สารบัญ
12 ความสัมพันธ์: พีแคนวอลนัตสารต้านอนุมูลอิสระสตรอว์เบอร์รีองุ่นทับทิม (ผลไม้)ท้อแบล็กเบอร์รีแรสเบอร์รีแทนนินแครนเบอร์รีเก๋ากี่
- สารต้านอนุมูลอิสระ
- แลกโทน
พีแคน
ีแคน (pecan) เป็นพืชในวงศ์ค่าหด (Juglandaceae) มีถิ่นกำเนิดในเม็กซิโกและทางตอนใต้ของสหรัฐฯFlora of North America: คำว่า pecan ในภาษาอัลกอนควิน (Algonquin) แปลว่า "ผลไม้ที่ต้องใช้หินกะเทาะเปลือก" พีแคนเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ สูงประมาณ 20-40 เมตร ใบเรียงสลับแบบขนนก มีใบย่อย 9-17 ใบ ผลเป็นผลแบบดรุป (ผลที่มีเมล็ดแข็ง) ซึ่งสามารถรับประทานได้ทั้งแบบสดและนำไปแปรรูป.
วอลนัต
มล็ดวอลนัต วอลนัต (walnut) เป็นพืชในตละกูล Juglandaceae ขนาดของต้นมีหลายขนาดสูงตั้งแต่ 10-40 และใบมีขนาดยาวตั้งแต่ 200-900 มม.
สารต้านอนุมูลอิสระ
redox-active sulfur atom that provides antioxidant activity, while the red, blue, white, and dark grey spheres represent oxygen, nitrogen, hydrogen, and carbon atoms, respectively. สารต้านอนุมูลอิสระ คือโมเลกุลของสารที่สามารถจับกับตัวรับและสามารถยับยั้งปฏิกิริยาออกซิเดชันของโมเลกุลสารอื่นๆได้ ปฏิกิริยาออกซิเดชันเป็นปฏิกิริยาเคมีที่เกี่ยวเนื่องกับการแลกเปลี่ยนอิเล็กตรอนจากสารหนึ่งไปยังตัวออกซิไดซ์ ปฏิกิริยาดังกล่าวสามารถให้ผลิตภัณฑ์เป็นสารอนุมูลอิสระ (free radical) ซึ่งสารอนุมูลอิสระเหล่านี้จะเกิดปฏิกิริยาลูกโซ่และทำลายเซลล์ของร่างกาย สารต้านอนุมูลอิสระจะเข้ายุติปฏิกิริยาลูกโซ่เหล่านี้ด้วยการเข้าจับกับสารอนุมูลอิสระและยับยั้งปฏิกิริยาออกซิเดชันโดยถูกออกซิไดซ์ ดังนั้นสารต้านอนุมูลอิสระจึงถือเป็นตัวรีดิวซ์ อาทิ ไธออล กรดแอสคอร์บิก และโพลีฟีนอล แม้ว่าปฏิกิริยาออกซิเดชันเป็นสิ่งสำคัญต่อสิ่งมีชีวิต หากแต่ก็ยังเกิดโทษเช่นกัน ดังนั้นพืชและสัตว์จึงรักษาสมดุลด้วยระบบอันซับซ้อนของปฏิริยาโดยสารต้านอนุมูลอิสระดังเช่น กลูตาไธโอน วิตามินซี และวิตามินอี เช่นเดียวกับเอนไซม์อย่างตัวเร่งปฏิกิรยาและเอนไซม์ซูเปอร์ออกไซด์ รวมถึงเพอรอกซิเดสต่างๆ ระดับสารต้านอนุมูลอิสระที่ต่ำหรือเอนไซม์ที่ยับยั้งปฏิกิริยาออกซิเดชันที่มากเกินไป จะยังผลให้เกิดภาวะออกซิเดชันที่มากเกินไป (oxidative stress) นำมาซึ่งการทำลายหรือสร้างความเสียหายแก่เซลล์ได้ ในภาวะที่ออกซิเดชันมากเกินไปจะทำให้เกิดโรคในมนุษย์หลายโรค การใช้สารต้านอนุมูลอิสระในทางเภสัชวิทยาได้รับการศึกษาอย่างละเอียดในการรักษาภาวะโรคหลอดเลือดในสมองและโรค neurodegenerative disease อย่างไรก็ดี ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดว่าออกซิเดชันที่มากเกินไปนั้นเป็นสาเหตุการเกิดโรคหรือไม่ สารต้านอนุมูลอิสระถูกนำมาใช้เป็นส่วนผสมของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารหลายชนิด ด้วยคาดหวังในการรักษาสุขภาพและป้องกันโรคอย่างโรคมะเร็งและโรคหลอดเลือดหัวใจ รวมไปถึงโรคกลัวความสูง แม้การศึกษาในช่วงแรกให้การสนับสนุนถึงการเติมสารต้านอนุมูลอิสระในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ช่วยให้สุขภาพดีนั้น ภายหลังการศึกษาในระยะคลินิกพบว่าสารที่เติมลงไปไม่ได้ช่วยหรือก่อให้เกิดประโยชน์อันใดแก่ผู้บริโภค ซ้ำยังผลมาซึ่งอันตรายจากการรับประทานที่มากเกินไป นอกจากนี้ยังมีการใช้สารต้านอนุมูลอิสระธรรมชาติในเภสัชภัณฑ์ และส่วนประกอบอื่นๆในผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเช่นสารกันบูดในอาหารและเครื่องสำอาง และช่วยลดการสึกกร่อนของยางและแก๊สโซลีนอีกด้ว.
ดู กรดเอลลาจิกและสารต้านอนุมูลอิสระ
สตรอว์เบอร์รี
ตรอว์เบอร์รี (strawberry) เป็นสกุลไม้ดอกในวงศ์กุหลาบ ผลสามารถรับประทานได้ ในอดีตปลูกเป็นพืชคลุมดินให้กับต้นไม้ปลูกเลี้ยงอื่น ซึ่งอาจเป็นที่มาของชื่อก็เป็นได้ มีมากกว่า 20 สปีชีส์ และมีลูกผสมมากมาย แต่สตรอว์เบอร์รีที่นิยมปลูกมากในปัจจุบันก็คือสตรอว์เบอร์รีสวน (Fragaria × ananassa) ผลของสตรอว์เบอร์รีมีรสชาติหลากหลายขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ มีตั้งแต่รสหวานจนถึงเปรี้ยว สตรอเบอร์รีเป็นผลไม้ทางการค้าที่สำคัญ มีปลูกกันเป็นวงกว้างหลายสภาพอากาศทั่วโลก.
ดู กรดเอลลาจิกและสตรอว์เบอร์รี
องุ่น
องุ่น เป็นพืชยืนต้น มีลักษณะเป็นไม้พุ่มเลื้อย มีลักษณะเนื้อแข็งและมีลำต้น กิ่งถาวรอายุเกิน 1 ฤดู ถ้าปล่อยให้เจริญเติบโตตามธรรมชาติจะเลื้อยเกาะกิ่งไม้ ใบกลมขอบหยักเว้าลึก 5 พู โคนใบเว้าเป็นรูปหัวใจ ดอกออกเป็นช่อแยกแขนง ดอกย่อยขนาดเล็กสีเขียวมีหมวก จะหลุดออกเมื่อดอกบานกลีบดอกเมื่อบานสีขาว โคนเชื่อมติดกัน ปลายแยก 5 กลีบ เป็นผลเดี่ยวที่ออกเป็นพวง (เป็นผลเดี่ยวที่เกิดจากดอกช่อแต่ดอกไม่หลอมรวมกัน) ผลย่อยรูปกลมรีและฉ่ำน้ำ มีผิวนวลเกาะและรสหวาน มีสีเขียว, ม่วงแดงและม่วงดำแล้วแต่พันธุ์ ในผลมีเมล็ดประมาณ 1 - 4 เมล็.
ทับทิม (ผลไม้)
ผลทับทิม แกะออก เห็นเมล็ดข้างใน บทความนี้กล่าวถึง "ทับทิม" ในฐานะผลไม้ชนิดหนึ่ง สำหรับทับทิมในความหมายอื่นๆ ดูได้ใน ทับทิม ทับทิม ชื่อท้องถิ่น เซี๊ยะลิ้ว, พิลา, พิลาขาว, มะก่องแก้ว, มะเก๊าะ, หมากจัง เป็นไม้ผลขนาดเล็ก มีขนาดประมาณ 5-8 เซนติเมตร ทับทิมมีถิ่นกำเนิดจากตะวันออกของประเทศอิหร่าน ทางตอนใต้ของอัฟกานิสถานและทางตอนเหนือของเทือกเขาหิมาลัย ทับทิมจึงชอบอากาศหนาวเย็นและอยู่บนพื้นที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลอย่างน้อย 300 เมตร ยิ่งอากาศหนาวเนื้อทับทิมจะมีสีแดงเข้มมากขึ้น.
ดู กรดเอลลาจิกและทับทิม (ผลไม้)
ท้อ
ลูกท้อ (桃; Peach; ชื่อวิทยาศาสตร์: Prunus persica) เป็นไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีน จัดเป็นไม้พุ่มผลัดใบ อยู่ในสกุล Prunus อันเป็นสกุลเดียวกันกับ ซากุระ, บ๊วย, เชอร์รี่ หรือนางพญาเสือโคร่ง ท้อจัดเป็นไม้เมืองหนาวที่จะขึ้นได้ดีในที่ ๆ มีความสูงตั้งแต่ 3,000 ฟุตขึ้นไป อุณหภูมิโดยเฉลี่ย 10 องศาเซลเซียส ทนแล้งได้ดี เป็นไม้ใบเดี่ยว เรียงสลับ ขอบใบจัก ดอกเดี่ยว มักออกเป็นกระจุก กลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบดอก 5 กลีบ สีขาวหรืออาจเป็นสีแดง หรือชมพู ดอกจะแตกออกมาก่อนใบ ผลเป็นผลสดเมล็ดเดี่ยว มีขนปกคลุมทั่วบริเวณผิว ท้อนับเป็นผลไม้ที่ใช้ประโยชน์ในการรับประทานมาอย่างยาวนาน และได้รับความนิยมไปทั่วโลก นอกจากนี้แล้วในวัฒนธรรมของชนชาติต่าง ๆ จะมีท้อเข้ามาร่วมอยู่ด้วย ได้แก่ ชาวจีนมีความเชื่อว่า ท้อเป็นสัญลักษณ์ของการมีอายุยืนยาว และเกี่ยวข้องกับการกับการป้องกันสิ่งชั่วร้าย ถ้าดอกท้อของบานในระหว่างการฉลองวันปีใหม่ หมายถึง ปีต่อไปจะเป็นปีของโชคลาภ และดอกท้อยังใช้ประดับตกแต่งภายในบ้านเพื่อความเป็นสิริมงคล ป้องกันสิ่งชั่วร้ายอีกด้วย นอกจากนี้แล้วในสมัยโบราณ การเขียนป้ายคำอวยพรก็นิยมเขียนลงไม้ที่ทำมาจากต้นท้อ ในนิทานพื้นบ้านของญี่ปุ่น โมโมทาโร่ (桃太郎) ซึ่งเป็นเด็กชายที่มีพละกำลังมากมายและเป็นผู้นำในการปราบปีศาจ ก็กำนิดมาจากลูกท้อ เป็นต้น สำหรับในประเทศไทย ท้อมีการนำเข้ามาปลูกในพื้นที่ภาคเหนือ เช่น โครงการหลวง โดยมีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น มะฟุ้ง, มักม่น, มักม่วน, หุงคอบ, หุงหม่น เป็นต้น.
แบล็กเบอร์รี
แบล็กเบอร์รี (blackberry) มีชื่อในภาษาไทยว่า ไข่กุ้ง, ไข่ปู, บ่าฮู้ เป็นผลไม้ป่าประเภทที่กินได้ เป็นไม้ผลประเภทผลกลุ่ม (aggregate fruit) (แบบน้อยหน่า) จากพุ่มไม้หนาม (Bramble) ซึ่งเป็นพืชที่อยู่ในสกุลกุหลาบในวงศ์กุหลาบที่มีด้วยกันทั้งหมดเป็นร้อยสปีชีส์เป็นพันธุ์ไม้ที่พบทั่วไปในบริเวณที่มีอากาศอุ่นในซีกโลกเหนือHuxley, A., ed.
แรสเบอร์รี
แรสเบอร์รีแดงยุโรป รอเก็บเกี่ยว ผลแรสเบอร์รี แรสเบอร์รี หรือ ราสเบอร์รี (raspberry) เป็นชื่อเรียกผลไม้หลายชนิดในสกุล Rubus (สกุลเดียวกับแบล็กเบอร์รี) ส่วนใหญ่อยู่ในสกุลย่อย Idaeobatus มีต้นกำเนิดมาจากแถบยุโรป ผลแรสเบอร์รีสามารถรับประทานได้ซึ่งมีทั้งรสหวานและเปรี้ยว ผลมีสีแดงขนาดเล็กและยังเป็นผลไม้ทางการค้าที่สำคัญ สามารถเจริญเติบโตได้อย่างกว้างขวางทุกสภาพภูมิอากาศทั่วโลกแต่นิยมปลูกกันในพื้นที่ที่มีอากาศหนาวเช่นยุโรปและอเมริกา ลำต้นและตัวต้นก็มีความแข็งแรงมากสามารถขยายพันธุ์ไปได้เรื่อยๆไม่มีขีดจำกัด ซึ่งเป็นผลมาจากการที่มันสามารถงอกลำต้นใหม่จากลำต้นเดิมได้และรากของมันจะเจาะลึกลงไปในดิน ส่วนใบก็สามารถนำไปทำยาได้ การเก็บเกี่ยวนิยมเก็บเกี่ยวในช่วงที่ผลสุกงอมโดยให้ดูจากผลจะมีสีเข้มสด (สีแดง, ม่วง, ดำ) ในช่วงนี้ผลจะมีความหวานมากจึงเหมาะสำหรับนำไปรับประทานหรือนำไปทำแยมผลไม้และเหมาะที่จะนำไปทำอาหารอย่างอื่นทั้งของคาวและของหวาน ในภาษาท้องถิ่นของไทยเรียกว่า หนามไข่ปู ในประเทศไทยพบกระจายพันธุ์บนพื้นที่ภูเขาสูง อาทิ ดอยภูคา จังหวัดน่าน, ดอยอินทนนท์ ดอยผ้าห่มปก ดอยเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่, ภูกระดึง จังหวัดเล.
แทนนิน
แทนนิน (tannin) เป็นสารที่มีโมเลกุลใหญ่และโครงสร้างซับซ้อน มีสถานะเป็นกรดอ่อนรสฝาด เป็นสารให้ความฝาดในพืช พบได้ในพืชหลายชนิด แทนนิน มี 2 ชนิด คือ คอนเดนส์แทนนิน (condensed tannins) หรือเรียกอีกอย่างว่า โปรแอนโทรไซยานิน (proanthrocyanin) พบได้ในส่วนเปลือกต้น และแก่นไม้เป็นส่วนใหญ่ และ สารไฮโดรไลซ์แทนนิน (hydrolysable tannins) คือแบบที่สามารถถูกแยกออกเป็นโมเลกุลเล็กๆ ได้ พบมากในส่วนใบ ฝัก และส่วนที่ปูดออกมาจากปกติ เมื่อต้นไม้ได้รับอันตราย (gall) แทนนิน มีคุณสมบัติตกตะกอนโปรตีน ทำให้หนังสัตว์ไม่เน่าเปื่อย จึงมีการใช้ในอุตสาหกรรมฟอกหนังด้วย แทนนินมีฤทธิ์ฝาดสมาน จึงใช้เป็นยารักษาโรคท้องเสียได้ แทนนินมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียได้ ตัวอย่างแทนนินได้แก่ theogallin, gallic acid, ellagic acid แทนนิน มาจากคำว่า “แทนนิ่ง” "tanning" ซึ่งแปลว่ารักษาไว้และกันน้ำ แทนนิ่งคือการเปลี่ยนหนังสัตว์ที่ตายแล้วให้เป็นผลิตภัณฑ์หนังโดยการใช้สารสกัดจากพื.
แครนเบอร์รี
แครนเบอร์รี (cranberry) อยู่ในกลุ่มไม้พุ้มแคระไม่ผลัดใบหรือมีลำต้นเป็นเถายาว (trailing vine) ในจีนัสย่อย Oxycoccus ในจีนัส Vaccinium พบในพรุที่เป็นกรดตลอดบริเวณหนาวในซีกโลกเหนือ แครนเบอร์รีจะให้สารอาหารดังนี้.
เก๋ากี่
ก๋ากี่ หรือ เก๋ากี้, เก๋ากี๋, เก๋าคี่ (ชื่อทางการค้า: โกจิเบอรี่; Wolfberry) เป็นชื่อทั่วไปที่ใช้เรียกผลไม้ซึ่งมีสปีชีส์ที่ใกล้เคียงกันสองชนิด คือ Lycium barbarum และ L.
ดูเพิ่มเติม
สารต้านอนุมูลอิสระ
- กรดเอลลาจิก
- กลูตาไธโอน
- ซีลีเนียม
- สารต้านอนุมูลอิสระ
- โคเอนไซม์คิว10
- ไอดีบีโนน