โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กางเขนประดับอัญมณี

ดัชนี กางเขนประดับอัญมณี

กางเขนประดับอัญมณี (Crux gemmata) คือกางเขนที่ส่วนใหญ่สร้างในสมัยคริสเตียนยุคแรกมาจนถึงต้นยุคกลางที่เป็นกางเขนอย่างน้อยก็ด้านหน้าส่วนใหญ่จะตกแต่งด้วยอัญมณีเป็นหลัก แทนที่จะเป็นภาพวาดบนตัวกางเขน ด้านหลังมักจะเป็นลายสลักของพระเยซูตรึงกางเขนหรือรูปจากหัวข้ออื่น ตัวอย่างของงานกางเขนโลหะก็ได้แก่กางเขนจัสตินที่ 2 (คริสต์ศตวรรษที่ 6, พิพิธภัณฑ์วาติกัน), กางเขนโลแธร์ (คริสต์ศตวรรษที่ 10, มหาวิหารอาเคิน), กางเขนเทวดาแห่งคาบสมุทรไอบีเรีย, กางเขนชัย และกางเขนค็อง (ราวคริสต์ทศวรรษ 1120, พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติแห่งไอร์แลนด์).

20 ความสัมพันธ์: พิพิธภัณฑ์วาติกันการตรึงพระเยซูที่กางเขนกางเขนมุขโค้งด้านสกัดลูกโลกประดับกางเขนศิลปะคริสเตียนศิลปะและสถาปัตยกรรมคริสเตียนเริ่มแรกสมัยกลางสวรรค์หีบวัตถุมงคลอัญมณีอาสนวิหารอาเคินทวีปยุโรปงานโมเสกปลายสมัยโบราณแทรริชเซอร์ดูว์ดุกเดอแบรีโลงหินเยรูซาเลมเอกสารตัวเขียนสีวิจิตรเครื่องราชกกุธภัณฑ์

พิพิธภัณฑ์วาติกัน

ัณฑ์วาติกัน (Musei Vaticani; Vatican Museums) เป็นพิพิธภัณฑ์ที่ตั้งอยู่ภายในนครรัฐวาติกันในกรุงโรมในประเทศอิตาลี “พิพิธภัณฑ์วาติกัน” เป็นพิพิธภัณฑ์ที่แสดงศิลปะที่สะสมโดยวัดโรมันคาทอริกมาเป็นเวลาหลายร้อยๆ ปี เมื่อวันที่ 11 กุมภาพัน..

ใหม่!!: กางเขนประดับอัญมณีและพิพิธภัณฑ์วาติกัน · ดูเพิ่มเติม »

การตรึงพระเยซูที่กางเขน

“การตรึงพระเยซูที่กางเขน” โดยซิโมน วูเอท์ (Simon Vouet) ที่ เจนัว (ค.ศ. 1622) การตรึงพระเยซูที่กางเขน (Crucifixion of Jesus) เป็นเหตุการณ์ในชีวิตของพระเยซูที่ถูกบันทึกในพระวรสารทั้งสี่ฉบับ เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทันทีหลังจากที่พระเยซูถูกจับและถูกพิพากษา ในทางเทววิทยาศาสนาคริสต์ การสิ้นพระชนม์ของพระองค์เป็นเหตุการณ์หัวใจสำคัญ ส่งอิทธิพลให้เกิดเหตุการณ์อื่น ๆ ต่อเนื่องมา นอกจากนั้นการสิ้นพระชนม์ของพระองค์ก็เป็นสัญลักษณ์สำคัญทางปรัชญาความเชื่อ เป็นการเสียชีวิตของผู้ที่มาช่วยโลก เห็นได้จากการรับทรมานและความตายของพระเมสสิยาห์เพื่อไถ่บาปให้มวลมนุษย์ ตามด้วยพันธสัญญาใหม่ที่กล่าวถึง การคืนชีพในสามวันหลังจากสิ้นพระชนม์ และทรงปรากฏพระกายต่ออัครทูตก่อนพระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์ การทรมานและการเสียชีวิตของพระเยซูบนกางเขนมักจะเรียกกันว่า “พระทรมานของพระเยซู” (Passion) เทววิทยาศาสนาคริสต์ถือว่าพระเยซูพลีชีพเพื่อเป็นการไถ่บาปให้มวลมนุษย์ ดังปรากฏในพระธรรมที่รู้จักกันในนาม “พิธีทดแทนบาป” (Substitutionary atonement) กล่าวกันว่าความตายของพระองค์ถูกทำนายไว้ล่วงหน้าในพันธสัญญาเดิม เช่น เพลงของอิสยาห์ที่กล่าวถึง การทรมานของผู้รับใช้พระเจ้.

ใหม่!!: กางเขนประดับอัญมณีและการตรึงพระเยซูที่กางเขน · ดูเพิ่มเติม »

กางเขน

กางเขนแบบที่ง่ายที่สุดเรียกว่ากางเขนละติน หรือ “crux ordinaria” ที่เป็นสัญลักษณ์ของการตรึงพระเยซูที่กางเขนตามความเชื่อในคริสต์ศาสนา กางเขน (Cross) เป็นเครื่องหมายทรงเรขาคณิตที่ประกอบด้วยแกนสองแกนตัดเป็นมุมฉากกัน ตามปกติแล้วแกนจะเป็นแนวตั้งขวางกับแนวนอน แต่ถ้าตัดทแยงกันก็จะเรียกว่ากางเขนไขว้ หรือ กางเขนนักบุญอันดรูว์ กางเขนเป็นสัญลักษณ์ที่เก่าแก่ที่สุดที่ใช้โดยมนุษย์ และใช้เป็นสัญลักษณ์ศาสนาหลายศาสนาที่รวมทั้งคริสต์ศาสนา กางเขนบ่อยครั้งจะเป็นสัญลักษณ์ของธาตุหลักทั้ง 4 ของโลก (เชวาลิเย์, ค.ศ. 1997) หรืออีกความหมายหนึ่งคือความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของเทพที่เป็นแกนตั้งและโลกที่คือแกนนอน (คอค, ค.ศ. 1955).

ใหม่!!: กางเขนประดับอัญมณีและกางเขน · ดูเพิ่มเติม »

มุขโค้งด้านสกัด

ลักษณะโดยทั่วไปของมุขโค้งสมัยคริสเตียนตอนต้น/ไบแซนไทน์ที่เป็นโค้งครึ่งโดม มุขโค้งสามมุขด้านตะวันออกของบาซิลิกาซานตาจูเลียทางตอนเหนือของอิตาลี มุขด้านตะวันออกของแอบบีแซงต์อูน (Abbey church of Saint-Ouen) แสดงให้เห็น “ชาเปลดาวกระจาย”, รูออง มุขด้านตะวันออกของมหาวิหารมอนริอาเลในซิซิลีที่เต็มไปด้วยลวดลายตกแต่ง มุขโค้งด้านสกัด หรือ มุขตะวันออก (Apse หรือ Apsis) คือส่วนที่เป็นโค้งครึ่งวงกลมที่มีหลังคาครึ่งวงกลมหรือครึ่งโดมที่ยื่นออกมาจากสิ่งก่อสร้าง “มุขโค้งด้านสกัด” มาจากภาษาอังกฤษว่า “Apse” ที่มาจากภาษาละติน “absis” ที่แปลว่า “โค้ง” หรือ “เพดานโค้ง” ในสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์, สถาปัตยกรรมไบแซนไทน์ และ สถาปัตยกรรมกอธิคของแอบบี, มหาวิหาร และคริสต์ศาสนสถานอื่นๆ คำนี้หมายถึงมุขครึ่งวงกลมหรือหลายเหลี่ยมที่ตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกสุดของสิ่งก่อสร้างที่ภายในเป็นที่ตั้งของแท่นบูชาเอก และไม่ว่าหลังคาจะเป็นทรงใด: ราบ, ลาด, โดม หรือครึ่งวงกลม.

ใหม่!!: กางเขนประดับอัญมณีและมุขโค้งด้านสกัด · ดูเพิ่มเติม »

ลูกโลกประดับกางเขน

“ลูกโลกประดับกางเขน” ของเดนมาร์กที่เป็นส่วนหนึ่งของเครื่องราชกกุธภัณฑ์แห่งเดนมาร์ก พระเยซูในรูป “Salvator Mundi” (พระมหาไถ่แห่งโลก) ลูกโลกประดับกางเขน (globus cruciger) หมายถึงลูกกลมที่ด้านบนประดับด้วยกางเขน แปลมาจากภาษาละติน globus (ลูกกลม), gerere (สวมใส่), crux (กางเขน) ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ทางคริสต์ศาสนาของความมีอำนาจที่ใช้กันโดยทั่วไปในยุคกลางและแม้ในปัจจุบันบนเหรียญ, เป็นรูปสัญลักษณ์ หรือเป็นเครื่องราชกกุธภัณฑ์ การใช้ลูกโลกประดับกางเขนเป็นสัญลักษณ์ความมีอำนาจของพระเยซู (กางเขน) บนโลกมนุษย์ (ลูกกลม) ที่ใช้ถือโดยประมุขของอาณาจักรบนโลก หรือในทางสัญลักษณ์โดยเทวดา เมื่อถือโดยพระเยซูเองในรูปสัญลักษณ์ในศิลปะตะวันตกก็จะเรียกว่า “Salvator Mundi” (พระมหาไถ่แห่งโลก).

ใหม่!!: กางเขนประดับอัญมณีและลูกโลกประดับกางเขน · ดูเพิ่มเติม »

ศิลปะคริสเตียน

"พระแม่มารีและพระบุตร" โดยทิเชียน (ราว ค.ศ. 1512) พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ศิลปะ, เวียนนา, ประเทศออสเตรีย ศิลปะคริสเตียน (Christian art) เป็นคำที่หมายถึงจักษุศิลป์ที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นสื่อแสดงความหมาย, ขยายความ และแสดงเรื่องราวที่เกี่ยวกับหลักของศาสนาคริสต์ นิกายของศาสนาคริสต์เกือบทุกนิกายใช้ศิลปะคริสเตียนแต่จะมากบ้างน้อยบ้างก็แล้วแต่กฎบัตรของแต่ละนิกาย แต่โดยทั่วไปไม่ว่าจะเป็นสื่อชนิดใดหัวเรื่องการสร้างก็จะคล้ายคลึงกันคือจะเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับชีวประวัติของพระเยซูจากพันธสัญญาใหม่ หรือบางครั้งก็รวมเรื่องราวจากพันธสัญญาเดิม นอกนั้นการเขียนเรื่องนักบุญหรือผู้มีความสำคัญต่อศาสนาก็เป็นที่นิยมกันโดยเฉพาะในนิกายโรมันคาทอลิก, นิกายแองกลิคัน และนิกายอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ.

ใหม่!!: กางเขนประดับอัญมณีและศิลปะคริสเตียน · ดูเพิ่มเติม »

ศิลปะและสถาปัตยกรรมคริสเตียนเริ่มแรก

ลปะและสถาปัตยกรรมคริสเตียนเริ่มแรก คือศิลปะที่สร้างโดยผู้นับถือคริสต์ศาสนาหรือโดยผู้ได้รับการอุปถัมภ์จากผู้นับถือคริสต์ศาสนาที่เริ่มตั้งแต่ราวปี..

ใหม่!!: กางเขนประดับอัญมณีและศิลปะและสถาปัตยกรรมคริสเตียนเริ่มแรก · ดูเพิ่มเติม »

สมัยกลาง

แบบจำลองของหมวกหุ้มเกราะซึ่งถูกพบที่ซัททันฮู ในหลุมศพของผู้นำชาวแองโกล-แซกซัน สันนิษฐานว่าเป็นกษัตริย์ราวปี ค.ศ. 620 ในช่วงต้นสมัยกลางNees ''Early Medieval Art'' pp. 109–112 สมัยกลาง หรือ ยุคกลาง (Middle Ages) คือช่วงเวลาในประวัติศาสตร์ยุโรป ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 5 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 15 โดยปกติแล้วเริ่มนับตั้งแต่การล่มสลายลงของจักรวรรดิโรมันตะวันตก (การสิ้นสุดของสมัยคลาสสิก) จนถึงจุดเริ่มตั้นของสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา และยุคแห่งการสำรวจ ซึ่งเป็นยุคที่นำไปสู่สมัยใหม่ในเวลาต่อมา สมัยกลางคือช่วงเวลาตรงกลางของกระบวนการเปลี่ยนผ่านในประวัติศาสตร์ตะวันตกคือ สมัยคลาสสิก สมัยกลาง และสมัยใหม่ นอกจากนี้สมัยกลางยังถูกแบ่งออกเป็นสามช่วงเวลาคือ ต้นสมัยกลาง (Early Middle Ages), สมัยกลางยุครุ่งโรจน์ (High Middle Ages) และปลายสมัยกลาง (Late Middle Ages) ในยุคกลางตอนต้น การลดลงของประชากร, การหดตัวของเมือง และการรุกรานจากอนารยชน เริ่มต้นขึ้นในยุคโบราณตอนปลายและดำเนินไปอย่างรวดเร็ว เหล่าอนารยชนผู้บุกรุกเข้าตั้งอาณาจักรของตนในส่วนที่เหลืออยู่ของจักรวรรดิโรมันตะวันตก ในคริสต์ศตวรรษที่ 7 แอฟริกาเหนือและตะวันออกกลาง ซึ่งเคยเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิโรมันตะวันออก ได้กลายไปเป็นจักรวรรดิอิสลามหลังจากถูกยึดครองโดยผู้สืบทอดของนบีมุฮัมมัด แม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและโครงสร้างทางการเมืองมากมาย แต่ก็ไม่ได้เปลี่ยนไปจากยุคโบราณคลาสสิคอย่างสิ้นเชิง จักรวรรดิโรมันตะวันออกหรือจักรวรรดิไบแซนไทน์ยังคงอยู่รอดและรักษาอำนาจของตนเอาไว้ได้ นอกจากนี้แล้วอาณาจักรเกิดใหม่ส่วนใหญ่ยังคงเกี่ยวพันอยู่กับสถาบันที่หลงเหลืออยู่ของชาวโรมัน ในขณะที่วัดวาอารามของคริสต์ศาสนาได้แผ่ขยายไปทั่วยุโรปตะวันตก ในคริสต์ศตวรรษที่ 7 และ 8 ชาวแฟรงก์ภายใต้การปกครองของราชวงศ์การอแล็งเฌียงได้สถาปนาจักรวรรดิขึ้นซึ่งครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของยุโรปตะวันตกมีนามว่า จักรวรรดิการอแล็งเฌียง ซึ่งยืนยงไปจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 9 เมื่อจักรวรรดิล่มสลายลงจากแรงงกดดันของการรุกรานจากภายนอก เช่น ชาวไวกิงจากทางเหนือ ชาวแมกยาร์จากทางตะวันออก และชาวซาราเซนจากทางใต้ ช่วงต้นสมัยกลางซึ่งเริ่มขึ้นหลังคริสต์ศตวรรษที่ 10 ประชากรของยุโรปขยายตัวอย่างมากจากการที่นวัตกรรมทางเทคโนโลยีและทางการเกษตรทำให้การค้าขายเจริญรุ่งเรืองและการทำเรือกสวนไร่นาขยายตัว ระบบมาเนอร์ - องค์กรของชาวนาตามหมู่บ้านที่ติดค้างค่าเช่าที่ดินและหน้าที่ด้านแรงงานแก่ขุนนาง และระบบเจ้าขุนมูลนาย - โครงสร้างทางการเมืองที่ซึ่งอัศวินและขุนนางศักดิ์ต่ำกว่าติดค้างหน้าที่ด้านการทหารแก่เจ้านายผู้มีศักดิ์สูงกว่าของพวกเขาแลกกับสิทธิ์ในการเก็บค่าเช่าที่ดินและชาวนาใต้ปกครอง สองระบบนี้คือระเบียบของสังคมที่ใช้กันในยุคกลางตอนกลาง ต่อมาอาณาจักรเริ่มรวมศูนย์อำนาจมากขึ้นภายหลังการล่มสลายลงของจักรวรรดิคาโรแล็งเชียง สงครามครูเสดซึ่งเริ่มขึ้นครั้งแรกในปี..

ใหม่!!: กางเขนประดับอัญมณีและสมัยกลาง · ดูเพิ่มเติม »

สวรรค์

วรรค์ (स्वर्ग สฺวรฺค) หมายถึง ภพหนึ่งในคติของศาสนาต่าง ๆ เช่น ศาสนายูดาห์ ศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลามอันเป็นสถานที่ตอบแทนคุณงามความดีของมนุษย์ที่ได้ทำไปเมื่อครั้งที่ยังมีชีวิตอยู่บนโลกนี้.

ใหม่!!: กางเขนประดับอัญมณีและสวรรค์ · ดูเพิ่มเติม »

หีบวัตถุมงคล

นักบุญทอรินัส กนิษกะ, เปชวาร์, ปากีสถาน, ในปัจจุบันอยู่ที่มัณฑะเลย์, พม่า เครื่องบรรจุวัตถุมงคลที่เซวิลล์ หีบวัตถุมงคล (Reliquary) หรือบางครั้งก็เรียกว่า “หีบสักการะ” หรือคำในภาษาฝรั่งเศสว่า “châsse” ที่แปลว่า “หีบ” คือตู้ที่ใช้บรรจุวัตถุมงคล ที่อาจจะเป็นชิ้นส่วนจากร่างของนักบุญเช่นกระดูก ชิ้นเสื้อผ้า หรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องกับนักบุญ หรือ บุคคลสำคัญทางศาสนา ความแท้ของสิ่งของดังกล่าวมักจะเป็นเรื่องที่โต้แย้งกัน คริสต์ศาสนสถานบางแห่งก็ระบุว่าต้องการเอกสารที่พิสูจน์ประวัติความเป็นเจ้าของ.

ใหม่!!: กางเขนประดับอัญมณีและหีบวัตถุมงคล · ดูเพิ่มเติม »

อัญมณี

อัญมณี และ หินสีแบบต่างๆ อัญมณี คือ มวลของแข็งที่ประกอบไปด้วยแร่ชนิดเดียวกัน หรือหลายชนิดรวมตัวกันอยู่ตามธรรมชาติ โดยจะประกอบขึ้นจาก สาร อินทรีย์ หรือ อนินทรีย์ก็ได้ เนื่องจากองค์ประกอบของเปลือกโลกส่วนใหญ่เป็นสารประกอบซิลิกอนไดออกไซด์ ดังนั้นเปลือกโลกส่วนใหญ่มักเป็นแร่ตระกูลซิลิเกต นอกจากนั้นยังมีแร่ตระกูลคาร์บอเนต เนื่องจากบรรยากาศโลกในอดีตส่วนใหญ่เป็นคาร์บอนไดออกไซด์ น้ำฝนได้ละลายคาร์บอนไดออกไซด์บนบรรยากาศลงมาสะสมบนพื้นดินและมหาสมุทร สิ่งมีชีวิตอาศัยคาร์บอนสร้างธาตุอาหารและร่างกาย แพลงตอนบางชนิดอาศัยซิลิกาสร้างเปลือก เมื่อตายลงทับถมกันเป็นตะกอน หินส่วนใหญ่บนเปลือกโลกจึงประกอบด้วยแร่ต่าง.

ใหม่!!: กางเขนประดับอัญมณีและอัญมณี · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารอาเคิน

อาสนวิหารอาเคิน (Aachener Dom) เรียกกันว่าอาสนวิหารหลวง (Imperial Cathedral; Kaiserdom) ในนิกายโรมันคาทอลิกอยู่ที่เมืองอาเคิน ประเทศเยอรมนี วัดนี้เป็นวัดที่เก่าแก่ที่สุดทางภาคเหนือของทวีปยุโรป ระหว่างยุคกลางวัดนี้ชื่อ Royal Church of St.

ใหม่!!: กางเขนประดับอัญมณีและอาสนวิหารอาเคิน · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปยุโรป

ทวีปยุโรป (อ่านว่า "ยุ-โหฺรบ") มีฐานะเป็นทวีปทั้งในแง่ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ในทางภูมิศาสตร์ ยุโรปเป็นอนุทวีปที่อยู่ทางด้านตะวันตกของมหาทวีปยูเรเชีย ยุโรปมีพรมแดนทางเหนือติดกับมหาสมุทรอาร์กติก ทางตะวันตกติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก ทางใต้ติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและทะเลดำ ด้านตะวันออกติดกับเทือกเขายูรัลและทะเลแคสเปียน "Europe" (pp. 68-9); "Asia" (pp. 90-1): "A commonly accepted division between Asia and Europe...

ใหม่!!: กางเขนประดับอัญมณีและทวีปยุโรป · ดูเพิ่มเติม »

งานโมเสก

งานโมเสก (Mosaic.) เป็นศิลปะการตกแต่งด้วยชิ้นแก้ว, หิน, หรือกระเบื้องชิ้นเล็กๆ ซึ่งใช้เป็นการตกแต่งภายในเช่นภายในมหาวิหาร การตกแต่งลวดลายหรือภาพทำจากชิ้นกระเบื้องหรือเศษจากเครื่องปั้นดินเผาที่เรียกว่า “tesserae” หรือ กระจกสี หรือแก้วใสเคลือบด้วยโลหะข้างหลัง งานโมเสก.

ใหม่!!: กางเขนประดับอัญมณีและงานโมเสก · ดูเพิ่มเติม »

ปลายสมัยโบราณ

ราณตอนปลาย (Late Antiquity) เป็นสมัยประวัติศาสตร์ที่ใช้โดยนักประวัติศาสตร์ในการบรรยายช่วงเวลาที่เปลี่ยนจากยุคโบราณคลาสสิกไปเป็นยุคกลางทั้งบนแผ่นดินใหญ่ยุโรปและบริเวณเมดิเตอร์เรเนียน ของเขตของสมัยยังคงเป็นเรื่องที่โต้แย้งกันอยู่ แต่นักประวัติศาสตร์คนสำคัญปีเตอร์ บราวน์เสนอว่าเป็นช่วงเวลาระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 2 ถึง ที่ 8 โดยทั่วไปแล้วก็อาจจะเทียบได้กับช่วงเวลาตั้งแต่การสิ้นสุดของวิกฤติการณ์ของคริสต์ศตวรรษที่ 3 (ค.ศ. 235-ค.ศ. 284) ของจักรวรรดิโรมัน ไปจนถึงการจัดระบบบริหารของจักรวรรดิโรมันตะวันออกภายใต้การนำของจักรพรรดิเฮราคลิอัส และการพิชิตดินแดนโดยมุสลิมในยุโรปในคริสต์ศตวรรษที่ 7 จักรวรรดิโรมันประสบกับความเปลี่ยนแปลงอย่างขนานใหญ่ทั้งทางด้านสังคม, วัฒนธรรม และ ระบบการปกครองที่เริ่มขึ้นในรัชสมัยของจักรพรรดิไดโอคลีเชียนผู้ทรงเป็นผู้เริ่มการแบ่งจักรวรรดิออกเป็นสองส่วนคือจักรวรรดิโรมันตะวันออกและจักรวรรดิโรมันตะวันตกที่ปกครองโดยพระจักรพรรดิหลายพระองค์ เริ่มด้วยจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 1 เมื่อจักรวรรดิถูกเปลี่ยนเป็นจักรวรรดิคริสเตียน และการก่อตั้งคอนสแตนติโนเปิลเป็นเมืองหลวง การโยกย้ายถิ่นฐานของกลุ่มชนเจอร์มานิคต่อมาก็บั่นทอนเสถียรภาพของจักรวรรดิยิ่งขึ้นไปอีก ที่ในที่สุดก็นำไปสู่การล่มสลายของจักรวรรดิโรมันตะวันตกในปี ค.ศ. 476 และมาแทนที่ด้วยระบอบพระมหากษัตริย์ของชนเจอร์มานิค หรือ “ระบอบพระมหากษัตริย์ของอนารยชน” ผลก็คือการผสานระหว่างวัฒนธรรมกรีก-โรมัน เจอร์มานิค และ คริสเตียนที่กลายมาเป็นพื้นฐานของวัฒนธรรมของยุโรปตะวันตก การสูญเสียประชากร, ความรู้ทางเทคโนโลยี และ มาตรฐานความเป็นอยู่ของยุโรปตะวันตกในยุคนี้เป็นลักษณะของสถานภาพที่เรียกว่า “การล่มสลายของสังคม” (Societal collapse) โดยนักเขียนตั้งแต่ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยามาจนกระทั่งเมื่อไม่นานมานี้ จากความเสื่อมโทรมที่เกิดขึ้นและการขาดหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของยุโรปตะวันตกในช่วงนี้โดยเฉพาะ ในช่วงระหว่างการล่มสลายของจักรวรรดิโรมันตะวันตกมาจนถึงยุคกลาง ทำให้ได้ชื่อว่าเป็น “ยุคมืด” ที่มาแทนที่ด้วยคำว่า “ยุคโบราณตอนปลาย”.

ใหม่!!: กางเขนประดับอัญมณีและปลายสมัยโบราณ · ดูเพิ่มเติม »

แทรริชเซอร์ดูว์ดุกเดอแบรี

แทรริชเซอร์ดูว์ดุกเดอแบรี (Très Riches Heures du Duc de Berry หรือ Très Riches Heures - หอสมุดแห่งพระราชวังชองตีย์, ชองตีย์, ฝรั่งเศส) เป็นชื่อหนังสือกำหนดเทศกาลที่ตกแต่งอย่างงดงาม เนื้อหาของหนังสือรวมบทสวดมนต์สำหรับสวดตามเวลาที่ระบุไว้ในบทบัญญัติทางศาสนา “แทรริชเซอร์ดูว์ดุกเดอแบรี” ที่ว่าจ้างให้เขียนโดยฌองดยุกแห่งแบร์รีเมื่อราว ค.ศ. 1410 อาจจะถือกันว่าเป็นหนังสือวิจิตรฉบับที่สำคัญที่สุดของคริสต์ศตวรรษที่ 15 -- “le roi des manuscrits enluminés” (ราชาแห่งหนังสือวิจิตร) “แทรริชเซอร์ดูว์ดุกเดอแบรี” มีด้วยกัน 416 หน้าที่ 131 เป็นจุลจิตรกรรมขนาดใหญ่ และหน้าที่มีการตกแต่งขอบหรืออักษรตัวต้นประดิษฐ์อย่างงดงามอีกหลายหน้า แม้ว่าจะเป็นงานขนาดเล็กแต่ก็ถือว่าเป็นงานชิ้นสำคัญที่สุดชิ้นหนึ่งในสมัยที่รุ่งเรืองที่สุดของศิลปะกอธิคนานาชาติ อักษรประดิษฐ์มีด้วยกันทั้งสิ้น 300 ตัว หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่ใช้เวลาเขียนอยู่เกือบหนึ่งร้อยปี ในสามช่วงสำคัญๆ ที่นำโดยพี่น้องลิมบวร์ก, บาเธเลมี ฟาน เอค และฌอง โคลอมบ์ งานของพี่น้องลิมบวร์กเป็นงานที่มีฝีแปรงอันละเอียด และใช้สีที่มีราคาสูงในการเขียน.

ใหม่!!: กางเขนประดับอัญมณีและแทรริชเซอร์ดูว์ดุกเดอแบรี · ดูเพิ่มเติม »

โลงหิน

ลงหินของฟาโรห์เมเร็นพ์ทาห์ โลงหิน (ภาษาอังกฤษ: Sarcophagus) หมายถึงที่บรรจุศพที่ส่วนใหญ่แกะหรือตัดจากหิน คำว่า “sarcophagus” มาจากภาษากรีก “σαρξ sarx” ที่แปลว่า “เนี้อสด” และ “φαγειν phagein” ที่แปลว่า “กิน” เมื่อรวมกันเป็น “sarkophagus” จึงหมายถึง “กินเนื้อสด” จากวลี “lithos sarkophagos (λιθος σαρκοφάγος)” กลายมาหมายถึงหินปูนที่เชื่อว่าสามารถทำให้ศพที่บรรจุไว้เน่าสลายไปได้ Columbia University Dept.

ใหม่!!: กางเขนประดับอัญมณีและโลงหิน · ดูเพิ่มเติม »

เยรูซาเลม

รูซาเลม (Jerusalem), เยรูชาลายิม (יְרוּשָׁלַיִם) หรือ อัลกุดส์ (القُدس) เป็นเมืองในตะวันออกกลาง ตั้งอยู่บนที่ราบของภูเขายูดาห์ ระหว่างทะเลเมดิเตอร์เรเนียนกับทะเลเดดซี เยรูซาเลมเป็นเมืองที่พระยาห์เวห์ทรงเลือกสรรไว้ให้เป็นป้อมแห่งความเชื่อถึงพระเป็นเจ้าแต่เพียงองค์เดียว ประเทศอิสราเอลและรัฐปาเลสไตน์ต่างอ้างสิทธิเหนือเยรูซาเลมว่าเป็นเมืองหลวงของตน อย่างไรก็ตาม การกล่าวอ้างของทั้งสองฝ่ายไม่ได้รับการยอมรับจากนานาชาติ เยรูซาเลมถือเป็นหนึ่งในเมืองที่เก่าแก่ที่สุดในโลก โดยได้รับการกล่าวถึงในชื่อ "อูรูซาลิมา" ในแผ่นศิลาจารึกของเมโสโปเตเมีย ซึ่งมีความหมายว่า "นครแห่งชาลิม" อันเป็นนามของพระเจ้าในแผ่นดินคานาอันเมื่อราว 2,400 ปีก่อนคริสตกาล และเมื่อมาถึงยุคของวงศ์วานอิสราเอล การก่อร่างสร้างเมืองเยรูซาเลมอย่างจริงจังก็ได้เริ่มขึ้นในศตวรรษที่ 9 ก่อนคริสตกาล (ยุคเหล็กช่วงปลาย) และในศตวรรษที่ 8 ก่อนคริสตกาล เยรูซาเลมก็ได้เป็นศูนย์กลางการปกครองและทางศาสนาของอาณาจักรยูดาห์ ตลอดประวัติศาสตร์อันยาวนานของเยรูซาเลม นครแห่งนี้ได้ถูกทำลายไปอย่างน้อย 2 ครั้ง, ถูกปิดล้อม 23 ครั้ง, ถูกโจมตี 52 ครั้ง, ถูกยึดและเอาคืน 44 ครั้ง According to Eric H. Cline's tally in Jerusalem Besieged.

ใหม่!!: กางเขนประดับอัญมณีและเยรูซาเลม · ดูเพิ่มเติม »

เอกสารตัวเขียนสีวิจิตร

Aberdeen Bestiary) (folio 4v) การตกแต่งตัวพยัญชนะตัวแรกและขอบอย่างวิจิตรใน “หนังสือกำหนดเทศกาล” ของฝรั่งเศส ราวปี ค.ศ. 1400 เอกสารตัวเขียนสีวิจิตร (Illuminated manuscript) หรือหนังสือตัวเขียนสีวิจิตร คือเอกสารตัวเขียนที่ตัวหนังสือตกแต่งเพิ่มเติมด้วยสีสรรค์เช่นตัวหนังสือตัวแรกที่ขยายใหญ่ขึ้นและเล่นลายอย่างวิจิตร หรือเขียนขอบคัน หรือทำเป็นจุลจิตรกรรม ตามความหมายตรงตัวจะหมายถึงต้นฉบับที่ตกแต่งด้วยเงินและทอง แต่การใช้กันโดยทั่วไปโดยนักวิชาการสมัยใหม่ในปัจจุบันจะหมายถึงต้นฉบับใดก็ได้ที่มีการตกแต่งหรือหนังสือประกอบภาพจากทั้งทางตะวันตกและทางศาสนาอิสลาม งานเอกสารตัวเขียนสีวิจิตรฉบับแรกที่สุดที่มีการตกแต่งพอประมาณมาจากสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 5 ถึงที่ 7 ส่วนใหญ่ทำในไอร์แลนด์, อิตาลี และประเทศอื่นๆ บนผืนแผ่นดินใหญ่ยุโรป ความสำคัญของเอกสารตัวเขียนสีวิจิตรมิใช่เพียงคุณค่าทางวรรณกรรมแต่ยังมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ด้วย ซี่งจะเห็นได้จากต้นฉบับเอกสารตัวเขียนสีวิจิตรที่ทำให้เราเรียนรู้ถึงประวัติศาสตร์ โรมันและ กรีกที่ตกแต่งโดยผู้บันทึกและตกแต่งหนังสือตามอาราม เอกสารตัวเขียนสีวิจิตรส่วนใหญ่ที่ยังหลงเหลืออยู่ในปัจจุบันมาจากยุคกลางแม้ว่าการสร้างเอกสารตัวเขียนสีวิจิตรจะทำกันมาจนถึงยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาในคริสต์ศตวรรษที่ 15 เนื้อหาของงานส่วนใหญ่ในสมัยแรก ๆ จะเป็นงานศาสนา แต่ต่อมาโดยเฉพาะในคริสต์ศตวรรษที่ 13 ก็เริ่มมีงานทางโลกเพิ่มขึ้น และเกือบทั้งหมดจะทำเป็นหนังสือแต่ก็มีบ้างที่เป็นม้วนหรือเป็นแผ่นเดียวเขียนบนหนัง (อาจจะเป็นหนังลูกวัว, แกะ, หรือแพะ) ที่มีคุณภาพดี หลังปลายยุคกลางวัสดุที่ใช้เขียนก็เปลี่ยนมาเป็นกระดาษ เมื่อวิวัฒนาการพิมพ์เพิ่งเริ่มใหม่ๆ ผู้พิมพ์ก็อาจจะทิ้งช่องว่างไว้สำหรับพยัญชนะตัวแรก, ขอบ หรือ ภายเขียนย่อส่วนแต่การพิมพ์ทำให้ ศิลปะการทำเอกสารตัวเขียนสีวิจิตรเสื่อมความนิยมลง แต่ก็ทำกันต่อมาจนถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 แต่น้อยลงมากและทำสำหรับผู้มีฐานะดีจริงๆ เท่านั้น นอกจากเอกสารตัวเขียนสีวิจิตรจะเป็นตัวอย่างของสิ่งที่หลงเหลือมาจากยุคกลางแล้วก็ยังเป็นตัวอย่างที่ดีของจิตรกรรมที่มาจากยุคกลางด้วย และบางครั้งก็เป็นจิตรกรรมอย่างเดียวที่เหลืออยู่จากยุคนั้น.

ใหม่!!: กางเขนประดับอัญมณีและเอกสารตัวเขียนสีวิจิตร · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องราชกกุธภัณฑ์

รื่องราชกกุธภัณฑ์ 5 อย่าง) แห่งราชอาณาจักรไทย กกุธภัณฑ์ หรือ เครื่องราชกกุธภัณฑ์ (Crown jewels) ตามรูปศัพท์แปลว่าเครื่องใช้สำหรับพระมหากษัตริย์ กกุธภัณฑ์ เป็นคำภาษาบาลี มาจาก กกุธ แปลว่า เครื่องหมายความเป็นพระราชา + ภณฺฑ แปลว่า ของใช้ เครื่องราชกกุธภัณฑ์จึงหมายถึง อุปกรณ์, เครื่องทรง และ/หรือ สิ่งอื่นๆ ที่เป็นของพระมหากษัตริย์ของประเทศต่างๆ ที่มอบให้แก่พระมหากษัตริย์องค์ต่อไปเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของการมอบสิทธิในการครองราชบัลลังก์ เครื่องราชกกุธภัณฑ์จะประกอบด้วย พระมหาพิชัยมงกุฎ, พระแสงขรรค์ชัยศรี, ธารพระกร, วาลวิชนี(พัดวาลวิชนี,พระแส้จามรี), ฉลองพระบาทเชิงงอน และสิ่งอื่นๆ ที่ถือว่าเป็นสิ่งประกอบเกียรติยศของประมุขของประเทศตามแต่ประเทศไป.

ใหม่!!: กางเขนประดับอัญมณีและเครื่องราชกกุธภัณฑ์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Crux gemmata

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »