โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

คาร์ล เซแกน

ดัชนี คาร์ล เซแกน

ร์ล เซแกน (Carl Sagan) นักดาราศาสตร์ชาวอเมริกัน (ค.ศ. 1934 - 1996) เป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับบรรยากาศของดาวเคราะห์ต่าง ๆ เซแกนได้ศึกษาว่าสิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นและมีวิวัฒนาการบนโลกอย่างไร สนใจถึงความเป็นไปได้ที่จะมีสิ่งมีชีวิตอยู่บนดาวอื่นเป็นพิเศษ เซแกนเป็นคนริเริ่มความคิดที่จะติดตั้งแผ่นป้ายบนยานสำรวจอวกาศไพโอเนียร์ 10 ที่เป็นเหมือนจดหมายจากโลก ยานไพโอเนียร์ 10 ผ่านเข้าใกล้ดาวพฤหัสบดีใน ค.ศ. 1973 ก่อนที่จะออกไปยังขอบนอกของระบบสุริยะแล้วออกสู่อวกาศ แผ่นป้ายแบบเดียวกันติดไปกับยานสำรวจอวกาศไพโอเนียร์ 11 ในปีต่อมา นอกจากงานด้านดาราศาสตร์แล้ว เซแกนยังมีชื่อเสียงจากนิยายวิทยาศาสตร์เรื่อง Contact ซึ่งเกี่ยวกับความพยายามของมนุษย์ในการค้นหาสิ่งมีชีวิตทรงภูมิปัญญานอกโลก นิยายเรื่องนี้ ภายหลังได้ถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์ในชื่อเดียวกัน (ชื่อภาษาไทยคือ "คอนแทค อุบัติการณ์สัมผัสห้วงจักรวาล") นำแสดงโดย โจดี้ ฟอสเตอร.

45 ความสัมพันธ์: ฟิสิกส์ดาราศาสตร์พ.ศ. 2477พ.ศ. 2516พ.ศ. 2520พ.ศ. 2539กระสวยอวกาศกาลิเลโอ (ยานอวกาศ)มหาวิทยาลัยชิคาโกมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดมหาวิทยาลัยคอร์เนลมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียยูโรปา (ดาวบริวาร)ระบบสุริยะรัฐนิวเจอร์ซีย์รางวัลพูลิตเซอร์รางวัลฮิวโกรางวัลโลกัส โพลรางวัลเอ็มมีวอชิงตันสหรัฐสถานีอวกาศอเมริกันจดหมายดวงจันทร์ดาราศาสตร์ดาวบริวารดาวพฤหัสบดีดาวศุกร์ดาวอังคารดาวเสาร์ซีแอตเทิลปรากฏการณ์โลกร้อนปรากฏการณ์เรือนกระจกนักบินอวกาศนักดาราศาสตร์นาซานิวยอร์ก (แก้ความกำกวม)โจดี ฟอสเตอร์โครงการวอยเอจเจอร์โครงการอะพอลโลไพโอเนียร์ 10ไพโอเนียร์ 11ไททัน (ดาวบริวาร)เพลบลูดอตเซติ

ฟิสิกส์ดาราศาสตร์

ฟิสิกส์ดาราศาสตร์ (อังกฤษ: Astrophysics) เป็นแขนงวิชาทางดาราศาสตร์ ว่าด้วยสมบัติทางกายภาพของวัตถุในอวกาศ ไม่ว่าจะเป็นดาวฤกษ์ ดาราจักร และเอกภพทั้งหลายทั้งมวล จะเน้นศึกษาแขนงวิชาที่กว่ามาข้างต้น มากกว่าศึกษาตำแหน่งหรือการเคลื่อนที่ของวัถตุต่าง ๆ ในอวกาศ วิชาฟิสิกส์ดาราศาสตร์จะศึกษาเกี่ยวกับดวงอาทิตย์, ดาวฤกษ์ต่าง ๆ, กาแล็กซีต่าง ๆ, ดาวเคราะห์นอกระบบ, มวลสารระหว่างดาว, รังสีไมโครเวฟพื้นหลังของจักรวาล สาขาวิชานี้จะตรวจสอบและศึกษาอย่างละเอียดเกี่ยวกับสเปกตรัมแม่เหล็กไฟฟ้า และปัจจัยต่าง ๆ อาทิ ความเข้มแสง, ความหนาแน่น, อุณหภูมิ และสารประกอบเคมี เนื่องจากวิชาฟิสิกส์ดาราศาสตร์นั้นครอบคลุมเนื้อหาและแขนงวิชาต่าง ๆ ในบริเวณกว้าง จึงสามารถรวมอีกหลายแขนงวิชาเข้ามาในวิชาฟิสิกส์ดาราศาสตร์นี้ได้ด้วย อาทิ กลศาสตร์, การศึกษาแรงแม่เหล็กไฟฟ้า, กลศาสตร์สถิติ, อุณหพลศาสตร์, กลศาสตร์ควอนตัม, ทฤษฎีสัมพันธภาพ, ฟิสิกส์นิวเคลียร์, ฟิสิกส์อะตอม โมเลกุล และทัศนศาสตร.

ใหม่!!: คาร์ล เซแกนและฟิสิกส์ดาราศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2477

ทธศักราช 2477 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1934ยวห.

ใหม่!!: คาร์ล เซแกนและพ.ศ. 2477 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2516

ทธศักราช 2516 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1973 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันจันทร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: คาร์ล เซแกนและพ.ศ. 2516 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2520

ทธศักราช 2520 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1977 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันเสาร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: คาร์ล เซแกนและพ.ศ. 2520 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2539

ทธศักราช 2539 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1996 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันจันทร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: คาร์ล เซแกนและพ.ศ. 2539 · ดูเพิ่มเติม »

กระสวยอวกาศ

ลัมเบีย STS-1 พ.ศ. 2524 กระสวยอวกาศ (space shuttle) คือ เครื่องบินอวกาศของสหรัฐอเมริกา สร้างขึ้นโดยองค์การนาซ่า (NASA) มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า Space Transportation System (STS) ผลิตโดยบริษัท North American Aviation ซึ่งปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของบริษัท Rockwell International สเปซชัทเทิลทะยานขึ้นเหมือนจรวดและไปโคจรรอบโลก มีปีกและตอนกลับสู่โลกจะร่อนลงตามรันเวย์ กระสวยอวกาศสามารถนำมาใช้ได้หลาย ๆ ครั้ง กระสวยอวกาศถูกออกแบบมาให้ใช้งานซ้ำได้ 100 ครั้ง หรือปฏิบัติการได้ 10 ปี โครงการถูกเริ่มขึ้นในท้ายยุค 60 หลังจากนั้นก็มีบทบาทสำคัญในปฏิบัติการที่ต้องใช้คนเข้าร่วมของนาซามาโดยตลอด ส่วนสำคัญของกระสวยอวกาศ เรียกว่า ออร์บิเตอร์ (orbiter หมายถึง ยานโคจร) จะพาลูกเรือและสัมภาระไปยังอวกาศในขณะที่จะส่งกระสวยอวกาศขึ้นไป กระสวยจะอยู่ที่ฐานส่งโดยจะตั้งชี้ขึ้นไปคล้ายจรวด ข้าง ๆ ออร์บิเตอร์จะมีแทงค์น้ำมันขนาดใหญ่ ซึ่งเรียกว่า แทงค์ด้านนอก (External Tank) ซึ่งมันจะเก็บออกซิเจนและไฮโดรเจนในขณะที่มันขึ้นเชื้อเพลิงเหล่านี้จะถูกสูบเข้าไปยังเครื่องยนต์หลัก 3 เครื่อง ของออร์บิเตอร์ นอกจากนี้ยังมีแทงค์ขนาดเล็กที่อยู่ข้าง ๆ ออร์บิเตอร์บนฐานส่งเพื่อให้แรงผลักดันพิเศษในขณะส่งกระสวยขึ้น ซึ่งเรียกว่า Solid Fuel Rocket Booster หรือ SRB ทำงานคล้ายกับจรวดดอกไม้ไฟขนาดใหญ่ เมื่อกระสวยอวกาศทะยานขึ้น หลังจากนั้นประมาณ 2 นาที เชื้อเพลิงในแทงค์เชื้อเพลิง SRB จะหมดลง และตกลงในทะเลกับร่มชูชีพ อัตราความเร็วของกระสวยค่อย ๆ เพิ่มขึ้นจนถึงความเร็วประมาณ 72 ไมล์ จากนั้นเครื่องยนต์หลักจึงหยุดทำงาน และถังเชื้อเพลิงภายนอกซึ่งว่างเปล่าจะถูกปล่อยตกลงสู่ทะเล เครื่องยนต์ของจรวดสองลำจะรับภาระต่อไป ซึ่งเรียกว่า ระบบการยักย้ายการโคจร ในระหว่างการโคจร เมื่อถึงเวลากลับสู่โลก เครื่องยนต์ระบบการยักย้ายการโคจรจะถูกยิงคล้ายกับตอนล่างของจรวด และยานจะหลุดออกจากการโคจร แล้วกลับลงมาสู่บรรยากาศโลกในอัตราความเร็ว 15,900 ไมล์ต่อชั่วโมง (หรือประมาณ 25,700 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) แผ่นกำบังความร้อนข้างใต้กระสวยอวกาศจะเปล่งแสงสีแดงจัดพร้อมกับความร้อนในการกลับเข้ามาสู่โลก แผ่นกระเบื้องพิเศษบนกระสวยอวกาศจะป้องกันลูกเรือและยานอวกาศออร์บิเตอร์จะช้าลงเมื่อเข้ามาถึงบริเวณส่วนล่างของบรรยากาศ จะร่อนลงบนพื้นดินบนรันเวย์ด้วยความเร็วประมาณ 210 ไมล์แล้วภารกิจก็จะจบลง.

ใหม่!!: คาร์ล เซแกนและกระสวยอวกาศ · ดูเพิ่มเติม »

กาลิเลโอ (ยานอวกาศ)

นกาลิเลโอ ยานกาลิเลโอ เป็นยานสำรวจดาวพฤหัสบดี ถูกส่งออกจากโลกเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม ค.ศ. 1989 (พ.ศ. 2532) ใช้เวลา 6 ปีในการเดินทางไปยังดาวพฤหัสบดี ในระหว่างทางยานกาลิเลโอได้เข้าใกล้ดาวเคราะห์น้อยเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ ดาวเคราะห์น้อยดวงนี้มีชื่อว่า แกสปรา และต่อมาได้ผ่านใกล้ดาวเคราะห์น้อยอีกดวงหนึ่งชื่อ ไอดา ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1995 (พ.ศ. 2538) ยานกาลิเลโอก็ปล่อยหัวสำรวจลงไปในบรรยากาศของดาวพฤหัสบดี ยานโคจรของยานกาลิเลโอให้รายละเอียดในระยะใกล้ของดาวพฤหัสบดีและดาวบริวารที่ไม่เคยมีมาก่อน.

ใหม่!!: คาร์ล เซแกนและกาลิเลโอ (ยานอวกาศ) · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยชิคาโก

ตราสัญลักษณ์รูปนกฟินิกซ์ ของมหาวิทยาลัยชิคาโก. มหาวิทยาลัยชิคาโก (University of Chicago หรือที่เรียกโดยย่อว่า UC หรือ UofC) ตั้งอยู่ในชุมชนไฮด์พาร์ก (Hyde Park) ซึ่งอยู่ทางใต้ของใจกลางเมืองชิคาโก รัฐอิลลินอยส์ ประมาณ 6 ไมล์ เป็นมหาวิทยาลัยเน้นการวิจัย (Research University) ที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของสหรัฐอเมริกาและของโลก โดยเฉพาะในด้านวิชาการ และผลงานวิจัยต่าง ๆ ทั้งทางวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ ปัจจุบันเป็นมหาวิทยาลัยของสหรัฐอเมริกาที่มีผู้เกี่ยวข้องได้รับ รางวัลโนเบลเป็นจำนวนมากที.

ใหม่!!: คาร์ล เซแกนและมหาวิทยาลัยชิคาโก · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด

มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (Harvard University อ่านว่า ฮารฺเวิรฺด) มหาวิทยาลัยเอกชนในเมืองเคมบริดจ์ รัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกาได้ขึ้นชื่อว่าเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงของโลก แห่งหนึ่งและเป็นหนึ่งมหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่สุดของสหรัฐอเมริกา โดยก่อตั้งเมื่อปี 8 กันยายน พ.ศ. 2179 (ค.ศ. 1636) มีอายุครบ 370 ปีใน พ.ศ. 2549 ฮาร์วาร์ดเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยในกลุ่มไอวีลีก โดยในปี..

ใหม่!!: คาร์ล เซแกนและมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยคอร์เนล

มหาวิทยาลัยคอร์เนล (Cornell University) เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนในไอวีลีกตั้งอยู่ที่เมืองอิทาคา ในรัฐนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2408 (ค.ศ. 1865) โดย เอซรา คอร์เนล และ แอนดรูว์ ดิกสัน ไวต์ คอร์เนลมีนักศึกษาประมาณ 20,000 คน (ในปี พ.ศ. 2548) มีชื่อเสียงทางด้านวิชาการในหลากหลายด้าน ไม่ว่าจะด้านวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยคอร์เนลล์มีวิทยาลัยขนาดใหญ่ 2 แห่งด้วยกัน คือ College of Arts and Sciences และ College of Agriculture and Life Sciences นอกจากนี้การศึกษาระดับบัณฑิตศึกษายังได้รับการจัดอันดับอยู่ในระดับสูง อาทิ Johnson Graduate School of Management, College of Engineering, Law School, Weill Cornell Medical College และมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักดีทางด้านศึกษาศาสตร์ นอกจากนี้มหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ยังมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักติดอันดับ คือ College of Veterinary Medicine และมีชื่อเสียงสูงมาก คือ School of Hotel Management ด้านสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมีชื่อเล่นว่า Big Red เพราะดินที่นั่นเป็นสีแดง มี Mascot คือ หมี Cornell Big Red Bear บอลช์ฮอลล์ หอพักนักศึกษาหญิง ในมหาวิทยาลัยคอร์เนล.

ใหม่!!: คาร์ล เซแกนและมหาวิทยาลัยคอร์เนล · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย

The seal of the University of California 1868 ที่ตั้งของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ทั้ง 10 แห่งในรัฐแคลิฟอร์เนีย มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย (University of California) เป็นระบบของกลุ่มมหาวิทยาลัย 10 แห่งในรัฐแคลิฟอร์เนีย ซึ่งมีนักศึกษาทั้งหมด 191,000 คน และศิษย์เก่าในปัจจุบันมากกว่า 1,340,000 คน โดยมหาวิทยาลัยที่ตั้งแห่งแรกคือ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2411 และล่าสุดคือ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เมอร์เซด ก่อตั้งในปี..

ใหม่!!: คาร์ล เซแกนและมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย · ดูเพิ่มเติม »

ยูโรปา (ดาวบริวาร)

ูโรปา (Europa; Ευρώπη) เป็นดาวบริวารดวงหนึ่งของดาวพฤหัสบดี ค้นพบในปี..

ใหม่!!: คาร์ล เซแกนและยูโรปา (ดาวบริวาร) · ดูเพิ่มเติม »

ระบบสุริยะ

ระบบสุริยะ (Solar System) ประกอบด้วยดวงอาทิตย์และวัตถุอื่น ๆ ที่โคจรรอบดวงอาทิตย์เนื่องจากแรงโน้มถ่วง ได้แก่ ดาวเคราะห์ 8 ดวงกับดวงจันทร์บริวารที่ค้นพบแล้ว 166 ดวง ดาวเคราะห์แคระ 5 ดวงกับดวงจันทร์บริวารที่ค้นพบแล้ว 4 ดวง กับวัตถุขนาดเล็กอื่น ๆ อีกนับล้านชิ้น ซึ่งรวมถึง ดาวเคราะห์น้อย วัตถุในแถบไคเปอร์ ดาวหาง สะเก็ดดาว และฝุ่นระหว่างดาวเคราะห์ โดยทั่วไปแล้วจะแบ่งย่านต่าง ๆ ของระบบสุริยะ นับจากดวงอาทิตย์ออกมาดังนี้คือ ดาวเคราะห์ชั้นในจำนวน 4 ดวง แถบดาวเคราะห์น้อย ดาวเคราะห์ขนาดใหญ่รอบนอกจำนวน 4 ดวง และแถบไคเปอร์ซึ่งประกอบด้วยวัตถุที่เย็นจัดเป็นน้ำแข็ง พ้นจากแถบไคเปอร์ออกไปเป็นเขตแถบจานกระจาย ขอบเขตเฮลิโอพอส (เขตแดนตามทฤษฎีที่ซึ่งลมสุริยะสิ้นกำลังลงเนื่องจากมวลสารระหว่างดวงดาว) และพ้นไปจากนั้นคือย่านของเมฆออร์ต กระแสพลาสมาที่ไหลออกจากดวงอาทิตย์ (หรือลมสุริยะ) จะแผ่ตัวไปทั่วระบบสุริยะ สร้างโพรงขนาดใหญ่ขึ้นในสสารระหว่างดาวเรียกกันว่า เฮลิโอสเฟียร์ ซึ่งขยายออกไปจากใจกลางของแถบจานกระจาย ดาวเคราะห์ชั้นเอกทั้ง 8 ดวงในระบบสุริยะ เรียงลำดับจากใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดออกไป มีดังนี้คือ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน นับถึงกลางปี ค.ศ. 2008 วัตถุขนาดย่อมกว่าดาวเคราะห์จำนวน 5 ดวง ได้รับการจัดระดับให้เป็นดาวเคราะห์แคระ ได้แก่ ซีรีสในแถบดาวเคราะห์น้อย กับวัตถุอีก 4 ดวงที่โคจรรอบดวงอาทิตย์อยู่ในย่านพ้นดาวเนปจูน คือ ดาวพลูโต (ซึ่งเดิมเคยถูกจัดระดับไว้เป็นดาวเคราะห์) เฮาเมอา มาคีมาคี และ อีรีส มีดาวเคราะห์ 6 ดวงและดาวเคราะห์แคระ 3 ดวงที่มีดาวบริวารโคจรอยู่รอบ ๆ เราเรียกดาวบริวารเหล่านี้ว่า "ดวงจันทร์" ตามอย่างดวงจันทร์ของโลก นอกจากนี้ดาวเคราะห์ชั้นนอกยังมีวงแหวนดาวเคราะห์อยู่รอบตัวอันประกอบด้วยเศษฝุ่นและอนุภาคขนาดเล็ก สำหรับคำว่า ระบบดาวเคราะห์ ใช้เมื่อกล่าวถึงระบบดาวโดยทั่วไปที่มีวัตถุต่าง ๆ โคจรรอบดาวฤกษ์ คำว่า "ระบบสุริยะ" ควรใช้เฉพาะกับระบบดาวเคราะห์ที่มีโลกเป็นสมาชิก และไม่ควรเรียกว่า "ระบบสุริยจักรวาล" อย่างที่เรียกกันติดปาก เนื่องจากไม่เกี่ยวข้องกับคำว่า "จักรวาล" ตามนัยที่ใช้ในปัจจุบัน.

ใหม่!!: คาร์ล เซแกนและระบบสุริยะ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐนิวเจอร์ซีย์

รัฐนิวเจอร์ซีย์ (New Jersey) เป็นรัฐในสหรัฐอเมริกาที่มีความหนาแน่นประชากรมากที่สุด ตั้งอยู่ทางตะวันออกของประเทศ โดยอยู่ติดกับรัฐนิวยอร์ก ชื่อนิวเจอร์ซีย์มาจากชื่อของเกาะเจอร์ซีย์ บริเวณช่องแคบอังกฤษในยุโรป ชื่อเล่นของรัฐมีชื่อว่า "การ์เดนสเตต" (Garden State) ชาวยุโรปกลุ่มแรกที่ตั้งรกรากในนิวเจอร์ซีย์คือ ชาวสวีเดน และชาวเยอรมัน เมืองสำคัญในรัฐนิวเจอร์ซีย์ได้แก่ นูอาร์ก (น้วก) เจอร์ซีซิตี และ แอตแลนติกซิตี ทีมกีฬาที่มีชื่อเสียงได้แก่ นิวยอร์ก ไจแอนต์, นิวยอร์ก เจ็ต, นิวเจอร์ซีย์ เน็ต, นิวเจอร์ซีย์ เดวิลส์ และ เมโทรสตารส์ มหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงได้แก่ มหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน.

ใหม่!!: คาร์ล เซแกนและรัฐนิวเจอร์ซีย์ · ดูเพิ่มเติม »

รางวัลพูลิตเซอร์

รางวัลพูลิตเซอร์ (Pulitzer Prizes) เป็นรางวัลของสหรัฐอเมริกา ตั้งขึ้นเพื่อมอบแก่ผู้ได้รับเกียรติสูงสุดระดับชาติในวงการสิ่งพิมพ์ การบรรลุความสำเร็จทางวรรณกรรม และการประพันธ์เพลง บริหารจัดการโดยมหาวิทยาลัยโคลัมเบียในนครนิวยอร์ก รางวัลพูลิตเซอร์จัดมอบเป็นรายปีแบ่งเป็น 21 ประเภท ในแต่ละประเภทผู้ได้รับรางวัลจะได้รับกิตติบัตรและเงินรางวัล 10,000 ดอลลาร์สหรัฐ ผู้รับรางวัลการหนังสือพิมพ์ในสาขาการบริการสาธารณะจะได้รับเหรียญทองซึ่งมักตกแก่หนังสือพิมพ์มาโดยตลอด แม้จะมีชื่อบุคคลได้รับการกล่าวยกย่องไว้ด้วย รางวัลพูลิตเซอร์ ก่อตั้งโดยโจเซฟ พูลิตเซอร์ นักหนังสือพิมพ์และผู้พิมพ์โฆษณาชาวฮังการี-อเมริกัน ซึ่งได้มอบเงินจำนวน 2 ล้านเหรียญไว้ในพินัยกรรมแก่มหาวิทยาลัยโคลัมเบียหลังการเสียชีวิตเมื่อ พ.ศ. 2454 เงินส่วนหนึ่งของกองมรดกนี้ได้ถูกนำไปใช้ในการก่อตั้งสถาบันวิชาการหนังสือพิมพ์ของมหาวิทยาลัยในปี พ.ศ. 2456 ได้มีการมอบรางวัลพูลิตเซอร์รางวัลแรกเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2460 ปัจจุบันมีการประกาศรางวัลทุก ๆ เดือนเมษายน การคัดเลือกผู้ได้รับรางวัลดำเนินการโดยกรรมการอิสร.

ใหม่!!: คาร์ล เซแกนและรางวัลพูลิตเซอร์ · ดูเพิ่มเติม »

รางวัลฮิวโก

รางวัลฮิวโก (The Hugo Award, Science Fiction Achievement Award) เป็นรางวัลสำหรับนักเขียนนิยายแนววิทยาศาสตร์และแฟนตาซีซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติตามชื่อ ฮิวโก เจิร์นสแบค ผู้ก่อตั้งนิตยสารนิยายไซไฟในยุคแรกๆ คือ Amazing Stories มีการมอบรางวัลครั้งแรกในปี พ.ศ. 2498 รางวัลนี้มีการมอบให้ทุกปี โดย The World Science Fiction Society (WSFS) โดยพิจารณาการเสนอชื่อ และลงคะแนนนิยมในงาน World Science Fiction Convention (Worldcon) ซึ่งสมาชิกจะพิจารณาจากผลงานที่ปรากฏในปีก่อนหน้าที่จะมีงาน ทั้งนี้สมาชิกสามารถเลือก "ไม่ลงคะแนน" ให้กับผลงานใดเลยก็ได้ ในบางปีจึงไม่มีการมอบรางวัลเนื่องจากไม่มีผลงานที่โดดเด่นเพียงพอ สำหรับรางวัลฮิวโกประจำปี..

ใหม่!!: คาร์ล เซแกนและรางวัลฮิวโก · ดูเพิ่มเติม »

รางวัลโลกัส โพล

รางวัล โลกัส โพล (Locus Award) เป็นรางวัลที่มอบให้แก่ผู้ชนะการโหวตประจำปีจากนักอ่าน Locus Magazine เริ่มต้นในยุคปี 70's โดยเป็นข้อเสนอและแนะนำต่อ ผู้ที่จะ โหวต รางวัลฮิวโกด้วย หมวดหมู่:รางวัลวรรณกรรม หมวดหมู่:รางวัลบันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์.

ใหม่!!: คาร์ล เซแกนและรางวัลโลกัส โพล · ดูเพิ่มเติม »

รางวัลเอ็มมี

รางวัลเอ็มมี เป็นรางวัลทางโทรทัศน์ที่พิจารณาผู้ทำงานด้านโทรทัศน์ เทียบเท่าได้กับรางวัลออสการ์ของทางฝั่งภาพยนตร์ โดยนำเสนอหลายส่วนในอุตสาหกรรมทางโทรทัศน์อย่างเช่น รายการบันเทิง ข่าว สารคดี รายการกีฬา รางวัลจัดขึ้นประจำทุกปี โดยจะการแจกรางวัลในสาขาเฉพาะอย่างเช่น ไพรม์ไทม์ เอ็มมี อวอร์ดส ให้กับรายการอเมริกันที่ดีที่สุดในช่วงไพร์มไทม์ (ไม่รวมกีฬา) และ เดย์ไทม์ เอ็มมี อวอร์ดส ให้กับรายการอเมริกันที่ดีที่สุดในช่วงกลางวัน หมวดหมู่:รางวัลโทรทัศน์.

ใหม่!!: คาร์ล เซแกนและรางวัลเอ็มมี · ดูเพิ่มเติม »

วอชิงตัน

วอชิงตัน อาจหมายถึง.

ใหม่!!: คาร์ล เซแกนและวอชิงตัน · ดูเพิ่มเติม »

สหรัฐ

หรัฐอเมริกา (United States of America) โดยทั่วไปเรียก สหรัฐ (United States) หรือ อเมริกา (America) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐ ประกอบด้วยรัฐ 50 รัฐ และหนึ่งเขตปกครองกลาง ห้าดินแดนปกครองตนเองสำคัญ และเกาะเล็กต่าง ๆ โดย 48 รัฐและเขตปกครองกลางตั้งอยู่ ณ ทวีปอเมริกาเหนือระหว่างประเทศแคนาดาและเม็กซิโก รัฐอะแลสกาอยู่มุมตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ มีเขตแดนติดต่อกับประเทศแคนาดาทางทิศตะวันออกและข้ามช่องแคบเบริงจากประเทศรัสเซียทางทิศตะวันตก และรัฐฮาวายเป็นกลุ่มเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกกลาง ดินแดนของสหรัฐกระจายอยู่ตามมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลแคริบเบียน ครอบคลุมเขตเวลาเก้าเขต ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศและสัตว์ป่าของประเทศหลากหลายอย่างยิ่ง สหรัฐมีพื้นที่ขนาด 9.8 ล้านตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 326 ล้านคน ทำให้มีพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของโลก และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก เป็นประเทศซึ่งมีความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม และเป็นที่พำนักของประชากรเข้าเมืองใหญ่สุดในโลกAdams, J.Q., and Pearlie Strother-Adams (2001).

ใหม่!!: คาร์ล เซแกนและสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

สถานีอวกาศ

ำลองของสถานีอวกาศนานาชาติสมบูรณ์แบบ ในปี พ.ศ. 2549 สถานีอวกาศ (Space station เป็นสิ่งก่อสร้างที่ออกแบบโดยมนุษย์ เพื่อใช้เป็นที่อยู่การดำรงชีพในอวกาศ โดยอยู่ในวงโคจรต่ำ (LEO) สถานีอวกาศนานาชาติ (International Space Station) หรือ ISS เป็นห้องปฏิบัติการลอยฟ้าซึ่งโคจรรอบโลกที่ระยะสูง 410 กิโลเมตร เคลื่อนที่ด้วยความเร็ว 27,744 กิโลเมตร/ชั่วโมง โคจรรอบโลก 1 รอบใช้เวลา 92 นาที สร้้างขึ้นด้วยความร่วมมือจาก 16 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา รัสเซีย ญี่ปุ่น แคนาดา ฝรั่งเศส เยอรมัน อิตาลี เดนมาร์ก สวีเดน เบลเยียม เนเธอร์แลน์ สเปน อังกฤษ สวิสเซอร์แลนด์ นอร์เวย์ และบราซิล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทำการค้นคว้าและทดลองทางวิทยาศาสตร์หลากหลายสาขาได้แก่ ดาราศาสตร์ อุตุนิยมวิทยา วัสดุศาสตร์ ชีววิทยา เคมี และฟิสิกส์ เนื่องจากสถานีอวกาศอยู่ในสภาพไร้แรงโน้มถ่วง นักวิทยาศาสตร์จึงสามารถทำการทดลองหรือประดิษฐ์ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ซึ่งไม่สามารถกระทำบนพื้นผิวโลกได้  ดังนั้นสถานีอวกาศนานาชาติจึงมีความสำคัญต่ออนาคตของมนุษยชาติเป็นอย่างมาก.

ใหม่!!: คาร์ล เซแกนและสถานีอวกาศ · ดูเพิ่มเติม »

อเมริกัน

อเมริกัน อาจหมายถึง.

ใหม่!!: คาร์ล เซแกนและอเมริกัน · ดูเพิ่มเติม »

จดหมาย

หมายและซองจดหมาย จดหมาย คือข้อความที่เขียนขึ้นเพื่อส่งสารจากบุคคลหนึ่งไปยังบุคคลหนึ่ง อาจมีความหมายรวมไปถึงกระดาษหรือสื่อที่ใช้เขียนหรือสร้างจดหมายนั้น ในอดีตก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 19 จดหมายเป็นการสื่อสารที่เชื่อถือได้เพียงชนิดเดียวระหว่างบุคคลสองคนจากสถานที่ต่างกัน โดยการส่งผ่านทางนกพิราบสื่อสารหรือด้วยบริการไปรษณีย์ เมื่อเทคโนโลยีพัฒนามากขึ้น มีการประดิษฐ์โทรเลข โทรศัพท์ โทรสาร หรือแม้กระทั่งอินเทอร์เน็ต ซึ่งสามารถส่งสารได้รวดเร็วกว่าจดหมาย ทำให้จดหมายลดความสำคัญลงไป จดหมายอาจมีรูปแบบการเขียนที่ตายตัวสำหรับการใช้งานอย่างเป็นทางการ เช่น จดหมายราชการ จดหมายเพื่อการติดต่อทางธุรกิจ ส่วนใหญ่จะประกอบด้วย ชื่อและที่อยู่ของผู้เขียน วันที่เขียน ชื่อและที่อยู่ของผู้รับ หัวเรื่อง เนื้อความ คำลงท้าย และลายเซ็น และอาจมีตราประทับหรือเครื่องหมายอื่นๆ ตามรูปแบบที่กำหนด จดหมายที่ส่งทางไปรษณีย์ อาจอยู่ในรูปแบบของจดหมายธรรมดาที่ต้องใส่ในซองจดหมาย หรือรูปแบบไปรษณียบัตร ไปรษณียบรรณ การส่งจดหมายจำเป็นต้องจ่าหน้าที่อยู่ของผู้รับให้ชัดเจน และชำระค่าธรรมเนียมก่อนส่งจดหมายให้เจ้าหน้าที่ หรือติดแสตมป์แล้วหย่อนลงตู้ไปรษณีย์ จากนั้นจดหมายจะถูกส่งไปตามกระบวนการไปยังผู้รับตามที่ได้จ่าหน้าไว้ หากจดหมายไม่ได้ติดแสตมป์อาจมีการเรียกเก็บเงินค่าธรรมเนียมปลายทาง และหากที่อยู่ปลายทางไม่มีผู้รับ จดหมายจะถูกตีกลับไปยังผู้ส่ง ในการเขียนจดหมายที่ได้รับการบันทึกไว้ เช่น ไกลบ้าน ซึ่งเป็นพระราชหัตถเลขา ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเขียนถึงเจ้าฟ้าหญิงนิภานพดลฝ่ายเดียว พ่อสอนลูก ของนายทวี บุญยเกตุ อดีตนายกรัฐมนตรี ซึ่งเขียนถึงลูกในขณะลี้ภัยการเมืองอยู่ในปีนัง ส่วน สาส์นสมเด็จเป็นจดหมายโต้ตอบ ระหว่างสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ กับสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ และ บันทึกความรู้ เป็นจดหมายโต้ตอบระหว่างสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ กับ พระยาอนุมานราชธน เป็นต้น.

ใหม่!!: คาร์ล เซแกนและจดหมาย · ดูเพิ่มเติม »

ดวงจันทร์

วงจันทร์เป็นวัตถุดาราศาสตร์ที่โคจรรอบโลก เป็นดาวบริวารถาวรดวงเดียวของโลก เป็นดาวบริวารใหญ่ที่สุดอันดับที่ 5 ในระบบสุริยะ และเป็นดาวบริวารขนาดใหญ่สุดเมื่อเทียบกับกขนาดของดาวเคราะห์ที่โคจร ดวงจันทร์เป็นดาวบริวารที่มีความหนาแน่นที่สุดเป็นอันดับที่ 2 รองจากไอโอของดาวพฤหัสบดี ซึ่งบางส่วนไม่ทราบความหนาแน่น คาดว่าดวงจันทร์ก่อกำเนิดประมาณ 4.51 พันล้านปีก่อน ไม่นานหลังจากโลก คำอธิบายที่ได้รับการยอมรับกว้างขวางที่สุดคือดวงจันทร์ก่อกำเนิดจากเศษที่เหลือจากการชนขนาดยักษ์ระหว่างโลกกับเทห์ขนาดประมาณดาวอังคารชื่อเธียอา ดวงจันทร์หมุนรอบโลกแบบประสานเวลา จะหันด้านเดียวเข้าหาโลกเสมอคือด้านใกล้ที่มีลักษณะเป็นทะเลภูเขาไฟมืด ๆ ซึ่งเติมที่ว่างระหว่างที่สูงเปลือกโบราณสว่างและหลุมอุกกาบาตที่เห็นได้ชัดเจน เมื่อสังเกตจากโลก เป็นเทห์ฟ้าที่เห็นได้เป็นประจำสว่างที่สุดอันดับสองในท้องฟ้าของโลกรองจากดวงอาทิตย์ พื้นผิวแท้จริงแล้วมืด แม้เทียบกับท้องฟ้าราตรีแล้วจะดูสว่างมาก โดยมีการสะท้อนสูงกว่าแอสฟอลต์เสื่อมเล็กน้อย อิทธิพลความโน้มถ่วงของดวงจันทร์ทำให้เกิดน้ำขึ้นลงมหาสมุทร และทำให้หนึ่งวันยาวขึ้นเล็กน้อย มีระยะห่างจากโลกเฉลี่ยนับจากศูนย์กลางถึงศูนย์กลางประมาณ 384,403 กิโลเมตร เทียบเท่ากับ 30 เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลางของโลก จุดศูนย์กลางมวลร่วมของระบบตั้งอยู่ที่ตำแหน่ง 1700 กิโลเมตรใต้ผิวโลก หรือประมาณ 1 ใน 4 ของรัศมีของโลก ดวงจันทร์โคจรรอบโลกในเวลาประมาณ 27.3 วันตัวเลขอย่างละเอียดคือ คาบโคจรแท้จริงเฉลี่ยของดวงจันทร์ (sideral orbit) คือ 27.321661 วัน (27 วัน 7 ชั่วโมง 43 นาที 11.5วินาที) และคาบโคจรเฉลี่ยแบบทรอปิคัล (tropical orbit) อยู่ที่ 27.321582 วัน (27 วัน 7 ชั่วโมง 43 นาที 4.7 วินาที) (Explanatory Supplement to the Astronomical Ephemeris, 1961, at p.107).

ใหม่!!: คาร์ล เซแกนและดวงจันทร์ · ดูเพิ่มเติม »

ดาราศาสตร์

ราจักรทางช้างเผือก ดาราศาสตร์ คือวิชาวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาวัตถุท้องฟ้า (อาทิ ดาวฤกษ์ ดาวเคราะห์ ดาวหาง และดาราจักร) รวมทั้งปรากฏการณ์ทางธรรมชาติต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากนอกชั้นบรรยากาศของโลก โดยศึกษาเกี่ยวกับวิวัฒนาการ ลักษณะทางกายภาพ ทางเคมี ทางอุตุนิยมวิทยา และการเคลื่อนที่ของวัตถุท้องฟ้า ตลอดจนถึงการกำเนิดและวิวัฒนาการของเอกภพ ดาราศาสตร์เป็นหนึ่งในสาขาของวิทยาศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุด นักดาราศาสตร์ในวัฒนธรรมโบราณสังเกตการณ์ดวงดาวบนท้องฟ้าในเวลากลางคืน และวัตถุทางดาราศาสตร์หลายอย่างก็ได้ถูกค้นพบเรื่อยมาตามยุคสมัย อย่างไรก็ตาม กล้องโทรทรรศน์เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่จำเป็นก่อนที่จะมีการพัฒนามาเป็นวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ ตั้งแต่อดีตกาล ดาราศาสตร์ประกอบไปด้วยสาขาที่หลากหลายเช่น การวัดตำแหน่งดาว การเดินเรือดาราศาสตร์ ดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์ การสร้างปฏิทิน และรวมทั้งโหราศาสตร์ แต่ดาราศาสตร์ทุกวันนี้ถูกจัดว่ามีความหมายเหมือนกับฟิสิกส์ดาราศาสตร์ ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา ดาราศาสตร์ได้แบ่งออกเป็นสองสาขาได้แก่ ดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์ และดาราศาสตร์เชิงทฤษฎี ดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์จะให้ความสำคัญไปที่การเก็บและการวิเคราะห์ข้อมูล โดยการใช้ความรู้ทางกายภาพเบื้องต้นเป็นหลัก ส่วนดาราศาสตร์เชิงทฤษฎีให้ความสำคัญไปที่การพัฒนาคอมพิวเตอร์หรือแบบจำลองเชิงวิเคราะห์ เพื่ออธิบายวัตถุท้องฟ้าและปรากฏการณ์ต่าง ๆ ทั้งสองสาขานี้เป็นองค์ประกอบซึ่งกันและกัน กล่าวคือ ดาราศาสตร์เชิงทฤษฎีใช้อธิบายผลจากการสังเกตการณ์ และดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์ใช้ในการรับรองผลจากทางทฤษฎี การค้นพบสิ่งต่าง ๆ ในเรื่องของดาราศาสตร์ที่เผยแพร่โดยนักดาราศาสตร์สมัครเล่นนั้นมีความสำคัญมาก และดาราศาสตร์ก็เป็นหนึ่งในวิทยาศาสตร์จำนวนน้อยสาขาที่นักดาราศาสตร์สมัครเล่นยังคงมีบทบาท โดยเฉพาะการค้นพบหรือการสังเกตการณ์ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเพียงชั่วคราว ไม่ควรสับสนระหว่างดาราศาสตร์โบราณกับโหราศาสตร์ ซึ่งเป็นความเชื่อที่นำเอาเหตุการณ์และพฤติกรรมของมนุษย์ไปเกี่ยวโยงกับตำแหน่งของวัตถุท้องฟ้า แม้ว่าทั้งดาราศาสตร์และโหราศาสตร์เกิดมาจากจุดร่วมเดียวกัน และมีส่วนหนึ่งของวิธีการศึกษาที่เหมือนกัน เช่นการบันทึกตำแหน่งดาว (ephemeris) แต่ทั้งสองอย่างก็แตกต่างกัน ในปี ค.ศ. 2009 นี้เป็นการครบรอบ 400 ปีของการพิสูจน์แนวคิดเรื่องดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของจักรวาล ของ นิโคเลาส์ โคเปอร์นิคัส อันเป็นการพลิกคติและโค่นความเชื่อเก่าแก่เรื่องโลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาลของอริสโตเติลที่มีมาเนิ่นนาน โดยการใช้กล้องโทรทรรศน์สังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ของกาลิเลโอซึ่งช่วยยืนยันแนวคิดของโคเปอร์นิคัส องค์การสหประชาชาติจึงได้ประกาศให้ปีนี้เป็นปีดาราศาสตร์สากล มีเป้าหมายเพื่อให้สาธารณชนได้มีส่วนร่วมและทำความเข้าใจกับดาราศาสตร์มากยิ่งขึ้น.

ใหม่!!: คาร์ล เซแกนและดาราศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ดาวบริวาร

วบริวาร (Natural satellite) คือ วัตถุตามธรรมชาติที่โคจรรอบดาวเคราะห์ ระบบสุริยะของเรามีดาวบริวารบริวารอยู่มากกว่า 140 ดวง โดยปกติดาวเคราะห์แก๊สที่มีขนาดใหญ่ น้ำหนักมาก จะมีดาวบริวารจำนวนมาก ดาวพุธและดาวศุกร์ไม่มีดาวบริวารแม้แต่ดวงเดียว โลกมี 1 ดวง คือดวงจันทร์ ดาวอังคารมีดาวบริวารขนาดเล็ก 2 ดวง.

ใหม่!!: คาร์ล เซแกนและดาวบริวาร · ดูเพิ่มเติม »

ดาวพฤหัสบดี

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: คาร์ล เซแกนและดาวพฤหัสบดี · ดูเพิ่มเติม »

ดาวศุกร์

วศุกร์ (Venus) เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 2 ดาวศุกร์มีเส้นผ่านศูนย์กลางเป็น 3 เท่าของดวงจันทร์ และ มีขนาดใหญ่กว่าดาวพุธและดาวอังคาร 2 เท่าตัว ชื่อละตินของดาวศุกร์ (Venus) มาจากเทพีแห่งความรักของโรมัน ดาวศุกร์เป็นดาวเคราะห์หิน มีขนาดใกล้เคียงกับโลก บางครั้งเรียกว่า "น้องสาว" ของโลก แม้ว่าวงโคจรของดาวเคราะห์ทุกดวงจะเป็นวงรี วงโคจรของดาวศุกร์จัดว่าเกือบเป็นวงกลม มีความเยื้องศูนย์กลาง (ความรี) น้อยที่สุด สำหรับวัตถุในธรรมชาติ ดาวศุกร์เป็นวัตถุท้องฟ้าที่สว่างที่สุดเป็นลำดับที่ 3 รองจากดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ เนื่องจากดาวศุกร์มีวงโคจรใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าโลก จึงมีมุมห่างจากดวงอาทิตย์ไม่เกิน 47.8° มองเห็นได้เฉพาะในเวลาเช้ามืดหรือหัวค่ำเท่านั้น ขณะปรากฏในท้องฟ้าเวลาหัวค่ำทางทิศตะวันตก เรียกว่า "ดาวประจำเมือง" และเมื่อปรากฏในท้องฟ้าเวลาเช้ามืดทางทิศตะวันออก เรียกว่า "ดาวประกายพรึก" หรือ "ดาวรุ่ง" ชาวบาบิโลนโบราณรู้จักดาวศุกร์มาตั้งแต่ราว 1,600 ปีก่อนคริสตกาล แต่เชื่อว่าด้วยความสว่างสุกใสของดาวศุกร์ น่าจะเป็นที่รู้จักมาก่อนหน้านั้นนานแล้วนับตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ สัญลักษณ์แทนดาวศุกร์ คือ ♀.

ใหม่!!: คาร์ล เซแกนและดาวศุกร์ · ดูเพิ่มเติม »

ดาวอังคาร

วอังคาร (Mars) เป็นดาวเคราะห์ลำดับที่สี่จากดวงอาทิตย์ เป็นดาวเคราะห์เล็กที่สุดอันดับที่สองในระบบสุริยะรองจากดาวพุธ ในภาษาอังกฤษได้ชื่อตามเทพเจ้าแห่งสงครามของโรมัน มักได้รับขนานนาม "ดาวแดง" เพราะมีออกไซด์ของเหล็กดาษดื่นบนพื้นผิวทำให้มีสีออกแดงเรื่อ ดาวอังคารเป็นดาวเคราะห์หินที่มีบรรยากาศเบาบาง มีลักษณะพื้นผิวคล้ายคลึงกับทั้งหลุมอุกกาบาตบนดวงจันทร์ และภูเขาไฟ หุบเขา ทะเลทราย ตลอดจนพิดน้ำแข็งขั้วดาวที่ปรากฏบนโลก คาบการหมุนรอบตัวเองและวัฏจักรฤดูกาลของดาวอังคารก็มีความคล้ายคลึงกับโลกซึ่งความเอียงก่อให้เกิดฤดูกาลต่าง ๆ ดาวอังคารเป็นที่ตั้งของโอลิมปัสมอนส์ ภูเขาไฟใหญ่ที่สุดบนดาวอังคารและสูงสุดอันดับสองในระบบสุริยะเท่าที่มีการค้นพบ และเป็นที่ตั้งของเวลส์มาริเนริส แคนยอนขนาดใหญ่อันดับต้น ๆ ในระบบสุริยะ แอ่งบอเรียลิสที่ราบเรียบในซีกเหนือของดาวปกคลุมกว่าร้อยละ 40 ของพื้นที่ทั้งหมดและอาจเป็นลักษณะการถูกอุกกาบาตชนครั้งใหญ่ ดาวอังคารมีดาวบริวารสองดวง คือ โฟบอสและดีมอสซึ่งต่างก็มีขนาดเล็กและมีรูปร่างบิดเบี้ยว ทั้งคู่อาจเป็นดาวเคราะห์น้อยที่ถูกจับไว้ คล้ายกับทรอยของดาวอังคาร เช่น 5261 ยูเรกา ก่อนหน้าการบินผ่านดาวอังคารที่สำเร็จครั้งแรกของ มาริเนอร์ 4 เมื่อปี 1965 หลายคนคาดว่ามีน้ำในรูปของเหลวบนพื้นผิวดาวอังคาร แนวคิดนี้อาศัยผลต่างเป็นคาบที่สังเกตได้ของรอยมืดและรอยสว่าง โดยเฉพาะในละติจูดขั้วดาวซึ่งดูเป็นทะเลและทวีป บางคนแปลความรอยมืดริ้วลายขนานเป็นร่องทดน้ำสำหรับน้ำในรูปของเหลว ภายหลัง มีการอธิบายว่าภูมิประเทศเส้นตรงเหล่านั้นเป็นภาพลวงตา แม้ว่าหลักฐานทางธรณีวิทยาที่ภารกิจไร้คนบังคับรวบรวมชี้ว่า ครั้งหนึ่งดาวอังคารเคยมีน้ำปริมาณมากปกคลุมบนพื้นผิว ณ ช่วงใดช่วงหนึ่งในระยะต้น ๆ ของอายุ ในปี 2005 เรดาร์เผยว่ามีน้ำแข็งน้ำ (water ice) ปริมาณมากขั้วทั้งสองของดาว และที่ละติจูดกลาง ยานสำรวจภาคพื้นดาวอังคารสปิริต พบตัวอย่างสารประกอบเคมีที่มีโมเลกุลน้ำเมื่อเดือนมีนาคม 2007 ส่วนลงจอดฟีนิกซ์ พบตัวอย่างน้ำแข็งน้ำโดยตรงในดินส่วนตื้นของดาวอังคารเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2008 มียานอวกาศที่กำลังปฏิบัติงานอยู่เจ็ดลำ ห้าลำอยู่ในวงโคจร ได้แก่ 2001 มาร์สโอดิสซี มาร์สเอ็กซ์เพรส มาร์สรีคอนเนสเซนซ์ออร์บิเตอร์ เมเว็น และมาร์สออร์บิเตอร์มิชชัน และสองลำบนพื้นผิว ได้แก่ ยานสำรวจภาคพื้นดาวอังคารออปพอร์ทูนิตี และยานมาร์สไซแอนซ์แลบอราทอรีคิวริออซิตี การสังเกตโดย มาร์สรีคอนเนสเซนซ์ออร์บิเตอร์ เปิดเผยว่ามีความเป็นไปได้ที่จะมีน้ำไหลในช่วงเดือนที่ร้อนที่สุดบนดาวอังคาร ในปี 2013 ยานคิวริออซิตี ของนาซาค้นพบว่าดินของดาวอังคารมีน้ำเป็นองค์ประกอบระหว่างร้อยละ 1.5 ถึง 3 โดยมวล แม้ว่าน้ำนั้นจะติดอยู่กับสารประกอบอื่น ทำให้ไม่สามารถเข้าถึงได้โดยอิสระ กำลังมีการสืบค้นเพื่อประเมินศักยภาพความสามารถอยู่อาศัยได้ในอดีตของดาวอังคาร ตลอดจนความเป็นไปได้ที่จะมีสิ่งมีชีวิตหลงเหลืออยู่ มีการสืบค้นบริเวณนั้นโดยส่วนลงจอด ''ไวกิง'' โรเวอร์ สปิริต และออปพอร์ทูนิตี ส่วนลงจอดฟีนิกซ์ และโรเวอร์ คิวริออซิตี มีการวางแผนภารกิจทางชีวดาราศาสตร์ไว้แล้ว ซึ่งรวม มาร์ส 2020 และเอ็กโซมาร์สโรเวอร์ ดาวอังคารสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าจากโลกโดยง่ายซึ่งจะปรากฏให้เห็นเป็นสีออกแดง มีความส่องสว่างปรากฏได้ถึง −2.91 ซึ่งเป็นรองเพียงดาวพฤหัสบดี ดาวศุกร์ ดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์ กล้องโทรทรรศน์ภาคพื้นดินโดยทั่วไปมีขีดจำกัดการมองเห็นรายละเอียดของภูมิประเทศขนาดประมาณ 300 กิโลเมตรเมื่อโลกและดาวอังคารเข้าใกล้กันมากที่สุดอันเป็นผลจากบรรยากาศของโลก.

ใหม่!!: คาร์ล เซแกนและดาวอังคาร · ดูเพิ่มเติม »

ดาวเสาร์

วเสาร์ (Saturn) เป็นดาวเคราะห์ดวงที่ 6 จากดวงอาทิตย์ ถัดจากดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์เป็นดาวแก๊สยักษ์ที่มีรัศมีเฉลี่ยมากกว่าโลกประมาณเก้าเท่า แม้ว่าจะมีความหนาแน่นเป็นหนึ่งในแปดของโลก แต่มวลของมันมีมากกว่าโลกถึง 95 เท่า ดาวเสาร์ตั้งชื่อตามเทพโรมันแห่งการเกษตร สัญลักษณ์ทางดาราศาสตร์ของดาวเสาร์ (♄) แทนเคียวของเทพเจ้า ดาวเสาร์มีรูปร่างป่องออกตามแนวเส้นศูนย์สูตร ที่เรียกว่าทรงกลมแป้น (oblate spheroid) เส้นผ่านศูนย์กลางตามแนวขั้วสั้นกว่าตามแนวเส้นศูนย์สูตรเกือบ 10% เป็นผลจากการหมุนรอบตัวเองอย่างรวดเร็ว ดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ ก็มีลักษณะเป็นทรงกลมแป้นเช่นกัน แต่ไม่มากเท่าดาวเสาร์ ดาวเสาร์เป็นดาวเคราะห์เพียงดวงเดียวในระบบสุริยะ ที่มีความหนาแน่นเฉลี่ยน้อยกว่าน้ำ (0.70 กรัม/ลูกบาศก์เซนติเมตร) อย่างไรก็ตาม บรรยากาศชั้นบนของดาวเสาร์มีความหนาแน่นน้อยกว่านี้ ขณะที่ที่แกนมีความหนาแน่นมากกว่าน้ำ วงแหวนของดาวเสาร์ประกอบไปด้วย เศษหินและน้ำแข็งขนาดเล็ก เรียงตัวอยู่ในระนาบเดียวกัน และวงแหวนของดาวเสาร์ก็ประกอบไปด้วย วงแหวนย่อยๆมากมาย ความจริงแล้ววงแหวนดาวเสาร์นั้นบางมาก โดยมีความหนาเฉลี่ยเพียง 500 กิโลเมตรเท่านั้น แต่เศษวัตถุในวงแหวนมีความสามารถในการสะท้อนแสงดี และกว้างกว่า 80,000 กิโลเมตร จึงสามารถสังเกตได้จากโลกของเร.

ใหม่!!: คาร์ล เซแกนและดาวเสาร์ · ดูเพิ่มเติม »

ซีแอตเทิล

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: คาร์ล เซแกนและซีแอตเทิล · ดูเพิ่มเติม »

ปรากฏการณ์โลกร้อน

ผิดปรกติของอุณหภูมิเฉลี่ยที่ผิวโลกที่เพิ่มขึ้นในช่วงปี พ.ศ. 2403–2549 เทียบกับอุณหภูมิระหว่าง พ.ศ. 2504–2533 ค่าเฉลี่ยอุณหภูมิผิวพื้นที่ผิดปกติที่เทียบกับอุณหภูมิเฉลี่ยระหว่างปี พ.ศ. 2542 ถึง พ.ศ. 2551 ปรากฏการณ์โลกร้อน หมายถึงการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยของอากาศใกล้พื้นผิวโลกและน้ำในมหาสมุทรตั้งแต่ช่วงครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 20 และมีการคาดการณ์ว่าอุณหภูมิเฉลี่ยจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในช่วง 100 ปีที่ผ่านมา นับถึง พ.ศ. 2548 อากาศใกล้ผิวดินทั่วโลกโดยเฉลี่ยมีค่าสูงขึ้น 0.74 ± 0.18 องศาเซลเซียส ซึ่งคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Intergovernmental Panel on Climate Change: IPCC) ของสหประชาชาติได้สรุปไว้ว่า “จากการสังเกตการณ์การเพิ่มอุณหภูมิโดยเฉลี่ยของโลกที่เกิดขึ้นตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 (ประมาณตั้งแต่ พ.ศ. 2490) ค่อนข้างแน่ชัดว่าเกิดจากการเพิ่มความเข้มของแก๊สเรือนกระจกที่เกิดขึ้นโดยกิจกรรมของมนุษย์ที่เป็นผลในรูปของปรากฏการณ์เรือนกระจก” ปรากฏการณ์ธรรมชาติบางอย่าง เช่น ความผันแปรของการแผ่รังสีจากดวงอาทิตย์และการระเบิดของภูเขาไฟ อาจส่งผลเพียงเล็กน้อยต่อการเพิ่มอุณหภูมิในช่วงก่อนยุคอุตสาหกรรมจนถึง พ.ศ. 2490 และมีผลเพียงเล็กน้อยต่อการลดอุณหภูมิหลังจากปี 2490 เป็นต้นมา ข้อสรุปพื้นฐานดังกล่าวนี้ได้รับการรับรองโดยสมาคมและสถาบันการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ไม่น้อยกว่า 30 แห่ง รวมทั้งราชสมาคมทางวิทยาศาสตร์ระดับชาติที่สำคัญของประเทศอุตสาหกรรมต่าง ๆ แม้นักวิทยาศาสตร์บางคนจะมีความเห็นโต้แย้งกับข้อสรุปของ IPCC อยู่บ้าง แต่เสียงส่วนใหญ่ของนักวิทยาศาสตร์ที่ทำงานด้านการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศของโลกโดยตรงเห็นด้วยกับข้อสรุปนี้ แบบจำลองการคาดคะเนภูมิอากาศที่สรุปโดย IPCC บ่งชี้ว่าอุณหภูมิโลกโดยเฉลี่ยที่ผิวโลกจะเพิ่มขึ้น 1.1 ถึง 6.4 องศาเซลเซียส ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 21 (พ.ศ. 2544–2643) ค่าตัวเลขดังกล่าวได้มาจากการจำลองสถานการณ์แบบต่าง ๆ ของการแผ่ขยายแก๊สเรือนกระจกในอนาคต รวมถึงการจำลองค่าความไวภูมิอากาศอีกหลากหลายรูปแบบ แม้การศึกษาเกือบทั้งหมดจะมุ่งไปที่ช่วงเวลาถึงเพียงปี..

ใหม่!!: คาร์ล เซแกนและปรากฏการณ์โลกร้อน · ดูเพิ่มเติม »

ปรากฏการณ์เรือนกระจก

แผนภูมิแสดงการแลกเปลี่ยนพลังงานระหว่างดวงอาทิตย์ พื้นผิวโลก ชั้นบรรยากาศของโลก และอวกาศ ความสามารถของชั้นบรรยากาศในการจับและนำพลังงานที่แผ่ออกมาจากพื้นผิวโลกกลับมาใช้ใหม่เป็นลักษณะนิยามของปรากฏการณ์เรือนกระจก ปรากฏการณ์เรือนกระจก (greenhouse effect) คือ ขบวนการที่รังสีความร้อนจากพื้นผิวโลกจะถูกดูดซับโดยก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศ และแผ่รังสีออกไปอีกครั้งในทุกทิศทาง เนื่องจากการแผ่รังสีออกไปอีกครั้งถูกส่งกลับมายังพื้นผิวโลกและบรรยากาศด้านล่าง เป็นผลทำให้ระดับอุณหภูมิพื้นผิวโลกเฉลี่ยสูงขึ้นถ้าไม่มีก๊าซเหล่านี้A concise description of the greenhouse effect is given in the Intergovernmental Panel on Climate Change Fourth Assessment Report, "What is the Greenhouse Effect?", IIPCC Fourth Assessment Report, Chapter 1, page 115: "เพื่อความสมดุลของพลังงานที่ส่งมาจากดวงอาทิตย์ โลกโดยเฉลี่ยต้องแผ่รังสีพลังงานจำนวนที่เท่ากันกลับไปสู่อวกาศ เพราะว่าโลกเย็นกว่าดวงอาทิตย์ โลกจึงแผ่รังสีที่ความยาวคลื่นที่ยาวกว่าในแถบความถี่อินฟราเรด รังสีความร้อนที่ปล่อยออกมาจากพื้นดินและมหาสมุทรจำนวนมากนี้จะถูกดูดซับในชั้นบรรยากาศรวมทั้งหมู่เมฆและแผ่รังสีอีกครั้งกลับมายังโลก ขบวนการนี้เรียกว่าปรากฏการณ์เรือนกระจก" Stephen H. Schneider, in Geosphere-biosphere Interactions and Climate, Lennart O. Bengtsson and Claus U. Hammer, eds., Cambridge University Press, 2001, ISBN 0-521-78238-4, pp.

ใหม่!!: คาร์ล เซแกนและปรากฏการณ์เรือนกระจก · ดูเพิ่มเติม »

นักบินอวกาศ

รูซ แมคแคนด์เลส 2 นักบินอวกาศชาวอเมริกัน ขณะทำงานอยู่นอกกระสวยอวกาศชาเลนเจอร์ เมื่อ พ.ศ. 2527 (ภาพจากองค์การนาซา) นักบินอวกาศ คือ บุคคลที่เดินทางไปกับยานอวกาศ ไม่ว่าจะไปในฐานะใด และไม่ว่าจะไปด้วยยานอวกาศแบบไหน ทั้งที่โคจรรอบโลก (ในระยะสูงจากพื้นราว 80-100 กิโลเมตรขึ้นไป) หรือที่เดินทางออกไปยังตำแหน่งอื่นใดนอกวงโคจรของโลก คำว่า นักบินอวกาศ ในภาษาไทย นั้น ตรงกับคำศัพท์ในภาษาอังกฤษ ว่าแอสโตรนอท (astronaut) ซึ่งมีความหมายอย่างที่กล่าวมา เป็นที่น่าสังเกตว่า คำว่า นักบินอวกาศ ไม่ได้มีความหมายเฉพาะผู้ที่เป็นนักบิน (pilot) เท่านั้น แต่มีความหมายอย่างที่อาจเข้าใจได้ง่ายๆ ว่า ลูกเรืออวกาศ นั่นเอง อย่างไรก็ตาม ในภาษาไทยยังมีคำศัพท์อีกคำ ที่มีความหมายเช่นนี้ นั่นคือ มนุษย์อวกาศ คำว่า แอสโตรนอท ในภาษาอังกฤษนั้น มีที่มาจากคำศัพท์ในภาษากรีก สองคำ คือ astro หมายถึงดวงดาว และ nautes ซึ่งหมายถึง กะลาสี ปัจจุบันมีนักบินอวกาศหลายชาติ จึงมีการสร้างคำสำหรับเรียกนักบินอวกาศของแต่ละชาติต่างๆ กัน เช่น นักบินในโครงการอวกาศของรัสเซีย เรียกว่า คอสโมนอท (cosmonaut) อันเป็นการสร้างคำจากคำศัพท์จากภาษากรีกเช่นกัน โดยใช้คำว่า kosmo ที่หมายถึง อวกาศ และคำว่า nautes ที่หมายถึง กะลาสี ส่วนในยุโรป มีการสร้างศัพท์ขึ้นใหม่ ว่า สเปชันนอท (spationaut) เป็นคำประสม ระหว่าง space ในภาษาละติน (อวกาศ) และ nautes ในภาษากรีก (กะลาสี) โดยมีความหมายว่านักบินอวกาศ หรือมนุษย์อวกาศ นั่นเอง นอกจากนี้ยังมีคำว่า ไทโคนอท (Taikonaut) เป็นคำศัพท์ที่คิดขึ้นใหม่ เมื่อ เดือนพฤษภาคม ปี..

ใหม่!!: คาร์ล เซแกนและนักบินอวกาศ · ดูเพิ่มเติม »

นักดาราศาสตร์

''กาลิเลโอ'' ผู้ได้รับยกย่องทั่วไปว่าเป็นบิดาของนักดาราศาสตร์ยุคใหม่ นักดาราศาสตร์ เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ทำการค้นคว้าหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับดาราศาสตร์หรือฟิสิกส์ดาราศาสตร์ แต่เดิมมาในอดีตกาล นักดาราศาสตร์ นักฟิสิกส์ หรือนักปรัชญา มักจะเป็นบุคคลคนเดียวกัน เพราะเป็นผู้สืบหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับธรรมชาติ ต่อมาผู้ที่ให้ความสนใจกับปรากฏการณ์บนท้องฟ้าเป็นพิเศษ จึงเรียกเฉพาะเจาะจงไปว่าเป็น "นักดาราศาสตร์" หมวดหมู่:อาชีพ.

ใหม่!!: คาร์ล เซแกนและนักดาราศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

นาซา

องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ (National Aeronautics and Space Administration) หรือ นาซา (NASA) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2501 (ค.ศ. 1958) ตามรัฐบัญญัติการบินและอวกาศแห่งชาติ เป็นหน่วยงานส่วนราชการ รับผิดชอบในโครงการอวกาศและงานวิจัยห้วงอากาศอวกาศ (aerospace) ระยะยาวของสหรัฐอเมริกา คอยจัดการหรือควบคุมระบบงานวิจัยทั้งกับฝ่ายพลเรือนและฝ่ายทหาร ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 องค์การนาซาได้ประกาศภารกิจหลักคือการบุกเบิกอนาคตแห่งการสำรวจอวกาศ การค้นพบทางวิทยาศาสตร์ และงานวิจัยทางการบินและอวกาศ คำขวัญขององค์การนาซาคือ "เพื่อประโยชน์ของคนทุกคน" (For the benefit of all).

ใหม่!!: คาร์ล เซแกนและนาซา · ดูเพิ่มเติม »

นิวยอร์ก (แก้ความกำกวม)

นิวยอร์ก อาจหมายถึง.

ใหม่!!: คาร์ล เซแกนและนิวยอร์ก (แก้ความกำกวม) · ดูเพิ่มเติม »

โจดี ฟอสเตอร์

อลิเซีย คริสเตียน ฟอสเตอร์ หรือ โจดี ฟอสเตอร์ เกิดเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2505) เป็นนักแสดง, ผู้สร้างหนังและผู้กำกับหญิงชาวอเมริกัน คำว่าโจดี ฟอสเตอร์นั้นเป็นนามแฝงแต่ชื่อจริงแล้วคือ อลิเซีย คริสเตียน ฟอสเตอร์ เธอได้รับรางวัลนักแสดงหญิงยอดเยี่ยมประจำปี พ.ศ. 2534 จากการแสดงหนังเรื่อง ดิ ไซเลนซ์ ออฟ ดิ แลมบ์ ฟอสเตอร์มีผลงานแสดงภาพยนตร์โทรทัศน์ตั้งแต่เด็ก เธอเริ่มมีชื่อเสียงจากบทโสเภณีเด็ก ในภาพยนตร์เรื่อง Taxi Driver (พ.ศ. 2519) ของมาร์ติน สกอร์เซซี ได้เสนอเข้าชิงรางวัลออสการ์ ในฐานะนักแสดงสมทบหญิง ขณะมีอายุเพียง 14 ปี ในปี 2535 ฟอสเตอร์ได้ตั้งบริษัทสร้างภาพยนตร์ชื่อ Egg Pictures นอกจากภาพยนตร์เรื่อง Nell และเรื่อง Home for the Holidays แล้ว บริษัทของเธอยังได้อำนวยการสร้างภาพยนตร์เรื่อง Waking the Dead และเรื่อง The Dangerous Lives of Altar Boys ซึ่งฟอสเตอร์ร่วมแสดงด้วย ในปี 2541 ฟอสเตอร์ได้ทำงานในฐานะผู้อำนวยการบริหารให้กับภาพยนตร์ของโชว์ไทม์เรื่อง The Baby Dance ซึ่งได้รับรางวัลพีบอดี และได้รับการเสนอชื่อเข้ารับรางวัลเอ็มมี่ถึง 4 รางวัล รวมไปถึงการเสนอชื่อรางวัลลูกโลกทองคำ โดยทั้งสองเรื่องในฐานะ Best Movie Made for Television โจดี ฟอสเตอร์ จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเยล ในขณะที่เธอเรียนอยู่ที่นั่น เธอถูกติดตามโดย จอห์น ฮิงคลีย์ ผู้ก่อเหตุการณ์พยายามลอบสังหารโรนัลด์ เรแกน ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2524 จากการสอบสวนของเจ้าหน้าที่พบว่า จอห์น ฮิงคลีย์ คลั่งไคล้ในตัวเธอ และชมภาพยนตร์ Taxi Driver ซ้ำแล้วซ้ำอีก และพยายามลอบสังหารประธานาธิบดีเพื่อให้เธอประทับใจ ในปี 2013 เธอออกมายอมรับว่ารับเป็นเลสเบียน ต่อสาธารณะในงานประกาศผลรางวัลลูกโลกทองคำครั้งที่ 71 ฟอสเตอร์คบหาดูใจกับผู้อำนวยการสร้างสาว ซิดนี่ย์ เบอร์นาร์ด ตั้งแต่ปี 1993-2008 ในเดือนเมษายน 2014 เธอแต่งงานกับ อเล็กซานดร้า เฮดิสัน เป็นนักแสดงและช่าง.

ใหม่!!: คาร์ล เซแกนและโจดี ฟอสเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

โครงการวอยเอจเจอร์

เส้นทางการเดินทางของยานอวกาศในโครงการวอยเอจเจอร์เพื่อไปเยือนดาวเคราะห์รอบนอก และมีความเร็วสูงพอจะเดินทางออกนอกระบบสุริยะ โครงการวอยเอจเจอร์ (Voyager Program) คือชื่อโครงการยานสำรวจอวกาศแบบไม่ใช้คนบังคับของสหรัฐอเมริกา สร้างขึ้นโดยห้องทดลองการขับเคลื่อนด้วยไอพ่น และได้รับเงินทุนสนับสนุนจากองค์การนาซา ประกอบด้วยยานสำรวจอวกาศ 2 ลำคือ วอยเอจเจอร์ 1 และ วอยเอจเจอร์ 2 ซึ่งขึ้นสู่อวกาศเมื่อปี ค.ศ. 1977 ทำหน้าที่เก็บข้อมูลอันทรงคุณค่าเกี่ยวกับดาวเคราะห์และระบบสุริยะ โดยใช้ข้อมูลตำแหน่งดาวเคราะห์ในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1970 แม้ในตอนแรกมันจะถูกออกแบบมาเพื่อใช้สำรวจศึกษาดาวพฤหัสบดีและดาวเสาร์ แต่ยานทั้งสองยังสามารถปฏิบัติภารกิจของมันในห้วงอวกาศรอบนอกของระบบสุริยะต่อไปได้ ปัจจุบันนี้ยานทั้งสองกำลังอยู่บนเส้นทางที่มุ่งหน้าออกจากระบบสุริยะ หมวดหมู่:โครงการวอยเอจเจอร์ หมวดหมู่:ดาวพฤหัสบดี หมวดหมู่:ดาวเสาร์ หมวดหมู่:ดาวยูเรนัส หมวดหมู่:ดาวเนปจูน.

ใหม่!!: คาร์ล เซแกนและโครงการวอยเอจเจอร์ · ดูเพิ่มเติม »

โครงการอะพอลโล

ตราโครงการอะพอลโล โครงการอะพอลโล เป็นโครงการที่ 3 ต่อเนื่องมาจากเมอร์คิวรีและเจมินี มีเป้าหมายสำคัญคือ จะนำมนุษย์ลงไปสำรวจดวงจันทร์ ใช้มนุษย์อวกาศขึ้นไปครั้งละ 3 คน ตัวยานอวกาศประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วนคือ.

ใหม่!!: คาร์ล เซแกนและโครงการอะพอลโล · ดูเพิ่มเติม »

ไพโอเนียร์ 10

ไพโอเนียร์ 10 (เดิมได้ชื่อว่า ไพโอเนียร์เอฟ) เป็นยานสำรวจอวกาศอเมริกัน หนัก 258 กิโลกรัม ซึ่งบรรลุภารกิจแรกที่ดาวพฤหัสบดี จากนั้น ไพโอเนียร์ 10 เป็นยานอวกาศลำแรกที่ถึงความเร็วหลุดพ้นจากระบบสุริยะ ศูนย์วิจัยเอมส์นาซาในรัฐแคลิฟอร์เนียเป็นผู้ดำเนินโครงการสำรวจอวกาศดังกล่าว และทีอาร์ดับเบิลยูเป็นผู้ผลิตยาน หมวดหมู่:โครงการไพโอเนียร์.

ใหม่!!: คาร์ล เซแกนและไพโอเนียร์ 10 · ดูเพิ่มเติม »

ไพโอเนียร์ 11

อเนียร์ 11 (Pioneer 11) คือยานสำรวจอวกาศแบบไม่มีคนบังคับที่เดินทางระหว่างดาวเคราะห์ ขึ้นสู่อวกาศเมื่อ 6 เมษายน ค.ศ. 1973 เป็นยานสำรวจอวกาศในโครงการไพโอเนียร์ เพื่อศึกษาแถบดาวเคราะห์น้อย,สภาพแวดล้อมรอบดาวพฤหัสบดี,ลมสุริยะ,รังสีคอสมิก และดาวเสาร์ และท้ายที่สุดได้ไกลออกไปในระบบสุริยะ และเฮลิโอสเฟียร์ เป็นการสำรวจแรกที่พบดาวเสาร์ และครั้งที่สองที่บินผ่านแถบดาวเคราะห์น้อย และดาวพฤหัสบดี แต่เนื่องจากข้อจำกัดของพลังงานและระยะทางมากมายในการสำรวจ การสื่อสารได้สูญหายไปตั้งแต่ 30 พฤศจิกายน ค.ศ. 1995.

ใหม่!!: คาร์ล เซแกนและไพโอเนียร์ 11 · ดูเพิ่มเติม »

ไททัน (ดาวบริวาร)

ไททัน (Titan) คือ ดาวบริวารที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของดาวเสาร์ มีระยะห่างจากดาวเสาร์เป็นลำดับที่ 20 เป็นดาวบริวารดวงเดียวที่เป็นที่ทราบกันว่ามีชั้นบรรยากาศที่หนาแน่น และเป็นวัตถุเพียงชนิดเดียวนอกจากโลกที่มีการค้นพบว่ามีร่องรอยของน้ำอยู่บนดาว ไททันมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่กว่าดาวบริวารของโลกประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ และมีมวลมากกว่าประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ เป็นดาวบริวารที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ในระบบสุริยะ รองจากดาวบริวารแกนีมีดของดาวพฤหัสบดี และมีขนาดใหญ่กว่าดาวเคราะห์ที่เล็กที่สุดซึ่งคือ ดาวพุธ (ถึงแม้ว่าจะมีมวลน้อยกว่าเพียงครึ่งเดียวก็ตาม) ผู้คนได้รู้ว่าไททันเป็นดาวบริวารดวงแรกของดาวเสาร์ หลังจากที่ถูกค้นพบเมื่อปี พ.ศ. 2198 (ค.ศ. 1655) โดยคริสตียาน เฮยเคินส์ (Christiaan Huygens) นักดาราศาสตร์ชาวดัตช์ ไททันประกอบด้วยน้ำ น้ำแข็ง และหินเป็นหลัก ด้วยความหนาแน่นของชั้นบรรยากาศของไททัน ทำให้เราไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับพื้นผิวของมันมากนัก จนกระทั่งยานอวกาศ "กัสซีนี-เฮยเคินส์" (Cassini–Huygens) ได้เดินทางไปถึงในปี พ.ศ. 2547 (ค.ศ. 2004) รวมถึงการค้นพบทะเลสาบไฮโดรคาร์บอนเหลว บริเวณขั้วของดาวโดยดาวเทียม ลักษณะของพื้นผิวนั้น ทางธรณีวิทยาถือว่ายังค่อนข้างใหม่ ถึงแม้ว่าจะประกอบด้วยภูเขาและภูเขาไฟน้ำแข็ง (cryovolcano) ก็ตาม ชั้นบรรยากาศของไททันประกอบด้วยไนโตรเจนเป็นส่วนใหญ่ สภาพอากาศจะมีเมฆมีเทนและอีเทน ลมและฝน ซึ่งทำให้เกิดสภาพพื้นผิวที่มีลักษณะคล้ายกับโลกของเรา เช่น ทะเลทราย และแนวชายฝั่ง หมวดหมู่:ดาวบริวารของดาวเสาร์ หมวดหมู่:วัตถุทางดาราศาสตร์ที่ค้นพบในปี พ.ศ. 2198.

ใหม่!!: คาร์ล เซแกนและไททัน (ดาวบริวาร) · ดูเพิ่มเติม »

เพลบลูดอต

ลกเมื่อมองจากระยะ 6 พันล้านกิโลเมตรจะปรากฏเป็นจุดสีน้ำเงินจางเล็ก ๆ ท่ามกลางอวกาศอันกว้างใหญ่ (จุดกลางภาพค่อนไปทางขวามือ ในลำแสงอาทิตย์ที่ถูกกระเจิงโดยกล้องของยาน) เพลบลูดอต (Pale Blue Dot, "จุดสีน้ำเงินซีด") เป็นภาพถ่ายของโลก ถ่ายเมื่อวันที่ 14 กุมภาพัน..

ใหม่!!: คาร์ล เซแกนและเพลบลูดอต · ดูเพิ่มเติม »

เซติ

ซติ หรือ การค้นหาสิ่งมีชีวิตทรงภูมิปัญญาจากต่างดาว (Search for Extra-Terrestrial Intelligence - SETI) เป็นกิจกรรมของนักวิทยาศาสตร์ เพื่อค้นหาหลักฐานของการมีอยู่ของสิ่งมีชีวิตจากนอกโลกที่มีภูมิปัญญา โดยทั่วไป หมายถึงการเฝ้าระวัง และตรวจตราท้องฟ้า เพื่อตรวจจับการส่งสัญญาณจากอวกาศ (คลื่นวิทยุ, คลื่นไมโครเวฟ, แสง) ที่อาจส่งมาจากอารยธรรมที่อยู่บนดาวเคราะห์ดวงอื่น ในช่วงแรกโครงการได้รับเงินทุนสนับสนุนจากรัฐบาลสหรัฐอเมริกา แต่ปัจจุบันเงินทุนส่วนใหญ่ได้มาจากแหล่งทุนเอกชน มีความท้าทายมากมายในการสอดส่องตลอดทั่วฟากฟ้าเพื่อค้นหาสัญญาณแรกที่อาจสื่อถึงสิ่งมีชีวิตทรงภูมิปัญญา นับแต่เรื่องของทิศทาง สเปกตรัม และกระบวนวิธีการสื่อสารซึ่งเป็นสิ่งที่เราไม่อาจรู้ล่วงหน้า โครงการเซติพยายามสร้างสมมุติฐานเพื่อกำหนดกรอบการค้นหาให้แคบเข้า ทว่าการค้นหาแบบเฉพาะเจาะจงยังไม่ได้เริ่มขึ้นจนถึงปัจจุบัน ต่อมาเมื่อมีการค้นพบดาว kepler-22b ที่มีลักษณแบบเดียวกับโลก คือโคจรรอบดาวฤกษ์ที่คล้ายดวงอาทิตย์ แล้ว การค้นหาสิ่งมีชีวิตก็น่าจะง่ายขึ้นเพราะถ้าเห็นว่าดาวดวงไหนโคจรรอบดาวฤกษ์เอื้อต่อสิ่งมีชีวิตก็จะส่งสัญญาตรงไหนที่ดาวนั้นได้เลยซึ่งจะทำได้ง่ายขึ้น.

ใหม่!!: คาร์ล เซแกนและเซติ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Carl Saganคาร์ล ซาแกน

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »