โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การคมนาคมเข้าและออกจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

ดัชนี การคมนาคมเข้าและออกจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

แผนที่แสดงเส้นทางเข้าถึงสนามบิน (จากเว็บไซต์การท่าอากาศยาน) การคมนาคมเข้าและออกจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ สามารถเดินทางไปได้หลายเส้นทาง ทั้งทางรถยนต์ รถแท็กซี่ รถโดยสารประจำทาง 3 สาย โดยท่าอากาศยานมีทางเข้า-ออกทั้งหมด 6 เส้นทาง ได้แก่.

36 ความสัมพันธ์: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกสะพานพระราม 9สถานีบ้านทับช้างสถานีพญาไทสถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมืองสถานีราชปรารภ (รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ)สถานีรามคำแหงสถานีลาดกระบังสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยสถานีหัวหมาก (รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ)สถานีท่าอากาศยานสุวรรณภูมิองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพถนนพระรามที่ 2ถนนพหลโยธินถนนร่มเกล้าถนนวิภาวดีรังสิตถนนวงแหวนรอบนอกถนนสุขสวัสดิ์ถนนอ่อนนุชถนนแจ้งวัฒนะถนนเทพรัตนทางพิเศษบูรพาวิถีทางพิเศษศรีรัชทางพิเศษเฉลิมมหานครทางหลวงพิเศษหมายเลข 7ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3256ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 346ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิท่าอากาศยานดอนเมืองปตท.นักศึกษาวิชาทหารไทยรัฐเทศบาลนครรังสิตเซ็นทรัล

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (อังกฤษ: Kasetsart University; อักษรย่อ: มก.) เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐแห่งแรกของประเทศไทยที่เปิดสอนหลักสูตรทางด้านการเกษตร ก่อตั้งขึ้นเป็นลำดับที่ 3 ของประเทศ เดิมเป็นโรงเรียนช่างไหมในปี..

ใหม่!!: การคมนาคมเข้าและออกจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออก

วรรณภูมิ รถไฟฟ้า City Line รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออก (กรุงเทพมหานคร-ระยอง-ตราด) (Eastern High Speed Train) หรือ โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เดิมคือ โครงการระบบขนส่งมวลชนทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ หรือ รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ เป็นโครงการระบบขนส่งมวลชนแบบพิเศษ ที่เป็นส่วนหนึ่งในโครงการก่อสร้างเส้นทางรถไฟฟ้าในระบบรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง และ รถไฟความเร็วสูง เป็นส่วนหนึ่งของโครงการระบบขนส่งมวลชนทางราง ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และโครงการระบบรถไฟความเร็วสูง ดำเนินการก่อสร้างโดยการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์โดย บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจในกระทรวงคมนาคม.

ใหม่!!: การคมนาคมเข้าและออกจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและรถไฟความเร็วสูงสายตะวันออก · ดูเพิ่มเติม »

สะพานพระราม 9

นพระราม 9 จากแสตมป์ไทยชุดสะพาน สะพานพระราม 9 (Rama IX Bridge) หรือที่รู้จักกันทั่วไปในนาม สะพานขึง เป็นสะพานเสาขึงระนาบเดี่ยวแห่งแรกของประเทศไทย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชพระราชทานชื่อสะพานพระราม 9 เพื่อเป็นสิริมงคลเนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 60 พรรษา ปี พ.ศ. 2530 สะพานพระราม 9 เป็นส่วนหนึ่งของทางด่วนเฉลิมมหานคร สายดาวคะนอง-ท่าเรือ ช่วงที่ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา มีลักษณะเป็นสะพานชนิด Single Plane Fan Type Cable-Stayed Bridge หรือสะพานขึงโดยใช้สายเคเบิลขนาดใหญ่ขึงเป็นระนาบเดี่ยวไว้กับเสาสูงของสะพานเพื่อรับ น้ำหนักของสะพาน เริ่มดำเนินการก่อสร้าง เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2527 เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2530 โดยมีกิจกรรมวิ่งมาราธอน ลอยฟ้าในเวลา 06.00 น. ในวันที่ทำพิธีการเปิด โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จเป็นองค์ประธาน มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมกว่า 85,000 คน และในเวลาค่ำ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี เป็นผู้นำประชาชนจุดเทียนชัยถวายพระพรพร้อมกับร่วมร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี และมีการแสดงพลุดอกไม้ไฟอย่างตระการต.

ใหม่!!: การคมนาคมเข้าและออกจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและสะพานพระราม 9 · ดูเพิ่มเติม »

สถานีบ้านทับช้าง

นีบ้านทับช้าง (Ban Thap Chang Station) เป็นสถานีรถไฟฟ้าในเส้นทางระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (Suvarnabhumi Airport Rail Link - SARL) ในระบบรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ สาย City Line (Suvarnabhumi Airport Rail Link City Line) ที่แวะจอดรายทางจากสถานีพญาไทถึงสุวรรณภูม.

ใหม่!!: การคมนาคมเข้าและออกจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและสถานีบ้านทับช้าง · ดูเพิ่มเติม »

สถานีพญาไท

มุมสูง สถานีพญาไทของรถไฟฟ้าทั้ง 2 ระบบ สถานีพญาไท เป็นสถานีรถไฟฟ้าในเขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร ในเส้นทางรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท และรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูม.

ใหม่!!: การคมนาคมเข้าและออกจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและสถานีพญาไท · ดูเพิ่มเติม »

สถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง

นชาลาที่ 1 ของรถไฟฟ้า City Line มุ่งหน้าสถานีท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ภายในอาคารผู้โดยสาร สถานีมักกะสัน สถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง (City Air Terminal, รหัส: A6) หรือ สถานีมักกะสัน เป็นสถานีรถไฟฟ้าในเส้นทางระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (Suvarnabhumi Airport Rail Link - SARL) โดยเป็นสถานีต้นทางของรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ สาย Express Line (Suvarnabhumi Airport Rail Link Express Line) ซึ่งจะวิ่งตรงจากมักกะสันสู่สถานีท่าอากาศยานสุวรรณภูมิโดยไม่แวะสถานีรายทาง ระยะทาง 25.7 กิโลเมตร ใช้เวลาไม่เกิน 15 นาที (ต่างจากรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ สาย City Line (Suvarnabhumi Airport Rail Link City Line) ที่แวะจอดรายทางจากสถานีพญาไทถึงสุวรรณภูมิ) สถานีแห่งนี้เป็นสถานีเดียวในระบบรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานฯ ที่มีจอแสดงผลข้อมูลเที่ยวบินตรงจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิติดตั้งอยู่ และเป็นสถานีที่ผู้โดยสารสามารถมาเช็คอินและโหลดกระเป๋าได้.

ใหม่!!: การคมนาคมเข้าและออกจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและสถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง · ดูเพิ่มเติม »

สถานีราชปรารภ (รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ)

นีราชปรารภ เป็นสถานีรถไฟลอยฟ้า ในเส้นทางระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (Suvarnabhumi Airport Rail Link - SARL) ในระบบรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ สาย City Line (Suvarnabhumi Airport Rail Link City Line) ที่แวะจอดรายทางทุกสถานีจากสถานีพญาไทไปจนถึงสุวรรณภูมิ ยกระดับเหนือเส้นทางรถไฟทางไกลสายตะวันออก ที่จุดตัดถนนราชปรารภ กรุงเทพมหานคร บริเวณสามแยกนิคมมักกะสัน ในอนาคต จะสามารถเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม ที่สถานีราชปราร.

ใหม่!!: การคมนาคมเข้าและออกจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและสถานีราชปรารภ (รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ) · ดูเพิ่มเติม »

สถานีรามคำแหง

นีรามคำแหง (Ramkhamhaeng Station) เป็นสถานีรถไฟฟ้าในเส้นทางระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (Suvarnabhumi Airport Rail Link - SARL) ในระบบรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ สาย City Line (Suvarnabhumi Airport Rail Link City Line) ที่แวะจอดรายทางจากสถานีพญาไทถึงสุวรรณภูม.

ใหม่!!: การคมนาคมเข้าและออกจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและสถานีรามคำแหง · ดูเพิ่มเติม »

สถานีลาดกระบัง

นีลาดกระบัง (Lat Krabang Station) เป็นสถานีรถไฟฟ้าในเส้นทางระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (Suvarnabhumi Airport Rail Link - SARL) ในระบบรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ สาย City Line (Suvarnabhumi Airport Rail Link City Line) ที่แวะจอดรายทางจากสถานีพญาไทถึงสุวรรณภูมิ โดยสถานีลาดกระบังเป็นสถานีสุดท้ายก่อนเข้าสู่ท่าอากาศยานสุวรรณภูม.

ใหม่!!: การคมนาคมเข้าและออกจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและสถานีลาดกระบัง · ดูเพิ่มเติม »

สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย

นีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (ชื่อย่อ: เอ็นบีที; อังกฤษ: The National Broadcasting Services of Thailand) เป็นหน่วยงานสถานีวิทยุโทรทัศน์ของรัฐบาล มีสถานะเป็นสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติของประเทศไทย สังกัดกรมประชาสัมพันธ์ สำนักนายกรัฐมนตรี โดยมีรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (ปัจจุบันคือ กอบศักดิ์ ภูตระกูล) และปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (ปัจจุบันคือ นางพัชราภรณ์ อินทรียงค์) เป็นผู้กำกับดูแล โดยมีการเปลี่ยนชื่อ พร้อมปรับปรุงระบบการบริหารงาน และรูปแบบของสถานีฯ เพื่อให้สมเจตนารมณ์ของการก่อตั้งสถานีฯ ตั้งแต่วันอังคารที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2551 เวลา 06.00 น. เป็นต้นไปในวันที่ใช้ชื่อเอ็นบีที และได้เปลี่ยนอัตลักษณ์ใหม่ของสถานีฯ ที่ใช้มาจนถึงปัจจุบัน.

ใหม่!!: การคมนาคมเข้าและออกจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

สถานีหัวหมาก (รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ)

นีหัวหมาก (Hua Mak Station) เป็นสถานีรถไฟฟ้าในเส้นทางระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (Suvarnabhumi Airport Rail Link - SARL) ในระบบรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ สาย City Line (Suvarnabhumi Airport Rail Link City Line) ที่แวะจอดรายทางจากสถานีพญาไทถึงสุวรรณภูม.

ใหม่!!: การคมนาคมเข้าและออกจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและสถานีหัวหมาก (รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ) · ดูเพิ่มเติม »

สถานีท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

นีท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ตั้งอยู่ในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เป็นสถานีรถไฟฟ้าของรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและรถไฟฟ้าบีทีเอส สายบางนา-สุวรรณภูมิ (โครงการในอนาคต).

ใหม่!!: การคมนาคมเข้าและออกจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและสถานีท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ · ดูเพิ่มเติม »

องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ

องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ชื่อย่อ: ขสมก; Bangkok Mass Transit Authority, BMTA) เป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจประเภทสาธารณูปโภค สังกัดกระทรวงคมนาคม จัดตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ พุทธศักราช 2519 (ประกาศใช้เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม) มีหน้าที่จัดบริการรถโดยสารประจำทางเพื่อรับส่งประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี จังหวัดนครปฐม จังหวัดสมุทรสาคร และจังหวัดสมุทรปราการ รวม 108 เส้นทาง มีจำนวนรถประจำทาง (bus) ทั้งสิ้น 3,509 คัน (สถิติเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2554) แบ่งเป็นรถธรรมดา 1,659 คัน รถปรับอากาศ 1,850 คัน และมีรถร่วมบริการโดยบริษัทเอกชน ทั้งรถธรรมดาและรถปรับอากาศ จำนวน 4,016 คัน, รถประจำทางขนาดเล็ก (mini bus) แบ่งเป็นส่วนที่ให้บริการบนถนนสายหลัก จำนวน 844 คัน และที่ให้บริการภายในซอยย่อย จำนวน 2,312 คัน, รถตู้โดยสารปรับอากาศ แบ่งเป็นส่วนที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงหรือแก๊สปิโตรเลียมเหลว จำนวน 5,315 คัน และที่ใช้แก๊สธรรมชาติอัด จำนวน 213 คัน รวมทั้งสิ้น 16,209 คัน 495 เส้นทาง นอกจากนี้ ยังเป็นรัฐวิสาหกิจไทย ซึ่งมีผลการดำเนินงาน ขาดทุนมากเป็นลำดับที่ 2 รองจากการรถไฟแห่งประเทศไทย คือขาดทุนเป็นเงิน 4,990 ล้านบาท.

ใหม่!!: การคมนาคมเข้าและออกจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ · ดูเพิ่มเติม »

ถนนพระรามที่ 2

นนพระรามที่ 2 (Thanon Rama II) หรือ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 35 สายธนบุรี–ปากท่อ เป็นถนนที่ตัดผ่านกรุงเทพมหานคร จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสงคราม และจังหวัดราชบุรี เป็นเส้นทางหลักที่มุ่งสู่ภาคใต้ของประเทศไทย และยังเป็นหนึ่งในถนนพระรามทั้ง 7 สาย ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของกรุงเทพมหานคร ยกเว้นถนนพระรามที่ 2 ที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวง ถนนพระรามที่ 2 มีระยะทางรวม 84.041 กิโลเมตร.

ใหม่!!: การคมนาคมเข้าและออกจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและถนนพระรามที่ 2 · ดูเพิ่มเติม »

ถนนพหลโยธิน

นนพหลโยธิน (Thanon Phahon Yothin) ซึ่งมีระยะทางส่วนใหญ่เป็น ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 สายกรุงเทพมหานคร−แม่สาย (เขตแดน) เป็นถนนสายหลักในกรุงเทพมหานคร และเป็นหนึ่งในทางหลวงสายประธานทั้งสี่ของประเทศไทย (ประกอบด้วยถนนพหลโยธิน ถนนมิตรภาพ ถนนสุขุมวิท และถนนเพชรเกษม) สายทางเริ่มต้นที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร ผ่านภาคกลาง และมุ่งเข้าสู่ภาคเหนือของประเทศไทย สิ้นสุดที่ด่านพรมแดนแม่สาย อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย บริเวณชายแดนประเทศพม่า รวมระยะทางยาว 994.749 กิโลเมตร บางช่วงของถนนพหลโยธินอยู่ในโครงข่ายทางหลวงเอเชีย ได้แก่ ช่วงบ้านหินกองถึงอำเภอบางปะอินเป็นทางหลวงเอเชียสาย 1, ช่วงแยกหลวงพ่อโอ (เส้นแบ่งเขตจังหวัดชัยนาทกับจังหวัดนครสวรรค์) ถึงอำเภอเมืองตาก เป็นทั้งทางหลวงเอเชียสาย 1 และสาย 2 และช่วงอำเภอเมืองสระบุรีถึงบ้านหินกองเป็นทางหลวงเอเชียสาย 12 นอกจากนี้ยังเป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงคุนหมิง–กรุงเทพ ถนนพหลโยธินช่วงตั้งแต่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เส้นทางของถนนจะเบี่ยงไปทิศตะวันออก ผ่านจังหวัดสระบุรีและจังหวัดลพบุรี แล้ววกกลับมายังจังหวัดชัยนาท เนื่องจากในสมัยก่อนต้องการให้ทางหลวงสายหลักผ่านที่ตั้งของกองทหารสำคัญของประเท.

ใหม่!!: การคมนาคมเข้าและออกจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและถนนพหลโยธิน · ดูเพิ่มเติม »

ถนนร่มเกล้า

นนร่มเกล้า (Thanon Rom Klao) หรือ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3119 สายมีนบุรี–ลาดกระบัง เดิมมีชื่อว่า "ถนนมีนบุรี–ลาดกระบัง" เป็นถนนในกรุงเทพมหานคร ระยะทาง 11.003 กิโลเมตร มีจุดเริ่มต้นจากถนนสุวินทวงศ์ในท้องที่แขวงมีนบุรี เขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร ไปบรรจบกับถนนลาดกระบัง ในท้องที่แขวงลาดกระบัง เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร ซึ่งจุดสิ้นสุดของถนนร่มเกล้าในท้องที่เขตลาดกระบังต่อจากนี้ไปจะเป็นทางยกระดับเข้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ แต่เดิมถนนเส้นนี้มีเพียง 2 ช่องทางจราจร แต่ในปัจจุบันเป็นถนนแบบ 6 ช่องทางจราจร ยกเว้นช่วงสะพานข้ามคลองแสนแสบและสะพานข้ามทางรถไฟสายตะวันออกจะมีขนาดเพียง 4 ช่องทางจราจร โดยถนนร่มเกล้าฟากตะวันออกในพื้นที่เขตมีนบุรี ตั้งแต่สะพานข้ามคลองแสนแสบถึงเส้นแบ่งเขตมีนบุรีกับเขตลาดกระบัง เป็นเส้นแบ่งแขวงระหว่างแขวงมีนบุรีกับแขวงแสนแ.

ใหม่!!: การคมนาคมเข้าและออกจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและถนนร่มเกล้า · ดูเพิ่มเติม »

ถนนวิภาวดีรังสิต

นนวิภาวดีรังสิต (Thanon Vibhavadi Rangsit) หรือ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 31 (ดินแดง - ดอนเมือง) เป็นทางหลวงแผ่นดินสายรองประธานในภาคกลาง เชื่อมต่อถนนในกรุงเทพมหานครกับถนนพหลโยธินสู่ภาคกลาง, ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ถนนสายนี้มีลักษณะเป็นทางหลวงพิเศษหรือซูเปอร์ไฮเวย์ ซึ่งแบ่งช่องทางเดินรถเป็นทางด่วนหรือทางหลัก และทางคู่ขนาน ยกเว้นช่วงที่ผ่านหน้าท่าอากาศยานดอนเมืองจะไม่แบ่งเป็นช่องทางด่วนและทางคู่ขนานเนื่องจากมีพื้นที่จำกัดเพราะถูกขนาบด้วยสนามบิน และทางรถไฟสายเหนือ ปัจจุบันมีทางยกระดับอุตราภิมุข (ดอนเมืองโทลล์เวย์) เป็นทางด่วนพิเศษยกระดับเก็บค่าผ่านทาง อยู่เหนือถนนวิภาวดีรังสิตด้วย เพื่อเป็นทางเลือกให้ผู้เดินทางที่ต้องการความรวดเร็วกว่าเดิม.

ใหม่!!: การคมนาคมเข้าและออกจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและถนนวิภาวดีรังสิต · ดูเพิ่มเติม »

ถนนวงแหวนรอบนอก

นนวงแหวนรอบนอก อาจหมายถึง.

ใหม่!!: การคมนาคมเข้าและออกจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและถนนวงแหวนรอบนอก · ดูเพิ่มเติม »

ถนนสุขสวัสดิ์

นนสุขสวัสดิ์ (Thanon Suk Sawat) ซึ่งระยะทางส่วนใหญ่ของถนนมีฐานะเป็น ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 303 สายราษฎร์บูรณะ–พระสมุทรเจดีย์ (ในสมัยก่อนมีชื่อว่า "ทางหลวงแผ่นดินสายดาวคะนอง - ป้อมพระจุล") สร้างตั้งแต่สมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ถนนนี้ตั้งชื่อนี้เพื่อเป็นเกียรติแก่ร้อยโทหม่อมเจ้าธัญญลักษณ์ สุขสวัสดิ์ นายช่างหัวหน้าการก่อสร้าง กรมทางหลวง เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2493 ตามนโยบายของรัฐบาล มีความยาวทั้งหมด 28 กิโลเมตร มีจุดเริ่มต้นตั้งแต่สะพานข้ามคลองดาวคะนองจนถึงป้อมพระจุลจอมเกล้า เริ่มต้นทางหลวงแผ่นดินตั้งแต่ถนนพระรามที่ 2 เป็นถนนขนาด 8 ช่องทางจราจรตั้งแต่ดาวคะนองถึงสามแยกวัดพระสมุทรเจดีย์ แล้วส่วนของสามแยกพระสมุทรเจดีย์-ป้อมพระจุลจอมเกล้ามีขนาด 2 ช่องทางจราจร อนึ่ง ถนนสุขสวัสดิ์ช่วงตั้งแต่สะพานข้ามคลองดาวคะนองถึงสะพานข้ามคลองบางปะแก้วเป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างเขตจอมทองกับเขตราษฎร์บูรณะ ถนนสุขสวัสดิ์ช่วงตั้งแต่กิโลเมตรที่ 1 ถึงกิโลเมตรที่ 6 อยู่ในความรับผิดชอบของ กรุงเทพมหานคร ส่วนตั้งแต่กิโลเมตรที่ 6+463 เป็นต้นไป อยู่ในความรับผิดชอบของ แขวงทางหลวงสมุทรปรากร.

ใหม่!!: การคมนาคมเข้าและออกจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและถนนสุขสวัสดิ์ · ดูเพิ่มเติม »

ถนนอ่อนนุช

แผนที่เขตวัฒนา ถนนอ่อนนุชปรากฏอยู่ด้านล่างขวาของภาพในชื่อ Sukhumwit 77 (On Nut) ถนนอ่อนนุช (Thanon On Nut) ซึ่งมีชื่อเดิมว่า ซอยสุขุมวิท 77 เป็นถนนสายสำคัญสายหนึ่งของกรุงเทพมหานคร มีระยะทางทั้งหมดประมาณ 12.2 กิโลเมตร แนวถนนขนานไปกับคลองพระโขนงและคลองประเวศบุรีรมย์ แยกจากถนนสุขุมวิทที่ทางแยกอ่อนนุชในท้องที่แขวงพระโขนงเหนือ เขตวัฒนา ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ข้ามคลองบางนางจีนเข้าท้องที่แขวงอ่อนนุช เขตสวนหลวง เมื่อถึงซอยอ่อนนุช 9 จึงโค้งไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ แล้วไปทางทิศตะวันออกและทิศตะวันออกเฉียงเหนือ จากนั้นตัดกับถนนศรีนครินทร์ที่ทางแยกสวนหลวง (ศรีนุช) ไปทางทิศเดิม ข้ามคลองหนองบอนเข้าท้องที่แขวงประเวศ เขตประเวศ ตัดกับถนนพัฒนาการที่ทางแยกต่างระดับอ่อนนุช-พัฒนาการ ไปทางทิศตะวันออก ตัดกับถนนเฉลิมพระเกียรติ ร.9 ที่ทางแยกประเวศ ตัดกับถนนกาญจนาภิเษก (วงแหวนรอบนอกตะวันออก) ที่ทางแยกต่างระดับอ่อนนุช และตัดกับถนนสุขาภิบาล 2 ที่ทางแยกโรงพยาบาลสิรินธร ก่อนไปสิ้นสุดที่สะพานข้ามคลองตาพุก โดยมีถนนที่ตรงต่อเนื่องไปคือถนนลาดกระบังในท้องที่แขวงลาดกระบัง เขตลาดกระบัง.

ใหม่!!: การคมนาคมเข้าและออกจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและถนนอ่อนนุช · ดูเพิ่มเติม »

ถนนแจ้งวัฒนะ

นนแจ้งวัฒนะ ถนนแจ้งวัฒนะ (Thanon Chaeng Watthana) เป็นถนนสายหนึ่งในอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี เขตหลักสี่ และเขตบางเขน กรุงเทพมหานคร ตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่นายชลอ แจ้งวัฒนะ อดีตนายช่างกำกับแขวงการทางกรุงเทพที่ 2 กรมทางหลวง ซึ่งเป็นนายช่างที่ควบคุมการก่อสร้างถนนสายนี้ - ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 67 ตอน 67 ง, 12 ธันวาคม..

ใหม่!!: การคมนาคมเข้าและออกจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและถนนแจ้งวัฒนะ · ดูเพิ่มเติม »

ถนนเทพรัตน

นนเทพรัตน (Thanon Debaratana) หรือ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 34 สายบางนา–หนองไม้แดง เป็นทางหลวงแผ่นดินแนวตะวันตก–ตะวันออก แยกออกมาจากถนนสุขุมวิท ในเขตบางนา กรุงเทพมหานคร แล้วไปบรรจบถนนสุขุมวิทที่ทางแยกต่างระดับหนองไม้แดง ในท้องที่อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี.

ใหม่!!: การคมนาคมเข้าและออกจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและถนนเทพรัตน · ดูเพิ่มเติม »

ทางพิเศษบูรพาวิถี

ทางพิเศษบูรพาวิถี หรือ ทางด่วน 4 เป็นทางพิเศษที่ดำเนินการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย เปิดให้บริการครั้งแรกเมื่อวันที่ 9 เมษายน..

ใหม่!!: การคมนาคมเข้าและออกจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและทางพิเศษบูรพาวิถี · ดูเพิ่มเติม »

ทางพิเศษศรีรัช

ทางพิเศษศรีรัช หรือ ระบบทางด่วนขั้นที่ 2 (ส่วนในเมือง) เป็นทางพิเศษในกรุงเทพมหานคร ก่อสร้างและเปิดให้บริการเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 2 กันยายน..

ใหม่!!: การคมนาคมเข้าและออกจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและทางพิเศษศรีรัช · ดูเพิ่มเติม »

ทางพิเศษเฉลิมมหานคร

ทางพิเศษเฉลิมมหานคร หรือ ระบบทางด่วนขั้นที่ 1 เป็นทางพิเศษสายแรกของประเทศไทย ก่อสร้างและเปิดให้บริการเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม..

ใหม่!!: การคมนาคมเข้าและออกจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและทางพิเศษเฉลิมมหานคร · ดูเพิ่มเติม »

ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7

ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 สายกรุงเทพมหานคร−บ้านฉาง เป็นทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองสายแรกของประเทศไทย มีระยะทางยาว 125.865 กิโลเมตร ทางสายนี้เป็นโครงข่ายทางหลวงที่มีความสำคัญในการพัฒนาเส้นทางคมนาคมขนส่งกับพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก แก้ไขปัญหาการจราจรติดขัดคับคั่งในถนนสุขุมวิท และถนนเทพรัตน และเป็นทางเชื่อมเข้าสู่ท่าอากาศยานสากลแห่งใหม่ คือ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ถนนสายนี้ได้รับการกำหนดให้เป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงเอเชียสาย 19 และทางหลวงเอเชียสาย 123 ปัจจุบันทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 มีเส้นทางตั้งแต่กรุงเทพมหานครไปถึงแค่เพียงเมืองพัทยาเท่านั้น ซึ่งเส้นทางไปยังอำเภอบ้านฉางอยู่ในระหว่างการก่อสร้าง นอกจากนี้ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 ในปัจจุบัน ยังถูกกำหนดในเส้นทางอื่นอีก ได้แก่ ทางแยกไปบรรจบถนนเทพรัตน, ทางแยกเข้าชลบุรี, ทางแยกเข้าท่าเรือแหลมฉบัง และทางแยกเข้าพัทยา รวมถึงทางแยกไปบรรจบทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3 (บ้านอำเภอ) ซึ่งอยู่ในระหว่างการก่อสร้าง.

ใหม่!!: การคมนาคมเข้าและออกจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 · ดูเพิ่มเติม »

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304 สายปากเกร็ด–สะพานต่างระดับนครราชสีมา เป็นทางหลวงแผ่นดินสายรองประธานที่เชื่อมระหว่างจังหวัดนนทบุรี กรุงเทพมหานคร จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดปราจีนบุรี และจังหวัดนครราชสีมา มีจุดเริ่มต้นบนถนนติวานนท์ (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 306) ที่ห้าแยกปากเกร็ด ในอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี และสิ้นสุดบนถนนมิตรภาพ กับทางเลี่ยงเมืองนครราชสีมาด้านตะวันตก (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 204) ที่ทางแยกต่างระดับนครราชสีมา ในอำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา ระยะทางทั้งสิ้น 298.515 กิโลเมตร อยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวง 296.707 กิโลเมตร.

ใหม่!!: การคมนาคมเข้าและออกจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304 · ดูเพิ่มเติม »

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3256

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3256 สายบางปู - กิ่งแก้ว แบ่งออกเป็น 2 ช่วง มีระยะทางรวมทั้งหมดประมาณ 24 กิโลเมตร อยู่ในความรับผิดชอบของแขวงการทางสมุทรปราการ สังกัดกรมทางหลวง.

ใหม่!!: การคมนาคมเข้าและออกจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3256 · ดูเพิ่มเติม »

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 346

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 346 สายต่างระดับรังสิต–พนมทวน เป็นถนนสายหนึ่งในจังหวัดปทุมธานี, จังหวัดนนทบุรี, จังหวัดนครปฐม และจังหวัดกาญจนบุรี ต้นทางอยู่ที่ทางแยกต่างระดับรังสิต อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี และปลายทางอยู่ที่แยกพนมทวน อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี ถนนสายนี้เริ่มจากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 (พหลโยธิน) ที่ทางแยกต่างระดับรังสิต มาทางทิศตะวันตก เข้าสู่เขตอำเภอเมืองปทุมธานี และตัดกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 345 (ติวานนท์-รังสิต) ที่แยกบางพูน แล้วผ่านทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3309 ผ่านทางพิเศษอุดรรัถยา แล้วตัดกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 306 (ติวานนท์) ที่แยกบ้านกลาง แล้วโค้งไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือตัดกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 347 (ปทุมธานี-บางปะหัน) ที่แยกเทคโนปทุมธานี ข้ามสะพานปทุมธานี ตัดผ่านตัวจังหวัดปทุมธานี ตัดกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3111 (ปทุมสามโคก) ที่แยกสันติสุข แล้วโค้งไปทางใต้ ตัดกับถนนปทุมลาดหลุมแก้วที่แยก อ.ปทุมธานี ออกไปทางถนนกาญจนาภิเษกและตัดกันที่ทางแยกต่างระดับลาดหลุมแก้ว เข้าสู่อำเภอลาดหลุมแก้ว ตัดกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 340 (บางบัวทอง-สุพรรณบุรี) ทีแยกนพวงศ์ จากนั้นข้ามคลองลากค้อน เข้าเขตอำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี ตัดกับทางหลวงชนบท น.3004 และทางหลวงท้องถิ่นสายบ้านไทรน้อย-บ้านคลองนาหมอนที่แยกไทรน้อย เข้าสู่อำเภอบางเลน อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม เข้าสู่อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี สิ้นสุดเส้นทาง.

ใหม่!!: การคมนาคมเข้าและออกจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 346 · ดูเพิ่มเติม »

ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เป็น สนามบิน ตั้งอยู่ที่ ถนนเทพรัตน และ ทางพิเศษบูรพาวิถี ในเขตตำบลหนองปรือและตำบลราชาเทวะ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ห่างจากใจกลางเมือง กรุงเทพมหานคร ประมาณ 25 กิโลเมตร เปิดให้บริการเชิงพาณิชย์เต็มรูปแบบอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2549 รัฐบาลได้กำหนดให้ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิเป็นท่าอากาศยานหลักของ ประเทศไทย แทน ท่าอากาศยานดอนเมือง และตั้งเป้าให้เป็นศูนย์กลางการบินใน ทวีปเอเชีย อีกทั้งการเน้นพัฒนาคุณภาพการให้บริการของท่าอากาศยานให้ได้รับการจัดอันดับ 1 ใน 10 ท่าอากาศยานที่มีคุณภาพการบริการดีที่สุดในโลกในปี พ.ศ. 2553 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิมีหอควบคุมที่สูงเป็นอันดับ 2 ของโลก (132.2 เมตร) และอาคารผู้โดยสารเดี่ยวที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก (563,000 ตารางเมตร) ปัจจุบันเป็น หนึ่งในท่าอากาศยานที่มีผู้โดยสารมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก โดยในปี พ.ศ. 2559 มีผู้โดยสารมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลกและใน เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2560 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิบริการสายการบินที่ทำการบินแบบประจำ 109 สายการบิน ซึ่งถือว่าบริการตามจำนวนสายการบินมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก (สามารถรองรับเที่ยวบิน 76 เที่ยวต่อชั่วโมงและผู้โดยสาร 45 ล้านคนต่อปี) Suvarnabhumi Airport.

ใหม่!!: การคมนาคมเข้าและออกจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ · ดูเพิ่มเติม »

ท่าอากาศยานดอนเมือง

แผนผังท่าอากาศยานดอนเมือง ท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง (ชื่อเดิมคือ ท่าอากาศยานกรุงเทพ) หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า สนามบินดอนเมือง ตั้งอยู่บนถนนวิภาวดีรังสิต แขวงสนามบิน เขตดอนเมือง ช่วงกิโลเมตรที่ 24 ทางตอนเหนือของกรุงเทพมหานคร เป็นจุดศูนย์กลางทางการบินในภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่สามารถเชื่อมโยงการคมนาคมทางอากาศไปยังจุดต่างๆ ของโลกได้อย่างเหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นการบินภายในภูมิภาคเอเชียด้วยกัน หรือระหว่างทวีปยุโรป ทวีปอเมริกา ทวีปออสเตรเลีย ซึ่งสามารถใช้เป็นจุดแวะลงและเชื่อมต่อในการเดินทางของผู้โดยสารตลอดจนพัสดุไปรษณียภัณฑ์ไปยังจุดอื่นๆ ได้อย่างดี เปิดดำเนินการครั้งแรกเมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2457 โดยปิดตัวลงวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2549 วันเดียวกับที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเปิดใช้งาน โดยสนามบินดอนเมืองถูกเปลี่ยนเป็นสถานที่ซ่อมเครื่องบิน ฝึกบิน และสำหรับจอดเครื่องบินส่วนตัวของบุคคลสำคัญ อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่วันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2550 เป็นต้นมา ท่าอากาศยานดอนเมืองได้กลับมาให้บริการเที่ยวบินแบบประจำ (scheduled flight) เที่ยวบินในประเทศอีกครั้งโดยมี สายการบินไทย นกแอร์ วันทูโก และพีบีแอร์มาเปิดให้บริการในลำดับแรก หลังจากพบปัญหาหลายอย่างที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555 ท่าอากาศยานดอนเมืองได้กลับมาเปิดให้บริการในฐานะสนามบินนานาชาติแห่งที่สองอีกครั้ง เนื่องด้วยนโยบายรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตรต้องการลดความแออัดของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิลง ปัจจุบัน ท่าอากาศยานดอนเมือง รับเที่ยวบิน จาก ประเทศจีน ประเทศเกาหลีใต้ ประเทศญี่ปุ่น ประเทศสิงคโปร์ ประเทศกัมพูชา ประเทศมาเลเซีย ประเทศพม่า ประเทศเวียดนาม ประเทศไต้หวัน ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศอินเดีย ประเทศมัลดีฟส์ ฮ่องกง ประเทศฟิลิปปินส์ มาเก๊า และล่าสุด ประเทศเนปาล รวม 14 ประเทศ ส่วนเที่ยวบินภายในประเทศสำหรับท่าอากาศยานดอนเมืองมีเที่ยวบินภายในประเทศบริการบินไปกลับ จาก ท่าอากาศยานแพร่ ท่าอากาศยานตรัง ท่าอากาศยานร้อยเอ็ด ท่าอากาศยานนครพนม ท่าอากาศยานนครศรีธรรมราช ท่าอากาศยานระนอง ท่าอากาศยานสกลนคร ท่าอากาศยานพิษณุโลก ท่าอากาศยานบุรีรัมย์ ท่าอากาศยานน่านนคร ท่าอากาศยานแม่ฮ่องสอน ท่าอากาศยานแม่สอด และ ท่าอากาศยานเพชรบูรณ์ ซึ่ง ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ไม่มีบริการใน 13 จังหวัดดังกล่าว ใน 13 จังหวัดดังกล่าวมีเที่ยวบินให้บริการที่ ท่าอากาศยานดอนเมืองเท่านั้น.

ใหม่!!: การคมนาคมเข้าและออกจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและท่าอากาศยานดอนเมือง · ดูเพิ่มเติม »

ปตท.

ริษัท ปตท.

ใหม่!!: การคมนาคมเข้าและออกจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและปตท. · ดูเพิ่มเติม »

นักศึกษาวิชาทหาร

นักศึกษาวิชาทหาร หรืออักษรย่อ นศท. คือ บุคคลซึ่งอยู่ในระหว่างเข้ารับการฝึกวิชาทหารตามหลักสูตรที่กระทรวงกลาโหมกำหนด ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการฝึกวิชาทหาร..

ใหม่!!: การคมนาคมเข้าและออกจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและนักศึกษาวิชาทหาร · ดูเพิ่มเติม »

ไทยรัฐ

ทยรัฐ (Thai Rath) เป็นหนังสือพิมพ์รายวันภาษาไทย นำเสนอข่าวทั่วไป ที่มียอดจำหน่ายมากที่สุดในประเทศไทย จากการสำรวจเมื่อปี พ.ศ. 2523 ก่อตั้งโดยกำพล วัชรพล ปัจจุบันมี บริษัท วัชรพล จำกัด เป็นเจ้าของ, ยิ่งลักษณ์ วัชรพล เป็นผู้อำนวยการ และสราวุธ วัชรพล เป็นหัวหน้ากองบรรณาธิการ มีจำนวนพิมพ์ปัจจุบันที่ 1,000,000 ฉบับ ราคาจำหน่าย 10.00 บาท.

ใหม่!!: การคมนาคมเข้าและออกจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและไทยรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

เทศบาลนครรังสิต

ทศบาลนครรังสิต หรือ นครรังสิต เป็นเทศบาลนครในเขตอำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี โดยนครรังสิตเป็นเมืองปริมณฑลที่รองรับการขยายตัวของกรุงเทพมหานครในทางตอนเหนือ ในปัจจุบัน รังสิตกลายเป็นจุดศูนย์กลางในการเดินทางต่อไปยังบางจังหวัดในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก.

ใหม่!!: การคมนาคมเข้าและออกจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและเทศบาลนครรังสิต · ดูเพิ่มเติม »

เซ็นทรัล

ซ็นทรัล (central) เป็นคำคุณศัพท์ หมายถึง อยู่ตรงกลาง ทั้งนี้ ยังอาจหมายถึง.

ใหม่!!: การคมนาคมเข้าและออกจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและเซ็นทรัล · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

การคมนาคมไปท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »