โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การรักษาด้วยการยอมรับและการให้สัญญา

ดัชนี การรักษาด้วยการยอมรับและการให้สัญญา

การรักษาด้วยการยอมรับและการให้สัญญา (Acceptance and commitment therapy ตัวย่อ ACT) เป็นรูปแบบจิตบำบัดแบบหนึ่งของ การบำบัดโดยการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม (cognitive behavior therapy) หรือ clinical behavior analysis (CBA) เป็นการแทรกแซงทางจิตวิทยาที่มีหลักฐานเชิงประสบการณ์ ด้วยวิธีให้ยอมรับ (acceptance) และมีสติ โดยผสมกันต่างจากวิธีอื่น ๆ บวกกับการให้คำมั่นสัญญาและกลยุทธ์การเปลี่ยนพฤติกรรมอื่น ๆ เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นทางใจได้ วิธีนี้ในเบื้องต้นเคยเรียกว่า "comprehensive distancing" เริ่มในปี 1982 (โดย ศ. ดร. สตีเวน ซี. เฮย์ส) ตรวจสอบในปี 1985 (โดย Robert Zettle) แล้วจึงพัฒนาเป็นรูปแบบปัจจุบันในปลายคริสต์ทศวรรษ 1980 มีโพรโทคอลหลายอย่างสำหรับ ACT ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมหรือสถานการณ์ที่ต้องการเปลี่ยน ยกตัวอย่างเช่น ในเรื่องสุขภาพทางพฤติกรรม จะมีรูปแบบสั้น ๆ ที่เรียกว่า focused acceptance and commitment therapy (FACT) จุดมุ่งหมายของ ACT ไม่ใช่เพื่อกำจัดความรู้สึกที่ไม่ดี แต่ว่า ให้อยู่ได้กับสิ่งที่ตนประสบ และ "ดำเนินไปในพฤติกรรมที่มีค่า" ACT ให้คนเปิดใจต่อความรู้สึกที่ไม่ดี แล้วศึกษาเพื่อที่จะไม่มีปฏิกิริยาต่อพวกมันเกินควร และไม่หลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่พวกมันเกิดขึ้น ผลการรักษาเป็นแบบเวียนก้นหอยเชิงบวก ที่ความรู้สึกที่ดีขึ้นนำไปสู่การเข้าใจความจริงที่ดีขึ้น.

29 ความสัมพันธ์: พฤติกรรมพฤติกรรมบำบัดวิภาษวิธีการบำบัดด้วยการรู้อาศัยสติการบําบัดทางความคิดและพฤติกรรมการวางเงื่อนไขแบบดั้งเดิมการวิจัยการวิเคราะห์อภิมานการทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมการควบคุมทางวิทยาศาสตร์การติดการเสริมแรงมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนียยาหลอกรูปแบบเอกสารใช้ได้หลายระบบสหสัมพันธ์สติ (จิตวิทยา)หลักฐานเชิงประสบการณ์จิตวิทยาทฤษฎีความซึมเศร้างานศึกษาตามยาวซีแอตเทิลปฏิทรรศน์ประชานปรัชญาปริญญาเอกโรควิตกกังวลโรคออทิซึมโรคจิต

พฤติกรรม

ติกรรม หมายความถึง การแสดงและกิริยาท่าทางซึ่งสิ่งมีชีวิต ระบบหรืออัตลักษณ์ประดิษฐ์ ที่เกิดร่วมกันกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งรวมระบบอื่นหรือสิ่งมีชีวิตโดยรวมเช่นเดียวกับสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ พฤติกรรมเป็นการตอบสนองของระบบหรือสิ่งมีชีวิตต่อสิ่งเร้าหรือการรับเข้าทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นภายในหรือภายนอก มีสติหรือไม่มีสติระลึก ชัดเจนหรือแอบแฝง และโดยตั้งใจหรือไม่ได้ตั้งใ.

ใหม่!!: การรักษาด้วยการยอมรับและการให้สัญญาและพฤติกรรม · ดูเพิ่มเติม »

พฤติกรรมบำบัดวิภาษวิธี

ติกรรมบำบัดวิภาษวิธี (Dialectical behavior therapy ตัวย่อ DBT) เป็นจิตบำบัดที่ออกแบบเพื่อช่วยให้เปลี่ยนรูปแบบพฤติกรรมที่ไร้ประโยชน์ เช่น การทำร้ายตัวเอง การคิดถึงการฆ่าตัวตาย และการติดสารเสพติด วิธีนี้ช่วยให้ควบคุมอารมณ์และความคิดของตนได้มากขึ้นโดยเรียนรู้เกี่ยวกับชนวนที่จุดปฏิกิริยา และช่วยประเมินว่า จะใช้ทักษะเช่นไรในการรับมือกับลำดับเหตุการณ์ ความคิด ความรู้สึก และพฤติกรรมต่าง ๆ เพื่อหลีกเลี่ยงปฏิกิริยาที่ไม่พึงประสงค์ DBT สมมุติว่าทุกคนพยายามทำดีที่สุด แต่ว่าไม่ขาดทักษะก็ได้การเสริมแรง (reinforcement) ไม่ทางลบก็ทางบวก ที่รบกวนการดำเนินชีวิตที่ดี DBT เป็นรูปแบบดัดแปลงของการบำบัดโดยการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม (CBT) ที่นักจิตวิท.ดร.มาชา ไลน์แฮน ที่มหาวิทยาลัยวอชิงตันได้พัฒนาขึ้นในปลายคริสต์ทศวรรษ 1970 เพื่อรักษาความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบก้ำกึ่ง (BPD) และความคิดฆ่าตัวตายเรื้อรัง แม้ว่าผลงานวิจัยที่แสดงประสิทธิผลในการรักษาโรคอื่น ๆ จะจำกัดมาก แต่ DBT ปัจจุบันใช้รักษาโรคจิตต่าง ๆ รวมทั้งการบาดเจ็บที่กะโหลกศีรษะ (TBI) ความผิดปกติในการรับประทาน (eating disorder) และความผิดปกติทางอารมณ์ (mood disorder) (The California Psychologist, 34) มีผลงานวิจัยเล็กน้อยที่แสดงว่า DBT อาจมีผลต่อคนไข้ที่มีอาการและพฤติกรรมที่สัมพันธ์กับความผิดปกติทางอารมณ์เป็นสเปกตรัม (spectrum mood disorders) รวมทั้งการทำร้ายตัวเอง ส่วนงานศึกษาปี 2551 แสดงว่ามีประสิทธิผลต่อเหยื่อทารุณกรรมทางเพศ (sexual abuse) และงานปี 2542 พบผลต่อการติดสารเสพติด DBT รวมเทคนิคของ CBT ในการควบคุมอารมณ์และการตรวจสอบความจริง บวกกับการอดทนต่อความทุกข์ การยอมรับ การสำนึกรู้อย่างมีสติ โดยสืบมาจากการเจริญสติในพุทธศาสนา DBT เป็นการบำบัดแรกที่มีหลักฐานการทดลองที่แสดงว่ามีผลในการบำบัด BPD การทดลองทางคลินิกแบบสุ่มแรกของ DBT พบผลคือ ทีท่าจะฆ่าตัวตาย (suicidal gesture) การเข้าโรงพยาบาลเหตุจิตเวช และการเลิกการรักษาเอง (drop-out) ในอัตราที่ลดลง งานวิเคราะห์อภิมานงานหนึ่งพบว่า DBT มีผลปานกลาง (moderate) ในคนไข้ BPD.

ใหม่!!: การรักษาด้วยการยอมรับและการให้สัญญาและพฤติกรรมบำบัดวิภาษวิธี · ดูเพิ่มเติม »

การบำบัดด้วยการรู้อาศัยสติ

การบำบัดด้วยการรู้อาศัยสติ หรือ การบำบัดความคิดอาศัยสติ (Mindfulness-based cognitive therapy ตัวย่อ MBCT) เป็นการบำบัดทางจิตวิทยาออกแบบเพื่อไม่ให้เกิดความซึมเศร้าอีก โดยเฉพาะในบุคคลที่เป็นโรคซึมเศร้า (MDD) เป็นการบำบัดที่มุ่งโรค MDD โดยเฉพาะ ซึ่งทำให้แตกต่างจากการบำบัดที่อาศัยสติอื่น ๆ เช่น การลดความเครียดอาศัยสติ (mindfulness-based stress reduction) ซึ่งใช้ได้กับความผิดปกติหลายอย่าง และการป้องกันการกลับติดอีกอาศัยสติ (mindfulness-based relapse prevention) ซึ่งใช้ในการติด MBCT ใช้เทคนิคของการบำบัดโดยการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม (CBT) และเพิ่มกลยุทธ์ทางจิตวิทยาใหม่ ๆ เช่น สติ และการเจริญสติ (mindfulness meditation) และอาจจะรวมการให้การศึกษาแก่คนไข้เรื่องความซึมเศร้า การเจริญสติมุ่งที่จะสำนึกถึงความคิดและความรู้สึกทั้งหมดแล้วยอมรับ โดยไม่เข้าไปยึดติดหรือมีปฏิกิริยาต่อพวกมัน ซึ่งเป็นกระบวนการ (ที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า Decentering จะแปลว่า ไม่ยึดว่าเป็นตน) ที่ช่วยหยุดการติตนเอง การครุ่นคิด และอารมณ์ไม่ดี ที่ล้วนอาจเกิดขึ้นเป็นปฏิกิริยาต่อรูปแบบความคิดที่ไม่ดี โดยเหมือนกับ CBT การบำบัดนี้อาศัยทฤษฎีว่า เมื่อบุคคลที่มีประวัติซึมเศร้าเกิดความทุกข์ พวกเขาจะกลับใช้กระบวนการความคิดอัตโนมัติที่สามารถจุดชนวนภาวะซึมเศร้า (depressive episode) อีก จุดมุ่งหมายของ MBCT ก็เพื่อจะระงับกระบวนการอัตโนมัติเหล่านี้และฝึกให้คนไข้มีปฏิกิริยาน้อยลงต่อสิ่งเร้าที่เข้ามา แล้วแทนที่ด้วยการยอมรับและสังเกตสิ่งเหล่านั้นโดยไม่ตัดสินความดีไม่ดี การฝึกสติเช่นนี้ทำให้สามารถสังเกตกระบวนการอัตโนมัติที่กำลังเกิดขึ้นแล้วเปลี่ยนปฏิกิริยาของตนให้เป็นความพินิจพิจารณา ซึ่งสมมุติกันว่า เป็นส่วนของ MBCT ที่เป็นเหตุของผลต่างที่ได้ทางคลินิก นอกจากจะใช้ลดความรุนแรงของความซึมเศร้า ผลงานวิจัยยังสนับสนุนประสิทธิผลของการเจริญสติเพื่อลดความอยากสารที่บุคคลติด การติดเป็นกระบวนการที่ทำสมองส่วน prefrontal cortex (ตัวย่อ PFC) ให้อ่อนแอลง PFC ปกติจะช่วยระงับการหาความสุขในปัจจุบันเพื่อประโยชน์ในอนาคต การเจริญสติเป็นเวลา 2 อาทิตย์โดยใช้เวลาทั้งหมด 5 ชม.

ใหม่!!: การรักษาด้วยการยอมรับและการให้สัญญาและการบำบัดด้วยการรู้อาศัยสติ · ดูเพิ่มเติม »

การบําบัดทางความคิดและพฤติกรรม

การบําบัดทางความคิดและพฤติกรรม (Cognitive behavioral therapy ตัวย่อ CBT) เป็นรูปแบบหนึ่งของจิตบำบัด (psychotherapy) ซึ่งดั้งเดิมออกแบบเพื่อรักษาโรคซึมเศร้า แต่ปัจจุบันใช้รักษาความผิดปกติทางจิตอย่างอื่น ๆ ด้วย ซึ่งมีประสิทธิผลโดยแก้ปัญหาปัจจุบันและเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรมที่ไร้ประโยชน์ ชื่อของวิธีบำบัดอ้างอิงถึงการบำบัดชนิดต่าง ๆ รวมทั้งการบำบัดพฤติกรรม (behavior therapy) การบำบัดความคิด (cognitive therapy) และการบำบัดที่รวมหลักต่าง ๆ ในการศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมและจิตวิทยาประชาน ผู้บำบัดคนไข้ที่มีปัญหาเรื่องโรควิตกกังวลและโรคซึมเศร้า จะใช้วิธีที่รวมการบัดบัดทั้งทางพฤติกรรมและทางความคิด เป็นเทคนิคที่ยอมรับความจริงว่า อาจมีพฤติกรรมที่ไม่สามารถควบคุมได้โดยความคิดที่สมเหตุผล เพราะเป็นพฤติกรรมที่เกิดจากการปรับสภาวะ (conditioning) ในอดีตต่อสิ่งแวดล้อมและสิ่งเร้าทั้งภายในภายนอก เป็นเทคนิคที่เพ่งความสนใจไปที่ปัญหาโดยเฉพาะ ๆ และช่วยคนไข้ให้เลือกกลยุทธ์ในการรับมือปัญหาเหล่านั้น ซึ่งต่างจากวิธีการรักษาแบบจิตวิเคราะห์ ที่ผู้รักษาจะสืบหาความหมายใต้สำนึกของพฤติกรรมของคนไข้เพื่อจะวินิจฉัยปัญหา คือ ในการบำบัดแบบพฤติกรรม ผู้รักษาเชื่อว่า ความผิดปกติที่มี เช่นความซึมเศร้า เกิดเนื่องมาจากความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าที่กลัวกับการตอบสนองแบบหลีกเลี่ยง ซึ่งมีผลเป็นความกลัวที่มีเงื่อนไข เหมือนดังในการปรับสภาวะแบบดั้งเดิม (Classical Conditioning) และในการบำบัดความคิด ผู้รักษาเชื่อว่า ตัวความคิดเอง จะมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของบุคคล ดังนั้น การบำบัดสองอย่างหลังนี้จึงรวมกันเป็น CBT CBT มีประสิทธิผลต่อความผิดปกติหลายอย่างรวมทั้งความผิดปกติทางอารมณ์ (mood disorder) โรควิตกกังวล ความผิดปกติทางบุคลิกภาพ ความผิดปกติของการรับประทาน (Eating disorder) การติดสิ่งต่าง ๆ (addiction) การใช้สารเสพติด (substance dependence) ความผิดปกติที่มีอาการกล้ามเนื้อกระตุก (Tic disorder) และ psychotic disorder (รวมทั้งโรคจิตเภทและโรคหลงผิด) โปรแกรมการบำบัดแบบ CBT ได้รับประเมินสัมพันธ์กับการวินิจฉัยอาการ และปรากฏว่า มีผลดีกว่าวิธีการอื่น ๆ เช่น การบำบัดแบบ psychodynamic แต่ว่าก็มีนักวิจัยที่ตั้งความสงสัยในความสมเหตุสมผลของข้ออ้างว่ามีผลดีกว่าวิธีการอื่น ๆ การบำบัดโดยการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรมมีประวัติความเป็นมาตั้งแต่ยุคที่เน้นการปรับพฤติกรรมเป็นหลัก ผู้ที่ถือเป็นบิดาแห่งการบำบัดในรูปแบบที่เข้าใจและนิยมใช้ที่สุดในปัจจุบันคือ.

ใหม่!!: การรักษาด้วยการยอมรับและการให้สัญญาและการบําบัดทางความคิดและพฤติกรรม · ดูเพิ่มเติม »

การวางเงื่อนไขแบบดั้งเดิม

ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบดั้งเดิม (Classical Conditioning) ของ อีวาน พาฟลอฟ พฤติกรรมที่จะเกิดการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิกได้มักเป็นพฤติกรรมหรือการตอบสนองที่เกิดจากปฏิกิริยาสะท้อน อันมีพื้นฐานมาจากการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติ เช่น การทำงานของต่อมต่าง ๆในร่างกาย การทำงานของระบบกล้ามเนื้อต่าง ๆ พฤติกรรมการตอบสนองในการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก เป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เมื่อมีสิ่งเร้ามากระตุ้น พฤติกรรมที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติเหล่านี้ เรียกว่า พฤติกรรมตอบสนอง หรือพฤติกรรมที่เป็นไปโดยไม่ตั้งใจ การเรียนรู้โดยวางเงื่อนไขเงื่อนไขแบบดั้งเดิมกับสุนัขด้วยวิธีการของพาร์พลอฟ พาร์พลอฟ เชื่อว่าการเรียนรู้ของสิ่งมีชีวิตจำนวนมากเกิดจากการวางเงื่อนไข (conditioning) กล่าวคือ การตอบสนองหรือการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นต่อสิ่งเร้าหนึ่งมักมีเงื่อนไขหรือสถานการณ์เกิดขึ้น ซึ่งในสภาพปกติหรือในชีวิตประจำวันการตอบสนองเช่นนั้นอาจไม่มี เช่น กรณีสุนัขได้ยินเสียงกระดิ่งและน้ำลายไหล เสียงกระดิ่งเป็นสิ่งเร้าที่ต้องการให้เกิดการเรียนรู้จากการวางเงื่อนไข (เพราะโดยปกติเสียงกระดิ่งมิได้ทำให้สุนัขน้ำลายไหล แต่คนต้องการให้สุนัขน้ำลายไหลเมื่อได้ยินเสียงกระดิ่ง) พาร์พลอฟ เรียกว่า สิ่งเร้าที่มีเงื่อนไข (conditioned stimulus) และปฏิกิริยาน้ำลายไหล เป็นการตอบสนองที่เรียกว่าการตอบสนองที่มีเงื่อนไข (conditioned response).

ใหม่!!: การรักษาด้วยการยอมรับและการให้สัญญาและการวางเงื่อนไขแบบดั้งเดิม · ดูเพิ่มเติม »

การวิจัย

อลิน เลวี วอร์เนอร์ (Olin Levi Warner) การวิจัยชูคบเพลิงแห่งความรู้ (พ.ศ. 2439) ห้องสมุดรัฐสภาสหรัฐฯ อาคารโทมัส เจฟเฟอร์สัน, วอชิงตัน ดีซี การวิจัย (research) หมายถึงการกระทำของมนุษย์เพื่อค้นหาความจริงในสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่กระทำด้วยพื้นฐานของปัญญา ความมุ่งหมายหลักในการทำวิจัยได้แก่การค้นพบ (discovering), การแปลความหมาย, และ การพัฒนากรรมวิธีและระบบ สู่ความก้าวหน้าในความรู้ด้านต่าง ๆ ในเชิงวิทยาศาสตร์ที่หลากหลายในโลกและจักรวาล การวิจัยอาจต้องใช้หรือไม่ต้องใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ก็ได้ การวิจัยทางวิทยาศาสตร์ อาศัยการประยุกต์ระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์ที่ได้แรงผลักดันจากความอยากรู้อยากเห็น การวิจัยเป็นตัวสร้างข้อมูลข่าวสารเชิงวิทยาศาสตร์และทฤษฎีที่มนุษย์นำมาใช้ในการอธิบายธรรมชาติและคุณสมบัติของสรรพสิ่งต่าง ๆ รอบตัวเรา การวิจัยช่วยให้การประยุกต์ทฤษฎีต่าง ๆ มีความเป็นไปได้ในเชิงปฏิบัติ การวิจัยทางวิทยาศาสตร์ได้รับเงินสนับสนุนจากหน่วยงานของรัฐ องค์การการกุศล กลุ่มเอกชนซึ่งรวมถึงบริษัทต่าง ๆ งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์จำแนกได้เป็นประเภทตามสาขาวิทยาการและวิชาเฉพาะทาง คำว่าการวิจัยยังใช้หมายถึงการเก็บรวบรวมข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวกับวิชาการบางสาขาอีกด้ว.

ใหม่!!: การรักษาด้วยการยอมรับและการให้สัญญาและการวิจัย · ดูเพิ่มเติม »

การวิเคราะห์อภิมาน

การวิเคราะห์อภิมาน (meta-analysis) หมายถึงวิธีการทางสถิติที่ใช้เพื่อเปรียบเทียบและรวบรวมข้อมูลจากงานวิจัยต่าง ๆ กัน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อกำหนดสิ่งที่พบเหมือน ๆ กัน สิ่งที่ต่างกัน และความสัมพันธ์ที่น่าสนใจอื่น ๆ ที่อาจปรากฏด้วยการศึกษางานวิจัยหลาย ๆ งาน Meta-analysis สามารถพิจารณาได้ว่าเป็นการ "ทำการศึกษาเกี่ยวกับการศึกษาอื่นที่ทำมาแล้ว" โดยแบบที่ง่ายที่สุด Meta-analysis จะทำโดยกำหนดการวัดค่าทางสถิติที่เหมือนกันในงานวิจัยหลาย ๆ งาน เช่น ขนาดผล (effect size) หรือ p-value แล้วสร้างค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก (weighted average) ของการวัดค่าที่เหมือนกัน โดยน้ำหนักที่ให้มักจะขึ้นอยู่กับขนาดตัวอย่าง (sample size) ของแต่ละงานวิจัย แต่ก็สามารถขึ้นอยู่กับองค์ประกอบอย่างอื่น ๆ เช่นคุณภาพของงานศึกษาด้วย แรงจูงใจที่จะทำงานศึกษาแบบ meta-analysis ก็เพื่อรวมข้อมูลเพื่อจะเพิ่มกำลังทางสถิติ (statistical power) ของค่าที่สนใจ เมื่อเปรียบเทียบกับเพียงใช้ค่าวัดจากงานศึกษาเดียว ในการทำงานศึกษาเช่นนี้ นักวิจัยต้องเลือกองค์ประกอบหลายอย่างที่อาจมีอิทธิพลต่อผลงาน รวมทั้งวิธีการสืบหางานวิจัย การเลือกงานวิจัยตามกฏเกณฑ์ที่เป็นกลาง การแก้ปัญหาเมื่อมีข้อมูลไม่ครบ การวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ และการแก้ปัญหาหรือไม่แก้ปัญหาความเอนเอียงในการตีพิมพ์ การศึกษาแบบ Meta-analysis มักจะเป็นส่วนสำคัญของงานปริทัศน์แบบทั้งระบบ (systematic review) แต่ไม่เสมอไป ยกตัวอย่างเช่น อาจจะมีการทำงานแบบ Meta-analysis โดยใช้ผลงานการทดลองทางคลินิก (clinical trial) เกี่ยวกับการรักษาทางแพทย์อย่างหนึ่ง เพื่อที่จะได้ความเข้าใจที่ดีขึ้นว่าการรักษาได้ผลแค่ไหน เมื่อใช้ศัพท์ต่าง ๆ ที่กำหนดโดยองค์กร Cochrane Collaboration คำว่า meta-analysis ก็จะหมายถึงวิธีทางสถิติที่ใช้ในการประมวลหลักฐาน โดยไม่รวมเอาการประมวลข้อมูลรูปแบบอื่น ๆ เช่น research synthesis (แปลว่า การสังเคราะห์งานวิจัย) หรือ evidence synthesis (แปลว่า การสังเคราะห์หลักฐาน) ที่ใช้ประมวลข้อมูลจากงานศึกษาเชิงคุณภาพ (qualitative studies) ซึ่งใช้ในงานปริทัศน์แบบทั้งร.

ใหม่!!: การรักษาด้วยการยอมรับและการให้สัญญาและการวิเคราะห์อภิมาน · ดูเพิ่มเติม »

การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม

pmc.

ใหม่!!: การรักษาด้วยการยอมรับและการให้สัญญาและการทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม · ดูเพิ่มเติม »

การควบคุมทางวิทยาศาสตร์

แบ่งพืชเหมือนกันเป็นสองกลุ่มแล้วให้ปุ๋ยกับกลุ่มเดียว ถ้าเกิดความแตกต่างกันระหว่างกลุ่มที่ได้ปุ๋ย และ "กลุ่มควบคุม" ที่ไม่ได้ ความแตกต่างอาจจะเกิดจากปุ๋ย การควบคุมทางวิทยาศาสตร์ (scientific control) หรือ กลุ่มควบคุมทางวิทยาศาสตร์ เป็นการทดลอง หรือการสังเกตการณ์อันหนึ่ง ที่ทำเพื่อใช้เปรียบเทียบกับกลุ่มทดลองว่า การกระทำหรือความต่างอย่างอื่นที่มีในกลุ่มทดลองแต่ไม่มีในกลุ่มควบคุม มีผลต่างต่อกลุ่มทดลองอย่างไร หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ เป็นกลุ่มที่ทำเพื่อลดผลต่างของตัวแปรอื่น ๆ ยกเว้นตัวแปรอิสระเดียวที่เป็นประเด็นการศึกษา เป็นวิธีการที่เพิ่มความน่าเชื่อถือของผลต่างที่พบ (ที่ควรจะเกิดจากความต่างของตัวแปรอิสระอย่างเดียว) บ่อยครั้งโดยเปรียบเทียบค่าวัดจากกลุ่มควบคุมและค่าวัดในกลุ่มอื่น ๆ กลุ่มควบคุมทางวิทยาศาสตร์เป็นส่วนของระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์ ยกตัวอย่างกลุ่มควบคุม (บางครั้งเรียกว่า กลุ่มควบคุมของการทดลอง) ที่ใช้ตรวจสอบผลของปุ๋ย โดยให้ปุ๋ยกับพืชเพียงครึ่งเดียวในแปลง พืชที่ไม่ได้รับปุ๋ยก็คือกลุ่มควบคุม เพราะว่าเป็นกลุ่มแสดงระดับการเติบโตพื้นฐาน ที่จะใช้เปรียบเทียบกับพืชที่ใส่ปุ๋ย ถ้าไม่มีกลุ่มควบคุม การทดลองจะไม่สามารถกำหนดได้ว่า พืชที่ใส่ปุ๋ย โตได้ "ดีกว่า" พืชที่ไม่ใส่หรือไม่ ในการทดลองสมบูรณ์แบบ ตัวแปรทั้งหมดจะมีการควบคุม (คือโดยเปรียบเทียบค่าวัดต่าง ๆ กับกลุ่มควบคุม) และดังนั้น ถ้าตัวแปรอื่น ๆ ควบคุมได้อย่างที่คาดหวัง ก็จะสามารถสรุปได้ว่า การทดลองนั้นดำเนินไปอย่างที่ตั้งใจ และผลที่พบในการทดลอง มาจากความต่างของตัวแปรอิสระที่เป็นประเด็นศึกษา ซึ่งก็คือ เป็นวิธีการที่ทำให้ผู้ทำงานอ้างได้ว่า "สถานการณ์ 2 อย่างเหมือนกันทุกอย่าง จนกระทั่งปัจจัย ก เกิดขึ้น และเนื่องจากปัจจัย ก เป็นความแตกต่างอย่างเดียวที่มีในสองสถานการณ์ ผลที่พบจึงเกิดจากปัจจัย ก".

ใหม่!!: การรักษาด้วยการยอมรับและการให้สัญญาและการควบคุมทางวิทยาศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

การติด

การติด (addiction) หมายถึง การแสดงพฤติกรรมหนึ่งซ้ำ ๆ แม้จะมีผลเสีย หรือมีความบกพร่องทางประสาทวิทยาอันนำไปสู่พฤติกรรมดังกล่าว การติด เช่น การติดสารเสพติด การติดอาหาร การติดออกกำลังกาย การติดคอมพิวเตอร์และการพนัน.

ใหม่!!: การรักษาด้วยการยอมรับและการให้สัญญาและการติด · ดูเพิ่มเติม »

การเสริมแรง

การเสริมแรง (Reinforcement) คือการทำให้ความถี่ของพฤติกรรมเพิ่มขึ้น อันเป็นผลเนื่องมาจากผลกรรมที่ตามหลังพฤติกรรมนั้น.

ใหม่!!: การรักษาด้วยการยอมรับและการให้สัญญาและการเสริมแรง · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย

นจามิน แฟรงคลิน ผู้สถาปนามหาวิทยาลัย รูปปั้นเบนจามิน แฟรงคลิน หน้า College Hall มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย (University of Pennsylvania) (โดยทั่วไปเรียกว่า เพน (Penn) หรือ ยูเพน (UPenn)) เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนชั้นนำของสหรัฐอเมริกา ตั้งอยู่ที่เมือง ฟิลาเดลเฟีย ในรัฐเพนซิลเวเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2283 (ค.ศ. 1740) โดยนายเบนจามิน แฟรงคลิน ซึ่งนับว่าเป็นมหาวิทยาลัยเก่าแก่เป็นอันดับ 4 ของสหรัฐอเมริกา และเป็นหนึ่งในสมาชิกไอวีลีก มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนียได้รับการยอมรับให้เป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของสหรัฐอเมริกาและของโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มีชื่อเสียงในด้าน การแพทย์ พาณิชยศาสตร์ นิติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ และสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนียนับว่าเป็นมหาวิทยาลัยที่เข้ายากและมีการแข่งขันสูงมากที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศสหรัฐอเมริกา หลักสูตรปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนียได้รับการจัดอันดับให้อยู่ในอันดับที่ 4 ของประเทศ โดยนิตยสารยูเอสนิว (US News & World Report 2010) นอกจากนี้ วิทยาลัยและคณะต่างๆในระดับปริญญาโทและเอกส่วนใหญ่ก็ถูกจัดอยู่ใน Top 10 เกือบทั้งสิ้น ในปัจจุบัน (ปี พ.ศ. 2552) มีนักศึกษาประมาณ 24,599 คน และคณาจารกว่า 4,127 คน ในปี..

ใหม่!!: การรักษาด้วยการยอมรับและการให้สัญญาและมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย · ดูเพิ่มเติม »

ยาหลอก

หลอก (placebo) เป็นการรักษาโรคหรืออาการอื่นทางการแพทย์ที่ไม่แท้หรือไม่มีผลทางการแพทย์ โดยตั้งใจให้หลอกผู้รับการรักษา บางครั้ง ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยาปลอมจะมีการพัฒนาของอาการทางการแพทย์ที่รับรู้หรือแท้จริง ปรากฏการณ์ดังกล่าวโดยทั่วไปเรียกว่า ปรากฏการณ์ยาหลอก ในการวิจัยทางการแพทย์ มีการให้ยาหลอกเป็นการรักษาควบคุมและขึ้นอยู่กับการหลอกที่ควบคุมได้ ยาหลอกสามัญรวมถึง ยาเม็ดเฉื่อย การผ่าตัดหลอก และกระบวนการอื่นที่ใช้สารสนเทศเท็จ อย่างไรก็ดี ยาหลอกสามารถมีผลทางบวกอย่างน่าประหลาดใจต่อผู้ป่วยที่ทราบว่า การรักษาที่ให้แก่ตนนั้นปราศจากยาออกฤทธิ์ใด ๆ เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุมที่ทราบว่าไม่ได้รับยาหลอก.

ใหม่!!: การรักษาด้วยการยอมรับและการให้สัญญาและยาหลอก · ดูเพิ่มเติม »

รูปแบบเอกสารใช้ได้หลายระบบ

รูปแบบเอกสารใช้ได้หลายระบบ (portable document format (ย่อ: pdf)) คือ รูปแบบแฟ้มลักษณะหนึ่ง ที่พัฒนาโดยบริษัทอะโดบีซิสเต็มส์ สำหรับแสดงเอกสารที่สามารถใช้งานได้ในทุกระบบปฏิบัติการ และยังคงลักษณะเอกสารเหมือนต้นฉบับ เอกสารในรูปแบบนี้สามารถจัดเก็บ ตัวอักษร รูปภาพ รูปลายเส้น ในลักษณะเป็นหน้าหนังสือ ตั้งแต่ หนึ่งหน้า หรือหลายพันหน้าได้ในแฟ้มเดียวกัน รูปแบบเป็นมาตรฐานที่เปิดให้คนอื่นสามารถเขียนโปรแกรมมาทำงานร่วมกันได้ รูปแบบนี้ เหมาะสมสำหรับงานที่ต้องการให้แสดงผลลักษณะเดียวกับต้นฉบับ ซึ่งแตกต่างกับการใช้งานรูปแบบอื่น เช่น HTML เพราะการแสดงผลของ HTML จะขึ้นอยู่กับโปรแกรมเบราว์เซอร์และคอมพิวเตอร์ที่ใช้ และเพราะฉะนั้น จะแสดงผลต่างกัน ถ้าใช้ต่างกัน.

ใหม่!!: การรักษาด้วยการยอมรับและการให้สัญญาและรูปแบบเอกสารใช้ได้หลายระบบ · ดูเพิ่มเติม »

สหสัมพันธ์

ำหรับสถิติศาสตร์ สหสัมพันธ์ (correlation) หมายถึงความสัมพันธ์ทางสถิติระหว่างตัวแปรสุ่มตั้งแต่สองตัวแปรขึ้นไป Several sets of (''x'', ''y'') points, with the Pearson correlation coefficient of ''x'' and ''y'' for each set. Note that the correlation reflects the noisiness and direction of a linear relationship (top row), but not the slope of that relationship (middle), nor many aspects of nonlinear relationships (bottom). N.B.: the figure in the center has a slope of 0 but in that case the correlation coefficient is undefined because the variance of ''Y'' is zero.

ใหม่!!: การรักษาด้วยการยอมรับและการให้สัญญาและสหสัมพันธ์ · ดูเพิ่มเติม »

สติ (จิตวิทยา)

ในสาขาจิตวิทยาของชาวตะวันตก สติ (Mindfulness แปลตามความหมายที่ใช้ได้ว่า "ความเป็นผู้มีสติ" "สติ" และ "การเจริญสติ") เป็น "การเพ่งความใส่ใจของตนไปที่อารมณ์ ความคิด และความรู้สึกที่เกิดขึ้นในขณะนี้ โดยตั้งใจ โดยยอมรับ โดยไม่มีการตัดสิน" ซึ่งสามารถฝึกได้โดยวิธีปฏิบัติกรรมฐาน ที่ดัดแปลงมาจากการเจริญอานาปานสติของชาวพุทธ เป็นวิธีการที่เริ่มเกิดความนิยมในโลกตะวันตกเพราะโปรแกรม Mindfulness-based stress reduction (ตัวย่อย MBSR แปลว่า การลดความเครียดอาศัยสติ) ของ.

ใหม่!!: การรักษาด้วยการยอมรับและการให้สัญญาและสติ (จิตวิทยา) · ดูเพิ่มเติม »

หลักฐานเชิงประสบการณ์

หลักฐานเชิงประสบการณ์"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ empirical ว่า "เชิงประสบการณ์" หรือ "เชิงประจักษ์" (Empirical evidence, empirical data, sense experience, empirical knowledge, a posteriori) หรือ หลักฐานเชิงประจักษ์ หรือ ข้อมูลประจักษ์ หรือ ประสบการณ์ทางประสาทสัมผัส หรือ ความรู้เชิงประจักษ์"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ empirical knowledge ว่า "ความรู้เชิงประจักษ์" หรือ "ความรู้เชิงประสบการณ์" หรือ ความรู้เชิงประสบการณ์ เป็นแหล่งความรู้ที่ได้ผ่านการสังเกตการณ์และการทดลอง ศัพท์ภาษาอังกฤษว่า "empirical" มาจากภาษากรีกโบราณว่า "ἐμπειρία" (empeiría) ซึ่งแปลว่าประสบการณ์ หลักฐานเชิงประสบการณ์เป็นข้อมูลที่ใช้พิสูจน์ความจริงเกี่ยวกับความเชื่อ หรือพิสูจน์ความเท็จในข้ออ้าง ในมุมมองของนักประสบการณ์นิยม เราจะสามารถอ้างว่ามีความรู้ก็ต่อเมื่อมีความเชื่อที่เป็นจริงอาศัยหลักฐานทางประสบการณ์ ซึ่งไม่เหมือนกับมุมมองของนักเหตุผลนิยมว่า เพียงเหตุผลหรือการครุ่นคิดไตร่ตรองก็เพียงพอที่จะเป็นหลักฐานแสดงความจริงหรือความเท็จของข้ออ้าง ประสาทสัมผัสเป็นแหล่งความรู้หลัก (แหล่งความรู้ปฐมภูมิ) ของหลักฐานเชิงประสบการณ์ ถึงแม้ว่าหลักฐานอื่น ๆ เช่นความจำและคำให้การของผู้อื่นอาจจะมาจากประสบการณ์ทางประสาทสัมผัสในที่สุด แต่ว่านี้ก็ยังถือว่าเป็นแหล่งความรู้ทุติยภูมิหรือเป็นแหล่งความรู้โดยอ้อม อีกนัยหนึ่ง คำว่า "empirical evidence" อาจใช้เป็นไวพจน์ของผลการทดลอง โดยนัยนี้ คำว่า ผลเชิงประจักษ์ (empirical result) หมายถึงผลที่ยืนยันสมมุติฐาน (ความเชื่อ ข้ออ้าง) โดยรวม ๆ ส่วนคำว่า semi-empirical (กึ่งประจักษ์) หมายถึงระเบียบวิธีในการคิดค้นทฤษฎีที่ใช้สัจพจน์พื้นฐาน หรือกฎวิทยาศาสตร์และผลทางการทดลอง วิธีการเช่นนี้ไม่เหมือนกับวิธีที่เรียกว่า ab initio ซึ่งหมายถึงวิธีที่ใช้การให้เหตุผลแบบนิรนัย (Deductive reasoning) อาศัยปฐมธาตุ (first principle) ซึ่งทางวิทยาศาสตร์หมายถึงงานทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ที่มีฐานจากกฎวิทยาศาสตร์ที่มีหลักดีแล้ว ที่ไม่ต้องใช้ข้อสมมุติอย่างเช่นรูปแบบเชิงประจักษ์ (empirical model) ในเรื่องการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ หลักฐานเชิงประสบการณ์เป็นเรื่องจำเป็นก่อนที่สมมุติฐานใดสมมุติฐานหนึ่งจะได้การยอมรับจากชุมชนนักวิทยาศาสตร์ ดังนั้น งานทางวิทยาศาสตร์จะต้องผ่านการตรวจสอบผ่านวงจรที่เป็นระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์รวมทั้งการสร้างสมมุติฐาน การออกแบบการทดลอง การปริทัศน์จากผู้ชำนาญในสาขา (peer review) การปริทัศน์จากผู้มีความเห็นไม่ตรงกัน (adversarial review) การทำซ้ำผลการทดลอง (reproduction) การแสดงผลในงานประชุม และการตีพิมพ์ผลงานในวารสารวิทยาศาสตร์ เพื่อที่จะผ่านกระบวนการเช่นนี้ ผู้ทำงานจะต้องสื่อสารแสดงสมมุติฐานที่ชัดเจน (บ่อยครั้งแสดงเป็นสูตรคณิต) แสดงขอบเขตจำกัดของการทดลองและกลุ่มควบคุม (บางครั้งจำเป็นต้องแสดงว่าใช้เครื่องมืออะไรบ้าง) และใช้วิธีการวัดการตรวจสอบที่เป็นมาตรฐาน ประพจน์ (statement) หรือข้ออ้าง (argument) ที่พิสูจน์อาศัยหลักฐานเชิงประสบการณ์เรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่า a posteriori (แปลว่า มาจากทีหลัง) โดยเปรียบเทียบกับคำว่า a priori (แปลว่า มาจากก่อนหน้า) ความรู้หรือการให้เหตุผลแบบ a priori ไม่ต้องอาศัยประสบการณ์ (ยกตัวอย่างเช่น "คนโสดทุกคนไม่มีคู่แต่งงาน") เทียบกับความรู้หรือการให้เหตุผลแบบ a posteriori ที่ต้องอาศัยประสบการณ์หรือหลักฐานเชิงประจักษ์ (เช่น "คนโสดบางคนมีความสุขมาก") การแยกแยะระหว่างความรู้ที่เป็น a priori และ a posteriori ก็เป็นเช่นการแยกแยะระหว่างความรู้ที่ไม่อาศัยประสบการณ์ (ไม่อาศัยหลักฐาน) กับความรู้ที่อาศัยประสบการณ์ ซึ่งเป็นแนวคิดที่มาจากหนังสือ Critique of Pure Reason (บทวิพากษ์ของการใช้เหตุผล) ของนักปรัชญาทรงอิทธิพลอิมมานูเอล คานต์ มุมมองของปฏิฐานนิยม (positivism) ก็คือการสังเกตการณ์ ประสบการณ์ และการทดลอง เป็นตัวตัดสินที่เป็นกลางระหว่างทฤษฎีต่าง ๆ ที่แข่งขันกัน แต่ว่า ตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1960, ก็เกิดบทวิจารณ์ที่ยังไม่สามารถลบล้างที่เสนอว่า กระบวนการเหล่านี้ได้รับอิทธิพลจากความเชื่อและประสบการณ์ที่มีมาก่อน ๆ ดังนั้น จึงไม่สามารถหวังได้ว่า นักวิทยาศาสตร์สองท่านที่มีการสังเกตการณ์ มีประสบการณ์ และทำการทดลองร่วมกัน จะสามารถทำการสังเกตการณ์ที่เป็นกลางต่อทฤษฎีต่าง ๆ โดยเหมือน ๆ กัน นั่นก็คือ บทบาทของการสังเกตการณ์โดยเป็นตัวตัดสินที่เป็นกลางต่อทฤษฎีต่าง ๆ อาจจะเป็นไป what the fack.

ใหม่!!: การรักษาด้วยการยอมรับและการให้สัญญาและหลักฐานเชิงประสบการณ์ · ดูเพิ่มเติม »

จิตวิทยา

ตวิทยา (psychology) คือ ศาสตร์ที่ว่าด้วยการศึกษาเกี่ยวกับจิตใจ (กระบวนการของจิต), กระบวนความคิด, และพฤติกรรม ของมนุษย์ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เนื้อหาที่นักจิตวิทยาศึกษาเช่น การรับรู้ (กระบวนการรับข้อมูลของมนุษย์), อารมณ์, บุคลิกภาพ, พฤติกรรม, และรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล จิตวิทยายังมีความหมายรวมไปถึงการประยุกต์ใช้ความรู้กับกิจกรรมในด้านต่าง ๆ ของมนุษย์ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน (เช่นกิจกรรมที่เกิดขึ้นในครอบครัว, ระบบการศึกษา, การจ้างงานเป็นต้น) และยังรวมถึงการใช้ความรู้ทางจิตวิทยาสำหรับการรักษาปัญหาสุขภาพจิต นักจิตวิทยามีความพยายามที่จะศึกษาทำความเข้าใจถึงหน้าที่หรือจุดประสงค์ต่าง ๆ ของพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจากตัวบุคคลและพฤติกรรมที่เกิดขึ้นในสังคม ขณะเดียวกันก็ทำการศึกษาขั้นตอนของระบบประสาทซึ่งมีผลต่อการควบคุมและแสดงออกของพฤติกรรม.

ใหม่!!: การรักษาด้วยการยอมรับและการให้สัญญาและจิตวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

ทฤษฎี

ทฤษฎี (theory) คือ สมมติฐานที่ได้รับการตรวจสอบและทดลองหลายครั้งหลายหนจนสามารถอธิบายข้อเท็จจริงสามารถคาดคะเนทำนายเหตุการณ์ทั่วๆไป ที่เกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์นั้นอย่างถูกต้อง และมีเหตุผลเป็นที่ยอมรับของคนทั่วไป จึงเป็นผลให้สมมติฐานกลายเป็นทฤษฎี เช่น ทฤษฎีเซลล์ (Cell theory) ทฤษฏีวิวัฒนาการ (the evolution theory) เป็นต้น หรือ คือกลุ่มความสัมพันธ์ของแนวคิดคำนิยาม และองค์ประกอบต่าง ๆ ที่ใช้อธิบายลักษณะของปรากฏการณ์หนึ่ง และชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่าง ๆ โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะอธิบายหรือคาดเดาปรากฏการณ์นั้น.

ใหม่!!: การรักษาด้วยการยอมรับและการให้สัญญาและทฤษฎี · ดูเพิ่มเติม »

ความซึมเศร้า

วามซึมเศร้า (depression) อาจหมายถึง.

ใหม่!!: การรักษาด้วยการยอมรับและการให้สัญญาและความซึมเศร้า · ดูเพิ่มเติม »

งานศึกษาตามยาว

งานศึกษาตามยาว"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ longitudinal ว่า "-ตามยาว" และของ longitudinal study ว่า "วิธีศึกษาระยะยาว" หรือ วิธีศึกษาระยะยาว (longitudinal study) เป็นการศึกษาวิจัยโดยสหสัมพันธ์ที่สังเกตวัดค่าตัวแปรเดียวกัน ๆ เป็นระยะเวลายาว บ่อยครั้งเป็นทศวรรษ ๆ เป็นการศึกษาแบบสังเกตประเภทหนึ่ง มักใช้ในสาขาจิตวิทยาเพื่อศึกษาพัฒนาการต่าง ๆ ตลอดชั่วชีวิต และในสาขาสังคมศาสตร์เพื่อศึกษาเหตุการณ์ต่าง ๆ ทั้งชีวิตหรือหลายชั่วชีวิต เป็นการศึกษาที่ไม่เหมือนกับการศึกษาตามขวาง (cross-sectional study) เพราะการศึกษาตามขวางเปรียบเทียบลักษณะเดียวกันของบุคคลต่าง ๆ แต่การศึกษาตามยาวติดตามบุคคลเดียวกัน ดังนั้น ค่าต่าง ๆ ที่พบในบุคคลเหล่านั้น มีโอกาสน้อยกว่าที่จะเป็นความแตกต่างทางวัฒนธรรมระหว่างชั่วคน การศึกษาตามยาวจึงสามารถแสดงความเปลี่ยนแปลงที่แม่นยำกว่า และจึงมีการประยุกต์ใช้ในการศึกษาสาขาต่าง ๆ ในการแพทย์ การศึกษาแบบนี้ใช้เพื่อค้นหาตัวทำนาย (predictor) ของโรค ส่วนในการโฆษณา ใช้เพื่อตรวจความเปลี่ยนแปลงทางทัศนคติและพฤติกรรมของผู้ชมโฆษณา เนื่องจากการศึกษาแบบนี้เป็นแบบสังเกต คือสังเกตดูสภาพความจริงโดยที่ไม่เข้าไปจัดการ จึงมีการอ้างว่า มีกำลังที่จะตรวจจับความเป็นเหตุผลน้อยกว่าการศึกษาเชิงทดลอง แต่เพราะว่า เป็นการสังเกตลักษณะในระดับบุคคลอย่างซ้ำ ๆ กัน จึงมีกำลังกว่าการศึกษาตามขวาง (cross-sectional study) เพราะสามารถแยกออกซึ่งความแตกต่างระหว่างบุคคลที่ไม่ได้ขึ้นกับเวลา และสามารถติดตามเหตุการณ์ตามลำดับเวลา ข้อเสียของการศึกษาตามยาวก็คือใช้เวลามากและมีค่าใช้จ่ายสูง ดังนั้น จึงไม่ค่อยสะดวกที่จะทำ การศึกษาแบบนี้ช่วยให้นักสังคมศาสตร์แยกแยะระหว่างปรากฏการณ์ระยะสั้นกับปรากฏการณ์ระยะยาว เช่นความยากจน คือ ถ้าอัตราความยากจนอยู่ที่ 10% ที่เวลาหนึ่ง ก็อาจจะหมายความว่า มีประชากร 10% พวกเดียวกันที่เป็นคนยากจนตลอด หรือว่า ในประชากรทั้งหมด ณ เวลาหนึ่ง จะมีประชากร 10% ที่เป็นคนยากจน ซึ่งไม่สามารถจะแยกแยะได้โดยใช้การศึกษาตามขวางซึ่งวัดค่าต่าง ๆ เพียงครั้งเดียว ประเภทต่าง ๆ ของการศึกษาตามยาวรวมทั้งงานศึกษาตามรุ่น (cohort study) และ panel study งานแบบแรกสุ่มตัวอย่างจากคนในรุ่น ซึ่งกำหนดเป็นกลุ่มบุคคลที่ประสบเหตุการณ์อย่างหนึ่ง (ปกติคือการเกิด) ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง แล้วติดตามศึกษาเป็นระยะ ๆ ส่วนงานแบบที่สองสุ่มตัวอย่างตามขวาง คือจากทั้งกลุ่มประชากร แล้วสำรวจข้อมูลต่าง ๆ เป็นระยะ ๆ ส่วนการศึกษาย้อนหลัง (retrospective study) เป็นการศึกษาตามยาวที่ตรวจข้อมูลย้อนหลัง ยกตัวอย่างเช่น อาจจะตรวจดูบันทึกทางการแพทย์ของปีที่แล้วเพื่อตรวจหาแนวโน้ม.

ใหม่!!: การรักษาด้วยการยอมรับและการให้สัญญาและงานศึกษาตามยาว · ดูเพิ่มเติม »

ซีแอตเทิล

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: การรักษาด้วยการยอมรับและการให้สัญญาและซีแอตเทิล · ดูเพิ่มเติม »

ปฏิทรรศน์

ปฏิทรรศน์ หรือ พาราด็อกซ์ (Paradox) คือ ประโยคหรือกลุ่มของประโยคที่เป็นจริงอย่างชัดเจน แต่นำไปสู่ความขัดแย้งในตัวเอง หรือสถานการณ์ที่อยู่นอกความคิดทั่วไป โดยทั่วไปแล้วอาจเป็นไปได้ว่า ประโยคดังกล่าวนี้แท้จริงแล้วอาจไม่ได้นำไปสู่สภาวะขัดแย้ง ผลลัพธ์ที่ได้อาจไม่ใช่ข้อขัดแย้งจริง ๆ หรือข้อกำหนดในตอนต้นอาจไม่จริงหรือไม่สามารถเป็นจริงพร้อม ๆ กันได้ คำว่าปฏิทรรศน์หรือพาราด็อกซ์มักถูกใช้แทนที่ไปมากับคำว่าข้อขัดแย้ง อย่างไรก็ตามแนวคิดทั้งสองนั้นไม่เหมือนกันเสียทีเดียว ในขณะที่ข้อขัดแย้งประกาศสิ่งที่ตรงกันข้ามกับตัวเองหลาย ๆ ปฏิทรรศน์กลับมีทางออกหรือคำอ.

ใหม่!!: การรักษาด้วยการยอมรับและการให้สัญญาและปฏิทรรศน์ · ดูเพิ่มเติม »

ประชาน

ประชาน หรือ ปริชาน หรือ การรับรู้ (Cognition) เป็น "การกระทำหรือกระบวนการทางใจเพื่อให้ได้ความรู้ความเข้าใจผ่านความคิด ประสบการณ์ และประสาทสัมผัส" ซึ่งรวมกระบวนการต่าง ๆ รวมทั้ง.

ใหม่!!: การรักษาด้วยการยอมรับและการให้สัญญาและประชาน · ดูเพิ่มเติม »

ปรัชญา

มัยคลาสสิกไว้ในภาพเดียวกัน คำว่า ปรัชญา มีที่มามาจากภาษาสันสกฤต หมายถึงความรู้อันประเสริฐ โดยมีรากศัพท์มาจากคำว่า ปฺร ที่แปลว่าประเสริฐ กับ คำว่า ชฺญา ที่แปลว่ารู้ ซึ่งเป็นศัพท์บัญญัติโดยพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ แทนคำว่า philosophy ในภาษาอังกฤษ ซึ่งมีรากศัพท์มาจากคำΦιλοσοφία ซึ่งไพธากอรัสเป็นผู้บัญญัติไว้ เมื่อราวศตวรรษที่ 6 ก่อน..

ใหม่!!: การรักษาด้วยการยอมรับและการให้สัญญาและปรัชญา · ดูเพิ่มเติม »

ปริญญาเอก

ปริญญาเอก (doctorate) เป็นปริญญาวิชาการหรือวิชาชีพซึ่งในประเทศส่วนใหญ่ให้ผู้ถือมีคุณสมบัติสอนในระดับมหาวิทยาลัยในสาขาเฉพาะของปริญญานั้น หรือทำงานในวิชาชีพเฉพาะ ในบางประเทศ ปริญญาสูงสุดในสาขาหนึ่ง ๆ เรียก ปริญญาสูงสุด (terminal degree) คำว่า "doctorate" มาจากภาษาละติน docere หมายถึง "สอน".

ใหม่!!: การรักษาด้วยการยอมรับและการให้สัญญาและปริญญาเอก · ดูเพิ่มเติม »

โรควิตกกังวล

รควิตกกังวล (Anxiety disorders) เป็นกลุ่มความผิดปกติทางจิตกำหนดโดยความวิตกกังวลและความกลัว ความวิตกกังวล (anxiety) เป็นความกังวลเกี่ยวกับเหตุการณ์ในอนาคตและความกลัว (fear) เป็นปฏิกิริยาต่อเหตุการณ์ปัจจุบัน --> ความรู้สึกเช่นนี้อาจทำให้เกิดอาการทางกาย เช่น หัวใจเต้นเร็วและตัวสั่น --> มีโรควิตกกังวลหลายอย่าง รวมทั้งโรควิตกกังวลไปทั่ว (GAD), โรคกลัว (phobia) ที่เฉพาะเจาะจง, โรคกลัวการเข้าสังคม (social anxiety disorder), โรควิตกกังวลเมื่อต้องแยก (separation anxiety disorder), โรคกลัวที่ชุมชน (agoraphobia), และโรคตื่นตระหนก (panic disorder) --> โดยโรคจะต่าง ๆ กันตามอาการ --> แต่คนไข้มักจะมีโรควิตกกังวลมากกว่าหนึ่งชนิด โรคมีปัจจัยจากกรรมพันธุ์และสิ่งแวดล้อม ปัจจัยเสี่ยงรวมทั้งประวัติถูกทารุณกรรมในวัยเด็ก ประวัติความผิดปกติทางจิตในครอบครัว และความยากจน --> โรคมักเกิดร่วมกับความผิดปกติทางจิตอื่น ๆ โดยเฉพาะโรคซึมเศร้า (MDD) ความผิดปกติทางบุคลิกภาพ (PD) และการเสพสารเสพติด (substance use disorder) เพื่อจะวินิจฉัยว่าเป็นโรค จะต้องมีอาการอย่างน้อย 6 เดือน มีความวิตกกังวลเกินเหตุ และมีปัญหาในการดำเนินชีวิต แต่ก็มีปัญหาทางจิตเวชและทางแพทย์อื่น ๆ ที่อาจมีอาการคล้าย ๆ กันรวมทั้งอาการไฮเปอร์ไทรอยด์, โรคหัวใจ, การเสพกาเฟอีน แอลกอฮอล์ และกัญชา, และการขาดยา (withdrawal) บางประเภท ถ้าไม่รักษา โรคมักจะไม่หาย การรักษารวมทั้งการเปลี่ยนสไตล์ชีวิต จิตบำบัด และการทานยา --> จิตบำบัดมักจะเป็นรูปแบบหนึ่งของการบำบัดโดยการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม (CBT) ยาเช่นยาแก้ซึมเศร้าหรือเบต้า บล็อกเกอร์ อาจช่วยให้อาการดีขึ้น คนประมาณ 12% มีโรคทุก ๆ ปี โดยเกิดในหญิงมากกว่าชาย 2 เท่า และทั่วไปเริ่มก่อนอายุ 25 ปี ประเภทโรคที่สามัญที่สุดคือโรคกลัวที่เฉพาะเจาะจงซึ่งเกิดในคน 12% และโรคกลัวการเข้าสังคม (SAD) ซึ่งเกิดในคน 10% ในช่วงหนึ่งในชีวิต --> โดยเกิดกับบุคคลอายุ 15-35 ปีมากที่สุด และเกิดขึ้นน้อยหลังถึงอายุ 55 ปี --> อัตราการเกิดดูจะสูงกว่าในสหรัฐอเมริกาและทวีปยุโรป สีหน้าของบุคคลที่มีความวิตกกังวลเรื้อรัง.

ใหม่!!: การรักษาด้วยการยอมรับและการให้สัญญาและโรควิตกกังวล · ดูเพิ่มเติม »

โรคออทิซึม

รคออทิซึม (Autism) เป็นความผิดปกติในการเจริญของระบบประสาท โดยมีลักษณะเด่นคือความบกพร่องด้านปฏิสัมพันธ์ทางสังคมและการสื่อสาร และมีพฤติกรรมทำกิจกรรมบางอย่างซ้ำๆ ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้มักเรียกกันว่าผู้ป่วยออทิสติก อาการแสดงดังกล่าวมักปรากฏในวัยเด็กก่อนอายุ 3 ปี นอกจากนี้ยังมีความบกพร่องด้านสังคมและการสื่อสารที่จัดในกลุ่มใกล้เคียงโรคออทิซึม เรียกว่า Autism spectrum disorder (ASD) อาทิกลุ่มอาการแอสเปอร์เจอร์ (Asperger syndrome) ที่มีอาการและอาการแสดงน้อยกว่า โรคออทิซึมมีความเกี่ยวข้องกับพันธุกรรมอย่างมาก แม้ว่าการถ่ายทอดทางพันธุกรรมจะมีความซับซ้อนและยังไม่สามารถอธิบายกลุ่มอาการ ASD ได้จากปฏิสัมพันธ์หลายยีนหรือการกลายพันธุ์ ผู้ป่วยจำนวนน้อยพบว่ามีความเกี่ยวข้องกับสารก่อวิรูป (สารที่ก่อให้เกิดความผิดปกติแต่กำเนิด) บางแหล่งข้อมูลเสนอสาเหตุของโรคออทิซึมไว้หลากหลาย เช่น การให้วัคซีนในวัยเด็ก ซึ่งเป็นที่ถกเถียงกันในปัจจุบัน และสมมติฐานดังกล่าวยังขาดหลักฐานที่เชื่อถือได้ทางวิทยาศาสตร์ ความชุกของกลุ่มอาการ ASD เกิดราว 6 ใน 1,000 คน และเป็นในเด็กชายเป็น 4 เท่าของเด็กหญิง จำนวนผู้ป่วยที่ป่วยด้วยโรคออทิซึมพบว่าเพิ่มขึ้นอย่างมากตั้งแต่ทศวรรษที่ 1980 ทั้งนี้บางส่วนเนื่องจากการเปลี่ยนวิธีการวินิจฉัย แต่ความชุกแท้จริงเพิ่มขึ้นหรือไม่นั้นยังไม่เป็นที่ทราบ ผู้ป่วยโรคออทิซึมมีความผิดปกติที่หลายส่วนของสมองซึ่งยังไม่ทราบสาเหตุ ผู้ปกครองมักสังเกตอาการผู้ป่วยได้ในช่วงอายุ 2 ขวบปีแรก แม้ว่าการบำบัดด้วยพฤติกรรมและการรับรู้โดยนักกายภาพบำบัดและนักจิตวิทยาคลินิกตั้งแต่เยาว์วัยจะช่วยพัฒนาให้ผู้ป่วยดูแลตนเอง มีทักษะด้านสังคมและการสื่อสารได้ แต่การรักษาที่แท้จริงยังไม่เป็นที่ทราบ เด็กที่ป่วยด้วยโรคนี้น้อยรายที่สามารถใช้ชีวิตได้อย่างอิสระหลังเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ แต่ก็มีบางส่วนที่ประสบความสำเร็.

ใหม่!!: การรักษาด้วยการยอมรับและการให้สัญญาและโรคออทิซึม · ดูเพิ่มเติม »

โรคจิต

รคจิต หรือ วิกลจริต (psychosis) คือ โรคกลุ่มเล็กๆ กลุ่มหนึ่ง ในกลุ่มโรคทางจิตเวชทั้งหมด ที่มีหลายโรค (โรคทางจิตเวช ได้แก่ โรคจิต โรคอารมณ์แปรปรวน โรควิตกกังวล โรคซึมเศร้า โรคเครียดที่เกิดจากสถานการณ์ร้ายแรงในชีวิต โรคปรับตัวผิดปกติ บุคลิกภาพบกพร่อง ฯลฯ).

ใหม่!!: การรักษาด้วยการยอมรับและการให้สัญญาและโรคจิต · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Acceptance and commitment therapyการรักษาด้วยการยอมรับและการให้คำมั่นสัญญาการบำบัดด้วยการยอมรับและการตกลงใจการบำบัดด้วยการยอมรับและการให้สัญญาการบำบัดด้วยการยอมรับและการให้คำมั่นสัญญา

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »