โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

โน้ตดนตรี

ดัชนี โน้ตดนตรี

น้ต ''เอ'' หรือ ''ลา'' โน้ต ในทางดนตรี มีความหมายได้สองทาง หมายถึง สัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการนำเสนอระดับเสียง และความยาวของเสียง หรือหมายถึงตัวเสียงเองที่เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์เหล่านั้น โน้ตดนตรีแต่ละเสียงจะมีชื่อเรียกประจำของมันเองในแต่ละภาษา เช่น โด-เร-มี-ฟา-ซอล-ลา-ที บางครั้งอาจเขียนอักษรละติน A ถึง G แทนโน้ตดนตรี.

17 ความสัมพันธ์: บรรทัดห้าเส้นชาร์ปกุญแจประจำหลักมิดิระดับเสียงวินาทีอักษรละตินอ็อกเทฟจำนวนลบและจำนวนไม่เป็นลบจำนวนเต็มความถี่นักดนตรีแฟลต (ดนตรี)เสียงเฮิรตซ์เครื่องหมายตั้งบันไดเสียงเนเชอรัล

บรรทัดห้าเส้น

Musical staffMusical staffMusical staffMusical staff บรรทัดห้าเส้น (อังกฤษอเมริกัน: staff; อังกฤษบริเตน: stave) คือกลุ่มของเส้นตรงตามแนวนอน 5 เส้น และอยู่ห่างเป็นระยะเท่ากันเป็นจำนวน 4 ช่อง ใช้สำหรับบันทึกตัวโน้ตตามระดับเสียง ซึ่งสามารถแสดงได้ด้วยความสูงต่ำของตัวโน้ตที่ปรากฏบนบรรทัดห้าเส้น การนับเริ่มต้นเส้นที่หนึ่งจากล่างสุด แล้วนับขึ้นมาตามลำดับจนถึงเส้นที่ห้า การนับช่องก็นับจากล่างขึ้นบนเช่นกัน ตัวโน้ตสามารถบันทึกให้คาบเกี่ยวกับเส้น หรือเขียนลงในช่องระหว่างเส้น เหนือหรือใต้บรรทัด ดังนั้นบรรทัดห้าเส้นจึงสามารถบันทึกระดับเสียงของตัวโน้ตได้ 11 ระดับ สำหรับเสียงที่สูงกว่าหรือต่ำกว่านี้ จะใช้เส้นน้อย (ledger line) เข้ามาช่วย การที่จะบ่งบอกว่าตัวโน้ตที่บันทึกอยู่เป็นเสียงอะไร สามารถดูได้จากกุญแจประจำหลักที่กำกับอยู่ เช่นกุญแจซอลที่คาบอยู่บนเส้นที่สองโดยพื้นฐาน จะทำให้ทราบว่าโน้ตที่คาบอยู่บนเส้นที่สองเป็นเสียง ซอล หากไม่มีกุญแจประจำหลักบนบรรทัดห้าเส้น ก็จะไม่สามารถอ่านโน้ตได้ ปกติแล้วการอ่านโน้ตจะอ่านจากซ้ายไปขวา หมายความว่าตัวโน้ตที่อยู่ถัดจากตัวก่อนหน้าต้องเล่นทีหลัง และบรรทัดห้าเส้นมักจะแบ่งเป็นห้องเพลงด้วยเส้นกั้นห้อง เปรียบเหมือนกราฟของระดับเสียงเทียบกับเวลา ด้านล่างนี้คือตำแหน่งของตัวโน้ต 11 ระดับเสียง ที่สามารถบันทึกบนบรรทัดห้าเส้น ไฟล์:Music Staff.svgไฟล์:Music 1d1.svgไฟล์:Music Staff.svgไฟล์:Music 1e1.svgไฟล์:Music Staff.svgไฟล์:Music 1f1.svgไฟล์:Music Staff.svgไฟล์:Music 1g1.svgไฟล์:Music Staff.svgไฟล์:Music 1a1.svgไฟล์:Music Staff.svgไฟล์:Music 1b1.svgไฟล์:Music Staff.svgไฟล์:Music 1c2.svgไฟล์:Music Staff.svgไฟล์:Music 1d2.svgไฟล์:Music Staff.svgไฟล์:Music 1e2.svgไฟล์:Music Staff.svgไฟล์:Music 1f2.svgไฟล์:Music Staff.svgไฟล์:Music 1g2.svgไฟล์:Music Staff.svg.

ใหม่!!: โน้ตดนตรีและบรรทัดห้าเส้น · ดูเพิ่มเติม »

ชาร์ป

น้ตซีชาร์ป และโน้ตซีดับเบิลชาร์ป บนกุญแจซอล ชาร์ป (sharp) ในทางดนตรี หมายถึง ระดับเสียงที่สูงขึ้นจากปกติ หากจะระบุให้ชัดเจนก็คือ ระดับเสียงที่สูงขึ้นทีละครึ่งเสียง (semitone) เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ เป็นเครื่องหมายแปลงเสียง (accidental) ชนิดหนึ่ง และเนื่องจากสัญลักษณ์ดังกล่าวมีรูปร่างคล้ายกับเครื่องหมายนัมเบอร์ # เครื่องหมายนัมเบอร์จึงถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ชาร์ป ตัวโน้ตที่ถูกกำกับด้วยชาร์ปจะมีเสียงสูงขึ้นครึ่งเสียง ในบันไดเสียงสากลที่แต่ละอ็อกเทฟ (octave) ห่างกัน 12 ครึ่งเสียง เสียงบีชาร์ปจะเทียบเท่ากับเสียงซีเนเชอรัล และเสียงจีชาร์ปจะเทียบเท่ากับเสียงเอแฟลต เป็นต้น นอกจากนี้ยังมี ดับเบิลชาร์ป (double sharp) คือระดับเสียงสูงขึ้นสองครึ่งเสียง ซึ่งเทียบเท่ากับการยกขึ้นหนึ่งขั้นเสียง เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ พบได้ในโน้ตเพลงที่มีการปรับคีย์ดนตรี และที่พบได้น้อยกว่าคือ ทริเปิลชาร์ป (triple sharp) คือระดับเสียงสูงขึ้นสามครึ่งเสียง เขียนแทนด้วย ในการปรับเสียงเครื่องดนตรี คำว่า ชาร์ป ยังหมายถึง เสียงที่เพี้ยนสูงขึ้นไปจากเดิมเล็กน้อย หากมีเครื่องสายหรือเสียงนักร้องที่แตกต่างกันเล็กน้อย เสียงที่สูงกว่า จะเรียกว่าเสียงชาร์ป เมื่อเทียบกับอีกเสียงหนึ่งซึ่งต่ำกว่า อักขระยูนิโคด '♯' (U+266F) คือเครื่องหมายชาร์ป และ '𝄪' (U+1D12A) คือเครื่องหมายดับเบิลชาร์ป.

ใหม่!!: โน้ตดนตรีและชาร์ป · ดูเพิ่มเติม »

กุญแจประจำหลัก

กุญแจซอลคาบเส้นที่สอง หมายความว่าโน้ตที่คาบเส้นที่สองจะต้องเล่นเสียงซอล กุญแจประจำหลัก (clef; clé แปลว่า กุญแจ) คือสัญกรณ์ทางดนตรีชนิดหนึ่งที่ใช้แสดงถึงระดับเสียงของตัวโน้ตที่บันทึก กำกับไว้ที่ตำแหน่งเริ่มต้นของบรรทัดห้าเส้น ซึ่งจะเป็นตัวบ่งบอกชื่อและระดับเสียงของตัวโน้ตที่อยู่บนเส้นนั้น.

ใหม่!!: โน้ตดนตรีและกุญแจประจำหลัก · ดูเพิ่มเติม »

มิดิ

ื่อโน้ตและหมายเลขโน้ตมิดิ มิดิ หรือ มาตรฐานการประสานเครื่องดนตรีแบบดิจิทัล (Music Instrument Digital Interface: MIDI) เป็นโพรโทคอลมาตรฐานที่คิดค้นขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2525 โดยเป็นระบบการติดต่อสื่อสารทางดนตรี ของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทางดนตรี เช่น คอมพิวเตอร์ ซินธิไซเซอร์ ซีเควนเชอร์ ซาวด์โมดูล แซมเพลอร์ ซึ่งใช้สัญญาณไฟฟ้าแบบดิจิตอล ในการส่งข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อ โดยจะมีความหมายเป็นโน้ตดนตรี และค่าการควบคุมลักษณะเสียงต่างๆ ไฟล์ MIDI ไม่ได้มีการเก็บเสียงดนตรีใดๆไว้เหมือนอย่างเทปเพลงหรือซีดีเพลง ข้อมูลทั้งหมดจะอยู่ในรูปของคำสั่งที่จะไปสั่งเครื่อง ดนตรีว่า ให้เปล่งเสียงโน้ตตัวใด(Note ON), ด้วยระดับความดังแค่ใหน(Velocity) และคำสั่งอื่นๆ ตามคุณสมบัติเฉพาะของเครื่องดนตรีแต่ละชนิด ด้วยเหตุที่เป็นไฟล์คำสั่งนี่เองทำให้มันมีขนาดที่เล็กมากๆ แผ่นดิสก์ 3.5 นิ้วเพียงแผ่นเดียวก็สามารถเก็บไฟล์ MIDI ได้หลายสิบเพลง และจากความที่มันเป็นไฟล์คำสั่งแบบดิจิตอลนี่เอง นักคอมพิวเตอร์จึงสามารถนำข้อมูลดิจิตอลนี้มาพัฒนาด้วย จนในที่สุดทั้งคอมพิวเตอร์และเครื่องดนตรีก็สื่อสารกันได้อย่างสมบูรณ์โดย ผ่านระบบ MIDI นี่เอง.

ใหม่!!: โน้ตดนตรีและมิดิ · ดูเพิ่มเติม »

ระดับเสียง

ระดับเสียง อาจหมายถึง.

ใหม่!!: โน้ตดนตรีและระดับเสียง · ดูเพิ่มเติม »

วินาที

วินาที (Second) เป็นหน่วยฐานของเวลาในระบบหน่วยวัดระหว่างประเทศ (เอสไอ) และยังเป็นหน่วยเวลาในระบบการวัดอื่น เท่ากับ 1 ส่วน 60 ของนาที ระหว่าง..

ใหม่!!: โน้ตดนตรีและวินาที · ดูเพิ่มเติม »

อักษรละติน

อักษรละติน หรือ อักษรโรมัน เป็นระบบตัวเขียนแบบตัวอักษร สันนิษฐานว่าอักษรละตินมีที่มาจากอักษรคิวมี (Cumae alphabet) ซึ่งดัดแปลงมาจากอักษรกรีกอีกทอดหนึ่ง ที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก โดยเฉพาะประเทศในยุโรปและอเมริกา และประเทศในเอเชียที่นำอักษรละตินมาใช้ในภายหลังเช่น ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศเวียดนาม ประเทศมาเลเซีย ประเทศเติร์กเมนิสถาน ประเทศทาจิกิสถาน ประเทศอาเซอร์ไบจาน ประเทศตุรกี และประเทศฟิลิปปินส์ รวมถึงการเขียนภาษาด้วยอักษรโรมัน (romanization) ในภาษาต่างๆ เช่น พินอิน (ภาษาจีน) หรือ โรมะจิ (ภาษาญี่ปุ่น).

ใหม่!!: โน้ตดนตรีและอักษรละติน · ดูเพิ่มเติม »

อ็อกเทฟ

อ็อกเทฟ (octave) หรือ ขั้นคู่แปดเพอร์เฟกต์ (perfect eighth) มักเขียนย่อเป็น 8ve หรือ P8 คือขั้นคู่เสียง (interval) ที่เทียบจากโน้ตดนตรีตัวหนึ่งไปสู่โน้ตตัวหนึ่งในระดับเสียงที่ต่างกัน ซึ่งโน้ตตัวนั้นมีความถี่เป็นครึ่งหนึ่งหรือเป็นสองเท่าจากโน้ตตัวเดิม และเหตุที่เรียกว่าขั้นคู่แปด เนื่องจากตัวโน้ตสองตัวที่อยู่ห่างกัน 8 ขั้นบนบันไดเสียง (หรือ 12 ครึ่งเสียง) จะเกิดสมบัติดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นบันไดเสียงเมเจอร์หรือบันไดเสียงไมเนอร.

ใหม่!!: โน้ตดนตรีและอ็อกเทฟ · ดูเพิ่มเติม »

จำนวนลบและจำนวนไม่เป็นลบ

ำนวนลบ (negative number) คือ จำนวนที่น้อยกว่าศูนย์ เช่น −3.

ใหม่!!: โน้ตดนตรีและจำนวนลบและจำนวนไม่เป็นลบ · ดูเพิ่มเติม »

จำนวนเต็ม

ำนวนเต็ม คือจำนวนที่สามารถเขียนได้โดยปราศจากองค์ประกอบทางเศษส่วนหรือทศนิยม ตัวอย่างเช่น 21, 4, −2048 เหล่านี้คือจำนวนเต็ม แต่ 9.75, 5, √2 เหล่านี้ไม่ใช่จำนวนเต็ม เศษของจำนวนเต็มเป็นเศษย่อยของจำนวนจริง และประกอบด้วยจำนวนธรรมชาติ (1, 2, 3,...) ศูนย์ (0) และตัวผกผันการบวกของจำนวนธรรมชาติ (−1, −2, −3,...) เซตของจำนวนเต็มทั้งหมดมักแสดงด้วย Z ตัวหนา (หรือ \mathbb ตัวหนาบนกระดานดำ, U+2124) มาจากคำในภาษาเยอรมันว่า Zahlen แปลว่าจำนวน จำนวนเต็ม (พร้อมด้วยการดำเนินการการบวก) ก่อร่างเป็นกรุปเล็กที่สุดอันประกอบด้วยโมนอยด์เชิงการบวกของจำนวนธรรมชาติ จำนวนเต็มก่อให้เกิดเซตอนันต์นับได้เช่นเดียวกับจำนวนธรรมชาติ สิ่งเหล่านี้ในทฤษฎีจำนวนเชิงพีชคณิตทำให้เข้าใจได้โดยสามัญว่า จำนวนเต็มซึ่งฝังตัวอยู่ในฟีลด์ของจำนวนตรรกยะ หมายถึง จำนวนเต็มตรรกยะ เพื่อแยกแยะออกจากจำนวนเต็มเชิงพีชคณิตที่ได้นิยามไว้กว้างกว.

ใหม่!!: โน้ตดนตรีและจำนวนเต็ม · ดูเพิ่มเติม »

ความถี่

วามถี่ (frequency) คือจำนวนการเกิดเหตุการณ์ซ้ำในหนึ่งหน่วยของเวลา ความถี่อาจเรียกว่า ความถี่เชิงเวลา (temporal frequency) หมายถึงแสดงให้เห็นว่าต่างจากความถี่เชิงพื้นที่ (spatial) และความถี่เชิงมุม (angular) คาบคือระยะเวลาของหนึ่งวงจรในเหตุการณ์ที่เกิดซ้ำ ดังนั้นคาบจึงเป็นส่วนกลับของความถี่ ตัวอย่างเช่น ถ้าหัวใจของทารกเกิดใหม่เต้นที่ความถี่ 120 ครั้งต่อนาที คาบ (ช่วงเวลาระหว่างจังหวะหัวใจ) คือครึ่งวินาที (นั่นคือ 60 วินาทีหารจาก 120 จังหวะ) ความถี่เป็นตัวแปรสำคัญในวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม สำหรับระบุอัตราของปรากฏการณ์การแกว่งและการสั่น เช่น การสั่นของเครื่องจักร โสตสัญญาณ (เสียง) คลื่นวิทยุ และแสง.

ใหม่!!: โน้ตดนตรีและความถี่ · ดูเพิ่มเติม »

นักดนตรี

Guy Pratt นักดนตรีมืออาชีพ กำลังเล่นกีตาร์เบส นักดนตรี หมายถึง บุคคลที่เล่นเครื่องดนตรี หรือผู้ที่มีความสามารถทางด้านดนตรี ไม่ว่าจะเป็นนักประพันธ์ วาทยากร หรือนักแสดงดนตรี ก็สามารถเรียกว่านักดนตรีได้ นักดนตรีมีความสามารถเฉพาะบางแนวเพลง หรือบางคนอาจเล่นในแนวเพลงที่แตกต่างกันออกไป ตัวอย่างทักษะต่าง ๆ ของนักดนตรี ได้แก่ การแสดง การอำนวยเพลง การร้องเพลง องค์ประกอบ การจัดการ และการเรียบเรียงเพลง.

ใหม่!!: โน้ตดนตรีและนักดนตรี · ดูเพิ่มเติม »

แฟลต (ดนตรี)

น้ตเอแฟลต และโน้ตเอดับเบิลแฟลต บนกุญแจซอล ในทางดนตรี แฟลต (flat) หมายถึงระดับเสียงที่ต่ำลงจากปกติ หากจะระบุให้ชัดเจนก็คือ ระดับเสียงที่ต่ำลงทีละครึ่งเสียง (semitone) เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ มีรูปร่างคล้ายกับอักษรตัวเล็ก b เป็นเครื่องหมายแปลงเสียง (accidental) ชนิดหนึ่ง ตัวโน้ตที่ถูกกำกับด้วยแฟลตจะมีเสียงต่ำลงครึ่งเสียง ในบันไดเสียงสากลที่แต่ละอ็อกเทฟ (octave) ห่างกัน 12 ครึ่งเสียง เสียงซีแฟลตจะเทียบเท่ากับเสียงบีเนเชอรัล และเสียงจีแฟลตจะเทียบเท่ากับเสียงเอฟชาร์ป เป็นต้น นอกจากนี้ยังมี ดับเบิลแฟลต (double flat) คือระดับเสียงต่ำลงสองครึ่งเสียง ซึ่งเทียบเท่ากับการลดลงหนึ่งขั้นเสียง เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ พบได้ในโน้ตเพลงที่มีการปรับคีย์ดนตรี และที่พบได้น้อยกว่าคือ ทริเปิลแฟลต (triple flat) คือระดับเสียงต่ำลงสามครึ่งเสียง เขียนแทนด้วย ในการปรับเสียงเครื่องดนตรี คำว่า แฟลต ยังหมายถึง เสียงที่เพี้ยนต่ำลงจากเดิมเล็กน้อย หากมีเครื่องสายหรือเสียงนักร้องที่แตกต่างกันเล็กน้อย เสียงที่ต่ำกว่า จะเรียกว่าเสียงแฟลต เมื่อเทียบกับอีกเสียงหนึ่งซึ่งสูงกว่า อักขระยูนิโคด '♭' (U+266D) คือเครื่องหมายแฟลต และ '𝄫' (U+1D12B) คือเครื่องหมายดับเบิลแฟลต.

ใหม่!!: โน้ตดนตรีและแฟลต (ดนตรี) · ดูเพิ่มเติม »

เสียง

ซลล์รับรู้การได้ยิน; ม่วง: สเปกตรัมความถี่ ของการตอบสนองการได้ยิน; ส้ม: อิมพัลส์ประสาท) เสียง (Sound) เป็นคลื่นเชิงกลที่เกิดจากการสั่นสะเทือนของวัตถุ เมื่อวัตถุสั่นสะเทือน ก็จะทำให้เกิดการอัดตัวและขยายตัวของคลื่นเสียง และถูกส่งผ่านตัวกลาง เช่น อากาศ ไปยังหู แต่เสียงสามารถเดินทางผ่านสสารในสถานะก๊าซ ของเหลว และของแข็งก็ได้ แต่ไม่สามารถเดินทางผ่านสุญญากาศได้ เมื่อการสั่นสะเทือนนั้นมาถึงหู มันจะถูกแปลงเป็นพัลส์ประสาท ซึ่งจะถูกส่งไปยังสมอง ทำให้เรารับรู้และจำแนกเสียงต่างๆ ได้.

ใหม่!!: โน้ตดนตรีและเสียง · ดูเพิ่มเติม »

เฮิรตซ์

ลื่นไซน์ในความถี่ที่แตกต่างกัน เฮิรตซ์ (อ่านว่า เฮิด) (Hertz ย่อว่า Hz) เป็นหน่วย SI ของค่าความถี่ โดย 1 Hz คือความถี่ที่เท่ากับ 1 ครั้ง ต่อวินาที (1/s) หรือ:1 Hz.

ใหม่!!: โน้ตดนตรีและเฮิรตซ์ · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องหมายตั้งบันไดเสียง

รื่องหมายตั้งบันไดเสียงชุดหนึ่ง เครื่องหมายตั้งบันไดเสียง หรือ คีย์ดนตรี หรือ คีย์ (key signature) คือกลุ่มของชาร์ปหรือแฟลต (หรือเนเชอรัลในบางกรณี) ที่กำกับบนบรรทัดห้าเส้น เป็นตัวบ่งบอกให้เล่นตัวโน้ตสูงขึ้นหรือต่ำลงครึ่งเสียง (semitone) ตามตำแหน่งที่กำหนดหากไม่มีเครื่องหมายอื่นอยู่ก่อน แทนที่จะเป็นเสียงตัวโน้ตปกติ การกำหนดบันไดเสียงเช่นนี้จะมีผลทั้งบรรทัดจนกว่าจะมีการเปลี่ยนคีย์ใหม่ เครื่องหมายตั้งบันไดเสียงมักพบได้ทั่วไปถัดจากกุญแจประจำหลักในตำแหน่งเริ่มบรรทัดใหม่ หรือปรากฏที่ส่วนอื่นบนบรรทัดเช่นหลังจากดับเบิลบาร์ (double bar) เป็นต้น.

ใหม่!!: โน้ตดนตรีและเครื่องหมายตั้งบันไดเสียง · ดูเพิ่มเติม »

เนเชอรัล

เนเชอรัล (Natural) เป็นเครื่องหมายที่อยู่หน้าโน้ตตัวใดจะทำให้โน้ตดนตรีตัวนั้นเป็นเสียงปกติ เช่น ถ้าในเพลงนั้นมีทีแฟลตอยู่ข้างหน้าเพลง ก็ต้องเล่นทีแฟลตทั้งเพลง แต่ถ้าจะเล่นเป็นเสียงธรรมดาก็ใส่เครื่องหมายเนเชอรัลไปข้างหน้าโน้ตตัวนั้น ตัวโน๊ต.

ใหม่!!: โน้ตดนตรีและเนเชอรัล · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ตัวโน๊ตตัวโน้ตโน๊ตเพลงโน้ตเพลง

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »