เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

การฟื้นเห็นเป็น 3 มิติ

ดัชนี การฟื้นเห็นเป็น 3 มิติ

การปิดตาอาจจะช่วยทำให้ตาที่ปิดแข็งแรงดีขึ้น แต่ก็ไม่ช่วยทำให้เห็นเป็นภาพเดียวด้วยสองตาและเห็นเป็น 3 มิติ แต่บางครั้งก็อาจรักษาได้ด้วยวิธีอื่น ๆ การฟื้นเห็นเป็น 3 มิติ (Stereopsis recovery, recovery from stereoblindness) เป็นปรากฏการณ์ที่ผู้บอดไม่เห็นเป็น 3 มิติจะได้คืนสมรรถภาพการเห็นเป็น 3 มิติอย่างเต็มตัวหรือโดยส่วนหนึ่ง การรักษาคนไข้ที่มองไม่เห็นเป็น 3 มิติมีเป้าหมายให้ได้คืนสมรรถภาพนี้ให้มากที่สุด เป็นเป้าหมายที่มีในการแพทย์มานานแล้ว การรักษาจะมุ่งให้เห็นเป็น 3 มิติในทั้งเด็กเล็ก ๆ และคนไข้ที่เคยเห็นเป็น 3 มิติผู้ต่อมาเสียสมรรถภาพไปเนื่องจากภาวะโรค โดยเปรียบเทียบกันแล้ว การรักษาโดยจุดมุ่งหมายนี้ จะไม่ใช้กับคนไข้ที่พลาดระยะการเรียนรู้การเห็นเป็น 3 มิติในช่วงต้น ๆ ของชีวิตไป เพราะการเห็นเป็นภาพเดียวด้วยสองตาและการเห็นเป็น 3 มิติ ดั้งเดิมเชื่อว่า เป็นไปไม่ได้ยกเว้นจะได้สมรรถภาพนี้ในระยะหัวเลี้ยวหัวต่อ (critical period) คือในช่วงวัยทารกและวัยเด็กต้น ๆ แต่สมมติฐานนี้ก็ไม่ได้สอบสวนและได้กลายเป็นรากฐานของวิธีการรรักษาโรคการเห็นด้วยสองตาเป็นทศวรรษ ๆ จนกระทั่งเร็ว ๆ นี้ที่เกิดข้อสงสัย เพราะงานศึกษาเรื่องการฟื้นเห็นเป็น 3 มิติที่ได้ปรากฏในวารสารวิทยาศาสตร์และได้ปรากฏต่อสาธารณชนต่อมาว่า นักประสาทวิทยาศาสตร์ ดร.

สารบัญ

  1. 54 ความสัมพันธ์: บรรณานุกรมบันไดพิชญพิจารณ์การรับรู้การรับรู้ความใกล้ไกลการผ่าตัดกล้ามเนื้อตาการประมวลผลการเรียนการเห็นภาพซ้อนการเห็นเป็น 3 มิติการเห็นเป็นภาพเดียวด้วยสองตาภาพยนตร์มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดมหาวิทยาลัยนอตทิงแฮมมหาวิทยาลัยแมคกิลล์มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ระบบการเห็นรังสีเอกซ์รางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์รูปแบบเอกสารใช้ได้หลายระบบลานสายตาลิงลิปดาวารสารวิชาการสาขาวิทยาศาสตร์วิดีโอเกมศาสตราจารย์สมมติฐานสมองหมากรุกอัตวิสัยความบอดการเห็นเป็น 3 มิติความใส่ใจความเชื่อถือได้ความเห็นพ้องทางวิทยาศาสตร์ความเปรียบต่างตาตามัวตาเหล่ซิกน่าซูเปอร์มาร์เก็ตประสาทวิทยาศาสตร์ปริภูมิปริศนามนุษย์กลของอูโก้ปริซึมโรงภาพยนตร์โน้ตดนตรีเบสบอลเวอร์ชวลริแอลลิทีเอ็มพี3... ขยายดัชนี (4 มากกว่า) »

  2. การรับรู้ทางตา
  3. จักษุวิทยา
  4. ประสาทวิทยาศาสตร์
  5. ประสาทสรีรวิทยา
  6. ระบบการมองเห็น

บรรณานุกรม

ในทางสารนิเทศ บรรณานุกรม หมายถึงข้อความที่ประกอบ หรือระบุหรือไว้ในส่วนท้าย หรือแนบท้ายหนังสือ รายงาน บทความวิชาการ และงานวิจัย เพื่อแสดงหลักฐาน ความน่าเชื่อถือ และเป็นแหล่งข้อมูลให้ผู้อ่านรายงาน บทความวิชาการ และงานวิจัย ได้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม คำว่า "บรรณานุกรม" เป็นศัพท์บัญญัติมาจากภาษาอังกฤษ bibliography ซึ่งมีความหมายอย่างเดียวกันคือ รายการสื่อสารนิเทศทั้งหมดที่ผู้เขียนได้ใช้ประกอบการเขียนหนังสือ รายงาน บทความวิชาการ และงานวิจั.

ดู การฟื้นเห็นเป็น 3 มิติและบรรณานุกรม

บันได

บันไดพื้นปูกระเบื้อง ที่มีราวจับสองด้าน บันได เป็นชื่อเรียกของสิ่งก่อสร้างที่ออกแบบมาเชื่อมต่อระหว่างจุดยืนที่ระดับความสูงแตกต่างกัน บันไดโดยทั่วไปจะมีลักษณะเป็นเส้นตรง โดย หรืออาจจะมีวางตันเป็นเกลียว เรียกว่า บันไดวน บันไดที่มีการติดตั้งเครื่องจักรให้มีการเลื่อนอัตโนมัติจะเรียก บันไดเลื่อน บันไดอันแรกของโลกถูกสร้างขึ้นในสมัยยุคหินเก่า โดยมนุษย์ยุคหินชนเผ่าวัยชรา เป็นผู้สร้างเพื่อใช้ขึ้นไปยังภูเขาและใช้ลงไปสู่แหล่งน้ำ หมวดหมู่:ส่วนประกอบของสิ่งก่อสร้าง หมวดหมู่:งานวิศวกรรมอาคาร.

ดู การฟื้นเห็นเป็น 3 มิติและบันได

พิชญพิจารณ์

ผู้ประเมินที่สถาบันสุขภาพแห่งชาติอเมริกันกำลังพิจารณาคำร้องขอทุนงานวิจัย พิชญพิจารณ์, การทบทวนระดับเดียวกัน หรือ การทบทวนโดยผู้รู้เสมอกัน (peer review) เป็นการประเมินงานโดยบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่มีความชำนาญคล้ายกับผู้ผลิตผลงานนั้น เป็นระบบควบคุมกันเองโดยสมาชิกวิชาชีพที่มีคุณสมบัติความสามารถในสาขาที่เข้าประเด็นกัน เป็นวิธีที่ใช้เพื่อรักษามาตรฐานทางคุณภาพ เพื่อเพิ่มคุณภาพ และเพื่อให้เกิดความเชื่อถือในงานภายในกลุ่มนักวิชาการ เป็นวิธีการกำหนดว่า งานวิชาการนั้นสมควรจะตีพิมพ์หรือไม่ เป็นเรื่องที่จัดหมวดหมู่ได้ตามชนิดของงานหรือตามอาชีพ เช่น พิชญพิจารณ์ทางการแพทย์ (medical peer review).

ดู การฟื้นเห็นเป็น 3 มิติและพิชญพิจารณ์

การรับรู้

ลูกบาศก์เนกเกอร์และแจกันรูบินสามารถมองเห็น/รับรู้ได้มากกว่า 1 แบบ การรับรู้ หรือ สัญชาน (Perception จากคำภาษาละตินว่า perceptio) เป็นการจัดระเบียบ ระบุ และแปลผลข้อมูลจากประสาทสัมผัสเพื่อใช้เป็นแบบจำลองและเข้าใจข้อมูลหรือโลกรอบ ๆ ตัว การรับรู้ทุกอย่างจะต้องเกี่ยวกับสัญญาณประสาทที่ส่งไปยังระบบประสาท โดยสัญญาณก็จะเป็นผลของการเร้าระบบรับความรู้สึกทางกายภาพหรือทางเคมี ยกตัวอย่างเช่น การเห็นจะเกี่ยวกับแสงที่มากระทบจอตา การได้กลิ่นจะอำนวยโดยโมเลกุลที่มีกลิ่น และการได้ยินจะเกี่ยวกับคลื่นเสียง การรับรู้ไม่ใช่เป็นเพียงแค่การรับสัญญาณทางประสาทสัมผัสเฉย ๆ แต่จะได้รับอิทธิพลจากการเรียนรู้ ความทรงจำ ความคาดหวัง และการใส่ใจของบุคคลนั้น ๆ การรับรู้สามารถแบ่งเป็นสองส่วน คือ.

ดู การฟื้นเห็นเป็น 3 มิติและการรับรู้

การรับรู้ความใกล้ไกล

ลักษณะต่าง ๆ รวมทั้งทัศนมิติแบบต่าง ๆ ขนาดโดยเปรียบเทียบ วัตถุที่บังกัน และอื่น ๆ ล้วนมีส่วนทำให้เห็นภาพถ่ายสองมิตินี้เป็น 3 มิติได้ การรับรู้ความใกล้ไกล เป็นสมรรถภาพทางการเห็นในการมองโลกเป็น 3 มิติ และการเห็นว่าวัตถุหนึ่งอยู่ใกล้ไกลแค่ไหน แม้เราจะรู้ว่าสัตว์ก็สามารถรู้สึกถึงความใกล้ไกลของวัตถุ (เพราะสามารถเคลื่อนไหวอย่างแม่นยำหรืออย่างสมควรตามความใกล้ไกล) แต่นักวิทยาศาสตร์ก็ไม่รู้ว่า สัตว์รับรู้ความใกล้ไกลทางอัตวิสัยเหมือนกันมนุษย์หรือไม่ ความใกล้ไกลจะรู้ได้จากตัวช่วย (cue) คือสิ่งที่มองเห็นต่าง ๆ ซึ่งปกติจะจัดเป็น.

ดู การฟื้นเห็นเป็น 3 มิติและการรับรู้ความใกล้ไกล

การผ่าตัดกล้ามเนื้อตา

การผ่าแยกหากล้ามเนื้อตา inferior rectus การเลื่อนกล้ามเนื้อ medial rectus จากจุดยึด การผ่าตัดกล้ามเนื้อตา (Strabismus surgery, extraocular muscle surgery, eye muscle surgery, eye alignment surgery) เป็นศัลยกรรมที่กล้ามเนื้อตา (extraocular muscle) เพื่อแก้ปัญหาตาที่ไม่มองไปในทางเดียวกัน ในประเทศสหรัฐอเมริกา มีการผ่าตัดเช่นนี้ 1.2 ล้านครั้งต่อปี จึงเป็นการผ่าตัดตามากที่สุดเป็นอันดับ 3 การผ่าตัดแก้ตาเหล่สำเร็จเป็นครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม..

ดู การฟื้นเห็นเป็น 3 มิติและการผ่าตัดกล้ามเนื้อตา

การประมวลผล

การประมวลผล หมายถึงกระบวนการคิด หรือ การจัดระเบียบแบบแผนของข้อมูล เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ ซึ่งทำได้โดยการคำนวณ เคลื่อนย้ายข้อมูล การเปรียบเทียบ และการวิเคราะห์ข้อมูล โดยอาจใช้สูตร ทางคณิตศาสตร์ หรือวิทยาศาสตร์ วิธีการต่าง ๆเหล่านี้ ทำได้โดย อาศัยคำสั่งหรือโปรแกรมที่เขียนขึ้น.

ดู การฟื้นเห็นเป็น 3 มิติและการประมวลผล

การเรียน

การเรียนรู้ หมายถึง การได้รับความรู้ พฤติกรรม ทักษะ คุณค่า หรือความพึงใจ ที่เป็นสิ่งแปลกใหม่หรือปรับปรุงสิ่งที่มีอยู่ และอาจเกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์สารสนเทศชนิดต่าง ๆ ผู้ประมวลทักษะของการเรียนรู้เป็นได้ทั้งมนุษย์ สัตว์ และเครื่องจักรบางชนิด ความก้าวหน้าในการเรียนรู้เมื่อเทียบกับเวลามีแนวโน้มเป็นเส้นโค้งแห่งการเรียนรู้ (learning curve) การเรียนรู้ของมนุษย์อาจเกิดขึ้นจากส่วนหนึ่งของการศึกษา การพัฒนาส่วนบุคคล การเรียนการสอน หรือการฝึกฝน การเรียนรู้อาจมีการยึดเป้าหมายและอาจมีความจูงใจเป็นตัวช่วย การศึกษาว่าการเรียนรู้เกิดขึ้นได้อย่างไรเป็นส่วนหนึ่งของสาขาวิชาประสาทจิตวิทยา (neuropsychology) จิตวิทยาการศึกษา (educational psychology) ทฤษฎีการเรียนรู้ (learning theory) และศึกษาศาสตร์ (pedagogy) การเรียนรู้อาจทำให้เกิดพฤติกรรมการเรียนรู้ (habituation) หรือการวางเงื่อนไขแบบดั้งเดิม (classical conditioning) ซึ่งพบในสัตว์หลายชนิด หรือทำให้เกิดกิจกรรมที่ซับซ้อนมากขึ้นอย่างเช่นการเล่น ซึ่งพบได้เฉพาะในสัตว์ที่มีเชาวน์ปัญญา การเรียนรู้อาจก่อให้เกิดความตระหนักอย่างมีสำนึกหรือไม่มีสำนึกก็ได้.

ดู การฟื้นเห็นเป็น 3 มิติและการเรียน

การเห็นภาพซ้อน

การเห็นภาพซ้อน หรือ การเห็นซ้อนสอง (Diplopia, double vision) เป็นการเห็นภาพสองภาพของวัตถุเดียวกัน ที่อาจซ้อนกันตามแนวนอน แนวตั้ง แนวเฉียง หรือแนวหมุน และปกติเป็นผลของความพิการของกล้ามเนื้อตา (extraocular muscles, EOMs) คือตาทั้งสองทำงานได้ดีแต่ไม่สามารถหันไปที่เป้าหมายได้อย่างถูกต้อง โดยกล้ามเนื้อตาอาจมีปัญหาทางกายภาพ มีโรคที่แผ่นเชื่อมประสาทสั่งการและกล้ามเนื้อ (neuromuscular junction) มีโรคที่เส้นประสาทสมอง (เส้น 3, 4, และ 6) ที่สั่งการกล้ามเนื้อ และเป็นบางครั้ง มีปัญหาเกี่ยวกับวิถีประสาท supranuclear oculomotor หรือการบริโภคสิ่งที่เป็นพิษ การเห็นภาพซ้อนอาจเป็นอาการปรากฏแรก ๆ ของโรคทั่วร่างกาย โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับระบบกล้ามเนื้อและประสาท และอาจทำการทรงตัวของร่างกาย การเคลื่อนไหว และการอ่านหนังสือ ให้พิการ.

ดู การฟื้นเห็นเป็น 3 มิติและการเห็นภาพซ้อน

การเห็นเป็น 3 มิติ

การเห็นเป็น 3 มิติ (Stereopsis มาจากภาษากรีกโบราณคำว่า στερεο- คือ stereo- แปลว่า "แข็ง/มี 3 มิติ" และ ὄψις คือ opsis แปลว่า "การปรากฏ การมองเห็น") เป็นคำที่ใช้บ่อยที่สุดโดยหมายถึงการรับรู้ความใกล้ไกลและการรับรู้โครงสร้างและวัตถุที่มี 3 มิติ โดยอาศัยข้อมูลจากตาทั้งสองของบุคคลผู้มีพัฒนาการทางการเห็นเป็นภาพเดียวด้วยสองตาที่เป็นปกติ " เพราะตาของมนุษย์และของสัตว์มากมายอื่น ๆ อยู่ในตำแหน่งตามแนวนอนที่ต่างกันบนศีรษะ การเห็นเป็นภาพเดียวด้วยสองตาจะเป็นผลจากภาพสองภาพซึ่งต่างกันเล็กน้อยที่ฉายตกลงที่จอตาทั้งสอง และภาพจะแตกต่างโดยหลักเป็นตำแหน่งที่ต่างกันของวัตถุต่าง ๆ ตามแนวนอน ความแตกต่างเช่นนี้เรียกในภาษาอังกฤษว่า horizontal disparities (ความต่างตามแนวนอน) หรือโดยคำที่กว้างกว่าคือ binocular disparities (ความต่างที่สองตา) โดยเปลือกสมองส่วนการเห็นจะแปลความต่างเช่นนี้ให้เป็นการรับรู้ความใกล้ไกล (depth perception) แม้ความต่างที่เห็นด้วยสองตาจะมีอยู่ตามธรรมชาติเมื่อมองทัศนียภาพด้วยสองตา แต่ก็สามารถสร้างขึ้นโดยแสดงภาพ 2 มิติที่ต่างกันสองภาพต่อแต่ละตาต่างหาก ๆ โดยเทคนิคที่เรียกว่า stereoscopy (ภาพ 3 มิติ) ความใกล้ไกลที่รับรู้จากเทคนิคเช่นนี้เรียกในภาษาอังกฤษว่า stereoscopic depth (ความใกล้ไกลจากภาพ 3 มิติ) แต่การรับรู้ความใกล้ไกลและโครงสร้างวัตถุ 3 มิติ ก็เป็นไปได้ด้วยข้อมูลจากแค่ตาเดียว เช่น ขนาดของวัตถุที่ต่างกัน และพารัลแลกซ์เนื่องกับการเคลื่อนไหว (motion parallax) ซึ่งเป็นความแตกต่างของวัตถุหนึ่ง ๆ เมื่อเวลาผ่านไปถ้าผู้มองกำลังเคลื่อนที่อยู่" แม้ความรู้สึกใกล้ไกลในกรณีเช่นนี้ จะไม่ชัดเท่ากับที่ได้จากความต่างที่เห็นด้วยสองตา" ดังนั้น คำภาษาอังกฤษว่า stereopsis หรือ stereoscopic depth บางครั้งจึงหมายถึงการรับรู้ความใกล้ไกลด้วยการเห็นเป็นภาพเดียวด้วยสองตาโดยเฉพาะ ๆ คือหมายถึงเมื่อเรา "เห็นเป็น 3 มิติ" -->.

ดู การฟื้นเห็นเป็น 3 มิติและการเห็นเป็น 3 มิติ

การเห็นเป็นภาพเดียวด้วยสองตา

quote.

ดู การฟื้นเห็นเป็น 3 มิติและการเห็นเป็นภาพเดียวด้วยสองตา

ภาพยนตร์

กล้องถ่ายภาพเคลื่อนไหวของฟ็อกซ์ในยุคแรก ๆ ภาพยนตร์ หรือ หนัง คือ กระบวนการบันทึกภาพด้วยฟิล์ม แล้วนำออกฉายให้เห็นภาพเคลื่อนไหว ภาพที่ปรากฏบนฟิล์มภาพยนตร์หลังจากผ่านกระบวนการถ่ายทำแล้วเป็นเพียงภาพนิ่งจำนวนมาก ที่มีอิริยาบถหรือแสดงอาการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงไปทีละน้อยต่อเนื่องกันเป็นช่วงๆ ตามเรื่องราวที่ได้รับการถ่ายทำและตัดต่อมา ซึ่งอาจเป็นเรื่องราวหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง หรือเป็นการแสดงให้เหมือนจริง หรืออาจเป็นการแสดงและสร้างภาพจากจินตนาการของผู้สร้างก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นชนิดฟิล์มเนกาทีฟ (negative) หรือฟิล์มโพซิทีฟ (positive) ซึ่งได้ถูกถ่าย อัด หรือกระทำด้วยวิธีใด ๆ ให้ปรากฏรูปหรือเสียงหรือทั้งรูปและเสียง เป็นเรื่องหรือเหตุการณ์ หรือข้อความอันจักถ่ายทอดรูปหรือเสียง หรือทั้งรูปและเสียงได้ด้วยเครื่องฉายภาพยนตร์หรือเครื่องอย่างอื่นทำนองเดียวกัน และหมายความตลอดถึงฟิล์มซึ่งได้ถูกถ่าย อัด หรือทำด้วยวิธีใด ๆ ให้ปรากฏสี เพื่ออัดลงในฟิลม์ชนิดดังกล่าว เป็นสาขาที่สร้างสรรค์ผลงานทางศิลปะในรูปของภาพเคลื่อนไหว และเป็นส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรมบันเทิง.

ดู การฟื้นเห็นเป็น 3 มิติและภาพยนตร์

มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด

มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (Harvard University อ่านว่า ฮารฺเวิรฺด) มหาวิทยาลัยเอกชนในเมืองเคมบริดจ์ รัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกาได้ขึ้นชื่อว่าเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงของโลก แห่งหนึ่งและเป็นหนึ่งมหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่สุดของสหรัฐอเมริกา โดยก่อตั้งเมื่อปี 8 กันยายน พ.ศ.

ดู การฟื้นเห็นเป็น 3 มิติและมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด

มหาวิทยาลัยนอตทิงแฮม

มหาวิทยาลัยนอตทิงแฮม (University of Nottingham) เป็นสถาบันอุดมศึกษาเน้นวิจัยขนาดใหญ่มากในสหราชอาณาจักร มีชื่อเสียงด้านแพทยศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ตั้งที่เมืองนอตทิงแฮม มณฑลนอตทิงแฮมเชอร์ นอกจากที่ตั้งในเมืองนอตทิงแฮมแล้ว มหาวิทยาลัยยังขยายการสอนไปยังประเทศมาเลเซียและประเทศจีนอีกด้วย มหาวิทยาลัยนอตทิงแฮมก่อตั้งเมื่อ..

ดู การฟื้นเห็นเป็น 3 มิติและมหาวิทยาลัยนอตทิงแฮม

มหาวิทยาลัยแมคกิลล์

มหาวิทยาลัยแมคกิลล์ (McGill University) เป็นมหาวิทยาลัยที่เน้นการวิจัย ตั้งอยู่ในมอนทรีออล รัฐควิเบก ประเทศแคนาดา เป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศแคนาดา โดยก่อตั้งในปี ค.ศ.

ดู การฟื้นเห็นเป็น 3 มิติและมหาวิทยาลัยแมคกิลล์

มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย

The seal of the University of California 1868 ที่ตั้งของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ทั้ง 10 แห่งในรัฐแคลิฟอร์เนีย มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย (University of California) เป็นระบบของกลุ่มมหาวิทยาลัย 10 แห่งในรัฐแคลิฟอร์เนีย ซึ่งมีนักศึกษาทั้งหมด 191,000 คน และศิษย์เก่าในปัจจุบันมากกว่า 1,340,000 คน โดยมหาวิทยาลัยที่ตั้งแห่งแรกคือ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ ก่อตั้งในปี พ.ศ.

ดู การฟื้นเห็นเป็น 3 มิติและมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย

มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์

ในตัวมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ (University of California, Berkeley.) เป็นมหาวิทยาลัยรัฐ ตั้งอยู่ในเมืองเบิร์กลีย์ ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกของเมืองซานฟรานซิสโก ในรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา มหาวิทยาลัยก่อตั้งในปี พ.ศ.

ดู การฟื้นเห็นเป็น 3 มิติและมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์

ระบบการเห็น

ังไม่มี เผื่ออนาคต mammalian visual systemsEye -refined.svg||thumb|200px|ระบบการเห็นประกอบด้วตา และ วิถีประสาทที่เชื่อมตากับpostscript.

ดู การฟื้นเห็นเป็น 3 มิติและระบบการเห็น

รังสีเอกซ์

รังสีเอกซ์มือของอัลแบร์ต ฟอน คืลลิเคอร์ ถ่ายโดยวิลเฮล์ม คอนราด เรินต์เกน รังสีเอกซ์ (X-ray หรือ Röntgen ray) เป็นรังสีแม่เหล็กไฟฟ้า ที่มีความยาวคลื่นในช่วง 10 ถึง 0.01 นาโนเมตร ตรงกับความถี่ในช่วง 30 ถึง 30,000 เพตะเฮิรตซ์ (1015 เฮิรตซ์) ในเบื้องต้นมีการใช้รังสีเอกซ์สำหรับถ่ายภาพเพื่อการวินิจฉัยโรค และงานผลึกศาสตร์ (crystallography) รังสีเอกซ์เป็นการแผ่รังสีแบบแตกตัวเป็นไอออน และมีอันตรายต่อมนุษย์ รังสีเอกซ์ค้นพบโดยวิลเฮล์ม คอนราด เรินต์เกน เมื่อ ค.ศ.

ดู การฟื้นเห็นเป็น 3 มิติและรังสีเอกซ์

รางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์

หรียญรางวัลโนเบล รางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ (Nobelpriset i fysiologi eller medicin, Nobel Prize in Physiology or Medicine) จัดโดยมูลนิธิโนเบล มีการมอบทุกปีให้แก่การค้นพบที่โดดเด่นในสาขาวิทยาศาสตร์สิ่งมีชีวิตและแพทยศาสตร์ รางวัลโนเบลสาขาดังกล่าวเป็นหนึ่งในห้าสาขา ริเริ่มในปี..

ดู การฟื้นเห็นเป็น 3 มิติและรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์

รูปแบบเอกสารใช้ได้หลายระบบ

รูปแบบเอกสารใช้ได้หลายระบบ (portable document format (ย่อ: pdf)) คือ รูปแบบแฟ้มลักษณะหนึ่ง ที่พัฒนาโดยบริษัทอะโดบีซิสเต็มส์ สำหรับแสดงเอกสารที่สามารถใช้งานได้ในทุกระบบปฏิบัติการ และยังคงลักษณะเอกสารเหมือนต้นฉบับ เอกสารในรูปแบบนี้สามารถจัดเก็บ ตัวอักษร รูปภาพ รูปลายเส้น ในลักษณะเป็นหน้าหนังสือ ตั้งแต่ หนึ่งหน้า หรือหลายพันหน้าได้ในแฟ้มเดียวกัน รูปแบบเป็นมาตรฐานที่เปิดให้คนอื่นสามารถเขียนโปรแกรมมาทำงานร่วมกันได้ รูปแบบนี้ เหมาะสมสำหรับงานที่ต้องการให้แสดงผลลักษณะเดียวกับต้นฉบับ ซึ่งแตกต่างกับการใช้งานรูปแบบอื่น เช่น HTML เพราะการแสดงผลของ HTML จะขึ้นอยู่กับโปรแกรมเบราว์เซอร์และคอมพิวเตอร์ที่ใช้ และเพราะฉะนั้น จะแสดงผลต่างกัน ถ้าใช้ต่างกัน.

ดู การฟื้นเห็นเป็น 3 มิติและรูปแบบเอกสารใช้ได้หลายระบบ

ลานสายตา

ำว่า ลานสายตา"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑" (visual field) มักใช้เป็นคำไวพจน์ของคำว่า ขอบเขตภาพ (field of view) แม้ว่าบททั้งสองจริง ๆ มีความหมายไม่เหมือนกัน คือ ลานสายตามีความหมายว่า "ความรู้สึกทางตาเป็นแถวตามลำดับพื้นที่ที่สามารถสังเกตการณ์ได้ในการทดลองทางจิตวิทยาด้วยการพินิจภายใน (โดยบุคคลนั้น)" ในขณะที่คำว่า ขอบเขตภาพ "หมายถึงวัตถุทางกายภาพและต้นกำเนิดแสงในโลกภายนอกที่เข้ามากระทบกับจอตา" กล่าวโดยอีกนัยหนึ่งก็คือ ขอบเขตภาพก็คือสิ่งที่เป็นต้นกำเนิดของแสงที่มากระทบกับจอตา ซึ่งเป็นข้อมูลเข้าของระบบสายตาในสมอง เป็นระบบที่แปลผลเป็นลานสายตาเป็นข้อมูลออก ลานสายตานั้นมีด้านซ้ายขวาบนล่างที่ไม่สมดุลกัน ระดับความชัดก็ไม่เสมอกัน คือมีการเห็นได้ชัดที่สุดที่กลางลานสายตา บทนี้มักใช้บ่อย ๆ ในการวัดสายตา (optometry) และในจักษุวิทยา ที่มีการตรวจลานสายตาเพื่อกำหนดว่า มีความเสียหายจากโรคที่เป็นเหตุแก่ดวงมืดในลานเห็น (scotoma) หรือจากการสูญเสียการเห็น หรือจากการลดระดับความไวในการเห็น หรือไม.

ดู การฟื้นเห็นเป็น 3 มิติและลานสายตา

ลิง

แสม (''Macaca fascicularis'') ลิงที่คุ้นเคยและพบได้บ่อยที่สุดในประเทศไทย อาจพบได้ถึงในชุมชนเมืองhttp://1081009.tourismthailand.org/trip/dcp?id.

ดู การฟื้นเห็นเป็น 3 มิติและลิง

ลิปดา

ลิปดา (minute of arc, arcminute หรือ MOA) เป็นหน่วยหนึ่งในการวัดมุม มีค่าเท่ากับ ของหนึ่งองศา เนื่องจากหนึ่งองศาเท่ากับ ของวงกลม ดังนั้น 1 ลิปดาจึงเท่ากับ ของวงกลม หน่วยวัดขนาดเล็กเช่นนี้มักใช้ในการวัดค่าที่ละเอียดมากๆ เช่นในวิชาดาราศาสตร์หรือการกำหนดพิกัดการยิงอาวุธ ส่วน พิลิปดา (second of arc, arcsecond) (บ้างก็เขียนว่า วิลิปดา) เป็นหน่วยที่มีขนาดเป็น ของหนึ่งลิปดาอีกต่อหนึ่ง หรือเท่ากับ องศา หรือเท่ากับ ของวงกลม ลิปดาและพิลิปดาเป็นคำไทย การเขียน "ฟิลิปดา" ไม่ถูกต้องและมาจากความเข้าใจที่ผิดว่าคำนี้มาจากภาษาต่างประเทศ ตารางแสดงสัดส่วนและความสัมพันธ์ระหว่าง องศา ลิปดา พิลิปดา และมิลลิพิลิปดา แสดงได้ดังนี้.

ดู การฟื้นเห็นเป็น 3 มิติและลิปดา

วารสารวิชาการสาขาวิทยาศาสตร์

ในการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ วารสารวิทยาศาสตร์ เป็นสิ่งพิมพ์เผยแพร่ตามกำหนดเวลา ซึ่งตั้งใจเพื่อส่งเสริมความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งมักเป็นการรายงานการวิจัยใหม่ ปัจจุบันมีวารสารวิทยาศาสตร์หลายพันฉบับกำลังตีพิมพ์อยู่ และมีอีกมากที่เคยตีพิมพ์มาก่อนช่วงใดช่วงหนึ่งในอดีต วารสารส่วนใหญ่ศึกษาเฉพาะเรื่องอย่างสูง แม้วารสารเก่าแก่ที่สุดบางฉบับ เช่น เนเจอร์ จะตีพิมพ์บทความและเอกสารวิทยาศาสตร์ในวิทยาศาสตร์สาขาต่าง ๆ ก็ตาม วารสารวิทยาศาสตร์มีบทความซึ่งผ่านการกลั่นกรอง ในความพยายามที่จะประกันว่าบทความเป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพของวารสาร และความถูกต้องตามวิทยาศาสตร์ แม้วารสารวิทยาศาสตร์มองเผิน ๆ แล้วจะคล้ายกับนิตยสารมืออาชีพ แต่แท้จริงแล้วทั้งสองค่อนข้างแตกต่างกันทีเดียว วารสารวิทยาศาสตร์ฉบับต่าง ๆ จะมีอ่านโดยบังเอิญน้อยครั้งนัก เพราะคนนิยมนิตยสารมากกว่า การพิมพ์ผลงานวิจัยเป็นส่วนสำคัญของระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์ หากงานวิจัยกำลังอธิบายถึงการทดลองหรือการคำนวณ งานเหล่านี้จะต้องให้รายละเอียดเพียงพอที่นักวิจัยอิสระจะทำการทดลองหรือการคำนวณซ้ำเพื่อพิสูจน์ผล บทความวารสารแต่ละบทนี้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของระบบวิธีทางวิทยาศาสตร์อย่างถาวร ประวัติศาสตร์วารสารวิทยาศาสตร์เริ่มตั้งแต..

ดู การฟื้นเห็นเป็น 3 มิติและวารสารวิชาการสาขาวิทยาศาสตร์

วิดีโอเกม

กม ''ป็อง'' ถือได้ว่าเป็นวิดีโอเกมส์ชนิดแรกที่เกิดขึ้น เกม ''Space Invaders'' เป็นอีกหนึ่งเกมดังในยุคกำลังพัฒนาของวิดีโอเกม เกม ''Pac-Man'' เป็นเกมที่โด่งดังที่สุดในขณะวิดีโอเกมกำลังพัฒนา วิดีโอเกม (Video game) คือ เครื่องเกมอิเล็กทรอนิกส์ที่มนุษย์ใช้ส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ (user interface) ส่งผลการกระทำ (input) กลับเข้าไปยังหน่วยประมวลผลกลาง (Central Processor Unit) ในตัวเครื่อง ให้คิดคำนวณแล้วแสดงผลโต้ตอบกลับมาด้วย แสง-เสียง-การสั่น-หรือภาพบนจอภาพ วิดีโอ คำว่า วิดีโอ ในวิดีโอเกม แต่เดิมหมายถึงอุปกรณ์แสดงภาพแบบแรสเตอร์ แต่ปัจจุบันสามารถใช้เรียกอุปกรณ์แสดงภาพใด ๆ ก็ได้ที่สร้างภาพสองมิติหรือสามมิติขึ้นมา ตัวอย่างเช่นคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล และเครื่องเล่นวิดีโอเกม อุปกรณ์เหล่านี้เป็นไปได้ตั้งแต่เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ ไปจนถึงอุปกรณ์มือถือขนาดเล็ก วิดีโอเกมแบบเฉพาะอย่างเช่น เกมตู้ เคยมีแพร่หลายในอดีต แต่ปัจจุบันค่อย ๆ มีใช้น้อยลง วิดีโอเกมได้พัฒนาไปจนกลายเป็นอุตสาหกรรมและงานศิลปะ อุปกรณ์นำข้อมูลเข้าเป็นที่ใช้กันในการบังคับวิดีโอเกมเรียกว่า อุปกรณ์ควบคุมเกม (game controller) และแตกต่างกันไปในเครื่องเล่นแบบต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น อุปกรณ์ควบคุมอาจประกอบด้วยเพียงแค่ปุ่มกดและก้านควบคุม (joystick) หรืออาจมีปุ่มกดถึงสิบปุ่ม และอาจจะมีมากกว่าหนึ่งก้านควบคุมก็ได้ เกมคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลยุคแรกจำเป็นต้องใช้คีย์บอร์ดในการเล่นเกม หรือต้องการให้ผู้ใช้ซื้อก้านควบคุมที่มีปุ่มกดอย่างน้อยหนึ่งปุ่มด้วย เกมคอมพิวเตอร์สมัยใหม่จำนวนมากให้ผู้เล่นหรือต้องการให้ผู้เล่นใช้คีย์บอร์ดควบคู่ไปกับเมาส์ อุปกรณ์ควบคุมเกมที่พบได้บ่อยกันคือ เกมแพด เมาส์ คีย์บอร์ด และก้านควบคุม ในหลายปีที่ผ่านมานี้ มีวิธีการนำข้อมูลเข้าเพิ่มเติมเช่น การให้ผู้เล่นสังเกตการณ์ในเครื่องเล่นที่ใช้กล้อง และระบบจอสัมผัสบนโทรศัพท์มือถือ วิดีโอเกมโดยทั่วไปใช้วิธีการเพิ่มเติมมากมายเพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์และสารสนเทศให้กับผู้เล่น เสียงออดิโอในวิดีเกมนั้นเกือบจะเป็นสากล คือใช้อุปกรณ์ผลิตเสียง อย่างเช่น ลำโพง และหูฟัง ผลป้อนกลับอาจมาจากอุปกรณ์ต่อพ่วงสัมผัส (haptic peripheral) เช่นระบบการสั่น หรือผลป้อนกลับโดยใช้กำลัง (force feedback) บางครั้งการสั่นใช้กระตุ้นผลป้อนกลับแบบใช้กำลัง ผู้เล่นบางส่วนเชื่อว่าวิดีโอเกมสามารถพัฒนาทักษะทางจิตใจได้.

ดู การฟื้นเห็นเป็น 3 มิติและวิดีโอเกม

ศาสตราจารย์

ตราจารย์ (อักษรย่อ ศ.) คือผู้มีความเชี่ยวชาญในศิลปะวิทยาการเฉพาะด้าน หรือผู้สอนผู้มีความชำนาญระดับสูง ศาสตราจารย์อาจได้รับการคัดเลือกแล้วแต่งตั้งตามตำแหน่งทางวิชาการ หรือมีคุณวุฒิในระดับที่ควรแก่การยกย่อง มีคนในวงการอ้างถึงและยกผลงานให้เป็นทฤษฎี หรือมีผลงานวิจัยที่ส่งผลกระทบโดยกว้าง ความหมายของ ศาสตราจารย์ (professor) แตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ สำหรับประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษในกลุ่มเครือจักรภพ (ยกเว้นแคนาดาและไอร์แลนด์) คำนี้หมายถึง อาจารย์อาวุโสที่ดำรงตำแหน่งระดับภาควิชา โดยเฉพาะหัวหน้าภาควิชา หรือหมายถึงตำแหน่งที่ได้รับเป็นการเฉพาะบุคคล สำหรับแคนาดาและสหรัฐอเมริกา ศาสตราจารย์เป็นตำแหน่งสำหรับอาจารย์อาวุโสในสถาบันอุดมศึกษาทั่วไป ตำแหน่งศาสตราจารย์ในอเมริกาและแคนาดาเปิดกว้างสำหรับอาจารย์จำนวนมากกว่าตำแหน่งในกลุ่มเครือจักรภพ หลายประเทศในทวีปยุโรป อาทิ เยอรมนี ฝรั่งเศส สเปน อิตาลี และกลุ่มประเทศสแกนดิเนเวีย คำว่า ศาสตราจารย์ ใช้เป็นคำนำหน้าชื่อตามกฎหมาย ซึ่งมีจำนวนจำกัด เช่นเดียวกับกลุ่มประเทศในเครือจักรภพ สำหรับประเทศไทยคำว่า ศาสตราจารย์ สามารถใช้นำหน้าชื่อได้ตามที่บุคคลนั้นต้องการ ประเทศที่พูดภาษาสเปนในลาตินอเมริกา คำว่า ศาสตราจารย์ (profesor) ใช้แก่ผู้ที่ทำหน้าที่สอนในโรงเรียน สถาบัน โรงเรียนเทคนิค โรงเรียนอาชีวศึกษา วิทยาลัย และมหาวิทยาลัย โดยไม่คำนึงถึงระดับของเนื้อหาวิชา หรือระดับชั้นหรืออายุของนักเรียนนักศึกษา ซึ่งรวมไปถึงระดับอนุบาล ประถม มัธยมด้วยเป็นต้น ถึงเช่นนั้นก็ตาม ศาสตราจารย์ที่สอนอยู่ในมหาวิทยาลัยจะระบุว่าเป็น ศาสตราจารย์มหาวิทยาลั.

ดู การฟื้นเห็นเป็น 3 มิติและศาสตราจารย์

สมมติฐาน

มมติฐาน (หรือสะกดว่า สมมุติฐาน) หรือ ข้อสันนิษฐาน คือการอธิบายความคาดหมายล่วงหน้าสำหรับปรากฏการณ์ที่สามารถสังเกตได้ มักใช้เป็นมูลฐานแห่งการหาเหตุผล การทดลอง หรือการวิจัย ในทางวิทยาศาสตร์ นักวิทยาศาสตร์จะตั้งสมมติฐานจากสิ่งที่สังเกตการณ์ได้ก่อนหน้านี้ ซึ่งอาจไม่สามารถอธิบายได้อย่างชัดเจนด้วยทฤษฎีที่มีอยู่ในปัจจุบัน สำหรับในความหมายอื่น สมมติฐานอาจเป็นบรรพบทหรือญัตติที่จัดตั้งขึ้น เพื่อใช้ในการสรุปคำตอบของปัญหาประเภท ถ้าเป็นเช่นนี้ แล้วจะเป็นเช่นไร😔.

ดู การฟื้นเห็นเป็น 3 มิติและสมมติฐาน

สมอง

มอง thumb สมอง คืออวัยวะสำคัญในสัตว์หลายชนิดตามลักษณะทางกายวิภาค หรือที่เรียกว่า encephalon จัดว่าเป็นส่วนกลางของระบบประสาท คำว่า สมอง นั้นส่วนใหญ่จะเรียกระบบประสาทบริเวณหัวของสัตว์มีกระดูกสันหลัง คำนี้บางทีก็ใช้เรียกอวัยวะในระบบประสาทบริเวณหัวของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังอีกด้วย สมองมีหน้าที่ควบคุมและสั่งการการเคลื่อนไหว, พฤติกรรม และภาวะธำรงดุล (homeostasis) เช่น การเต้นของหัวใจ, ความดันโลหิต, สมดุลของเหลวในร่างกาย และอุณหภูมิ เป็นต้น หน้าที่ของสมองยังมีเกี่ยวข้องกับการรู้ (cognition) อารมณ์ ความจำ การเรียนรู้การเคลื่อนไหว (motor learning) และความสามารถอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ สมองประกอบด้วยเซลล์สองชนิด คือ เซลล์ประสาท และเซลล์เกลีย เกลียมีหน้าที่ในการดูแลและปกป้องนิวรอน นิวรอนหรือเซลล์ประสาทเป็นเซลล์หลักที่ทำหน้าที่ส่งข้อมูลในรูปแบบของสัญญาณไฟฟ้าที่เรียกว่า ศักยะงาน (action potential) การติดต่อระหว่างนิวรอนนั้นเกิดขึ้นได้โดยการหลั่งของสารเคมีชนิดต่าง ๆ ที่รวมเรียกว่า สารสื่อประสาท (neurotransmitter) ข้ามบริเวณระหว่างนิวรอนสองตัวที่เรียกว่า ไซแนปส์ สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น แมลงต่าง ๆ ก็มีนิวรอนอยู่นับล้านในสมอง สัตว์มีกระดูกสันหลังขนาดใหญ่มักจะมีนิวรอนมากกว่าหนึ่งร้อยล้านตัวในสมอง สมองของมนุษย์นั้นมีความพิเศษกว่าสัตว์ตรงที่ว่ามีความซับซ้อนและใหญ่กว่าเมื่อเทียบกับขนาดตัวของมนุษ.

ดู การฟื้นเห็นเป็น 3 มิติและสมอง

หมากรุก

ตุรังกา หมากรุก เป็นเกมกระดานชนิดหนึ่ง มีลักษณะจำลองจากการสงคราม ใช้เล่นระหว่างผู้เล่น 2 คน แต่ละฝ่ายต้องพยายามรุกจนขุนของอีกฝ่ายให้ได้(ทำให้อีกฝ่ายไม่สามารถเดินต่อไปได้) โดยกติกาและตัวหมากอื่นๆ จะแตกต่างกันแล้วแต่ชนิดของหมากรุก.

ดู การฟื้นเห็นเป็น 3 มิติและหมากรุก

อัตวิสัย

อัตวิสัย หรือ จิตวิสัย (subjectivity) หมายถึงมุมมองหรือความคิดเห็นของบุคคล โดยเฉพาะสิ่งที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึก ความเชื่อ หรือความต้องการ อาจหมายถึงแนวความคิดส่วนบุคคลที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้ ซึ่งตรงข้ามกับความรู้และความเชื่อที่มีพื้นฐานอยู่บนข้อเท็จจริง ในทางปรัชญา คำนี้มักมีความหมายตรงข้ามกับ ปรวิสัย อัตวิสัยเป็นทัศนะที่มีความเชื่อว่า การมีอยู่ หรือ ความจริงของสิ่งสิ่งหนึ่งอยู่กับตัวเราเองเป็นคนตัดสิน เช่น คุณได้กลิ่นน้ำหอมยี่ห้อนี้แล้วหอม แต่ในคนอื่นเมื่อได้กลิ่นแล้วเหม็นก็ได้.

ดู การฟื้นเห็นเป็น 3 มิติและอัตวิสัย

ความบอดการเห็นเป็น 3 มิติ

วามบอดการเห็นเป็น 3 มิติ หรือ ความไม่เห็นเป็น 3 มิติ (Stereoblindness, stereo blindness) เป็นความไม่สามารถเห็นเป็น 3 มิติ ทำให้ไม่สามารถรู้ความใกล้ไกลด้วยตาทั้งสองผ่านการรวมและเปรียบเทียบภาพจากตาทั้งคู่โดยสมอง บุคคลที่สามารถใช้ตาเพียงข้างเดียวจะมีภาวะนี้แน่นอน แต่ก็อาจเกิดเมื่อตาไม่สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างสมควร ผู้ที่ไม่เห็นเป็น 3 มิติแต่มีตาดีทั้งสองข้างก็ยังใช้การเห็นเป็นภาพเดียวด้วยสองตาได้ในระดับหนึ่ง แม้จะน้อยกว่าคนปกติ งานศึกษาหนึ่งได้แสดงว่า เมื่อให้ตัดสินทิศทางการหมุนของรูปทรงกระบอกโปร่งใสแบบเสมือน ผู้ที่ไม่เห็นเป็น 3 มิติจะทำด้วยสองตาได้ดีกว่าใช้ตาข้างที่ถนัด และปรากฏว่า ตัดสินทิศทางของรูปที่หมุนในตาแต่ละข้างต่างหาก ๆ แล้วรวมการตัดสิน ไม่ได้อาศัยความต่างของรูปที่เห็นโดยตาสองข้าง (ที่คนปกติจะใช้) นอกจากนั้น สิ่งเร้าแบบเคลื่อนไหวที่เห็นด้วยสองตา ดูจะมีอิทธิพลต่อความรู้สึกว่าตัวเองเคลื่อนไหวของบุคคล อีกอย่างหนึ่ง ในบางกรณี ตาแต่ละข้างจะมีบทบาทในการมองเห็นรอบนอก (peripheral vision) ในแต่ละข้างของขอบเขต.

ดู การฟื้นเห็นเป็น 3 มิติและความบอดการเห็นเป็น 3 มิติ

ความใส่ใจ

วามใส่ใจกับการเล่นเกม ความใส่ใจ"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑" (Attention) เป็นกระบวนการทางปัญญา (cognitive process) ที่เลือกที่จะเข้าไปใส่ใจหรือมีสมาธิในอะไรอย่างหนึ่งเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมรอบตัว โดยที่ไม่สนใจในสิ่งอื่น มีการกล่าวถึงความใส่ใจว่า เป็นการจัดสรรทรัพยากรที่ใช้ในการแปลผลข้อมูลจากประสาทสัมผัส ความใส่ใจเป็นประเด็นงานวิจัยที่มีการศึกษามากที่สุดประเด็นหนึ่งในสาขาจิตวิทยาและประสาทวิทยาศาสตร์วิทยาการปัญญา (cognitive neuroscience) และยังเป็นประเด็นการศึกษาที่สำคัญในสาขาการศึกษา จิตวิทยา และประสาทวิทยาศาสตร์ ประเด็นงานวิจัยที่ยังเป็นไปอย่าต่อเนื่องในปัจจุบันรวมทั้ง การหาแหล่งกำเนิดของสัญญาณในสมองที่มีผลเป็นเป็นความใส่ใจ ผลของสัญญาณต่อการเลือกตัวกระตุ้น (neuronal tuning) ของเซลล์ประสาทรับความรู้สึก และความสัมพันธ์ของความใส่ใจกับกระบวนการทางประชานอื่น ๆ เช่นหน่วยความจำใช้งาน (working memoryหน่วยความจำใช้งาน (working memory) คือระบบความจำที่รองรับข้อมูลชั่วคราวซึ่งสมองใช้ในการประมวลผล เช่น จะจำเบอร์โทรศัพท์อย่างชั่วคราวได้ก็จะต้องใช้ระบบนี้) และ vigilance นอกจากนี้แล้ว ก็ยังมีประเด็นงานวิจัยใหม่ ๆ ที่ตรวจสอบผลของการบาดเจ็บในกะโหลกศีรษะต่อความใส่ใจ คำว่า ความใส่ใจนั้น อาจจะมีความหมายต่าง ๆ กันแล้วแต่เชื้อชาติวัฒนธรรม ความสัมพันธ์ระหว่างความใส่ใจกับความรู้สึกตัว (พิชาน) เป็นเรื่องที่ซับซ้อนจนกระทั่งว่า มีการศึกษาทางด้านปรัชญามาตั้งแต่ในสมัยโบราณจนมาถึงในปัจจุบัน แต่ถึงแม้ว่าจะเป็นเรื่องที่เริ่มขึ้นตั้งแต่โบราณ แต่ก็ยังมีความเกี่ยวข้องกับประเด็นต่าง ๆ ในปัจจุบันอย่างสำคัญเริ่มตั้งแต่ในด้านสุขภาพจิต จนกระทั่งถึงงานวิจัยและพัฒนาปัญญาประดิษ.

ดู การฟื้นเห็นเป็น 3 มิติและความใส่ใจ

ความเชื่อถือได้

ในการวัดทางสถิติและทางจิตวิทยา คำว่า ความเชื่อถือได้ (Reliability) เป็นความคงเส้นคงวาโดยทั่วไปของวิธีการวัด/การทดสอบอย่างหนึ่ง ซึ่งเรียกว่าเชื่อถือได้ ถ้าให้ผลคล้าย ๆ กันภายใต้สถานการณ์ที่ตรงกัน หรือว่า "เป็นลักษณะของเซ็ตค่าวัด/ค่าทดสอบเซ็ตหนึ่ง ที่สัมพันธ์กับความคลาดเคลื่อนโดยสุ่มเนื่องจากวิธีการวัด เป็นความคลาดเคลื่อนที่อาจรวมอยู่ในค่าวัด ค่าวัดที่เชื่อถือได้สูงจะแม่นยำ ทำซ้ำได้ และคงเส้นคงวาจากการวัดครั้งหนึ่งเทียบกับอีกครั้งหนึ่ง นั่นก็คือ ถ้าวิธีการทดสอบอย่างเดียวกันใช้ซ้ำกับกลุ่มทดสอบ ก็จะได้ผลโดยหลักเหมือนกัน สัมประสิทธิ์ความน่าเชื่อถือที่มีค่าต่าง ๆ ตั้งแต่ 0.00 (ผิดพลาดมาก) จนถึง 1.00 (ไม่มีความผิดพลาด) ปกติจะใช้บ่งค่าผิดพลาดที่มีในค่าวัด" ยกตัวอย่างเช่น ค่าวัดน้ำหนักและความสูงของคนบ่อยครั้งเชื่อถือได้ดีมาก หมวดหมู่:การวัดทางจิตวิทยา หมวดหมู่:การทดสอบทางจิตวิทยา หมวดหมู่:สาขาของจิตวิทยา หมวดหมู่:คุณภาพชีวิต หมวดหมู่:การวิจัยตลาด หมวดหมู่:การวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือ หมวดหมู่:สถิติศาสตร์ หมวดหมู่:จิตวิทยา en:Reliability.

ดู การฟื้นเห็นเป็น 3 มิติและความเชื่อถือได้

ความเห็นพ้องทางวิทยาศาสตร์

วามเห็นพ้องทางวิทยาศาสตร์ (Scientific consensus) หรือ มติส่วนใหญ่ของนักวิทยาศาสตร์ เป็นข้อตัดสิน จุดยืน และความเห็น โดยรวม ๆ ของชุมชนนักวิทยาศาสตร์ในสาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง คำว่า มติส่วนใหญ่ หมายถึงการเห็นพ้องกันโดยทั่ว ๆ ไป ไม่ใช่ความเป็นเอกฉันท์ นักวิทยาศาสตร์จะถึงมติส่วนใหญ่ได้ก็ต้องอาศัยงานประชุม กระบวนการตีพิมพ์ (เช่นหนังสือหรือวารสารวิทยาศาสตร์) การทำงานทดลองซ้ำ (ที่ได้ผลอย่างเดียวกันโดยผู้อื่น) และกระบวนการทบทวนระดับเดียวกัน ซึ่งรวมกันมีผลเป็นสถานการณ์ที่นักวิทยาศาสตร์ในสาขานั้น บ่อยครั้งสามารถรู้ได้ว่าอะไรเป็นมติส่วนใหญ่ แต่การบอกบุคคลอื่น ๆ นอกสาขาว่า มีมติส่วนใหญ่ อาจจะเป็นเรื่องยาก เพราะว่า การอภิปรายที่เป็นเรื่องธรรมดาของความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ อาจจะปรากฏต่อบุคคลภายนอกว่าเป็นการต่อสู้กัน บางครั้ง จะมีสถาบันวิทยาศาสตร์ที่พิมพ์คำแถลงการณ์เกี่ยวกับจุดยืน เพื่อที่จะสื่อสารใจความสำคัญเกี่ยวกับประเด็นใดประเด็นหนึ่ง จากบุคคลภายในไปยังกลุ่มบุคคลภายนอก ในกรณีที่ไม่มีข้อโต้เถียงกันมากในประเด็นใต้การศึกษา การถึงมติส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องที่ค่อนข้างตรงไปตรงมา อาจจะมีการอ้างถึงมติส่วนใหญ่ของนักวิทยาศาสตร์ในการอภิปรายทั่วไปหรือทางการเมือง เกี่ยวกับประเด็นที่ยังเป็นเรื่องโต้เถียงยังไม่ยุติในมวลชน แต่ความจริงไม่ใช่เรื่องที่ยังตกลงกันไม่ได้ในหมู่นักวิทยาศาสตร์ เช่นประเด็นเรื่องวิวัฒนาการ หรือเรื่องการฉีดวัคซีนรวมแบบ MMR ที่ไม่ทำให้เกิดโรคต่าง ๆ รวมทั้งออทิซึม หรือเรื่องโลกร้อน.

ดู การฟื้นเห็นเป็น 3 มิติและความเห็นพ้องทางวิทยาศาสตร์

ความเปรียบต่าง

วามเปรียบต่าง (Contrast) เป็นความแตกต่างระหว่างความส่องสว่างหรือสีที่ทำให้วัตถุหนึ่ง (หรือภาพของมัน) สามารถแยกแยะมองเห็นได้ ในการรับรู้ทางตาตามธรรมชาติ ความเปรียบต่างจะกำหนดโดยความต่างระหว่างสีและความสว่างของวัตถุเทียบกับวัตถุอื่น ๆ ที่อยู่ภายในขอบเขตภาพเดียวกัน ระบบการเห็นในมนุษย์จะไวต่อความแตกต่างยิ่งกว่าความส่องสว่างแบบสัมบูรณ์ โดยเราสามารถรับรู้โลกได้อย่างคล้าย ๆ กันแม้แสงจะต่างกันอย่างมหาศาลภายในวันเดียวกันหรือในที่ต่าง ๆ กัน.

ดู การฟื้นเห็นเป็น 3 มิติและความเปรียบต่าง

ตา

ม่านตา (iris) คือ ส่วนที่มีสีต่างๆกัน thumb ตา คือส่วนรับแสงสะท้อนของร่างกาย ทำให้สามารถมองเห็น และรับรู้สิ่งต่างๆ รอบตัวได้ ตาของสัตว์ต่างๆ มีรูปแบบที่ต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็นตาของ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม, สัตว์ปีก, สัตว์เลื้อยคลาน และสัตว์น้ำ โดยดวงตาของสัตว์ที่พัฒนาแล้ว มักจะมีเพียง 2 ดวง และ อยู่ด้านหน้าของใบหน้า เพื่อการมองเห็นแบบ 3 มิติ ตา คือ อวัยวะที่ทำหน้าที่รับแสง โดยสัตว์แต่ละชนิดจะมีอวัยวะรับแสงที่แตกต่างกัน ตาที่เรียบง่ายที่สุดจะไม่สามารถทำอะไรได้เลยเว้นแต่การรับรู้ว่าสิ่งแวดล้อมนั้นมืดหรือสว่างเพื่อให้สามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมได้ เช่น กลางวันหรือกลางคืน เป็นต้น แต่จะไม่สามารถรับรู้ออกมาเป็นภาพได้ ตาที่ซับซ้อนกว่าจะมีรูปทรงและสีที่เป็นเอกลักษณ์ ในระบบตาที่ซับซ้อน ตาแต่ละดวงจะสามารถรับภาพที่มีบริเวณที่ซ้อนทับกันได้ เพื่อให้สมองสามารถรับรู้ถึงความลึก หรือ ความเป็นสามมิติของภาพ เช่น ระบบตาของมนุษย์ อย่างไรก็ตาม ตาของสัตว์บางชนิด เช่น กระต่ายและกิ้งก่า ได้ถูกออกแบบมาให้มีส่วนของภาพที่ซ้อนทับกันน้อยที่สุด เลนส์ ที่อยู่ส่วนข้างหน้าของตาทำหน้าที่เช่นเดียวกับเลนส์ของกล้อง เมื่อคนเราแก่ตัวลง ตาของคนแก่จะไม่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน และต้องใช้แว่น หรือคอนแทคท์เลนส์ จึงจะสามารถมองเห็นชัดเจนได้.

ดู การฟื้นเห็นเป็น 3 มิติและตา

ตามัว

ตามัว.

ดู การฟื้นเห็นเป็น 3 มิติและตามัว

ตาเหล่

ตาเหล่ หรือ ตาเข (isbn) เป็นภาวะที่ตาทั้งสองไม่มองตรงที่เดียวกันพร้อม ๆ กันเมื่อกำลังจ้องดูวัตถุอะไรอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยตาข้างหนึ่งจะเบนไปในทางใดทางหนึ่งอย่างไม่คล้องจองกับตาอีกข้างหนึ่ง/หรือกับสิ่งที่มอง และตาทั้งสองอาจสลับเล็งมองที่วัตถุ และอาจเกิดเป็นบางครั้งบางคราวหรือเป็นตลอด ถ้ามีอาการเป็นช่วงเวลานานในวัยเด็ก ก็อาจทำให้ตามัวหรือเสียการรู้ใกล้ไกล แต่ถ้าเริ่มในวัยผู้ใหญ่ ก็มักจะทำให้เห็นภาพซ้อนมากกว่า อาการอาจมีเหตุจากการทำงานผิดปกติของกล้ามเนื้อตา สายตายาว ปัญหาในสมอง การบาดเจ็บ หรือการติดเชื้อ ปัจจัยเสี่ยงรวมทั้งการคลอดก่อนกำหนด อัมพาตสมองใหญ่ และประวัติการเป็นโรคในครอบครัว มีแบบต่าง ๆ รวมทั้ง เหล่เข้า (esotropia) ที่ตาเบนเข้าหากัน เหล่ออก (exotropia) ที่ตาเบนออกจากกัน และเหล่ขึ้น (hypertropia) ที่ตาสูงต่ำไม่เท่ากัน อาจเป็นแบบเหล่ทุกที่ที่มอง (comitant คือตาเหล่กลอกคู่) หรืออาจเหล่ไม่เท่ากันแล้วแต่มองที่ไหน (incomitant) การวินิจฉัยอาจทำโดยสังเกตว่าแสงสะท้อนที่ตาไม่ตรงกับกลางรูม่านตา มีภาวะอีกอย่างที่ทำให้เกิดอาการคล้าย ๆ กัน คือ โรคเส้นประสาทสมอง (cranial nerve disease) การรักษาจะขึ้นอยู่กับรูปแบบและเหตุ ซึ่งอาจรวมการใช้แว่นตาและการผ่าตัด มีบางกรณีที่มีผลดีถ้าผ่าตัดตั้งแต่ต้น ๆ เป็นโรคที่เกิดในเด็กประมาณ 2% คำภาษาอังกฤษมาจากคำกรีกว่า strabismós ซึ่งแปลว่า "เหล่ตา".

ดู การฟื้นเห็นเป็น 3 มิติและตาเหล่

ซิกน่า

ริษัท ซิกน่า ประกันภัย จำกัด(มหาชน) เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการนำเสนอแผนประกันสุขภาพและประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคลผ่านช่องทางเทเลมาร์เก็ตติ้งและการตลาดทางตรงในประเทศไทย ผลิตภัณฑ์ของซิกน่า ประเทศไทย คือ แผนประกันสุขภาพ แผนประกันโรคร้ายแรง แผนประกันอุบัติเหตุ และแผนประกันการเดินทางที่เป็นนวัตกรรม เพื่อให้ความคุ้มครองแก่ลูกค้ารายบุคคลรวมถึงบุคคลในครอบครัว.

ดู การฟื้นเห็นเป็น 3 มิติและซิกน่า

ซูเปอร์มาร์เก็ต

ซูเปอร์มาร์เก็ตแห่งหนึ่งในแคนาดา ซูเปอร์มาร์เก็ต (Supermarket) หรือ ร้านสรรพาหาร (มาจาก สรรพ + อาหาร) ในภาษาไทย คือร้านค้าแบบบริการตนเองอันเป็นรูปแบบหนึ่งของร้านขายของชำ ซึ่งเสนอขายสินค้าอาหารและของใช้ในครัวเรือนหลายประเภทโดยจัดจำแนกไว้ตามแผนก ซูเปอร์มาร์เก็ตมีขนาดใหญ่กว่าและมีสินค้าให้เลือกซื้อหลากหลายมากกว่าร้านขายของชำแบบดั้งเดิม และยังจำหน่ายสินค้าที่พบได้ปกติในร้านสะดวกซื้อ แต่ก็ยังเล็กกว่าและมีสินค้าจำกัดประเภทกว่าไฮเปอร์มาร์เก็ตหรือซูเปอร์สโตร์ ซูเปอร์มาร์เก็ตโดยทั่วไปประกอบด้วยแผนกเนื้อสัตว์ พืชผักผลไม้ ผลิตภัณฑ์นม และขนมปัง พร้อมกับพื้นที่บนชั้นซึ่งสงวนไว้สำหรับสินค้าบรรจุกระป๋องและสินค้าหีบห่อ เช่นเดียวกับรายการต่าง ๆ ที่ไม่ใช่อาหาร เช่นผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด เภสัชกรรม และสินค้าเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยง ซุปเปอร์มาร์เก็ตส่วนใหญ่ก็จำหน่ายผลิตภัณฑ์ในครัวเรือนอื่น ๆ ที่มีการบริโภคอย่างสม่ำเสมอ เช่นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (ที่ได้รับอนุญาต) อุปกรณ์การแพทย์ และเสื้อผ้า และบางร้านก็จำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหารโดยกว้างขวางมากกว่าอาหาร ซูเปอร์มาร์เก็ตในแถบชานเมืองแบบเดิมตั้งอยู่บนพื้นที่ว่างขนาดใหญ่ซึ่งโดยปกติจะมีชั้นเดียว มักตั้งอยู่ใกล้เขตที่อยู่อาศัยเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้บริโภค ความดึงดูดใจพื้นฐานของซูเปอร์มาร์เก็ตคือ ความพร้อมของสินค้าอย่างกว้าง ๆ ที่มีให้เลือกซื้อภายใต้หลังคาเดียวในราคาที่ค่อนข้างต่ำ ข้อได้เปรียบอื่น ๆ อาทิความสะดวกในการจอดรถ และความสะดวกในเรื่องเวลาของการจับจ่ายใช้สอย ที่บ่อยครั้งขยายเวลาไปจนค่ำหรือแม้แต่ยี่สิบสี่ชั่วโมงต่อวัน ซูเปอร์มาร์เก็ตขนาดใหญ่มักมีการจัดสรรงบประมาณจำนวนมากเพื่อการโฆษณา ซึ่งโดยทั่วไปผ่านหนังสือพิมพ์ นอกจากนี้ก็ยังมีการนำเสนออธิบายรายละเอียดของผลิตภัณฑ์ในร้านค้า ซูเปอร์มาร์เก็ตมักจะเป็นส่วนหนึ่งของร้านค้าสาขาในบรรษัทที่เป็นของตนเอง หรือควบคุมซูเปอร์มาร์เก็ตอื่นที่ตั้งอยู่ใกล้เคียง (บางครั้งโดยแฟรนไชส์) หรือแม้แต่ควบคุมข้ามประเทศ ซึ่งเป็นการเพิ่มโอกาสในการประหยัดต่อขนาด การจัดหาสินค้าเข้าซูเปอร์มาร์เก็ตมักจัดการโดยศูนย์กระจายสินค้าของบรรษัทแม่ เช่นบริษัทลอบลอว์ในประเทศแคนาดาซึ่งดำเนินธุรกิจซูเปอร์มาร์เก็ตหลายพันแห่งทั่วประเทศ ลอบลอว์ดำเนินงานศูนย์กระจายสินค้าในทุกจังหวัด โดยปกติในเมืองที่ใหญ่ที่สุดของจังหวั.

ดู การฟื้นเห็นเป็น 3 มิติและซูเปอร์มาร์เก็ต

ประสาทวิทยาศาสตร์

ประสาทวิทยาศาสตร์ (Neuroscience) เป็นการศึกษาเกี่ยวกับ โครงสร้าง (neuroanatomy), หน้าที่, การเจริญเติบโต (neural development), พันธุศาสตร์, ชีวเคมี, สรีรวิทยา, เภสัชวิทยา และพยาธิวิทยาของระบบประสาท นอกจากนี้การศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมและการเรียนรู้ยังถือว่าเป็นสาขาของประสาทวิทยาอีกด้วย การศึกษาทางชีววิทยาของสมองของมนุษย์มีเนื้อหาเกี่ยวโยงกันของสาขาวิชาต่าง ๆ ในหลายระดับ มีตั้งแต่ระดับโมเลกุลไปจนถึงระดับเซลล์ (นิวรอน) ซึ่งมีทั้งระดับการทำงานของกลุ่มของนิวรอนจำนวนน้อย เช่น ในคอลัมน์ของสมองส่วนคอร์เทกซ์ (cortical columns) ไปจนถึงระดับการทำงานของระบบต่าง ๆ ในสมองที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับระบบประสาทการมองเห็น และไปจนถึงระดับการทำงานของระบบขนาดใหญ่ เช่น การทำงานของสมองส่วนซีรีบรัลคอร์เทกซ์ หรือ ซีรีเบลลัม และการทำงานของสมองทั้งหมด ระดับสูงสุดของการศึกษาวิชาประสาทวิทยา คือ การนำวิธีการศึกษาทางประสาทวิทยาไปรวมกับการศึกษาทางปริชานประสาทวิทยาศาสตร์ หรือประสาทวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับการรับรู้ (cognitive neuroscience) อันเป็นสาขาวิชาที่พัฒนามาจากวิชา จิตวิทยาการรับรู้ (cognitive psychology) แต่ปัจจุบันได้แยกออกมาเป็นสาขาวิชาหนึ่ง ปริชานประสาทวิทยาศาสตร์เป็นสาขาวิชาที่ทำให้เราเข้าใจการทำงานของจิตใจ (mind) และการมีสติ (consciousness) จากเหตุมายังผล ซึ่งแตกต่างจากการศึกษาทางวิชาจิตวิทยาอันเป็นการศึกษาจากผลมายังเหตุ นักวิทยาศาสตร์บางท่านเชื่อว่าปริชานประสาทวิทยาศาสตร์สามารถอธิบายสิ่งต่าง ๆ เพิ่มเติมจากการศึกษาทางจิตวิทยา และบางทีอาจจะดีกว่าจนกระทั่งมาแทนที่ความรู้ทางจิตวิทยาที่เชื่อกันมาได้ หัวข้อการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับวิชาประสาทวิทยาศาสตร์ อาทิเช่น.

ดู การฟื้นเห็นเป็น 3 มิติและประสาทวิทยาศาสตร์

ปริภูมิ

ปริภูมิ (space) คือส่วนที่ไร้ขอบเขต เป็นปริมาณสามมิติในวัตถุและเหตุการณ์ และมีตำแหน่งสัมพัทธ์และทิศทาง ปริภูมิในทางฟิสิกส์มักจะถูกพิจารณาในรูปแบบของสามมิติเชิงเส้น และนักฟิสิกส์ในปัจจุบันก็มักจะพิจารณาพร้อมกับเวลาในฐานะส่วนหนึ่งของสี่มิติต่อเนื่องหรือที่เรียกว่า ปริภูมิ-เวลา ปริภูมิในเชิงคณิตศาสตร์ที่มีจำนวนมิติและโครงสร้างที่ต่างกันสามารถตรวจสอบได้ แนวคิดของปริภูมิถูกพิจารณาว่าเป็นพื้นฐานที่สำคัญเพื่อการทำความเข้าใจในจักรวาล ถึงแม้ว่าปริภูมิจะเป็นที่ถกเถียงกันในหมู่นักปรัชญาถึงความมีตัวตนของปริภูมิ ความสัมพันธ์ของการมีตัวตนหรือความเป็นส่วนหนึ่งของกรอบความ.

ดู การฟื้นเห็นเป็น 3 มิติและปริภูมิ

ปริศนามนุษย์กลของอูโก้

ปริศนามนุษย์กลของอูโก้ (Hugo) เป็นภาพยนตร์ 3 มิติ แนวอิงประวัติศาสตร์ ผจญภัย ดราม่า จากหนังสือของ Brian Selznick เรื่อง The Invention of Hugo Cabret เกี่ยวเกับเด็กผู้ชายที่อาศัยในสถานีรถไฟ มองต์ปาร์นาส เป็นสถานีรถไฟของปารีส เป็นผลงานการกำกับและอำนวยการผลิตโดย มาร์ติน สกอร์เซซี และดัดแปลงบทโดย จอห์น โลแกน ผลิตโดย เกรแฮม คิง เจ้าของ บริษัท GK Film และ จอห์นนี เดปป์ เจ้าของ บริษัท Infinitum Nihil นำแสดงโดย เอซา บัตเตอร์ฟีลด์, โคลอี มอเรตซ์, เบน คิงสลีย์, ซาชา บารอน โคเฮน, เฮเลน แม็คโครรี, เรย์ วินสโตน, เอมิลี มอร์ติเมอร์ และ จู๊ด ลอว์ ปริศนามนุษย์กลของอูโก้ ได้ชิงรางวัลออสการ์ 11 สาขา ได้รางวัลมา 5 สาขา รางวัลออสการ์ สาขาลำดับเสียงยอดเยี่ยม, รางวัลออสการ์ สาขาบันทึกเสียงยอดเยี่ยม, รางวัลออสการ์ กำกับศิลป์ยอดเยี่ยม, รางวัลออสการ์ สาขาถ่ายภาพยอดเยี่ยม, รางวัลออสการ์ สาขาเทคนิคพิเศษยอดเยี่ยม.

ดู การฟื้นเห็นเป็น 3 มิติและปริศนามนุษย์กลของอูโก้

ปริซึม

ปริซึมหกเหลี่ยมปรกติ ปริซึม (prism) คือทรงหลายหน้าที่สร้างจากฐานรูปหลายเหลี่ยมที่เหมือนกันและขนานกันสองหน้า และหน้าด้านข้างเป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน พื้นที่หน้าตัดทุกตำแหน่งที่ขนานกับฐานจะเป็นรูปเดิมตลอด และปริซึมก็เป็นพริสมาทอยด์ (prismatoid) ชนิดหนึ่งด้วย ปริซึมมุมฉาก (right prism) หมายความว่าเป็นปริซึมที่มีจุดมุมของรูปหลายเหลี่ยมบนฐานทั้งสองอยู่ตรงกันตามแนวดิ่ง ทำให้หน้าด้านข้างตั้งฉากกับฐานพอดีและเป็นรูปสี่เหลี่ยมมุมฉากทุกด้าน ส่วน ปริซึม n เหลี่ยมปกติ (n-prism) หมายถึงปริซึมที่มีรูปหลายเหลี่ยมบนฐาน เป็นรูปหลายเหลี่ยมปรกติ (ทุกด้านยาวเท่ากัน) และเมื่อปริซึมอันหนึ่งๆ สามารถเป็นได้ทั้งปริซึมมุมฉาก ปริซึม n เหลี่ยมปรกติ และขอบทุกด้านยาวเท่ากันหมด จะถือว่าปริซึมอันนั้นเป็นทรงหลายหน้ากึ่งปรกติ (semiregular polyhedron) ทรงสี่เหลี่ยมด้านขนานก็ถือเป็นปริซึมสี่เหลี่ยมด้านขนาน สำหรับปริซึมสี่เหลี่ยมมุมฉากก็เทียบเท่ากับทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก และปริซึมสี่เหลี่ยมจัตุรัสก็คือทรงลูกบาศก์นั่นเอง ปริมาตรของปริซึมสามารถคำนวณได้ง่ายๆ โดยการหาพื้นที่ผิวของฐานมาหนึ่งด้าน คูณด้วยความสูงของปริซึม.

ดู การฟื้นเห็นเป็น 3 มิติและปริซึม

โรงภาพยนตร์

ในโรงภาพยนตร์ โรงภาพยนตร์ หรือ โรงหนัง เป็นสถานที่สร้างขึ้นโดยเฉพาะสำหรับชมภาพยนตร์ และผู้ประกอบการจะต้องมี ใบอนุญาตประกอบกิจการ โรงภาพยนตร์ มิเช่นนั้นห้ามเรียก โรงภาพยนตร์ เนื่องจาก โรงภาพยนตร์ จะมีกฎหมายหลายๆอย่างเข้ามาเกี่ยวข้อง การที่ ไม่มี ใบอนุญาตประกอบกิจการ โรงภาพยนตร์ จะไม่ได้รับสิทธิ์คุ้มครองตามกฎหมายของโรงภาพยนตร์ และห้ามเรียกโรงภาพยนตร์ ดังนั้นโรงภาพยนตร์ส่วนใหญ่สร้างขึ้นเพื่อทำธุรกิจ ให้สาธารณชนจ่ายค่าผ่านประตูเข้ามารับชม ฟิล์มภาพยนตร์จะถูกฉายจากเครื่องฉาย ให้ปรากฏภาพบนจอ ที่ด้านหน้าของบริเวณที่นั่งชมภายในโรงภาพยนตร์ โดยนิยมสร้างที่นั่งบนพื้นแบบขั้นบันไดไล่ระดับ จากด้านหลังลงไปยังด้านหน้.

ดู การฟื้นเห็นเป็น 3 มิติและโรงภาพยนตร์

โน้ตดนตรี

น้ต ''เอ'' หรือ ''ลา'' โน้ต ในทางดนตรี มีความหมายได้สองทาง หมายถึง สัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการนำเสนอระดับเสียง และความยาวของเสียง หรือหมายถึงตัวเสียงเองที่เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์เหล่านั้น โน้ตดนตรีแต่ละเสียงจะมีชื่อเรียกประจำของมันเองในแต่ละภาษา เช่น โด-เร-มี-ฟา-ซอล-ลา-ที บางครั้งอาจเขียนอักษรละติน A ถึง G แทนโน้ตดนตรี.

ดู การฟื้นเห็นเป็น 3 มิติและโน้ตดนตรี

เบสบอล

Busch Stadium) ที่เมืองเซนต์หลุยส์ รัฐมิสซูรี เบสบอล (Baseball) เป็นกีฬาประเภททีม โดยผู้เล่นที่รับ ที่เรียกว่า ผู้ขว้าง หรือ พิทเชอร์ (pitcher) จะขว้างลูกเบสบอล ซึ่งมีขนาดประมาณเท่ากำปั้น มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2นิ้ว ให้ผู้เล่นทีมรุก ซึ่งเรียกว่า ผู้ตี หรือ แบตเตอร์ (batter) นั้นทำการตีลูกด้วยไม้เบสบอล (bat)ซึ่งทำจากไม้หรืออะลูมิเนียม.

ดู การฟื้นเห็นเป็น 3 มิติและเบสบอล

เวอร์ชวลริแอลลิที

ทหารฝึกฝนการกระโดดร่มโดยใช้ระบบวีอาร์เข้าช่วย เวอร์ชวลริแอลลิที (Virtual reality) หรือเรียกอย่างย่อว่า VR คือทัศนียภาพรอบทิศทางที่สร้างขึ้นโดยคอมพิวเตอร์ จำลองและถ่ายทอดความรู้สึกและประสบการณ์ดั่งอยู่ในโลกเสมือนจริง การรับชมเวอร์ชวลเรียลลิตีจำเป็นต้องมีอุปกรณ์รับชมซึ่งรับสัญญาณมาจากคอมพิวเตอร์ โดยปกติแล้วจะมีฮาร์ดแวร์ที่ป้อนตรงต่อประสาทสัมผัสด้านการมองเห็นที่เรียกว่า "จอแสดงผลแบบสวมศีรษะ" (Head-Mounted Display - HMD) ให้ตาทั้งสองได้เห็นภาพเป็นสามมิติจากจอภาพขนาดเล็กที่ให้ภาพ (หรือต่อไปอาจลดขนาดลงเป็นแว่นตาก็ได้) และเมื่อผู้ใช้เคลื่อนไหว ภาพก็จะถูกสร้างให้รับกับความเคลื่อนไหวนั้น บางกรณีก็จะมีหูฟังแบบสเตอริโอให้ได้ยินเสียงรอบทิศทาง และอาจมีถุงมือรับข้อมูล(data glove) หรืออุปกรณ์อื่นที่จะทำให้ผู้ใช้โต้ตอบกับสิ่งแวดล้อมจำลองที่ตนเข้าไปอยู่ ระบบเวอร์ชวลริแอลลิทีสามารถตอบโจทย์ความต้องการของนักธุรกิจบางส่วนได้เป็นอย่างดี เพราะสามารถดัดแปลงไปใช้ในงานหลายๆด้าน เช่นงานด้านสารสนเทศ อาศัยความจริงเสมือน เพื่อเรียกให้ผู้คนมาสนใจด้านสารสนเทศ กระตุ้นประสาทสัมผัสของมนุษย์ให้รับรู้และเข้าใจได้ง่าย ซึ่งเป็นผลดีต่อมนุษย์ที่รับรู้ได้รวดเร็วและง่ายต่อการจดจำ ตลาดของ AR / VR ได้กลายเป็นตลาดพันล้านดอลลาร์แล้วและคาดว่าจะเติบโตดีเกินกว่าตลาด 120 พันล้านเหรียญภายในไม่กี่ปี.

ดู การฟื้นเห็นเป็น 3 มิติและเวอร์ชวลริแอลลิที

เอ็มพี3

MP3 (เอ็มพีสาม หรือ เอ็มพีทรี) เป็นวิธีการเข้ารหัสสัญญาณเสียงดิจิตัลที่เป็นที่นิยมแบบหนึ่ง ใช้วิธีการบีบอัดข้อมูลแบบมีการสูญเสียข้อมูลบางส่วนบางส่วน หรือ lossy ออกแบบมาเพื่อใช้ลดปริมาณข้อมูลเสียงให้เหลือเพียงเล็กน้อย (ส่วนมากจะได้ที่อัตรา 10 ต่อ 1) แต่ข้อมูลที่ลดลงมานี้ก็ยังให้คุณภาพเสียงที่ดีใกล้เคียงกับสัญญาณเสียงต้นฉบับโดยทดสอบกับผู้ฟังส่วนใหญ่ ในการใช้งานส่วนใหญ่คำว่า MP3 จะเป็นกล่าวอ้างถึงแฟ้มที่ใช้เก็บเสียงหรือดนตรีในรูปแบบ MP3 บนเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือเครื่องเล่น MP3 คำว่า MP3 ได้มาจากคำว่า "MPEG-1 Audio Layer 3" หรือในคำที่เป็นทางการว่า "ISO/IEC 11172-3 Layer 3" อย่างไรก็ตามแฟ้มนามสกุล ".mp3" บางแฟ้มก็ใช้การเข้ารหัสแบบใหม่ที่มีชื่อว่า "MPEG-2 Audio Layer 3" หรือ "ISO/IEC 13818-3 Layer 3" MP3 เป็นรูปแบบการบีบอัดข้อมูลแบบมีการสูญเสียข้อมูลบางส่วน ใช้แทนข้อมูลเสียงที่เข้ารหัสแบบ PCM ให้มีขนาดที่เล็กโดยตัดข้อมูลบางส่วนที่พิจารณาแล้วว่าระบบการได้ยินของมนุษย์เกือบจะไม่สามารถรับฟังได้ (แนวคิดนี้คล้ายกับการบีบอัดข้อมูลภาพแบบ JPEG) วิธีการต่างๆที่ช่วยให้สามารถตัดข้อมูลบางส่วนออกไปได้ได้ถูกนำมาใช้กับ MP3 รวมทั้ง psychoacoustics ข้อมูลเสียงแบบ MP3 สามารถบีบอัดให้มีขนาดที่แตกต่าง หรือมี อัตราบิท ที่หลากหลายขึ้นกับขนาดของข้อมูลและคุณภาพเสียง เป็นรูปแบบแฟ้มที่เป็นการบีบอัดข้อมูลแบบมีการสูญเสียข้อมูลบางส่วนออกมา เพื่อให้ปริมาณข้อมูลลดลง แต่ยังคงคุณภาพใกล้เคียงกับสัญญาณเสียงเดิม อาจมีการเปลี่ยนแปลงบ้าง แต่เป็นเพียงเล็กน้อย และในการเข้ารหัสแบบ MP3 เป็นการเข้ารหัสของเพลงเป็นส่วนใหญ่ เพื่อให้สามารถใช้เนื้อที่ได้มากขึ้น และสามารถรวบรวมแฟ้มเพลงหลายๆแฟ้มมารวมอยู่ในรูปของ MP3 ทำให้ไม่สิ้นเปลืองเนื้อที่ในการจัดเก็บข้อมูล.

ดู การฟื้นเห็นเป็น 3 มิติและเอ็มพี3

เทคโนโลยี

นาโนเทคโนโลยีเป็นที่สนใจในศตวรรษปัจจุบัน เทคโนโลยี หรือ เทคนิควิทยา มีความหมายค่อนข้างกว้าง โดยทั่วไปหมายถึงธรรมชาติวิทยาและต่อเนื่องมาถึงวิทยาศาสตร์ มาเป็นวิธีการปฏิบัติและประยุกต์ใช้เพื่อช่วยในการทำงานหรือแก้ปัญหาต่าง ๆ อันก่อให้เกิดวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร แม้กระทั่งองค์ความรู้นามธรรมเช่น ระบบหรือกระบวนการต่าง ๆ เพื่อให้การดำรงชีวิตของมนุษย์ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น สาขาวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิร.

ดู การฟื้นเห็นเป็น 3 มิติและเทคโนโลยี

เทเบิลเทนนิส

ทเบิลเทนนิส หรือ ปิงปองเป็นกีฬาโดยมีผู้เล่นสองหรือสี่คน ซึ่งยืนเล่นกันคนละด้านของโต๊ะปิงปอง โดยตีลูกโต้กันให้ข้ามตาข่ายเน็ตกั้นกลางโต๊ะปิงปองไปมา ผู้เล่นมีสิทธิ์ให้ลูกบอลเด้งกระดอนตกพื้นโต๊ะฝั่งตนเองได้เพียง 1 ครั้งเท่านั้น แล้วจึงตีโต้ข้ามฟากให้เด้งกระดอนไปกระทบกับพื้นโต๊ะฝ่ายตรงข้าม ถ้าลูกบอลไม่กระทบกับพื้นโต๊ะของฝ่ายตรงข้ามก็ถือว่าเสีย แต่ถ้าเป็นลูกดีฝ่ายตรงข้ามก็จะตีโต้กลับมาฝั่งเรา เทเบิลเทนนิสเป็นเกมที่โต้รับกับอย่างรวดเร็ว ผู้เล่นที่มีฝีมือสามารถตีลูกสปินได้ ทำให้บอลนั้นหมุนเร็ว ซึ่งจะทำให้ฝ่ายตรงข้ามรับได้ยากยิ่งขึ้น เทเบิลเทนนิสเป็นที่นิยมอย่างมาก โดยเฉพาะในแถบเอเชียตะวันออก และเมื่อเทียบกันกับกีฬาชนิดอื่นแล้วปิงปองถือว่าเป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมอย่างยิ่ง ในฐานะที่เป็นกีฬาชนิดใหม่ที่กำลังได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน.

ดู การฟื้นเห็นเป็น 3 มิติและเทเบิลเทนนิส

เตตริส

ตัวบล็อกทั้ง 7 ชนิดในเกมเตตริส เตตริส (Тетрис; Tetris) เป็นเกมแก้ปัญหาจัดเรียงตัวบล็อกที่หล่นลงมา จัดเรียงให้เป็นแถว เกมเตตริสนั้นเป็นเกมที่นิยมมากที่สุดเกมหนึ่ง โดยมีการนำมาทำซ้ำหลายครั้ง ตัวเกมออกแบบโดยอะเลคเซย์ ปายีตนอฟ (Alexey Pajitnov) นักออกแบบเกมชาวรัสเซียออกแบบสำหรับเล่นในเครื่อง Electronika 60 ไว้เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน..

ดู การฟื้นเห็นเป็น 3 มิติและเตตริส

เนื้องอก

นื้องอก (neoplasm, tumor) เป็นการเติบโตผิดปกติของเนื้อเยื่อ โดยส่วนมากมักเกิดเป็นก้อนเนื้อ ICD-10 จำแนกเนื้องอกเป็น 4 ประเภท แบ่งเป็น เนื้องอกไม่ร้าย (benign neoplasms) เนื้องอกเฉพาะที่ (in situ neoplasms) เนื้องอกร้าย (malignant neoplasms) และเนื้องอกที่มีพฤติกรรมไม่ชัดเจน เนื้องอกร้ายยังถูกเรียกว่ามะเร็งและเป็นสิ่งที่ถูกศึกษาในวิทยามะเร็ง ก่อนที่เนื้อเยื่อจะเติบโตอย่างผิดปกติ เซลล์มักมีรูปแบบการเติบโตที่ไม่ปกติ เช่น เมตาเพลเซีย (metaplasia) หรือ ดิสเพลเซีย (dysplasia) อย่างไรก็ตาม เมตาเพลเซียหรือดิสเพลเซียอาจไม่ได้พัฒนาเป็นเนื้องอกเสมอไป คำมีที่มาจากภาษากรีกโบราณ νέος- neo "ใหม่" และ πλάσμα plasma "การเกิดขึ้น การสร้างตัว".

ดู การฟื้นเห็นเป็น 3 มิติและเนื้องอก

ดูเพิ่มเติม

การรับรู้ทางตา

จักษุวิทยา

ประสาทวิทยาศาสตร์

ประสาทสรีรวิทยา

ระบบการมองเห็น

หรือที่รู้จักกันในชื่อ Recovery from stereoblindnessStereopsis recoveryการฟื้นจากไม่เห็นเป็น 3 มิติการฟื้นตัวจากไม่เห็นเป็น 3 มิติการฟื้นตัวเห็นเป็น 3 มิติ

เทคโนโลยีเทเบิลเทนนิสเตตริสเนื้องอก