โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

โรงภาพยนตร์

ดัชนี โรงภาพยนตร์

ในโรงภาพยนตร์ โรงภาพยนตร์ หรือ โรงหนัง เป็นสถานที่สร้างขึ้นโดยเฉพาะสำหรับชมภาพยนตร์ และผู้ประกอบการจะต้องมี ใบอนุญาตประกอบกิจการ โรงภาพยนตร์ มิเช่นนั้นห้ามเรียก โรงภาพยนตร์ เนื่องจาก โรงภาพยนตร์ จะมีกฎหมายหลายๆอย่างเข้ามาเกี่ยวข้อง การที่ ไม่มี ใบอนุญาตประกอบกิจการ โรงภาพยนตร์ จะไม่ได้รับสิทธิ์คุ้มครองตามกฎหมายของโรงภาพยนตร์ และห้ามเรียกโรงภาพยนตร์ ดังนั้นโรงภาพยนตร์ส่วนใหญ่สร้างขึ้นเพื่อทำธุรกิจ ให้สาธารณชนจ่ายค่าผ่านประตูเข้ามารับชม ฟิล์มภาพยนตร์จะถูกฉายจากเครื่องฉาย ให้ปรากฏภาพบนจอ ที่ด้านหน้าของบริเวณที่นั่งชมภายในโรงภาพยนตร์ โดยนิยมสร้างที่นั่งบนพื้นแบบขั้นบันไดไล่ระดับ จากด้านหลังลงไปยังด้านหน้.

27 ความสัมพันธ์: ภาพยนตร์ภาพยนตร์อินเดียวังบูรพาภิรมย์วงเวียนโอเดียนศาลาเฉลิมกรุงศาลาเฉลิมไทยศูนย์การค้าสยามสแควร์สะพานผ่านฟ้าลีลาศสะพานจตุรภักตร์รังสฤษดิ์สะพานเฉลิมหล้า 56สามย่านสถานีหัวลำโพงอมรินทร์ทีวีฮอลลีวูดถนนราชดำเนิน (กรุงเทพมหานคร)ถนนเพชรบุรีถนนเยาวราชถนนเจริญกรุงข้าวโพดคั่วคลองผดุงกรุงเกษมคลองถมน้ำอัดลมแยกไฟฉายไอศกรีมเวิ้งนครเกษมเครื่องฉายภาพยนตร์

ภาพยนตร์

กล้องถ่ายภาพเคลื่อนไหวของฟ็อกซ์ในยุคแรก ๆ ภาพยนตร์ หรือ หนัง คือ กระบวนการบันทึกภาพด้วยฟิล์ม แล้วนำออกฉายให้เห็นภาพเคลื่อนไหว ภาพที่ปรากฏบนฟิล์มภาพยนตร์หลังจากผ่านกระบวนการถ่ายทำแล้วเป็นเพียงภาพนิ่งจำนวนมาก ที่มีอิริยาบถหรือแสดงอาการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงไปทีละน้อยต่อเนื่องกันเป็นช่วงๆ ตามเรื่องราวที่ได้รับการถ่ายทำและตัดต่อมา ซึ่งอาจเป็นเรื่องราวหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง หรือเป็นการแสดงให้เหมือนจริง หรืออาจเป็นการแสดงและสร้างภาพจากจินตนาการของผู้สร้างก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นชนิดฟิล์มเนกาทีฟ (negative) หรือฟิล์มโพซิทีฟ (positive) ซึ่งได้ถูกถ่าย อัด หรือกระทำด้วยวิธีใด ๆ ให้ปรากฏรูปหรือเสียงหรือทั้งรูปและเสียง เป็นเรื่องหรือเหตุการณ์ หรือข้อความอันจักถ่ายทอดรูปหรือเสียง หรือทั้งรูปและเสียงได้ด้วยเครื่องฉายภาพยนตร์หรือเครื่องอย่างอื่นทำนองเดียวกัน และหมายความตลอดถึงฟิล์มซึ่งได้ถูกถ่าย อัด หรือทำด้วยวิธีใด ๆ ให้ปรากฏสี เพื่ออัดลงในฟิลม์ชนิดดังกล่าว เป็นสาขาที่สร้างสรรค์ผลงานทางศิลปะในรูปของภาพเคลื่อนไหว และเป็นส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรมบันเทิง.

ใหม่!!: โรงภาพยนตร์และภาพยนตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาพยนตร์อินเดีย

right thumb ภาพยนตร์อินเดีย หรือ ที่รู้จักในชื่อ บอลลีวู้ด (Bollywood) (หมายถึง ฮอลลีวู้ดแห่งบอมเบย์) ในแต่ละปี อุตสาหกรรมบอลลีวู้ด ผลิตภาพยนตร์ออกสู่ตลาดมากที่สุดในโลกประมาณ 800-1,000 เรื่อง โดยในแต่ละวัน ชาวอินเดียจะซื้อตั๋วเข้าไปหาความบันเทิงตามโรงภาพยนตร์ทั่วประเทศราว 10 ล้านคน และจากชาวอินเดียที่กระจายอยู่ทั่วโลกอีกประมาณ 20 ล้านคน ทั้งนี้ยังมีชาวต่างชาติที่นิยมชมภาพยนตร์อินเดีย ซึ่งมีให้ชมทั้งในเอเชีย ประเทศไทย ตะวันออกกลาง แอฟริกา ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ เยอรมัน สเปน ฟิจิ หรือแม้แต่รัสเซีย หนังอินเดียยุคใหม่ช่วงแรกสามารถนับได้ว่าเป็นในช่วงปี..

ใหม่!!: โรงภาพยนตร์และภาพยนตร์อินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

วังบูรพาภิรมย์

วังบูรพาภิรมย์ นักเรียนโรงเรียนภานุทัต สมัยที่อยู่วังบูรพาภิรมย์ วังบูรพาภิรมย์ เป็นวังที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นพระราชทาน สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช พระเจ้าลูกยาเธอพระองค์สุดท้องในสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี เมื่อ..

ใหม่!!: โรงภาพยนตร์และวังบูรพาภิรมย์ · ดูเพิ่มเติม »

วงเวียนโอเดียน

วงเวียนโอเดียน เป็นวงเวียนตั้งอยู่บริเวณหัวถนนเยาวราช เป็นจุดตัดของถนนเจริญกรุง, ถนนเยาวราช และถนนมิตรภาพไทย-จีน อยู่ในเขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร เป็นวงเวียนที่มีประวัติความเป็นมาคู่กับถนนเยาวราช เคยเป็นศูนย์รวมสถานบันเทิง เดิมเป็นวงเวียนน้ำพุ เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชน ปัจจุบันปรับปรุงเป็นที่ตั้งของ ซุ้มประตูเฉลิมพระเกียรติ ๖ รอบพระชนมพรรษา ร้านค้าในย่านนี้ เรียกว่า ร้านค้าย่านโอเดียน เป็นย่านเก่าแก่เป็นที่มาของชื่อ เซียงกง แหล่งเครื่องยนต์มือสอง และอะไหล่มือสองจากญี่ปุ่นยุคแรก ปัจจุบัน ยังมีร้านค้าเหล่านี้อยู่บ้าง เช่น ร้านค้าอะไหล่รถยนต์ อะไหล่แทรกเตอร์ ร้านค้าโลหะ และร้านค้าเครื่องเรือ.

ใหม่!!: โรงภาพยนตร์และวงเวียนโอเดียน · ดูเพิ่มเติม »

ศาลาเฉลิมกรุง

ลาเฉลิมกรุง หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า โรงมหรสพหลวง ศาลาเฉลิมกรุง หรือเรียกสั้น ๆ ว่า เฉลิมกรุง เป็นโรงมหรสพหลวง ตั้งอยู่ริมถนนเจริญกรุง แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เดิมเป็นโรงภาพยนตร์ติดตั้งเครื่องปรับอากาศ ศาลาเฉลิมกรุงได้วางศิลาฤกษ์โดย พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม..

ใหม่!!: โรงภาพยนตร์และศาลาเฉลิมกรุง · ดูเพิ่มเติม »

ศาลาเฉลิมไทย

หน้าปกสูจิบัตรโฆษณา ฉบับเดือนเมษายน ปลายทศวรรษ 2510 ของศาลาเฉลิมไทย ศาลาเฉลิมไทย เป็นโรงมหรสพ โรงภาพยนตร์ ตั้งอยู่ที่มุม ถนนราชดำเนินกลาง กับ ถนนมหาไชย ได้รับการสร้างขึ้นตามความประสงค์ของจอมพลแปลก พิบูลสงคราม ศาลาเฉลิมไทยได้สร้างขึ้นราวปี..

ใหม่!!: โรงภาพยนตร์และศาลาเฉลิมไทย · ดูเพิ่มเติม »

ศูนย์การค้า

ูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา เวสต์เกต เป็นศูนย์การค้าแห่งหนึ่งในพื้นที่จังหวัดนนทบุรี ศูนย์การค้าเทอร์มินอล 21 โคราช เป็นศูนย์การค้าแห่งหนึ่งในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา ศูนย์การค้า คืออาคารหรือกลุ่มของอาคารที่มีการขายสินค้าและบริการแบบขายปลีกอยู่ในพื้นที่พัฒนาเดียวกัน โดยต้องมีพื้นที่เช่าสุทธิ (NLA) ไม่น้อยกว่าประมาณ 1,850 ตารางเมตร (20,000 ตารางฟุต) สำหรับการพัฒนาพื้นที่แบบมิกซ์ยูส จะไม่รวมเนื้อที่ของกิจการอื่นที่ไม่ใช่พื้นที่ค้าปลีก พื้นที่ศูนย์การค้าสามารถอยู่ในร่มภายใต้อาคารเดียวกันหรืออยู่กลางแจ้งที่มีพื้นที่ติดต่อกันแบบเปิดโล่งก็ได้ ผลิตภัณฑ์ที่ขายในศูนย์การค้าไม่ได้จัดแบ่งตามแผนก ขึ้นอยู่กับตัวแทนจำหน่ายที่จะขอเช่าพื้นที่หรือล็อกที่ศูนย์การค้าได้จัดสรรไว้ให้ จึงสามารถเห็นภัตตาคารตั้งอยู่ข้างร้านหนังสือหรือร้านเครื่องดนตรีก็ได้ในศูนย์การค้า ศูนย์การค้ามีความแตกต่างจากห้างสรรพสินค้า กล่าวคือ ห้างสรรพสินค้าจะเป็นผู้ไปติดต่อผู้ผลิตหรือพ่อค้าคนกลางเพื่อนำสินค้ามาขายเอง ในขณะที่ศูนย์การค้าไม่ต้องไปหาผลิตภัณฑ์มาวางขาย แต่เปิดให้เช่าพื้นที่กับตัวแทนจำหน่ายจากธุรกิจอื่น และมีการทำสัญญาเก็บค่าเช่าตามระยะเวลาที่กำหนด ในปัจจุบันมีสถานที่ซึ่งมีลักษณะเป็นทั้งศูนย์การค้าแต่มีห้างสรรพสินค้าตั้งอยู่ภายในในเวลาเดียวกัน โดยทั่วไปมักจะนับรวมทั้งอาคารเป็นศูนย์การค้าทั้งหม.

ใหม่!!: โรงภาพยนตร์และศูนย์การค้า · ดูเพิ่มเติม »

สยามสแควร์

มสแควร์ด้านนถนนพญาไท สยามสแควร์ ศูนย์การค้าแบบเชิงราบ จากภาพคือบริเวณสยามสแควร์ซอย 7 สยามสแควร์ ปี พ.ศ. 2558 สยามสแควร์ หรือเรียกกันว่า สยาม เป็นศูนย์การค้าแบบเชิงราบในกรุงเทพมหานคร เนื้อที่ 63 ไร่ ตั้งอยู่บนหัวมุมถนนพญาไท และถนนพระราม 1 โดยด้านหลังติดกับถนนอังรีดูนังต์ และด้านทิศตะวันออกติดต่อกับคณะเภสัชศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุขและคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อีกด้านหนึ่งติดกับ ห้างสรรพสินค้าเอ็มบีเคเซ็นเตอร์ และอีกด้านหนึ่งติดกับ สยามดิสคัฟเวอรี สยามเซ็นเตอร์และสยามพารากอน สยามสแควร์เป็นพื้นที่ในความดูแลของสำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ธุรกิจในสยามสแควร์มีความหลากหลาย ทั้งโลกของแฟชั่น อาหาร พื้นที่โฆษณา โรงเรียนกวดวิชา สังคมเด็กแนว หรือในแวดวงทางการธุรกิจการตลาด เป็นสถานที่ที่มีการทดลองสินค้า และกิจกรรมการตลาดแบบแปลกใหม่และเข้มข้นที่สุดแห่งหนึ่ง มีจำนวนคนเดินในสยามสแควร์ในวันธรรมดาเฉลี่ยวันละ 20,000 คน วันหยุดไม่ต่ำกว่า 50,000 คน ซึ่งแต่ละคนมีกำลังซื้อเฉลี่ย 1,000 บาท/ครั้ง/คน สยามสแควร์ในปัจจุบันมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงภายนอก รูปแบบอาคารอยู่เสมอ แต่ระบบสาธารณูปโภคต่าง ๆ รวมถึงภูมิทัศน์ มีการเพิ่มการแพร่ภาพสื่อผ่านทางจอโทรทัศน์ทั่วสยามสแควร์ และทางสำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาโครงการศึกษาผังแม่บทสยามสแควร์ขึ้นอย่างจริงจัง และโครงการหลังจากเซ็นเตอร์พอยท์ได้หมดสัญญาลงไป ก็คือโครงการ "ดิจิตอล เกตเวย์" และยังมีโครงการอาคารจอดรถ โครงการโรงแรม 3 ดาวครึ่ง ในอนาคต สยามสแควร์มีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมสมัยนิยมของไทย โดยมีภาพยนตร์ที่มีฉากหรือเนื้อหาเกี่ยวกับสยามสแควร์ เช่น รักแห่งสยาม และ สยามสแควร์ นอกจากนี้มิวสิกวิดีโอก็นิยมใช้สยามสแควร์เป็นฉากในเรื่อง.

ใหม่!!: โรงภาพยนตร์และสยามสแควร์ · ดูเพิ่มเติม »

สะพานผ่านฟ้าลีลาศ

นผ่านฟ้าลีลาศ เป็นสะพานข้ามคลองรอบกรุง ตอนที่เรียกว่าคลองบางลำพู เชื่อมถนนราชดำเนินกลางและถนนราชดำเนินนอก บริเวณใกล้กับป้อมมหากาฬ ในพื้นที่เขตพระนครและเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร สะพานผ่านฟ้าลีลาศสร้างในปีใดไม่ปรากฏหลักฐาน แต่สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างพร้อมกับถนน เดิมเป็นสะพานโครงเหล็ก ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างสะพานใหม่ให้มีลักษณะใหม่และงดงามขึ้น และพระราชทานนามว่าสะพานผ่านฟ้าลีลาศ แม้ในสมัยต่อมาจะมีการปรับปรุงขยายสะพานผ่านฟ้าลีลาศอีกหลายครั้ง เพื่อรองรับกับจำนวนยวดยานพาหนะที่สัญจรผ่านไปมา แต่ก็ยังรักษาลักษณะศิลปกรรมเดิมไว้ให้มากที่สุด สะพานผ่านฟ้าลีลาศเป็นสะพานที่สวยงาม ปลายสะพานทั้ง 2 ฝั่งมีเสาหินอ่อนประดับด้วยเครื่องสำริดและมีลวดลายสลักที่เสาหินอ่อน มีลักษณะงดงามมาก เดิมบริเวณสะพานผ่านฟ้าลีลาศยังเคยเป็นที่ทำการสอนของ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในปี..

ใหม่!!: โรงภาพยนตร์และสะพานผ่านฟ้าลีลาศ · ดูเพิ่มเติม »

สะพานจตุรภักตร์รังสฤษดิ์

นจตุรภักตร์รังสฤษดิ์ หรือที่นิยมเรียกกันว่า สะพานขาว เป็นหนึ่งในสะพานที่สร้างข้ามคลองผดุงกรุงเกษม เชื่อมระหว่างถนนหลานหลวง ตั้งอยู่ในพื้นที่แขวงสี่แยกมหานาค เขตดุสิต กับแขวงคลองมหานาคและแขวงวัดโสมนัส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร ถือกำเนิดขึ้นโดยพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงโปรดเกล้าฯ ให้มีการสร้างสะพานข้ามคลองผดุงกรุงเกษม หลังจากพื้นที่พระนครและประชาชนริมคลองมีการขยายตัวขึ้น โดยการสร้างขึ้นมาทั้งหมดห้าแห่ง และมีการพระราชทานนามอันเป็นมงคลที่คล้องจองกันทั้งหมด คือ สะพานเทเวศรนฤมิตร, สะพานวิศสุกรรมนฤมาณ, สะพานมัฆวานรังสรรค์, สะพานเทวกรรมรังรักษ์ และสะพานจตุรภักตร์รังสฤษดิ์ ซึ่งมีความหมายโดยรวมว่า "สะพานที่เทวดาเนรมิตร" และในส่วนของสะพานจตุรภักตร์รังสฤษดิ์มีความหมายว่า "สะพานที่พระพรหมเป็นผู้สรรค์สร้าง" ได้รับการบูรณะเมื่อปี..

ใหม่!!: โรงภาพยนตร์และสะพานจตุรภักตร์รังสฤษดิ์ · ดูเพิ่มเติม »

สะพานเฉลิมหล้า 56

นเฉลิมหล้า 56 หรือ สะพานหัวช้าง ในยุครัชกาลที่ 5 ภาพในปัจจุบัน สะพานเฉลิมหล้า 56 หรือ สะพานหัวช้าง เป็นสะพานในชุดเฉลิม สะพานที่ 15 สร้างข้ามคลองบางกะปิหรือคลองแสนแสบ ที่ถนนพญาไท เพื่อเชื่อมทางระหว่างพระนครให้ต่อกันทั้งตอนเหนือและตอนใต้ คู่กับสะพานเฉลิมโลก 55 สะพานนี้อยู่ติดกับวังสระปทุม สะพานเฉลิมหล้า 56 เป็นสะพานที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาปีที่ 56 มีลักษณะเป็นสะพานคอนกรีตเสริมเหล็ก คานเป็นคอนกรีตรูปโค้ง มีรายละเอียดงดงามมาก หัวสะพานทั้งสี่มุม มีรูปประดับเป็นช้าง 4 ด้าน ลูกกรงหล่อแบบลูกมะหวดฝรั่ง กลางสะพานมีพระปรมาภิไธยย่อ จปร.

ใหม่!!: โรงภาพยนตร์และสะพานเฉลิมหล้า 56 · ดูเพิ่มเติม »

สามย่าน

มย่าน อาจหมายถึง.

ใหม่!!: โรงภาพยนตร์และสามย่าน · ดูเพิ่มเติม »

สถานีหัวลำโพง

นีหัวลำโพง อาจหมายถึง.

ใหม่!!: โรงภาพยนตร์และสถานีหัวลำโพง · ดูเพิ่มเติม »

อมรินทร์ทีวี

อมรินทร์ ทีวี (Amarin TV) เป็นสถานีโทรทัศน์ระบบดิจิทัล ความคมชัดสูงจากบริษัทอมรินทร์ ที่เสนอรายการวาไรตี้และข่าวสารและผู้ผลิตมืออาชีพ โดดเด่นด้วยรายการไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต เช่น การแต่งบ้าน ซ่อมแซมบ้าน จัดสวน ทำอาหาร รายการสำหรับแม่และเด็ก อนึ่ง อมรินทร์ทีวี มีชื่อเดิมคือ อมรินทร์ แอคทีฟ ทีวี (Amarin Activ TV) ซึ่งเริ่มออกอากาศครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2556 โดยออกอากาศเป็นสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมมาก่อน แต่ในปลายเดือนมกราคม พ.ศ. 2557 อมรินทร์ แอคทีฟ ทีวี ต้องหยุดการแพร่ภาพออกอากาศ เนื่องจากบริษัท อมรินทร์ เทเลวิชั่น จำกัด ในฐานะผู้ดำเนินกิจการสถานีฯ ต้องการปรับรูปแบบการออกอากาศของสถานีฯ ไปเป็นโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล หลังจากที่เป็นหนึ่งในผู้ชนะการประมูลช่องโทรทัศน์ระบบดิจิทัลภาพความคมชัดสูง (เอชดีทีวี) และได้รับใบอนุญาตการออกอากาศช่องโทรทัศน์จาก กสทช. เป็นเวลา 15 ปี ทำให้ไม่มีการแพร่ภาพออกอากาศของสถานีฯแห่งนี้ ยาวนานเกือบ 4 เดือน อมรินทร์ ทีวี เตรียมทำการทดลองออกอากาศตามแผนที่กำหนดไว้ในวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 เวลา 11.00 น.

ใหม่!!: โรงภาพยนตร์และอมรินทร์ทีวี · ดูเพิ่มเติม »

ฮอลลีวูด

ป้ายฮอลลีวูด ฮอลลีวูด (Hollywood) เป็นชื่อเขตในนครลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย เหมือนกับเป็นถนนหรือเขตหนึ่งเท่านั้น ประเทศสหรัฐอเมริกา ตั้งอยู่ทางตะวันตกถึงตะวันตกเฉียงเหนือของศูนย์กลางนครลอสแอนเจลิส เนื่องจากว่าฮอลลิวูดนั้นมีชื่อเสียงและมีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมในฐานะที่เป็นศูนย์กลางแห่งประวัติศาสตร์ของโรงถ่ายทำภาพยนตร์ และดาราภาพยนตร์ที่มีชื่อเสียงระดับโลก ดังนั้น ชื่อของฮอลลีวูดจึงมักจะถูกเรียกเป็นชื่อแทนของโรงภาพยนตร์แห่งสหรัฐอเมริกาอีกด้วย ทุกวันนี้มีอุตสาหกรรมภาพยนตร์จำนวนมากที่ได้แพร่กระจายไปรอบๆพื้นที่ของแคลิฟอร์เนียและทางตะวันตกของนครลอสแอนเจลิส แต่อุตสาหรรมภาพยนตร์หลักๆที่สำคัญไม่ว่าจะเป็นการตัดต่อ การใส่เทคนิคพิเศษ ผู้สนับสนุน การผลิตขั้นสุดท้าย และบริษัททางด้านแสงประกอบ ยังคงอยู่ในฮอลลีวูด โรงละครสำคัญๆทางประวัติศาสตร์ของฮอลลีวูดหลายแห่งถูกใช้เป็นสถานที่ชุมนุมและเวทีคอนเสิร์ตในงานเปิดตัวสำคัญๆระดับยักษ์ใหญ่ของโลกและยังเป็นเจ้าภาพในการประกาศรางวัลออสการ์หรือที่เรียกกันติดปากว่ารางวัลออสการ์นั่นเอง ฮอลลีวูดเป็นสถานที่ที่คนทั่วโลกต้องการมาเยือนทั้งนักผจญราตรีและนักท่องเที่ยวทั้งหลาย และยังเป็นที่ตั้งของถนน ฮอลลีวูดวอล์กออฟเฟม (Hollywood Walk of Fame) ที่มีชื่อเสียงอีกด้วย ฮอลลีวูด ค.ศ. 1885 โรงแรมฮอลลีวูด ค.ศ. 1905 ใน ค.ศ. 1853 กระท่อมอิฐหลังเล็กๆหลังหนึ่งได้กลายมาเป็นฮอลลีวูดในทุกวันนี้ ในราวปี ค.ศ. 1870 ชุมชนเกษตรกรรมได้เจริญขึ้นมาในพื้นที่แห่งนี้พร้อมๆกับผลผลิตที่เจริญงอกงามมากในช่วงนั้น ที่มาของชื่อฮอลลีวูด ที่ได้รับความเชื่อถือมากที่สุดนั้นน่าจะมาจากชื่อของต้น Tyon ท้องถิ่นหรือเรียกกันว่า "แคลิฟอร์เนียฮอลลี่" ที่มีอย่างอุดมสมบูรณ์ปกคลุมเนินเขาในสมัยนั้นและยังออกผลเบอร์รี่สีแดงกระจายอยู่ทั่วไปในช่วงหน้าหนาวของทุกปีอีกด้วย จากนั้นความเชื่อนี้และความเชื่อในเรื่องของที่มาของคำว่าฮอลลี่นี้ก็มีคนเชื่อถือมากขึ้นเรื่อยๆแต่ยังไม่ได้รับการยืนยันว่าเป็นความจริงแต่อย่างใด บ้างก็ว่าชื่อของฮอลลีวูดนี้เป็นชื่อที่ตั้งโดย เอช.เจ.ไวท์ลี่ย์ บิดาแห่งฮอลลีวูด ซึ่งทั้งเขาและกีกี้ ภรรยาของเขาได้ตั้งชื่อนี้ขึ้นขณะที่มาฮันนีมูนกัน ตามบันทึกของมากาเร็ต เวอร์จิเนีย ไวท์ลี่ย์ บ้างก็ว่ามาจาก ฮาร์วี่ย์ วิลคอกซ์ ที่ได้มาซื้อที่ดินในบริเวณนี้และก็พัฒนาเป็นชุมชุนขึ้นมา โดยดาเออิดา ภรรยาของเขาได้พบกับผู้หญิงคนหนึ่งบนรถไฟที่บอกว่าเธอได้ตั้งชื่อบ้านพักฤดูร้อนที่รัฐโอไฮโอว่า ฮอลลีวูด ดาเออิดาชอบชื่อนี้และก็เอามาตั้งเป็นชื่อของชุมชนที่ตั้งขึ้นมาใหม่นี้ คำว่าฮอลลีวูดนี้ได้ปรากฏเป็นครั้งแรกในแผนที่ของวิลคอกซ์สำหรับการแบ่งสรรพื้นที่และปรากฏในเอกสารของบันทึกเขตปกครองของวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1887 ตามคำพูดของจอร์แดน แมกซ์เวลล์นั้น ชื่อของฮอลลีวูดนั้นอ้างอิงมาจากไม้กายสิทธิ์ Druidic ซึ่งทั้งไม้กายสิทธิ์และอุตสาหกรรมภาพยนตร์ฮอลลีวูดนั้นเป็นเครื่องมือในการจัดการกับคน ราวปี ค.ศ. 1900 คณะบุคคลที่เรียกตัวเองว่า Cahuenga ได้จัดตั้งที่ทำการไปรษณีย์ หนังสือพิมพ์ โรงแรม และตลาดสองแห่งด้วยจำนวนประชากรเพียง 500 คน ซึ่งในขณะนั้น ลอสแอนเจลิสมีประชากรประมาณ 100,000 คนและมีเมืองที่ทอดผ่านสวนผลไม้รถส้มเป็นระยะทางกว่า 7 ไมล์ มีชื่อเส้นทางเดินรถเพียงชื่อเดียวจากใจกลางของ Prospent Avenue ที่พาดผ่านแต่มีการให้บริการไม่บ่อยนักและต้องใช้เวลาเดินทางประมาณ 2 ชั่วโมง แต่บ้านสำหรับการบรรจุหีบห่อผลไม้รสส้มในสมัยก่อนนั้นอาจจะกลายเป็นจุดสำคัญที่นำความเจริญและการคมนาคมที่สะดวกสบายขึ้นมาสู่ผู้อยู่อาศัยในย่านฮอลลีวูด โรงแรมฮอลลีวูดอันเป็นโรงแรมใหญ่โรงแรมแรกของฮอลลีวูดที่มีชื่อเสียงนั้น เปิดบริการในปี ค.ศ. 1902 โดยเอช.เจ.ไวท์ลี่ย์ เพื่อขายเป็นที่พักอาศัยเป็นจำนวนมากท่ามกลางฟาร์มปศุสัตว์ ตั้งอยู่หน้า Prospect Avenue และด้านข้างฝั่งตะวันตกของ Highland Avenue ปี ค.ศ. 1903 ฮอลลีวูดรวมเป็นเทศบาลแห่งหนึ่ง และในปี ค.ศ. 1904 รถบรรทุกวิ่งจากลอสแอนเจลิสมายังฮอลลีวูดคันใหม่ก็เปิดให้ใช้บริการ ระบบนี้เรียกว่า Hollywood Boulevard ซึ่งช่วยร่นระยะเวลาการเดินทางไป-กลับลอสแอนเจลิสได้อย่างมาก ปี ค.ศ. 1910 มีการพยายามจะรักษาระดับการขายน้ำอย่างพอเพียง ชาวเมืองจึงโหวตให้ฮอลลีวูดผนวกเป็นส่วนหนึ่งของนครลอสแอนเจลิส จึงทำให้ระบบชลประทานเพื่อการพัฒนาเมืองนั้นถูกเปิดเป็น Los Angeles Aqueduct และต่อน้ำทางท่อจากแม่น้ำโอเว่นในหุบเขาโอเว่น นอกจากนั้น การโหวตครั้งนี้ก็ยังมีเหตุผลมาจากกาารต้องการให้ฮอลลิวูดกลายเป็นทางระบายน้ำเสียของนครลอสแอนเจลิสอีกด้วย หลังจากรวมกับนครลอสแอนเจลิสแล้ว ชื่อ Prospect Avenue ก็เปลี่ยนมาเป็น Hollywood Boulevard รวมทั้งหมายเลขถนนในพื้นที่แห่งนี้ เช่น จาก 100 Prospect Avenue ที่ Vermont Avenue กลายเป็น 6400 Hollywood Boulevard และ 100 Cahuenga Boulevard ที่ Hollywood Bouvelard เป็น 1700 Cahuenga Boulevard เป็นต้น.

ใหม่!!: โรงภาพยนตร์และฮอลลีวูด · ดูเพิ่มเติม »

ถนนราชดำเนิน (กรุงเทพมหานคร)

นนราชดำเนินกลางและอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ถนนราชดำเนิน (Thanon Ratchadamnoen) เป็นถนนสายสำคัญสายหนึ่งในกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วยถนน 3 สาย ได้แก.

ใหม่!!: โรงภาพยนตร์และถนนราชดำเนิน (กรุงเทพมหานคร) · ดูเพิ่มเติม »

ถนนเพชรบุรี

นนเพชรบุรีช่วงแยกประตูน้ำบริเวณหน้าห้างแพลทินัมแฟชันมอลล์ ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ ช่วงหน้าโรงเรียนเซนต์ดอมินิก ถนนเพชรบุรี (Thanon Phetchaburi) เป็นเส้นทางจราจรสำคัญสายหนึ่งในกรุงเทพมหานคร.

ใหม่!!: โรงภาพยนตร์และถนนเพชรบุรี · ดูเพิ่มเติม »

ถนนเยาวราช

รรยายกาศของเยาวราชยามค่ำคืนและร้านอาหารริมทาง ถนนเยาวราช (Thanon Yaowarat; 耀華力路) เป็นถนนสายหนึ่งในกรุงเทพมหานคร ระยะทางความยาวตลอดเส้นทางประมาณ 1.5 กิโลเมตร ได้รับการกล่าวขานและขนานนามว่าเป็น "ถนนมังกร" โดยมีจุดเริ่มต้นของหัวมังกรที่ซุ้มประตูเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษาบริเวณวงเวียนโอเดียน ท้องมังกรอยู่ที่บริเวณตลาดเก่าเยาวราชและสิ้นสุดปลายหางมังกรที่บริเวณปลายสุดของถนน สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ใช้ระยะเวลาในการตัดถนน 8 ปี ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2434 - พ.ศ. 2443 เพื่อให้เยาวราชกลายเป็นสถานที่สำหรับส่งเสริมการค้าขาย เดิมทีชื่อ "ถนนยุพราช" และได้โปรดเกล้าพระราชทานนามใหม่ว่า "ถนนเยาวราช" ถนนเยาวราชประกอบไปด้วยจุดสำคัญหลายจุดเช่น วงเวียนโอเดียน, ถนนเจริญกรุง ซึ่งอยู่ในท้องที่แขวงสัมพันธวงศ์ เขตสัมพันธวงศ์ ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของถนนเยาวราชตัดกับถนนทรงสวัสดิ์ (สี่แยกเฉลิมบุรี), ถนนราชวงศ์ (สี่แยกราชวงศ์) และถนนจักรวรรดิ (สี่แยกวัดตึก) ข้ามคลองรอบกรุง (สะพานภาณุพันธุ์) เข้าสู่ท้องที่แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร สิ้นสุดที่แยกถนนพีระพงษ์ตัดกับถนนมหาไชยและถนนจักรเพชร บริเวณถนนเยาวราชเป็นแหล่งชุมชนชาวจีนและชาวไทยเชื้อสายจีนเป็นจำนวนมาก จัดเป็นย่านธุรกิจการค้า, การเงิน การธนาคาร, ร้านทอง, ภัตตาคาร ร้านอาหาร, ร้านค้า ฯลฯ รวมทั้งแหล่งท่องเที่ยวสำคัญแห่งหนึ่งของกรุงเทพมหานครโดยได้รับการขนานนามว่าเป็น "ไชนาทาวน์แห่งกรุงเทพมหานคร" จากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ และถือว่าเป็นไชนาทาวน์หรือชุมชนชาวจีนที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก.

ใหม่!!: โรงภาพยนตร์และถนนเยาวราช · ดูเพิ่มเติม »

ถนนเจริญกรุง

นนเจริญกรุงในสมัยรัชกาลที่ 5 ถนนเจริญกรุงในกลางปี พ.ศ. 2559 ช่วงเชิงสะพานพิทยเสถียร (สะพานเหล็กล่าง) ย่านตลาดน้อย เขตสัมพันธวงศ์ ถนนเจริญกรุง (Thanon Charoen Krung) ถนนสายสำคัญสายหนึ่งในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เริ่มต้นตั้งแต่ถนนสนามไชยบริเวณวงเวียน รด. หน้าหน่วยบัญชาการรักษาดินแดน สิ้นสุดที่แม่น้ำเจ้าพระยาที่ถนนตก บริเวณโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ และการไฟฟ้านครหลวง เขตยานวานา เป็นถนนรุ่นแรกที่ใช้เทคนิคการสร้างแบบตะวันตก ผ่านพื้นที่เขตพระนคร, เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย, เขตสัมพันธวงศ์, เขตบางรัก, เขตสาทร และเขตบางคอแหลม และเป็นเส้นแบ่งของเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย (ด้านซ้าย) กับเขตสัมพันธวงศ์ (ด้านขวา) ตั้งแต่ช่วงคลองถมไปจนถึงบริเวณแยกหมอมี ถนนเจริญกรุงเป็นถนนที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2405 แล้วเสร็จใน พ.ศ. 2407 มีความยาวจากถนนสนามไชยถึงดาวคะนอง 8,575 เมตร การก่อสร้างถนนเจริญกรุงนั้นเนื่องจากในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีชาวต่างประเทศเข้ามาอยู่ในกรุงเทพฯ มากขึ้น และมีพวกกงสุลได้เข้าชื่อกันขอให้สร้างถนนสายยาวสำหรับขี่ม้าหรือนั่งรถม้าตากอากาศและอ้างว่า “เข้ามาอยู่ที่กรุงเทพมหานครไม่มีถนนหนทางที่จะขี่รถม้าไปเที่ยว พากันเจ็บไข้เนือง ๆ” ในปีระกา พ.ศ. 2404 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค ต่อมาคือ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ที่สมุหพระกลาโหมเป็นแม่กอง พระยาอินทราธิบดีสีหราชรองเมืองเป็นนายงาน รับผิดชอบในการก่อสร้างถนนช่วงตั้งแต่คูเมืองชั้นในถึงถนนตกริมแม่น้ำเจ้าพระยาที่ตำบลบางคอแหลม เรียกว่าถนนเจริญกรุงตอนใต้ (แต่ชาวบ้านมักเรียกว่าเจริญกรุงตอนล่าง) กว้าง 5 วา 4 ศอก (ประมาณ 10 เมตร หรือเทียบได้กับถนน 4 เลน) โดยมีนายเฮนรี อาลาบาศเตอร์ (ต้นสกุลเศวตศิลา) เป็นผู้สำรวจแนวถนนและเขียนแผนผังถนน และในปีจอ พ.ศ. 2405 โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยายมราช (ครุฑ) เป็นแม่กอง พระยาบรรหารบริรักษ์ (สุ่น) เป็นนายงาน รับผิดชอบการก่อสร้างถนนเจริญกรุงตอนใน คือช่วงระยะทางตั้งแต่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร (วัดโพธิ์) ถึงสะพานดำรงสถิต (สะพานเหล็กบน) กว้าง 4 วา โดยสร้างเป็นถนนดินอัด เอาอิฐเรียงตะแคงปูให้ชิดกัน ตรงกลางนูนสูง เมื่อถูกฝนไม่กี่ปีก็ชำรุด การก่อสร้างถนนเจริญกรุงตอนในนี้เดิมกำหนดให้ตัดตรงจากสะพานดำรงสถิต ถึงกำแพงเมืองด้านถนนสนามไชย แต่พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทักท้วงว่าการสร้างถนนตรงมาสู่พระบรมมหาราชวังอาจเป็นชัยภูมิให้ข้าศึกใช้ตั้งปืนใหญ่ยิงทำลายกำแพงเมืองได้ จึงต้องเปลี่ยนแนวถนนมาหักมุมเลี้ยวตรงเชิงสะพานดำรงสถิต เมื่อสร้างถนนเจริญกรุงเสร็จใหม่ ๆ นั้น ยังไม่ได้พระราชทานนาม จึงเรียกกันทั่วไปว่า ถนนใหม่ และชาวยุโรปเรียกว่า นิวโรด (New Road) ชาวจีนเรียกตามสำเนียงแต้จิ๋วว่า ซิงพะโล่ว (新打路) แปลว่าถนนตัดใหม่ ต่อมา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามถนนว่า "ถนนเจริญกรุง" ซึ่งมีความหมายถึงความเจริญรุ่งเรืองของบ้านเมือง เช่นเดียวกับชื่อถนนบำรุงเมืองและถนนเฟื่องนคร ที่โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นในคราวเดียวกัน.

ใหม่!!: โรงภาพยนตร์และถนนเจริญกรุง · ดูเพิ่มเติม »

ข้าวโพดคั่ว

้าวโพดคั่วเคลือบคาราเมล ข้าวโพดคั่ว หรือ ป็อปคอร์น (Popcorn) หรือ ตอกคง ในภาษาไทยถิ่นใต้ เป็นอาหารว่างอย่างหนึ่ง ผลิตจากเมล็ดข้าวโพด ปัจจุบันเป็นที่รู้จักกันทั่วไปในหลายชนชาติ ต้นกำเนิดข้าวโพดคั่วนั้นอยู่ในดินแดนของอินเดียแดงในทวีปอเมริกา ตั้งแต่เมื่อประมาณ 5,600 ปีที่ผ่านมา นักโบราณคดีพบหลักฐานเกี่ยวกับข้าวโพดคั่วในซากเมืองโบราณหลายแห่ง เช่น เมืองอินคาทางอเมริกาใต้ เมืองมายาในอเมริกากลาง และเมืองอัซเตกในเม็กซิโก ต่างพบการใช้ข้าวโพดจำนวนมากมาเป็นเวลานานก่อนสมัยที่โคลัมบัสมาเยือนโลกใหม่ ข้าวโพดที่คั่วจนพองขาวแล้วชาวอินเดียแดงในอเมริกาเหนือจะนำมารับประทาน และร้อยสายด้วยหญ้า ทำเป็นเครื่องประดับสำหรับหัวหน้าเผ่าหรือนักรบ รูปเคารพเทพเจ้าฝนของชาวอัซเตก และเทพเจ้าข้าวโพด บางครั้งก็ประดับด้วยข้าวโพด และในบางแห่งของเม็กซิโกในปัจจุบันวันนี้ บางครั้งก็มีการใช้พวงข้าวโพดคั่วประดับเทวรูป เมื่อนักล่าอาณานิคมชาวอังกฤษสมัยแรกๆ ได้จัดงานขอบคุณพระเจ้าครั้งแรกขึ้น ชาวอินเดียแดงนามว่า เควเดอควีนา ได้นำอาหารมาในงานเลี้ยง นั่นคือข้าวโพดคั่ว ใส่ถุงหนังกวางขนาดใหญ่ ผู้เข้าร่วมในงานได้ ซึ่งต่อมาก็กลายเป็นส่วนสำคัญและเป็นเอกลักษณ์ในวิถีชีวิตแบบอเมริก.

ใหม่!!: โรงภาพยนตร์และข้าวโพดคั่ว · ดูเพิ่มเติม »

คลองผดุงกรุงเกษม

ลองผดุงกรุงเกษมบริเวณสะพานเจริญสวัสดิ์ (ภาพถ่ายสมัยรัชกาลที่ 5) คลองผดุงกรุงเกษม ในปัจจุบัน คลองผดุงกรุงเกษม เป็นคลองรอบพระนครชั้นนอก ขุดขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้ขุดเมื่อ..

ใหม่!!: โรงภาพยนตร์และคลองผดุงกรุงเกษม · ดูเพิ่มเติม »

คลองถม

ลองถม เป็นแหล่งขายของมือสองและของเก่า รวมทั้งอุปกรณ์รถยนต์ประดับยนต์ รวมไปถึงของจิปาถะ เป็นย่านการค้าที่ตั้งอยู่ระหว่างถนนวรจักรและถนนเจริญกรุงกับเยาวราชมาแต่โบราณ ปัจจุบันตั้งอยู่เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร เดิมคลองถมนั้นเรียกกันว่า คลองสำเพ็ง โดยมีปลายคลองด้านหนึ่งติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา ส่วนปลายคลองอีกด้านออกสู่คลองมหานาค เมื่อมีการตัดถนนเพิ่มขึ้น และทางการได้ลดจำนวนคลองลง ในช่วงก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ. 2475 จากนั้นก็ได้มีการสร้างถนนขึ้นบริเวณคลองนี้ ตอนแรกก็ถมกันด้วยขยะทั่วไป ต่อมาก็แปรสภาพมาเป็นถนน ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ละแวกนั้นมาแต่เดิม เรียกกันติดปากเรื่อยมากันว่า "คลองถม" จนถึงทุกวันนี้ คลองถม ถือเป็นแหล่งขายของมือสอง อุปกรณ์รถยนต์ ตลอดจนถึงของจิปาถะเป็นเวลายาวนานจนเป็นที่รู้จักกันดี โดยเฉพาะในวันหยุดสัปดาห์จะมีทั้งผู้ค้าและผู้ซื้อคับคั่ง จนเกิดเป็นปัญหาการจราจร จนกระทั่งหลังการรัฐประหารใน พ.ศ. 2557 รัฐบาลมีนโยบายจัดระเบียบสังคม จึงมีนโยบายให้ผู้ค้าคลองถมเลิกขาย โดยจะหาพื้นที่ใหม่ให้ ซึ่งในวันที่ 1 มีนาคม..

ใหม่!!: โรงภาพยนตร์และคลองถม · ดูเพิ่มเติม »

น้ำอัดลม

น้ำอัดลม เป็นเครื่องดื่มชนิดหนึ่งที่ไม่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ มีสีสันแตกต่างกันไป มีคนนิยมดื่มมากและสามารถหาซื้อได้ทั่วไปในร้านที่ขายเครื่องดื่ม นิยมบรรจุในรูปแบบกระป๋อง ขวดแก้ว ขวดพลาสติก เป็นต้น.

ใหม่!!: โรงภาพยนตร์และน้ำอัดลม · ดูเพิ่มเติม »

แยกไฟฉาย

แยกไฟฉาย เป็นสี่แยกถนนพรานนกบรรจบถนนจรัญสนิทวงศ์ ใจกลางพื้นที่เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร เป็นจุดเริ่มต้นของถนนพรานนก ซึ่งเชื่อมต่อกับถนนอิสรภาพและถนนอรุณอมรินทร์ ไปยังตลาดสดพรานนก และพื้นที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาของฝั่งธนบุรีชั้นใน ได้แก่ท่าน้ำวังหลัง โรงพยาบาลศิริราช ในเขตบางกอกน้อย และวัดอรุณฯ พระราชวังเดิม ในเขตบางกอกใหญ่ แยกไฟฉายเดิมมีสภาพเป็นสามแยกจนกระทั่งโครงการถนนพรานนกตัดใหม่แล้วเสร็จ จึงเกิดสภาพเป็นสี่แยก โดยเชื่อมถนนจรัญสนิทวงศ์และถนนพรานนกเข้ากับถนนกาญจนาภิเษก ซึ่งจะทำให้การสัญจรระหว่างพื้นที่บางกอกน้อยและพื้นที่รอบนอก เช่น ตลิ่งชัน ทวีวัฒนา สะดวกสบายมากขึ้น ตั้งแต่ปลายปี..

ใหม่!!: โรงภาพยนตร์และแยกไฟฉาย · ดูเพิ่มเติม »

ไอศกรีม

อศกรีมแบล็กวอลนัต ไอศกรีม (ice cream) หรือภาษาปากว่า ไอติม เป็นของหวานแช่แข็งชนิดหนึ่ง ได้จากการผสมส่วนผสม นำไปผ่านการฆ่าเชื้อ แล้วนั้นนำไปปั่นในที่เย็นจัด เพื่อเติมอากาศเข้าไปพร้อม ๆ กับการลดอุณหภูมิ โดยอาศัยเครื่องปั่นไอศกรีม ไอศกรีมตักโดยทั่วไปจะต้องผ่านขั้นตอนการแช่เยือกแข็งอีกครั้งก่อนนำมาขายหรือรับประทาน ไอศกรีม (อ่านว่า ไอ-สะ-กฺรีม) มาจากคำภาษาอังกฤษว่า ice-cream   พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถานให้เขียนเป็นภาษาไทยว่า ไอศกรีม ซึ่งเป็นคำที่เขียนกันมาแต่เดิม.

ใหม่!!: โรงภาพยนตร์และไอศกรีม · ดูเพิ่มเติม »

เวิ้งนครเกษม

วิ้งนครเกษม ในปี พ.ศ. 2559 บริเวณฝั่งถนนเจริญกรุง เวิ้งนครเกษม หรือ เวิ้งนาครเขษม เป็นย่านการค้า บนที่ดินขนาด 14 ไร่ 1 งาน 91 ตารางวา ตั้งอยู่ในเขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร เป็นศูนย์การค้าที่รวมสินค้าจีน ฝรั่ง และไทยไว้ด้วยกัน นับเป็นศูนย์การค้าสากลแห่งแรกของเกาะรัตนโกสินทร์ ปัจจุบันมีจุดเด่น คือ เป็นแหล่งจำหน่ายเครื่องดนตรี นอกจากนี้ก็มีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และหนังสือเก่าหายาก.

ใหม่!!: โรงภาพยนตร์และเวิ้งนครเกษม · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องฉายภาพยนตร์

รื่องฉายภาพยนตร์ เป็นอุปกรณ์แสง-เชิงกล สำหรับการฉายภาพยนตร์ จากฟิล์ม เป็นภาพเคลื่อนไหว ให้ไปปราฏภาพบนจอฉายภาพ ส่วนประกอบของเครื่องฉายภาพยนตร์นั้น ส่วนใหญ่แล้วก็เหมือนกับส่วนประกอบในกล้องถ่ายภาพยนตร์ เว้นแต่อุปกรณ์ให้ความสว่าง และอุปกรณ์ด้านเสียง.

ใหม่!!: โรงภาพยนตร์และเครื่องฉายภาพยนตร์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

โรงหนัง🎦

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »