมให้เกิดความน่าเชื่อถือว่ามีหลักฐานสนับสนุนที่ดูเหมือนเกี่ยวข้องกันเท่านั้น อาจมีเหตุผลสนับสนุนจากความเชื่อส่วนบุคคล ความเชื่อเกี่ยวกับทางศาสนา การเมือง หรือวัฒนธรรมที่แตกต่างไป เรื่องเหล่านี้นักวิชาการจะไม่ใช้อ้างอิง ผู้อ่านควรใช้วิจารณญาณก่อนที่จะเชื่อเรื่องนั้นๆ ประเทศสหรัฐอเมริกามีหน่วยงานที่จะดูแล และกลั่นกรองเรื่องเหล่านี้โดยเฉพาะ เดิมพบได้ในคอลัมน์เล็กๆ ของหนังสือพิมพ์ประเภทแทบลอยด์ในต่างประเทศ ปัจจุบันพบได้มากในฟอร์เวิร์ดเมล เว็บไซต์ส่วนบุคคล และบล็อกต่าง.

ใหม่!!: วิมตินิยมทางวิทยาศาสตร์และทฤษฎีสมคบคิด · ดูเพิ่มเติม »

ทฤษฎีสมคบคิดเรื่องเหยียบดวงจันทร์

นักบินอวกาศ บัสซ์ อัลดรินและนีล อาร์มสตรอง ในแบบจำลองการฝึกดวงจันทร์และส่วนลงจอดของนาซา นักทฤษฎีสมคบคิดกล่าวว่า การถ่ายภาพภารกิจกระทำโดยใช้ชุดที่คล้ายกับแบบจำลองฝึกนี้ ทฤษฎีสมคบคิดเรื่องเหยียบดวงจันทร์ (Moon landing conspiracy theories) อ้างว่า โครงการอะพอลโลและการลงจอดบนดวงจันทร์ที่สืบเนื่องบางส่วนหรือทั้งหมดเป็นการหลอกลวงที่นาซาและสมาชิกองค์การอื่นจัดฉากขึ้น มีหลายปัจเจกบุคคลและกลุ่มได้อ้างการสมคบคิดดังกล่าวมาตั้งแต่กลางคริสต์ทศวรรษ 1970 การอ้างที่โดดเด่นที่สุด คือ การลงจอดที่มีมนุษย์โดยสารไปด้วยทั้งหกครั้ง (ระหว่าง ค.ศ. 1969-1972) เป็นเรื่องกุ และนักบินอวกาศของอะพอลโลสิบสองคนมิได้เดินบนดวงจันทร์ นักทฤษฎีสมคบคิดมีพื้นฐานข้ออ้างจากความคิดที่ว่า นาซาและองค์การอื่นทำให้สาธารณะหลงผิดเชื่อว่า การลงจอดเกิดขึ้นโดยการผลิต ทำลายหรือยุ่งกับหลักฐาน รวมทั้งภาพถ่าย เทปการวัดและส่งข้อมูลทางไกล การสื่อสัญญาณ ตัวอย่างหินจากดวงจันทร์ และกระทั่งพยานปากสำคัญบางคน นักทฤษฎีสมคบคิดได้จัดการรักษาความสนใจของสาธารณะเอาไว้กับทฤษฎีของพวกตนมาได้นานกว่า 40 ปี แม้จะมีหลักฐานจากฝ่ายที่สามเกี่ยวกับการลงจอดและการหักล้างในรายละเอียดต่อข้ออ้างการหลอกลวงนี้ การสำรวจความคิดเห็นในหลายสถานที่ได้แสดงว่า ชาวอเมริกันระหว่าง 6% ถึง 20% ที่ถูกสำรวจ เชื่อว่า การลงจอดโดยมีมนุษย์โดยสารไปด้วยนั้นเป็นการกุขึ้น แม้แต่ใน..

ใหม่!!: วิมตินิยมทางวิทยาศาสตร์และทฤษฎีสมคบคิดเรื่องเหยียบดวงจันทร์ · ดูเพิ่มเติม »

ทูตสวรรค์

''บทเพลงของทูตสวรรค์'' โดย บูเกอโร, 1825–1905. ทูตสวรรค์ หรือ เทวทูต (angel) คือชาวสวรรค์จำพวกหนึ่งตามความเชื่อทางศาสนาและในเทพปกรณัมต่าง ๆ โดยมีหน้าที่เป็นผู้แจ้งข่าวสารจากสวรรค์มายังโลก บ้างก็ทำหน้าที่อารักขา แนะนำ หรือมอบหมายภารกิจแก่มนุษย์ คำนี้แปลมาจากคำว่า ἄγγελος ในภาษากรีก ซึ่งตรงกับคำว่า מלאך (มลัก) ในคัมภีร์ฮีบรู (ทานัค) และเป็นคำเดียวกับคำว่า ملائكة (มลาอิกะฮ์) ที่ปรากฏในคัมภีร์อัลกุรอาน ศัพท์เดิมในภาษาฮีบรูและภาษากรีกนี้แปลว่า ผู้แจ้งข่าว ซึ่งอาจเป็นมนุษย์ (ทั้งผู้เผยพระวจนะ ปุโรหิต และคนสามัญ) หรืออมนุษย์ก็ได้แล้วแต่บริบทในคัมภีร์ ที่เป็นอมนุษย์นั้นเป็นได้ทั้ง ผู้แจ้งข่าวจากพระเจ้า ลักษณะเฉพาะด้านของพระเจ้า (เช่น กฎจักรวาล) หรือแม้แต่พระเป็นเจ้าเองที่ทรงเป็นผู้แจ้งข่าว (theophanic angel) คำว่า "ทูตสวรรค์" ยังถูกใช้หมายถึงวิญญาณในศาสนาอื่น ๆ ด้วย นอกจากการแจ้งข่าวแล้ว ทูตสวรรค์ยังมีหน้าที่ปกป้องและนำทางมนุษย์ รวมถึงปฏิบัติหน้าที่ตามที่พระเจ้ามอบหมายให้สำเร็จลุล่วง เทววิทยาที่ศึกษาเกี่ยวกับทูตสวรรค์เรียกว่า “วิทยาการทูตสวรรค์” (angelology) ในงานศิลปะทูตสวรรค์มักปรากฏภาพเป็นชายมีปีก ซึ่งอาจมาจากหนังสือวิวรณ์เรื่องสัตว์สี่ตัว (4:6-8) และคัมภีร์ฮีบรูเรื่องเครูบและเสราฟิม แต่คัมภีร์ไบเบิลระบุว่าเครูบและเสราฟิมมีปีก ไม่เคยกล่าวถึงทูตสวรรค์ว่ามีปีกด้ว.

ใหม่!!: วิมตินิยมทางวิทยาศาสตร์และทูตสวรรค์ · ดูเพิ่มเติม »

ดาวซิ่ง

นักทำนายหรือ ''ดาวเซอร์'' ภาพจากหนังสือฝรั่งเศสเล่มหนึ่งเกี่ยวกับการเชื่อถือโชคลางในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ดาวซิ่ง (dowsing) เป็นวิธีการพยากรณ์แบบหนึ่งที่อ้างว่าสามารถระบุตำแหน่งของแหล่งน้ำใต้ดิน โลหะหรือแร่ธาตุที่ฝังอยู่ใต้ดิน อัญมณี น้ำมัน แม้กระทั่งหลุมฝังศพหรือกระทั่งการติดต่อกับสิ่งที่เหนือธรรมชาติอย่าง ผีหรือวิญญาณ โดยไม่มีการใช้อุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์มาช่วย วัตถุแท่งรูปร่างคล้ายตัว Y หรือตัว L จะเรียกว่า แท่งดาวซิ่ง (dowsing rod) บางครั้งมีการนำมาใช้ประกอบการทำดาวซิ่งด้วย ส่วนผู้ทำนายหรือ dowser บางครั้งอาจใช้เครื่องมือลักษณะอื่น หรืออาจไม่ใช้เครื่องมือประกอบเลยก็ได้ วิธีการดาวซิ่งเริ่มปรากฏขึ้นในยุคฟื้นฟูเวทมนตร์ในเยอรมนี (ราวคริสต์ศตวรรษที่ 15-16) และเป็นที่นิยมแพร่หลายในหมู่คนที่เลื่อมใสในลัทธิ Forteana หรือพวกที่เชื่อเรื่องรังสีในตัวมนุษย์ (radiesthesia) แม้ว่าจะไม่มีหลักการทางวิทยาศาสตร์ใดๆ ที่ยอมรับวิธีการนี้ และไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ใดๆ ยืนยันว่ามีประสิทธิผลจริง.

ใหม่!!: วิมตินิยมทางวิทยาศาสตร์และดาวซิ่ง · ดูเพิ่มเติม »

ความเอนเอียง

วามเอนเอียง (Bias) เป็นความโน้มไปของภาวะจิตใจหรือทัศนคติ ที่จะแสดงหรือยึดถือความคิดเห็นที่ไม่สมบูรณ์ บ่อยครั้งพร้อมกับการปฏิเสธที่จะแม้พิจารณาความเป็นไปได้ของความคิดเห็นที่ต่างออกไป เราอาจจะมีความเอนเอียงต่อบุคคล ต่อเชื้อชาติ ต่อศาสนา ต่อชนชั้นในสังคม หรือต่อพรรคการเมือง การมีความเอนเอียงหมายถึง เอนไปข้างเดียว ไม่มีความเป็นกลาง ไม่เปิดใจ ความเอนเอียงมาในหลายรูปแบบ และคำว่า Bias ในภาษาอังกฤษอาจใช้เป็นไวพจน์ของคำว่า prejudice (ความเดียดฉันท์) และ bigotry (ความหัวดื้อ ความมีทิฏฐิมานะ).

ใหม่!!: วิมตินิยมทางวิทยาศาสตร์และความเอนเอียง · ดูเพิ่มเติม »

ความเอนเอียงเพื่อยืนยัน

วามเอนเอียงเพื่อยืนยัน (ความคิดฝ่ายตน)"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ bias ว่า "ความลำเอียง, -เอนเอียง" หรือ ความลำเอียงเพื่อยืนยัน (Confirmation bias, confirmatory bias, myside bias) เป็นความลำเอียงในข้อมูลที่ยืนยันความคิดหรือทฤษฎีหรือสมมติฐานฝ่ายตน เรียกว่ามีความลำเอียงนี้เมื่อสะสมหรือกำหนดจดจำข้อมูลที่เลือกเฟ้น หรือว่าเมื่อมีการตีความหมายข้อมูลอย่างลำเอียง ความลำเอียงนี้มีอยู่ในระดับสูงในประเด็นที่ให้เกิดอารมณ์หรือเกี่ยวกับความเชื่อที่ฝังมั่น นอกจากนั้นแล้ว คนมักตีความหมายข้อมูลที่ยังไม่ชัดเจนว่าสนับสนุนความคิดเห็นของตนเอง มีการใช้การสืบหา การตีความหมาย และการทรงจำข้อมูลประกอบด้วยความลำเอียงเช่นนี้ เพื่ออธิบายปรากฏการณ์ต่าง ๆ รวมทั้ง.

ใหม่!!: วิมตินิยมทางวิทยาศาสตร์และความเอนเอียงเพื่อยืนยัน · ดูเพิ่มเติม »

คาร์ล เซแกน

ร์ล เซแกน (Carl Sagan) นักดาราศาสตร์ชาวอเมริกัน (ค.ศ. 1934 - 1996) เป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับบรรยากาศของดาวเคราะห์ต่าง ๆ เซแกนได้ศึกษาว่าสิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นและมีวิวัฒนาการบนโลกอย่างไร สนใจถึงความเป็นไปได้ที่จะมีสิ่งมีชีวิตอยู่บนดาวอื่นเป็นพิเศษ เซแกนเป็นคนริเริ่มความคิดที่จะติดตั้งแผ่นป้ายบนยานสำรวจอวกาศไพโอเนียร์ 10 ที่เป็นเหมือนจดหมายจากโลก ยานไพโอเนียร์ 10 ผ่านเข้าใกล้ดาวพฤหัสบดีใน ค.ศ. 1973 ก่อนที่จะออกไปยังขอบนอกของระบบสุริยะแล้วออกสู่อวกาศ แผ่นป้ายแบบเดียวกันติดไปกับยานสำรวจอวกาศไพโอเนียร์ 11 ในปีต่อมา นอกจากงานด้านดาราศาสตร์แล้ว เซแกนยังมีชื่อเสียงจากนิยายวิทยาศาสตร์เรื่อง Contact ซึ่งเกี่ยวกับความพยายามของมนุษย์ในการค้นหาสิ่งมีชีวิตทรงภูมิปัญญานอกโลก นิยายเรื่องนี้ ภายหลังได้ถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์ในชื่อเดียวกัน (ชื่อภาษาไทยคือ "คอนแทค อุบัติการณ์สัมผัสห้วงจักรวาล") นำแสดงโดย โจดี้ ฟอสเตอร.

ใหม่!!: วิมตินิยมทางวิทยาศาสตร์และคาร์ล เซแกน · ดูเพิ่มเติม »

ตรรกศาสตร์

ตรรกศาสตร์ (logic - มีรากศัพท์จากภาษากรีกคือ λόγος, logos) โดยทั่วไปประกอบด้วยการศึกษารูปแบบของข้อโต้แย้งอย่างเป็นระบบ ข้อโต้แย้งที่สมเหตุสมผลคือข้อโต้แย้งที่มีความสัมพันธ์ของการสนับสนุนเชิงตรรกะที่เฉพาะเจาะจงระหว่างข้อสมมุติพื้นฐานของข้อโต้แย้งและข้อสรุป ตรรกศาสตร์เป็นการศึกษาเชิงปรัชญาว่าด้วยการให้เหตุผล โดยมักจะเป็นส่วนสำคัญของวิชาปรัชญา คณิตศาสตร์ คอมพิวเตอร์ รวมถึงภาษาศาสตร์ ตรรกศาสตร์เป็นการตรวจสอบข้อโต้แย้งที่สมเหตุสมผล (valid argument) หรือการให้เหตุผลแบบผิดๆ (fallacies) ตรรกศาสตร์ เป็นการศึกษาที่มีมานานโดยมนุษยชาติที่เจริญแล้ว เช่น กรีก จีน หรืออินเดีย และถูกยกขึ้นเป็นสาขาวิชาหนึ่งโดย อริสโตเติล.

ใหม่!!: วิมตินิยมทางวิทยาศาสตร์และตรรกศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ปรากฏการณ์โลกร้อน

ผิดปรกติของอุณหภูมิเฉลี่ยที่ผิวโลกที่เพิ่มขึ้นในช่วงปี พ.ศ. 2403–2549 เทียบกับอุณหภูมิระหว่าง พ.ศ. 2504–2533 ค่าเฉลี่ยอุณหภูมิผิวพื้นที่ผิดปกติที่เทียบกับอุณหภูมิเฉลี่ยระหว่างปี พ.ศ. 2542 ถึง พ.ศ. 2551 ปรากฏการณ์โลกร้อน หมายถึงการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยของอากาศใกล้พื้นผิวโลกและน้ำในมหาสมุทรตั้งแต่ช่วงครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 20 และมีการคาดการณ์ว่าอุณหภูมิเฉลี่ยจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในช่วง 100 ปีที่ผ่านมา นับถึง พ.ศ. 2548 อากาศใกล้ผิวดินทั่วโลกโดยเฉลี่ยมีค่าสูงขึ้น 0.74 ± 0.18 องศาเซลเซียส ซึ่งคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Intergovernmental Panel on Climate Change: IPCC) ของสหประชาชาติได้สรุปไว้ว่า “จากการสังเกตการณ์การเพิ่มอุณหภูมิโดยเฉลี่ยของโลกที่เกิดขึ้นตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 (ประมาณตั้งแต่ พ.ศ. 2490) ค่อนข้างแน่ชัดว่าเกิดจากการเพิ่มความเข้มของแก๊สเรือนกระจกที่เกิดขึ้นโดยกิจกรรมของมนุษย์ที่เป็นผลในรูปของปรากฏการณ์เรือนกระจก” ปรากฏการณ์ธรรมชาติบางอย่าง เช่น ความผันแปรของการแผ่รังสีจากดวงอาทิตย์และการระเบิดของภูเขาไฟ อาจส่งผลเพียงเล็กน้อยต่อการเพิ่มอุณหภูมิในช่วงก่อนยุคอุตสาหกรรมจนถึง พ.ศ. 2490 และมีผลเพียงเล็กน้อยต่อการลดอุณหภูมิหลังจากปี 2490 เป็นต้นมา ข้อสรุปพื้นฐานดังกล่าวนี้ได้รับการรับรองโดยสมาคมและสถาบันการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ไม่น้อยกว่า 30 แห่ง รวมทั้งราชสมาคมทางวิทยาศาสตร์ระดับชาติที่สำคัญของประเทศอุตสาหกรรมต่าง ๆ แม้นักวิทยาศาสตร์บางคนจะมีความเห็นโต้แย้งกับข้อสรุปของ IPCC อยู่บ้าง แต่เสียงส่วนใหญ่ของนักวิทยาศาสตร์ที่ทำงานด้านการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศของโลกโดยตรงเห็นด้วยกับข้อสรุปนี้ แบบจำลองการคาดคะเนภูมิอากาศที่สรุปโดย IPCC บ่งชี้ว่าอุณหภูมิโลกโดยเฉลี่ยที่ผิวโลกจะเพิ่มขึ้น 1.1 ถึง 6.4 องศาเซลเซียส ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 21 (พ.ศ. 2544–2643) ค่าตัวเลขดังกล่าวได้มาจากการจำลองสถานการณ์แบบต่าง ๆ ของการแผ่ขยายแก๊สเรือนกระจกในอนาคต รวมถึงการจำลองค่าความไวภูมิอากาศอีกหลากหลายรูปแบบ แม้การศึกษาเกือบทั้งหมดจะมุ่งไปที่ช่วงเวลาถึงเพียงปี..

ใหม่!!: วิมตินิยมทางวิทยาศาสตร์และปรากฏการณ์โลกร้อน · ดูเพิ่มเติม »

นักพิสูจน์ท้าทดลอง

ผู้ดำเนินรายการทั้ง 2 คนคือ แอดัม (ทางซ้าย) และเจมี (ทางขวา) นักพิสูจน์ท้าทดลอง (Mythbusters) คือรายการโทรทัศน์ของอเมริกาซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับการทดลองวิทยาศาสตร์ ออกฉายในช่อง Discovery Channel ทางทรูวิชั่นส์ ดำเนินรายการโดยแอดัม แซวิจ (Adam Savage) และเจมี ไฮน์แมน (Jamie Hyneman) สองผู้เชี่ยวชาญด้านการแสดงผลพิเศษที่พยายามที่จะพิสูจน์มูลความจริง และฐานความเป็นไปได้ของตำนานพื้นบ้าน และเรื่องเล่าขานที่ถูกบอกเล่าต่อกันไปปากต่อปาก.

ใหม่!!: วิมตินิยมทางวิทยาศาสตร์และนักพิสูจน์ท้าทดลอง · ดูเพิ่มเติม »

แฮร์รี ฮูดินี

แฮร์รี ฮูดินี ในปี ค.ศ. 1899 แฮร์รี ฮูดินี (Harry Houdini) อดีตนักมายากลชาวอเมริกันเชื้อสายฮังการี ผู้มีชื่อเสียงโด่งดัง ฮูดินี เกิดเมื่อวันที่ 24 มีนาคม ค.ศ. 1874 ในครอบครัวชาวยิว ที่กรุงบูดาเปสต์ ประเทศฮังการี โดยมีชื่อเดิมว่า เอริช ไวลส์ (Erich Weisz) ขณะที่ตัวเขาเองสะกดจะชื่อว่า Ehrich Weiss แต่จากบทสัมภาษณ์ของฮูดินีเอง เขาอ้างว่าเขาเกิดที่เมืองแอปเปิลตัน รัฐวิสคอนซิน สหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 6 เมษายน..

ใหม่!!: วิมตินิยมทางวิทยาศาสตร์และแฮร์รี ฮูดินี · ดูเพิ่มเติม »

แนวคิดปฏิเสธเอดส์

กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแสดงให้เห็นเชื้อเอชไอวี แนวคิดปฏิเสธเอดส์ไม่ยอมรับการมีอยู่ของเชื้อนี้และ/หรือบทบาทของเชื้อนี้กับการเกิดโรคเอดส์ แนวคิดปฏิเสธเอดส์ (AIDS denialism) เป็นมุมมองของกลุ่มคนและองค์กรบางกลุ่มที่ปฏิเสธว่าเชื้อเอชไอวีเป็นสาเหตุของกลุ่มอาการภูมิคุ้มกันเสื่อมหรือเอดส์Kalichman, 2009, p..

ใหม่!!: วิมตินิยมทางวิทยาศาสตร์และแนวคิดปฏิเสธเอดส์ · ดูเพิ่มเติม »

ไพ่ทาโรต์

ทาโรต์ ไพ่ทาโรต์ หรือที่ถูกอ่านว่า แทโรต์(tarot) เป็นไพ่ชนิดหนึ่ง เป็นที่รู้จักตั้งแต่ พุทธศตวรรษที่ 20 แต่ลักษณะไพ่ไม่เหมือนในปัจจุบัน กระทั่งพุทธศตวรรษที่ 23 ในทวีปยุโรปนั้นไพ่ทาโรต์แพร่หลายในรูปแบบของเกมการละเล่น เช่น tarocchini และ tarot แต่ในพื้นที่ซึ่งอยู่ภายใอิทธิพลของภาษาอังกฤษนั้นเป็นที่รู้จักในฐานะเครื่องมือในการทำนายโชคชะตามากกว่า ไพ่ทาโรต์แบบที่รู้จักกันแพร่หลายที่สุดคือ Rider-Waite ซึ่งวาดโดย พาเมลา โคลแมน สมิธ (Pamela Colman Smith) ตามการออกแบบของ อาเธอร์ เอ็ดเวิร์ด เวท (Arthur Edward Waite) และเผยแพร่โดยบริษัทไรเดอร์ (Rider Company) ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2452 แต่ก็มีไพ่ทาโรต์รูปแบบอื่นๆซึ่งมีชื่อเสียงอยู่ด้วยเช่นกัน เช่น ธอธทาโรต์ (Thoth tarot) ซึ่งวาดโดย ฟรีดา แฮริส (Frieda Harris) และออกแบบโดย อเลสเตอร์ โครวลีย์ (Aleister Crowley) ไพ่จะมีลักษณะคล้ายกับไพ่ป๊อกที่ใช้เล่นกันตามปัจจุบัน แต่แยกออกเป็น 2 ชนิด คือ สำรับใหญ่ (Major Arcana) ซึ่งประกอบด้วยไพ่ 22 ใบ และสำรับเล็ก (Minor Arcana) 56 ใบ ไพ่แต่ละใบมีสัญลักษณ์ประจำ การอ่านไพ่ขึ้นอยู่หลายปัจจัย อย่างแรก ดูจากความหมายของสัญลักษณ์ของตัวไพ่ และอีกประการหนึ่งคือ อ่านรวมกับไพ่ใบอื่นโดยดูจากตำแหน่งของไพ่ ไพ่ทาโรต์มีหลายแบบและได้รับความนิยม เนื่องจากความไม่ยุ่งยากในการอ่านไพ่ที่มีสัญลักษณ์บอกความหมายอยู่แล้ว ในประเทศไทยส่วนใหญ่คุ้นเคยที่จะเรียก "ไพ่ทาโรต์" ว่า "ไพ่ยิปซี" โดยอิงตามความเชื่อที่ว่าชาวยิปซีเป็นผู้เผยแพร่ศาสตร์ประเภทนี้ ทว่าไพ่ทั้งสองกลุ่มจัดเป็นไพ่คนละประเภทกัน.

ใหม่!!: วิมตินิยมทางวิทยาศาสตร์และไพ่ทาโรต์ · ดูเพิ่มเติม »

ไทม์

ปกฉบับแรกของนิตยสาร Time ไทม์ (Time หรือตามเครื่องหมายการค้าคือ TIME) เป็นนิตยสารข่าวรายสัปดาห์ของสหรัฐอเมริกา เริ่มพิมพ์ฉบับแรก โดยเป็นนิตยสารข่าวรายสัปดาห์เล่มแรกของประเทศ โดยในปัจจุบันไทม์มีจัดพิมพ์หลายแห่งทั่วโลก โดยในยุโรปใช้ชื่อว่า "ไทม์ยุโรป" (หรือที่ในอดีตเรียกว่า ไทม์แอตแลนติก) มีสำนักงานอยู่ที่ลอนดอน และออกจำหน่ายในยุโรป ตะวันออกกลาง แอฟริกา รวมถึงละตินอเมริกา ส่วนในเอเชีย ใช้ชื่อว่า "ไทม์เอเชีย" มีสำนักงานที่ฮ่องกง ขณะที่ "ไทม์แคนาดา" เป็นฉบับสัญชาติแคนาดาซึ่งจัดจำหน่ายในประเทศแคนาดา และ "ไทม์เซาท์แปซิฟิก" ซึ่งจัดจำหน่ายครอบคลุมออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และหมู่เกาะแปซิฟิก มีสำนักงานอยู่ที่ซิดนีย์ ในปัจจุบัน นิตยสารไทม์จัดการโดยบริษัทไทม์วอร์เนอร์ สำนักงานใหญ่อยู่ที่นิวยอร์ก และมีนายริชาร์ด สเตนเจล เป็นบรรณาธิการบริหาร.

ใหม่!!: วิมตินิยมทางวิทยาศาสตร์และไทม์ · ดูเพิ่มเติม »

เบอร์ทรันด์ รัสเซลล์

อร์ทรันด์ อาร์เทอร์ วิลเลียม รัสเซลล์ (Bertrand Arthur William Russell; 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2415 - 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2513) เป็นหนึ่งในนักคณิตศาสตร์ นักปรัชญา นักตรรกวิทยา ที่มีอิทธิพลอย่างสูงในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 เขาเป็นนักปรัชญาการศึกษาหัวรุนแรงที่มีบทบาทสำคัญยิ่งคนหนึ่งของอังกฤษ เป็นผู้ที่ได้สร้างผลงานด้านการศึกษาในแนวปฏิรูปไว้มากมายหลายแขนง ซึ่งเป็นที่ยอมรับและมีอิทธิพลต่อการศึกษาในปัจจุบันอย่างมาก บรรดานักปรัชญารู้จักเขาในฐานะของผู้ให้กำเนิดทฤษฎีความรู้ (Epistemology หรือ Theory of Knowledge) นักคณิตศาสตร์รู้จักรัสเซลในฐานะบิดาแห่งตรรกวิทยา ผู้เขียนตำราคลาสสิกทางคณิตศาสตร์ คือหนังสือชื่อ Principia Mathematica นักฟิสิกส์รู้จักเขาในฐานะของผู้แต่งตำรา ABC of Relativity สำหรับคนทั่วไปรู้จักรัสเซลล์ในฐานะของนักจิตวิทยา นักการศึกษา นักการเมือง และนักเขียนผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม เมื่อปี..

ใหม่!!: วิมตินิยมทางวิทยาศาสตร์และเบอร์ทรันด์ รัสเซลล์ · ดูเพิ่มเติม »

เพลโต

"แนวคิดหลักทางปรัชญาของยุโรป ล้วนแต่เป็นเชิงอรรถของเพลโต" -- อัลเฟรด นอร์ท ไวท์เฮด, Process and Reality, ค.ศ. 1929 เพลโต (ในภาษากรีก: Πλάτων Plátōn, Plato.) (427 - 347 ปีก่อน ค.ศ.) เป็นนักปรัชญาชาวกรีกโบราณที่มีอิทธิพลอย่างสูงต่อแนวคิดตะวันตก เขาเป็นลูกศิษย์ของโสกราตีส เป็นอาจารย์ของอริสโตเติล เป็นนักเขียน และเป็นผู้ก่อตั้งอาคาเดมีซึ่งเป็นสำนักวิชาในกรุงเอเธนส์ เพลโตใช้เวลาส่วนใหญ่สอนอยู่ที่อาคาเดมี แต่เขาก็ได้เขียนเกี่ยวกับปัญหาทางปรัชญาไว้เป็นจำนวนมาก โลกปัจจุบันรู้จักเขาผ่านทางงานเขียนที่หลงเหลืออยู่ ที่ถูกนำขึ้นมาแปลและจัดพิมพ์เป็นในช่วงการเคลื่อนไหวด้านมนุษยนิยม งานเขียนของเพลโตนั้นส่วนมากแล้วเป็นบทสนทนา คำคม และจดหมาย ผลงานที่เป็นที่รู้จักของเพลโตนั้นหลงเหลืออยู่ทั้งหมด อย่างไรก็ตามชุดรวมงานแปลปัจจุบันของเพลโตมักมีบางบทสนทนาที่นักวิชาการจัดว่าน่าสงสัย หรือคิดว่ายังขาดหลักฐานที่จะยอมรับว่าเป็นของแท้ได้ ในบทสนทนาของเพลโลนั้น บ่อยครั้งที่มีโสกราตีสเป็นตัวละครหลัก ซึ่งเป็นสิ่งที่สร้างความสับสนว่าความเห็นส่วนใดเป็นของโสกราตีส และส่วนใดเป็นของเพลโต.

ใหม่!!: วิมตินิยมทางวิทยาศาสตร์และเพลโต · ดูเพิ่มเติม »

เหนือธรรมชาติ

เหนือธรรมชาติ (supernatural) คือ สิ่งที่ไม่อยู่ภายใต้กฎธรรมชาติ หรือเป็นการอุปมาถึงสิ่งที่มีอยู่เหนือและพ้นธรรมชาติ ในวัฒนธรรมสมัยนิยมและบันเทิงคดี เหนือธรรมชาติเกี่ยวข้องอย่างประหลาดกับเหนือธรรมดาและรหัสญาณ ซึ่งต่างจากมโนทัศน์เดิมในบางศาสนา เช่น คาทอลิก ที่เชื่อว่าปาฏิหารย์จากพระเจ้าถูกมองว่าเหนือธรรมชาติ หมวดหมู่:อำนาจปรัมปราวิทยา.

ใหม่!!: วิมตินิยมทางวิทยาศาสตร์และเหนือธรรมชาติ · ดูเพิ่มเติม »

เนสซี

รคดี เนสซี หรือ สัตว์ประหลาดล็อกเนสส์ (Nessie, Loch Ness Monster) คือสิ่งมีชีวิตลึกลับขนาดใหญ่ชนิดหนึ่งที่เชื่อว่าอาศัยอยู่ในทะเลสาบเนสส์ (ล็อกเนสส์) ในสกอตแลนด์ สหราชอาณาจักร.

ใหม่!!: วิมตินิยมทางวิทยาศาสตร์และเนสซี · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

PseudoskepticismRational skepticismScientific scepticismScientific skepticismSkeptical inquiryการสอบสวนโดยไม่เชื่อวิมตินิยมวิทยาศาสตร์วิมตินิยมตามเหตุผลวิมตินิยมโดยเหตุผลวิมตินิยมเทียมนักวิมตินิยมทางวิทยาศาสตร์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »