โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อิริโทรมัยซิน

ดัชนี อิริโทรมัยซิน

อีริโธรมัยซิน (Erythromycin) เป็นยาปฏิชีวนะชนิดหนึ่งในกลุ่มแมคโครไลด์ (Macrolides) ซึ่งใช้ในการรักษาโรคติดเชื้อที่มีสาเหตุจากแบคทีเรีย ซึ่งยาในกลุ่มดังกล่าว รวมถึงอีริโธรมัยซินนั้นมีฤทธิ์ในการต้านเชื้อแบคทีเรียได้คล้ายคลึงหรือกว้างกว่ายาในกลุ่มเพนนิซิลิน (Penicillins) เล็กน้อย โดยยาดังกล่าวมักถูกสั่งใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยเกิดอาการแพ้ต่อยากลุ่มเพนนิซิลิน สำหรับในกรณีที่ใช้ในการรักษาโรคติดเชื้อในทางเดินหายใจนั้น ยาดังกล่าวจะออกฤทธิ์ครอบคุลมเชื้อกลุ่ม Atypical pathogens ได้ดีกว่า ได้แก่ ไมโคพลาสมา (Mycoplasma) และ ลิจิโอเนลลา (Legionella) โดยบริษัทแรกที่ผลิตยาชนิดนี้ออกสู่ตลาดเป็นรายแรกคือ Eli Lilly and Company จนกระทั่งในปัจจุบัน ยาชนิดนี้เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปในชื่อ erythromycin ethylsuccinate (EES) ซึ่งเป็นรูปแบบเกลือเอสเทอร์ที่ถูกใช้กันโดยส่วนใหญ่ และยาดังกล่าวมักถูกนำไปปรับประยุกต์เพื่อใช้ในการบริหารยาโดยการหยอดตาสำหรับเด็กแรกเกิดเพื่อป้องกันเยื่อตาอักเสบในทารกแรกเกิด (neonatal conjunctivitis) และถือเป็นยาทางเลือกรองสำหรับการรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (Sexual transmitted diseases; STDs) บางโรคอีกด้วย นอกจากนี้แล้ว ยังมีการใช้อีริโธรมัยซินเพื่อรักษาภาวะที่มีระยะเวลาที่ใช้ในการบีบตัวของกระเพาะอาหารเพื่อดันอาหารลงสู่ลำไส้เล็กนานกว่าปกติ (Delayed gastric emptying time) แต่การใช้ในข้อบ่งชี้ดังกล่าวนั้น เป็นการใช้ยาจากประโยชน์นอกเหนือจากที่ระบุไว้ในฉลาก (Off-label use basis) ในกรณีที่ต้องการผลทางเภสัชจลนศาตร์ที่ดีกว่าในผู้ป่วยที่ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล (hospitalized patients) อาจมีการพิจารณาใช้ยาอีริโธรมัยซินในรูปแบบฉีดเข้าหลอดเลือดดำ (IV) แทน อย่างไรก็ตาม การใช้ยาอีริโธรมัยซินในรูปแบบรับประทานเพื่อแก้ไขความผิดปกติของทางเดินอาหารข้างต้นนั้นยังมีข้อมูลจำกัดในเรื่องของประสิทธิภาพของยาในระยะยาว จากสูตรโคงสร้างทางเคมีของอีริโธรมัยซินซึ่งเป็นสารประกอบแมคโครไซคลิค (macrocyclic compound) ที่ประกอบไปด้วยวงแหวนแลคโตน (Lactone ring) จำนวน 14 วง, มีศูนย์ไครัล (Chiral center หรือ asymmetric center) มากถึง 10 ตำแหน่ง และต่อกับน้ำตาลอีก 2 โมเลกุล คือ (L-cladinose และ D-desosamine) ทำให้สารประกอบชนิดนี้ยากต่อการสังเคราะห์เลียนแบบเป็นอย่างมาก ดังนั้น การผลิตยาอีริโธรมัยซินนี้จึงต้องผลิตจากการคัดแยกจากสารผสมที่ได้จากการสันดาปของเชื้อแอคติโนมัยสีท (Actinomycete) ชื่อวิทยาศาสตร์ แซคคาโรโพลีสปอรา อีรีธราอี (''Saccharopolyspora erythraea'') อีริโธรมัยซินเป็นยาอีกหนึ่งชนิดในรายการจำเป็นขององค์การอนามัยโลก (World Health Organization's List of Essential Medicines) ซึ่งเป็นรายการยาที่มีความสำคัญมากที่สุดในระบบบริการสุขภาพพื้นฐาน (ฺBasic health system) ของแต่ละประเท.

17 ความสัมพันธ์: กลุ่มอาการสตีเฟนส์–จอห์นสันการฉีดเข้าหลอดเลือดดำมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดยาปฏิชีวนะรางวัลโนเบลสาขาเคมีธีโอฟิลลีนท็อกซิก อีพิเดอร์มัล เนโครไลซิสดอกซีไซคลีนคลาริโทรมัยซินคลินดามัยซินประเทศฟิลิปปินส์แบคทีเรียแอสเทมมีโซลแอคติโนมัยสีทโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์โรคติดเชื้อเพนิซิลลิน

กลุ่มอาการสตีเฟนส์–จอห์นสัน

กลุ่มอาการสตีเวนส์–จอห์นสัน (Stevens-Johnson syndrome (SJS), Erythema multiforme major (EM major)) เป็นโรคที่มีผลมาจากปฏิกิริยาภูมิคุ้มกันของร่างกายตอบสนองต่อยา การติดเชื้อ การเจ็บป่วย ทำให้เกิดการอักเสบของเซลล์ผิวหนังและเยื่อบุผิวทั่วร่างกาย เกิดการตายของเซลล์เยื่อบุผิวทำให้แยกลอกออกจากชั้นหนังแท้ ผู้ป่วยในกลุ่มอาการนี้มีทั้งที่ทราบสาเหตุและไม่ทราบสาเหตุแน่ชัดในปริมาณใกล้เคียงกัน สามารถพบได้ในทุกวัย ส่วนใหญ่เชื่อว่าเป็นปฏิกิริยาไวเกินต่อสิ่งกระตุ้นที่มีการตอบสนองไปยังชั้นผิวเยื่อเมือก.

ใหม่!!: อิริโทรมัยซินและกลุ่มอาการสตีเฟนส์–จอห์นสัน · ดูเพิ่มเติม »

การฉีดเข้าหลอดเลือดดำ

การฉีดเข้าหลอดเลือดดำ คือการส่งผ่านของเหลวเข้าสู่เส้นเลือดโดยตรง โดยวิธีนี้เป็นวิธีที่เร็วที่สุดในการส่งของเหลวเข้าสู่ร่างกายเปรียบเทียบกับวิธีการอื่น การรักษาที่ใช้วิธีการฉีดเข้าเส้น ได้แก่ การถ่ายเลือด หรือการฉีดยาเข้าสู่เส้นเลือดดำโดยตรงเพื่อให้ยาออกฤทธิ์แทบจะทันที หมวดหมู่:รูปแบบเภสัชภัณฑ์ หมวดหมู่:การรักษาทางการแพทย์.

ใหม่!!: อิริโทรมัยซินและการฉีดเข้าหลอดเลือดดำ · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด

มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (Harvard University อ่านว่า ฮารฺเวิรฺด) มหาวิทยาลัยเอกชนในเมืองเคมบริดจ์ รัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกาได้ขึ้นชื่อว่าเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงของโลก แห่งหนึ่งและเป็นหนึ่งมหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่สุดของสหรัฐอเมริกา โดยก่อตั้งเมื่อปี 8 กันยายน พ.ศ. 2179 (ค.ศ. 1636) มีอายุครบ 370 ปีใน พ.ศ. 2549 ฮาร์วาร์ดเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยในกลุ่มไอวีลีก โดยในปี..

ใหม่!!: อิริโทรมัยซินและมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด · ดูเพิ่มเติม »

ยาปฏิชีวนะ

การดื้อยาปฏิชีวนะในกลุ่มเพนิซิลลินอย่างรุนแรง ยาปฏิชีวนะ (Antibiotics จากภาษากรีซโบราณ αντιβιοτικά, antiviotika) หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย (Antibacterials) เป็นกลุ่มย่อยของยาอีกกลุ่มหนึ่งในกลุ่มยาต้านจุลชีพ (Antimicrobial drugs) ซึ่งเป็นยาที่ถูกใช้ในการรักษาและป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรีย โดยอาจออกฤทธิ์ฆ่าหรือยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสอง ยาปฏิชีวนะบางชนิดอาจมีคุณสมบัติเป็นมีคุณสมบัติเป็นสารต้านโพรโทซัวได้ เช่น เมโทรนิดาโซล ทั้งนี้ ยาปฏิชีวนะไม่มีฤทธิ์ในการต้านไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคต่างๆ เช่น ไข้หวัด หรือ ไข้หวัดใหญ่ เป็นต้น โดยยาที่มีฤทธิ์ต่อเชื้อไวรัสจะถูกจัดอยู่ในกลุ่มยาต้านไวรัส ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยอีกกลุ่มหนึ่งของยาต้านจุลชีพ ในบางครั้ง คำว่า ยาปฏิชีวนะ (ซึ่งหมายถึง "การต่อต้านชีวิต") ถูกนำมาใช้เพื่อสื่อความถึงสารใดๆที่นำมาใช้เพื่อต้านจุลินทรีย์ ซึ่งมีความหมายเดียวกันกับคำว่า ยาต้านจุลชีพ บางแหล่งมีการใช้คำว่า ยาปฏิชีวนะ และ ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ในความหมายที่แยกจากกันไป โดยคำว่า ยา (สาร) ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย จะสื่อความถึง สบู่ และน้ำยาฆ่าเชื้อ ขณะที่คำว่า ยาปฏิชีวนะ จะหมายถึงยาที่ใช้ในทางการแพทย์เพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรีย การพัฒนายาปฏิชีวนะเริ่มต้นในช่วงศตวรรษที่ 20 พร้อมกับการพัฒนาเรื่องการให้วัคซีนเพื่อป้องกันโรคจากเชื้อจุลชีพต่างๆ การเกิดขึ้นของยาปฏิชีวนะนำมาซึ่งการกำจัดโรคติดเชื้อแบคทีเรียต่างๆ ออกไปหลายชนิด เช่น กรณีของวัณโรคที่ระบาดในประเทศกำลังพัฒนา อย่างไรก็ตาม ด้วยประสิทธิภาพที่ดีและการเข้าถึงยาที่ง่ายนำไปสู่การใช้ยาปฏิชีวนะในทางที่ผิด พร้อมๆกับการที่แบคทีเรียมีการพัฒนาจนกลายพันธุ์เป็นเชื้อแบคทีเรียที่ดื้อต่อยาปฏิชีวนะ ปัญหาดังข้างต้นได้แพร่กระจายเป็นวงกว้าง จนเป็นปัญหาสำคัญของการสาธารณสุขในทุกประเทศทั่วโลก จนองค์การอนามัยโลก (World Health Organization) ได้ประกาศให้ปัญหาการดื้อยาของเชื้อแบคทีเรียเป็น "ปัญหาสำคัญเร่งด่วนที่สุดที่เกิดขึ้นในทุกภูมิภาคทั่วโลกและทุกคนล้วนจะต้องได้รับผลกระทบจากปัญหานี้ ไม่ว่าวัยใด หรือประเทศใดก็ตาม".

ใหม่!!: อิริโทรมัยซินและยาปฏิชีวนะ · ดูเพิ่มเติม »

รางวัลโนเบลสาขาเคมี

หรียญรางวัลโนเบล รางวัลโนเบลสาขาเคมี (Nobelpriset i kemi, Nobel Prize in Chemistry) เป็นรางวัลมอบโดยราชบัณฑิตยสถานด้านวิทยาศาสตร์แห่งสวีเดนเป็นประจำทุกปีแก่นักวิทยาศาสตร์ในสาขาต่างๆ ของเคมี รางวัลนี้เป็นหนึ่งในห้ารางวัลโนเบลซึ่งก่อตั้งจากความประสงค์ของอัลเฟรด โนเบลใน..

ใหม่!!: อิริโทรมัยซินและรางวัลโนเบลสาขาเคมี · ดูเพิ่มเติม »

ธีโอฟิลลีน

ีโอฟิลลีน (Theophylline) หรือ 1,3-ไดเมทิลแซนทีน (1,3-dimethylxanthine) เป็นยาประเภทสารขยายหลอดลม ใช้ในการรักษาโรคระบบหายใจ อาทิ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง และ โรคหืด ธีโอฟิลลีนเป็นสารที่สกัดได้จากใบชา ถูกค้นพบโดย อัลเบรชท์ ค็อดเซิล นักพฤกษศาสตร์ชาวเยอรมันในปี..

ใหม่!!: อิริโทรมัยซินและธีโอฟิลลีน · ดูเพิ่มเติม »

ท็อกซิก อีพิเดอร์มัล เนโครไลซิส

(toxic epidermal necrolysis, TEN) เป็นโรคผิวหนังในกลุ่มผื่นแพ้ยาที่พบได้น้อยโรคหนึ่งซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต ส่วนใหญ่เกิดเป็นปฏิกิริยาต่อยา มีลักษณะคือทำให้ผิวหนังชั้นหนังกำพร้า (epidermis) แยกออกจากชั้นหนังแท้ (dermis) ทั่วร่างกาย บทวิจัยทางการแพทย์ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า TEN เป็นโรคเดียวกันกับกลุ่มอาการสตีเฟนส์-จอห์นสัน แต่มีอาการรุนแรงกว่า และยังมีการถกเถียงกันว่าจะนับรวมเอา erythema multiforme เข้าเป็นกลุ่มของโรค (spectrum) เดียวกันนี้หรือไม.

ใหม่!!: อิริโทรมัยซินและท็อกซิก อีพิเดอร์มัล เนโครไลซิส · ดูเพิ่มเติม »

ดอกซีไซคลีน

อกซีไซคลีน (Doxycycline) เป็นยาปฏิชีวนะชนิดหนึ่งที่มีข้อบ่งใช้สำหรับรักษาโรคติดเชื้อหลายชนิดที่มีสาเหตุมาจากแบคทีเรียและโปรโตซัว ยานี้มีประโยชน์เป็นอย่างมากในการรักษาโรคปอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย, สิว, การติดเชื้อคลามัยเดีย, ระยะเริ่มต้นของโรคไลม์, อหิวาตกโรค และซิฟิลิส นอกจากนี้ยังมีการใช้ดอกซีไซคลีนในการรักษามาลาเรีย ซึ่งเป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อจำพวกโปรโตซัว โดยให้ยานี้ร่วมกับควินิน และอาจใช้ดอกซีไซคลีนเพื่อเป็นการป้องกันมาลาเรียสำหรับผู้ที่มีความจำเป็นต้องเดินทางเข้าพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคได้ ดอกซีไซคลีนเป็นยาปฏิชีวนะอีกชนิดหนึ่งที่มีการใช้อย่างแพร่หลายเนื่องจากมีราคาถูกและสามารถบริหารยาโดยการรับประทานได้ ในรายที่มีอาการของโรครุนแรงอาจจำเป็นต้องได้รับการบริหารยาโดยการฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ดอกซีไซคลีนเป็นยาปฏิชีวนะอีกชนิดหนึ่งที่มีขอบเขตการออกฤทธิ์กว้าง (Broad-spectrum antibiotic) โดยยานี้จะฆ่าแบคทีเรียและโปรโตซัวที่ไวต่อยานี้ด้วยการยับยั้งการสังเคราะห์โปรตีนที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตและการขยายพันธุ์ของเซลล์ ทำให้เซลล์จุลชีพเป้าหมายตายไปในที่สุด อย่างไรก็ตาม การใช้ดอกซีไซคลีนในการรักษานี้อาจก่อให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ขึ้นได้เช่นเดียวกันกับยาชนิดอื่นๆ โดยอาการไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้นได้บ่อยจากการใช้ยานี้ ได้แก่ ท้องเสีย, คลื่นไส้, อาเจียน, ผื่นแดง, และผิวไวต่อแสงมากขึ้น ทำให้มีความเสี่ยงที่จะเกิดผิวไหม้จากแสงแดด (sunburn) เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ การใช้ดอกซีไซคลีนในหญิงตั้งครรภ์หรือในเด็กอาจทำให้เกิดการเปลี่ยนสีของฟันทารกหรือเด็กเป็นสีเทาหรือน้ำตาลอย่างถาวรได้ ส่วนการใช้ยานี้ในหญิงที่กำลังให้นมบุตรนั้นค่อนข้างมีความปลอดภัย เนื่องจากดอกซีไซคลีนถูกขับออกทางน้ำนมได้น้อยมาก ดอกซีไซคลีนได้รับการจดสิทธิบัตรในปี..

ใหม่!!: อิริโทรมัยซินและดอกซีไซคลีน · ดูเพิ่มเติม »

คลาริโทรมัยซิน

คลาริโทรมัยซิน (Clarithromycin) เป็นยาปฏิชีวนะประเภทแมคโคไรด์ หมวดหมู่:แมกโครไลด์.

ใหม่!!: อิริโทรมัยซินและคลาริโทรมัยซิน · ดูเพิ่มเติม »

คลินดามัยซิน

คลินดามัยซิน (Clindamycin) เป็นยาปฏิชีวนะประเภทลินโคซาไมด์ หมวดหมู่:ยาหลักขององค์การอนามัยโลก หมวดหมู่:แมกโครไลด์.

ใหม่!!: อิริโทรมัยซินและคลินดามัยซิน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศฟิลิปปินส์

ฟิลิปปินส์ (Philippines; Pilipinas) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (Republic of the Philippines; Republika ng Pilipinas) เป็นประเทศเอกราชที่เป็นหมู่เกาะในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ประกอบด้วยเกาะ 7,641 เกาะ ซึ่งจัดอยู่ในเขตภูมิศาสตร์ใหญ่ 3 เขตจากเหนือจรดใต้ ได้แก่ ลูซอน, วิซายัส และมินดาเนา เมืองหลวงของประเทศคือมะนิลา ส่วนเมืองที่มีประชากรมากที่สุดคือนครเกซอน ทั้งสองเป็นส่วนหนึ่งของเมโทรมะนิลา ฟิลิปปินส์มีอาณาเขตติดต่อกับทะเลจีนใต้ทางทิศตะวันตก ทะเลฟิลิปปินทางทิศตะวันออก และทะเลเซเลบีสทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ โดยมีพรมแดนทางทะเลร่วมกับไต้หวันทางทิศเหนือ ปาเลาทางทิศตะวันออก มาเลเซียและอินโดนีเซียทางทิศใต้ และเวียดนามทางทิศตะวันตก ฟิลิปปินส์ตั้งอยู่ในแถบวงแหวนไฟและใกล้กับเส้นศูนย์สูตร ทำให้มีแนวโน้มสูงที่จะประสบภัยจากแผ่นดินไหวและไต้ฝุ่น แต่ก็ทำให้มีทั้งทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์และความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยิ่งเช่นกัน ฟิลิปปินส์มีเนื้อที่ประมาณ 300,000 ตารางกิโลเมตร (115,831 ตารางไมล์) และมีประชากรประมาณ 100 ล้านคน นับเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 8 ในเอเชีย และเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 12 ของโลก นอกจากนี้ ณ ปี..

ใหม่!!: อิริโทรมัยซินและประเทศฟิลิปปินส์ · ดูเพิ่มเติม »

แบคทีเรีย

แบคทีเรีย หรือ บัคเตรี เป็นประเภทของสิ่งมีชีวิตประเภทใหญ่ประเภทหนึ่ง มีขนาดเล็ก มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น ส่วนใหญ่มีเซลล์เดียว และมีโครงสร้างเซลล์ที่ไม่ซับซ้อนมาก และโดยทั่วไปแบคทีเรียแบ่งได้หลายรูปแ.

ใหม่!!: อิริโทรมัยซินและแบคทีเรีย · ดูเพิ่มเติม »

แอสเทมมีโซล

แอสเทมมีโซล (Astemizole).

ใหม่!!: อิริโทรมัยซินและแอสเทมมีโซล · ดูเพิ่มเติม »

แอคติโนมัยสีท

แอคติโนมัยซีทีท (อังกฤษ actinomycetes) เป็นแบคทีเรียจำพวกหนึ่งที่มีลักษณะใกล้เคียงกับเชื้อรา กล่าวคือ มีการเจริญเป็นเส้นใย และมีการสร้างสปอร์ แต่ขนาดเซลล์เล็กเท่ากับแบคทีเรีย พบว่ามมักยึดเกาะแน่นในโคโลนีที่จมอยู่ในอาหารที่เจริญอยู่ ส่วนของเส้นใยที่สัมผัสกับอากาศแห้งจะมีการเปลี่ยนรูปไปเป็นสปอร์ ซึ่งใช้ในการแพร่พันธุ์เช่นเดียวกันกับเชื้อรา อแอคติโนมัยสีท แอคติโนมัยสีท หรือ Actinomycetes ดำรงชีวิตอยู่ในดิน ในปุ๋ยหมัก น้ำ โคลนตม และบริเวณรากพืช แบคทีเรียนี้เป็นผู้รีไซเคิลอินทรีย์วัตถุจากซากพืชซากสัตว์ ให้เป็นสารใหม่กลับคืนสู่สิ่งแวดล้อมและเป็นแบคทีเรียที่มีประโยชน์ในหลายด้านโดยธรรมชาติ ปริมาณของแบคทีเรียแอคติโนมัยสีทที่พบในดินขึ้นอยู่กับชนิดและสภาพของดิน เช่น ในดินทั่วไป 1 กรัม ที่มีสภาพความเป็นกรดและมีปริมาณอินทรีย์วัตถุในดิน จะพบแอคติโนมัยสีท ประมาณ 105- 108 เซลล์ แต่ถ้าเป็นดินที่มีสภาพแห้งและมีสภาวะเป็นด่างจะพบแอคติโนมัยสีทในสัดส่วนที่ค่อนข้างสูง โดยอาจพบได้สูงถึง 95 เปอร์เซ็นต์ของจุลินทรีย์ทั้งหมดที่พบในดินนั้น และแอคติโนมัยสีทที่พบในดินส่วนใหญ่เป็นแบคทีเรียกลุ่มสเตรปโตมัยสีท (Streptomyces) ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีการกระจายตัวและมีความหนาแน่นมากที่สุด ในทางวิทยาศาสตร์ แอคติโนมัยสีท เป็นแบคทีเรียแกรมบวก มีรูปร่างหลายแบบ กลม ท่อน หรือเป้นเส้นสายคล้ายเชื้อรา โดยอาจเป็นเส้นสายที่มีการแตกแขนงและมีการแตกหักของเส้นใย เพื่อสร้างสปอร์แบบไม่อาศัยเพศ หรืออาจะเป็นเส้นสายที่มีการสร้างสปอร์บนเส้นใยที่ชูขึ้นในอากาศ ซึ่งโครงสร้างของสปอร์มีทั้งแบบที่มีถุงหุ้มและไม่มีถุงหุ้ม แบคทีเรียแอคติโนมัยสีทส่วนใหญ่ต้องการออกซิเจนในการเจริญเติบโตและเพิ่มจำนวน แต่ก็มีบางชนิดที่ไม่ต้องการออกซิเจนหรือต้องการก็เพียงเล็กน้อย นักวิทยาศาสตร์พบว่าการเจริญของแอคติโนมัยสีทถูกยับยั้งได้ด้วยสารปฏิชีวนะที่ยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียแต่จะไม่ถูกยับยั้งด้วยสารปฏิชีวนะที่ยับยั้งการเจริญของราแอคติโนมัยสีท มีบทบาทที่สำคัญอันหนึ่ง คือ ช่วยย่อยสลายอินทรียวัตถุในธรรมชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ช่วยย่อยส่วนประกอบของพืชและสัตว์ที่ทนทานต่อการย่อยสลาย เช่น เซลลูโลส เฮมิเซลลูโลส ลิกนิน และไคติน แอคติโนมัยสีทบางชนิด เช่น Streptomycetes rubiginosus, streptomycetes bambergensis และ Streptomycetes violaceoniger สามารถผลิตเอนไซม์ที่สามารถช่วยเปลี่ยนน้ำตาลกลูโคสให้เป็นน้ำตาลฟรุกโทสได้ ปัจจุบัน มีการใช้ประโยชน์แอคติโนมัยสีทช่วยผลิตเอนไซม์ที่มีความสำคัญในทางอุตสาหกรรม เช่น การใช้แอคติโนมัยสีทชนิดThermomonospora ผลิตเอนไซม์ที่ช่วยย่อยสลายเซลลูโลสที่อุณหภูมิ 60-70 องศาเซลเซียส และเอนไซม์ไซแลนที่ทำงานที่อุณหภูมิสูงซึ่งเอนไซม์นี้มีประโยชน์ในการผลิตน้ำตาลไซโลสจากซังข้าวโพด นอกจากนั้น มีการใช้แอคติโนมัยสีทบางชนิดในการผลิตเอนไซม์ย่อยสลายสารพิษชนิดต่างๆ เช่น เอนไซม์ย่อยสลายสารพิษอะลิฟาติก-อะโรมาติก โคโพลีเอสเตอร์ส (Aliphatic-Aromotic Copolyesters และ 1,4 -ไดออกเซน (1,4-Dioxane) ทางการแพทย์และเภสัชกรรมก็ใช้ประโยชน์จาก แอคติโนมัยสีท เช่น ใช้ผลิตสารปฏิชีวนะต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา และไวรัสและใช้ผลิตสารต้านมะเร็งและสารกดระบบภูมิคุ้มกัน ทางการเกษตรมีการใช้แอคติโนมัยสีทในการผลิตสารฆ่าแมลง สารฆ่าวัชพืช และสารกดภูมิคุ้มกัน นอกจากนั้นยังมีการใช้แอคติโนมัยสีท สายพันธุ์ Streptomyces lydicus WYEC 108 ในการควบคุมศัตรูพืช และควบคุมเชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคพืชที่เกิดกับรากและเมล็ดปัจจุบันมีการศึกษาวิจัยแอคติโนมัยสีทชนิดหนึ่ง คือ Streptoverticillium albireticculi และค้นพบว่าแบคทีเรียชนิดนี้สามารถต่อต้านเชื้อราที่ก่อโรคที่อยู่ในดินบางอย่างได้ ซึ่งการค้นพบนี้จึงอาจนำไปสู่การใช้ประโยชน์ในการควบคุมโรคพืชได้ในอนาคต แบคทีเรียแอคติโนมัยสีท เป็นตัวอย่างของจุลินทรีย์ที่มีคุณประโยชน์ต่อวงการแพทย์และยา เกษตรกรรมและอุตสาหกรรม รวมถึงต่อวัฏจักรของระบบนิเวศ.

ใหม่!!: อิริโทรมัยซินและแอคติโนมัยสีท · ดูเพิ่มเติม »

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

รคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หรือ โรคส่งผ่านทางเพศสัมพันธ์ (Sexually transmitted disease; STD) หรือ กามโรค (Venereal disease; เรียกย่อว่า วีดี) เป็นความเจ็บป่วยซึ่งมีแนวโน้มติดต่อหรือส่งผ่านระหว่างมนุษย์หรือสัตว์โดยการสัมผัสทางเพศ ไม่ว่าจะเป็นการร่วมเพศทางช่องคลอด ทางปาก หรือทางทวารหนัก ในปัจจุบันมีการใช้คำว่า การติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ (Sexually transmitted infection; STI) ซึ่งมีความหมายกว้างกว่าเดิมมากขึ้น เพราะผู้ป่วยอาจมีการติดเชื้อและมีความสามารถในการแพร่เชื้อไปยังผู้อื่นได้โดยไม่มีอาการแสดงของโรค การติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์อาจติดต่อได้จากการใช้เข็มฉีดยาเสพติดเข้าหลอดเลือดดำต่อจากผู้ป่วย รวมถึงผ่านการคลอดหรือการเลี้ยงลูกด้วยนมแม.

ใหม่!!: อิริโทรมัยซินและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ · ดูเพิ่มเติม »

โรคติดเชื้อ

รคติดเชื้อ (Infectious disease) เป็นโรคซึ่งเป็นผลจากการมีเชื้อจุลชีพก่อโรค อาทิไวรัส แบคทีเรีย รา โพรโทซัว ปรสิต หรือแม้กระทั่งโปรตีนที่ผิดปกติเช่นพรีออน เชื้อดังกล่าวอาจก่อให้เกิดโรคในสัตว์หรือพืชได้ โรคติดเชื้อจัดเป็นโรคติดต่อ (Contagious diseases, Communicable diseases) เนื่องจากสามารถติดต่อไปยังบุคคลอื่นหรือระหว่างสิ่งมีชีวิตในสปีชีส์เดียวกัน การติดต่อของโรคติดเชื้ออาจเกิดได้มากกว่า 1 ทาง รวมถึงการสัมผัสผู้ป่วยโดยตรง จุลชีพก่อโรคอาจถ่ายทอดไปโดยสารน้ำในร่างกาย อาหาร น้ำดื่ม วัตถุที่มีเชื้อปนเปื้อน ลมหายใจ หรือผ่านพาหะ"Infectious disease." McGraw-Hill Encyclopedia of Science and Technology.

ใหม่!!: อิริโทรมัยซินและโรคติดเชื้อ · ดูเพิ่มเติม »

เพนิซิลลิน

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: อิริโทรมัยซินและเพนิซิลลิน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Erythromycin

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »