โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ราชอาณาจักรแฟรงก์

ดัชนี ราชอาณาจักรแฟรงก์

ราชอาณาจักรแฟรงก์ (Frankish Kingdom) หรือ ฟรังเกีย (Francia) เป็นดินแดนที่ตั้งถิ่นฐานและปกครองโดยชาวแฟรงก์ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 3 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 10 อาณาบริเวณเกิดจากการรณรงค์ที่ต่อเนื่องกันตั้งแต่ชาร์ล มาร์แตล (Charles Martel) พระเจ้าเปแป็งพระวรกายเตี้ย และชาร์เลอมาญ-- พ่อ, ลูก, และหลาน--มามั่นคงเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 9 ธรรมเนียมของการแบ่งดินแดนของพ่อระหว่างลูกชายหมายความว่าดินแดนแฟรงก์ปกครองเป็นอย่างหลวม ๆ เป็นจักรวรรดิที่แบ่งย่อยเป็นส่วนย่อย ๆ (ราชอาณาจักร หรือ อนุราชอาณาจักร) ที่ตั้งและจำนวนอนุราชอาณาจักรก็ต่างกันไปตามเวลา แต่ฟรังเกียโดยทั่วไปมาหมายถึงบริเวณหนึ่งที่เรียกว่าออสเตรเชีย ที่มีศูนย์กลางอยู่ในบริเวณแม่น้ำไรน์ และแม่น้ำเมิซ (Meuse) ทางตอนเหนือของยุโรป แต่กระนั้นบางครั้งก็จะครอบคลุมไปถึงนิวสเตรีย (Neustria) ทางเหนือของแม่น้ำลัวร์ และทางตะวันตกของแม่น้ำแซนในที่สุดบริเวณนี้ก็เคลื่อนมาทางปารีส และมาสิ้นสุดลงในบริเวณลุ่มแม่น้ำแซนรอบ ๆ ปารีส ที่ยังใช้ชื่ออีล-เดอ-ฟร็องส์ และเป็นชื่อในที่สุดก็กลายเป็นชื่อของราชอาณาจักรฝรั่งเศสทั้งราชอาณาจักร.

31 ความสัมพันธ์: ชาร์ล มาร์แตลชาร์เลอมาญชาวกอทชาววิซิกอทชาวออสโตรกอทชาวแฟรงก์ชาวแซกซันชาวเบอร์กันดีชิลเดอแบร์ที่ 1พระเจ้าโคลทาร์ที่ 1พระเจ้าเปแป็งพระวรกายเตี้ยกลุ่มชนเจอร์แมนิกกอลราชวงศ์เมรอแว็งเฌียงราชอาณาจักรฝรั่งเศสลอมบาร์ดศาสนาคริสต์สมัยกลางอาเคินอีล-เดอ-ฟร็องส์จักรพรรดิโรมันจักรวรรดิโรมันจักรวรรดิไบแซนไทน์ตูร์แนปารีสแม่น้ำแซนแม่น้ำไรน์แม่น้ำเมิซแคว้นปัวตู-ชาร็องต์โกลดีองโคลวิสที่ 1

ชาร์ล มาร์แตล

ร์ล มาร์แตล (Charles Martel; ราว ค.ศ. 688 – 22 ตุลาคม ค.ศ. 741) เป็นผู้นำทางการทหารและการเมืองของชาวแฟรงก์ ดำรงมีตำแหน่งสมุหราชมนเทียรในสมัยราชวงศ์เมรอแว็งเฌียง และเป็นประมุขในทางพฤตินัยในช่วงว่างระหว่างรัชกาล ค.ศ. 737 ถึง ค.ศ. 743 ในบั้นปลายของชีวิตโดยใช้ตำแหน่ง “ดยุกและเจ้าชายแห่งชาวแฟรงก์” ในปี ค.ศ. 739 พระสันตะปาปาเสนอให้รับตำแหน่งกงสุลแต่ชาร์ลไม่ยอมรับ ชื่อเสียงที่ทำให้ชาร์ลเป็นผู้ที่เป็นที่รู้จักกันดีต่อมาการที่ได้รับชัยชนะในยุทธการที่ตูร์ในปี ค.ศ. 732 732 ซึ่งเป็นยุทธการที่เป็นการหยุดยั้งการรุกรานของกองทัพมุสลิมขึ้นมาทางเหนือและทางตะวันตกของยุโรป ชาร์ลเป็นนักการทหารผู้มีความสามารถ—พ่ายแพ้ในยุทธการเพียงยุทธการเดียวในชีวิตการต่อสู้ในยุทธการที่โคโลญ ชาร์ลเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในยุคกลาง และเชื่อกันว่ามีส่วนก่อให้เกิดระบบเจ้าขุนมูลนายและระบบอัศวินและวางรากฐานของจักรวรรดิการอแล็งเฌียงFouracre, John.

ใหม่!!: ราชอาณาจักรแฟรงก์และชาร์ล มาร์แตล · ดูเพิ่มเติม »

ชาร์เลอมาญ

ร์เลอมาญ (Charlemagne) หรือชื่อในภาษาเยอรมันคือ คาร์ลมหาราช (Karl der Große) เป็นกษัตริย์แห่งชาวแฟรงก์ (ฝรั่งเศสโบราณ) ตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: ราชอาณาจักรแฟรงก์และชาร์เลอมาญ · ดูเพิ่มเติม »

ชาวกอท

อตาลันด์ทางใต้ของสวีเดนที่อาจจะเป็นต้นกำเนิดของชนกอท ชาวกอท (Goths) เป็นชนเผ่าเจอร์มานิคตะวันออกที่มีที่มาจากกึ่งตำนานสแกนด์ซา (Scandza) ที่เชื่อกันว่าอยู่ในบริเวณที่เป็นเยอตาลันด์ (Götaland) ในสวีเดนปัจจุบัน ชนกอทข้ามทะเลบอลติกก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 2 มายังบริเวณที่ได้รับชื่อว่ากอทิสแกนด์ซา (Gothiscandza) ที่เชื่อว่าอยูในบริเวณตอนใต้ของบริเวณวิสตูลาในพอเมอเรเลีย (Pomerelia) ในโปแลนด์ปัจจุบัน อารยธรรมวีลบาร์ค (Wielbark culture) เป็นอารยธรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการเริ่มมาตั้งถิ่นฐานของชนกอทและการกลืนตัวกับชนที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณนั้น ตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 2 เป็นต้นมากลุ่มชนกอทก็เริ่มโยกย้ายถิ่นฐานไปทางตะวันออกเฉียงใต้ตามลำวิสตูลาแม่น้ำวิสตูลาไปจนถึงซิทเธีย (Scythia) บนฝั่งทะเลดำ ในยูเครนปัจจุบัน และได้ทิ้งร่องรอยทางโบราณคดีไว้ในวัฒนธรรมเชอร์นยาคอฟ (Chernyakhov culture) ตลอดคริสต์ศตวรรษที่ 3 จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 4 ชนกอทซิทเธียก็แยกเป็นสองกลุ่ม: เทอร์วิงกิ (Thervingi) และ กรูทุงกิ (Greuthungi) แบ่งแยกกันโดยแม่น้ำนีสเตอร์ (Dniester River) ในช่วงเวลานี้ชนกอทก็รุกรานจักรวรรดิโรมันเป็นระยะ ๆ ระหว่างสมัยที่เรียกว่าสงครามกอทิก ต่อมาชนกอทก็ยอมรับคริสต์ศาสนา ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 4 ฮั่นก็มารุกรานดินแดนกอททางตะวันออก ชนกอทบางกลุ่มถูกปราบปรามและในที่สุดก็เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิฮันนิค (Hunnic Empire) อีกกลุ่มหนึ่งถูกผลักดันเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิโรมัน ในคริสต์ศตวรรษที่ 5 และที่ 6 ชนกอทก็แยกตัวออกเป็นวิซิกอทและออสโตรกอท ทั้งสองกลุ่มก่อตั้งรัฐที่มีอำนาจหลังจากจักรวรรดิโรมันในคาบสมุทรไอบีเรียและอิตาลี ชนกอทหันมานับถือคริสต์ศาสนาลัทธิแอเรียน โดยวูลฟิลานักสอนศาสนาครึ่งกอทผู้ต่อมาย้ายไปตั้งถิ่นฐานในเมอเซีย (ต่อมาเป็นบริเวณในบัลแกเรีย) กับกลุ่มผู้ติดตาม วูลฟิลาแปลพระคัมภีร์ไบเบิลเป็นภาษากอทิค แม้ว่ากอทจะมีอำนาจในคาบสมุทรไอบีเรียและอิตาลีแต่ก็มาพ่ายแพ้ต่อจักรพรรดิจัสติเนียนที่ 1 ผู้พยายามฟื้นฟูจักรวรรดิโรมันขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ต่อมากอทก็ถูกรุกรานโดยชนแวนดัล (Vandals) และต่อมาชนลอมบาร์ด การที่มีการติดต่อกับประชาชนโรมันของอดีตจักรวรรดิโรมันอยู่เป็นเวลานานทำให้ในที่สุดกอทก็เปลี่ยนไปยอมรับนิกายโรมันคาทอลิก ความเสื่อมโทรมของกลุ่มชนกอทมาเร่งให้เร็วขึ้นเมื่อได้รับความพ่ายแพ้ต่อมัวร์เมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 8 ภาษาและวัฒนธรรมของกอทก็เริ่มสูญหายไป นอกจากบางส่วนที่ไปปรากฏในวัฒนธรรมอื่น ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 กลุ่มออสโตรกอทที่หลงเหลืออยู่ก็ไปปรากฏตัวที่ไครเมีย แต่การบ่งถึงเชื้อชาติก็ไม่เป็นที่แน่นอน.

ใหม่!!: ราชอาณาจักรแฟรงก์และชาวกอท · ดูเพิ่มเติม »

ชาววิซิกอท

้นทางการอพยพของชาววิซิกอท วิซิกอท (Visigoths, Visigothi, Wisigothi, แปลว่า "กอทตะวันตก") เป็นหนึ่งในชาติพันธุ์สองสาขาหลักของชาวกอท ซึ่งเป็นชนเผ่าเจอร์มานิคตะวันออกกลุ่มหนึ่ง โดยอีกสาขาหนึ่งในกลุ่มนี้คือชาวออสโตรกอทหรือ "กอทตะวันออก" สันนิษฐานกันว่าชาวกอททั้งสองสาขานี้มีต้นกำเนิดอยู่แถบประเทศยูเครนในปัจจุบัน ชาววิซิกอทเป็นหนึ่งในอนารยชนกลุ่มชนเจอร์มานิคต่าง ๆ ที่เข้ามารุกรานจักรวรรดิโรมันตอนปลายในสมัยการอพยพ เนื่องจากประชากรที่เพิ่มจำนวนขึ้น ความขาดแคลนอาหาร ประกอบกับการถูกกดดันจากอนารยชนชาวฮัน ที่มาจากเอเชียกลาง จนกระทั่งในปี ค.ศ. 410 กองทัพวิซิกอทที่นำโดยพระเจ้าอาลาริกที่ 1 ประสบความสำเร็จในการพิชิตกรุงโรม และหลังจากการล่มสลายของจักรวรรดิโรมันตะวันตกเป็นต้นมา ชาววิซิกอทก็มีบทบาทสำคัญในด้านต่าง ๆ ของภูมิภาคยุโรปตะวันตกอยู่เป็นเวลานานถึงสองศตวรรษครึ่ง.

ใหม่!!: ราชอาณาจักรแฟรงก์และชาววิซิกอท · ดูเพิ่มเติม »

ชาวออสโตรกอท

ออสโตรกอท (Ostrogoths, Ostrogothi, Austrogothi) เป็นสาขาหนึ่งของกลุ่มชาติพันธ์กอทซึ่งเป็นสาขาของชนเจอร์มานิคตะวันออกที่มีบทบาทสำคัญในทางการเมืองในตอนปลายจักรวรรดิโรมัน อีกสาขาหนึ่งคือชาววิซิกอท ชนออสโตรกอทก่อตั้งรัฐในกรุงโรมในอิตาลีและคาบสมุทรบอลข่านอยู่ชั่วระยะหนึ่ง และในช่วงนั้นก็รวมส่วนใหญ่ของฮิสเปเนีย และตอนใต้ของกอล ออสโตรกอทรุ่งเรืองที่สุดในรัชสมัยของพระเจ้าธีโอดอริคมหาราชในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 6 แต่เมื่อมาถึงกลางคริสต์ศตวรรษ ออสโตรกอทก็ถูกพิชิตโดยโรมในสงครามกอทิก (ค.ศ. 535–554) ซึ่งสร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวงให้แก่อิตาลี.

ใหม่!!: ราชอาณาจักรแฟรงก์และชาวออสโตรกอท · ดูเพิ่มเติม »

ชาวแฟรงก์

หนังสือสำหรับทำพิธีศาสนา “Gelasian Sacramentary” จากราว ค.ศ. 750 แฟรงก์ (Franks, Franci) เป็นกลุ่มชนเจอร์มานิกตะวันตกที่เริ่มก่อตัวขึ้นราวคริสต์ศตวรรษที่ 3 โดยมีถิ่นฐานอยู่ทางเหนือและทางตะวันออกของลุ่มแม่น้ำไรน์ตอนล่าง ภายใต้การปกครองโดยราชวงศ์เมโรแว็งเชียง ชนแฟรงก์ก็ก่อตั้งสถาบันพระมหากษัตริย์เจอร์มานิกที่มาแทนจักรวรรดิโรมันตะวันตกตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 5 รัฐของชนแฟรงก์และมารวมตัวกันเป็นอาณาบริเวณส่วนใหญ่ของยุโรปตะวันตกในคริสต์ศตวรรษที่ 8 ที่กลายมาเป็นจักรวรรดิคาโรลินเจียนและรัฐต่างๆ ที่ตามมา ความหมายของคำว่า “ชนแฟรงก์” ที่กลุ่มชนแตกต่างกันไปตามสมัยและปรัชญา โดยทั่วไปแล้วมักจะเป็นความหมายที่ไม่ชัดเจน ภายในกลุ่มแฟรงเคีย “ชนแฟรงก์” เป็นกลุ่มชนที่มีเป็นกลุ่มชนเอกลักษณ์ที่มีวัฒนธรรมเป็นของตนเอง รากของคำว่า “แฟรงก์” อาจจะมาจากภาษาละติน “francisca” (จากเจอร์มานิก “*frankon” ที่เกี่ยวเนื่องกับภาษาอังกฤษเก่า “franca”) ที่แปลว่า “แหลน” ชนแฟรงก์ที่โยนขวานได้รับนามว่า “francisca” (ขว้างขวาน) ซึ่งอาจจะเป็นการเรียกกลุ่มชนตามอาวุธที่ใช้ เอ.

ใหม่!!: ราชอาณาจักรแฟรงก์และชาวแฟรงก์ · ดูเพิ่มเติม »

ชาวแซกซัน

รูปแกะนูนแซกซันของ "irminsul" ที่เชื่อกันว่าเชื่อมระหว่างโลกกับสวรรค์ที่เอ็กซ์เทิร์นชไตเนอ (Externsteine) ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศเยอรมนีปัจจุบัน ชาวแซกซัน (Saxon; Sachsen; ละติน: Saxones) คือกลุ่มชนเผ่าเจอร์แมนิก ในปัจจุบันเป็นบรรพบุรุษของชนทางภาคเหนือของประเทศเยอรมนีที่เรียกว่าชาวเยอรมัน, ชนทางภาคตะวันออกของประเทศเนเธอร์แลนด์ที่เรียกว่าชาวดัตช์ และชนทางภาคใต้ของอังกฤษที่เรียกว่าชาวอังกฤษ ที่ตั้งถิ่นฐานเดิมที่สุดเท่าที่ทราบของชาวแซกซันคือบริเวณทางตอนเหนือของอัลบินเจียในบริเวณฮ็อลชไตน์ (Holstein) ทางตอนเหนือสุดของประเทศเยอรมนีปัจจุบัน ชาวแซกซันมีบทบาทสำคัญในการตั้งถิ่นฐานในอังกฤษโดยเฉพาะทางภาคใต้ที่ประชาชนที่อยู่อาศัยในปัจจุบันเชื่อกันว่าสีบเชี้อสายมาจากชาวแซกซันโบราณ ระหว่างสองร้อยปีที่ผ่านมาชาวแซกซันก็ไปตั้งถิ่นฐานในบริเวณต่าง ๆ ทั่วโลกโดยเฉพาะในทวีปอเมริกา ออสเตรเลีย แอฟริกา และในบริเวณที่เป็นสหภาพโซเวียตแต่เดิม ซึ่งในบางชุมชน ชาวแซกซันยังรักษาประเพณีและภาษาของตนที่เรียกกันทั่วไปว่า "ชาวเยอรมัน" และ "ชาวดัตช์" ความมีอิทธิพลทางภาษาและวัฒนธรรมของชาวแซกซันที่มีต่อบริเวณสแกนดิเนเวีย บริเวณบอลติก และต่อชาวโพเลเบียและชาวพอเมอเรเนียซึ่งเป็นชนสลาฟตะวันตก เป็นผลมาจากเส้นทางการค้าในยุคกลางของสันนิบาตฮันเซียติก ทอเลมีเป็นนักภูมิศาสตร์กรึกคนแรกที่กล่าวถึงการตั้งถิ่นฐานของชาวแซกซันยุคก่อนคริสเตียนว่าตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือและบางส่วนทางใต้ของคาบสมุทรจัตแลนด์, แคว้นแซกโซนีเก่า, และบางส่วนทางตะวันออกของเนเธอร์แลนด์ ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 5 ชาวแซกซันเป็นส่วนหนึ่งของผู้รุกรานมณฑลบริตันนิอา (Britannia) ของจักรวรรดิโรมัน ชนเผ่าหนึ่งของชาวเจอร์แมนิกที่รุกรานคือ ชาวแองเกิล ซึ่งเมื่อรวมกับ "แซกซัน" จึงกลายเป็นคำว่า "แองโกล-แซกซัน" ที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้.

ใหม่!!: ราชอาณาจักรแฟรงก์และชาวแซกซัน · ดูเพิ่มเติม »

ชาวเบอร์กันดี

วบูร์กอญ (Burgundians, Burgundiones) เป็นชาติพันธุ์ในกลุ่มชนเจอร์มานิคตะวันออกที่อาจจะอพยพมาจากแผ่นดินใหญ่สแกนดิเนเวียมายังเกาะบอร์นโฮล์ม (Bornholm) ซึ่งยังเรียกเป็นภาษานอร์สโบราณว่า “Burgundarholmr” หรือ “เกาะของชาวบูร์กอญ” จากนั้นก็ไปยังแผ่นดินใหญ่ยุโรป ใน ตำนานของทอร์ชไตน์ลูกไวกิง (Þorsteins saga Víkingssonar) เวเซติตั้งถิ่นฐานบนเกาะที่เรียกว่าเกาะของบอร์กันด์ หรือ บอร์นโฮล์ม คำแปลของสมเด็จพระเจ้าอัลเฟรดมหาราชของงานเขียนของโอโรเซียส (Orosius) ใช้คำว่า “Burgenda land” หรือ “ดินแดนของเบอร์เกนดา” กวีและนักตำนานวิทยาวิคเตอร์ ริดเบิร์ก (Viktor Rydberg) (ค.ศ. 1828–ค.ศ. 1895), ใน Our Fathers' Godsaga กล่าวอ้างจากแหล่งข้อมูลจากต้นยุคกลาง ตำนานชีวิตของนักบุญซิจิมุนด์แห่งบูร์กอญ (Sigismund of Burgundy) ว่าชาวบูร์กอญยังคงรักษาวัฒนธรรมการบอกเล่าต่อๆ กันมาเกี่ยวกับบรรพบุรุษที่มาจากสแกนดิเนเวี.

ใหม่!!: ราชอาณาจักรแฟรงก์และชาวเบอร์กันดี · ดูเพิ่มเติม »

ชิลเดอแบร์ที่ 1

ลเดอแบต์ที่ 1 (ค.ศ.496 - 13 ธันวาคม ค.ศ.558) เป็นกษัตริย์แฟรงก์ของราชวงศ์เมโรแว็งเฌียง เป็นพระโอรสคนที่สามในสี่คนของโคลวิสที่ 1 ที่แบ่งอาณาจักรของชาวแฟรงก์กันหลังการสิ้นพระชนม์ของพระราชบิดาใน..511 พระองค์เป็นหนึ่งในพระโอรสของนักบุญโคลทิลด์ เสด็จพระราชสมภพที่ไรม์ พระองค์ครองราชย์เป็นกษัตริย์แห่งปารีสตั้งแต..511 ถึง 558 และออร์ลียงตั้งแต..524 ถึง 558.

ใหม่!!: ราชอาณาจักรแฟรงก์และชิลเดอแบร์ที่ 1 · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าโคลทาร์ที่ 1

ลธาร์ที่ 1 (Chlothar I) หรือโคลแทร์ที่ 1 (Clotaire I) หรือผู้อาวุโส (le Vieux) กษัตริย์ของชาวแฟรงก์ เป็นหนึ่งในสี่พระโอรสของโคลวิสที่ 1 แห่งราชวงศ์เมรอแว็งเฌียง พระบิดาของโคลธาร์ โคลวิสที่ 1 แบ่งอาณาจักรให้พระโอรสสี่คน ใน..

ใหม่!!: ราชอาณาจักรแฟรงก์และพระเจ้าโคลทาร์ที่ 1 · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าเปแป็งพระวรกายเตี้ย

ระเจ้าเปแป็งพระวรกายเตี้ย (Pepin the Short หรือ Pippin the Short) (ค.ศ. 714 – 24 กันยายน ค.ศ. 768) นอกจากจะทรงได้รับฉายานามว่า "the Short" แล้วก็ยังรู้จักกันในพระนามอื่นด้วยเช่น "เปแป็งผู้เยาว์" หรือ "เปแป็งที่ 3" เปแปงเดิมเป็นสมุหราชมนเทียร (Mayor of the Palace) และดยุกแห่งแฟรงก์ ตั้งแต่ ค.ศ. 741 และพระมหากษัตริย์แห่งจักรวรรดิแฟรงค์ระหว่าง ค.ศ. 751 จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 24 กันยายน ค.ศ. 768 พระเจ้าเปแป็งพระวรกายเตี้ยเป็นพระราชโอรสของชาร์ลส์ มาร์เตล และเป็นพระราชบิดาของชาร์เลอมาญ.

ใหม่!!: ราชอาณาจักรแฟรงก์และพระเจ้าเปแป็งพระวรกายเตี้ย · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มชนเจอร์แมนิก

การประชุมของสภาทิง (Thing) ของชนเจอร์แมนิก วาดจากภาพแกะนูนบนคอลัมน์มาร์คัส ออเรลิอัส (Marcus Aurelius) (ค.ศ. 193) กลุ่มชนเจอร์แมนิก (Germanic peoples) เป็นกลุ่มชนในประวัติศาสตร์ที่เดิมตั้งถิ่นฐานอยู่ทางตอนเหนือของยุโรปที่พูดภาษากลุ่มเจอร์แมนิกในตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนซึ่งแยกมาจากกลุ่มภาษาเจอร์แมนิกดั้งเดิมในช่วงสมัยก่อนยุคเหล็กก่อนโรมัน ผู้ที่สืบเชื้อสายมาจากกลุ่มชนนี้กลายมาเป็นต้นตระกูลของชาติพันธุ์ต่าง ๆ ทางตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรปซึ่งได้แก่ ชาวสวีเดน, ชาวเดนมาร์ก, ชาวนอร์เวย์, ชาวอังกฤษ, ชาวไอซ์แลนด์, ชาวแฟโร, ชาวเยอรมัน, ชาวออสเตรีย, ชาวดัตช์, ชาวฟรีเซียน, ชาวเฟลมิช, ชาวแอฟริกาเนอร์ และรวมภาษาสกอตด้วย ชนเจอร์แมนิกย้ายถิ่นฐานไปทั่วยุโรปในปลายยุคโบราณตอนปลายระหว่างปี..

ใหม่!!: ราชอาณาจักรแฟรงก์และกลุ่มชนเจอร์แมนิก · ดูเพิ่มเติม »

กอล

แผนที่ของ กอล ราว 100 ปีก่อนคริสตกาล แสดงให้เห็นตำแหน่งสัมพันธ์กับเผ่าเคลติก กอล (Gaul) เป็นชื่อเก่าแก่ในประวัติศาสตร์ ใช้ในยุคโรมันเพื่อเรียกขานดินแดนทางยุโรปตะวันตก ซึ่งปัจจุบันเทียบได้ประมาณบริเวณประเทศฝรั่งเศสและเบลเยี่ยม และอาจรวมไปถึงหุบเขาโพ ในสวิตเซอร์แลนด์ตะวันตก บางส่วนของเนเธอร์แลนด์และเยอรมนีทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำไรน์ ในภาษาอังกฤษ คำว่า กอล อาจหมายถึงผู้คนที่อาศัยอยู่ในย่านนั้น (ภาษาฝรั่งเศสเรียก Gaulois) พลเมืองในอดีตสามารถพูดภาษากอล (Gaulish) ได้อย่างกว้างขวาง (เป็นภาษาที่พัฒนามาจากเคลติกยุคต้น) โดยแพร่หลายในดินแดนบริเตน ไอบีเรีย ไอร์แลนด์ ไปจนกระทั่งถึงอนาโทเลียกลางในยุคโรมัน คำในภาษาละตินของ กอล ยังคงมีใช้อยู่ในคำภาษากรีกยุคใหม่สำหรับใช้เรียกประเทศฝรั่งเศส คือ กัลเลีย (Gallia) กอลภายใต้การนำของ Brennus บุกยึดโรมันได้ในราวทศวรรษ 390 ก่อนคริสตกาล ในแดนอีเจี้ยน มีการอพยพครั้งใหญ่ของชาวกอลตะวันออก จากดินแดนเทรซ ทางตอนเหนือของกรีซ ในราวปี 281 ก่อนคริสตกาล ผู้นำของชาวกอลอีกคนหนึ่งซึ่งมีชื่อว่า Brennus เหมือนกัน เป็นผู้นำของกองทัพขนาดใหญ่ ได้หวนกลับจากการทำลายล้างวิหารอพอลโลในเมืองเดลฟีในกรีซในวินาทีสุดท้าย เล่ากันว่าเขาได้รับเตือนโดยเสียงฟ้าร้องและสายฟ้า ในเวลาเดียวกับที่ชาวเคลต์กำลังอพยพ นักรบกว่า 10,000 นาย พร้อมด้วยบรรดาผู้หญิง เด็ก และทาส ได้เดินทางผ่านดินแดนเทรซพอดี ชาวกอลสามกลุ่มใหญ่ได้เดินทางข้ามดินแดนเทรซไปยังเอเชียไมเนอร์ตามคำเชิญของ Nicomedes ที่ 1 กษัตริย์แห่ง Bithynia พระองค์ได้ส่งคำร้องขอความช่วยเหลือเพื่อสู้กับน้องชายของพระองค์เอง ในเวลาต่อมาชาวกอลก็ตั้งถิ่นฐานลงทางตะวันออกของ Phrygia และ Cappadocia ในแคว้นอนาโทเลียกลาง ดินแดนซึ่งปัจจุบันรู้จักกันในชื่อ กาลาเทีย (Galatia).

ใหม่!!: ราชอาณาจักรแฟรงก์และกอล · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์เมรอแว็งเฌียง

ราชวงศ์เมโรวินเจียน (Merovingian; Mérovingiens) (ค.ศ. 481 - ค.ศ. 751) (พ.ศ. 1024 - พ.ศ. 1294) ราชวงศ์เมโรวินเจียนเป็นราชวงศ์ของชนเผ่าแฟรงก์หรือฟรอง ปกครองดินแดนฝรั่งเศสเป็นราชวงศ์แรกหลังเข้ายึดดินแดนโกล กษัตริย์พระองค์แรกของราชวงศ์คือพระเจ้าโคลวิสที่ 1 (Clovis I) ทรงประกาศพระองค์เป็นคริสต์ศาสนิกชน ได้รับการสถาปนาเป็นกษัตริย์จากสมเด็จพระสันตะปาปา พระเจ้าโคลวิสทรงขยายอาณาเขตของฝรั่งเศสไปเกือบครอบคลุมอาณาเขตประเทศในปัจจุบันและดินแดนทางตะวันตกของเยอรมนี หลังสิ้นพระชนม์อาณาจักรฝรั่งเศสแบ่งแยกเป็นส่วน ๆ อยู่ภายใต้การปกครองของพระโอรสหลายพระองค์ ก่อนที่จะรวมเป็นปึกแผ่นอีกครั้งในสมัยพระเจ้าโกลแตร์ที่ 1 (Clotaire I) กษัตริย์ในยุคหลังที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคือพระเจ้าดาโกแบร์ที่ 1 (Dagobert I) (ครองราชย์ พ.ศ. 1172-1182) หลังจากรัชสมัยของพระองค์ อาณาจักรฝรั่งเศสถูกแบ่งแยกเป็นเขตต่าง ๆ อยู่ในอำนาจของขุนนางนักรบหลายตระกูล ตระกูลที่มีอำนาจมากที่สุดคือตระกูลคาโรลินเจียน (Carolingian) ขุนนางในตระกูลนี้เริ่มดำรงตำแหน่งสำคัญในราชสำนักและควบคุมกษัตริย์เมโรวินเจียนจนไร้พระราชอำนาจ ในที่สุด เปแปง หัวหน้าตระกูลจึงถอดถอนพระเจ้าชิลเดริกที่ 3 (Childeric III) ออกจากราชบัลลังก์และตั้งตนเป็นกษัตริย์องค์ใหม่แห่งราชวงศ์คาโรลินเจียน.

ใหม่!!: ราชอาณาจักรแฟรงก์และราชวงศ์เมรอแว็งเฌียง · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรฝรั่งเศส

ราชอาณาจักรฝรั่งเศส (Royaume de France) คือประเทศฝรั่งเศสในสมัยกลางและต้นสมัยใหม่ ก่อนที่จะเปลี่ยนการปกครองมาเป็นแบบสาธารณรัฐดังปัจจุบัน ถือเป็นรัฐที่ทรงอิทธิพลมากที่สุดรัฐหนึ่งในยุโรป เป็นประเทศมหาอำนาจตั้งแต่ปลายสมัยกลางและสงครามร้อยปี และกลายเป็นจักรวรรดิที่แผ่ขยายอาณานิคมไปทั่วโลกแม้แต่ในทวีปอเมริกาเหนือ ราชอาณาจักรฝรั่งเศสมีต้นกำเนิดมาจากราชอาณาจักรแฟรงก์ตะวันตก ซึ่งเป็นรัฐด้านตะวันตกของจักรวรรดิการอแล็งเฌียงตามสนธิสัญญาแวร์เดิง และอยู่ภายใต้การปกครองของราชวงศ์การอแล็งเฌียงจนถึงปี..

ใหม่!!: ราชอาณาจักรแฟรงก์และราชอาณาจักรฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

ลอมบาร์ด

มงกุฎเหล็กแห่งลอมบาร์ดี right ลอมบาร์ด หรือ ลังโกบาร์ด หรือ ลองโกบาร์ด (Lombards หรือ Langobards หรือ Longobards, Langobardi) เป็นสาขาหนึ่งของกลุ่มชาติพันธุ์เจอร์มานิคที่เดิมมาจากยุโรปเหนือและมาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ลุ่มแม่น้ำดานูบ จากบริเวณนั้นลอมบาร์ดก็เข้ารุกรานจักรวรรดิไบแซนไทน์ในคาบสมุทธอิตาลีในปี..

ใหม่!!: ราชอาณาจักรแฟรงก์และลอมบาร์ด · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาคริสต์

นาคริสต์ (Christianity) ราชบัณฑิตยสถานเรียกว่า คริสต์ศาสนาราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 156 เป็นศาสนาประเภทเอกเทวนิยม ที่มีพื้นฐานมาจากชีวิตและการสอนของพระเยซูตามที่ปรากฏในพระวรสารในสารบบ (canonical gospel) และงานเขียนพันธสัญญาใหม่อื่น ๆ ผู้นับถือศาสนาคริสต์เรียกว่าคริสต์ศาสนิกชนหรือคริสตชน คริสตชนเชื่อว่าพระเยซูเป็นพระบุตรพระเป็นเจ้า และเป็นพระเจ้าผู้มาบังเกิดเป็นมนุษย์และเป็นพระผู้ช่วยให้รอด ด้วยเหตุนี้ คริสตชนจึงมักเรียกพระเยซูว่า "พระคริสต์" หรือ "พระเมสสิยาห์" Briggs, Charles A. The fundamental Christian faith: the origin, history and interpretation of the Apostles' and Nicene creeds. C. Scribner's sons, 1913.

ใหม่!!: ราชอาณาจักรแฟรงก์และศาสนาคริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

สมัยกลาง

แบบจำลองของหมวกหุ้มเกราะซึ่งถูกพบที่ซัททันฮู ในหลุมศพของผู้นำชาวแองโกล-แซกซัน สันนิษฐานว่าเป็นกษัตริย์ราวปี ค.ศ. 620 ในช่วงต้นสมัยกลางNees ''Early Medieval Art'' pp. 109–112 สมัยกลาง หรือ ยุคกลาง (Middle Ages) คือช่วงเวลาในประวัติศาสตร์ยุโรป ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 5 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 15 โดยปกติแล้วเริ่มนับตั้งแต่การล่มสลายลงของจักรวรรดิโรมันตะวันตก (การสิ้นสุดของสมัยคลาสสิก) จนถึงจุดเริ่มตั้นของสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา และยุคแห่งการสำรวจ ซึ่งเป็นยุคที่นำไปสู่สมัยใหม่ในเวลาต่อมา สมัยกลางคือช่วงเวลาตรงกลางของกระบวนการเปลี่ยนผ่านในประวัติศาสตร์ตะวันตกคือ สมัยคลาสสิก สมัยกลาง และสมัยใหม่ นอกจากนี้สมัยกลางยังถูกแบ่งออกเป็นสามช่วงเวลาคือ ต้นสมัยกลาง (Early Middle Ages), สมัยกลางยุครุ่งโรจน์ (High Middle Ages) และปลายสมัยกลาง (Late Middle Ages) ในยุคกลางตอนต้น การลดลงของประชากร, การหดตัวของเมือง และการรุกรานจากอนารยชน เริ่มต้นขึ้นในยุคโบราณตอนปลายและดำเนินไปอย่างรวดเร็ว เหล่าอนารยชนผู้บุกรุกเข้าตั้งอาณาจักรของตนในส่วนที่เหลืออยู่ของจักรวรรดิโรมันตะวันตก ในคริสต์ศตวรรษที่ 7 แอฟริกาเหนือและตะวันออกกลาง ซึ่งเคยเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิโรมันตะวันออก ได้กลายไปเป็นจักรวรรดิอิสลามหลังจากถูกยึดครองโดยผู้สืบทอดของนบีมุฮัมมัด แม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและโครงสร้างทางการเมืองมากมาย แต่ก็ไม่ได้เปลี่ยนไปจากยุคโบราณคลาสสิคอย่างสิ้นเชิง จักรวรรดิโรมันตะวันออกหรือจักรวรรดิไบแซนไทน์ยังคงอยู่รอดและรักษาอำนาจของตนเอาไว้ได้ นอกจากนี้แล้วอาณาจักรเกิดใหม่ส่วนใหญ่ยังคงเกี่ยวพันอยู่กับสถาบันที่หลงเหลืออยู่ของชาวโรมัน ในขณะที่วัดวาอารามของคริสต์ศาสนาได้แผ่ขยายไปทั่วยุโรปตะวันตก ในคริสต์ศตวรรษที่ 7 และ 8 ชาวแฟรงก์ภายใต้การปกครองของราชวงศ์การอแล็งเฌียงได้สถาปนาจักรวรรดิขึ้นซึ่งครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของยุโรปตะวันตกมีนามว่า จักรวรรดิการอแล็งเฌียง ซึ่งยืนยงไปจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 9 เมื่อจักรวรรดิล่มสลายลงจากแรงงกดดันของการรุกรานจากภายนอก เช่น ชาวไวกิงจากทางเหนือ ชาวแมกยาร์จากทางตะวันออก และชาวซาราเซนจากทางใต้ ช่วงต้นสมัยกลางซึ่งเริ่มขึ้นหลังคริสต์ศตวรรษที่ 10 ประชากรของยุโรปขยายตัวอย่างมากจากการที่นวัตกรรมทางเทคโนโลยีและทางการเกษตรทำให้การค้าขายเจริญรุ่งเรืองและการทำเรือกสวนไร่นาขยายตัว ระบบมาเนอร์ - องค์กรของชาวนาตามหมู่บ้านที่ติดค้างค่าเช่าที่ดินและหน้าที่ด้านแรงงานแก่ขุนนาง และระบบเจ้าขุนมูลนาย - โครงสร้างทางการเมืองที่ซึ่งอัศวินและขุนนางศักดิ์ต่ำกว่าติดค้างหน้าที่ด้านการทหารแก่เจ้านายผู้มีศักดิ์สูงกว่าของพวกเขาแลกกับสิทธิ์ในการเก็บค่าเช่าที่ดินและชาวนาใต้ปกครอง สองระบบนี้คือระเบียบของสังคมที่ใช้กันในยุคกลางตอนกลาง ต่อมาอาณาจักรเริ่มรวมศูนย์อำนาจมากขึ้นภายหลังการล่มสลายลงของจักรวรรดิคาโรแล็งเชียง สงครามครูเสดซึ่งเริ่มขึ้นครั้งแรกในปี..

ใหม่!!: ราชอาณาจักรแฟรงก์และสมัยกลาง · ดูเพิ่มเติม »

อาเคิน

แผนที่เยอรมนีแสดงเมืองอาเคิน อาเคิน (Aachen) เป็นเมืองที่อยู่ด้านตะวันตกสุดของประเทศเยอรมนี ติดกับพรมแดนประเทศเนเธอร์แลนด์และเบลเยียม อยู่ห่างจากเมืองโคโลญมาทางตะวันตก 65 กิโลเมตร พิกัดภูมิศาสตร์ 50°46′ เหนือ 6°6′ ตะวันออก มีประชากร 256,605 คน (เมื่อปี พ.ศ. 2546) ชื่อของเมืองถ้าอ่านออกเสียงตามแบบภาษาเยอรมันแล้วจะออกเสียงว่า อาเคิ่น ชื่อเต็มของอาเคินคือ บัดอาเคิน (Bad Aachen) โดย Bad หมายถึงน้ำ ที่ได้ชื่อเช่นนี้เนื่องมาจากภายใต้เมืองอาเคินมีสายน้ำร้อนธรรมชาติอยู่มากมาย น้ำแร่ใต้ดินนี้ มีความเชื่อว่าสามารถนำมาดื่มเพื่อรักษาโรคภัยไข้เจ็บได้ ในปัจจุบัน เมืองอาเคินได้นำน้ำแร่ใต้ดินนี้ไปเปิดบริการเป็นสปาแบบทันสมัยให้แก่ประชาชน โดยใช้ชื่อว่า Carolus Thermen อาเคินเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัย RWTH Aachen (เยอรมัน: Rheinisch-Westfälische Technische Hochschule; อังกฤษ: RWTH Aachen University of Technology; ตัวย่อ RWTH ออกเสียงตามภาษาเยอรมันว่า แอร์เวเทฮา) ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่มีชื่อเสียงทางด้านวิศวกรรมศาสตร์มายาวนาน โดยเฉพาะสาขาวิศวกรรมเครื่องกล อาเคินกับ RWTH มีความผูกพันกันมาอย่างลึกซึ้ง เนื่องจาก RWTH เป็นจุดดึงดูดให้มีนักเรียนจำนวนมากเดินทางมาใช้ชีวิตในอาเคิน ทำให้อาเคินกลายเป็นเมืองนักศึกษา โดยนักเรียนของ RWTH Aachen มีจำนวนมากกว่า 30,000 คน โดย 10% ของทั้งหมดเป็นนักเรียนต่างชาติ นอกจากสาขาวิศวกรรมแล้ว RWTH Aachen ยังมีคลินิคุม อาเคิน (Universitätsklinikum Aachen) ซึ่งเป็นโรงพยาบาลแบบตึกเดียวที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป และเป็นที่ศึกษาของเหล่านักศึกษาแพทยศาสตร์ของอาเคิน ในขณะเดียวกัน ทางสาขาคอมพิวเตอร์ของ RWTH ก็กำลังพัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ โดยได้รับความร่วมมือจากศูนย์วิจัยเฟราน์โฮเฟอร์ และขณะนี้บริษัทไมโครซอฟท์ก็ได้เปิดศูนย์วิจัยขึ้นในเมืองอาเคิน และสร้างความเป็นพันธมิตรกับ RWTH มหาวิหารอาเคิน เมืองอาเคินยังเป็นที่ตั้งของมหาวิหารอาเคิน (เยอรมัน: Aachener Dom) อันเก่าแก่และมีประวัติศาสตร์ยาวนาน นับเป็นจุดดึงดูดนักท่องเที่ยวของเมือง มหาวิหารแห่งอาเคินนี้ถูกจัดเป็นมรดกโลกของยูเนสโก มหาวิหารนี้เป็นโบสถ์แบบกอธิคผสมกับกาโล-โรมัน ซึ่งได้รับอนุญาตจากพระสันตปาปาแห่งกรุงโรมให้สร้างโบสถ์นี้ในปี ค.ศ. 786 และสร้างเสร็จเมื่อ ค.ศ. 805 โดมนี้ถูกใช้เป็นสถานที่แต่งตั้งกษัตริย์ของเยอรมนีในสมัยก่อนมาแล้วหลายพระองค์ อีกทั้งยังมีหีบศพทองคำของพระเจ้าชาร์เลอมาญ (เยอรมัน: Karl) อยู่ด้วย ที่ลานกว้างหน้าโดมนี้ จะถูกใช้เป็นที่รับรางวัลคาร์ล (Internationaler Karlspreis zu Aachen ย่อว่า Karlspreis; อังกฤษ: International Charlemagne Prize of the city of Aachen) ในทุก ๆ ปี รางวัลคาร์ลนี้จะมอบให้กับผู้ที่ส่งเสริมสันติภาพในยุโรป ตัวอย่างของบุคคลที่มีชื่อเสียงที่ได้รับรางวัลคาร์ลได้แก่ บิล คลินตัน อดีตประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา และ โทนี แบลร์ นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร พรินเท่น อาเคินยังเป็นจุดกำเนิดของขนมที่ชื่อว่าพรินเทิน (Printen หรือ Aachener Printen) ซึ่งมีชื่อเสียงในประเทศเยอรมนี พรินเทินเป็นขนมลักษณะคล้ายคุกกี้ ที่มีส่วนผสมของอบเชย และมักทำออกมาโดยพิมพ์รูปต่าง ๆ เช่น รูปพระจักรพรรดิคาร์ล.

ใหม่!!: ราชอาณาจักรแฟรงก์และอาเคิน · ดูเพิ่มเติม »

อีล-เดอ-ฟร็องส์

อีล-เดอ-ฟร็องส์ (Île-de-France) อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ราชอาณาจักรแฟรงก์และอีล-เดอ-ฟร็องส์ · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิโรมัน

จักรพรรดิโรมัน เป็นผู้ที่ปกครองจักรวรรดิโรมันตั้งแต่ 27 ปีก่อนคริสตกาล ถึง ค.ศ. 476 สำหรับ จักรวรรดิโรมันตะวันตก และปี ค.ศ. 1453 สำหรับ จักรวรรดิโรมันตะวันออก.

ใหม่!!: ราชอาณาจักรแฟรงก์และจักรพรรดิโรมัน · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิโรมัน

ักรวรรดิโรมันในช่วงเวลาต่างๆกัน จักรวรรดิโรมัน (Imperivm Romanvm; Ῥωμαϊκὴ Αὐτοκρατορία หรือ Ἡ Ῥωμαίων βασιλεία; Roman Empire) เป็นช่วงระยะเวลาหนึ่งของอารยธรรมโรมันโบราณซึ่งปกครองโดยรูปแบบอัตตาธิปไตย จักรวรรดิโรมันได้สืบต่อการปกครองมาจากสาธารณรัฐโรมัน (510 ปีก่อนคริสตกาล - ศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสตาล) ซึ่งได้อ่อนแอลงหลังจากความขัดแย้งระหว่างไกอุส มาริอุสและซุลลา และสงครามกลางเมืองระหว่างจูเลียส ซีซาร์และปอมปีย์ มีวันหลายวันที่ได้ถูกเสนอให้เป็นเส้นแบ่งของการเปลี่ยนแปลงระหว่างสาธารณรัฐและจักรวรรดิ ได้แก.

ใหม่!!: ราชอาณาจักรแฟรงก์และจักรวรรดิโรมัน · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิไบแซนไทน์

ักรวรรดิไบแซนไทน์ (Byzantine Empire) หรือ จักรวรรดิไบแซนทิอุม (Βασιλεία των Ρωμαίων) เป็นจักรววรรดิที่สืบทอดโดยตรงจากจักรวรรดิโรมันในปลายสมัยโบราณ และยุคกลาง มีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงคอนสแตนติโนเปิล ในบริบทสมัยโบราณตอนปลาย จักรวรรดิยังถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า จักรวรรดิโรมันตะวันออก ขณะที่ยังมีจักรวรรดิโรมันตะวันตกอยู่ ทั้งคำว่า "จักรวรรดิไบแซนไทน์" และ "จักรวรรดิโรมันตะวันออก" เป็นคำทางภูมิประวัติศาสตร์ที่สร้างขึ้นและใช้กันในหลายศตวรรษต่อมา ขณะที่พลเมืองยังเรียกจักรวรรดิของตนว่า "จักรวรรดิโรมัน" หรือ "โรมาเนีย" เรื่อยมากระทั่งล่มสลายไป ขณะที่จักรวรรดิโรมันตะวันตกล่มสลายไปในคริสต์ศตวรรษที่ 5 ส่วนตะวันออกยังดำเนินต่อมาอีกพันปีก่อนจะเสียแก่เติร์กออตโตมันใน..

ใหม่!!: ราชอาณาจักรแฟรงก์และจักรวรรดิไบแซนไทน์ · ดูเพิ่มเติม »

ตูร์แน

ตูร์แน (Tournai) หรือ โดร์นิก (Doornik) เป็นเมืองในเขตวัลลูน มณฑลแอโน และเขตเทศบาลหนึ่งของเบลเยียม ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของกรุงบรัสเซลส์ไปประมาณ 85 กิโลเมตร ตัวเมืองมีแม่น้ำสเกลต์พาดผ่านกลางเมือง เมืองตูร์แนยังเป็นที่ตั้งของมุขมณฑลตูร์แน (Diocese of Tournai) อีกด้วย ตูร์แนเป็นหนึ่งในเมืองที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งในประวัติศาสตร์แห่งเบลเยียม คู่กับอาร์ลงและตองเคอเรน อันเป็นเมืองสำคัญส่วนหนึ่งของเคาน์ตีฟลานเดอร์ (Comté de Flandre) ตั้งแต่สมัยยุคกลาง โดยเป็นที่ตั้งของหอระฆังที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดในเบลเยียม และอาสนวิหารแม่พระแห่งตูร์แน ซึ่งทั้งสองแห่งได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกโดยองค์การยูเนสโก โดยมหาวิหารนั้นเป็นสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่ของยุคกลางที่ผสมผสานกันด้วยสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และกอทิกอย่างสวยงาม พร้อมทั้งหอคอยขนาดใหญ่จำนวนห้าหออันเป็นเอกลักษณ์สำคัญและเป็นที่มาของชื่อเล่นของตูร์แนว่า "เมืองแห่งหอระฆังทั้งห้า".

ใหม่!!: ราชอาณาจักรแฟรงก์และตูร์แน · ดูเพิ่มเติม »

ปารีส

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: ราชอาณาจักรแฟรงก์และปารีส · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำแซน

แม่น้ำแซน (Seine) เป็นแม่น้ำสายหลักทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศฝรั่งเศส ทั้งยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวในกรุงปารีสอีกด้วย ซแซน หมวดหมู่:มรดกโลกในประเทศฝรั่งเศส.

ใหม่!!: ราชอาณาจักรแฟรงก์และแม่น้ำแซน · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำไรน์

แผนที่แดงเส้นทางแม่น้ำจากเทือกเขาแอลป์สู่ทะเลเหนือ ไรน์ (Rhine; Rein; Rhein; Rhin; Rijn) เป็นแม่น้ำที่สำคัญที่สุดในทวีปยุโรป มีความยาวทั้งสิ้น 1,230 กิโลเมตร ยาวเป็นอันดับสองรองจากแม่น้ำดานูบ มีต้นน้ำจากเทือกเขาแอลป์ ไหลผ่านประเทศสวิตเซอร์แลนด์, ลิกเตนสไตน์, ออสเตรีย, เยอรมนี, ฝรั่งเศส, ลักเซมเบิร์ก, เบลเยียม และเนเธอร์แลนด์ ไปออกทะเลเหนือ แม่น้ำไรน์เป็นเส้นทางคมนาคมขนส่งทางน้ำที่สำคัญ สามารถขนสินค้าเข้าสู่ภายในแผ่นดินยุโรปได้อย่างสะดวก อีกทั้งยังมีความสำคัญทางด้านยุทธศาสตร์และภูมิศาสตร์ในการเป็นเส้นแบ่งเขตแดนที่สำคัญของยุโรป ร ร ร ร ร ร ร หมวดหมู่:แม่น้ำในทวีปยุโรป.

ใหม่!!: ราชอาณาจักรแฟรงก์และแม่น้ำไรน์ · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำเมิซ

แม่น้ำเมิซ (Meuse) หรือในประเทศเนเธอร์แลนด์เรียก แม่น้ำมาส (Maas) เป็นแม่น้ำสายใหญ่ในยุโรป อยู่ทางตะวันตกของทวีป ต้นน้ำอยู่ในจังหวัดโอต-มาร์นทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศฝรั่งเศส ผ่านประเทศเบลเยียมทางด้านตะวันออก แล้วไหลเข้าไปในเนเธอร์แลนด์ไปรวมกับแม่น้ำวาลที่เมืองคอร์เกิม (Gorinchem) แล้วจึงไหลลงทะเลเหนือ รวมความยาว 925 กม.

ใหม่!!: ราชอาณาจักรแฟรงก์และแม่น้ำเมิซ · ดูเพิ่มเติม »

แคว้นปัวตู-ชาร็องต์

ปัวตู-ชาร็องต์ (Poitou-Charentes) เป็นอดีตแคว้นในประเทศฝรั่งเศส (ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของแคว้นนูแวลากีแตน) ตั้งอยู่ทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศฝรั่งเศส ริมมหาสมุทรแอตแลนติก ประกอบไปด้วยเขตการปกครองทั้งหมด 4 จังหวัด ได้แก่ ชาร็องต์, ชาร็องต์-มารีตีม, เดอ-แซฟวร์ และเวียน โดยมีเมืองปัวตีเยเป็นเมืองหลักของแคว้น.

ใหม่!!: ราชอาณาจักรแฟรงก์และแคว้นปัวตู-ชาร็องต์ · ดูเพิ่มเติม »

โกลดีอง

โกลดิยง ภาษาอังกฤษ Chlodio หรือ Clodio, Clodius, Clodion, Cloio หรือ Chlogio (ตายราวค.ศ.450) เป็นกษัตริย์ของชาวแฟรงก์ที่โจมตีและต่อมาครอบครองดินแดนและเมืองที่เป็นที่อยู่อาศัยของชาวโรมันในซิลบา การ์โบนาเรีย ไกลออกไปทางตอนใต้แถวแม่น้ำซ็อมม์ เริ่มต้นฐานที่มั่นของชาวแฟรงก์ที่โดยหลักการแล้วอยู่ในจักรวรรดิโรมัน เป็นที่รู้จักจากบันทึกน้อยฉบับมาก แต่คิดกันว่าเขาอาจเป็นบรรพบุรุษของราชวงศ์เมโรแว็งเฌียง และอาจเป็นลูกหลานของชาวซาเลี่ยนแฟรงก์ที่เขียนไว้ในแหล่งข้อมูลโรมันในคริสตศตวรรษที่ 4.

ใหม่!!: ราชอาณาจักรแฟรงก์และโกลดีอง · ดูเพิ่มเติม »

โคลวิสที่ 1

ลวิสที่ 1 (Clovis I) (ราว ค.ศ. 466 – ค.ศ. 511) เป็นพระมหากษัตริย์แห่งชนแฟรงค์พระองค์แรกที่รวมชนแฟรงค์กลุ่มต่างๆ เข้าด้วยกันภายใต้การนำของพระมหากษัตริย์พระองค์เดียว และทรงเป็นผู้นำในการนับถือคริสต์ศาสนา โคลวิสเป็นพระราชโอรสของชิลเดอริคที่ 1 (Childeric I) และ บาสินาพระราชินีแห่งเทอริงเกีย เมื่อมีพระชนมายุได้ 16 พรรษาพระองค์ก็ขึ้นเป็นประมุขของซาเลียนแฟรงค์ (Salian Franks) บางส่วนต่อจากพระราชบิดาในปี..

ใหม่!!: ราชอาณาจักรแฟรงก์และโคลวิสที่ 1 · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

FranciaFrankish EmpireFrankish KingdomFrankish realmKingdom of the Franksราชอาณาจักรของชนแฟรงค์ราชอาณาจักรแฟรงค์ฟรังเคียจักรวรรดิแฟรงก์จักรวรรดิแฟรงค์แฟรงเคีย

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »