โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ไชนาแอร์ไลน์

ดัชนี ไชนาแอร์ไลน์

CAL Park, China Airlines headquarters The former China Airlines headquarters in Taipei ไชน่าแอร์ไลน์ เป็นสายการบินแห่งชาติของสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) มีฐานบินหลักอยู่ที่ท่าอากาศยานนานาชาติไต้หวันเถาหยวน และมีสำนักงานใหญ่ที่เขตต้าหยวน เทศมณฑลเถาหยวน ให้บริการจุดหมายปลายทางทั้งในทวีปเอเชีย ยุโรป อเมริกาเหนือ และโอเชียเนีย โดยเฉพาะการเปิดเส้นทางระหว่างไต้หวันกับจีนแผ่นดินใหญ่ซึ่งเริ่มให้บริการเมื่อเดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2551 จุดหมายที่สำคัญคือเมืองเซี่ยงไฮ้ กวางโจว ปักกิ่ง และฮ่องกง คู่แข่งที่สำคัญของไชนาแอร์ไลน์ คือสายการบินอีวาแอร์ซึ่งเป็นสายการบินเอกชนของไต้หวัน ในเครื่อเอเวอร์กรีน.

61 ความสัมพันธ์: พันธมิตรสายการบินการบินไทยสกายทีมสายการบินประจำชาติอาลีตาเลียอีวีเอแอร์จุดหมายปลายทางของสายการบินไชน่าแอร์ไลน์ท่าอากาศยานชิซุโอะกะท่าอากาศยานชินชิโตเซะท่าอากาศยานฟุกุโอะกะท่าอากาศยานสิงคโปร์ชางงีท่าอากาศยานสุวรรณภูมิท่าอากาศยานสตอกโฮล์ม-อาร์ลันดาท่าอากาศยานฮิโรชิมะท่าอากาศยานจอร์จบุชอินเตอร์คอนติเนนตัลท่าอากาศยานทะกะมะสึท่าอากาศยานนะฮะท่าอากาศยานนานาชาติชูบุเซ็นแทรร์ท่าอากาศยานนานาชาติพนมเปญท่าอากาศยานนานาชาติกว่างโจวไป๋-ยฺหวินท่าอากาศยานนานาชาติกัวลาลัมเปอร์ท่าอากาศยานนานาชาติย่างกุ้งท่าอากาศยานนานาชาติลอสแอนเจลิสท่าอากาศยานนานาชาติอาบูดาบีท่าอากาศยานนานาชาติอินช็อนท่าอากาศยานนานาชาติฮาร์ทสฟิลด์–แจ็คสัน แอตแลนตาท่าอากาศยานนานาชาติฮ่องกงท่าอากาศยานนานาชาติจอห์น เอฟ. เคนเนดีท่าอากาศยานนานาชาติดัลลาส-ฟอร์ตเวิร์ธท่าอากาศยานนานาชาติคันไซท่าอากาศยานนานาชาติคิมแฮท่าอากาศยานนานาชาติคิมโพท่าอากาศยานนานาชาติคิงส์ฟอร์ดสมิธท่าอากาศยานนานาชาติงูระห์ไรท่าอากาศยานนานาชาติซานฟรานซิสโกท่าอากาศยานนานาชาติซีอานเสียนหยางท่าอากาศยานนานาชาติซ่างไห่ผู่ตงท่าอากาศยานนานาชาติปักกิ่งท่าอากาศยานนานาชาติปีนังท่าอากาศยานนานาชาตินาริตะท่าอากาศยานนานาชาติแวนคูเวอร์ท่าอากาศยานนานาชาติโหน่ยบ่ายท่าอากาศยานนานาชาติโอแฮร์ท่าอากาศยานนานาชาติโฮโนลูลูท่าอากาศยานนานาชาติโตเกียวท่าอากาศยานนานาชาติไต้หวันเถา-ยฺเหวียนท่าอากาศยานนานาชาติเตินเซินเญิ้ตท่าอากาศยานนานาชาติเฉิงตูซวงหลิวท่าอากาศยานเลโอนาร์โด ดา วินชี-ฟีอูมีชีโนขนส่งอากาศยาน...ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของสาธารณรัฐจีนคาลีโบแมนดารินแอร์ไลน์แอร์บัส เอ350แอร์โครยอแอร์ไชนาโบอิง 747-400โคเรียนแอร์โซ เหลียง อิงไชน่าแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 120ไชน่าแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 611 ขยายดัชนี (11 มากกว่า) »

พันธมิตรสายการบิน

ันธมิตรสายการบิน คือ การรวมกลุ่มกันระหว่างสายการบินสองสายหรือมากกว่าขึ้นไป โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ความร่วมมือกันในด้านต่างๆ เช่น ข้อตกลงการบินโดยใช้รหัสเที่ยวบินร่วมกัน (หรือบางครั้งอาจไม่ได้ใช้รหัสเที่ยวบินร่วมกัน แต่สามารถเชื่อมต่อเที่ยวบินกันระหว่างเที่ยวบินในพันธมิตรฯ สองเที่ยวบินหรือมากกว่า), จัดตั้งรายการสะสมแต้มการบินร่วมกัน, การประชาสัมพันธ์ร่วมกันในนามพันธมิตรสายการบิน เป็นต้น พันธมิตรสายการบินที่สำคัญๆ มีอยู่สามกลุ่มได้แก่ สตาร์อัลไลแอนซ์, วันเวิลด์และสกายทีม นอกจากนี้ยังมีพันธมิตรสายการบินกลุ่มอื่นอีก เช่น วานิลลาอัลไลแอนซ์ ที่เป็นการรวมกลุ่มกันของสายการบินในประเทศหมู่เกาะในมหาสมุทรอินเดีย, ยู-ฟลายอัลไลแอนซ์ และ แวลูอัลไลแอนซ์ ที่เป็นการรวมกลุ่มกันของสายการบินต้นทุนต่ำ รวมถึงพันธมิตรสายการบินขนส่งสินค้า ได้แก่ สกายทีมคาร์โก (SkyTeam Cargo) และวาวคาร์โกอัลไลแอนซ์ (WOW Cargo Alliance) สำหรับกลุ่มของสายการบินที่เป็นเครือเดียวกันทั้งหมดหรือใช้ชื่อยี่ห้อเดียวกันอยู่แล้วทั้งหมดตั้งแต่ต้น เช่น กลุ่มแอร์เอเชีย หรือกลุ่มไลอ้อนแอร์ นั้นไม่ถือว่าเป็นพันธมิตรสายการบิน.

ใหม่!!: ไชนาแอร์ไลน์และพันธมิตรสายการบิน · ดูเพิ่มเติม »

การบินไทย

ริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) (Thai Airways International Public Company Limited; ชื่อย่อ: ไทย, THAI) เป็นรัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงคมนาคม ทำหน้าที่ดำเนินธุรกิจการบินพาณิชย์ ในฐานะสายการบินแห่งชาติของประเทศไทย ก่อตั้งเมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2503 จากเว็บไซต์การบินไทย โดยปฏิบัติการบินจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเป็นหลัก ทั้งนี้ การบินไทยยังได้ร่วมก่อตั้งกลุ่มพันธมิตรการบิน สตาร์อัลไลแอนซ์ เคยเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในสายการบินนกแอร์ และเปิดตัวสายการบินลูก ไทยสมายล์ อีกด้วย ปัจจุบัน(มิถุนายน พ.ศ. 2561) การบินไทยบิน 64 สนามบินรวมต่างประเทศและในประเทศ แบ่งเป็นต่างประเทศ 60 สนามบิน ในประเทศไทย 4 สนามบินไม่รวมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ทั้งหมด 3 ทวีป 32 ประเทศทั่วโลกไม่รวมประเทศไทย จากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ด้วยฝูงบินกว่า 84 ลำ การบินไทยเป็นสายการบินลำดับต้นในเอเชีย ที่ทำการบินในเส้นทางกรุงเทพ ลอนดอน (ท่าอากาศยานฮีทโธรว์) นอกจากนี้ การบินไทยได้รับรางวัลยอดเยี่ยมจากองค์การอนามัยโลกว่าด้วยสุขอนามัยบนเครื่องบินอีกด้ว.

ใหม่!!: ไชนาแอร์ไลน์และการบินไทย · ดูเพิ่มเติม »

สกายทีม

ตราสัญลักษณ์ Skyteam สกายทีม (Skyteam) เป็นเครือข่ายพันธมิตรสายการบินขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลก ก่อตั้งเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000) ปัจจุบันมีสายการบินเข้าร่วมเป็นสมาชิกจำนวน 15 สายการบิน และกำลังจะเข้าร่วมเพิ่มอีก 4 สายการบิน ปัจจุบันเครือข่ายมีการให้บริการเที่ยวบินวันละกว่า 14,000 เที่ยว ในท่าอากาศยาน 926 แห่ง ใน 173 ประเท.

ใหม่!!: ไชนาแอร์ไลน์และสกายทีม · ดูเพิ่มเติม »

สายการบินประจำชาติ

การบินแห่งชาติ เป็นสายการบินรูปแบบหนึ่ง ซึ่งเป็นสายการบินตัวแทนของประเทศหรือดินแดนนั้น ๆ สายการบินแห่งชาติส่วนใหญ่จะมีรูปธงชาติประดับไว้บนตัวหรือหางของเครื่องบิน เกือบทุกประเทศมีสายการบินประจำชาติ ยกเว้นสหรัฐอเมริก.

ใหม่!!: ไชนาแอร์ไลน์และสายการบินประจำชาติ · ดูเพิ่มเติม »

อาลีตาเลีย

อาลีตาเลีย (Alitalia) เป็นสายการบินประจำชาติของประเทศอิตาลี เปิดทำการบินครั้งแรกวันที่ 16 กันยายน 2489 มีฐานการบินหลักอยู่ที่ท่าอากาศยานเลโอนาร์โด ดา วินชี-ฟีอูมีชีโน และฐานการบินรองที่ท่าอากาศยานมิลาโน ลีนาเต และท่าอากาศยานมิลาโนมัลเปนซ.

ใหม่!!: ไชนาแอร์ไลน์และอาลีตาเลีย · ดูเพิ่มเติม »

อีวีเอแอร์

ำนักงานใหญ่อีวีเอแอร์ แอร์บัส เอ 330-200ในลวดลายการ์ตูนคิตตี้ของอีวีเอแอร์ '''ตราสัญลักษณ์สายการบิน อีวีเอแอร์''' อีวีเอแอร์ (จีน: 長榮航空 Chángróng Hángkōng อังกฤษ: EVA Air อ่าน "อี-วี-เอ-แอร์") เป็นสายการบินสัญชาติไต้หวัน บริหารงานโดยเอเวอร์กรีนกรุ๊ป ซึ่งเป็นกลุ่มธุรกิจขนส่งขนาดใหญ่ของไต้หวัน ให้บริการเที่ยวบินโดยสาร และเที่ยวบินขนส่งสินค้าในชื่อ อีวีเอแอร์ คาร์โก จากท่าอากาศยานหลักที่ไต้หวันเถาหยวน นอกจากนี้ยังมีสายการบินลูก ยูนิแอร์ ให้บริการเส้นทางท้องถิ่น และมีสายการบินอย่างไชน่าแอร์ไลน์เป็นคู่แข่งสำคัญ.

ใหม่!!: ไชนาแอร์ไลน์และอีวีเอแอร์ · ดูเพิ่มเติม »

จุดหมายปลายทางของสายการบินไชน่าแอร์ไลน์

หมายปลายทางของสายการบินไชนาแอร์ไลน.

ใหม่!!: ไชนาแอร์ไลน์และจุดหมายปลายทางของสายการบินไชน่าแอร์ไลน์ · ดูเพิ่มเติม »

ท่าอากาศยานชิซุโอะกะ

ท่าอากาศยานชิซุโอะกะ เป็นท่าอากาศยานในประเทศญี่ปุ่น ตั้งอยู่ในจังหวัดชิซุโอะกะ เปิดทำการเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน..

ใหม่!!: ไชนาแอร์ไลน์และท่าอากาศยานชิซุโอะกะ · ดูเพิ่มเติม »

ท่าอากาศยานชินชิโตเซะ

''ซุปเปอร์เลาจ์'' ภายในสนามบิน ท่าอากาศยานชินชิโตเซะ (New Chitose Airport), เป็นท่าอากาศยานนานาชาติของฮกไกโด เปิดบริการเมื่อปี..

ใหม่!!: ไชนาแอร์ไลน์และท่าอากาศยานชินชิโตเซะ · ดูเพิ่มเติม »

ท่าอากาศยานฟุกุโอะกะ

อะแกรมของท่าอากาศยานฟุกุโอะกะ ท่าอากาศยานฟุกุโอะกะ ชื่อเดิมคือ ฐานทัพอากาศอิตะซุเกะ เป็นท่าอากาศยานในเมืองฟุกุโอะกะ ประเทศญี่ปุ่น ตั้งอยู่ห่างจากสถานีรถไฟฮะกะตะ 3 กิโลเมตรทางทิศตะวันออก จัดเป็นท่าอากาศยานระดับสองในญี่ปุ่น ปัจจุบันรองรับเที่ยวบินภายในประเทศและระหว่างประเทศ มีการใช้งานเต็มอัตราการรองรับของท่าอากาศยานและไม่สามารถขยายได้แล้ว ปิดการขึ้นลงของเที่ยวบินเวลา 22.00 น. ทุกวันเพื่อลดเสียงรบกวนต่อผู้อยู่อาศัยบริเวณใกล้เคียงในเวลากลางคืน และจะเปิดให้เที่ยวบินขึ้นลงอีกครั้งเวลา 7.00 น. ท่าอากาศยานตั้งอยู่ที่เขตฮะกะตะ ทางตะวันออกเฉียงใต้ของศูนย์กลางของเมือง เชื่อมต่อกับส่วนอื่นของเมืองด้วยรถไฟใต้ดินและถนน รถไฟใต้ดินวิ่งจากท่าอากาศยานไปยังย่านธุรกิจใช้เวลาไม่ถึง 10 นาที ท่าอากาศยานฟุกุโอะกะเป็นท่าอากาศยานที่มีผู้โดยสารคับคั่งเป็นอันดับสีของญี่ปุ่น ใน..

ใหม่!!: ไชนาแอร์ไลน์และท่าอากาศยานฟุกุโอะกะ · ดูเพิ่มเติม »

ท่าอากาศยานสิงคโปร์ชางงี

ท่าอากาศยานสิงคโปร์ชางงี หรือเรียกโดยทั่วไปว่าสนามบินชางงี ตั้งอยู่ในเขตชางงี เป็นท่าอากาศยานหลักของสายการบินสิงคโปร์แอร์ไลน์, สิงคโปร์แอร์ไลน์คาร์โก, ซิลค์แอร์, ไทเกอร์แอร์เวย์, เจ็ตสตาร์เอเชียแอร์เวย์ และแวลูแอร์ ในปี พ.ศ. 2549 ท่าอากาศยานแห่งนี้รองรับผู้โดยสารจำนวนถึง 35 ล้านคน เพิ่มมากขึ้น 8% จากปีงบประมาณ 2548..

ใหม่!!: ไชนาแอร์ไลน์และท่าอากาศยานสิงคโปร์ชางงี · ดูเพิ่มเติม »

ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เป็น สนามบิน ตั้งอยู่ที่ ถนนเทพรัตน และ ทางพิเศษบูรพาวิถี ในเขตตำบลหนองปรือและตำบลราชาเทวะ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ห่างจากใจกลางเมือง กรุงเทพมหานคร ประมาณ 25 กิโลเมตร เปิดให้บริการเชิงพาณิชย์เต็มรูปแบบอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2549 รัฐบาลได้กำหนดให้ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิเป็นท่าอากาศยานหลักของ ประเทศไทย แทน ท่าอากาศยานดอนเมือง และตั้งเป้าให้เป็นศูนย์กลางการบินใน ทวีปเอเชีย อีกทั้งการเน้นพัฒนาคุณภาพการให้บริการของท่าอากาศยานให้ได้รับการจัดอันดับ 1 ใน 10 ท่าอากาศยานที่มีคุณภาพการบริการดีที่สุดในโลกในปี พ.ศ. 2553 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิมีหอควบคุมที่สูงเป็นอันดับ 2 ของโลก (132.2 เมตร) และอาคารผู้โดยสารเดี่ยวที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก (563,000 ตารางเมตร) ปัจจุบันเป็น หนึ่งในท่าอากาศยานที่มีผู้โดยสารมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก โดยในปี พ.ศ. 2559 มีผู้โดยสารมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลกและใน เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2560 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิบริการสายการบินที่ทำการบินแบบประจำ 109 สายการบิน ซึ่งถือว่าบริการตามจำนวนสายการบินมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก (สามารถรองรับเที่ยวบิน 76 เที่ยวต่อชั่วโมงและผู้โดยสาร 45 ล้านคนต่อปี) Suvarnabhumi Airport.

ใหม่!!: ไชนาแอร์ไลน์และท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ · ดูเพิ่มเติม »

ท่าอากาศยานสตอกโฮล์ม-อาร์ลันดา

ท่าอากาศยานสตอกโฮล์ม-อาลันดา (Stockholm-Arlanda Airport) ตั้งอยู่ที่เขตซิกทูนา มณฑลสตอกโฮล์ม ประเทศสวีเดน ห่างจากกรุงสตอกโฮล์มไปทางเหนือประมาณ 42 กิโลเมตร เป็นท่าอากาศยานที่ใหญ่ที่สุดของสวีเดน และเป็นท่าอากาศยานหลักสู่ประเทศสวีเดน เป็นหนึ่งในท่าอากาศยานหลักของสแกนดิเนเวียน แอร์ไลน์ ซิสเต็ม ใหญ่เป็นอันดับสามในประเทศกลุ่มนอร์ดิก มีผู้ใช้บริการเที่ยวบินระหว่างประเทศหนาแน่นเป็นอันดับสองในภูมิภาค รองรับผู้โดยสารกว่า 19 ล้านคนต่อปี ในปี..

ใหม่!!: ไชนาแอร์ไลน์และท่าอากาศยานสตอกโฮล์ม-อาร์ลันดา · ดูเพิ่มเติม »

ท่าอากาศยานฮิโรชิมะ

ท่าอากาศยานฮิโรชิมะ เป็นท่าอากาศยานตั้งอยู่ที่เมืองมิฮาระ จังหวัดฮิโรชิมะ ประเทศญี่ปุ่น เป็นท่าอากาศยานที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคชูโงกุ จัดอยู่ในท่าอากาศยานระดับสองในญี่ปุ่น.

ใหม่!!: ไชนาแอร์ไลน์และท่าอากาศยานฮิโรชิมะ · ดูเพิ่มเติม »

ท่าอากาศยานจอร์จบุชอินเตอร์คอนติเนนตัล

ท่าอากาศยานจอร์จบุชอินเตอร์คอนติเนนตัล (George Bush Intercontinental Airport) ตั้งอยู่ที่ฮิวส์ตัน รัฐเทกซัส สหรัฐอเมริกา ห่างออกไปทางเหนือของตัวประมาณ 37 กิโลเมตร (23 ไมล์) บุชอินเตอร์คอนติเนนตัลเป็นท่าอากาศยานที่มีความสำคัญเป็นอันดับ 2 รองจากท่าอากาศยานนานาชาติดัลลาส-ฟอร์ทเวิร์ธ และยังเป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของสายการบินคอนติเนนตัล แอร์ไลน์ บุชอินเตอร์คอนติเนนตัล เดิมคือ ท่าอากาศยานฮิวส์ตันอินเตอร์คอนติเนนตัล โดยเปลี่ยนมาใช้ชื่อปัจจุบัน เมื่อปี..

ใหม่!!: ไชนาแอร์ไลน์และท่าอากาศยานจอร์จบุชอินเตอร์คอนติเนนตัล · ดูเพิ่มเติม »

ท่าอากาศยานทะกะมะสึ

ท่าอากาศยานทะกะมะสึ เป็นท่าอากาศยานระดับสองในประเทศญี่ปุ่น ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเมืองทะกะมะสึ จังหวัดคะงะวะ ประเทศญี่ปุ่น แต่รองรับเที่ยวบินระดับนานาชาติบ้างเล็กน้อ.

ใหม่!!: ไชนาแอร์ไลน์และท่าอากาศยานทะกะมะสึ · ดูเพิ่มเติม »

ท่าอากาศยานนะฮะ

ท่าอากาศยานนะฮะ เป็นท่าอากาศยานระดับสองในญี่ปุ่น ตั้งอยู่ 4 กิโลเมตรทางตะวันตกของเมืองนะฮะ จังหวัดโอะกินะวะ ประเทศญี่ปุ่น ในเดือนตุลาคม..

ใหม่!!: ไชนาแอร์ไลน์และท่าอากาศยานนะฮะ · ดูเพิ่มเติม »

ท่าอากาศยานนานาชาติชูบุเซ็นแทรร์

ท่าอากาศยานนานาชาติชูบุเซ็นแทรร์ ตั้งอยู่ในพื้นที่ถมทะเล ชานเมืองนาโงยะ ประเทศญี่ปุ่น เป็นท่าอากาศยานแห่งใหม่ (แทนท่าอากาศยานนานาชาติชูบุ - Chubu International Airport) ที่สร้างขึ้นเพื่อรองรับงาน เอกซ์โป 2005 ที่จังหวัดไอชิ เนื่องจากสภาพที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่อยู่กึ่งกลางประเทศญี่ปุ่น จึงสามารถเป็นศูนย์กลางการเดินทางทางอากาศของประเทศที่สำคัญ มีลักษณะพิเศษคือมีพื้นที่พาณิชยกรรมแยกอยู่บนชั้นหนึ่งของอาคารผู้โดยสาร เรียกว่า แอร์ซิตี (Aircity) ประกอบด้วยพื้นที่ขายของแบบตะวันตก แบบญี่ปุ่น และพื้นที่พักผ่อน เช่น โรงอาบน้ำแร่ ทำให้นอกจากเป็นท่าอากาศยานแล้ว ยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวของประชาชนในจังหวัดไอชิและพื้นที่ใกล้เคียง สามารถเดินทางระหว่างตัวเมืองนาโงยะได้รถไฟฟ้าความเร็วสูง ภายในเวลา 20 นาที.

ใหม่!!: ไชนาแอร์ไลน์และท่าอากาศยานนานาชาติชูบุเซ็นแทรร์ · ดูเพิ่มเติม »

ท่าอากาศยานนานาชาติพนมเปญ

ท่าอากาศยานนานาชาติพนมเปญ (អាកាសយានដ្ឋានអន្តរជាតិភ្នំពេញ; อากาสยานฐานอนฺตรชาติภนุมฺเพญ, Phnom Penh International Airport) เป็นท่าอากาศยานหลักของกัมพูชา ตั้งอยู่ห่างจากใจกลางกรุงพนมเปญไปทางตะวันตก 7 กิโลเมตร มีชื่อเดิมว่า "ท่าอากาศยานนานาชาติโปเชนตง" (អាកាសយានដ្ឋានអន្តរជាតិពោធិ៏ចិនតុង; อากาสยานฐานอนฺตรชาติโพธิ์จินตุง, Pochentong International Airport) เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม..

ใหม่!!: ไชนาแอร์ไลน์และท่าอากาศยานนานาชาติพนมเปญ · ดูเพิ่มเติม »

ท่าอากาศยานนานาชาติกว่างโจวไป๋-ยฺหวิน

ท่าอากาศยานนานาชาติกว่างโจวไป๋-ยฺหวิน (Guangzhou Baiyun International Airport) เป็นท่าอากาศยานหลักของนครกว่างโจว เมืองเอกของมณฑลกวางตุ้งในประเทศจีน จากสถิติในปี 2014 สนามบินแห่งนี้มีปริมาณผู้โดยสารมากสุดเป็นอันดับสองของจีนรองจากท่าอากาศยานนานาชาติปักกิ่ง และเป็นอันดับ 16 ของโลก สนามบินแห่งนี้ตั้งอยู่ในอำเภอไป๋-ยฺหวินและอำเภอฮฺวาตูของนครกว่างโจว เปิดทำการเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2004 เพื่อทดแทนสนามบินแห่งเก่าที่มีอายุกว่า 72 ปี ซึ่งในปัจจุบันได้ปิดใช้งานแล้ว สนามบินแห่งใหม่นี้สร้างขึ้นด้วยงบประมาณกว่า 1.98 หมื่นล้านหยวน มีที่ตั้งห่างจากตัวเมืองกว่างโจวไปทางเหนือราว 27 กิโลเมตร และมีขนาดใหญ่กว่าสนามบินเดิมถึงเกือบห้าเท่า คำว่า "ไป๋-ยฺหวิน" (白云) นั้นเป็นชื่อของภูเขาที่อยู่ใกล้เคียงสนามบินแห่งเก่า (ไป๋-ยฺหวินชาน) มีความหมายว่า "เมฆขาว" นอกจากนี้ สนามบินแห่งใหม่ยังอยู่ใกล้ตัวเมืองมากกว่าสนามบินแห่งเก่า สนามบินแห่งนี้มีศักยภาพในการรองรับผู้โดยสารได้ 45 ล้านคนต่อปี แต่ในปัจจุบันจำนวนผู้โดยสารก็มากเกินศักยภาพ ขณะนี้มีโครงการขยายสนามบินซึ่งรวมถึงอาคารผู้โดยสารหลังใหม่ขนาด 531,000 ตารางเมตรที่มีขนาดเท่ากับอาคารผู้โดยสารในปัจจุบันกำลังดำเนินการอยู่ คาดว่าจะก่อสร้างเสร็จภายในปี 2018 ซึ่งจะทำให้สนามบินมีศักยภาพในการรองรับผู้โดยสารได้ 80 ล้านคน และปริมาณสินค้า 25 ล้านตันต่อปี.

ใหม่!!: ไชนาแอร์ไลน์และท่าอากาศยานนานาชาติกว่างโจวไป๋-ยฺหวิน · ดูเพิ่มเติม »

ท่าอากาศยานนานาชาติกัวลาลัมเปอร์

ท่าอากาศยานนานาชาติกัวลาลัมเปอร์ (Lapangan Terbang Antarabangsa Kuala Lumpur) ตั้งอยู่ที่เขตเซปัง รัฐเซอลาโงร์ ประเทศมาเลเซีย ห่างจากตัวเมืองกัวลาลัมเปอร์ประมาณ 50 กิโลเมตร เปิดดำเนินการเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2541 เพื่อใช้เป็นท่าอากาศยานหลัก แทน ท่าอากาศยานสุลต่านอับดุล อาซิส ซาห์ (ซูบัง) ซึ่งตั้งห่างอยู่ทางทิศเหนือ (ปัจจุบันเปิดทำการในสายภายในประเทศ และเครื่องบินขนาดเล็ก) และเป็นท่าอากาศยานหลักของมาเลเซียแอร์ไลน์, มาเลเซียแอร์ไลน์คาร์โก และแอร์เอเชีย ได้รับรางวัลท่าอากาศยานที่ดีที่สุด จาก (AETRA awards) ปี 2005 และ (ACI-ASQ awards) ปี 2006.

ใหม่!!: ไชนาแอร์ไลน์และท่าอากาศยานนานาชาติกัวลาลัมเปอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ท่าอากาศยานนานาชาติย่างกุ้ง

ท่าอากาศยานนานาชาติย่างกุ้ง (พม่า: ရန်ကုန်အပြည်ပြည်ဆိုင်ရာလေဆိပ်) เป็นท่าอากาศยานที่ตั้งอยู่ในตำบลมีนกะลาโดน ทางเหนือ 15 กิโลเมตรจากตัวเมืองย่างกุ้ง ดำเนินงานโดยรัฐบาล เป็นท่าอากาศยานนานาชาติแห่งหลักของพม่า และเป็นท่าอากาศยานที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของประเทศ รองจากท่าอากาศยานนานาชาติมัณฑะเลย์ และท่าอากาศยานนานาชาติเนปยีดอ อาคารผู้โดยสารหลังเก่าปัจจุบันถูกใช้งานสำหรับเที่ยวบินภายในประเทศ ในขณะที่อาคารผู้โดยสารหลังใหม่ที่เริ่มเปิดใช้งานเมื่อ พฤษภาคม..

ใหม่!!: ไชนาแอร์ไลน์และท่าอากาศยานนานาชาติย่างกุ้ง · ดูเพิ่มเติม »

ท่าอากาศยานนานาชาติลอสแอนเจลิส

ท่าอากาศยานนานาชาติลอสแอนเจลิส (Los Angeles International Airport) เป็นท่าอากาศยานหลักของลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ชาวแคลิฟอร์เนียจะเรียกท่าอากาศยานแห่งนี้อย่างย่อว่า แอลเอเอกซ์ ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของลอสแอนเจลิส ห่างจากตัวเมืองไปประมาณ 24 กิโลเมตร แอลเอเอกซ์เป็นท่าอากาศยานหลักของสายการบินยูไนเต็ดแอร์ไลน์ และเป็นท่าอากาศยานรองของสายการบินอเมริกันแอร์ไลน์ และอลาสกาแอร์ไลน์ เนื่องจากท่าอากาศยานแห่งนี้ตั้งอยู่ริมชายฝั่งทะเล ทำให้ต้องเจอกับปัญหาเรื่องหมอก จนบางครั้งจะต้องให้เครื่องบินเปลี่ยนไปลงที่ท่าอากาศยานนานาชาติแอลเอ/ออนแทริโอ ซึ่งอยู่ห่างออกไปทางตะวันออก 76 กิโลเมตร.

ใหม่!!: ไชนาแอร์ไลน์และท่าอากาศยานนานาชาติลอสแอนเจลิส · ดูเพิ่มเติม »

ท่าอากาศยานนานาชาติอาบูดาบี

Terminal thumb ท่าอากาศยานนานาชาติอาบูดาบี (مطار أبو ظبي الدولي.) ตั้งอยู่กรุงอาบูดาบี, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เป็นท่าอากาศยานหลักของสายการบินเอติฮัดแอร์เว.

ใหม่!!: ไชนาแอร์ไลน์และท่าอากาศยานนานาชาติอาบูดาบี · ดูเพิ่มเติม »

ท่าอากาศยานนานาชาติอินช็อน

ท่าอากาศยานนานาชาติอินช็อน (ฮังกึล: 인천국제공항, ฮันจา: 仁川國際空港) ตั้งอยู่ที่เกาะยางจอง เมืองอินช็อน ประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งอยู่ทางตะวันตกของโซล โดยรองรับการเป็นท่าอากาศยานหลักของเกาหลีใต้ และสายการบินแห่งชาติอย่างโคเรียนแอร์ รวมทั้งเอเชียน่าแอร์ไลน์ และคาร์โก360 แทนที่ท่าอากาศยานกิมโป (เดิมคือท่าอากาศยานนานาชาติกิโป) นับตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: ไชนาแอร์ไลน์และท่าอากาศยานนานาชาติอินช็อน · ดูเพิ่มเติม »

ท่าอากาศยานนานาชาติฮาร์ทสฟิลด์–แจ็คสัน แอตแลนตา

ท่าอากาศยานนานาชาติฮาร์ตสฟีลด์-แจ็กสัน แอตแลนตา (Hartsfield-Jackson Atlanta International Airport) หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่า ท่าอากาศยานแอตแลนตา, ท่าอากาศยานฮาร์ตสฟีลด์ หรือเรียกอย่างย่อว่า ฮาร์ตสฟีลด์ ตั้งอยู่บริเวณชานเมืองแอตแลนตา รัฐจอร์เจีย สหรัฐอเมริกา เป็นท่าอากาศยานที่ความหนาแน่นมากที่สุดในกรณีจำนวนผู้โดยสารและเที่ยวบินขึ้น-ลง มาตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: ไชนาแอร์ไลน์และท่าอากาศยานนานาชาติฮาร์ทสฟิลด์–แจ็คสัน แอตแลนตา · ดูเพิ่มเติม »

ท่าอากาศยานนานาชาติฮ่องกง

ท่าอากาศยานนานาชาติฮ่องกง (จีน: 香港國際機場, จีนกลาง: Xiānggǎng Guójì Jīcháng, จีนกวางตุ้ง: hoeng1 gong2 gwok3 zai3 gei1 coeng4) หรือเรียกโดยทั่วไปว่าสนามบินเช็กล้าบก็อก (จีน: 赤鱲角機場, จีนกลาง: Chìlièjiǎo Jīcháng, จีนกวางตุ้ง: cek3 laap6 gok3 gei1 coeng4) เป็นท่าอากาศยานหลักของเขตบริหารพิเศษฮ่องกง สาธารณรัฐประชาชนจีน เปิดใช้เมื่อปีพ.ศ. 2541 แทนที่ท่าอากาศยานนานาชาติฮ่องกงเดิม ท่าอากาศยานแห่งนี้เปิดใช้งานเพื่อการพาณิชย์เมื่อปี พ.ศ. 2541 และเป็นจุดเปลี่ยนถ่ายผู้โดยสารที่สำคัญของสาธารณรัฐประชาชนจีน เอเชียตะวันออก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แม้ว่าจะมีประวัติความเป็นมาไม่ยาวนานนัก แต่ท่าอากาศยานแห่งนี้ก็ได้รับรางวัลท่าอากาศยานยอดเยี่ยมระดับนานาชาติมาหลายครั้งในช่วงปี..

ใหม่!!: ไชนาแอร์ไลน์และท่าอากาศยานนานาชาติฮ่องกง · ดูเพิ่มเติม »

ท่าอากาศยานนานาชาติจอห์น เอฟ. เคนเนดี

ท่าอากาศยานนานาชาติจอห์น เอฟ.

ใหม่!!: ไชนาแอร์ไลน์และท่าอากาศยานนานาชาติจอห์น เอฟ. เคนเนดี · ดูเพิ่มเติม »

ท่าอากาศยานนานาชาติดัลลาส-ฟอร์ตเวิร์ธ

ท่าอากาศยานนานาชาติดัลลาส-ฟอร์ตเวิร์ธ (Dallas-Fort Worth International Airport) ตั้งอยู่ระหว่างเมืองดัลลาส และฟอร์ตเวิร์ธ ในรัฐเทกซัส สหรัฐอเมริกา เป็นท่าอากาศยานหลักของสายการบินอเมริกันแอร์ไลน์ และอเมริกันอีเกิล และยังเคยเป็นท่าอกาศยานหลักของเดลต้า แอร์ไลน์ จนกระทั่งปี..

ใหม่!!: ไชนาแอร์ไลน์และท่าอากาศยานนานาชาติดัลลาส-ฟอร์ตเวิร์ธ · ดูเพิ่มเติม »

ท่าอากาศยานนานาชาติคันไซ

ทางอากาศ หอควบคุมการบิน ท่าอากาศยานนานาชาติคันไซ เป็นท่าอากาศยานนานาชาติที่ตั้งอยู่เกาะที่มนุษย์สร้างขึ้นในอ่าวโอซะกะ นอกชายฝั่งเมืองเซ็นนังและเมืองอิซุมิซะโนะ จังหวัดโอซะกะ ญี่ปุ่น ออกแบบโดยสถาปนิก Renzo Piano เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 4 กันยายน 2537 โดย ในระหว่างปีงบประมาณ 2015 (พ.ศ. 2558) ท่าอากาศยานแห่งนี้มีเที่ยวบินเข้าและออก 163,506 เที่ยว ในจำนวนนี้มี 72,251 เที่ยวเป็นเที่ยวบินระหว่างประเทศ และอีก 40,328 เที่ยวเป็นเที่ยวบินภายในประเทศ มีผู้โดยสารมาใช้บริการทั้งหมด 23,214,756 คน โดยเป็นผู้โดยสารระหว่างประเทศ 16,250,323 คน และผู้โดยสารภายในประเทศ 5,289,063 คน.

ใหม่!!: ไชนาแอร์ไลน์และท่าอากาศยานนานาชาติคันไซ · ดูเพิ่มเติม »

ท่าอากาศยานนานาชาติคิมแฮ

ในท่าอากาศยานนานาชาติกิมแฮ (อาคารระหว่างประเทศ) ท่าอากาศยานนานาชาติกิมแฮ IATA: PUS, ICAO: RKPK) ตั้งอยู่ที่สุดฝั่งตะวันตกของเมือง ปูซาน, ประเทศเกาหลีใต้. เปิดให้บริการในปี พ.ศ. 2519. ส่วนอาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศ เปิดให้บริการในวันที่ 31 ตุลาคม, 2550. ท่าอากาศยานนานาชาติกิมแฮ ถือเป็นท่าอากาศยานหลักของ แอร์ปูซาน. ทางวิ่งหมายเลข 18L/36R ใช้ในการทหารเท่านั้น, แต่ด้วยสภาพการจราจรทางอากาศที่หนาแน่นขึ้น, จึงมีแผนจะเปิดให้บริการสำหรับสายการบินพลเรือน. ในปี พ.ศ. 2558 มีผู้โดยสารใช้บริการทั้งหมด 12,382,150 คน. ในปี 2556, เมืองปูซานประกาศว่าเตรียมสิ้นสุดการให้บริการสำหรับสายการบินโดยสารที่ท่าอากาศยานนานาชาติกิมแฮ เนื่องจากขนาดท่าอากาศยานที่เล็ก การจราจรทางอากาศที่ขับคั่งและเหตุผลด้านความปลอดภัย. โดยมีแผนจะย้ายท่าอากาศยานของปูซานไปยังเกาะกาด็อกโด, เกาะทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ของปูซานและอยู่ทางด้านใต้ของ 'ท่าเรือปูซานนิวพอร์ท' ประมาณ 7 กม.

ใหม่!!: ไชนาแอร์ไลน์และท่าอากาศยานนานาชาติคิมแฮ · ดูเพิ่มเติม »

ท่าอากาศยานนานาชาติคิมโพ

ท่าอากาศยานนานาชาติคิมโพ (김포국제공항) หรือรู้จักกันในชื่อ ท่าอากาศยานคิมโพ ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของโซล ห่างจากย่านใจกลางประมาณ 15 กิโลเมตร เคยเป็นท่าอากาศยานหลักของเกาหลีใต้ ก่อนถูกแทนที่ด้วยท่าอากาศยานนานาชาติอินช็อนในปี ค.ศ. 2001 สถิติปี ค.ศ. 2014 มีผู้โดยสาร 21,566,946 คน นับว่ามากเป็นอันดับที่ 3 ของประเทศ รองจากอินช็อนและเชจู.

ใหม่!!: ไชนาแอร์ไลน์และท่าอากาศยานนานาชาติคิมโพ · ดูเพิ่มเติม »

ท่าอากาศยานนานาชาติคิงส์ฟอร์ดสมิธ

ท่าอากาศยานนานาชาติซิดนีย์ คิงส์ฟอร์ด สมิธ (Sydney Kingsford Smith International Airport) หรือท่าอากาศยานซิดนีย์ ตั้งอยู่ที่เมืองซิดนีย์ ในรัฐนิวเซาท์เวลส์ ประเทศออสเตรเลีย ติดกับอ่าวโบตานี รองรับการเป็นท่าอากาศยานหลักของออสเตรเลีย และสายการบินควอนตัส ท่าอากาศยานซิดนีย์นับเป็นท่าอากาศยานที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลกที่ยังเปิดให้บริการมาอย่างอย่างต่อเนื่อง และได้เปลี่ยนชื่อมาเป็นชื่อปัจจุบันเมื่อปี..

ใหม่!!: ไชนาแอร์ไลน์และท่าอากาศยานนานาชาติคิงส์ฟอร์ดสมิธ · ดูเพิ่มเติม »

ท่าอากาศยานนานาชาติงูระห์ไร

ท่าอากาศยานนานาชาติงูระห์ไร (Ngurah Rai International Airport) หรือที่รู้จักในอีกชื่อหนึ่งว่า ท่าอากาศยานนานาชาติเดนปาซาร์ (Denpasar International Airport) ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของเกาะบาหลี ห่างจากเดนปาซาร์ไปทางใต้ 13 กิโลเมตร ตั้งชื่อตาม I Gusti Ngurah Rai วีรบุรุษประจำชาติอินโดนีเซียที่เสียชีวิตใน Battle of Marga ระหว่างการปฏิวัติอินโดนีเซีย ท่าอากาศยานนานาชาติงูระห์ไรเป็นท่าอากาศยานนานาชาติที่มีผู้โดยสารคับคั่งมากเป็นอันดับ 3 ของอินโดนีเซีย รองจากท่าอากาศยานนานาชาติซูการ์โน-ฮัตตาที่กรุงจาการ์ตา และท่าอากาศยานนานาชาติจวนดาที่สุราบายา ห่างออกไปทางเหนือ 2.5 กิโลเมตรคือเมืองกูตา ซึ่งเป็นสถานที่พักตากอากาศที่พัฒนาขึ้นเพื่อการท่องเที่ยว เมื่อ..

ใหม่!!: ไชนาแอร์ไลน์และท่าอากาศยานนานาชาติงูระห์ไร · ดูเพิ่มเติม »

ท่าอากาศยานนานาชาติซานฟรานซิสโก

ท่าอากาศยานนานาชาติซานฟรานซิสโก (San Francisco International Airport) ตั้งอยู่ริมอ่าวซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ห่างจากตัวเมืองออกไปทางตอนใต้ประมาณ 21 กิโลเมตร (13 ไมล์) มีผู้ใช้บริการมากเป็นอันดับ 2 ของแคลิฟอร์เนีย เป็นรองจากลอสแอนเจลิส ซานฟรานซิสโกยังเป็นท่าอากาศยานหลักของสายการบินยูไนเต็ดแอร์ไลน์ และหากเป็นไปตามแผนที่จัดเตรียมไว้ ก็จะเป็นท่าอากาศยานหลักของเวอร์จิ้น อเมริกา ด้ว.

ใหม่!!: ไชนาแอร์ไลน์และท่าอากาศยานนานาชาติซานฟรานซิสโก · ดูเพิ่มเติม »

ท่าอากาศยานนานาชาติซีอานเสียนหยาง

ท่าอากาศยานนานาชาติซีอานเสียนหยาง เป็นท่าอากาศยานที่ให้บริการในเมืองซีอาน มณฑลส่านซี สาธารณรัฐประชาชนจีน มีพื้นที่รวมประมาณ 5 ตารางกิโลเมตร ซึ่งถือเป็นท่าอากาศยานที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของจีน และยังเป็นฐานการบินของสายการบินไชนานอร์ทเวสต์แอร์ไลน์ จนกระทั่งควบรวมกิจการกับสายการบินไชนาอีสเทิร์นแอร์ไลน์ ในปี 2002 ในปัจจุบัน ท่อากาศยานแห่งนี้สามารถเชื่อมต่อไปยัง 79 เมือง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ในปี 2009 ท่าอากาศยานแห่งนี้ได้รองรับผู้โดยสารทั้งสิ้น 15,294,948 คน.

ใหม่!!: ไชนาแอร์ไลน์และท่าอากาศยานนานาชาติซีอานเสียนหยาง · ดูเพิ่มเติม »

ท่าอากาศยานนานาชาติซ่างไห่ผู่ตง

ท่าอากาศยานนานาชาติเซี่ยงไฮ้ผู่ตง (จีนตัวย่อ: 上海浦东国际机场, จีน: 上海浦東國際機場, พินอิน: Shànghǎi Pǔdōng Guójì Jīchǎng) ตั้งอยู่ทางตะวันออกของผู่ตง ในเขตเซี่ยงไฮ้ สาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นประตูหลักสู่ประเทศจีน รองรับผู้โดยสารระหว่างประเทศกว่า 17 ล้านคน ในปี..

ใหม่!!: ไชนาแอร์ไลน์และท่าอากาศยานนานาชาติซ่างไห่ผู่ตง · ดูเพิ่มเติม »

ท่าอากาศยานนานาชาติปักกิ่ง

อาคารเทียบเครื่องบิน 3 ท่าอากาศยานนานาชาติปักกิ่ง เป็นสนามบินระหว่างประเทศสนามบินหลักของกรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือห่างจากใจกลางเมืองประมาณ ในเขตฉาวหยาง และบางส่วนของ เขตซุ่นอี้ บริหารงานโดย บริษัทท่าอากาศยานปักกิ่งแคปิตอล ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ รหัสสนามบิน IATA ของปักกิ่งคือ PEK มาจากการถอดความชื่อของปักกิ่งเป็นอักษรโรมันแบบเดิม (Peking) ท่าอากาศยานนานาชาติปักกิ่ง เป็นท่าอากาศยานหลักของสายการบินแอร์ไชน่า สายการบินแห่งชาติของประเทศจีน ซึ่งมีเที่ยวบินจากที่นี่มากกว่า 120 เส้นทาง (ไม่รวมเที่ยวบินส่งสินค้า) ทั้งนี้ยังมี ไห่หนานแอร์ไลน์ และ ไชน่าเซาเทิร์นแอร์ไลน์ ที่ยึดสนามบินนี้เป็นสนามบินหลักอีกด้วย ท่าอากาศยานนานาชาติปักกิ่ง เพิ่มอาคารผู้โดยสารหลังที่ 3 ในปี..

ใหม่!!: ไชนาแอร์ไลน์และท่าอากาศยานนานาชาติปักกิ่ง · ดูเพิ่มเติม »

ท่าอากาศยานนานาชาติปีนัง

ท่าอากาศยานนานาชาติปีนัง (Lapangan Terbang Antarabangsa Pulau Pinang) เดิมคือ ท่าอากาศยานนานาชาติบายันเลอปัซ ตั้งอยู่ที่เมืองบายันเลอปัซ รัฐปีนัง ประเทศมาเลเซีย อยู่ห่างจากตัวเมืองจอร์จทาวน์ (เมืองหลวงของรัฐ) ไปทางใต้ประมาณ 16 กิโลเมตร (10 ไมล์) รองรับการจราจรทางอากาศของปีนังเพื่อเชื่อมต่อกับเมืองสำคัญต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และยังเป็นท่าอากาศยานหลักของไฟร์ฟลาย ซึ่งเป็นสายการบินลูกของ Malaysia Airlines ทางวิ่งของท่าอากาศยานนานาชาติปีนังอยู่ในทิศทาง 04/22 ผิวราดด้วยแอสฟัลต์ มีความยาว 3,352 เมตร กว้าง 45.5 เมตร ภายในอาคารมีช่องตรวจบัตรโดยสาร 64 ช่อง ประตูขึ้นเครื่อง 11 ประตู เป็นแบบประชิดอาคารมีสะพานเทียบ 8 ประตู มีสายพานรับกระเป๋า 3 สายพาน และลานจอดรองรับรถยนต์ได้ 808 คัน ท่าอากาศยานนานาชาติปีนังเป็นท่าอากศยานขนาดกลาง บริหารงานโดย Malaysia Airports Holdings Berhad (MAHB) ซึ่งเป็นบริษัทของกระทรวงคมนาคม มีเที่ยวบินเชื่อมโยงไปยังสนามบินหลักๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื่องด้วยขนาดที่กระทัดรัดของสนามบิน ทำให้ผู้โดยสารได้รับการบริการที่รวดเร็ว และมีสิ่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐานอย่างครบครัน โดยมีเวลาขั้นต่ำในการต่อเครื่องบิน (minimum connection times) จากในประเทศไปต่างประเทศ (และในทางกลับกัน) 40 นาที และจากในประเทศไปในประเทศ 30 นาที ในปี 2007 ท่าอากาศยานนานาชาติปีนังมีผู้โดยสารมาใช้บริการทั้งสิ้นกว่า 3.1 ล้านคน จำนวนเครื่องบินขึ้นลงทั้งหมด 39,265 ลำ รองรับสินค้าทางอากาศทั้งสิ้น 208,582 ตัน.

ใหม่!!: ไชนาแอร์ไลน์และท่าอากาศยานนานาชาติปีนัง · ดูเพิ่มเติม »

ท่าอากาศยานนานาชาตินาริตะ

ท่าอากาศยานนานาชาตินาริตะ เป็นสนามบินนานาชาติ ตั้งอยู่ที่เมืองนาริตะ จังหวัดชิบะ ประเทศญี่ปุ่น ดำเนินการโดย บริษัทท่าอากาศยานนานาชาตินาริตะ ซึ่งแปรสภาพมาจาก องค์การบริหารงานท่าอากาศยานนานาชาติโตเกียวแห่งใหม่ ท่าอากาศยานนานาชาตินาริตะเป็นสนามบินหลักที่ให้บริการผู้โดยสารระหว่างประเทศที่เดินทางเข้าและออกจากประเทศญี่ปุ่น และเป็นจุดเชื่อมต่อการเดินทางระหว่างทวีปเอเชียและอเมริกา เป็นสนามบินที่รองรับเที่ยวบินสำหรับผู้โดยสารมากอันดับ 2 ของญี่ปุ่น (รองจากสนามบินฮะเนะดะ) เป็นสนามบินที่รองรับการขนส่งทางอากาศเป็นอันดับ 1 ของญี่ปุ่นและอันดับ 3 ของโลก ท่าอากาศยานนานาชาตินาริตะเป็นท่าอากาศยานหลักของสายการบินเจแปนแอร์ไลน์ สายการบินออล นิปปอน แอร์เวย์ และสายการบินนอร์ธเวสต์แอร์ไลน์ และยังเป็นท่าอากาศยานรองของสายการบินยูไนเต็ดแอร์ไลน์ อีกด้วย ท่าอากาศยานานาชาตินาริตะ เคยใช้ชื่อว่า New Tokyo International Airport (新東京国際空港 Shin-Tōkyō Kokusai Kūkō) จนกระทั่งปี..

ใหม่!!: ไชนาแอร์ไลน์และท่าอากาศยานนานาชาตินาริตะ · ดูเพิ่มเติม »

ท่าอากาศยานนานาชาติแวนคูเวอร์

ท่าอากาศยานนานาชาติแวนคูเวอร์ (Vancouver International Airport) ตั้งอยู่ที่ริชมอนด์, บริติชโคลัมเบีย ประเทศแคนาดา ห่างจากตัวเมืองแวนคูเวอร์ประมาณ 15 กิโลเมตร เป็นท่าอากาศยานหลักของแอร์แคนาดา และเป็นท่าอากาศยานรองของเวสต์เจ็ต แวนคูเวอร์ ยังเป็น 1 ใน 8 ของท่าอากาศยานในแคนาดา ที่เป็นที่ตั้งของด่านตรวจลงตราล่วงหน้าของสหรัฐอเมริก.

ใหม่!!: ไชนาแอร์ไลน์และท่าอากาศยานนานาชาติแวนคูเวอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ท่าอากาศยานนานาชาติโหน่ยบ่าย

ท่าอากาศยานนานาชาติโหน่ยบ่าย (Sân bay Quốc tế Nội Bài) เป็นท่าอากาศยานที่ใหญ่ที่สุดในเวียดนามตอนเหนือ ให้บริการสำหรับบริเวณเมืองหลวงฮานอย ตั้งอยู่ห่างจากใจกลางเมือง 45 กิโลเมตร การเดินทางจากเมืองโดยรถแท็กซี่ใช้เวลา 30-45 นาที.

ใหม่!!: ไชนาแอร์ไลน์และท่าอากาศยานนานาชาติโหน่ยบ่าย · ดูเพิ่มเติม »

ท่าอากาศยานนานาชาติโอแฮร์

ท่าอากาศยานนานาชาติชิคาโกโอแฮร์ (Chicago O'Hare International Airport) ตั้งอยู่ที่ ชิคาโก, รัฐอิลลินอยส์, สหรัฐอเมริกา ห่างจากตัวเมืองชิคาโกไปทางตัวะนตกเฉียงเหนือ 27 กิโลเมตร (17 ไมล์) เป็นท่าอากาศยานหลักของสายการบินยูไนเต็ดแอร์ไลน์ และเป็นท่าอากาศยานรองของสายการบินอเมริกันแอร์ไลน์ บริหารงานโดยกรมขนส่งทางอากาศเมืองชิคาโก (City of Chicago Department of Aviation) ก่อนหน้าปี..

ใหม่!!: ไชนาแอร์ไลน์และท่าอากาศยานนานาชาติโอแฮร์ · ดูเพิ่มเติม »

ท่าอากาศยานนานาชาติโฮโนลูลู

ท่าอากาศยานนานาชาติโฮโนลูลู (Honolulu International Airport) ตั้งอยู่ที่โฮโนลูลู รัฐฮาวาย รองรับการจราจรทั้งเส้นทางภายในหมู่เกาะฮาวาย และเส้นทางสู่ประเทศริมมหาสมุทรแปซิฟิก นอกจากนี้ยังเป็นท่าอากาศยานหลักของฮาวาเอียนแอร์ไลน์ และอะโลฮาแอร์ไลน.

ใหม่!!: ไชนาแอร์ไลน์และท่าอากาศยานนานาชาติโฮโนลูลู · ดูเพิ่มเติม »

ท่าอากาศยานนานาชาติโตเกียว

อาคาร 1 อาคาร 2 อาคารระหว่างประเทศ ท่าอากาศยานนานาชาติโตเกียว หรือรู้จักกันโดยทั่วไปว่า ท่าอากาศยานฮะเนะดะ ตั้งอยู่ที่เมืองโอตะ กรุงโตเกียว ญี่ปุ่น รองรับการบริการกรุงโตเกียว ในปี..

ใหม่!!: ไชนาแอร์ไลน์และท่าอากาศยานนานาชาติโตเกียว · ดูเพิ่มเติม »

ท่าอากาศยานนานาชาติไต้หวันเถา-ยฺเหวียน

ท่าอากาศยานนานาชาติไต้หวันเถา-ยฺเหวียน (จีนตัวเต็ม: 台灣桃園國際機場 หรือ 臺灣桃園國際機場, ไต้หวันพินอิน: Táiwan Táoyuán Gúojì Jicháng, พินอิน: Táiwān Táoyuán Gúojì Jīcháng) เดิมคือท่าอากาศยานนานาชาติเจียงไคเช็ก (จีนตัวเต็ม: 中正國際機場, ไต้หวันพินอิน: Jhongjhèng Gúojì Jicháng, พินอิน: Zhōngzhèng Gúojì Jīcháng) ตั้งอยู่ที่เมืองเถา-ยฺเหวียน ในเขตไต้หวัน ประเทศสาธารณรัฐจีน เป็นท่าอากาศยานที่ใหญ่ที่สุดของสาธารณรัฐจีน และเป็นท่าอากาศยานหลักของไชน่าแอร์ไลน์ และอีวีเอแอร์ โดยอาคาร 1 รองรับผู้โดยสารได้ 15ล้านคน อาคาร 2 รองรับผู้โดยสารได้ 17ล้านคน รวมกันได้ 32ล้านคนต่อปี.

ใหม่!!: ไชนาแอร์ไลน์และท่าอากาศยานนานาชาติไต้หวันเถา-ยฺเหวียน · ดูเพิ่มเติม »

ท่าอากาศยานนานาชาติเตินเซินเญิ้ต

ท่าอากาศยานนานาชาติเตินเซินเญิ้ต (Cảng hàng không quốc tế Tân Sơn Nhất) เป็นท่าอากาศยานนานาชาติที่ใหญ่ที่สุดในเวียดนาม ตั้งอยู่ในโฮจิมินห์ซิตี.

ใหม่!!: ไชนาแอร์ไลน์และท่าอากาศยานนานาชาติเตินเซินเญิ้ต · ดูเพิ่มเติม »

ท่าอากาศยานนานาชาติเฉิงตูซวงหลิว

ท่าอากาศยานนานาชาติเฉิงตูซวงหลิว เป็นท่าอากาศยานขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ในเมืองเฉิงตู ประเทศจีน ตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองไปทางตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ 16 กิโลเมตร ในเขตซวงหลิว ในปี 2552 ท่าอากาศยานแห่งนี้ได้กลายเป็นท่าอากาศยานที่วุ่นวายที่สุดในภาคตะวันตกของจีน มีผู้โดยสารมาใช้บริการทั้งสิ้นกว่า 22,637,762 คน เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2551 ท่าอากาศยานต้องปิดทำการชั่วคราว เนื่องจากเกิดเหตุแผ่นดินไหวในมณฑลเสฉวน พ.ศ. 2551 ในอนาคต ได้มีแผนการก่อสร้างท่าอากาศยานแห่งใหม่ที่เขตจินถัง ซึ่งจะประกอบด้วยรันเวย์ 5 รันเวย์ และเมื่อสร้างเสร็จแล้ว จะช่วยย่นเวลาในการเดินทางจากตัวเมืองเฉิงตูได้ 30 นาที.

ใหม่!!: ไชนาแอร์ไลน์และท่าอากาศยานนานาชาติเฉิงตูซวงหลิว · ดูเพิ่มเติม »

ท่าอากาศยานเลโอนาร์โด ดา วินชี-ฟีอูมีชีโน

ท่าอากาศยานเลโอนาร์โด ดา วินชี-ฟีอูมีชีโน (Aeroporto Leonardo da Vinci di Fiumicino) หรือที่รู้จักกันทั่วไปในชื่อ ท่าอากาศยานฟีอูมีชีโน เป็นท่าอากาศยานที่ใหญ่ที่สุดในอิตาลี ด้วยจำนวนผู้โดยสาร 35,226,351 คนใน พ.ศ. 2551 ตั้งอยู่ในเมืองฟีอูมีชีโน ห่างจากศูนย์กลางทางประวัติศาสตร์ของโรม 35 กิโลเมตร นอกจากนี้ ยังเป็นท่าอากาศยานที่มีผู้โดยสารคับคั่งมากเป็นอันดับที่ 27 ของโลกใน พ.ศ. 2552 และเป็นท่าอากาศยานหลักของสายการบินอัลอิตาเลีย ชื่อของท่าอากาศยานชื่อของเลโอนาร์โด ดา วินชี ผู้เชี่ยวชาญหลากหลายสาขาวิชาชาวอิตาลี ผู้ออกแบบต้นแบบของเฮลิคอปเตอร์และเครื่องจักรมีปีกบินได้เป็นคนแรกของโลก.

ใหม่!!: ไชนาแอร์ไลน์และท่าอากาศยานเลโอนาร์โด ดา วินชี-ฟีอูมีชีโน · ดูเพิ่มเติม »

ขนส่งอากาศยาน

นส่งอากาศยาน (cargo airline) คือสายการบินที่มีจุดมุ่งหมายเฉพาะการส่งสินค้าเพียงอย่างเดียว โดยขนส่งอากาศยานบางสายการบิน อาจจะเป็นสายการบินที่แยกส่วนกิจการออกจากสายการบินรับส่งผู้โดยสารทั่วไป.

ใหม่!!: ไชนาแอร์ไลน์และขนส่งอากาศยาน · ดูเพิ่มเติม »

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของสาธารณรัฐจีน

alt.

ใหม่!!: ไชนาแอร์ไลน์และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของสาธารณรัฐจีน · ดูเพิ่มเติม »

คาลีโบ

ลีโบ, (อักลัน: Banwa it Kalibo; ฮีลีไกโนน: Banwa sang Kalibo; Bayan ng Kalibo) เป็นเทศบาลระดับที่ 1 และเป็นเมืองศูนย์กลางของจังหวัดอักลัน ประเทศฟิลิปปินส์ ในปี..

ใหม่!!: ไชนาแอร์ไลน์และคาลีโบ · ดูเพิ่มเติม »

แมนดารินแอร์ไลน์

China Airlines Minquan Building, which houses the headquarters of Mandarin Airlines แมนดารินแอร์ไลน์ (華信航空; pinyin: Huáxìn Hángkōng) เป็นสายการบินของประเทศสาธารณรัฐจีน เป็นบริษัทลูกของสายการบินไชน่าแอร์ไลน์ ให้บริการโดยเครื่องเช่าเหมาลำ มีฐานการบินหลักที่ท่าอากาศยานนานาชาติไต้หวันเถาหยวน.

ใหม่!!: ไชนาแอร์ไลน์และแมนดารินแอร์ไลน์ · ดูเพิ่มเติม »

แอร์บัส เอ350

แอร์บัส เอ350 เป็นอากาศยานขนาดกลางลำตัวกว้าง แบบใช้เครื่องยนต์ 2 ตัว มีพิสัยบินระยะไกล พัฒนาโดยแอร์บัส เอส.อาร์.เอส. เพื่อแข่งขันกับ โบอิง 777 และโบอิง 787 ทั้งนี้เพื่อทดแทนรุ่น เอ 330 และเอ 340 เช่นกัน แอร์บัส เอ350 นั้นถือเป็นอากาศยานที่พัฒนาโดยแอร์บัสรุ่นแรกที่ผลิตมาจากวัสดุผสมจากคาร์บอนไฟเบอร์ โดยสามารถบรรทุกผู้โดยสารได้ตั้งแต่ 280 คน ถึง 366 คน ตามแต่ละรุ่น ในการริเริ่มการพัฒนาในช่วงแรกในปี..

ใหม่!!: ไชนาแอร์ไลน์และแอร์บัส เอ350 · ดูเพิ่มเติม »

แอร์โครยอ

แอร์โครยอ (context, โครยอฮังกง; ชื่อเดิมคือ โชซ็อนมินฮัง (조선민항)) เป็นสายการบินประจำชาติของประเทศเกาหลีเหนือ ดำเนินการโดยรัฐบาล มีศูนย์บัญชาการในเขตซูนัน กรุงเปียงยาง และมีฐานการบินหลักอยู่ที่ ท่าอากาศยานนานาชาติเปียงยางซูนัน (IATA: FNJ) โดยให้บริการเที่ยวบินประจำและเที่ยวบินพิเศษไปยังจุดหมายปลายทางในทวีปเอเชียและยุโรป แอร์โครยอ มีสำนักงานสายการบินในกรุงปักกิ่ง กับนครเสิ่นหยาง ประเทศจีน, นครวลาดีวอสตอค ประเทศรัสเซีย, กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย และกรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี และมีสำนักงานขายในกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น, กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย, ประเทศสิงคโปร์, กรุงไทเป ประเทศไต้หวัน, เขตบริหารพิเศษฮ่องกง, ประเทศคูเวต, ประเทศอิตาลี, ประเทศออสเตรีย และประเทศเยอรมนี.

ใหม่!!: ไชนาแอร์ไลน์และแอร์โครยอ · ดูเพิ่มเติม »

แอร์ไชนา

แอร์ไชนา (อังกฤษ: Air China, จีนตัวย่อ: 中国国际航空公司, พินอิน: Zhōngguó Guójì Hángkōng Gōngsī) เป็นสายการบินแห่งชาติของสาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นรัฐวิสาหกิจในรัฐบาล และเป็นสายการบินใหญ่อันดับสองของจีนรองจากสายการบินไชนาเซาต์เทิร์นแอร์ไลน์ มีขนาดฝูงบินเป็นอันดับที่ 18 ของโลก มีฐานบินหลักอยู่ที่ท่าอากาศยานนานาชาติปักกิ่ง, ท่าอากาศยานนานาชาติเฉิงตูซวงหลิว, และท่าอากาศยานนานาชาติเซี่ยงไฮ้ผู่ตง เป็นหนึ่งในพันธมิตรสายการบินสตาร์อัลไลแอนซ.

ใหม่!!: ไชนาแอร์ไลน์และแอร์ไชนา · ดูเพิ่มเติม »

โบอิง 747-400

รื่องบินโบอิง 747-400 ของบริติช แอร์เวย์ซึ่งเป็นเจ้าของฝูงบิน 747-400 ที่ใหญ่ที่สุด เดลต้า แอร์ไลน์ 747-400 โบอิง 747-400 เป็นเครื่องบินรุ่นล่าสุดของ โบอิง 747 ผลิตโดยฝ่ายผลิตเครื่องบินพาณิชย์โบอิง และเคยเป็นเครื่องบินที่ใหญ่ที่สุดจนกระทั่งการให้บริการของแอร์บัส เอ 380 ทั้งนี้โบอิงกำลังทดแทนเครื่องบินรุ่นนี้ด้วย โบอิง 747-8 ซึ่งคาดว่าจะเริ่มให้บริการได้ในปี..

ใหม่!!: ไชนาแอร์ไลน์และโบอิง 747-400 · ดูเพิ่มเติม »

โคเรียนแอร์

รียนแอร์ (ฮันกึล: 대한항공, ฮันจา: 大韓航空) เป็นสายการบินแห่งชาติของประเทศเกาหลีใต้ และเป็นสายการบินที่ใหญ่ที่สุด มีสำนักงานใหญ่ที่โซล มีฐานบินหลักที่ท่าอากาศยานนานาชาติอินชอนและท่าอากาศยานกิมโป นอกจากนี้ยังมีท่าอากาศยานรองอีก คือ ท่าอากาศยานนานาชาติเชจู และท่าอากาศยานนานาชาติกิมแฮ เมืองปูซาน เป็นหนึ่งในพันธมิตรสายการบินสกายทีม แต่เดิมสายการบิน โคเรียนแอร์ นั้นก่อตั้งขึ้นโดยรัฐบาลเกาหลีใต้ในปี 1962 ต่อมาในเดือนมีนาคม ปี1969 กลุ่มบริษัท ฮันจินอินดัสตรีกรุ๊ป (Hanjin Transport Group) ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มแชโบล ที่ก่อตั้งโดยนาย โช ชุง-ฮุน บิดาของนาย โช ยัง-โฮ เข้าถือหุ้นใหญ่และเป็นผู้บริหารสายการบินโคเรียนแอร์ นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นม.

ใหม่!!: ไชนาแอร์ไลน์และโคเรียนแอร์ · ดูเพิ่มเติม »

โซ เหลียง อิง

น.ส.โซ เหลียง อิง หรือ หมวยโซ นางสาวโซ เหลียง อิง หรือที่นิยมเรียกกันจนติดปากว่า หมวยโซ เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2515 เป็นชาวฮ่องกง มีชื่อเสียงโด่งดังจากการเป็นข่าวในวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2546 เมื่อเจ้าตัวไปแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจโดยกล่าวว่า ตนเป็นนักข่าวอิสระ ถูกคนขับรถตุ๊กตุ๊ก ชื่อ นายทองใบ อำมะเหียะ และพรรคพวกรุมข่มขืนและชิงทรัพย์ ในเวลาประมาณ 21.00 น. ที่หน้ารัฐสภา เมื่อเรื่องนี้ได้ถูกแพร่กระจายออกไป ปรากฏความเป็นที่เสียหายอย่างมากต่อชื่อเสียงประเทศ โดยเฉพาะประเด็นที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว ต่อมาไม่นาน การสืบสวนของตำรวจก็พบพิรุธ เมื่อผู้เสียหายให้การวกวนและมีพิรุธขัดแย้งกันเองหลายประเด็น จนในที่สุด ก็ได้สารภาพว่า กุเรื่องไปเพราะความมึนเมาในยาเสพติดที่ตนเสพเข้าไป โดยไม่คิดว่าเรื่องจะใหญ่โตแบบนี้ ที่สุดในวันที่ 24 มิถุนายน ปีเดียวกัน ศาลอาญาชั้นต้นได้ตัดสินลงโทษจำคุก 1 ปี 6 เดือน โดยไม่รอลงอาญา ในข้อหาแจ้งความเท็จและใส่ร้ายบุคคลอื่น โดยที่ น..โซ เหลียง อิง ก็ไม่ได้อุทธรณ์ ต่อมาเมื่อถึงวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ วันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2547 น..โซ เหลียง อิง ได้รับการพระราชทานอภัยโทษ จึงได้ถูกส่งตัวกลับประเทศทันทีโดยสายการบินไชน่าแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ ซีไอ 642 เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม ปีเดียวกัน แต่เมื่อเดินทางถึงฮ่องกง ในวันที่ 15 สิงหาคม ก็ถูกตำรวจท้องถิ่นจับกุมตัวทันทีที่สนามบิน เนื่องจากมีคดีค้างเก่าอยู่ ที่เจ้าตัวได้กระทำผิดไว้ก่อนเดินทางมาประเทศไทย ราวหนึ่งสัปดาห์ โดยติดค้างชำระเงินค่าปรับเป็นเงิน 1,700 ดอลลาร์ฮ่องกง ประมาณ 8,720 บาท เป็นโทษปรับคดีทิ้งขยะไม่เป็นที่ทำให้บ้านเมืองสกปรก แต่ไม่มีเงินจ่ายค่าปรับ เพื่อนอดีตนักข่าวด้วยกันจึงเป็นผู้ออกค่าปรับให้ด้วยความสงสาร ระหว่างที่กรณีนี้เป็นที่โด่งดังอยู่นั้น คำว่า หมวยโซ เป็นศัพท์สแลงที่นิยมใช้กัน โดยใช้เป็นคำล้อเลียนหรือเปรียบเทียบกับพฤติกรรมของบุคคลต่าง ๆ โดยเฉพาะกับหญิงสาว.

ใหม่!!: ไชนาแอร์ไลน์และโซ เหลียง อิง · ดูเพิ่มเติม »

ไชน่าแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 120

น่าแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 120 (CI120) เป็นเที่ยวบินระหว่างประเทศในเส้นทางกรุงไทเป ประเทศไต้หวัน ไปยังเกาะโอะกินะวะ ประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2550 หลังจากลงจอดบนที่หมายเพียง 6 นาที เครื่องบินเกิดไฟไหม้และระเบิดอย่างรุนแรง แต่ไม่มีผู้เสียชีวิต ช่วงเช้าวันที่ 20 สิงหาคม เครื่องบิน โบอิง 737-800 ของสายการบิน ไชน่าแอร์ไลน์ พร้อมผู้โดยสาร 157 คน และลูกเรือ 8 คน ออกจาก ท่าอากาศยานนานาชาติไต้หวันเถาหยวน ในกรุงไทเป และลงจอดที่ ท่าอากาศยานนะฮะ ในเกาะโอกินาว่าเมื่อเวลา 10.27น.

ใหม่!!: ไชนาแอร์ไลน์และไชน่าแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 120 · ดูเพิ่มเติม »

ไชน่าแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 611

น่าแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 611 (CI611) เป็นเที่ยวบินระหว่างประเทศในเส้นทางกรุงไทเป ประเทศไต้หวันสู่เขตการปกครองพิเศษฮ่องกง เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม..

ใหม่!!: ไชนาแอร์ไลน์และไชน่าแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 611 · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

China Airlinesไชน่าแอร์ไลน์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »