โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ปลายสมัยโบราณ

ดัชนี ปลายสมัยโบราณ

ราณตอนปลาย (Late Antiquity) เป็นสมัยประวัติศาสตร์ที่ใช้โดยนักประวัติศาสตร์ในการบรรยายช่วงเวลาที่เปลี่ยนจากยุคโบราณคลาสสิกไปเป็นยุคกลางทั้งบนแผ่นดินใหญ่ยุโรปและบริเวณเมดิเตอร์เรเนียน ของเขตของสมัยยังคงเป็นเรื่องที่โต้แย้งกันอยู่ แต่นักประวัติศาสตร์คนสำคัญปีเตอร์ บราวน์เสนอว่าเป็นช่วงเวลาระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 2 ถึง ที่ 8 โดยทั่วไปแล้วก็อาจจะเทียบได้กับช่วงเวลาตั้งแต่การสิ้นสุดของวิกฤติการณ์ของคริสต์ศตวรรษที่ 3 (ค.ศ. 235-ค.ศ. 284) ของจักรวรรดิโรมัน ไปจนถึงการจัดระบบบริหารของจักรวรรดิโรมันตะวันออกภายใต้การนำของจักรพรรดิเฮราคลิอัส และการพิชิตดินแดนโดยมุสลิมในยุโรปในคริสต์ศตวรรษที่ 7 จักรวรรดิโรมันประสบกับความเปลี่ยนแปลงอย่างขนานใหญ่ทั้งทางด้านสังคม, วัฒนธรรม และ ระบบการปกครองที่เริ่มขึ้นในรัชสมัยของจักรพรรดิไดโอคลีเชียนผู้ทรงเป็นผู้เริ่มการแบ่งจักรวรรดิออกเป็นสองส่วนคือจักรวรรดิโรมันตะวันออกและจักรวรรดิโรมันตะวันตกที่ปกครองโดยพระจักรพรรดิหลายพระองค์ เริ่มด้วยจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 1 เมื่อจักรวรรดิถูกเปลี่ยนเป็นจักรวรรดิคริสเตียน และการก่อตั้งคอนสแตนติโนเปิลเป็นเมืองหลวง การโยกย้ายถิ่นฐานของกลุ่มชนเจอร์มานิคต่อมาก็บั่นทอนเสถียรภาพของจักรวรรดิยิ่งขึ้นไปอีก ที่ในที่สุดก็นำไปสู่การล่มสลายของจักรวรรดิโรมันตะวันตกในปี ค.ศ. 476 และมาแทนที่ด้วยระบอบพระมหากษัตริย์ของชนเจอร์มานิค หรือ “ระบอบพระมหากษัตริย์ของอนารยชน” ผลก็คือการผสานระหว่างวัฒนธรรมกรีก-โรมัน เจอร์มานิค และ คริสเตียนที่กลายมาเป็นพื้นฐานของวัฒนธรรมของยุโรปตะวันตก การสูญเสียประชากร, ความรู้ทางเทคโนโลยี และ มาตรฐานความเป็นอยู่ของยุโรปตะวันตกในยุคนี้เป็นลักษณะของสถานภาพที่เรียกว่า “การล่มสลายของสังคม” (Societal collapse) โดยนักเขียนตั้งแต่ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยามาจนกระทั่งเมื่อไม่นานมานี้ จากความเสื่อมโทรมที่เกิดขึ้นและการขาดหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของยุโรปตะวันตกในช่วงนี้โดยเฉพาะ ในช่วงระหว่างการล่มสลายของจักรวรรดิโรมันตะวันตกมาจนถึงยุคกลาง ทำให้ได้ชื่อว่าเป็น “ยุคมืด” ที่มาแทนที่ด้วยคำว่า “ยุคโบราณตอนปลาย”.

25 ความสัมพันธ์: บริเวณเมดิเตอร์เรเนียนพ.ศ. 1019พ.ศ. 778พ.ศ. 827กลุ่มชนเจอร์แมนิกการพิชิตดินแดนโดยมุสลิมมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนียยุคมืดยุโรปภาคพื้นทวีปยุโรปตะวันตกวิกฤตการณ์คริสต์ศตวรรษที่ 3สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาสมัยกลางสมัยการย้ายถิ่นสมัยคลาสสิกสมัยโบราณจักรพรรดิดิออเกลติอานุสจักรพรรดิคอนสตันไทน์มหาราชจักรพรรดิเฮราคลิอัสจักรวรรดิโรมันจักรวรรดิโรมันตะวันตกจักรวรรดิไบแซนไทน์คริสต์ศตวรรษที่ 7คอนสแตนติโนเปิลต้นสมัยกลาง

บริเวณเมดิเตอร์เรเนียน

ริเวณเมดิเตอร์เรเนียนที่ปลูกมะกอกได้ แผนที่การเมืองของบริเวณเมดิเตอร์เรเนียน บริเวณเมดิเตอร์เรเนียน (Mediterranean area) ประกอบด้วยดินแดนรอบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ในความหมายทางชีวภูมิศาสตร์ (biogeography) “บริเวณเมดิเตอร์เรเนียน” หมายถึงบริเวณที่มีภูมิอากาศแบบภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียนที่อุ่น, มีฝนตกระหว่างฤดูหนาว, แห้งระหว่างหน้าร้อนที่เหมาะแก่พืชพันธุ์เมดิเตอร์เรเนียน กฎที่ว่ากันง่ายๆ คือเป็นบริเวณ “โลกเก่า” (Old World) ที่ปลูกมะกอกได้.

ใหม่!!: ปลายสมัยโบราณและบริเวณเมดิเตอร์เรเนียน · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1019

ทธศักราช 1019 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: ปลายสมัยโบราณและพ.ศ. 1019 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 778

ทธศักราช 778 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: ปลายสมัยโบราณและพ.ศ. 778 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 827

ทธศักราช 827 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: ปลายสมัยโบราณและพ.ศ. 827 · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มชนเจอร์แมนิก

การประชุมของสภาทิง (Thing) ของชนเจอร์แมนิก วาดจากภาพแกะนูนบนคอลัมน์มาร์คัส ออเรลิอัส (Marcus Aurelius) (ค.ศ. 193) กลุ่มชนเจอร์แมนิก (Germanic peoples) เป็นกลุ่มชนในประวัติศาสตร์ที่เดิมตั้งถิ่นฐานอยู่ทางตอนเหนือของยุโรปที่พูดภาษากลุ่มเจอร์แมนิกในตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนซึ่งแยกมาจากกลุ่มภาษาเจอร์แมนิกดั้งเดิมในช่วงสมัยก่อนยุคเหล็กก่อนโรมัน ผู้ที่สืบเชื้อสายมาจากกลุ่มชนนี้กลายมาเป็นต้นตระกูลของชาติพันธุ์ต่าง ๆ ทางตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรปซึ่งได้แก่ ชาวสวีเดน, ชาวเดนมาร์ก, ชาวนอร์เวย์, ชาวอังกฤษ, ชาวไอซ์แลนด์, ชาวแฟโร, ชาวเยอรมัน, ชาวออสเตรีย, ชาวดัตช์, ชาวฟรีเซียน, ชาวเฟลมิช, ชาวแอฟริกาเนอร์ และรวมภาษาสกอตด้วย ชนเจอร์แมนิกย้ายถิ่นฐานไปทั่วยุโรปในปลายยุคโบราณตอนปลายระหว่างปี..

ใหม่!!: ปลายสมัยโบราณและกลุ่มชนเจอร์แมนิก · ดูเพิ่มเติม »

การพิชิตดินแดนโดยมุสลิม

การขยายดินแดนระหว่างสมัยจักรวรรดิกาหลิปอุมัยยะห์, ค.ศ. 661–750/ฮ.ศ. 40-129 การพิชิตดินแดนโดยมุสลิม หรือ การพิชิตดินแดนโดยอาหรับ (Muslim conquests, فتح, “Fatah” แปลตรงตัวว่า การเปิด หรือ Jihad) (ค.ศ. 632–ค.ศ. 732) การพิชิตดินแดนโดยมุสลิมเริ่มขึ้นหลังจากการเสียชีวิตของมุฮัมมัดศาสดาของศาสนาอิสลาม มุฮัมมัดก่อตั้งอาณาจักรทางการเมืองที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในคาบสมุทรอาหรับ ที่ต่อมาตกมาอยู่ภายใต้การปกครองของจักรวรรดิกาหลิบรอชิดีน และ จักรวรรดิกาหลิปอุมัยยะห์ ซึ่งเป็นช่วงของการขยายดินแดนอันรวดเร็วของมุสลิมที่ไกลออกไปจากคาบสมุทรอาหรับ ในรูปของจักรวรรดิมุสลิม ที่ครอบคลุมดินแดนตั้งแต่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดีย, ข้ามเอเชียกลาง, ตะวันออกกลาง, แอฟริกาเหนือ, ตอนใต้ของอิตาลี, คาบสมุทรไอบีเรีย ไปจนถึงเทือกเขาพิเรนีส นักประวัติศาสตร์ชาวอังกฤษเอ็ดเวิร์ด กิบบอน เขียน ประวัติศาสตร์ของการเสื่อมโทรมและการล่มสลายของจักรวรรดิโรมัน (The History of the Decline and Fall of the Roman Empire) ว่า: การพิชิตดินแดนโดยมุสลิมนำมาซึ่งการล่มสลายของจักรวรรดิซาสซานิยะห์และการสูญเสียดินแดนส่วนใหญ่ของจักรวรรดิไบแซนไทน์ สาเหตุของความสำเร็จของการขยายดินแดนเป็นการยากที่จะเข้าใจเพราะเอกสารที่มาจากสมัยที่ว่ามีหลงเหลืออยู่เพียงเล็กน้อย นักประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่เห็นพ้องกันว่าในช่วงนั้นจักรวรรดิซาสซานิยะห์และจักรวรรดิไบแซนไทน์ก็เริ่มเสื่อมโทรมลงทั้งทางด้านเศรษฐกิจและการทหารอยู่เป็นเวลาหลายสิบปีอยู่แล้ว นักประวัติศาสตร์ผู้อื่นเสนอความเห็นว่าประชาชนผู้อยู่ภายใต้การปกครองของสองจักรวรรดินี้ที่รวมทั้งชาวยิว และคริสเตียนในจักรวรรดิซาสซานิยะห์ และ ชาวยิว และชาวโมโนฟิซิทิสม์ในซีเรียมีความไม่พึงพอใจต่อประมุขผู้ปกครองในขณะนั้นและอาจจะยินดีที่มีมุสลิมเข้ามาปลดปล่อย ซึ่งมีสาเหตุมาจากความขัดแย้งทางศาสนาของทั้งสองจักรวรรดิ ในกรณีของอียิปต์ไบแซนไทน์, ปาเลสไตน์ และ ซีเรีย ดินแดนเหล่านี้เพิ่งตกไปเป็นของเปอร์เซียไม่นานก่อนหน้านั้น และมิได้ปกครองโดยไบแซนไทน์มาเป็นเวลากว่า 25 ปี แต่เฟรด ดอนเนอร์ แม็คกรอว์เสนอว่าลักษณะการก่อตั้งของรัฐในคาบสมุทร และ การประสานสัมพันธ์ในการเดินทัพ และในทางปรัชญาเป็นสาเหตุสำคัญในความสำเร็จของมุสลิมในการก่อตั้งจักรวรรดิอันยิ่งใหญ่ที่ไม่เคยเห็นกันมาก่อน แต่ความคิดนี้ก็ไม่เป็นที่ยอมรับกันเท่าใดนัก การประมาณเนื้อที่ของจักรวรรดิกาหลิปมุสลิมเชื่อกันว่ามีเนื้อที่ทั้งหมดกว่า 5 ล้านตารางกิโลเมตรที่ทำให้เป็นจักรวรรดิที่ใหญ่กว่ารัฐใดๆ ในขณะนั้นนอกไปจากสหพันธรัฐรัสเซี.

ใหม่!!: ปลายสมัยโบราณและการพิชิตดินแดนโดยมุสลิม · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย

นจามิน แฟรงคลิน ผู้สถาปนามหาวิทยาลัย รูปปั้นเบนจามิน แฟรงคลิน หน้า College Hall มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย (University of Pennsylvania) (โดยทั่วไปเรียกว่า เพน (Penn) หรือ ยูเพน (UPenn)) เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนชั้นนำของสหรัฐอเมริกา ตั้งอยู่ที่เมือง ฟิลาเดลเฟีย ในรัฐเพนซิลเวเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2283 (ค.ศ. 1740) โดยนายเบนจามิน แฟรงคลิน ซึ่งนับว่าเป็นมหาวิทยาลัยเก่าแก่เป็นอันดับ 4 ของสหรัฐอเมริกา และเป็นหนึ่งในสมาชิกไอวีลีก มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนียได้รับการยอมรับให้เป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของสหรัฐอเมริกาและของโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มีชื่อเสียงในด้าน การแพทย์ พาณิชยศาสตร์ นิติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ และสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนียนับว่าเป็นมหาวิทยาลัยที่เข้ายากและมีการแข่งขันสูงมากที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศสหรัฐอเมริกา หลักสูตรปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนียได้รับการจัดอันดับให้อยู่ในอันดับที่ 4 ของประเทศ โดยนิตยสารยูเอสนิว (US News & World Report 2010) นอกจากนี้ วิทยาลัยและคณะต่างๆในระดับปริญญาโทและเอกส่วนใหญ่ก็ถูกจัดอยู่ใน Top 10 เกือบทั้งสิ้น ในปัจจุบัน (ปี พ.ศ. 2552) มีนักศึกษาประมาณ 24,599 คน และคณาจารกว่า 4,127 คน ในปี..

ใหม่!!: ปลายสมัยโบราณและมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย · ดูเพิ่มเติม »

ยุคมืด

เพทราคผู้ริเริ่มความคิดเกี่ยวกับ “ยุคมืด” ของยุโรปจาก “ชีวิตบุรุษและสตรีคนสำคัญ” อันเดรีย ดิ บาร์จิลแลค ราว ค.ศ.1450 ยุคมืด (Dark Ages หรือ Dark Age) หมายถึงช่วงเวลาของความเสื่อมโทรมทั้งทางวัฒนธรรมและทางสังคมในยุโรปหลังจากการล่มสลายของจักรวรรดิโรมัน (Decline of the Roman Empire) มาจนถึงในสมัยที่มีการฟื้นฟูการศึกษากันขึ้นอีกครั้ง.

ใหม่!!: ปลายสมัยโบราณและยุคมืด · ดูเพิ่มเติม »

ยุโรปภาคพื้นทวีป

รปภาคพื้นทวีป ยุโรปภาคพื้นทวีป (Continental Europe) หรือยุโรปแผ่นดินใหญ่ (Mainland Europe) หรือทวีป (the Continent) คือแผ่นดินทวีปยุโรปที่ยกเว้นเกาะต่างๆ และบางครั้งก็ยกเว้นคาบสมุทร ในการใช้ในอังกฤษคำนี้นี้หมายถึงทวีปยุโรปที่ยกเว้นสหราชอาณาจักร, เกาะแมน, ไอร์แลนด์ และไอซ์แลนด์ ความหมายโดยทั่วไปของ “ยุโรปภาคพื้นทวีป” หมายถึง “ยุโรปแผ่นดินใหญ่ที่ไม่รวมสหราชอาณาจักร ไอร์แลนด์ และไอซ์แลนด์” ประเทศเกาะอื่นที่ไม่รวมคือไซปรัสและมอลตา แต่ในบริเวณอื่นของยุโรปความหมายของคำนี้อาจจะแตกต่างออกไป เช่นในบางคำจำกัดความก็ขยายไปถึงประเทศภายในเทือกเขายูราลและเทือกเขาคอเคซัสWA.

ใหม่!!: ปลายสมัยโบราณและยุโรปภาคพื้นทวีป · ดูเพิ่มเติม »

ยุโรปตะวันตก

แผนที่ยุโรปตะวันตก ยุโรปตะวันตก ตั้งอยู่ติดกับทะเลเหนือ ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และ มหาสมุทรแอตแลนติก ซึ่งทำให้ดินแดนยุโรปตะวันตกนี้ไม่ห่างจากทะเลมากนัก เป็นผลทำให้มีความชื้นในอากาศสูงและอุณหภูมิหน้าหนาวไม่เย็นจัดเหมือนยุโรปที่อยู่ในภาคพื้นทวีปยุโรปเหนือ ยุโรปตะวันตกมีพื้นที่ประมาณ 36,933,412 ตารางกิโลเมตร ภาษาในภูมิภาคนี้มีมากมายเช่น กลุ่มภาษาโรมานซ์ เช่น ภาษาฝรั่งเศส ภาษาสเปน ฯลฯ กลุ่มภาษาเยอรมานิค เช่น ภาษาเยอรมัน ภาษาอังกฤษ ภาษาสวีเดน ฯลฯ และ ภาษากรีก ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์ทั้งนิกายโปรเตสแตนท์และโรมันคาทอลิก ความแตกต่างของประเทศในยุโรปตะวันตกกับยุโรปตะวันออกคือระบอบการปกครองและการเมืองช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศที่มักจะกล่าวถึงว่าเป็นประเทศในยุโรปตะวันตก.

ใหม่!!: ปลายสมัยโบราณและยุโรปตะวันตก · ดูเพิ่มเติม »

วิกฤตการณ์คริสต์ศตวรรษที่ 3

ักรวรรดิที่ถูกแบ่งแยกในปี ค.ศ. 271: จักรวรรดิกอลสีเขียว, จักรวรรดิพาลมิรีนสีเหลือง และจักรวรรดิโรมันสีแดง วิกฤติการณ์คริสต์ศตวรรษที่ 3 (Discrimen Tertii Saeculi, Crisis of the Third Century) หรืออนาธิปไตยทางทหาร (Military Anarchy หรือวิกฤติการณ์จักรวรรดิ (Imperial Crisis; ค.ศ. 235–284) เป็นช่วงระยะเวลาที่จักรวรรดิโรมันประสบวิกฤติการณ์ที่แทบจะนำความสิ้นสุดมาสู่จักรวรรดิจากปัญหาหลายอย่างรวมกันที่รวมทั้งการรุกรานของศัตรู, สงครามกลางเมือง, โรคระบาด, และความตกต่ำทางเศรษฐกิจ วิกฤติการณ์เริ่มด้วยการลอบสังหารของจักรพรรดิอเล็กซานเดอร์ เซเวรัส โดยทหารของพระองค์เองที่เป็นจุดเริ่มต้นของห้าสิบปีของความปั่นป่วนที่ในระหว่างนั้นก็มีผู้อ้างตนเป็นจักรพรรดิถึง 20 ถึง 25 คน ส่วนใหญ่แล้วก็เป็นนายพลผู้มีชื่อเสียงของกองทัพโรมันที่เข้ายึดอำนาจทั้งหมดหรือบางส่วนของจักรวรรดิ เมื่อมาถึงปี ค.ศ. 258 ถึงปี ค.ศ. 260 จักรวรรดิโรมันก็แบ่งออกเป็นสามส่วน: จักรวรรดิกอล ที่รวมทั้งจังหวัดโรมันแห่งกอล, บริเตน และฮิสปาเนีย (Hispania); และจักรวรรดิพาลไมรีน ที่รวมทั้งจังหวัดทางตะวันออกของซีเรีย, ปาเลสไตน์ และเอกิบตัส (Aegyptus) สองจักรวรรดิแยกตัวออกจากจักรวรรดิโรมันที่มีศูนย์กลางอยู่ในอิตาลี วิกฤติการณ์ยุติลงด้วยการขึ้นครองราชย์ของจักรพรรดิไดโอคลีเชียน.

ใหม่!!: ปลายสมัยโบราณและวิกฤตการณ์คริสต์ศตวรรษที่ 3 · ดูเพิ่มเติม »

สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา

รูปสลักเดวิด เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี หนึ่งในประติมากรรมชิ้นเอกของยุคนี้ สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา (Renaissance; Rinascimento; แปลว่า เกิดใหม่ หรือคืนชีพ) หรือ เรอแนซ็องส์ เป็นช่วงเวลาที่เกิดการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมในทวีปยุโรป ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของวัฒนธรรมยุคใหม่ สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาเป็นการเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรมที่กินเวลาตั้งแต่ราวคริสต์ศตวรรษที่ 14 ถึง 17 ประกอบด้วยการเปลี่ยนแปลงทางวรรณกรรม วิทยาศาสตร์ ศิลปะ ศาสนาและการเมือง การฟื้นฟูการศึกษาโดยอาศัยผลงานคลาสสิก การพัฒนาจิตรกรรม และการปฏิรูปการศึกษาอย่างค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้อาศัยพลังของนักมนุษยนิยมและปัจเจกชนนิยมเป็นเครื่องจูงใจ เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาเกิดขึ้นในฟลอเรนซ์ แคว้นทัสกานี ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 14.

ใหม่!!: ปลายสมัยโบราณและสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

สมัยกลาง

แบบจำลองของหมวกหุ้มเกราะซึ่งถูกพบที่ซัททันฮู ในหลุมศพของผู้นำชาวแองโกล-แซกซัน สันนิษฐานว่าเป็นกษัตริย์ราวปี ค.ศ. 620 ในช่วงต้นสมัยกลางNees ''Early Medieval Art'' pp. 109–112 สมัยกลาง หรือ ยุคกลาง (Middle Ages) คือช่วงเวลาในประวัติศาสตร์ยุโรป ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 5 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 15 โดยปกติแล้วเริ่มนับตั้งแต่การล่มสลายลงของจักรวรรดิโรมันตะวันตก (การสิ้นสุดของสมัยคลาสสิก) จนถึงจุดเริ่มตั้นของสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา และยุคแห่งการสำรวจ ซึ่งเป็นยุคที่นำไปสู่สมัยใหม่ในเวลาต่อมา สมัยกลางคือช่วงเวลาตรงกลางของกระบวนการเปลี่ยนผ่านในประวัติศาสตร์ตะวันตกคือ สมัยคลาสสิก สมัยกลาง และสมัยใหม่ นอกจากนี้สมัยกลางยังถูกแบ่งออกเป็นสามช่วงเวลาคือ ต้นสมัยกลาง (Early Middle Ages), สมัยกลางยุครุ่งโรจน์ (High Middle Ages) และปลายสมัยกลาง (Late Middle Ages) ในยุคกลางตอนต้น การลดลงของประชากร, การหดตัวของเมือง และการรุกรานจากอนารยชน เริ่มต้นขึ้นในยุคโบราณตอนปลายและดำเนินไปอย่างรวดเร็ว เหล่าอนารยชนผู้บุกรุกเข้าตั้งอาณาจักรของตนในส่วนที่เหลืออยู่ของจักรวรรดิโรมันตะวันตก ในคริสต์ศตวรรษที่ 7 แอฟริกาเหนือและตะวันออกกลาง ซึ่งเคยเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิโรมันตะวันออก ได้กลายไปเป็นจักรวรรดิอิสลามหลังจากถูกยึดครองโดยผู้สืบทอดของนบีมุฮัมมัด แม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและโครงสร้างทางการเมืองมากมาย แต่ก็ไม่ได้เปลี่ยนไปจากยุคโบราณคลาสสิคอย่างสิ้นเชิง จักรวรรดิโรมันตะวันออกหรือจักรวรรดิไบแซนไทน์ยังคงอยู่รอดและรักษาอำนาจของตนเอาไว้ได้ นอกจากนี้แล้วอาณาจักรเกิดใหม่ส่วนใหญ่ยังคงเกี่ยวพันอยู่กับสถาบันที่หลงเหลืออยู่ของชาวโรมัน ในขณะที่วัดวาอารามของคริสต์ศาสนาได้แผ่ขยายไปทั่วยุโรปตะวันตก ในคริสต์ศตวรรษที่ 7 และ 8 ชาวแฟรงก์ภายใต้การปกครองของราชวงศ์การอแล็งเฌียงได้สถาปนาจักรวรรดิขึ้นซึ่งครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของยุโรปตะวันตกมีนามว่า จักรวรรดิการอแล็งเฌียง ซึ่งยืนยงไปจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 9 เมื่อจักรวรรดิล่มสลายลงจากแรงงกดดันของการรุกรานจากภายนอก เช่น ชาวไวกิงจากทางเหนือ ชาวแมกยาร์จากทางตะวันออก และชาวซาราเซนจากทางใต้ ช่วงต้นสมัยกลางซึ่งเริ่มขึ้นหลังคริสต์ศตวรรษที่ 10 ประชากรของยุโรปขยายตัวอย่างมากจากการที่นวัตกรรมทางเทคโนโลยีและทางการเกษตรทำให้การค้าขายเจริญรุ่งเรืองและการทำเรือกสวนไร่นาขยายตัว ระบบมาเนอร์ - องค์กรของชาวนาตามหมู่บ้านที่ติดค้างค่าเช่าที่ดินและหน้าที่ด้านแรงงานแก่ขุนนาง และระบบเจ้าขุนมูลนาย - โครงสร้างทางการเมืองที่ซึ่งอัศวินและขุนนางศักดิ์ต่ำกว่าติดค้างหน้าที่ด้านการทหารแก่เจ้านายผู้มีศักดิ์สูงกว่าของพวกเขาแลกกับสิทธิ์ในการเก็บค่าเช่าที่ดินและชาวนาใต้ปกครอง สองระบบนี้คือระเบียบของสังคมที่ใช้กันในยุคกลางตอนกลาง ต่อมาอาณาจักรเริ่มรวมศูนย์อำนาจมากขึ้นภายหลังการล่มสลายลงของจักรวรรดิคาโรแล็งเชียง สงครามครูเสดซึ่งเริ่มขึ้นครั้งแรกในปี..

ใหม่!!: ปลายสมัยโบราณและสมัยกลาง · ดูเพิ่มเติม »

สมัยการย้ายถิ่น

แผนที่แสดงการโยกย้ายถิ่นฐานระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 2 ถึงที่ 5 อย่างง่ายๆ สมัยการโยกย้ายถิ่นฐานในยุโรป หรือ สมัยการรุกรานของบาร์บาเรียน (Migration Period หรือ Barbarian Invasions, Völkerwanderung) เป็นสมัยของการอพยพของมนุษย์ (human migration) ที่เกิดขึ้นประมาณระหว่างปี..

ใหม่!!: ปลายสมัยโบราณและสมัยการย้ายถิ่น · ดูเพิ่มเติม »

สมัยคลาสสิก

มัยคลาสสิก (Classical antiquity หรือ classical era หรือ classical period) เป็นคำที่ใช้กว้างๆ สำหรับสมัยประวัติศาตร์วัฒนธรรมที่มีศูนย์กลางอยู่ในบริเวณเมดิเตอเรเนียนที่ประกอบด้วยการผสมผสานระหว่างกรีกโบราณและโรมันโบราณที่เรียกว่าโลกกรีก-โรมัน สมัยคลาสสิกเป็นสมัยที่วรรณคดีกรีกและลาตินมีความรุ่งเรือง สมัยคลาสสิกถือกันว่าเริ่มขึ้นเมื่อมีการบันทึกวรรณกรรมกรีกเป็นครั้งแรกที่เริ่มด้วยมหากาพย์ของโฮเมอร์ราวศตวรรษที่ 8 ถึง 7 ก่อนคริสต์ศตวรรษ และดำเนินต่อมาจนกระทั่งถึงสมัยการเผยแพร่ของคริสต์ศาสนา และ การล่มสลายของจักรวรรดิโรมัน ในคริสต์ศตวรรษที่ 5 จนมาสิ้นสุดลงในปลายสมัยโบราณตอนปลาย ราว..

ใหม่!!: ปลายสมัยโบราณและสมัยคลาสสิก · ดูเพิ่มเติม »

สมัยโบราณ

ฟาโรห์ ผู้ปกครองอารยธรรมอียิปต์ อารยธรรมที่โด่งดังในสมัยโบราณ สาธารณรัฐโรมัน อารยธรรมที่โด่งดังอีกแห่งในสมัยโบราณ สมัยโบราณ (Ancient history) ในความหมายที่เป็นสากล จะหมายถึง ช่วงเวลาที่มนุษย์รู้จักการตั้งถิ่นฐานถาวร สร้างอารยธรรม วัฒนธรรม อักษรต่าง ๆ ขึ้นมา ซึ่งในแต่ละประเทศ สมัยโบราณจะมาถึงเร็วหรือช้า จะไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับว่าช่วงเวลาใดทีประเทศนั้นอยู่ในช่วงสร้างและประดิษฐ์อารยธรรมที่จะเป็นหลักฐานยืนยันได้ว่าอารยธรรมของประเทศนี้เริ่มต้นขึ้นแล้ว ช่วงเวลานั้น ของประเทศนั้น ก็จะจัดอยู่ในช่วงสมัยโบราณ สมัยโบราณโดยเฉลี่ยของโลกจะตรงกับ 3,500 ปีก่อนคริสตกาล - ค.ศ. 476 เพราะในช่วงเวลาดังกล่าว อารยรรมที่โด่งดังจำนวนมากของโลกถือกำเนิดในช่วงนี้ เช่น อารยธรรมโรมัน กรีก เมโสโปเตเมีย จีน อินเดีย อียิปต์ ฯลฯ นักประวัติศาสตร์ทั่วโลกจึงกำหนดช่วงเวลาดังกล่าวให้เป็นสมัยโบราณโดยเฉลี่ยของโลก สมัยโบราณโดยเฉลี่ยของโลก สิ้นสุดใน ค.ศ. 476 เมื่อจักรวรรดิโรมันตะวันตกล่มสลายลง เหลือแต่จักรวรรดิโรมันตะวันออก ที่เปิดเมืองรับเอาศาสนาคริสต์เข้ามามีบทบาทสูงในสังคมโรมัน และอิทธิพลของโรมันก็แผ่ขยายไปทั่วยุโรป และไปทั่วโลก ทำให้โลกโดยรวมออกจากสมัยโบราณ เข้าสู่สมัยกลาง (Middle Ages) ทางด้านอารยธรรมสมัยโบราณของต่างประเทศ โดยเฉพาะในแถบยุโรป มีอารยธรรมที่น่าสนใจเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก เช่น อารยธรรมอียิปต์ กรีก โรมัน บุคคลที่มีชีวิตอยู่ในช่วงหลายพันปีก่อน แล้วยังมีชื่อเสียงอยู่จนถึงปัจจุบันมีมากมาย เช่น จูเลียส ซีซาร์, คลีโอพัตรา รวมทั้งฟาโรห์หลายพระองค์แห่งอียิปต.

ใหม่!!: ปลายสมัยโบราณและสมัยโบราณ · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิดิออเกลติอานุส

ออเกลติอานุส (Gaius Aurelius Valerius Diocletianus; ภาษาอังกฤษ: Diocletian; ภาษากรีก: Διοκλής) (ราว 22 ธันวาคม ค.ศ. 244 - เสียชีวิต 3 ธันวาคม ค.ศ. 311) เมื่อแรกเกิดชื่อ “ไดโอคลีส” และรู้จักกันว่า “ดิออเกลติอานุส”เป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมัน 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 284 ถึงวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 286 ด้วยพระองค์เอง และระหว่างวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 286 ถึงวันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 305 ในฐานะออกัสตัสแห่งตะวันออก และร่วมกับแม็กซิเมียนในฐานะออกัสตัสแห่งตะวันตก ดิออเกลติอานุสเป็นจักรพรรดิที่เป็นผู้ยุติเหตุการณ์ที่นักประวัติศาสตร์เรียกว่า วิกฤติการณ์ของคริสต์ศตวรรษที่ 3 ที่เกิดขึ้นระหว่างปี..

ใหม่!!: ปลายสมัยโบราณและจักรพรรดิดิออเกลติอานุส · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิคอนสตันไทน์มหาราช

ักรพรรดิคอนสตันไทน์ที่ 1 จักรพรรดิคอนสตันไทน์ที่ 1 (ConstantineI 27 กุมภาพันธ์ ประมาณ ค.ศ. 272Birth dates vary but most modern historians use "ca. 272". Lenski, "Reign of Constantine", 59. – 22 พฤษภาคม ค.ศ. 337) ครองราชสมบัติเป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมัน ระหว่างวันที่ 25 กรกฎาคม ค.ศ. 306 ถึงวันที่ 29 ตุลาคม ค.ศ. 312 มีพระนามเต็มว่า “Flavius Valerius Aurelius Constantinus” หรือที่รู้จักกันว่า “คอนสตันไทน์ที่ 1” ในบรรดาผู้นับถือนิกายโรมันคาทอลิก หรือ “คอนสตันไทน์มหาราช” หรือ “นักบุญคอนสตันไทน์” ในบรรดาผู้นับถือนิกายอีสเติร์นออร์โธด็อกซ์หรือนิกายไบแซนไทน์คาทอลิก พระราชกรณียกิจสำคัญที่สุดคือการประกาศให้ศาสนาคริสต์เป็นศาสนาที่ถูกต้องตามกฎหมายของจักรวรรดิโรมันเมือปี ค.ศ. 313 จักพรรดิคอนสตันไทน์ที่ 1 จึงเป็นจักรพรรดิพระองค์แรกของจักรวรรดิโรมันที่นับถือศาสนาคริสต์ตามพระราชกฤษฎีกาแห่งมิลาน (Edict of Milan) ที่ประกาศโดยจักรพรรดิลีซีนีอุส (Licinius) ผู้ทรงเป็นจักรพรรดิร่วมกับพระองค์ พระราชกฤษฎีกาแห่งมิลานเป็นพระราชกฤษฎีกาที่ยกเลิกการทารุณกรรมต่อคริสต์ศาสนิกชนทั่วทั้งจักรวรรดิโรมัน ตามปฏิทินศาสนาของไบเซ็นไทน์ของนิกายอีสเติร์นออร์โธด็อกซ์ และนิการคาทอลิกตะวันออกแห่งไบเซนไทน์บันทึกจักพรรดิคอนสตันไทน์ที่ 1และเฮเลนแห่งคอนสแตนติโนเปิลพระมารดาว่าเป็นนักบุญ แต่ในปฏิทินศาสนาของตะวันตกไม่มีอยู่ในรายนามนักบุญ คอนสตันไทน์ได้รับนาม “มหาราช” เพราะพระราชกรณียกิจต่างที่ทรงทำให้ต่อคริสต์ศาสนา ในปี ค.ศ. 324 จักรพรรดิคอนสตันไทน์ทรงประกาศการปรับปรุงเมืองไบเซนเทียมให้เป็น “กรุงโรมใหม่” (Nova Roma) และเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม ค.ศ. 330 ทรงประกาศให้เมืองไบเซ็นเทียมเป็นเมืองหลวงใหม่ของจักรวรรดิโรมัน เมืองไบเซ็นเทียมเปลื่ยนชื่อเป็น “คอนสแตนติโนเปิล” แปลว่า “เมืองของคอนสตันไทน์” หลังจากจักพรรดิคอนสตันไทน์สิ้นพระชนม์เมื่อปี..

ใหม่!!: ปลายสมัยโบราณและจักรพรรดิคอนสตันไทน์มหาราช · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิเฮราคลิอัส

ักรพรรดิเฮราคลิอัส หรือ จักรพรรดิเฮราเคลออส(Heraclius; ชื่อเต็ม: Flavius Heraclius Augustus, Φλάβιος) (ราว ค.ศ. 575 – 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 641) เฮราคลิอัสเป็นจักรพรรดิเชื้อสายอาร์มีเนียแห่งจักรวรรดิไบแซนไทน์ ของราชวงศ์เฮราเคลียน ผู้ทรงครองราชย์เป็นเวลากว่าสามสิบปีระหว่างวันที่ 5 ตุลาคม ค.ศ. 610 จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 641 การเรืองอำนาจของพระองค์เริ่มขึ้นในปี..

ใหม่!!: ปลายสมัยโบราณและจักรพรรดิเฮราคลิอัส · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิโรมัน

ักรวรรดิโรมันในช่วงเวลาต่างๆกัน จักรวรรดิโรมัน (Imperivm Romanvm; Ῥωμαϊκὴ Αὐτοκρατορία หรือ Ἡ Ῥωμαίων βασιλεία; Roman Empire) เป็นช่วงระยะเวลาหนึ่งของอารยธรรมโรมันโบราณซึ่งปกครองโดยรูปแบบอัตตาธิปไตย จักรวรรดิโรมันได้สืบต่อการปกครองมาจากสาธารณรัฐโรมัน (510 ปีก่อนคริสตกาล - ศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสตาล) ซึ่งได้อ่อนแอลงหลังจากความขัดแย้งระหว่างไกอุส มาริอุสและซุลลา และสงครามกลางเมืองระหว่างจูเลียส ซีซาร์และปอมปีย์ มีวันหลายวันที่ได้ถูกเสนอให้เป็นเส้นแบ่งของการเปลี่ยนแปลงระหว่างสาธารณรัฐและจักรวรรดิ ได้แก.

ใหม่!!: ปลายสมัยโบราณและจักรวรรดิโรมัน · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิโรมันตะวันตก

ักรวรรดิโรมันตะวันตก (Western Roman Empire) หมายถึงครึ่งตะวันตกของจักรวรรดิโรมันหลังจากการแบ่งโดยไดโอคลีเชียนในปี..

ใหม่!!: ปลายสมัยโบราณและจักรวรรดิโรมันตะวันตก · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิไบแซนไทน์

ักรวรรดิไบแซนไทน์ (Byzantine Empire) หรือ จักรวรรดิไบแซนทิอุม (Βασιλεία των Ρωμαίων) เป็นจักรววรรดิที่สืบทอดโดยตรงจากจักรวรรดิโรมันในปลายสมัยโบราณ และยุคกลาง มีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงคอนสแตนติโนเปิล ในบริบทสมัยโบราณตอนปลาย จักรวรรดิยังถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า จักรวรรดิโรมันตะวันออก ขณะที่ยังมีจักรวรรดิโรมันตะวันตกอยู่ ทั้งคำว่า "จักรวรรดิไบแซนไทน์" และ "จักรวรรดิโรมันตะวันออก" เป็นคำทางภูมิประวัติศาสตร์ที่สร้างขึ้นและใช้กันในหลายศตวรรษต่อมา ขณะที่พลเมืองยังเรียกจักรวรรดิของตนว่า "จักรวรรดิโรมัน" หรือ "โรมาเนีย" เรื่อยมากระทั่งล่มสลายไป ขณะที่จักรวรรดิโรมันตะวันตกล่มสลายไปในคริสต์ศตวรรษที่ 5 ส่วนตะวันออกยังดำเนินต่อมาอีกพันปีก่อนจะเสียแก่เติร์กออตโตมันใน..

ใหม่!!: ปลายสมัยโบราณและจักรวรรดิไบแซนไทน์ · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์ศตวรรษที่ 7

ริสต์ศตวรรษที่ 7 อยู่ระหว่างปี ค.ศ. 601 ถึง ค.ศ. 700.

ใหม่!!: ปลายสมัยโบราณและคริสต์ศตวรรษที่ 7 · ดูเพิ่มเติม »

คอนสแตนติโนเปิล

แผนที่คอนสแตนติโนเปิล คอนสแตนติโนเปิล (Constantinople, (กรีก: Κωνσταντινούπολις (Konstantinoúpolis) หรือ ἡ Πόλις (hē Pólis), ภาษาละติน: CONSTANTINOPOLIS, ภาษาออตโตมันตุรกี (ทางการ): قسطنطينيه Konstantiniyye) คอนสแตนติโนเปิลเป็นเมืองหลวง (กรีก: Βασιλεύουσα (Basileúousa)) ของจักรวรรดิโรมัน ระหว่างปี ค.ศ. 330 ถึง ค.ศ. 395; ของจักรวรรดิไบแซนไทน์ ระหว่างปี ค.ศ. 395 ถึง ค.ศ. 1204 และระหว่างปี ค.ศ. 1261 ถึง ค.ศ. 1453; ของจักรวรรดิละติน ระหว่างปี ค.ศ. 1204 ถึง ค.ศ. 1261); และของจักรวรรดิออตโตมัน ระหว่างปี..

ใหม่!!: ปลายสมัยโบราณและคอนสแตนติโนเปิล · ดูเพิ่มเติม »

ต้นสมัยกลาง

ักรพรรดินีธีโอโดรา พระอัครมเหสีในจักรพรรดิจัสติเนียนที่ 1 ในงานโมเสกของคริสต์ศตวรรษที่ 6 ภายในมหาวิหารซันวีตาเล เมืองราเวนนา หนังสือสำหรับพิธีศาสนาจากคริสต์ศตวรรษที่ 8 (หอสมุดวาติกัน, Reg. Lat. 316. foll. 131v/132r) ต้นสมัยกลาง (Early Middle Ages) เป็นสมัยหนึ่งในประวัติศาสตร์ยุโรป เริ่มขึ้นหลังจากการล่มสลายของจักรวรรดิโรมันและดำเนินต่อเนื่องกันเป็นเวลาประมาณห้าร้อยปีโดยเริ่มตั้งแต่ราวปี ค.ศ. 500 จนกระทั่งมาถึงราวปี ค.ศ. 1000 ต้นสมัยกลางสิ้นสุดแล้วจึงต่อด้วยสมัยกลางยุครุ่งโรจน.

ใหม่!!: ปลายสมัยโบราณและต้นสมัยกลาง · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Late AntiqueLate Antiquityยุคโบราณตอนปลาย

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »