โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ

ดัชนี กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ

กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ (myocarditis, inflammatory cardiomyopathy) คือภาวะที่มีการอักเสบของกล้ามเนื้อหัวใจ ส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส ที่พบบ่อยเช่น parvovirus B19 นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากเชื้ออื่นที่ไม่ใช่ไวรัสก็ได้แต่พบน้อยกว่า เชื้ออื่นเหล่านี้เช่น Borrelia burgdorferi (โรคไลม์) หรือ Trypanosoma cruzi หรือเกิดจากการแพ้ยา เป็นต้น หมวดหมู่:การอักเสบ หมวดหมู่:โรคหัวใจ หมวดหมู่:โรคหัวใจรูมาติกเรื้อรัง.

9 ความสัมพันธ์: กล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือดการเสียชีวิตจากหัวใจหยุดเต้นกะทันหันในนักกีฬาอโรคา ปาร์ตี้โรคมือ เท้า และปากโรคคอตีบโรคคะวะซะกิไข้เด็งกีเอนเทอโรไวรัสICD-10 บทที่ 9: โรคของระบบไหลเวียนโลหิต

กล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือด

กล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือด (Myocardial infarction; MI) หรือรู้จักกันว่า อาการหัวใจล้ม (heart attack) เกิดเมื่อเลือดไหลสู่ส่วนใดส่วนหนึ่งของหัวใจลดลงหรือหยุดไหล ทำให้เกิดความเสียหายต่อกล้ามเนื้อหัวใจ อาการที่พบมากที่สุด คือ เจ็บอกหรือแน่นหน้าอกซึ่งอาจร้าวไปไหล่ แขน หลัง คอหรือกราม บ่อยครั้งเจ็บบริเวณกลางอกหรืออกด้านซ้ายและกินเวลาไม่ใช่เพียงไม่กี่นาที อาการแน่นหน้าอกบางทีอาจรู้สึกคล้ายอาการแสบร้อนกลางอก อาการอื่น ได้แก่ การหายใจลำบาก คลื่นไส้ รู้สึกหมดสติ เหงื่อแตก หรือรู้สึกล้า ผู้ป่วยประมาณ 30% มีอาการไม่ตรงแบบ หญิงมักมีอาการไม่ตรงแบบมากกว่าชาย ในผู้ป่วยอายุกว่า 75 ปีขึ้นไป ประมาณ 5% เคยมี MI โดยไม่มีหรือมีประวัติอาการเพียงเล็กน้อย MI ครั้งหนึ่งอาจทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว ภาวะหัวใจเสียจังหวะ ช็อกเหตุหัวใจ หรือหัวใจหยุด MI ส่วนใหญ่เกิดจากโรคหลอดเลือดหัวใจ ปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ ความดันโลหิตสูง สูบบุหรี่ เบาหวาน ไม่ออกกำลังกาย โรคอ้วน ภาวะคอเลสเทอรอลสูงในเลือด กินอาหารเลวและบริโภคแอลกอฮอล์มากเกินเป็นต้น กลไกพื้นเดิมของ MI ปกติเกิดจากการแตกของแผ่นโรคท่อเลือดแดงและหลอดเลือดแดงแข็ง (atherosclerotic plaque) ทำให้เกิดการอุดกั้นสมบูรณ์หลอดเลือดหัวใจ MI ที่เกิดจากการบีบเกร็งของหลอดเลือดหัวใจซึ่งอาจเกิดได้จากโคเคน ความเครียดทางอารมณ์อย่างสำคัญ และความเย็นจัด เป็นต้น นั้นพบน้อย มีการทดสอบจำนวนหนึ่งเป็นประโยชน์ช่วยวินิจฉัยรวมทั้งภาพคลื่นไฟฟ้าหัวใจ การทดสอบเลือด และการบันทึกภาพรังสีหลอดเลือดหัวใจ ECG ซึ่งเป็นบันทึกกัมมันตภาพไฟฟ้าของหัวใจ อาจยืนยัน MI ชนิด ST ยก (STEMI) หากมีการยกของ ST การทดสอบที่ใช้ทั่วไปมีทั้งโทรโปนินและครีเอตีนไคเนสเอ็มบีที่ใช้น้อยกว่า การรักษา MI นั้นสำคัญที่เวลา แอสไพรินเป็นการรักษาทันทีี่เหมาะสมสำหรับผู้ที่สงสัยเป็น MI อาจใช้ไนโตรกลีเซอรีนหรือโอปิออยด์เพื่อช่วยระงับอาการเจ็บอก ทว่า ยาทั้งสองไม่ได้เพิ่มผลลัพธ์โดยรวมของการรักษา การให้ออกซิเจนเสริมอาจให้ในผู้ป่วยระดับออกซิเจนต่ำหรือหายใจกระชั้น ในผู้ป่วย STEMI การรักษาเป็นไปเพื่อพยายามฟื้นฟูการไหลเวียนโลหิตสู่หัวใจ และอาจรวมถึงการถ่างขยายหลอดเลือดหัวใจ (percutaneous coronary intervention, PCI) ซึ่งมีการผลักหลอดเลือดแดงให้เปิดออกและอาจถ่ายขยาย หรือการสลายลิ่มเลือด ซึ่งมีการใช้ยาเพื่อขจัดบริเวณที่เกิดการอุดกั้น ผู้มีกล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือดแบบไม่มี ST ยก (NSTEMI) มักรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือดเฮปาริน และการใช้ PCI อีกครั้งในผู้ป่วยความเสี่ยงสูง ในผู้ป่วยที่มีการอุดกั้นของหลอดเลือดหัวใจหลายเส้นและโรคเบาหวาน อาจแนะนำการผ่าตัดทางเลี่ยงหลอดเลือดหัวใจแทนศัลยกรรมตกแต่งหลอดเลือด หลังเป็น MI ตรงแบบแนะนำการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต ร่วมกับการรักษาระยะยาวด้วยแอสไพริน เบตาบล็อกเกอร์ และสแตติน เกิดกล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือดทั่วโลกประมาณ 15.9 ล้านครั้งในปี 2558 กว่า 3 ล้านคนมี MI ชนิด ST ยก และกว่า 4 ล้านคนเป็น NSTEMI สำหรับ STEMI เกิดในชายมากกว่าหญิงสองเท่า มีผู้ป่วย MI ประมาณหนึ่งล้านคนทุกปีในสหรัฐ ในประเทศพัฒนาแล้ว โอกาสเสียชีวิตในผู้ป่วย STEMI อยู่ี่ประมาณ 10% อัตรา MI สำหรับอายุต่าง ๆ ลดลงทั่วโลกระหว่างปี 2533 ถึง 2553 ในปี 2554 MI เป็นภาวะที่มีราคาแพงที่สุดห้าอันดับแรกระหว่างการให้เข้าโรงพยาบาลผู้ป่วยในในสหรัฐ โดยมีมูลค่าประมาณ 11,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐสำหรับการรักษาในโรงพยาบาล 612,000 ครั้ง.

ใหม่!!: กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบและกล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือด · ดูเพิ่มเติม »

การเสียชีวิตจากหัวใจหยุดเต้นกะทันหันในนักกีฬา

การกู้ชีพเบื้องต้นยังเป็นวิธีช่วยเหลือที่สำคัญที่สุดในผู้ที่หัวใจหยุดเต้น การเสียชีวิตจากหัวใจหยุดเต้นกะทันหันในนักกีฬายังเป็นสาเหตุการเสียชีวิตที่ป้องกันได้ยากและท้าทายวงการแพทย์อยู่มาก ภาวะนี้ยังมีนิยามไม่ชัดเจน แต่ส่วนใหญ่หมายถึงการเสียชีวิตจากหัวใจหยุดเต้นกะทันหันอย่างไม่คาดคิด ที่เกิดขึ้นเองจากร่างกายของผู้ตายหรือตัวโรคที่เป็นอยู่ และเกิดขึ้นภายใน 1 ชั่วโมงหลังจากหมดสติ ทั้งนี้ไม่นับเวลาที่ยังมีชีวิตอยู่โดยอาศัยอุปกรณ์พยุงชีพต่างๆ สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากโรคหัวใจ ทั้งที่เป็นแต่กำเนิดและเป็นมาภายหลัง ซึ่งไม่มีอาการใดๆ ปรากฏก่อนเกิดเหตุการณ์ที่ทำให้เสียชีวิต แต่ละสาเหตุมีความชุกต่ำ อยู่ที่ไม่เกิน 0.3% จึงทำให้ไม่ว่าการตรวจใดๆ ก็ไม่มีความไวหรือความจำเพาะเพียงพอที่จะตรวจพบภาวะเหล่านี้ได้ ปัจจัยทำนายที่สำคัญที่สุดเพียงอย่างเดียวคือประวัติหมดสติหรือหน้ามืดขณะออกกำลังกาย ซึ่งควรได้รับการตรวจร่างกายและการตรวจทางห้องปฏิบัติการอย่างละเอียด นักกีฬาที่เสียชีวิตในลักษณะนี้หลายคนเป็นคนมีชื่อเสียง เช่นนักฟุตบอลอาชีพ เป็นต้น.

ใหม่!!: กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบและการเสียชีวิตจากหัวใจหยุดเต้นกะทันหันในนักกีฬา · ดูเพิ่มเติม »

อโรคา ปาร์ตี้

อโรคา ปาร์ตี้ (AROKA PARTY) เป็นรายการวาไรตี้โชว์เพื่อสุขภาพ ซึ่งเป็นรายการที่นำเสนอเรื่องราวที่เกี่ยวกับโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัว ซึ่งเป็นรายการวาไรตี้โชว์จากประเทศญี่ปุ่น โดยมีชื่อว่า มีชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า "Medical Horror Check Show" ซึ่งเรียกห้องส่งของรายการว่า Black Hospital ผลิตขึ้นโดยบริษัท ทีวีอาซาฮี จำกัด ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งถูกผลิตขึ้นให้ผู้คนหวาดกลัว (ต่อโรคที่เป็นแล้วจะมีลักษณะใด) ในประเทศไทยได้รับลิขสิทธิ์รายการนี้มาผลิตในประเทศไทยโดยบริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) ร่วมมือกับโรงพยาบาลพญาไท โดยใช้ชื่อว่า "อโรคา ปาร์ตี้" ดังกล่าว โดยออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ทีวี ทุกวันพฤหัสบดี เวลา 22.05 น. - 22.50 น. (จากนั้นเลื่อนเวลาออกอากาศเป็น 22.15 น. - 23.00 น. และจะเปลี่ยนวันออกอากาศเป็นทุกวันจันทร์ เวลา 22.15 - 23.00 น.เริ่มตั้งแต่วันจันทร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2552) เริ่มออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2551 และ ออกอากาศเป็นเทปสุดท้ายวันจันทร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2552 ดำเนินรายการโดย ธงชัย ประสงค์สันติ และ หมอพี (ทันตแพทย์หญิง พอลลีน เต็ง) โดยใช้คำปรัชญาประจำรายการว่า "อโรคาปาร์ตี้ วาไรตี้ไม่มีโรค"รายการอโรคาปาร์ตี้นำมาออกอากาศอีกครั้งหนึ่งในวันที่ 2 มกราคม 2553 เวลา 20.15 - 21.10 น.ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5และปรับเปลี่ยนรูปแบบเป็นรายการเกมโชว์ควิซโชว์โดยใช้ชื่อรายการเป็น ปาร์ตี้วิทยาศาสตร์ ตอน อโรคา ซายส์ ปาร์ตี้ แทน อโรคาปาร์ตี้.

ใหม่!!: กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบและอโรคา ปาร์ตี้ · ดูเพิ่มเติม »

โรคมือ เท้า และปาก

รคมือ เท้า และปาก (Hand, foot and mouth disease) เป็นโรคติดเชื้อในมนุษย์ เกิดจากไวรัสในแฟมิลีพิคอร์นาไวริดี ซึ่งสายพันธุ์ที่ทำให้เกิดโรคนี้ที่พบบ่อยที่สุดคือไวรัสคอกแซคกี เอ และ Enterovirus 71 เชื้อก่อโรคที่พบบ่อยที่สุดคือ ค็อกแซกกีเอชนิด 16 ซึ่งทำให้เกิดอาการที่ไม่รุนแรง และหายได้เองเป็นส่วนใหญ่ ที่พบน้อยแต่รุนแรงคือ ไวรัสเอนเทอโรชนิด 71 โรคมือ เท้า และปากส่วนใหญ่พบในเด็ก เป็นโรคที่พบได้บ่อย การติดต่อค่อนข้างง่ายผ่านทางการสัมผัสสารคัดหลั่ง เช่น น้ำลาย หรืออุจจาระของผู้ป่วย โรคนี้ส่วนใหญ่ติดต่อจากการกินอาหาร น้ำดื่ม การดูดเลียนิ้วมือ หรือของเล่นที่ปนเปื้อนเชื้อที่ออกมากับอุจจาระน้ำเหลืองจากตุ่มน้ำที่ผิวหนัง หรือละอองน้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วย พบน้อยที่จะติดต่อโดยการสูดเอาละอองน้ำมูกน้ำลายที่ผู้ป่วยไอหรือจามรด มักมีการระบาดเป็นกลุ่มเล็กในสถานเลี้ยงเด็กหรือโรงเรียนอนุบาล ส่วนใหญ่พบในช่วงฤดูร้อนหรือฤดูใบไม้ร่วง ระยะฟักตัวประมาณ 3-7 วัน โรคนี้พบน้อยในผู้ใหญ่ แต่ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องอาจติดเชื้อได้ง่าย โรคนี้เป็นคนละโรคกับโรคเท้าและปาก (Foot-and-mouth disease) ซึ่งเกิดกับวัว แกะ แม้จะเกิดจากไวรัสในแฟมิลีพิคอร์นาไวริดีเหมือนกันก็ตาม.

ใหม่!!: กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบและโรคมือ เท้า และปาก · ดูเพิ่มเติม »

โรคคอตีบ

รคคอตีบ (diphtheria) เป็นโรคติดเชื้ออย่างหนึ่ง เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Corynebacterium diphtheriae อาการมีได้หลากหลายตั้งแต่เล็กน้อยไปจนถึงรุนแรง ผู้ป่วยมักเริ่มมีอาการหลังได้รับเชื้อประมาณ 2-5 วัน ในช่วงแรกมักมีอาการเจ็บคอและมีไข้ หากเป็นรุนแรงผู้ป่วยจะมีแผ่นเนื้อเยื่อสีขาวหรือสีเทาที่คอหอย ซึ่งอาจอุดกั้นทางหายใจและทำให้เกิดอาการไอเสียงก้องเหมือนในโรคกล่องเสียงอักเสบ (ครุป) ได้ อาจมีต่อมน้ำเหลืองที่คอโต ทำให้มีคอบวม เชื้อนี้นอกจากทำให้มีอาการที่คอแล้วยังทำให้มีอาการที่ระบบอื่น เช่น ผิวหนัง ตา หรืออวัยวะเพศ ได้อีกด้วย ภาวะแทรกซ้อนที่พบได้ได้แก่ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ เส้นประสาทอักเสบ ไตอักเสบ เกล็ดเลือดต่ำ เป็นต้น เชื้อคอตีบสามารถติดต่อจากคนสู่คนได้ผ่านการสัมผัสโดยตรง ผ่านวัตถุที่เปื้อนเชื้อ หรือผ่านอากาศ ผู้รับเชื้อบางรายอาจไม่มีอาการ แต่มีเชื้อในร่างกาย และสามารถแพร่เชื้อให้คนอื่นได้ เชื้อ C. diphtheriae มีชนิดย่อยอยู่ 3 ชนิด แต่ละชนิดอาจทำให้มีอาการรุนแรงแตกต่างกัน อาการของโรคส่วนใหญ่เกิดจากพิษที่สร้างโดยเชื้อนี้ การวินิจฉัยทำได้โดยการตรวจร่างกายดูลักษณะของคอหอยของผู้ป่วย ร่วมกับการตรวจยืนยันด้วยการเพาะเชื้อ การหายจากเชื้อนี้จะไม่ได้ทำให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันต่อการติดเชื้อครั้งถัดไป วัคซีนโรคคอตีบเป็นวิธีป้องกันโรคนี้ที่ได้ผลดี และมีให้ใช้ในหลายรูปแบบ ส่วนใหญ่แนะนำให้เด็กทั่วไปได้รับวัคซีนนี้ร่วมกับวัคซีนบาดทะยักและไอกรน 3-4 ครั้ง หลังจากนั้นควรได้รับวัคซีนคอตีบและบาดทะยักร่วมกันทุกๆ 10 ปี สามารถตรวจหาระดับภูมิคุ้มกันในเลือดเพื่อยืนยันการมีภูมิคุ้มกันได้ การรักษาทำได้โดยให้ยาปฏิชีวนะเช่นอีริโทรมัยซิน หรือเบนซิลเพนิซิลลิน ยาปฏิชีวนะเหล่านี้นอกจากใช้รักษาโรคแล้วยังใช้ป้องกันการเกิดโรคในผู้ที่สงสัยว่าจะได้รับเชื้อได้ด้วย ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงบางรายอาจมีทางเดินหายใจอุดกั้นรุนแรงจนต้องรับการรักษาด้วยการเจาะคอ ในปี..

ใหม่!!: กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบและโรคคอตีบ · ดูเพิ่มเติม »

โรคคะวะซะกิ

รคคะวะซะกิ (川崎病; Kawasaki disease) หรือ กลุ่มอาการเยื่อเมือกผิวหนังต่อมน้ำเหลือง (Mucocutaneous lymph node syndrome; MCLS, MLNS หรือ MCLNS) เป็นโรคที่พบในเด็กญี่ปุ่นเป็นที่แรก โดยนายโทมิซากุ คะวะซะกิ (ชื่ออื่น: Tomisaku Kawazaki) เมื่อ พ.ศ. 2510 โดยส่วยใหญ่จะพบในเด็ก อาการที่พบของโรคที่ประกอบด้วยอาการมีไข้สูง (fever) เกิดจากหลอดเลือดแดงอักเสบ มีการเปลี่ยนแปลงของผิวหนัง (peeling of the palm) และเยื่อบุผิว และต่อมน้ำเหลืองที่คอโต และ ตาแดง (congested conjuctiva) และ ภาวะเส้นโลหิตแดงหัวใจโป่งพองเป็นถุงขังโลหิตไว้ (coronary anuerysm) เป็นโรคที่พบในเด็กชายมากกว่าเด็กหญิง อัตราชายต่อหญิง 1.5: 1 พบในเด็กเล็กประมาณร้อยละ 50 ของผู้ป่วยอายุน้อยกว่า 2 ปี ร้อยละ 80 อายุน้อยกว่า 4 ปี พบได้ทุกเชื้อชาติในโลกแต่พบมากโดยเฉพาะในเด็กญี่ปุ่นมากกว่าชาติอื่น.

ใหม่!!: กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบและโรคคะวะซะกิ · ดูเพิ่มเติม »

ไข้เด็งกี

้เด็งกี (Dengue fever) หรือในประเทศไทยนิยมเรียกว่า ไข้เลือดออก เป็นโรคติดเชื้อซึ่งระบาดในเขตร้อน เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเด็งกี ผู้ป่วยจะมีอาการไข้ ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ และมีผื่นลักษณะเฉพาะซึ่งคล้ายกับผื่นของโรคหัด ผู้ป่วยส่วนหนึ่งจะมีอาการรุนแรง จนกลายเป็นไข้เลือดออกเด็งกี (Dengue hemorrhagic fever) ที่เป็นอันตรายถึงชีวิต ซึ่งทำให้มีเลือดออกง่าย มีเกล็ดเลือดต่ำ และมีการรั่วของพลาสมา หรือรุนแรงมากขึ้นเป็นกลุ่มอาการไข้เลือดออกช็อก (Dengue shock syndrome) ซึ่งมีความดันโลหิตต่ำอย่างเป็นอันตรายได้ ไข้เลือดออกติดต่อผ่านทางพาหะคือยุงหลายสปีชีส์ในจีนัส Aedes โดยเฉพาะ A. aegypti หรือยุงลายบ้าน ไวรัสเด็งกีมีชนิดย่อยอยู่สี่ชนิด การติดเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งมักทำให้ผู้ป่วยมีภูมิคุ้มกันต่อไวรัสชนิดนั้น ๆ ไปตลอดชีวิต แต่มีภูมิคุ้มกันต่อไวรัสเด็งกีชนิดอื่น ๆ ในเวลาสั้น ๆ การติดเชื้อไวรัสเด็งกีชนิดอื่นในภายหลังเพิ่มความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนรุนแรง การป้องกันโรคทำโดยลดจำนวนแหล่งเพาะพันธุ์และจำนวนของยุง และป้องกันมิให้ยุงลายกัด เพราะยังไม่มีวัคซีนในทางพาณิชย์ ยังไม่มีวิธีจำเพาะในการรักษาไข้เลือดออก การรักษาหลัก ๆ เป็นการรักษาประคับประคอง สำหรับผู้ป่วยที่อาการไม่รุนแรงรักษาโดยการคืนน้ำ อาจใช้การกินทางปากหรือการให้ทางหลอดเลือดดำ และสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงรักษาโดยให้สารน้ำหรือเลือดหรือองค์ประกอบของเลือดทางหลอดเลือดดำ อุบัติการณ์ของไข้เลือดออกเพิ่มขึ้นมากตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1960 โดยมีผู้ป่วยติดเชื้อ 50-100 ล้านคนต่อปี โรคนี้มีการอธิบายเอาไว้ครั้งแรกตั้งแต..

ใหม่!!: กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบและไข้เด็งกี · ดูเพิ่มเติม »

เอนเทอโรไวรัส

อนเทอโรไวรัส (Enterovirus) เป็นไวรัส อาร์เอ็นเอ สายเดี่ยว ขนาดเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 20-30 นาโนมิเตอร์ เป็น ไวรัสเปลือย (non-enveloped virus หรือ naked virus) ทำให้ทนทานต่อสารละลายไขมัน เช่น แอลกอฮอล์ และ อีเทอร์ เชื้อไวรัส กลุ่มนี้ เกือบทั้งหมดอยู่ในลำไส้ของมนุษย์ โดยแสดงอาการของโรคต่างกัน ไวรัสชนิดนี้ สามารถแพร่กระจายติดต่อถึงกันได้โดยตรงผ่านทางของเหลวต่างๆของร่างกาย ที่สำคัญ คือ การปนเปื้อนมาในอุจจาระของผู้ป่วย (fecal-oral transmission) ซึ่งถือได้ว่า เป็นการติดต่อที่สำคัญของไวรัสกลุ่ม เอนเทอโรไวรัส ทั้งหมด (คำว่า เอนเทอโร หมายถึง ทางเดินอาหาร, ติดต่อโดย ระบบทางเดินอาหารนั่นเอง) ถึงแม้ ไวรัสกลุ่มนี้จะเจริญได้ดีในทางเดินอาหาร แต่สามารถทำให้เกิดโรคได้หลายๆ อวัยวะที่ไม่เกี่ยวข้องกับทางเดินอาหาร แล้วแต่ละ โรคอาจจะมีได้ตั้งแต่ความรุนแรงต่ำ โรคหายได้เองจนถึงความรุนแรงโรคสูงเป็นสาเหตุทำให้เสียชีวิตได้.

ใหม่!!: กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบและเอนเทอโรไวรัส · ดูเพิ่มเติม »

ICD-10 บทที่ 9: โรคของระบบไหลเวียนโลหิต

ป็นบัญชีโรคย่อยหนึ่งจากบัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง ฉบับทบทวนครั้งที่ 10 (ICD-10) ซึ่งเป็นรหัสของโรคและอาการ อาการแสดง ความผิดปกติที่ตรวจพบ อาการนำ สภาพสังคม หรือสาเหตุภายนอกของการบาดเจ็บหรือโรค จัดทำขึ้นโดยองค์การอนามัยโลกโดยแล้วเสร็จในปี..

ใหม่!!: กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบและICD-10 บทที่ 9: โรคของระบบไหลเวียนโลหิต · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Inflammatory cardiomyopathyMyocarditisภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบโรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »