โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สมัยการย้ายถิ่น

ดัชนี สมัยการย้ายถิ่น

แผนที่แสดงการโยกย้ายถิ่นฐานระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 2 ถึงที่ 5 อย่างง่ายๆ สมัยการโยกย้ายถิ่นฐานในยุโรป หรือ สมัยการรุกรานของบาร์บาเรียน (Migration Period หรือ Barbarian Invasions, Völkerwanderung) เป็นสมัยของการอพยพของมนุษย์ (human migration) ที่เกิดขึ้นประมาณระหว่างปี..

56 ความสัมพันธ์: บริเตนสมัยโรมันบอลข่านชาวกอทชาวมัวร์ชาววิซิกอทชาวสลาฟชาวออสโตรกอทชาวฮังการีชาวแฟรงก์ชาวแวนดัลชาวไวกิงชนบัลการ์ชนอลามันน์ชนเบอร์เบอร์ฟรีเซียนพ.ศ. 1043พ.ศ. 1243พ.ศ. 1254พ.ศ. 1260พ.ศ. 1261พ.ศ. 1275พ.ศ. 843พ.ศ. 919พ.ศ. 953พระเจ้าธีโอดอริคมหาราชกลุ่มชนเจอร์แมนิกกลุ่มชนเตอร์กิกกอลการบุกครองทวีปยุโรปของมองโกลการพลัดถิ่นการพิชิตดินแดนโดยมุสลิมการล้อมกรุงคอนสแตนติโนเปิล (ค.ศ. 717-718)การตีกรุงโรมแตก (ค.ศ. 410)ยิบรอลตาร์ยุทธการที่ตูร์ยุโรปกลางยุโรปตะวันออกรัฐเคาะลีฟะฮ์รอชิดีนรัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์ราชอาณาจักรวิซิกอทราชอาณาจักรแฟรงก์ลอมบาร์ดศิลปะสมัยการโยกย้ายถิ่นฐานสงครามไบแซนไทน์-อาหรับอาหรับอานาโตเลียจักรวรรดิโรมันจักรวรรดิโรมันตะวันตกจักรวรรดิไบแซนไทน์ทวีปยุโรป...คอเคซัสคาบสมุทรไอบีเรียต้นสมัยกลางประวัติศาสตร์ยุโรปปลายสมัยโบราณแคว้นลอมบาร์เดีย ขยายดัชนี (6 มากกว่า) »

บริเตนสมัยโรมัน

ริเตนสมัยโรมัน หรือ โรมันบริเตน (Britannia Romana) หมายถึงบริเวณเกาะอังกฤษส่วนที่อยู่ภายใต้การปกครองของจักรวรรดิโรมันระหว่าง ค.ศ. 43 ถึง ค.ศ. 410 โรมันเรียกจังหวัดนี้ว่า “บริทานเนีย” (Britannia) หรือบริทานยา ก่อนที่โรมันจะเข้ามารุกรานบริเตนยุคเหล็กก็มีวัฒนธรรมและเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับแผ่นดินใหญ่ยุโรปอยู่แล้ว แต่ผู้รุกรานก็ยังนำการการวิวัฒนาการใหม่ๆ ทางด้านการเกษตรกรรม, การจัดระบบเมือง (urbanization), การอุตสาหกรรม และสถาปัตยกรรมเข้ามาเผยแพร่และยังทิ้งร่องรอยให้เห็นจนถึงทุกวันนี้ หลักฐานทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับการรุกรานเมื่อเริ่มแรกมีน้อย นักประวัติศาสตร์โรมันก็กล่าวถึงเพียงผ่านๆ ความรู้ส่วนใหญ่ของสมัยนี้มาจากหลักฐานทางโบราณคดีโดยเฉพาะจากหลักฐานที่สลักไว้บนหินหรือวัตถุอื่นๆ (epigraphic evidence).

ใหม่!!: สมัยการย้ายถิ่นและบริเตนสมัยโรมัน · ดูเพิ่มเติม »

บอลข่าน

แผนที่ทางอากาศของคาบสมุทรบอลข่าน คาบสมุทรบอลข่าน (Balkans) เป็นชื่อทางประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์ หมายถึงดินแดนทางด้านตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปยุโรป มีพื้นที่ประมาณ 550,000 ตร.กม. และมีประชากรรวมกันราว 53 ล้านคน ชื่อนี้มาจากชื่อของเทือกเขาบอลข่านที่พาดผ่านใจกลางประเทศบัลแกเรียไปยังด้านตะวันออกของสาธารณรัฐเซอร์เบี.

ใหม่!!: สมัยการย้ายถิ่นและบอลข่าน · ดูเพิ่มเติม »

ชาวกอท

อตาลันด์ทางใต้ของสวีเดนที่อาจจะเป็นต้นกำเนิดของชนกอท ชาวกอท (Goths) เป็นชนเผ่าเจอร์มานิคตะวันออกที่มีที่มาจากกึ่งตำนานสแกนด์ซา (Scandza) ที่เชื่อกันว่าอยู่ในบริเวณที่เป็นเยอตาลันด์ (Götaland) ในสวีเดนปัจจุบัน ชนกอทข้ามทะเลบอลติกก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 2 มายังบริเวณที่ได้รับชื่อว่ากอทิสแกนด์ซา (Gothiscandza) ที่เชื่อว่าอยูในบริเวณตอนใต้ของบริเวณวิสตูลาในพอเมอเรเลีย (Pomerelia) ในโปแลนด์ปัจจุบัน อารยธรรมวีลบาร์ค (Wielbark culture) เป็นอารยธรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการเริ่มมาตั้งถิ่นฐานของชนกอทและการกลืนตัวกับชนที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณนั้น ตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 2 เป็นต้นมากลุ่มชนกอทก็เริ่มโยกย้ายถิ่นฐานไปทางตะวันออกเฉียงใต้ตามลำวิสตูลาแม่น้ำวิสตูลาไปจนถึงซิทเธีย (Scythia) บนฝั่งทะเลดำ ในยูเครนปัจจุบัน และได้ทิ้งร่องรอยทางโบราณคดีไว้ในวัฒนธรรมเชอร์นยาคอฟ (Chernyakhov culture) ตลอดคริสต์ศตวรรษที่ 3 จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 4 ชนกอทซิทเธียก็แยกเป็นสองกลุ่ม: เทอร์วิงกิ (Thervingi) และ กรูทุงกิ (Greuthungi) แบ่งแยกกันโดยแม่น้ำนีสเตอร์ (Dniester River) ในช่วงเวลานี้ชนกอทก็รุกรานจักรวรรดิโรมันเป็นระยะ ๆ ระหว่างสมัยที่เรียกว่าสงครามกอทิก ต่อมาชนกอทก็ยอมรับคริสต์ศาสนา ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 4 ฮั่นก็มารุกรานดินแดนกอททางตะวันออก ชนกอทบางกลุ่มถูกปราบปรามและในที่สุดก็เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิฮันนิค (Hunnic Empire) อีกกลุ่มหนึ่งถูกผลักดันเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิโรมัน ในคริสต์ศตวรรษที่ 5 และที่ 6 ชนกอทก็แยกตัวออกเป็นวิซิกอทและออสโตรกอท ทั้งสองกลุ่มก่อตั้งรัฐที่มีอำนาจหลังจากจักรวรรดิโรมันในคาบสมุทรไอบีเรียและอิตาลี ชนกอทหันมานับถือคริสต์ศาสนาลัทธิแอเรียน โดยวูลฟิลานักสอนศาสนาครึ่งกอทผู้ต่อมาย้ายไปตั้งถิ่นฐานในเมอเซีย (ต่อมาเป็นบริเวณในบัลแกเรีย) กับกลุ่มผู้ติดตาม วูลฟิลาแปลพระคัมภีร์ไบเบิลเป็นภาษากอทิค แม้ว่ากอทจะมีอำนาจในคาบสมุทรไอบีเรียและอิตาลีแต่ก็มาพ่ายแพ้ต่อจักรพรรดิจัสติเนียนที่ 1 ผู้พยายามฟื้นฟูจักรวรรดิโรมันขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ต่อมากอทก็ถูกรุกรานโดยชนแวนดัล (Vandals) และต่อมาชนลอมบาร์ด การที่มีการติดต่อกับประชาชนโรมันของอดีตจักรวรรดิโรมันอยู่เป็นเวลานานทำให้ในที่สุดกอทก็เปลี่ยนไปยอมรับนิกายโรมันคาทอลิก ความเสื่อมโทรมของกลุ่มชนกอทมาเร่งให้เร็วขึ้นเมื่อได้รับความพ่ายแพ้ต่อมัวร์เมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 8 ภาษาและวัฒนธรรมของกอทก็เริ่มสูญหายไป นอกจากบางส่วนที่ไปปรากฏในวัฒนธรรมอื่น ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 กลุ่มออสโตรกอทที่หลงเหลืออยู่ก็ไปปรากฏตัวที่ไครเมีย แต่การบ่งถึงเชื้อชาติก็ไม่เป็นที่แน่นอน.

ใหม่!!: สมัยการย้ายถิ่นและชาวกอท · ดูเพิ่มเติม »

ชาวมัวร์

ชาวมัวร์ (Moors) ในยุคกลาง คำว่า “มัวร์” เป็นคำที่หมายถึงชนมุสลิมที่อาศัยอยู่ที่คาบสมุทรไอบีเรียและแอฟริกาเหนือซึ่งเดิมเป็นชนอาหรับ หรือ เบอร์เบอร์ คำนี้ใช้เฉพาะในการอ้างอิงทางประวัติศาสตร์ ปัจจุบันคำนี้ไม่ใช้แล้ว คำนี้จะใช้กล่าวถึงชนมุสลิมในประเทศสเปนแม้แต่ในปัจจุบันนี้ถึงแม้ว่าจะเป็นคำโบราณและไม่ถูกต้อง เพราะคำนี้รวมชนมุสลิมและชนที่ไม่ใช่มุสลิมที่เป็นชาวอาหรับ เบอร์เบอร์ และชาวอาฟริกาอื่นๆ หรือบางครั้งก็รวมชนมุสลิมในคาบสมุทรไอบีเรียด้วย ในภาษาสเปนคำนี้เป็นคำที่ถือผิว หมวดหมู่:ชาวอาหรับ.

ใหม่!!: สมัยการย้ายถิ่นและชาวมัวร์ · ดูเพิ่มเติม »

ชาววิซิกอท

้นทางการอพยพของชาววิซิกอท วิซิกอท (Visigoths, Visigothi, Wisigothi, แปลว่า "กอทตะวันตก") เป็นหนึ่งในชาติพันธุ์สองสาขาหลักของชาวกอท ซึ่งเป็นชนเผ่าเจอร์มานิคตะวันออกกลุ่มหนึ่ง โดยอีกสาขาหนึ่งในกลุ่มนี้คือชาวออสโตรกอทหรือ "กอทตะวันออก" สันนิษฐานกันว่าชาวกอททั้งสองสาขานี้มีต้นกำเนิดอยู่แถบประเทศยูเครนในปัจจุบัน ชาววิซิกอทเป็นหนึ่งในอนารยชนกลุ่มชนเจอร์มานิคต่าง ๆ ที่เข้ามารุกรานจักรวรรดิโรมันตอนปลายในสมัยการอพยพ เนื่องจากประชากรที่เพิ่มจำนวนขึ้น ความขาดแคลนอาหาร ประกอบกับการถูกกดดันจากอนารยชนชาวฮัน ที่มาจากเอเชียกลาง จนกระทั่งในปี ค.ศ. 410 กองทัพวิซิกอทที่นำโดยพระเจ้าอาลาริกที่ 1 ประสบความสำเร็จในการพิชิตกรุงโรม และหลังจากการล่มสลายของจักรวรรดิโรมันตะวันตกเป็นต้นมา ชาววิซิกอทก็มีบทบาทสำคัญในด้านต่าง ๆ ของภูมิภาคยุโรปตะวันตกอยู่เป็นเวลานานถึงสองศตวรรษครึ่ง.

ใหม่!!: สมัยการย้ายถิ่นและชาววิซิกอท · ดูเพิ่มเติม »

ชาวสลาฟ

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: สมัยการย้ายถิ่นและชาวสลาฟ · ดูเพิ่มเติม »

ชาวออสโตรกอท

ออสโตรกอท (Ostrogoths, Ostrogothi, Austrogothi) เป็นสาขาหนึ่งของกลุ่มชาติพันธ์กอทซึ่งเป็นสาขาของชนเจอร์มานิคตะวันออกที่มีบทบาทสำคัญในทางการเมืองในตอนปลายจักรวรรดิโรมัน อีกสาขาหนึ่งคือชาววิซิกอท ชนออสโตรกอทก่อตั้งรัฐในกรุงโรมในอิตาลีและคาบสมุทรบอลข่านอยู่ชั่วระยะหนึ่ง และในช่วงนั้นก็รวมส่วนใหญ่ของฮิสเปเนีย และตอนใต้ของกอล ออสโตรกอทรุ่งเรืองที่สุดในรัชสมัยของพระเจ้าธีโอดอริคมหาราชในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 6 แต่เมื่อมาถึงกลางคริสต์ศตวรรษ ออสโตรกอทก็ถูกพิชิตโดยโรมในสงครามกอทิก (ค.ศ. 535–554) ซึ่งสร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวงให้แก่อิตาลี.

ใหม่!!: สมัยการย้ายถิ่นและชาวออสโตรกอท · ดูเพิ่มเติม »

ชาวฮังการี

ชาวฮังการี หรือ ม็อดยอร์ (Hungarian people หรือ Magyars, magyarok) คือกลุ่มชาติพันธุ์ที่ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับประเทศฮังการี ชนมาจยาร์มีด้วยกันราว 10 ล้านคนในประเทศฮังการี (ค.ศ. 2001).

ใหม่!!: สมัยการย้ายถิ่นและชาวฮังการี · ดูเพิ่มเติม »

ชาวแฟรงก์

หนังสือสำหรับทำพิธีศาสนา “Gelasian Sacramentary” จากราว ค.ศ. 750 แฟรงก์ (Franks, Franci) เป็นกลุ่มชนเจอร์มานิกตะวันตกที่เริ่มก่อตัวขึ้นราวคริสต์ศตวรรษที่ 3 โดยมีถิ่นฐานอยู่ทางเหนือและทางตะวันออกของลุ่มแม่น้ำไรน์ตอนล่าง ภายใต้การปกครองโดยราชวงศ์เมโรแว็งเชียง ชนแฟรงก์ก็ก่อตั้งสถาบันพระมหากษัตริย์เจอร์มานิกที่มาแทนจักรวรรดิโรมันตะวันตกตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 5 รัฐของชนแฟรงก์และมารวมตัวกันเป็นอาณาบริเวณส่วนใหญ่ของยุโรปตะวันตกในคริสต์ศตวรรษที่ 8 ที่กลายมาเป็นจักรวรรดิคาโรลินเจียนและรัฐต่างๆ ที่ตามมา ความหมายของคำว่า “ชนแฟรงก์” ที่กลุ่มชนแตกต่างกันไปตามสมัยและปรัชญา โดยทั่วไปแล้วมักจะเป็นความหมายที่ไม่ชัดเจน ภายในกลุ่มแฟรงเคีย “ชนแฟรงก์” เป็นกลุ่มชนที่มีเป็นกลุ่มชนเอกลักษณ์ที่มีวัฒนธรรมเป็นของตนเอง รากของคำว่า “แฟรงก์” อาจจะมาจากภาษาละติน “francisca” (จากเจอร์มานิก “*frankon” ที่เกี่ยวเนื่องกับภาษาอังกฤษเก่า “franca”) ที่แปลว่า “แหลน” ชนแฟรงก์ที่โยนขวานได้รับนามว่า “francisca” (ขว้างขวาน) ซึ่งอาจจะเป็นการเรียกกลุ่มชนตามอาวุธที่ใช้ เอ.

ใหม่!!: สมัยการย้ายถิ่นและชาวแฟรงก์ · ดูเพิ่มเติม »

ชาวแวนดัล

การโจมตีกรุงโรม โดยไฮน์ริช ลอยเตอมันน์ ราว ค.ศ. 1860–ค.ศ. 1880 กลุ่มชนเจอร์แมนิกในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 1 แวนดัล/ลูกีอี สีเขียวในบริเวณโปแลนด์ปัจจุบัน แวนดัล (Vandals) เป็นสาขาหนึ่งของกลุ่มชาติพันธุ์เจอร์แมนิกตะวันออกที่เข้ามามีบทบาทในตอนปลายสมัยจักรวรรดิโรมัน ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 5 กษัตริย์ชาวกอทพระเจ้าธีโอดอริคมหาราชพระเจ้าแผ่นดินของชาวออสโตรกอทและผู้สำเร็จราชการของชาววิซิกอทเป็นพันธมิตรของแวนดัลโดยการสมรส และเป็นพันธมิตรกับเบอร์กันดีและแฟรงก์ภายใต้การปกครองของโคลวิสที่ 1 แวนดัลอาจจะมีชื่อเสียงจากการโจมตีกรุงโรม (Sack of Rome) ในปี..

ใหม่!!: สมัยการย้ายถิ่นและชาวแวนดัล · ดูเพิ่มเติม »

ชาวไวกิง

แผนที่แสดงการตั้งถิ่นฐานสแกนดิเนเวียของชาวไวกิง สีแดงเข้ม-ระว่าง ค.ศ.701-800, สีแดง-ระหว่าง ค.ศ. 801-900, สีส้มเข้ม-ระว่าง ค.ศ. 901-1000, และสีเหลือง-ระว่าง ค.ศ. 1001-1100, บริเวณสีเขียวแสดงพื้นที่ที่มักถูกโจมตีโดยพวกไวกิงบ่อยแต่ไม่มีการตั้งถิ่นฐานมาก ไวกิง (Vikings) ในความหมายหลักหมายถึงชนเผ่านักรบ นักการค้า และนักตั้งถิ่นฐานจากนอร์เวย์ สวีเดน และเดนมาร์ก ซึ่งบุกรบชนะ ยึดครอง และตั้งอาณานิคมอาณาเขตในส่วนใหญ่ของอังกฤษ นอร์ม็องดี และรัสเซียเมื่อระหว่างประมาณ..

ใหม่!!: สมัยการย้ายถิ่นและชาวไวกิง · ดูเพิ่มเติม »

ชนบัลการ์

ัยชนะของทหารบัลการ์ในการต่อสู้กับทหารฝ่ายไบแซนไทน์ในคริสต์ศตวรรษที่ 10 ชนบัลการ์ หรือ ชนโบลการ์ (Bulgars, หรือ Bolgars, หรือ Bulghars, หรือ Proto-Bulgarians, ภาษาฮั่น-Bulgars) เป็นกลุ่มชาติพันธ์กึ่งเร่ร่อนที่อาจจะสืบเชื้อสายมาจากชนเตอร์กิกที่เดิมมาจากเอเชียกลาง ที่มาเริ่มเข้ามาตั้งถิ่นฐานในบริเวณต่างๆ ในยุโรปตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 2 เป็นต้นมา ในคริสต์ศตวรรษที่ 7 ชนบัลการ์ก่อก่อตั้งรัฐเกรตบัลแกเรีย, วอลกาบัลแกเรีย และ จักรวรรดิบัลแกเรียที่ 1 ในบริเวณต่างๆ ในยุโรปสามบริเวณ ภาษาบัลการ์ที่ใช้ในพูดกันในบรรดาชนชั้นสูงเป็นภาษาหนึ่งในภาษากลุ่มเตอร์กิกซึ่งกับภาษาฮั่น คาซาร์ และ เตอร์กิกอวาร์เป็นหนึ่งในสาขาOghuricของภาษากลุ่มเตอร์กิกEncyclopaedia Britannica Online - หลังจากการโยกย้าถิ่นฐานมาจากเอเชียกลางชนบัลการ์ก็มาตั้งถิ่นฐานในบริเวณเสต็ปป์ (steppe) ทางตอนเหนือของCaucasusและในบริเวณรอบฝั่งแม่น้ำวอลกา (ต่อมา คอเคซัส) ระหว่าง..

ใหม่!!: สมัยการย้ายถิ่นและชนบัลการ์ · ดูเพิ่มเติม »

ชนอลามันน์

ริเวณที่ตั้งถิ่นฐานของอลามันน์และสมรภูมิของสงครามโรมัน-อลามันน์ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 3 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 6 ชนอลามันน์ (Alamanni) หรือ ชาวชวาเบิน (Swabians) เดิมเป็นกลุ่มสหพันธ์ของกลุ่มชนเจอร์แมนิกที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณลุ่มแม่น้ำไมน์ในเยอรมนีปัจจุบัน หลักฐานแรกที่กล่าวถึงชนกลุ่มนี้มาจากบันทึกถึงชน "อลามันนิคุส" (ละติน: Alamannicus) ที่สรุปกันว่าเขียนโดยจักรพรรดิคาราคัลลาผู้ปกครองจักรวรรดิโรมันระหว่างปี..

ใหม่!!: สมัยการย้ายถิ่นและชนอลามันน์ · ดูเพิ่มเติม »

ชนเบอร์เบอร์

นเบอร์เบอร์ (Berber people) เป็นกลุ่มชาติพันธ์ของแอฟริกาเหนือทางตะวันตกของลุ่มแม่น้ำไนล์ ผู้ที่ตั้งถิ่นฐานกระจัดกระจายอยู่ในบริเวณตั้งแต่มหาสมุทรแอตแลนติกไปจนถึงโอเอซิสซิวา (Siwa oasis) ในอียิปต์ และจากบริเวณเมดิเตอร์เรเนียนไปจนถึงแม่น้ำไนเจอร์ ในประวัติศาสตร์ชนเบอร์เบอร์พูดภาษากลุ่มเบอร์เบอร์ซึ่งเป็นสาขาหนึ่งของตระกูลภาษาแอโฟรเอชีแอติก ในปัจจุบันชนเบอร์เบอร์บางกลุ่มพูดภาษาอาหรับ ชนเบอร์เบอร์ที่พูดภาษากลุ่มเบอร์เบอร์ในบริเวณที่ว่านี้มีด้วยกันราว 30 ถึง 40 ล้านคนที่ส่วนใหญ่ตั้งถิ่นฐานหนาแน่นอยู่ในบริเวณแอลจีเรียและโมร็อกโก และเบาบางลงไปทางตะวันออกไปทางมาเกรบ (Maghreb) และเลยไปจากนั้น บริเวณของชนเบอร์เบอร์ ชนเบอร์เบอร์เรียกตนเองด้วยชื่อต่าง ๆ ที่รวมทั้ง “Imazighen” (เอกพจน์ “Amazigh”) ที่อาจจะแปลว่า “ชนอิสระ” ตามความเห็นของนักการทูตและนักประพันธ์ชาวอาหรับเลโอ อาฟริคานัส “Amazigh” แปลว่า “คนอิสระ” แต่ความเห็นนี้ก็ยังเป็นที่โต้แย้งกันเพราะไม่มีรากของความหมายของ “M-Z-Gh” ที่แปลว่า “อิสระ” ในภาษากลุ่มเบอร์เบอร์สมัยใหม่ นอกจากนั้นก็ยังมีคำภาษา Tuareg “amajegh” ที่แปลว่า “ศักดิ์ศรี” (noble) คำเรียกนี้ใช้กันทั่วไปในโมร็อกโก แต่ในบริเวณอื่นในท้องถิ่นก็มีคำอื่นที่เฉพาะเจาะจงลงไปอีกเช่น “Kabyle” หรือ “Chaoui” ที่มักจะใช้กันมากกว่า ในประวัติศาสตร์ชนเบอร์เบอร์ก็รู้จักกันในชื่อต่างๆ เช่นในลิเบียโบราณโดยชาวกรีกโบราณ ว่า “นูมิเดียน” และ “มอเนเทเนีย” โดยโรมัน และ “มัวร์” โดยชายยุโรปในยุคกลาง ภาษาอังกฤษสมัยปัจจุบันอาจจะแผลงมาจากภาษาอิตาลีหรืออาหรับแต่รากที่ลึกไปกว่านั้นไม่เป็นที่ทราบ ชาวเบอร์เบอร์ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันก็ได้แก่นักประพันธ์ชาวโรมันอพูเลียส (Apuleius), จักรพรรดิโรมันเซ็พติมิอัส เซเวอรัส และ นักบุญออกัสตินแห่งฮิปโป ชาวเบอร์เบอร์ที่มีชื่อเสียงในปัจจุบันคือดารานักฟุตบอลซีเนอดีน ซีดาน.

ใหม่!!: สมัยการย้ายถิ่นและชนเบอร์เบอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ฟรีเซียน

ฟรีเซียน (Frisians) คือชาติพันธุ์หนึ่งในกลุ่มชาติพันธุ์เจอร์มานิคที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ตามริมฝั่งทะเลของเนเธอร์แลนด์และเยอรมนี ส่วนใหญ่อยู่กันหนาแน่นในจังหวัดฟรีสแลนด์ และโกรนิงเกนในเนเธอร์แลนด์ และในบริเวณฟรีเซียตะวันออก และ ฟรีเซียเหนือในเยอรมนี ฟรีเซียนตั้งถิ่นฐานในบริเวณที่เรียกว่าฟรีเซี.

ใหม่!!: สมัยการย้ายถิ่นและฟรีเซียน · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1043

ทธศักราช 1043 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: สมัยการย้ายถิ่นและพ.ศ. 1043 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1243

ทธศักราช 1243 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: สมัยการย้ายถิ่นและพ.ศ. 1243 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1254

ทธศักราช 1254 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: สมัยการย้ายถิ่นและพ.ศ. 1254 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1260

ทธศักราช 1260 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: สมัยการย้ายถิ่นและพ.ศ. 1260 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1261

ทธศักราช 1261 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: สมัยการย้ายถิ่นและพ.ศ. 1261 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1275

ทธศักราช 1275 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: สมัยการย้ายถิ่นและพ.ศ. 1275 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 843

ทธศักราช 843 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: สมัยการย้ายถิ่นและพ.ศ. 843 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 919

ทธศักราช 919 ตรงกับปี คริสต์ศักราช 376.

ใหม่!!: สมัยการย้ายถิ่นและพ.ศ. 919 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 953

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: สมัยการย้ายถิ่นและพ.ศ. 953 · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าธีโอดอริคมหาราช

left พระเจ้าธีโอดอริคมหาราช (Theodoric The Great; ค.ศ. 454 - ค.ศ. 526) ทรงเป็นกษัตริย์แห่งออสโตรกอธ (ค.ศ. 471 - ค.ศ. 526) กษัตริย์แห่งอิตาลี (ค.ศ. 493 - ค.ศ. 526) และผู้สำเร็จราชการแผ่นดินแห่งวิซิกอท (ค.ศ. 511 - ค.ศ. 526) หมวดหมู่:พระมหากษัตริย์อิตาลี.

ใหม่!!: สมัยการย้ายถิ่นและพระเจ้าธีโอดอริคมหาราช · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มชนเจอร์แมนิก

การประชุมของสภาทิง (Thing) ของชนเจอร์แมนิก วาดจากภาพแกะนูนบนคอลัมน์มาร์คัส ออเรลิอัส (Marcus Aurelius) (ค.ศ. 193) กลุ่มชนเจอร์แมนิก (Germanic peoples) เป็นกลุ่มชนในประวัติศาสตร์ที่เดิมตั้งถิ่นฐานอยู่ทางตอนเหนือของยุโรปที่พูดภาษากลุ่มเจอร์แมนิกในตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนซึ่งแยกมาจากกลุ่มภาษาเจอร์แมนิกดั้งเดิมในช่วงสมัยก่อนยุคเหล็กก่อนโรมัน ผู้ที่สืบเชื้อสายมาจากกลุ่มชนนี้กลายมาเป็นต้นตระกูลของชาติพันธุ์ต่าง ๆ ทางตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรปซึ่งได้แก่ ชาวสวีเดน, ชาวเดนมาร์ก, ชาวนอร์เวย์, ชาวอังกฤษ, ชาวไอซ์แลนด์, ชาวแฟโร, ชาวเยอรมัน, ชาวออสเตรีย, ชาวดัตช์, ชาวฟรีเซียน, ชาวเฟลมิช, ชาวแอฟริกาเนอร์ และรวมภาษาสกอตด้วย ชนเจอร์แมนิกย้ายถิ่นฐานไปทั่วยุโรปในปลายยุคโบราณตอนปลายระหว่างปี..

ใหม่!!: สมัยการย้ายถิ่นและกลุ่มชนเจอร์แมนิก · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มชนเตอร์กิก

กลุ่มชนเตอร์กิก (Turkic peoples) เป็นกลุ่มชนยูเรเชียที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ทางตอนเหนือ กลาง และตะวันตกของยูเรเชียผู้พูดภาษาที่อยู่ในตระกูลภาษากลุ่มเตอร์กิก, Encyclopædia Britannica, Online Academic Edition, 2008 ชนในกลุ่มชนเตอร์กิกมีลักษณะวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์บางอย่างร่วมกัน คำว่า “เตอร์กิก” เป็นคำที่ใช้แทนกลุ่มชาติพันธุ์/ภาษา (ethno-linguistic group) ของชาติพันธุ์ของสังคมที่ยังคงมีอยู่ในปัจจุบันเช่นชาวอาเซอร์ไบจาน, ชาวคาซัคสถาน, ชาวตาตาร์, ชาวคีร์กีซ, ชาวตุรกี, ชาวเติร์กเมน, ชาวอุยกูร์, ชาวอุซเบกิสถาน, ชาวฮาซารา, ชาวการากัลปัก ชาวโนกาย ชาวการาเชย์-บัลการ์ ชาวตาตาร์ไซบีเรีย ชาวตาตาร์ไครเมีย ชาวชูวาช ชาวตูวัน ชาวบัชกีร์ ชาวอัลไต ชาวยาคุตส์ ชาวกากาอุซ และรวมทั้งประชาชนในรัฐและจักรวรรดิเตอร์กิกในอดีตเช่นฮั่น, บัลการ์, คูมัน, ชนอาวาร์, เซลจุค, คาซาร์, ออตโตมัน, มามลุค, ติมูริด และอาจจะรวมทั้งซฺยงหนู (Xiongnu).

ใหม่!!: สมัยการย้ายถิ่นและกลุ่มชนเตอร์กิก · ดูเพิ่มเติม »

กอล

แผนที่ของ กอล ราว 100 ปีก่อนคริสตกาล แสดงให้เห็นตำแหน่งสัมพันธ์กับเผ่าเคลติก กอล (Gaul) เป็นชื่อเก่าแก่ในประวัติศาสตร์ ใช้ในยุคโรมันเพื่อเรียกขานดินแดนทางยุโรปตะวันตก ซึ่งปัจจุบันเทียบได้ประมาณบริเวณประเทศฝรั่งเศสและเบลเยี่ยม และอาจรวมไปถึงหุบเขาโพ ในสวิตเซอร์แลนด์ตะวันตก บางส่วนของเนเธอร์แลนด์และเยอรมนีทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำไรน์ ในภาษาอังกฤษ คำว่า กอล อาจหมายถึงผู้คนที่อาศัยอยู่ในย่านนั้น (ภาษาฝรั่งเศสเรียก Gaulois) พลเมืองในอดีตสามารถพูดภาษากอล (Gaulish) ได้อย่างกว้างขวาง (เป็นภาษาที่พัฒนามาจากเคลติกยุคต้น) โดยแพร่หลายในดินแดนบริเตน ไอบีเรีย ไอร์แลนด์ ไปจนกระทั่งถึงอนาโทเลียกลางในยุคโรมัน คำในภาษาละตินของ กอล ยังคงมีใช้อยู่ในคำภาษากรีกยุคใหม่สำหรับใช้เรียกประเทศฝรั่งเศส คือ กัลเลีย (Gallia) กอลภายใต้การนำของ Brennus บุกยึดโรมันได้ในราวทศวรรษ 390 ก่อนคริสตกาล ในแดนอีเจี้ยน มีการอพยพครั้งใหญ่ของชาวกอลตะวันออก จากดินแดนเทรซ ทางตอนเหนือของกรีซ ในราวปี 281 ก่อนคริสตกาล ผู้นำของชาวกอลอีกคนหนึ่งซึ่งมีชื่อว่า Brennus เหมือนกัน เป็นผู้นำของกองทัพขนาดใหญ่ ได้หวนกลับจากการทำลายล้างวิหารอพอลโลในเมืองเดลฟีในกรีซในวินาทีสุดท้าย เล่ากันว่าเขาได้รับเตือนโดยเสียงฟ้าร้องและสายฟ้า ในเวลาเดียวกับที่ชาวเคลต์กำลังอพยพ นักรบกว่า 10,000 นาย พร้อมด้วยบรรดาผู้หญิง เด็ก และทาส ได้เดินทางผ่านดินแดนเทรซพอดี ชาวกอลสามกลุ่มใหญ่ได้เดินทางข้ามดินแดนเทรซไปยังเอเชียไมเนอร์ตามคำเชิญของ Nicomedes ที่ 1 กษัตริย์แห่ง Bithynia พระองค์ได้ส่งคำร้องขอความช่วยเหลือเพื่อสู้กับน้องชายของพระองค์เอง ในเวลาต่อมาชาวกอลก็ตั้งถิ่นฐานลงทางตะวันออกของ Phrygia และ Cappadocia ในแคว้นอนาโทเลียกลาง ดินแดนซึ่งปัจจุบันรู้จักกันในชื่อ กาลาเทีย (Galatia).

ใหม่!!: สมัยการย้ายถิ่นและกอล · ดูเพิ่มเติม »

การบุกครองทวีปยุโรปของมองโกล

ทธการโมฮี การรุกรานของมองโกลในยุโรป (Mongol invasion of Europe) จุดมุ่งหมายของการรุกรานของมองโกลภายใต้การนำของซูบูไท (Subutai) คือการทำลายราชนครรัฐต่างๆ ของสลาฟตะวันออกเช่นจักรวรรดิเคียฟรุส และ จักรวรรดิวลาดิเมียร์-ซุสดา (Vladimir-Suzda) หลังจากนั้นมองโกลก็รุกรานราชอาณาจักรฮังการี (ในยุทธการโมฮี) และบริเวณต่างๆ ในโปแลนด์ การโจมตีฮังการีนำโดยบาตู ข่าน (Batu Khan) หลานของเจงกีส ข่าน และโปแลนด์นำโดยคาดาน หลานของเจงกีส ข่านเช่นกัน แต่แผนการรุกรานทั้งสองมาจากซูบูไท ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 13 นักประวัติศาสตร์ยังคงโต้แย้งกันว่าการรุกรานของมองโกลในยุโรปตะวันออกมีความสำคัญพอที่จะการเปลี่ยนแปลงแนวโน้มทางประวัติศาสตร์หรือไม่ นักประวัติศาสตร์การทหารส่วนใหญ่เชื่อว่าเป็นการกระทำที่ต้องการที่จะสร้างความตระหนกให้แก่มหาอำนาจของโลกตะวันตกเพื่อไม่ให้เข้ามายุ่งเกี่ยวกับกิจการของมองโกลในยุโรปตะวันออกโดยเฉพาะในรัสเซีย หลักฐานมิได้สนับสนุนความคิดที่ว่าบาตู ข่านต้องการที่จะรักษาความมั่นคงในบริเวณพรมแดนทางด้านตะวันตกของชัยชนะที่ได้รับต่อรัสเซีย และเมื่อหลังจากการเข้าทำลายฮังการีและโปแลนด์อย่างรวดเร็วแล้วเท่านั้นที่บาตู ข่านเริ่มจะคิดถึงการรุกรานยุโรปตะวันตก สำหรับมองโกลการรุกรานยุโรปเป็นเพียงหนึ่งในสงครามสามด้านของการรณรงค์ที่รวมทั้งตะวันออกกลางและดินแดนของราชวงศ์ซ่ง.

ใหม่!!: สมัยการย้ายถิ่นและการบุกครองทวีปยุโรปของมองโกล · ดูเพิ่มเติม »

การพลัดถิ่น

ียนแสดงการอพยพของชาวไอริช ราว ค.ศ. 1868 การพลัดถิ่น (Diaspora) คำว่า “Diaspora” มาจากภาษากรีก “διασπορά” ที่แปลว่า “การหว่าน” เป็นคำที่หมายถึงการโยกย้ายของประชากรที่มีชาติพันธุ์เดียวกันเป็นกลุ่มใหญ่ ที่อาจจะเกิดจากการถูกบังคับให้ทำการโยกย้าย หรือ เลือกที่จะโยกย้ายถิ่นฐานโดยความตั้งใจของตนเองจากถิ่นฐานที่อยู่เดิมไปตั้งถิ่นฐานและเป็นพลเมืองในดินแดนใหม่ที่มักจะไกลจากถิ่นฐานที่ตั้งอยู่เดิม “การพลัดถิ่น” แตกต่างจากวัฒนธรรมของผู้เร่ร่อน และใกล้เคียงกับการเป็นผู้ลี้ภัย (Refugee) มากกว่า แต่การลี้ภัยอาจจะเป็นการโยกย้ายไปตั้งถิ่นฐานอย่างถาวรในดินแดนใหม่หรือไม่ก็ได้ คำว่า “การพลัดถิ่น” แตกต่างจากการลี้ภัยที่หมายถึงกลุ่มผู้ที่พลัดจากบ้านเกิดเมืองนอนที่ไปตั้งถิ่นฐานอยู่ในดินแดนใหม่อย่างเป็นการถาวร คำนี้นิยมใช้กับการอพยพของชนกลุ่มใหญ่ที่อาจจะมีสาเหตุมาจากการบังคับให้โยกย้าย หรือจากปัญหาทางเศรษฐกิจที่ทำให้มีความจำเป็นต้องไปหาที่ตั้งถิ่นฐานใหม่ก็ได้ ความเปลี่ยนแปลงทางสังคม การวิวัฒนาการทางวัฒนธรรมของผู้พลัดถิ่นที่ไปตั้งถิ่นฐานอยู่ในดินแดนอื่น ก็อาจจะแตกต่างไปจากการวิวัฒนาการของชนกลุ่มเดียวกันในบ้านเกิดเมืองนอนที่ทิ้งมา การรักษาวัฒนธรรม ประเพณี นอกจากนั้นปัจจัยต่างๆ ของแต่ละกลุ่มก็จะต่างระดับกันไป แต่แนวโน้มโดยทั่วไปแล้วความผูกพันทางวัฒนธรรมของกลุ่มผู้พลัดถิ่นมักจะดำเนินไปในรูปของการต่อต้านความเปลี่ยนแปลงของภาษาและในการรักษาประเพณีการปฏิบัติทางศาสนาเช่นที่เคยทำกันมาในประเทศบ้านเกิดอย่างเหนียวแน่นโดยเฉพาะในชั่วคนรุ่นแรก.

ใหม่!!: สมัยการย้ายถิ่นและการพลัดถิ่น · ดูเพิ่มเติม »

การพิชิตดินแดนโดยมุสลิม

การขยายดินแดนระหว่างสมัยจักรวรรดิกาหลิปอุมัยยะห์, ค.ศ. 661–750/ฮ.ศ. 40-129 การพิชิตดินแดนโดยมุสลิม หรือ การพิชิตดินแดนโดยอาหรับ (Muslim conquests, فتح, “Fatah” แปลตรงตัวว่า การเปิด หรือ Jihad) (ค.ศ. 632–ค.ศ. 732) การพิชิตดินแดนโดยมุสลิมเริ่มขึ้นหลังจากการเสียชีวิตของมุฮัมมัดศาสดาของศาสนาอิสลาม มุฮัมมัดก่อตั้งอาณาจักรทางการเมืองที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในคาบสมุทรอาหรับ ที่ต่อมาตกมาอยู่ภายใต้การปกครองของจักรวรรดิกาหลิบรอชิดีน และ จักรวรรดิกาหลิปอุมัยยะห์ ซึ่งเป็นช่วงของการขยายดินแดนอันรวดเร็วของมุสลิมที่ไกลออกไปจากคาบสมุทรอาหรับ ในรูปของจักรวรรดิมุสลิม ที่ครอบคลุมดินแดนตั้งแต่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดีย, ข้ามเอเชียกลาง, ตะวันออกกลาง, แอฟริกาเหนือ, ตอนใต้ของอิตาลี, คาบสมุทรไอบีเรีย ไปจนถึงเทือกเขาพิเรนีส นักประวัติศาสตร์ชาวอังกฤษเอ็ดเวิร์ด กิบบอน เขียน ประวัติศาสตร์ของการเสื่อมโทรมและการล่มสลายของจักรวรรดิโรมัน (The History of the Decline and Fall of the Roman Empire) ว่า: การพิชิตดินแดนโดยมุสลิมนำมาซึ่งการล่มสลายของจักรวรรดิซาสซานิยะห์และการสูญเสียดินแดนส่วนใหญ่ของจักรวรรดิไบแซนไทน์ สาเหตุของความสำเร็จของการขยายดินแดนเป็นการยากที่จะเข้าใจเพราะเอกสารที่มาจากสมัยที่ว่ามีหลงเหลืออยู่เพียงเล็กน้อย นักประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่เห็นพ้องกันว่าในช่วงนั้นจักรวรรดิซาสซานิยะห์และจักรวรรดิไบแซนไทน์ก็เริ่มเสื่อมโทรมลงทั้งทางด้านเศรษฐกิจและการทหารอยู่เป็นเวลาหลายสิบปีอยู่แล้ว นักประวัติศาสตร์ผู้อื่นเสนอความเห็นว่าประชาชนผู้อยู่ภายใต้การปกครองของสองจักรวรรดินี้ที่รวมทั้งชาวยิว และคริสเตียนในจักรวรรดิซาสซานิยะห์ และ ชาวยิว และชาวโมโนฟิซิทิสม์ในซีเรียมีความไม่พึงพอใจต่อประมุขผู้ปกครองในขณะนั้นและอาจจะยินดีที่มีมุสลิมเข้ามาปลดปล่อย ซึ่งมีสาเหตุมาจากความขัดแย้งทางศาสนาของทั้งสองจักรวรรดิ ในกรณีของอียิปต์ไบแซนไทน์, ปาเลสไตน์ และ ซีเรีย ดินแดนเหล่านี้เพิ่งตกไปเป็นของเปอร์เซียไม่นานก่อนหน้านั้น และมิได้ปกครองโดยไบแซนไทน์มาเป็นเวลากว่า 25 ปี แต่เฟรด ดอนเนอร์ แม็คกรอว์เสนอว่าลักษณะการก่อตั้งของรัฐในคาบสมุทร และ การประสานสัมพันธ์ในการเดินทัพ และในทางปรัชญาเป็นสาเหตุสำคัญในความสำเร็จของมุสลิมในการก่อตั้งจักรวรรดิอันยิ่งใหญ่ที่ไม่เคยเห็นกันมาก่อน แต่ความคิดนี้ก็ไม่เป็นที่ยอมรับกันเท่าใดนัก การประมาณเนื้อที่ของจักรวรรดิกาหลิปมุสลิมเชื่อกันว่ามีเนื้อที่ทั้งหมดกว่า 5 ล้านตารางกิโลเมตรที่ทำให้เป็นจักรวรรดิที่ใหญ่กว่ารัฐใดๆ ในขณะนั้นนอกไปจากสหพันธรัฐรัสเซี.

ใหม่!!: สมัยการย้ายถิ่นและการพิชิตดินแดนโดยมุสลิม · ดูเพิ่มเติม »

การล้อมกรุงคอนสแตนติโนเปิล (ค.ศ. 717-718)

การล้อมกรุงคอนสแตนติโนเปิล (ค.ศ. 717-718) หรือ การล้อมกรุงคอนสแตนติโนเปิลโดยชาวอาหรับครั้งที่สอง (Siege of Constantinople) เป็นความขัดแย้งที่เป็นส่วนหนึ่งของสงครามไบแซนไทน์–อาหรับและเป็นการล้อมกรุงคอนสแตนติโนเปิลครั้งที่สองในหลายครั้งที่เกิดขึ้น การล้อมครั้งนี้เป็นการต่อสู้ระหว่างจักรวรรดิไบแซนไทน์และจักรวรรดิบัลแกเรียฝ่ายหนึ่งและจักรวรรดิอุมัยยะฮ์ของอาหรับอีกฝ่ายหนึ่ง การสงครามครั้งนี้เกิดขึ้นทางทางบกและทางทะเลโดยฝ่ายอาหรับในการพยายามยึดกรุงคอนสแตนติโนเปิลที่เป็นเมืองหลวงของจักรวรรดิไบแซนไทน์ กองทหารราบของฝ่ายอาหรับนำโดยมาสลามา อิบุน อับดาล มาลิคได้รับความพ่ายแพ้ จากการพยายามตีกำแพงธีโอโดเซียนของคอนสแตนติโนเปิลของที่ไม่สามารถตีแตกได้ และจากการโจมตีของกองกำลังบัลแกเรีย ขณะเดียวกันทางด้านการรบทางทะเลกองเรือฝ่ายอาหรับก็ถูกทำลายโดย “ไฟกรีก” (Greek fire) ไปเป็นอันมาก กองเรือที่รอดหลงเหลือก็มาล่มในพายุระหว่างการเดินเรือกลับ การสงครามครั้งนี้มักจะเปรียบเทียบกับยุทธการตูร์เพราะเป็นยุทธการที่หยุดยั้งการขยายตัวของมุสลิมเข้ามายังยุโรปเป็นเวลาเกือบ 700 ปี.

ใหม่!!: สมัยการย้ายถิ่นและการล้อมกรุงคอนสแตนติโนเปิล (ค.ศ. 717-718) · ดูเพิ่มเติม »

การตีกรุงโรมแตก (ค.ศ. 410)

ลจิตรกรรมภาพการตีกรุงโรม ใน ค.ศ. 410 (คริสต์ศตวรรษที่ 15) การตีกรุงโรมแตก (Sack of Rome) ในปี ค.ศ. 410 เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม..

ใหม่!!: สมัยการย้ายถิ่นและการตีกรุงโรมแตก (ค.ศ. 410) · ดูเพิ่มเติม »

ยิบรอลตาร์

รอลตาร์ (Gibraltar) เป็นดินแดนโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักร ตั้งอยู่ใกล้กับจุดใต้สุดของคาบสมุทรไอบีเรีย ในบริเวณช่องแคบยิบรอลตาร์ มีเนื้อที่โดยรวมประมาณ 6.5 ตารางกิโลเมตร ทางทิศเหนือมีพรมแดนติดต่อกับประเทศสเปน และมีประชากรประมาณ 32,000 คน สถานที่ที่มีชื่อเสียงของยิบรอลตาร์คือ โขดหินยิบรอลตาร์ (Rock of Gibraltar) ซึ่งเป็นสถานที่ที่มีความสำคัญทางธรณีวิทยาแห่งหนึ่งของโลก เดิมทียิบรอลตาร์เคยเป็นดินแดนหนึ่งของราชอาณาจักรสเปน จนกระทั่งในปี..

ใหม่!!: สมัยการย้ายถิ่นและยิบรอลตาร์ · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการที่ตูร์

ทธการตูร์ หรือ ยุทธการปัวติเยร์ (Battle of Tours หรือ Battle of Poitiers, معركة بلاط الشهداء (ma‘arakat Balâṭ ash-Shuhadâ’) ยุทธการแห่งราชสำนักผู้พลีชีพ) (10 ตุลาคม ค.ศ. 732) เป็นยุทธการที่เกิดขึ้นในบริเวณเมืองปัวติเยร์ และ ตูร์ ใกล้กับหมู่บ้าน Moussais-la-Bataille ราวยี่สิบกิโลเมตรทางตอนเหนือของปัวติเยร์ สมรภูมิของการสู้รบอยู่ติดกับเขตแดนระหว่างจักรวรรดิแฟรงค์และอากีแตน ยุทธการตูร์เป็นยุทธการระหว่างกองทัพแฟรงค์และเบอร์กันดี ภายใต้การนำของออสตราเซียชาร์ลส์ มาร์เตลฝ่ายหนึ่ง และกองทัพของจักรวรรดิกาหลิปอุมัยยะห์ที่นำโดยอับดุล เราะหฺมาน อัล ฆอฟิกีข้าหลวงใหญ่แห่งอัล-อันดะลุสอีกฝ่ายหนึ่ง ฝ่ายแฟรงค์เป็นฝ่ายได้รับชัยชนะ อับดุล เราะหฺมาน อัล ฆอฟิกีเสียชีวิตในสนามรบ ชาร์ลส์ มาร์เตลขยายอำนาจลงมาทางใต้ นักบันทึกพงศาวดารของคริสต์ศตวรรษที่ 9 ผู้ตีความหมายของชัยชนะว่าเป็นอำนาจจากเบื้องบนที่เข้าข้างชาร์ลส์ และตั้งสมญานามให้ชาร์ลส์ว่า “Martellus” หรือ “ค้อน” ที่อาจจะมาจากสมญาว่า “The Hammerer” ของจูดาส แม็คคาเบียส (Judas Maccabeus) ใน การปฏิวัติแม็คคาบี (Maccabean revolt) เมื่อชาวยิวปฏิวัติต่อต้านการปกครองของจักรวรรดิเซลูซิด (Seleucid empire) Riche, 1993, p. 44.

ใหม่!!: สมัยการย้ายถิ่นและยุทธการที่ตูร์ · ดูเพิ่มเติม »

ยุโรปกลาง

รัฐในยุโรปกลางในปี ค.ศ. 1902 ยุโรปกลาง (Central Europe) คือ อาณาบริเวณที่ตีความหมายแตกต่างกันไปหลายอย่าง ที่ตั้งอยู่ระหว่างยุโรปตะวันออก และยุโรปตะวันตก คำนี้และความสนใจโดยทั่วไปของบริเวณนี้กลับมาเป็นที่สนใจกันอีกครั้ง หลังจากสงครามเย็นสิ้นสุดลงซึ่งก็เช่นเดียวกับม่านเหล็กที่เป็นอาณาบริเวณที่แบ่งยุโรปทางการเมืองออกเป็นตะวันออก และ ตะวันตก และม่านเหล็กผ่ายุโรปกลางออกเป็นสองข้าง ความหมายของยุโรปกลางในเชิงความมีลักษณะวัฒนธรรมร่วมกันของกลุ่มรัฐที่อยู่ในเครือเป็นความคิดที่ค่อนข้างจะเป็นความคิดลวง แต่กระนั้นนักวิชาการก็ยังเสนอว่าลักษณะเอกลักษณ์ของ “วัฒนธรรมยุโรปกลางที่แม้จะยังเป็นที่โต้แย้งกันอยู่นั้นมีอยู่จริง” ความเห็นนี้มีพื้นฐานมาจาก “ความคล้ายคลึงกันที่มาจากลักษณะทางประวัติศาสตร์ สังคม และวัฒนธรรม” ซึ่งสามารถบอกได้จากการที่บริเวณที่ว่านี้เคยเป็น “สถานที่ที่เป็นแหล่งสำคัญที่สุดของผู้มีความรู้ความสามารถในด้านต่างๆ เป็นจำนวนมาก” ในระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 18 คริสต์ศตวรรษที่ 20 “Cross Currents: A Yearbook of Central European Culture” ให้คำจำกัดความของยุโรปกลางว่าเป็น “ยุโรปตะวันตกที่ถูกละเลย หรือ สถานที่ที่ยุโรปตะวันออกและตะวันตกประสานงานกัน” ในคริสต์ทศวรรษ 2000 ประเทศหลายประเทศในยุโรปกลางก็มักจะติดอันดับอยู่ในบรรดากลุ่ม 30 ประเทศที่ถือกันว่าเป็นประเทศพัฒนา (Developed countries) ที่สุดในโลก แต่วัฒนธรรมสมัยนิยมของตะวันตก (โดยเฉพาะในวัฒนธรรมสมัยนิยมอเมริกัน) ยังคงมีความคิดเห็นเกี่ยวกับบริเวณนี้ที่ไม่ถูกต้องว่าเป็นประเทศที่ยังอยู่ในความ “ความล้าหลัง” ของสงครามเย็น.

ใหม่!!: สมัยการย้ายถิ่นและยุโรปกลาง · ดูเพิ่มเติม »

ยุโรปตะวันออก

แผนที่ยุโรปตะวันออก ยุโรปตะวันออก (Eastern Europe) มีพื้นที่อยู่ระหว่างละติจูดที่ 40 - 53 องศาเหนือ ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวสลาฟ สภาพความเป็นอยู่เป็นแบบชนบท ประกอบไปด้วยประเทศที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต, อดีตเช็กโกสโลวาเกีย (ปัจจุบันคือเช็กเกียและสโลวาเกีย), โปแลนด์, ฮังการี, โรมาเนีย, บัลแกเรีย และอดีตยูโกสลาเวีย ประเทศส่วนใหญ่ในยุโรปตะวันออกในอดีต ปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์ แต่ในปัจจุบันนี้ได้มีการพัฒนาเป็นประชาธิปไตยบ้างแล้ว ศาสนาที่นับถือส่วนใหญ่ในภูมิภาคนี้คือศาสนาคริสต์ ภาษาที่ใช้เป็นภาษากลุ่มโรแมนซ์และกลุ่มสลาวอนิก.

ใหม่!!: สมัยการย้ายถิ่นและยุโรปตะวันออก · ดูเพิ่มเติม »

รัฐเคาะลีฟะฮ์รอชิดีน

รัฐเคาะลีฟะฮ์รอชิดีน (الخلافة الراشدية, Rashidun Caliphate) เป็นรัฐเคาะลีฟะฮ์รัฐแรกในสี่รัฐเคาะลีฟะฮ์ ก่อตั้งขึ้นหลังจากการเสียชีวิตของมุฮัมมัดในปี..

ใหม่!!: สมัยการย้ายถิ่นและรัฐเคาะลีฟะฮ์รอชิดีน · ดูเพิ่มเติม »

รัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์

รัฐอุมัยยะห์ (بنو أمية‎) เป็นรัฐเคาะลีฟะฮ์แห่งแรกที่ถูกสถาปนาโดยมุอาวียะห์ อิบนุ อบี สุฟยาน (Muahwiya Ibn Abi Sufyan I, ค.ศ. 661 - ค.ศ. 680) หลังจากการถึงแก่อสัญกรรมของอะลีย์ บุตรเขยของมุฮัมหมัด ราชวงศ์นี้แผ่ขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวางในช่วงต้น อีกทั้งราชวงศ์ยังรักษาธรรมเนียมปฏิบัติของศาสนาอิสลามอย่างเคร่งครัด แต่พอถึงปลายยุคเคาะลีฟะฮ์กลับเสวยแต่น้ำจัณฑ์ ล่าสัตว์ ใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือยไม่ปฏิบัติตามหลักศาสนา จึงถูกลูกหลานของน้าของศาสนทูตมุฮัมหมัดโค่นล้มราชวงศ์ลงในสมัยมัรวานที่ 2 ในปี ค.ศ. 750 (พ.ศ. 1293) อุมัยยะห์เป็นหนึ่งในสี่รัฐเคาะลีฟะฮ์ของอิสลามที่ก่อตั้งหลังจากการเสียชีวิตของมุฮัมหมัด ศาสนทูตของศาสนาอิสลามที่ปกครองโดยราชวงศ์อุมัยยะห์ ที่ได้รับชื่อจาก Umayya ibn Abd Shams ผู้เป็นทวดของคอลีฟะฮ์อุมัยยะห์คนแรก แม้ว่าตระกูลอุมัยยะห์เดิมจะมาจากมักกะฮ์ แต่ดามัสกัสเป็นเมืองหลวงของรัฐ หลังจากอุมัยยะห์ถูกโค่นโดยรัฐเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์ รัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะห์ก็ย้ายไปตั้งถิ่นฐานใหม่ที่อัล-อันดะลุส (Al-Andalus) และก่อตั้งเป็นรัฐเคาะลีฟะฮ์แห่งกอร์โดบา ภายหลังจากที่ท่านอะลี อิบน์ อะบี ฏอลิบ เคาะลีฟะฮ์รอชิดีนคนที่ 4 เสียชีวิต ท่านหะสัน อิบนุ อะลี บุตรของท่านอาลีได้รับเลือกตั้งเป็นเคาะลีฟะฮ์คนต่อไป แต่ดำรงตำแหน่งเคาะลีฟะฮ์ได้ไม่กี่เดือนก็ยอมสละตำแหน่งให้แก่ท่านมุอาวียะฮ์ อิบนุ อบี สุฟยาน ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความเป็นเอกภาพในรัฐอิสลาม พร้อมกับหลีกเลี่ยงความแตกแยกและการสูญเสียเลือดระหว่างชาวมุสลิมด้วยกันมากกว่านี้ มุอาวิยะฮ์เป็นเคาะลีฟะฮ์ท่านแรกในราชวงศ์อุมัยยะฮ์ ท่านสืบเชื้อสายจากตระกูลอุมัยยะห์ บุตรของอับดุซซัม ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า "ราชวงศ์อุมัยยะฮ์" ในสมัยการปกครองของราชวงศ์อุมัยยะฮ์ ท่านมุอาวียะฮ์ได้เปลี่ยนรูปแบบการปกครองจากสาธารณรัฐเป็นราชอาณาจักร ท่านทำให้ตำแหน่งเคาะลีฟะฮ์กลายเป็นตำแหน่งกษัตริย์โดยการสืบสันติวงศ์ ท่านได้ทรงแต่งตั้งยะซิด โอรสของท่านให้เป็นกษัตริย์ ต่อมาการแต่งตั้งแบบนี้ได้กลายเป็นตัวอย่างการแต่งตั้งเคาะลีฟะฮ์มาตลอดราชวงศ์อุมัยยะฮ์ ทั้งรัฐเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์และอื่น ๆ อีกด้วย ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าท่านเป็นผู้สร้างตำแหน่งกษัตริย์โดยการสืบสันติวงศ์ขึ้นในประวัติศาสตร์ของศาสนาอิสลาม การปกครองแบบประชาธิปไตยระหว่างเผ่าของเคาะลีฟะฮ์ท่านก่อน ๆ ก็หมดสิ้นไป กลายเป็นการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิร.

ใหม่!!: สมัยการย้ายถิ่นและรัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์ · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรวิซิกอท

ราชอาณาจักรวิซิกอท (Visigothic kingdom) เป็นอำนาจของยุโรปตะวันตกที่เริ่มตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 5 จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 8 เป็นหนึ่งในรัฐที่ตามมาจากจักรวรรดิโรมันตะวันตก เดิมก่อตั้งขึ้นโดยการการตั้งถิ่นฐานของวิซิกอทภายใต้ประมุขของตนเองในอากีแตน (กอลตอนใต้) โดยรัฐบาลของโรมัน ต่อมาก็ขยายดินแดนออกไปโดยการพิชิตในคาบสมุทรไอบีเรีย ราชอาณาจักรสามารถดำรงตัวเป็นอิสระจากจักรวรรดิไบแซนไทน์เมื่อไบแซนไทน์พยายามรื้อฟื้นอำนาจของโรมันในไอบีเรียประสบความล้มเหลว แต่เมื่อมาถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 6 ชนแฟรงค์ในกอลก็สามารถได้รับชัยชนะต่อราชอาณาจักรวิซิกอททั้งหมดยกเว้นเซ็พติมาเนีย ในที่สุดราชอาณาจักรวิซิกอทก็ล่มสลายระหว่างการโจมตีของการรุกรานของอิสลาม (Umayyad conquest of Hispania) จากโมร็อกโก ต่อมาราชอาณาจักรอัสตูเรียสก็กลายเป็นอาณาจักรที่สืบต่อจากราชอาณาจักรวิซิกอท ราชอาณาจักรวิซิกอทปกครองโดยพระมหากษัตริย์ที่มาจากการเลือกตั้งและต้องเป็นชนกอธโดยมี “เซเนท” เป็นที่ปรึกษาราชการที่ประกอบด้วยสังฆราช และขุนนาง แม้ว่าพระมหากษัตริย์จะพยายามก่อตั้งราชวงศ์แต่ก็ไม่มีผู้ใดทำสำเร็จ พระมหากษัตริย์องค์แรก ๆ นับถือคริสต์ศาสนานิกาย Arianism หลังจากนั้นก็เปลี่ยนเป็นลัทธิไนเซียน (Nicene Creed) ซึ่งทางสถาบันศาสนาพยายามสร้างอำนาจมากขึ้นจากการประชุมสภาสงฆ์แห่งโตเลโด (Councils of Toledo) แต่กระนั้นวิซิกอทก็เป็นชาติที่มีการวิวัฒนาการทางกฎหมายทางโลกที่ก้าวหน้าที่สุดในยุโรปตะวันตก “Liber Iudiciorum” กลายมาเป็นรากฐานของกฎหมายของสเปนตลอดยุคกลาง.

ใหม่!!: สมัยการย้ายถิ่นและราชอาณาจักรวิซิกอท · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรแฟรงก์

ราชอาณาจักรแฟรงก์ (Frankish Kingdom) หรือ ฟรังเกีย (Francia) เป็นดินแดนที่ตั้งถิ่นฐานและปกครองโดยชาวแฟรงก์ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 3 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 10 อาณาบริเวณเกิดจากการรณรงค์ที่ต่อเนื่องกันตั้งแต่ชาร์ล มาร์แตล (Charles Martel) พระเจ้าเปแป็งพระวรกายเตี้ย และชาร์เลอมาญ-- พ่อ, ลูก, และหลาน--มามั่นคงเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 9 ธรรมเนียมของการแบ่งดินแดนของพ่อระหว่างลูกชายหมายความว่าดินแดนแฟรงก์ปกครองเป็นอย่างหลวม ๆ เป็นจักรวรรดิที่แบ่งย่อยเป็นส่วนย่อย ๆ (ราชอาณาจักร หรือ อนุราชอาณาจักร) ที่ตั้งและจำนวนอนุราชอาณาจักรก็ต่างกันไปตามเวลา แต่ฟรังเกียโดยทั่วไปมาหมายถึงบริเวณหนึ่งที่เรียกว่าออสเตรเชีย ที่มีศูนย์กลางอยู่ในบริเวณแม่น้ำไรน์ และแม่น้ำเมิซ (Meuse) ทางตอนเหนือของยุโรป แต่กระนั้นบางครั้งก็จะครอบคลุมไปถึงนิวสเตรีย (Neustria) ทางเหนือของแม่น้ำลัวร์ และทางตะวันตกของแม่น้ำแซนในที่สุดบริเวณนี้ก็เคลื่อนมาทางปารีส และมาสิ้นสุดลงในบริเวณลุ่มแม่น้ำแซนรอบ ๆ ปารีส ที่ยังใช้ชื่ออีล-เดอ-ฟร็องส์ และเป็นชื่อในที่สุดก็กลายเป็นชื่อของราชอาณาจักรฝรั่งเศสทั้งราชอาณาจักร.

ใหม่!!: สมัยการย้ายถิ่นและราชอาณาจักรแฟรงก์ · ดูเพิ่มเติม »

ลอมบาร์ด

มงกุฎเหล็กแห่งลอมบาร์ดี right ลอมบาร์ด หรือ ลังโกบาร์ด หรือ ลองโกบาร์ด (Lombards หรือ Langobards หรือ Longobards, Langobardi) เป็นสาขาหนึ่งของกลุ่มชาติพันธุ์เจอร์มานิคที่เดิมมาจากยุโรปเหนือและมาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ลุ่มแม่น้ำดานูบ จากบริเวณนั้นลอมบาร์ดก็เข้ารุกรานจักรวรรดิไบแซนไทน์ในคาบสมุทธอิตาลีในปี..

ใหม่!!: สมัยการย้ายถิ่นและลอมบาร์ด · ดูเพิ่มเติม »

ศิลปะสมัยการโยกย้ายถิ่นฐาน

ลปะสมัยการโยกย้ายถิ่นฐาน (Migration Period art) เป็นงานศิลปะของกลุ่มชนเจอร์มานิคระหว่างสมัยการโยกย้ายถิ่นฐานในยุโรป ระหว่าง ค.ศ. 300 จนถึง ค.ศ. 900 ที่รวมทั้งศิลปะของกลุ่มชนเจอร์มานิคเองบนภาคพื้นยุโรป และ “ศิลปะไฮเบอร์โน-แซ็กซอน” หรือ “ศิลปะเกาะ” ซึ่งเป็นศิลปะผสานระหว่างศิลปะของชาวแองโกล-แซ็กซอน และ ชาวเคลต์บนหมู่เกาะบริติช ลักษณะของศิลปะก็ครอบคลุมหลายลักษณะตั้งแต่ “ลักษณะพหุรงค์” และ “ลายรูปสัตว์” ศิลปะสมัยการโยกย้ายถิ่นฐานเป็นสมัยประวัติศาสตร์ศิลปะที่สำคัญของศิลปะยุคกลาง.

ใหม่!!: สมัยการย้ายถิ่นและศิลปะสมัยการโยกย้ายถิ่นฐาน · ดูเพิ่มเติม »

สงครามไบแซนไทน์-อาหรับ

งครามไบแซนไทน์-อาหรับ (Byzantine–Arab Wars) เป็นสงครามที่ต่อเนื่องกันระหว่างจักรวรรดิกาหลิป และจักรวรรดิไบแซนไทน์ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 7 ถึง คริสต์ศตวรรษที่ 12 ที่เริ่มตั้งแต่การพิชิตดินแดนของมุสลิมภายใต้จักรวรรดิกาหลิปรอชิดีนและจักรวรรดิกาหลิปอุมัยยะห์ และต่อสู้ต่อเนื่องกันมาด้วยสาเหตุความขัดแย้งของพรมแดนจนถึงสงครามครูเสดเริ่มต้นขึ้น ผลของสงครามคือการเสียดินแดนของจักรวรรดิไบแซนไทน์ หรือชาวอาหรับเรียกว่า “รุม” ในบันทึกทางประวัติศาสตร์ ความขัดแย้งครั้งแรกยืนยาวตั้งแต่ ค.ศ. 634 จนถึง ค.ศ. 718 ที่จบลงด้วยการการล้อมกรุงคอนสแตนติโนเปิลครั้งที่สองที่หยุดยั้งการขยายตัวของจักรวรรดิอาหรับเข้ามายังอนาโตเลีย ความขัดแย้งครั้งเกิดขึ้นระหว่างราว ค.ศ. 800 จนถึง ค.ศ. 1169 เมื่อฝ่ายอิสลามยึดดินแดนทางตอนใต้ของอิตาลีโดยกองกำลังของอับบาซียะห์ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 9 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 10 แตไม่ประสบกับความสำเร็จเท่าใดนักในซิซิลี เมื่อมาถึงสมัยการปกครองของราชวงศ์มาซีโดเนียไบแซนไทน์ก็ยึดบริเวณลว้านคืนมาได้ และบุกต่อไปเพื่อที่จะยึดเยรูซาเลมทางตอนใต้ อาณาจักรอีเมียร์แห่งอเล็พโพและอาณาจักรเพื่อนบ้านกลายเป็นอาณาจักรบริวารของไบแซนไทน์ทางตะวันออก ที่อันตรายส่วนใหญ่มาจากจักรวรรดิกาหลิปฟาติมียะห์ในอียิปต์ สถานะการณ์มาเปลี่ยนแปลงเมื่อราชวงศ์เซลจุครุ่งเรืองขึ้นและทำให้อับบาซียะห์ได้ดินแดนลึกเข้าไปในอนาโตเลีย ซึ่งเป็นผลให้จักรพรรดิไบแซนไทน์อเล็กซิออสที่ 1 โคมเนนอสต้องเขียนพระราชสาส์นไปขอความช่วยเหลือจากสมเด็จพระสันตะปาปาเออร์บันที่ 2ที่การประชุมสภาสงฆ์แห่งปิอาเชนซา ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของการเริ่มสงครามครูเสดครั้งที่ 1.

ใหม่!!: สมัยการย้ายถิ่นและสงครามไบแซนไทน์-อาหรับ · ดูเพิ่มเติม »

อาหรับ

กลุ่มประเทศอาหรับ อาหรับ (عربي, ʿarabi พหูพจน์ العرب al-ʿarab, Arab) คือบุคคลกลุ่มบุคคลที่มีชาติพันธุ์ พูดภาษา หรือมีวัฒนธรรมที่เรียกว่า “อาหรับ”เป็นชนชาติหนึ่งที่อาศัยในบริเวณคาบสมุทรอาหรับที่เป็นทะเลทราย รวมทั้งชนชาติที่พูดภาษาอาหรับในเอเชียตะวันตก และแอฟริกาเหนือ ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม คำว่าอาหรับในตระกูลภาษาเซมิติกแปลว่าทะเลทรายหรือผู้อาศัยอยู่ในทะเลทราย ส่วนใหญ่ดำรงชีพแบบเร่ร่อน จึงแปลคำว่าอาหรับว่าเร่ร่อนได้ด้วย ชาวอาหรับเป็นชาวเซมิติกเช่นเดียวกับชาวยิว จัดอยู่ในพวกคอเคเซอยด์ ในคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาเก่ากล่าวว่าอับราฮัมมีลูกชาย 2 คน คนโตชื่ออิสไมส์หรืออิสมาอีลเป็นต้นตระกูลของชาวอาหรับ คนที่ 2 ชื่อไอแซกเป็นต้นตระกูลของชาวยิว ก่อนที่มุฮัมมัดจะประกาศศาสนาอิสลามชาวอาหรับจะอยู่กันเป็นเผ่า จงรักภักดีต่อเผ่าของตนมาก วิถีชีวิตของชาวอาหรับมีสองแบบ คือแบบอยู่เป็นหมู่บ้าน มีอาชีพค้าขายและทำการเกษตร อีกกลุ่มหนึ่งใช้ชีวิตแบบเร่ร่อนเรียกว่าเบดูอิน อาศัยอยู่ในกระโจมเพื่อเคลื่อนย้ายได้สะดวก ชาวเบดูอินกับชาวอาหรับที่ตั้งถิ่นฐานมักดูถูกกัน ไม่ลงรอยกัน หลังจากมุฮัมมัดประกาศศาสนาอิสลาม จึงเกิดความสามัคคีในหมูชาวอาหรับ ผู้นับถือศาสนาอิสลามในยุคแรกๆมักถูกกลั่นแกล้งและปราบปรามจึงเกิดการทำญิฮาดหรือการต่อสู้เพื่อศาสนาขึ้น ปัจจุบันประเทศที่จัดว่าเป็นประเทศอาหรับเป็นสมาชิกของสันนิบาตอาหรับ ในปัจจุบันมีสมาชิก 21 ประเทศ ได้แก่ แอลจีเรีย จิบูตี บาห์เรน อิรัก จอร์แดน คูเวต เลบานอน ลิเบีย มอริตาเนีย โมร็อกโก โอมาน ปาเลสไตน์ กาตาร์ ซาอุดิอาระเบีย โซมาเลีย ซูดาน ซีเรีย ตูนีเซีย อียิปต์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และ เยเมน ในปัจจุบันยังมีความขัดแย้งในหมู่ชาวอาหรับอยู่ เช่น ปัญหาปาเลสไตน์ ความขัดแย้งทางศาสนา เช่น ความขัดแย้งระหว่างชาวอาหรับที่นับถือศาสนาอิสลามและศาสนาคริสต์ในเลบานอน ความขัดแย้งระหว่างชาวอาหรับที่นับถือศาสนาอิสลามนิกายสุหนี่และชีอะห์ เป็นต้น ภาษาอาหรับเป็นภาษาที่เก่ากว่าวัฒนธรรมอาหรับที่เริ่มเผยแพร่ในตะวันออกกลางตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 2 เมื่ออาหรับคริสเตียนเช่นกาสนาวิยะห์ ลักห์มิยะห์ และ Banu Judham เริ่มโยกย้ายเข้าไปตั้งถิ่นฐานในทะเลทรายซีเรียและในบริเวณลว้าน ภาษาอาหรับเพิ่มความสำคัญมากขึ้นพร้อมกับการรุ่งเรืองของศาสนาอิสลามในคริสต์ศตวรรษที่ 7 ในการเป็นภาษาของอัลกุรอาน และวัฒนธรรมอาหรับก็เริ่มเผยแพร่ออกไปพร้อมกับการขยายดินแดนของอิสลาม.

ใหม่!!: สมัยการย้ายถิ่นและอาหรับ · ดูเพิ่มเติม »

อานาโตเลีย

อานาโตเลีย (อังกฤษ: (Anatolia), กรีก: ανατολή หมายถึง "อาทิตย์อุทัย" หรือ "ตะวันออก") นิยมเรียกในภาษาละตินว่า เอเชียน้อย อีกด้วย เป็นดินแดนทางตะวันตกเฉียงใต้ของทวีปเอเชีย ที่เชื่อมต่อระหว่างเอเชียกับยุโรป คาบสมุทรอานาโตเลียมีพื้นที่ประมาณ 757,000 ตร.กม.

ใหม่!!: สมัยการย้ายถิ่นและอานาโตเลีย · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิโรมัน

ักรวรรดิโรมันในช่วงเวลาต่างๆกัน จักรวรรดิโรมัน (Imperivm Romanvm; Ῥωμαϊκὴ Αὐτοκρατορία หรือ Ἡ Ῥωμαίων βασιλεία; Roman Empire) เป็นช่วงระยะเวลาหนึ่งของอารยธรรมโรมันโบราณซึ่งปกครองโดยรูปแบบอัตตาธิปไตย จักรวรรดิโรมันได้สืบต่อการปกครองมาจากสาธารณรัฐโรมัน (510 ปีก่อนคริสตกาล - ศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสตาล) ซึ่งได้อ่อนแอลงหลังจากความขัดแย้งระหว่างไกอุส มาริอุสและซุลลา และสงครามกลางเมืองระหว่างจูเลียส ซีซาร์และปอมปีย์ มีวันหลายวันที่ได้ถูกเสนอให้เป็นเส้นแบ่งของการเปลี่ยนแปลงระหว่างสาธารณรัฐและจักรวรรดิ ได้แก.

ใหม่!!: สมัยการย้ายถิ่นและจักรวรรดิโรมัน · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิโรมันตะวันตก

ักรวรรดิโรมันตะวันตก (Western Roman Empire) หมายถึงครึ่งตะวันตกของจักรวรรดิโรมันหลังจากการแบ่งโดยไดโอคลีเชียนในปี..

ใหม่!!: สมัยการย้ายถิ่นและจักรวรรดิโรมันตะวันตก · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิไบแซนไทน์

ักรวรรดิไบแซนไทน์ (Byzantine Empire) หรือ จักรวรรดิไบแซนทิอุม (Βασιλεία των Ρωμαίων) เป็นจักรววรรดิที่สืบทอดโดยตรงจากจักรวรรดิโรมันในปลายสมัยโบราณ และยุคกลาง มีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงคอนสแตนติโนเปิล ในบริบทสมัยโบราณตอนปลาย จักรวรรดิยังถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า จักรวรรดิโรมันตะวันออก ขณะที่ยังมีจักรวรรดิโรมันตะวันตกอยู่ ทั้งคำว่า "จักรวรรดิไบแซนไทน์" และ "จักรวรรดิโรมันตะวันออก" เป็นคำทางภูมิประวัติศาสตร์ที่สร้างขึ้นและใช้กันในหลายศตวรรษต่อมา ขณะที่พลเมืองยังเรียกจักรวรรดิของตนว่า "จักรวรรดิโรมัน" หรือ "โรมาเนีย" เรื่อยมากระทั่งล่มสลายไป ขณะที่จักรวรรดิโรมันตะวันตกล่มสลายไปในคริสต์ศตวรรษที่ 5 ส่วนตะวันออกยังดำเนินต่อมาอีกพันปีก่อนจะเสียแก่เติร์กออตโตมันใน..

ใหม่!!: สมัยการย้ายถิ่นและจักรวรรดิไบแซนไทน์ · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปยุโรป

ทวีปยุโรป (อ่านว่า "ยุ-โหฺรบ") มีฐานะเป็นทวีปทั้งในแง่ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ในทางภูมิศาสตร์ ยุโรปเป็นอนุทวีปที่อยู่ทางด้านตะวันตกของมหาทวีปยูเรเชีย ยุโรปมีพรมแดนทางเหนือติดกับมหาสมุทรอาร์กติก ทางตะวันตกติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก ทางใต้ติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและทะเลดำ ด้านตะวันออกติดกับเทือกเขายูรัลและทะเลแคสเปียน "Europe" (pp. 68-9); "Asia" (pp. 90-1): "A commonly accepted division between Asia and Europe...

ใหม่!!: สมัยการย้ายถิ่นและทวีปยุโรป · ดูเพิ่มเติม »

คอเคซัส

คอเคซัส (อังกฤษ:Caucasus) เป็นเทือกเขาสูงขนาดใหญ่แห่งหนึ่งของทวีปยุโรป โดยมียอดเขาเอลบรูสที่มีความสูง มียอดสูงสุดคือยอดเขาเอลบรุส สูง 9642 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล ได้ชื่อว่าเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในทวีปยุโรปสูงกว่ายอดเขามองบลังค์แห่งเทือกเขาแอลป์ในประเทศฝรั่งเศส เทือกเขาคอเคซัสแห่งนี้ยังทำหน้าที่เป็นปราการธรรมชาติแบ่งพรมแดนระหว่างทวีปยุโรปและทวีปเอเชียให้ปรากฎเด่นชัดในสังคมโลก จนทำให้เกิดปรากฏการณ์กลุ่มประเทศสองทวีปขึ้นมาบนโลกใบนี้ภายใต้ร่มเงาของเทือกเขาคอเคซัส ได้แก่ ประเทศมหาอำนาจอย่างรัสเซีย จอร์เจีย อาร์เมเนีย และอาเซอร์ไบจาน ยอดเขาเอลบรุส หมวดหมู่:ยุโรปตะวันออก หมวดหมู่:ตะวันออกกลาง หมวดหมู่:ภูมิภาคในทวีปเอเชีย หมวดหมู่:ภูมิภาคในทวีปยุโรป.

ใหม่!!: สมัยการย้ายถิ่นและคอเคซัส · ดูเพิ่มเติม »

คาบสมุทรไอบีเรีย

มุทรไอบีเรีย คาบสมุทรไอบีเรีย (Iberian Peninsula; Península Ibérica; Península Ibérica; Península Ibèrica) ตั้งอยู่บริเวณตะวันตกเฉียงใต้ของทวีปยุโรป มีพื้นที่ประมาณ 582,860 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่ระหว่างทะเลเมดิเตอร์เรเนียนกับมหาสมุทรแอตแลนติก เป็นคาบสมุทรที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของทวีปยุโรปรองจากคาบสมุทรสแกนดิเนเวีย ทางทิศเหนือติดกับเทือกเขาพิเรนีสและประเทศฝรั่งเศส ทางทิศตะวันออกติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทิศตะวันตกติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก ทิศใต้สุดติดกับช่องแคบยิบรอลตาร์ คาบสมุทรไอบีเรียมีความยาวประมาณ 900 กิโลเมตร กว้างโดยเฉลี่ยประมาณ 900 กิโลเมตร รูปร่างคล้ายสีเหลี่ยมพื้นผ้า พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูงและเทือกเขา พื้นที่ทางตะวันออกเฉียงใต้บริเวณเทือกเขาเซียร์ราเนบาดา เป็นบริเวณแห้งแล้งมากแห่งหนึ่งในคาบสมุทร เมืองที่สำคัญที่อยู่ในคาบสมุทรไอบีเรีย ได้แก่ มาดริด บาร์เซโลนา บาเลนเซีย เซบียา บิลบาโอ ลิสบอน โปร์ตู และยิบรอลตาร.

ใหม่!!: สมัยการย้ายถิ่นและคาบสมุทรไอบีเรีย · ดูเพิ่มเติม »

ต้นสมัยกลาง

ักรพรรดินีธีโอโดรา พระอัครมเหสีในจักรพรรดิจัสติเนียนที่ 1 ในงานโมเสกของคริสต์ศตวรรษที่ 6 ภายในมหาวิหารซันวีตาเล เมืองราเวนนา หนังสือสำหรับพิธีศาสนาจากคริสต์ศตวรรษที่ 8 (หอสมุดวาติกัน, Reg. Lat. 316. foll. 131v/132r) ต้นสมัยกลาง (Early Middle Ages) เป็นสมัยหนึ่งในประวัติศาสตร์ยุโรป เริ่มขึ้นหลังจากการล่มสลายของจักรวรรดิโรมันและดำเนินต่อเนื่องกันเป็นเวลาประมาณห้าร้อยปีโดยเริ่มตั้งแต่ราวปี ค.ศ. 500 จนกระทั่งมาถึงราวปี ค.ศ. 1000 ต้นสมัยกลางสิ้นสุดแล้วจึงต่อด้วยสมัยกลางยุครุ่งโรจน.

ใหม่!!: สมัยการย้ายถิ่นและต้นสมัยกลาง · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์ยุโรป

ทความนี้ว่าด้วยประวัติศาสตร์ของทวีปยุโรปโดยรวม.

ใหม่!!: สมัยการย้ายถิ่นและประวัติศาสตร์ยุโรป · ดูเพิ่มเติม »

ปลายสมัยโบราณ

ราณตอนปลาย (Late Antiquity) เป็นสมัยประวัติศาสตร์ที่ใช้โดยนักประวัติศาสตร์ในการบรรยายช่วงเวลาที่เปลี่ยนจากยุคโบราณคลาสสิกไปเป็นยุคกลางทั้งบนแผ่นดินใหญ่ยุโรปและบริเวณเมดิเตอร์เรเนียน ของเขตของสมัยยังคงเป็นเรื่องที่โต้แย้งกันอยู่ แต่นักประวัติศาสตร์คนสำคัญปีเตอร์ บราวน์เสนอว่าเป็นช่วงเวลาระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 2 ถึง ที่ 8 โดยทั่วไปแล้วก็อาจจะเทียบได้กับช่วงเวลาตั้งแต่การสิ้นสุดของวิกฤติการณ์ของคริสต์ศตวรรษที่ 3 (ค.ศ. 235-ค.ศ. 284) ของจักรวรรดิโรมัน ไปจนถึงการจัดระบบบริหารของจักรวรรดิโรมันตะวันออกภายใต้การนำของจักรพรรดิเฮราคลิอัส และการพิชิตดินแดนโดยมุสลิมในยุโรปในคริสต์ศตวรรษที่ 7 จักรวรรดิโรมันประสบกับความเปลี่ยนแปลงอย่างขนานใหญ่ทั้งทางด้านสังคม, วัฒนธรรม และ ระบบการปกครองที่เริ่มขึ้นในรัชสมัยของจักรพรรดิไดโอคลีเชียนผู้ทรงเป็นผู้เริ่มการแบ่งจักรวรรดิออกเป็นสองส่วนคือจักรวรรดิโรมันตะวันออกและจักรวรรดิโรมันตะวันตกที่ปกครองโดยพระจักรพรรดิหลายพระองค์ เริ่มด้วยจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 1 เมื่อจักรวรรดิถูกเปลี่ยนเป็นจักรวรรดิคริสเตียน และการก่อตั้งคอนสแตนติโนเปิลเป็นเมืองหลวง การโยกย้ายถิ่นฐานของกลุ่มชนเจอร์มานิคต่อมาก็บั่นทอนเสถียรภาพของจักรวรรดิยิ่งขึ้นไปอีก ที่ในที่สุดก็นำไปสู่การล่มสลายของจักรวรรดิโรมันตะวันตกในปี ค.ศ. 476 และมาแทนที่ด้วยระบอบพระมหากษัตริย์ของชนเจอร์มานิค หรือ “ระบอบพระมหากษัตริย์ของอนารยชน” ผลก็คือการผสานระหว่างวัฒนธรรมกรีก-โรมัน เจอร์มานิค และ คริสเตียนที่กลายมาเป็นพื้นฐานของวัฒนธรรมของยุโรปตะวันตก การสูญเสียประชากร, ความรู้ทางเทคโนโลยี และ มาตรฐานความเป็นอยู่ของยุโรปตะวันตกในยุคนี้เป็นลักษณะของสถานภาพที่เรียกว่า “การล่มสลายของสังคม” (Societal collapse) โดยนักเขียนตั้งแต่ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยามาจนกระทั่งเมื่อไม่นานมานี้ จากความเสื่อมโทรมที่เกิดขึ้นและการขาดหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของยุโรปตะวันตกในช่วงนี้โดยเฉพาะ ในช่วงระหว่างการล่มสลายของจักรวรรดิโรมันตะวันตกมาจนถึงยุคกลาง ทำให้ได้ชื่อว่าเป็น “ยุคมืด” ที่มาแทนที่ด้วยคำว่า “ยุคโบราณตอนปลาย”.

ใหม่!!: สมัยการย้ายถิ่นและปลายสมัยโบราณ · ดูเพิ่มเติม »

แคว้นลอมบาร์เดีย

ทิวทัศน์ของแคว้นลอมบาร์เดีย ลอมบาร์เดีย (Lombardia), ลุมบาร์ดีอา (ลุมบาร์ตตะวันตก: Lombardia) หรือ ลอมบาร์ดี (Lombardy) เป็นแคว้นหนึ่งในยี่สิบแคว้นของประเทศอิตาลี มีเมืองหลักคือมิลาน (มีลาโน) ประชากร 1 ใน 6 ของอิตาลีอาศัยอยู่ในแคว้นนี้ และผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ 1 ใน 5 ของอิตาลีผลิตขึ้นในแคว้นนี้ ลอมบาร์เดียใช้ภาษาอิตาลีเป็นภาษาราชการ ถึงแม้ว่าจะมีภาษาท้องถิ่นอันเก่าแก่ต่าง ๆ มากมาย (ภาษาลุมบาร์ตตะวันออกและลุมบาร์ตตะวันตก) และยังมีผู้พูดภาษาเอมีเลียในจังหวัดมันโตวา, ปาวีอา และเครโมนา จุดหมายปลายทางสำคัญที่นักท่องเที่ยวนิยมประกอบด้วยเมืองทางประวัติศาสตร์ เช่น มิลาน, เบรชชา, มันโตวา, ปาวีอา, เครโมนา, แบร์กาโม และมีทะเลสาบการ์ดา, โคโม, มัจโจเร และอีเซโอ.

ใหม่!!: สมัยการย้ายถิ่นและแคว้นลอมบาร์เดีย · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Age of MigrationsBarbarian invasionsGermanic migrationsMigration PeriodMigrations PeriodVölkerwanderungการรุกรานของอนารยชนในยุโรปการรุกรานของบาร์บาเรียนการโยกย้ายถิ่นฐานของชนเจอร์มานิคยุคการอพยพยุคแห่งการโยกย้ายถิ่นฐานสมัยการรุกรานของอนารยชนสมัยการโยกย้ายถิ่นฐานสมัยการโยกย้ายถิ่นฐานในยุโรป

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »