โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การปฏิสนธิ

ดัชนี การปฏิสนธิ

การเข้าปฏิสนธิของสเปิร์ม การปฏิสนธิ (Fertilisation) หมายถึง การหลอมรวมระหว่างนิวเคลียสของเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้กับเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย การปฏิสนธิในสัตว์และพืชเป็นดังนี้.

10 ความสัมพันธ์: การเกิดเอ็มบริโอการเกิดเอ็มบริโอพืชรังไข่ละอองเรณูอะโครโซมตัวอสุจินิวเคลียสโครโมโซมไซโทพลาซึมเซลล์ไข่

การเกิดเอ็มบริโอ

การแบ่งตัวระหว่างการเจริญของเอ็มบริโอ การเกิดเอ็มบริโอ เริ่มหลังจากปฏิสนธิได้ไซโกตแล้ว ไซโกตจะแบ่งตัวแบบไมโทซิสจาก 1 เป็น 2 และจาก 2 เป็น 4 ไปเรื่อยๆจนได้เป็นเอ็มบริโอที่เป็นกลุ่มของเซลล์ที่เป็นก้อน จากนั้นเอ็มบริโอจะมีการเจริญไปเป็นระยะต่าง.

ใหม่!!: การปฏิสนธิและการเกิดเอ็มบริโอ · ดูเพิ่มเติม »

การเกิดเอ็มบริโอพืช

การเกิดเอ็มบริโอพืช (plant embryogenesis) คือการเจริญของไซโกตและเอนโดสเปิร์มในพืชมีดอกหลังการปฏิสนธิซ้อนโดยไซโกต เอนโดสเปิร์มและ รังไข่แล้วจะมีการเจริญเติบโตเป็นลำดับดังนี้.

ใหม่!!: การปฏิสนธิและการเกิดเอ็มบริโอพืช · ดูเพิ่มเติม »

รังไข่

รังไข่ มี 2 อัน อยู่คนละข้างของมดลูก มีขนาดประมาณเท่านิ้วหัวแม่มือ หนักประมาณ 2-3 กรัม.

ใหม่!!: การปฏิสนธิและรังไข่ · ดูเพิ่มเติม »

ละอองเรณู

ละอองเรณู เป็นเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ของพืชดอก อยู่ในอับเรณู (anther) เมื่อแก่เต็มที่อับเรณูจะแตกออก ทำให้ละอองเรณูที่อยู่ภายในถูกพาไปผสมพันธุ์กับไข่ได้ ทั้งนี้อาจอาศัยกระแสลม กระแสน้ำ แมลง มนุษย์ และ สัตว์อื่นๆ หากพิจารณาลักษณะของละอองเรณู อาจจำแนกได้เป็น 4 กลุ่ม คือ กลุ่มที่มีเซลล์เดี่ยว กลุ่มที่มีสองเซลล์ กลุ่มที่มีสี่เซลล์ และกลุ่มที่มีหลายเซลล์ ซึ่งพืชแต่ละชนิดจะมีจำนวนเซลล์ยึดเกาะกันในจำนวนเฉพาะและเป็นลักษณะของชนิดพืช ในการบรรยายลักษณะของละอองเ___ลรณูต้องพิจารณาหลายลักษณะ ได้แก่ ขนาด รูปร่าง ขั้ว สมมาตรของเรณูและโครงสร้างของผนังเซลล์ (exine) ช่องเปิดของเรณู (aperture) ได้แก่รูเปิด (pore) หรือร่องเปิด (furrow) หรือเป็นช่องเปิดแบบผสมก็มี และลวดลายของพื้นผิวละอองเรณู (exine sculturing) หมวดหมู่:กายวิภาคศาสตร์ของพืช หมวดหมู่:ดอกไม้ หมวดหมู่:เซลล์สืบพันธุ์ mzn:گرده (نمین).

ใหม่!!: การปฏิสนธิและละอองเรณู · ดูเพิ่มเติม »

อะโครโซม

อะโครโซม(acrosome) เป็นออร์แกแนลล์ที่อยู่บริเวณส่วนหัวของตัวอสุจิของสัตว์ส่วนใหญ่ มีรูปร่างคล้ายหมวก พัฒนามาจากกอลจิแอปพาราตัส เอนไซม์ที่สำคัญในอะโครโซมคือ hyaluronidase และ acrosin ซึ่งจะทำลายเยื่อหุ้มของเซลล์ไข่ เรียก zona pellucida เพื่อให้นิวเคลียสของอสุจิเข้าไปผสมกับนิวเคลียสของไข่ได้ อสุจิของมนุษ.

ใหม่!!: การปฏิสนธิและอะโครโซม · ดูเพิ่มเติม »

ตัวอสุจิ

รูปแบบการปฏิสนธิ ตัวอสุจิ (sperm) คือเซลล์สืบพันธุ์ที่แบ่งตัวด้วยกระบวนการไมโอซิสจากร่างกายของสัตว์เพศผู้ในวัยเจริญพันธุ์ และไม่สามารถแบ่งย่อยลงไปได้อีก โดยการปฏิสนธิจะเกิดขึ้นเมื่อตัวอสุจิผสมกับเซลล์ไข่ในสัตว์เพศเมีย ตัวอสุจิถูกสร้างมาตัวเพศชายและหลั่งออกมาพร้อมกับน้ำเลี้ยงที่เรียกรวมกันว่า น้ำอสุจิ ตัวอสุจิจะสามารถอยู่ได้ประมาณ 3 วันในร่างกายของสัตว์เพศเมียโดยไม่สัมผัสอากาศหรือของเหลวอื่น.

ใหม่!!: การปฏิสนธิและตัวอสุจิ · ดูเพิ่มเติม »

นิวเคลียส

นิวเคลียส (nucleus, พหูพจน์: nucleuses หรือ nuclei (นิวคลีไอ) มีความหมายว่า ใจกลาง หรือส่วนที่อยู่ตรงกลาง โดยอาจมีความหมายถึงสิ่งต่อไปนี้ โดยคำว่า นิวเคลียส (Nucleus) เป็นคำศัพท์ภาษาละตินใหม่ (New Latin) มาจากคำศัพท์เดิม nux หมายถึง ผลเปลือกแข็งเมล็ดเดียว (nut).

ใหม่!!: การปฏิสนธิและนิวเคลียส · ดูเพิ่มเติม »

โครโมโซม

ซนโทรเมียร์ คือจุดที่โครมาทิดทั้งสองอันสัมผัสกัน, (3) แขนข้างสั้น และ (4) แขนข้างยาว โครโมโซมมนุษย์ โครโมโซม (chromosome) เป็นที่เก็บของหน่วยพันธุกรรม ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมและถ่ายทอดข้อมูล เกี่ยวกับ ลักษณะทางพันธุกรรมต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิต เช่น ลักษณะของเส้นผม ลักษณะดวงตา เพศ และสีผิว หน่วยพันธุกรรม หรือ ยีน (gene) ปรากฏอยู่บนโครโมโซม ประกอบด้วยดีเอ็นเอ ทำหน้าที่กำหนดลักษณะ ทางพันธุกรรมต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิต หน่วยพันธุกรรมจะถูกถ่ายทอดจากสิ่งมีชีวิตรุ่นก่อนหน้าสู่ลูกหลาน เช่น ควบคุมกระบวนการเกี่ยวกับกิจกรรมทั่วไปทางชีวเคมีภายในเซลล์สิ่งมีชีวิต ไปจนถึงลักษณะปรากฏที่พบเห็นหรือสังเกตได้ด้วยตา เช่น รูปร่างหน้าตาของเด็กที่คล้ายพ่อแม่, สีสันของดอกไม้, รสชาติของอาหารนานาชนิด ล้วนแล้วแต่เป็นลักษณะที่บันทึกอยู่ในหน่วยพันธุกรรมทั้งสิ้น.

ใหม่!!: การปฏิสนธิและโครโมโซม · ดูเพิ่มเติม »

ไซโทพลาซึม

ไซโทพลาซึม นี่คือภาพเซลล์โดยสัตว์ทั่วไป ประกอบด้วยออร์แกเนลล์ต่าง ๆ ดังนี้ (1) นิวคลีโอลัส (2) นิวเคลียส (3) ไรโบโซม (4) เวสิเคิล (5) เอนโดพลาสมิกเรติคูลัมแบบผิวขรุขระ (6) กอลไจแอปพาราตัส (7) ไซโทสเกลเลตอน (8) เอนโดพลาสมิกเรติคูลัมแบบผิวเรียบ (9) ไมโทคอนเดรีย (10) แวคิวโอล (11) ไซโทพลาซึม (12) ไลโซโซม (13) เซนทริโอล ไซโทพลาซึม (cytoplasm) คือส่วนประกอบของเซลล์ที่อยู่ภายใต้เยื่อหุ้มเซลล์ แต่อยู่นอกนิวเคลียส หรือเรียกได้ว่า ไซโทพลาซึมเป็นส่วนของโพรโทพลาสซึมที่อยู่นอกนิวเคลียส ไซโทพลาซึมประกอบไปด้วยส่วนที่เป็นโครงสร้างย่อย ๆ ภายในเซลล์ เรียกว่าออร์แกเนลล์ (organelle) และส่วนที่เป็นของกึ่งเหลว เรียกว่าไซโทซอล (cytosol) องค์ประกอบประมาณ 80% ของไซโทพลาซึมเป็นน้ำ และมักไม่มีสี ในเซลล์โพรแคริโอต (ซึ่งไม่มีนิวเคลียส) เนื้อในของเซลล์ทั้งหมดจะอยู่ในไซโทพลาซึม สำหรับเซลล์ยูแคริโอต องค์ประกอบภายในนิวเคลียสจะแยกออกจากไซโทพลาซึม และมีชื่อเรียกแยกว่า '''นิวคลิโอพลาซึม''' กิจกรรมต่างๆ ในระดับเซลล์มักเกิดขึ้นในไซโทพลาซึม เช่น ไกลโคไลซิส และการแบ่งเซลล์ บริเวณเนื้อด้านในๆ ของไซโทพลาซึมเรียกว่า เอนโดพลาซึม (endoplasm) ส่วนเนื้อด้านนอกของไซโทพลาซึมที่อยู่ถัดจากเยื้อหุ้มเซลล์ลงมา เรียกว่า เอกโตพลาซึม หรือ เซลล์คอร์เทกซ์ (cell cortex) ในเซลล์ของพืช จะมีการไหลเวียนของไซโทพลาซึมภายในเซลล์เพื่อลำเลียงสารจากบริเวณหนึ่งของเซลล์ไปยังอีกบริเวณหนึ่ง เรียกการไหลเวียนนี้ว่า ไซโทพลาสมิก สตรีมมิ่ง (cytoplasmic streaming) หรือ ไซโคลซิส (cyclosis) หน้าที่ของไซโทพลาสซึม    • เป็นบริเวณที่เกิดปฏิกิริยาเคมีของเซลล์     • สลายวัตถุดิบเพื่อให้ได้พลังงานและสิ่งที่จำเป็นสำหรับเซลล์     • สังเคราะห์สารที่จำเป็นสำหรับเซลล์    • เป็นที่เก็บสะสมวัตถุดิบสำหรับเซลล์     • เกี่ยวข้องกับกระบวนการขับถ่ายของเสียของเซลล์ หมวดหมู่:ชีววิทยาของเซลล์ หมวดหมู่:กายวิภาคศาสตร์เซลล์.

ใหม่!!: การปฏิสนธิและไซโทพลาซึม · ดูเพิ่มเติม »

เซลล์ไข่

เซลล์ไข่หรือโอวุมคือเซลล์สืบพันธุ์ของเพศเมียของสิ่งมีชีวิตที่สืบพันธุ์แบบโอโอกามี (oogamy, การสืบพันธุ์โดยใช้เซลล์อสุจิและเซลล์ไข่โดยที่เซลล์ไข่มีขนาดใหญ่กว่าเซลล์อสุจิมากและไม่สามารถเคลื่อนที่ได้) เซลล์ไข่มีขนาดใหญ่กว่าเซลล์อสุจิมาก อาจใหญ่จนเห็นได้ด้วยตาเปล่า เพื่อเซลล์ไข่ผสมกับเซลล์อสุจิจะเกิดเซลล์ที่มีจำนวนโครโมโซมเป็นคู่ (ดิพลอยด์) เรียกว่าไซโกต ซึ่งสามารถเจริญเป็นสิ่งมีชีวิตได้.

ใหม่!!: การปฏิสนธิและเซลล์ไข่ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

การปฏิสนธิซ้อนปฏิสนธิ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »