โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ไก่เถื่อน

ดัชนี ไก่เถื่อน

ก่เถื่อน หรือ ไก่ป่า เป็นสกุลของสัตว์ปีกที่บินไม่ได้ ในวงศ์ไก่ฟ้าและนกกระทา (Phasianidae) สกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Gallus ซึ่งเป็นภาษาละตินที่หมายถึง "ไก่ตัวผู้" ไก่เถื่อน มีลักษณะสำคัญแตกต่างจากไก่สกุลอื่น ๆ ในวงศ์เดียวกัน คือ บนหัวมีหงอนที่เป็นเนื้อไม่ใช่ขน มีเหนียงทั้ง 2 ข้างห้อยลงมาที่โคนปากและคาง ที่บริเวณใบหน้าและคอเป็นหนังเกลี้ยงไม่มีขน ขนตามลำตัวมีสีสันสวยงาม ขนหางตั้งเรียงกันเป็นสันสูงตรงกลาง มีขนหาง 14-16 เส้น เส้นกลางยาวปลายแหลมและอ่อนโค้ง ที่แข้งมีเดือยแหลมข้างละอันเป็นอาวุธที่ใช้ในการป้องกันตัว มีความแตกต่างระหว่างเพศชัดเจน โดยตัวเมียมีขนาดเล็กกว่าตัวผู้และขนมีสีไม่ฉูดฉาดเท่าตัวผู้ แข้งไม่มีเดือย หงอนและเหนียงมีขนาดเล็กเห็นชัดเจน พบกระจายพันธุ์ในทวีปเอเชีย ตั้งแต่ทวีปยูเรเชีย จนถึงอนุทวีปอินเดีย, เอเชียอาคเนย์ และภาคใต้ของจีน เช่น มณฑลยูนนาน โดยพบทั้งผืนแผ่นดินใหญ่และส่วนที่เป็นเกาะหรือหมู่เกาะ ไก่ในสกุลนี้ ถือได้ว่าเป็นไก่ที่ผูกพันกับมนุษย์มาอย่างยาวนาน โดยมีหลักฐานว่ามนุษย์ได้นำไก่ในสกุลนี้มาเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงในครัวเรือน เพื่อการบริโภคเป็นเวลานานกว่า 4,000 ปีมาแล้วในยุคเมโสโปเตเมีย หรือในสมัยสุโขทัย ในประวัติศาสตร์ไทย การล่าไก่ป่าถือเป็นวิถีการดำรงชีวิตอย่างหนึ่งของผู้คนในสมัยนั้น ก่อนที่จะมีการพัฒนาสายพันธุ์จนมาเป็นไก่บ้านอย่างในปัจจุบัน และในส่วนการเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงสวยงามและความเพลินเพลินก็พัฒนามาเป็นไก่แจ้หรือไก่ชน ที่มีการจิกตีกันเป็นการละเล่นในหลายวัฒนธรรม.

23 ความสัมพันธ์: ภาษาละตินมณฑลยูนนานวงศ์ไก่ฟ้าและนกกระทาสกุล (ชีววิทยา)สมัยโฮโลซีนสัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสัตว์ปีกสปีชีส์อันดับไก่อาณาจักรสุโขทัยอนุทวีปอินเดียทวีปยูเรเชียทวีปเอเชียข่าวสดไก่ไก่ชนไก่ป่าไก่ป่าชวาไก่ป่าลังกาไก่ป่าอินเดียเมโสโปเตเมียเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ภาษาละติน

ษาละติน (Latin) เป็นภาษาโบราณในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน มีต้นกำเนิดในที่ราบลาติอุม (Latium) ซึ่งเป็นพื้นที่รอบๆกรุงโรม และได้ชื่อว่าเป็นภาษาทางการในการสื่อสารของจักรวรรดิโรมัน ต่อมาภาษาละตินได้ถูกกำหนดให้เป็นภาษาสื่อสารและในพิธีสวดของศาสนจักรโรมันคาทอลิก และยังเป็นภาษาที่ใช้โดยนักวิทยาศาสตร์ นักปรัชญา และนักเทววิทยาของยุโรป ตั้งแต่ตลอดยุคกลางจนมาถึงยุคสมัยใหม่ ภาษาละตินจึงเป็นภาษาต้นฉบับของงานเขียนที่ทรงคุณค่าทั้งทางประวัติศาสตร์ และทางวรรณกรรมเป็นจำนวนมาก ภาษาอังกฤษได้รับคำในภาษาละตินเข้ามาในภาษาตนเป็นจำนวนมาก เนื่องจากอิทธิพลของเจ้าปกครองชาวแองโกล-นอร์มัน ซึ่งใช้ภาษาฝรั่งเศส นอกจากนี้คำศัพท์ที่ใช้ในสาขาวิทยาศาสตร์และการแพทย์ ล้วนเป็นคำศัพท์ภาษาละตินหรือสร้างจากภาษาละติน ภาษาละตินเป็นภาษามีวิภัติปัจจัย (การผันคำ) มีการก 7 การก (case), มีเพศ 3 เพศ, และมีพจน์ 2 พจน์ ภาษาอื่น ๆ อีกหลายภาษาที่ใช้ในปัจจุบัน พัฒนาสืบต่อมาจากภาษาละตินพื้นบ้าน ซึ่งจะเรียกกลุ่มภาษาเหล่านี้ว่า ภาษากลุ่มโรมานซ์ ภาษาที่อยู่ในกลุ่มภาษาโรมานซ์ที่สำคัญได้แก่ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาโรมาเนีย ภาษาอิตาลี ภาษาโปรตุเกส และภาษาสเปน ภาษาส่วนใหญ่ในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียนก็มีความสัมพันธ์บางอย่างกับภาษาละติน แม้ภาษาละตินในปัจจุบัน จะมีผู้ใช้น้อยมากจนถูกนับว่าเกือบเป็นภาษาสูญแล้ว แต่การศึกษาภาษาละตินในโรงเรียนและในมหาวิทยาลัยก็ยังคงมีอยู่อย่างแพร่หลาย นอกจากนี้อักษรละติน (ที่พัฒนามาจากอักษรกรีก) ยังคงมีใช้ในหลายภาษา และเป็นอักษรที่ใช้มากที่สุดในโลก.

ใหม่!!: ไก่เถื่อนและภาษาละติน · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลยูนนาน

มณฑลยูนนาน หรือ หยุนหนาน มีชื่อย่อว่า หยุน(云)หรือ เตียน(滇)มีชื่อในภาษาไทยถิ่นเหนือว่า วิเทหราช ตั้งอยู่ทิศตะวันตกเฉียงใต้ของจีน มีเมืองหลวงชื่อ คุนหมิง มีเนื้อที่ 394,100 ก.ม. มีประชากร ประมาณ 45,966,000 คน (2010) จีดีพี 10309.47 พันล้านหยวน (2012) ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวฮั่น นอกจากนั้นยังมีกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆอีก 25 กลุ่มชาติพัน.

ใหม่!!: ไก่เถื่อนและมณฑลยูนนาน · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ไก่ฟ้าและนกกระทา

วงศ์ไก่ฟ้าและนกกระทา (วงศ์: Phasianidae) เป็นวงศ์ของสัตว์ที่จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์ปีก อันดับไก่ (Galliformes) โดยใช้ชื่อวงศ์ว่า Phasianidae ลักษณะโดยรวมของนกในวงศ์นี้ มีจะงอยปากสั้นหนาแข็งแรง ปลายแหลม มีหงอน มีเหนียง 2 เหนียง ขนหางมี 8-32 เส้น ขาแข็งแรง แต่ละข้างมีตีนนิ้วยื่นไปข้างหน้า 3 นิ้ว ข้างหลัง 1 นิ้ว นิ้วที่ยื่นไปข้างหลังอยู่สูงกว่านิ้วอื่นเล็กน้อย ตัวผู้มีเดือยข้างละเดือย กินเมล็ดพืชและสัตว์ขนาดเล็กต่าง ๆ โดยเฉพาะแมลงและหนอนบนพื้นดินเป็นอาหาร นิยมอยู่รวมกันเป็นฝูง ปีกมีขนาดเล็กเมื่อเทียบกับนกในวงศ์อื่น จึงทำให้ไม่สามารถบินได้ แต่จะบินได้ในระยะใกล้ ๆ เช่น บินขึ้นต้นไม้ มักอาศัยอยู่ในป่าไผ่และป่าละเมาะ มีความแตกต่างระหว่างเพศชัดเจน ตัวผู้จะมีขนาดและสีสันรวมทั้งลักษณะสวยงามกว่าตัวเมีย ไข่มีสีเปลือกทั้งขาว, สีนวล และลายประแต้มสีต่าง ๆ มีขนาดแตกต่างกันมาก ตั้งแต่ยาวเป็นเมตร จนเพียง 20 เซนติเมตร มีการกระจายพันธุ์ในหลายทวีปทั่วโลก ได้แก่ เอเชีย, ยุโรป, อเมริกาเหนือ และแอฟริกา แบ่งออกได้เป็น 4 วงศ์ย่อย (ดูได้ในตาราง) พบราว 156 ชนิด สำหรับในประเทศไทยพบทั้งสิ้น 26 ชนิด อาทิ ไก่นวล (Rhizothera longirostris), นกคุ่มญี่ปุ่น (Coturnix japonica), ไก่จุก (Rollulus rouloul), ไก่ป่า (Gullus gullus) เป็นต้น นกในวงศ์นี้ มีความผูกพันกับมนุษย์มาอย่างช้านาน ด้วยการใช้เนื้อและไข่บริโภคเป็นอาหาร อาทิ ไก่ที่เลี้ยงกันเป็นสัตว์เศรษฐกิจในปัจจุบัน ก็มีต้นทางมาจากไก่ป่า หรือไข่นกกระทา ก็นำมาจากไข่ของนกคุ่มญี่ปุ่น หรือบางชนิดที่มีความสวยงามหรือโดดเด่น ก็ถูกเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงสวยงาม เช่น ไก่ฟ้าสีทอง (Chrysolophus pictus), นกยูง (Pavo spp.) เป็นต้น.

ใหม่!!: ไก่เถื่อนและวงศ์ไก่ฟ้าและนกกระทา · ดูเพิ่มเติม »

สกุล (ชีววิทยา)

ในทางชีววิทยา สกุล (อังกฤษ genus) เป็นการจัดกลุ่มเอาสิ่งมีชีวิตสปีชีส์ที่มีลักษณะใกล้เคียงเข้ามารวมกัน ในการตั้งชื่อแบบทวินาม ชื่อสิ่งมีชีวิตประกอบขึ้นจากสองส่วน คือ สกุล ซึ่งต้องขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ และ สปีชีส์ ตัวอย่างหนึ่งคือ Homo sapiens เป็นชื่อเรียกมนุษย์ อยู่ในสกุล Homo ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่งสามารถซ้ำกับชื่อสกุลหรือชื่อในอนุกรมวิธานของอาณาจักรอื่นได้ ตัวอย่างเช่น Anura เป็นชื่อสกุลของพืชในวงศ์ และเป็นชื่ออันดับของกบ Aotus เป็นชื่อสกุลของถั่วและลิง เป็นต้น แต่ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่ง ๆ ต้องห้ามซ้ำกัน หมวดหมู่:ชีววิทยา หมวดหมู่:การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์.

ใหม่!!: ไก่เถื่อนและสกุล (ชีววิทยา) · ดูเพิ่มเติม »

สมัยโฮโลซีน

อุณหภูมิเฉลี่ยของบรรยากาศโลกในสมัยโฮโลซีน โฮโลซีน (Holocene) เป็นสมัย (epoch) ทางธรณีวิทยา ที่เริ่มขึ้นหลังจากการสิ้นสุดของไพลสโตซีน (11,700 ปีก่อนปัจจุบัน ตามปีปฏิทิน) มาจนถึงปัจจุบัน สมัยโฮโลซีนเป็นส่วนหนึ่งของยุคควอเทอร์นารี โดยนับตั้งแต่ปลายยุคน้ำแข็งครั้งล่าสุด ชื่อโฮโลซีน มาจากรากศัพท์ภาษากรีก ὅλος (holos แปลว่า ทั้งหมด) และ καινός (kainos แปลว่า ใหม่) ซึ่งแปลว่า "ใหม่ทั้งหมด" ได้รับการบัญญัติโดยสภาธรณีวิทยาสากล ในปี..

ใหม่!!: ไก่เถื่อนและสมัยโฮโลซีน · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: ไก่เถื่อนและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: ไก่เถื่อนและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์ปีก

ัตว์ปีก หรือ นก (รวมถึง ไก่, เป็ด, ห่าน, ไก่ฟ้า) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้น Aves (คำว่า Aves เป็นภาษาละติน หมายถึง นก) โดยมีลักษณะทั่วไปคือ เป็นสัตว์ทวิบาท เลือดอุ่น ออกลูกเป็นไข่ รยางค์คู่หน้าเปลี่ยนแปลงไปเป็นปีก มีขนนก และมีกระดูกที่กลวงเบา ในปัจจุบันทั่วโลกมีนกอยู่ประมาณ 8,800 ถึง 9,800 ชนิด (ตามการจัดอนุกรมวิธานที่ต่างกัน) ซึ่งนับว่านกเป็นชั้นของสัตว์มีกระดูกสันหลังที่มีความหลากหลายมากที่สุด ในบรรดาชั้นของสัตว์มีกระดูกสันหลังทั้งหลายที่อาศัยอยู่บนพื้นดิน ความหลากหลายของนกนับเนื่องไปตั้งแต่ในเรื่องของขนาดตัว สีสัน เสียงร้อง อาหารการกิน และถิ่นที่อยู่อาศัย นกเป็นสัตว์ที่มีความสำคัญเป็นอันมากทั้งต่อระบบนิเวศและต่อชีวิตมนุษย์ ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับนกเป็นไปอย่างแน่นแฟ้น และการเกื้อกูลกันระหว่างนกกับสรรพสิ่งต่างๆ ตามธรรมชาติก็เป็นไปอย่างแนบแน่น ถ้าหากปราศจากนก คงเป็นเรื่องยากที่จะจินตนาการถึงการดำรงอยู่ต่อไปของชีวภาคใบนี้.

ใหม่!!: ไก่เถื่อนและสัตว์ปีก · ดูเพิ่มเติม »

สปีชีส์

ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).

ใหม่!!: ไก่เถื่อนและสปีชีส์ · ดูเพิ่มเติม »

อันดับไก่

อันดับไก่ เป็นอันดับของสัตว์ปีกอันดับหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Galliformes สัตว์ปีกหรือนกในนี้มีขนาดลำตัวตั้งแต่เล็กมากจนถึงใหญ่มาก ตั้งแต่ 12 – 223 เซนติเมตร จะงอยปากสั้น ปลายปากทู่ จะงอยปากบนโค้งเล็กน้อย รูจมูกไม่ทะลุถึงกัน ขาใหญ่ แข้งปกคลุมด้วยเกล็ดแบบเกล็ดซ่อน นิ้วหลังอยู่ในระดับเดียวกับนิ้วหน้า เล็บทู่ ปากสั้น ปลายปากมนและเว้าเข้าข้างใน ขนปลายปากแข็งและโค้ง มี 10 เส้น และมีขนกลางปากเส้นที่ 5 ขนหางมี 8 – 32 เส้น ขนแต่ละเส้นมีแกนขนรอง ตัวเต็มวัยลำตัวมีขนอุยปกคลุมห่าง ๆ ต่อมน้ำมันเป็นพุ่มขน แต่บางชนิดก็ไม่เป็นพุ่มขน มีพฤติกรรมเป็นนกที่คุยเขี่ยหาอาหารตามพื้นดิน อาศัยตามต้นไม้ อาหารได้แก่ เมล็ดธัญพืช ผลไม้ เมล็ดพืช แมลง และสัตว์ขนาดเล็ก ทำรังตามพื้นดินหรือกิ่งไม้ วางไข่คราวละ 1 – 20 ฟอง ไข่มีสีเนื้อหรือสีขาว อาจมีลายจุด ลูกอ่อนในระยะแรกเกิดมีขนอุยปกคลุมเต็มลำตัว สามารถเดินตามพ่อแม่ไปหาอาหารได้ทันทีหลังจากขนแห้ง.

ใหม่!!: ไก่เถื่อนและอันดับไก่ · ดูเพิ่มเติม »

อาณาจักรสุโขทัย

อาณาจักรสุโขทัย เคยเป็นรัฐในอดีตรัฐหนึ่ง ตั้งอยู่บนที่ราบลุ่มแม่น้ำยม สถาปนาขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 18 ในฐานะสถานีการค้าของรัฐละโว้ หลังจากนั้นราวปี 1800 พ่อขุนบางกลางหาวและพ่อขุนผาเมือง ได้ร่วมกันกระทำการยึดอำนาจจากขอมสบาดโขลญลำพง ซึ่งทำการเป็นผลสำเร็จและได้สถาปนาเอกราชให้รัฐสุโขทัยเป็นอาณาจักรสุโขทัย และมีความเจริญรุ่งเรืองตามลำดับและเพิ่มถึงขีดสุดในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ก่อนจะค่อย ๆ ตกต่ำ และประสบปัญหาทั้งจากปัญหาภายนอกและภายใน จนต่อมาถูกรวมเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยาไปในที.

ใหม่!!: ไก่เถื่อนและอาณาจักรสุโขทัย · ดูเพิ่มเติม »

อนุทวีปอินเดีย

วเทียมของอนุทวีปอินเดีย อนุทวีปอินเดีย เป็นพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ในเอเชียใต้ เป็นที่ตั้งของประเทศอินเดีย, บังกลาเทศ, ปากีสถาน, ศรีลังกา รวมทั้งบางส่วนของประเทศเนปาล, ภูฏาน, พม่า, ไทย, และดินแดนบางส่วนที่อยู่ภายใต้การปกครองของจีน.

ใหม่!!: ไก่เถื่อนและอนุทวีปอินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปยูเรเชีย

ทวีปยูเรเชีย เป็นมหาทวีปที่รวมเอาทวีปยุโรป กับทวีปเอเชียเข้าด้วยกัน โดยเส้นแบ่งของทวีปยุโรปกับเอเชียคือเทือกเขายูราล คำนี้ส่วนใหญ่จะใช้พูดถึงกับเรื่องในประวัติศาสตร์เมื่อครั้งโลกหลายร้อยล้านปีที่ทวีปยุโรปกับทวีปเอเชียยังติดกัน ทวีปนี้ขยายตัวมาจากมหาทวีปพันเจีย โดยมีทวีปต่างๆที่แยกตัวออกมาคือ อเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ (แยกออกมาจากทวีปแอฟริกา) ทวีปยูเรเชีย เกาะอินเดีย ออสเตรเลีย และขั้วโลกใต้ โดยที่ทวีปยูเรเชียนั้น ในปัจจุบันเรามักจะเรียกว่า ทวีปยุโรป และ ทวีปเอเชีย มากกว่าที่จะเรียกว่า ยูเรเชีย สาเหตุหนึ่งเนื่องมาจากที่ การเรียกอย่างนี้จะทำให้เกิดการสับสนว่าเป็น ทวีปใดกันแน่ ทั้งวัฒนธรรม การเมือง ประเพณี ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศ วิถีชีวิต อาหารการกิน ยังแตกต่างกันด้วย นอกจากเราจะยังพูดถึงโลกล้านปีแล้ว การที่ทวีปเอเชียและทวีปยุโรป ติดกันตรงพรมแดนของประเทศจีน-ประเทศรัสเซีย เป็นต้น เป็นเสมือนเกาะใหญ่ และการคมนาคม ประวัติศาสตร์ยังคล้ายคลึงกันอีกด้วย เราจึงยังจะคงเรียกอยู.

ใหม่!!: ไก่เถื่อนและทวีปยูเรเชีย · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปเอเชีย

แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปเอเชีย เอเชีย (Asia; Ασία อาเซีย) เป็นทวีปใหญ่และมีประชากรมากที่สุดในโลก พื้นที่ส่วนมากตั้งอยู่ในซีกโลกเหนือและตะวันออก ทวีปเอเชียตั้งอยู่ในทวีปยูเรเชียรวมกับทวีปยุโรป และอยู่ในทวีปแอฟโฟร-ยูเรเชียร่วมกับยุโรปและแอฟริกา ทวีปเอเชียมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 44,579,000 ตารางกิโลเมตร คิดเป็น 30% ของแผ่นดินทั่วโลกหรือคิดเป็น 8.7% ของผิวโลกทั้งหมด ทวีปเอเชียเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์มานานและเป็นแหล่งกำเนินอารยธรรมแรก ๆ ของโลกหลายแห่ง เอเชียไม่ได้เพียงแค่มีขนานใหญ่และมีประชากรเยอะแต่ยังมีสถานที่ ๆ ตั้งถิ่นฐานหนาแน่นและมีขนาดใหญ่เช่นเดียวกับที่ยังมีบริเวณที่ประชากรตั้งถิ่นฐานเบาบางด้วย ทั้งนี้ทวีปเอเชียมีประชากรราว 4.5 พันล้านคน คิดเป็น 60% ของประชากรโลก โดยทั้วไปทางตะวันออกของทวีปติดกับมหาสมุทรแปซิฟิก ทางใต้ติดมหาสมุทรอินเดียและทางเหนือติดกับมหาสมุทรอาร์กติก บริเวณชายแดนระหว่างเอเชียและยุโรปมีประวัติศาสตร์และโครงสร้างวัฒนธรรมมากมายเพราะไม่มีการแยกกันด้วยลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่ชัดเจน จึงมีการโยกย้ายติดต่อกันในช่วงสมัยคลาสสิก ทำให้บริเวณนี้แสดงให้เห็นความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรม ภาษา ความแตกต่างทางชาติพันธุ์ของตะวันออกกับตะวันตกและแบ่งจากกันอย่างเด่นชัดกว่าการขีดเส้นแบ่ง เขตแดนที่เด่นชัดของเอเชียคือตั้งแต่ฝั่งตะวันออกของคลองสุเอซ, แม่น้ำยูรัล, เทือกเขายูรัล, ช่องแคบตุรกี, ทางใต้ของเทือกเขาคอเคซัส, ทะเลดำและทะเลแคสเปียน "Europe" (pp. 68–69); "Asia" (pp. 90–91): "A commonly accepted division between Asia and Europe is formed by the Ural Mountains, Ural River, Caspian Sea, Caucasus Mountains, and the Black Sea with its outlets, the Bosporus and Dardanelles." จีนและอินเดียเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลกตั้งแต่คริสต์ศักราชที่ 1 ถึง 1800 จีนเป็นประเทศที่มีอำนาจทางเศรษฐกิจที่สำคัญและดึงดูดผู้คนจำนวนมากให้ไปทางตะวันออก และตำนาน ความมั่งคั่งและความรุ่งเรืองของวัฒนธรรมโบราณของอินเดียกลายเป็นสัญลักษณ์ของเอเชีย สิ่งเหล่านี้จึงดึงดูดการค้า การสำรวจและการล่าอาณานิคมของชาวยุโรป การค้นพบเส้นทางข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกโดยบังเอิญจากยุโรปไปอเมริกาของโคลัมบัสในขณะที่กำลังค้นหาเส้นทางไปยังอินเดียแสดงให้เห็นความดึงดูดใจเหล่านี้ เส้นทางสายไหมกลายเป็นเส้นทางการค้าหลักของฝั่งตะวันออกกับฝั่งตะวันตกในขณะที่ช่องแคบมะละกากลายเป็นเส้นทางเดินเรือที่สำคัญ ช่วงศตวรรษที่ 20 ความแข็งแรงของประชากรเอเชียและเศรษฐกิจ (โดยเฉพาะเอเชียตะวันออก) เติบโตเป็นอย่างมากแต่การเติบโตของประชากรโดยรวมลดลงเรื่อย ๆ เอเชียเป็นแหล่งกำเนิดของศาสนาหลักบนโลกหลายศาสนา อาทิศาสนาคริสต์, ศาสนาอิสลาม, ศาสนายูดาห์, ศาสนาฮินดู, ศาสนาพุทธ, ลัทธิขงจื๊อ, ลัทธิเต๋า, ศาสนาเชน, ศาสนาซิกข์, ศาสนาโซโรอัสเตอร์และศาสนาอื่น ๆ อีกมากมาย เนื่องเอเชียจากมีขนาดใหญ่และมีความหลากหลายทางแนวคิด ภูมินามวิทยาของเอเชียมีตั้งแต่สมัยคลาสสิกซึ่งคาดว่าน่าจะตั้งตามลักษณะผู้คนมากกว่าลักษณะทางกายภาพ เอเชียมีความแตกต่างกันอย่างมากทั้งด้านภูมิภาค กลุ่มชาติพันธุ์ วัฒนธรรม, สภาพแวดล้อม, เศรษฐศาสตร์, ประวัติศาสตร์และระบบรัฐบาล นอกจากนี้ยังมีสภาพอากาศที่แตกต่างกันอย่างมากเช่น พื้นเขตร้อนหรือทะเลทรายในตะวันออกกลาง, ภูมิอากาศแบบอบอุ่นทางตะวันออก ภูมิอากาศแบบกึ่งอารกติกทางตอนกลางของทวีปและภูมิอากาศแบบขั่วโลกในไซบีเรี.

ใหม่!!: ไก่เถื่อนและทวีปเอเชีย · ดูเพิ่มเติม »

ข่าวสด

วสด เป็นหนังสือพิมพ์รายวันภาษาไทย เสนอข่าวทั่วไป ออกจำหน่ายเป็นยุคแรก ด้วยขนาดแท็บลอยด์ เมื่อราวปี พ.ศ. 2524 ซึ่งดำเนินงานโดยเผด็จ ภูรีปติภาน (นามปากกา: พญาไม้) แต่ผู้อ่านไม่ค่อยนิยมเท่าที่ควร ต่อมาเครือมติชน โดยขรรค์ชัย บุนปาน เข้าช่วยเหลือกิจการ จึงเริ่มทดลองออกจำหน่าย โดยนำชื่อหัวหนังสือกีฬาเดิมของเครือมติชน รวมเข้าด้วยกันเป็น "ข่าวสด-สปอร์ตนิวส์" พร้อมทั้งปรับขนาดหน้ากระดาษเป็นบรอดชีต โดยเริ่มนับเป็นปีที่ 1 ฉบับที่ 1 และตรงกับปีที่ 10 ฉบับที่ 2798 ของข่าวสดยุคแรก ตั้งแต่วันเสาร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2533 จนถึงวันจันทร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2534 เป็นจำนวน 129 ฉบับ ก่อนที่จะเริ่มใช้เพียงชื่อเดียวคือ "ข่าวสด" ตั้งแต่ฉบับที่ 130 ประจำวันอังคารที่ 9 เมษายน..

ใหม่!!: ไก่เถื่อนและข่าวสด · ดูเพิ่มเติม »

ไก่

ลูกเจี๊ยบขณะมีอายุได้หนึ่งวัน ไก่ จัดอยู่ในประเภทสัตว์ปีกจำพวกนก ชื่อวิทยาศาสตร์ Gallus gallus มีหลายวงศ์ บินได้ในระยะสั้น หากินตามพื้นดิน ตกไข่ก่อนแล้วจึงฟักเป็นตัว ตัวผู้หงอนใหญ่และเดือยยาว เช่น ไก่แจ้ ไก่อู ไก่ตะเภา ไก่เบตง ไก่ดำ ไก่นา เสียงร้องดัง ต๊อก ต๊อก.

ใหม่!!: ไก่เถื่อนและไก่ · ดูเพิ่มเติม »

ไก่ชน

ก่ชน หมายถึง ไก่สายพันธุ์พื้นเมือง ซึ่งไก่พื้นเมืองอาจมีการแบ่งเป็นประเภททั่วไปได้ 2 ลักษณะ คือ การเลี้ยงไว้เพื่อประกวดการต่อสู้ และความสวยงาม กับการเลี้ยงไว้เพื่อการฆ่าและบริโภคเนื้อเป็นอาหาร ไก่ชน เป็นสัตว์เลี้ยงที่ผูกพันกับสังคมทุกชนชั้นมาแต่โบราณ ตามประวัติศาสตร์แม้ในราชสำนักในสมัยสุโขทัยก็มีการเลี้ยงไก่ชน ไก่ชนในปัจจุบันนอกจากเลี้ยงไว้ประกวดการต่อสู้แต่ก็ได้ยอมรับเรื่องการฆ่าเป็นอาหารด้วยเมื่อต่อสู้แพ้ และในวิถีชีวิตตามชนบท ไก่ชน ก็หมายถึงแหล่งอาหารของพวกเขาด้วยเช่นกัน ซึ่งเราพบเห็นได้จากการเลี้ยงได้ทั่วไปในวิถีชีวิตประจำวันของสังคมเกษตรกรรม แต่บางแห่งโดยเฉพาะชาวพุทธ เชื่อว่าเกมกีฬาชนไก่ เป็นกีฬาที่ทารุณ เช่นเดียวกับกีฬาชนวัว และการกัดปลา ในกีฬาปลากัด ลักษณะสายพันธุ์ไก่ชน ถึงแม้เรื่องราวสำหรับไก่ชนของพระราชาจะยังไม่พบประวัติว่าได้รับพระราชทานยศฐาบรรดาศักดิ์เช่นเดียวกับช้างก็ตาม แต่ไก่ชนเป็นสัตว์เลี้ยงที่แสดงถึงศักดิ์ศรีที่ควรหวงแหน เพราะเรื่องราวในวรรณคดีไทยก็ปรากฏอยู่แล้วบ้าง และตำนานวีรกษัตริย์ในที่ต่าง ๆ ก็ปรากฏอยู่แล้วบ้าง และแม้แต่คัมภีร์ในทางศาสนาก็มีและพบเรื่องราวของไก่ชน ที่บอกถึงความนิยมของการประกวดการต่อสู้ของไก่พื้นเมืองสายพันธุ์ต่างๆ ในภูมิภาคต่าง ๆ แทบจะทั่วโลก ประเทศในแถบเอเชียที่นิยมเลี้ยงไก่ชนได้แก่ ไทย พม่า ลาว กัมพูชา มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย และแม้แต่ประเทศทางตะวันตก ก็เชื่อว่าอาจเป็นไปได้ที่ความนิยมเกมกีฬาไก่ชนตั้งแต่สมัยโรมันจนถึงปัจจุบัน มีความแพร่หลายและเป็นความนิยมที่มาจากประเทศอินเดีย ปัจจุบันการเลี้ยงไก่ชนแยกออกได้หลายประเภท ไม่ใช่เพราะไก่ชนเป็นวิถีชีวิตและส่วนหนึ่งของพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์เท่านั้น แต่ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ต่าง ๆ ตามความนิยม ได้ขยายการเลี้ยงไก่ชนเป็นอุตสาหกรรมการทำฟาร์มขนาดใหญ่ และมีการทำธุรกิจส่งออกด้วย เป็นต้น.

ใหม่!!: ไก่เถื่อนและไก่ชน · ดูเพิ่มเติม »

ไก่ป่า

''Gallus gallus'' ไก่ป่า หรือ ไก่เถื่อน อยู่ในวงศ์ไก่ฟ้าและนกกระทา (Phasianidae) จัดเป็นนกมีขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ขนาดลำตัว 46-73 เซนติเมตร พบการกระจายอยู่ในเขตศูนย์สูตรโดยมีการกระจายตั้งแต่ประเทศอินเดียจนถึงเวียดนาม และประเทศจีนตอนใต้ จนไปถึงเกาะต่าง ๆ ในประเทศอินโดนีเซีย จัดเป็นไก่สายพันธุ์ดั้งเดิมและเป็นต้นตระกูลของไก่บ้านที่เลี้ยงกันเป็นสัตว์เศรษฐกิจในปัจจุบันนี้ สามารถแบ่งออกได้แบ่งชนิดย่อยได้ 6 ชน.

ใหม่!!: ไก่เถื่อนและไก่ป่า · ดูเพิ่มเติม »

ไก่ป่าชวา

ก่ป่าชวา หรือ ไก่ป่าเขียว (Green junglefowl, Javan junglefowl) เป็นไก่ป่าชนิดหนึ่ง ไก่ป่าชวา มีลำตัวยาวประมาณ 75 เซนติเมตร มีลักษณะเด่น คือ ตัวผู้มีขนสร้อยคอสั้นและกลมมนสีขาว ตัวเมียมีหน้าอกสีน้ำตาลคล้ำ ส่วนของลำตัวมีลายสีดำทั่วไป พบกระจายพันธุ์ในเกาะชวา และเกาะบาหลี และเกาะต่าง ๆ รายรอบในประเทศอินโดนีเซีย เช่น เกาะโคโมโด, เกาะฟลอเรส เป็นต้น พบได้ในที่ราบและจนถึงพื้นที่สูงถึง 2,000 เมตร ในป่าเขตร้อนและกึ่งเขตร้อน ไก่ป่าชวาที่ผสมข้ามพันธุ์กับไก่ป่า (G. gallus bankiva) ที่พบในชวา ได้ลูกผสมที่เรียกว่า "เบคิซาร์" เป็นที่นิยมกันมากในชวาตะวันออก.

ใหม่!!: ไก่เถื่อนและไก่ป่าชวา · ดูเพิ่มเติม »

ไก่ป่าลังกา

ก่ป่าลังกา หรือ ไก่ป่าศรีลังกา หรือ ไก่ป่าซีลอน (Sri Lanka junglefowl, Ceylon junglefowl; ทมิฬ: காட்டுக்கோழி) เป็นไก่ป่าชนิดหนึ่ง ไก่ป่าลังกา นับเป็นไก่ป่าชนิดที่ใกล้เคียงกับไก่ป่า (G. gallus) ที่พบในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากที่สุด มีลักษณะเด่น คือ ตัวผู้มีสีแดงแทบทั้งตัว หน้าอกและใต้ท้องเป็นสีแดง แตกต่างจากไก่ป่าที่หน้าอกและใต้ท้องเป็นสีดำ ปลายปีกและหางสีดำแกมม่วง ตุ้มหูสีขาว ส่วนตัวเมียมีหน้าอกเป็นลายเลือน ๆ สีน้ำตาล ปลายปีกและหางมีลายขวาง ตัวผู้มีขนาดประมาณ 66–72 เซนติเมตร (26–28 นิ้ว) และน้ำหนักระหว่าง 790–1,140 กรัม (1.7–2.5 ปอนด์) ขณะที่ตัวเมียมีลำตัวประมาณ 35 เซนติเมตร (14 นิ้ว) และน้ำหนักประมาณ 510–645 กรัม (1.1–1.42 ปอนด์) เป็นไก่ที่พบเฉพาะถิ่นในศรีลังกา หรือเกาะซีลอนที่เดียวเท่านั้น เช่น อุทยานแห่งชาติยาลา หรือป่าสงวนสิงหราชา เป็นต้น.

ใหม่!!: ไก่เถื่อนและไก่ป่าลังกา · ดูเพิ่มเติม »

ไก่ป่าอินเดีย

ก่ป่าอินเดีย หรือ ไก่ป่าเทา (Grey junglefowl, Sonnerat's junglefowl) เป็นไก่ป่าชนิดหนึ่ง ไก่ป่าอินเดีย มีลักษณะเด่น คือ ตัวผู้มีขนสร้อยคอกลมมนและมีจุดสีขาว ๆ บนหลัง หน้าอกและใต้ท้องเป็นสีเทามีลายตามขอบขนสีดำ ปลายปีกและหางเป็นสีดำแกมเขียว หน้าแข้งสีดำ ตุ้มหูสีแดง ตัวเมียหน้าอกสีขาวลายขอบขนสีดำ ปีกและหางมีลายเลือน ๆ พบกระจายพันธุ์ในป่าแถบตอนใต้และตอนกลางของประเทศอินเดีย ไก่ป่าอินเดีย มีฤดูผสมพันธุ์ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงพฤษภาคม วางไข่ครั้งละ 7 วัน ระยะเวลาฟักไข่นาน 21 วัน ส่วนใหญ่จะหากินตามพื้นดินเหมือนไก่ป่าทั่วไป แต่จะบินหรือกระโดดขึ้นต้นไม้สูงเพื่อหลบหนีสัตว์นักล่าหรือผู้คุกคาม.

ใหม่!!: ไก่เถื่อนและไก่ป่าอินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

เมโสโปเตเมีย

แผนที่บริเวณเมโสโปเตเมีย เมโสโปเตเมีย (Mesopotamia; Μεσοποταμία, เมโซโปตามีอา) เป็นคำกรีกโบราณ ตามรูปศัพท์แปลว่า "ที่ระหว่างแม่น้ำ" (meso.

ใหม่!!: ไก่เถื่อนและเมโสโปเตเมีย · ดูเพิ่มเติม »

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

อเชียตะวันออกเฉียงใต้, อุษาคเนย์ หรือ เอเชียอาคเนย์ เป็นอนุภูมิภาคของทวีปเอเชีย ประกอบด้วยประเทศต่าง ๆ ซึ่งทิศเหนือติดจีน ทิศตะวันตกติดอินเดีย ทิศตะวันออกติดปาปัวนิวกินี และทิศใต้ติดออสเตรเลีย ภูมิภาคดังกล่าวตั้งอยู่บนรอยต่อของแผ่นทวีปหลายแผ่นที่ยังมีการไหวสะเทือนรุนแรงและการปะทุของภูเขาไฟอยู่ต่อเนื่อง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้แบ่งได้ภาคภูมิศาสตร์ได้สองภาค ได้แก่ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้แผ่นดินใหญ่หรืออินโดจีน ประกอบด้วย กัมพูชา ลาว พม่า ไทย เวียดนาม และมาเลเซียตะวันตก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นสมุทร ประกอบด้วยบรูไน มาเลเซียตะวันออก ติมอร์-เลสเต อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร.

ใหม่!!: ไก่เถื่อนและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

GallusJunglefowlสกุลไก่ป่าสกุลไก่เถื่อนไก่ (สกุล)ไก่ป่า (สกุล)

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »