โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สงครามกลางเมือง

ดัชนี สงครามกลางเมือง

งครามกลางเมือง (civil war) เป็นสงครามภายในกลุ่มคนที่มีวัฒนธรรม, สัญชาติ หรือสังคมแบบเดียวกัน โดยมีจุดประสงค์เพื่อแย่งชิงอำนาจหรือดินแดน สงครามกลางเมืองอาจนับเป็นการปฏิวัติ (Revolution) ได้ในกรณีที่เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมครั้งใหญ่ภายในสังคมนั้นหลังจากสิ้นสุดสงคราม นักประวัติศาสตร์บางกลุ่มยังได้นับรวมเอาการจลาจล (Insurgency) เป็นสงครามกลางเมืองประเภทหนึ่งด้วยถ้ามีการสู้รบระหว่างกองทัพอย่างเต็มรูปแบบ ปัจจุบันความแตกต่างระหว่าง "สงครามกลางเมือง", "การปฏิวัติ" และ "การจลาจล" นั้นไม่ชัดเจนนัก ขึ้นอยู่กับบริบทในการใช้งาน สงครามกลางเมืองที่สำคัญ.

89 ความสัมพันธ์: ฟรันซิสโก โกยาพระเจ้าเฮนรีที่ 1 แห่งอังกฤษพลิกวิกฤต ขีดชะตาโลกกบฏปีโฮเง็งกบฏปีเฮจิกฤษฎีกาเพลิงไหม้ไรชส์ทาคกองกำลังสาธารณะคอสตาริกาการกบฏการสลายการชุมนุมที่แยกราชประสงค์ พ.ศ. 2553การปฏิวัติเม็กซิโกการปรองดองภาพยนตร์ลาวมหาบุรุษซามูไรยุทธการลัดฟอร์ดบริดจ์ยุทธการที่บอสเวิร์ธฟิลด์ยุทธการที่สโตกฟิลด์ยุทธการที่ทิวก์สบรียุทธการที่นอร์แธมป์ตัน (ค.ศ. 1460)ยุทธการที่เวกฟิลด์ยุทธการที่เอ็ดจ์โคทมัวร์ยุทธการที่เซนต์ออลบันส์ครั้งที่ 1ยุทธการที่เซนต์ออลบันส์ครั้งที่ 2ยุคราชวงศ์เหนือ-ใต้รัฐบาลพลัดถิ่นราชวงศ์ยอร์กราชวงศ์แลงคัสเตอร์รายชื่อสนธิสัญญาวิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2548–2553วิกฤตการณ์วังหน้าวิกฤตการณ์คริสต์ศตวรรษที่ 3สมเด็จพระเจ้าเลโอโปลด์ที่ 3 แห่งเบลเยียมสถาปัตยกรรมนอร์มันสงครามกลางเมืองอังกฤษสงครามกลางเมืองอังกฤษครั้งที่ 1สงครามกลางเมืองอิรัก (พ.ศ. 2557–ปัจจุบัน)สงครามกลางเมืองอเมริกาสงครามกลางเมืองซีเรียสงครามการ์ลิสต์ครั้งที่ 1สงครามร้อยปีสงครามสามเฮนรี (ค.ศ. 1584–1598)สงครามสืบราชบัลลังก์สงครามสืบราชบัลลังก์โปแลนด์สงครามออตโตมัน-ฮังการีสงครามจินชินสงครามขุนนางครั้งที่สองสงครามขุนนางครั้งที่หนึ่งสงครามดอกกุหลาบสงครามประกาศอิสรภาพสกอตแลนด์สงครามโบะชิงสงครามโอนิน...สนธิสัญญาสันติภาพอาชญากรรมสงครามอาณาจักรแฟรงก์ตะวันออกอาณาจักรแฟรงก์ตะวันตกอิตาเลีย (จักรวรรดิโรมัน)องค์การบริหารชั่วคราวแห่งสหประชาชาติในกัมพูชาองค์การแพทย์ไร้พรมแดนจักรพรรดิแซเวรุส อาแล็กซันแดร์จักรพรรดิแนร์วาจักรพรรดิโพกัสจักรพรรดิโลทาร์ที่ 1จักรวรรดิข่านอิลจักรวรรดิโรมันจีนโพ้นทะเลทุ่งสังหาร (ภาพยนตร์)คลารา บาร์ตันคณะกรรมการตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองประชาธิปไตยเสรีนิยมประวัติศาสตร์อัฟกานิสถานประวัติศาสตร์เดนมาร์กประเทศอัฟกานิสถานประเทศโกตดิวัวร์ประเทศเลบานอนปราสาทพระวิหารนะกะโอะกะ ชินตะโรแอมโบรส เบียร์ซแคทเธอรีน เดอ เมดีชีโพนีเอกซ์เพรสโยเวรี มูเซเวนีโอดะ โนบูนางะโจเซฟ พูลิตเซอร์ไบโอช็อก อินฟินิตเกาะอัลคาทราซเออร์เนสต์ เฮมิงเวย์เทียรี่ เมฆวัฒนาเขมรแดงเดอะ เบิร์ธ ออฟ อะ เนชั่นเซเบอร์ (มหาสงครามจอกศักดิ์สิทธิ์)29 พฤษภาคม ขยายดัชนี (39 มากกว่า) »

ฟรันซิสโก โกยา

ฟรันซิสโก โกยา ฟรันซิสโก โกยา (Francisco Goya) ชื่อเต็ม ฟรันซิสโก โคเซ เด โกยา อี ลูเซียนเตส (Francisco José de Goya y Lucientes) 30 มีนาคม พ.ศ. 2289 (ค.ศ. 1746) - 16 เมษายน พ.ศ. 2371 (ค.ศ. 1828) จิตรกรและศิลปินภาพพิมพ์แนวศิลปะจินตนิยม (Romanticism) ชาวสเปน ได้รับการยกย่องว่าทั้งเป็น "Old Master" คนสุดท้ายและเป็นศิลปินแนวสมัยใหม่คนแรก เขาวาดทิวทัศน์งดงามในสไตล์โรโคโคได้อย่างสมบูรณ์แบบไม่เหมือนจิตรกรชาวสเปนท่านอื่น ฟรันซิสโก โกยา เป็นแรงบันดาลใจให้กับศิลปินรุ่นหลังในแนวต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น แนวสำแดงพลังอารมณ์ (Expressionist) หรือ แนวเหนือจริง (Surrealist) ต่างได้รับแรงบันดาลใจจากฟรานซิสโก เด โกยาทั้งสิ้น เขาถูกแต่งตั้งให้เป็นจิตรกรราชสำนักคนแรกของสเปน.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองและฟรันซิสโก โกยา · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าเฮนรีที่ 1 แห่งอังกฤษ

ระเจ้าเฮนรีที่ 1 แห่งอังกฤษ (Henry I of England) (ราว ค.ศ. 1068/ค.ศ. 1069 – 1 ธันวาคม ค.ศ. 1135) เป็นพระเจ้าแผ่นดินของราชอาณาจักรอังกฤษในราชวงศ์นอร์มัน พระเจ้าเฮนรีที่ 1 เสด็จพระราชสมภพราว ค.ศ. 1068/ค.ศ. 1069 ที่เซลบี ในยอร์กเชอร์ ในประเทศอังกฤษ เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่สี่ในพระเจ้าวิลเลียมที่ 1 แห่งอังกฤษและพระนางมาทิลดาแห่งแฟลนเดิร์ส เป็นพระราชโอรสพระองค์แรกของพระเจ้าวิลเลียมที่เกิดหลังจากทรงได้รับชัยชนะในการรุกรานอังกฤษ และทรงราชย์หลังจากพระเจ้าวิลเลียมที่ 2 พระเชษฐาธิราชระหว่างวันที่ 3 สิงหาคม ค.ศ. 1100 จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม ค.ศ. 1135 ที่ลียง ลา ฟอเรสต์, นอร์ม็องดี ประเทศฝรั่งเศส ในปี..

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองและพระเจ้าเฮนรีที่ 1 แห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

พลิกวิกฤต ขีดชะตาโลก

Children of Men เป็นภาพยนตร์ไซไฟ-ดิสโทเปีย ที่ออกฉายในปี..

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองและพลิกวิกฤต ขีดชะตาโลก · ดูเพิ่มเติม »

กบฏปีโฮเง็ง

กบฏปีโฮเง็ง (Hōgen Rebellion;; 28 กรกฎาคม – 16 สิงหาคม ค.ศ. 1156) เป็นสงครามกลางเมือง ช่วงสั้น ๆ ที่เกิดขึ้นจากความขัดแย้งเรื่องสิทธิในการสืบราชบัลลังก์ดอกเบญจมาศ ระหว่างจักรพรรดิโกะ-ชิระกะวะกับอดีตจักรพรรดิซุโตะกุ หลังจากเสร็จสิ้นสงครามที่ยาวนานถึง 20 วันปรากฎว่าฝ่ายอดีตจักรพรรดิซุโตะกุเป็นฝ่ายพ่ายแพ้โยะรินะงะตายในที่รบส่วนทะเมะโยะชิและทะดะมะซะถูกประหารชีวิตทางด้านทะเมะโตะโมะบุตรชายของทะเมะโยะชิและน้องชายของโยะชิโตะโมะหนีรอดไปได้ส่วนอดีตจักรพรรดิและเชื้อพระวงศ์ถูกเนรเทศไปจังหวัดคะงะวะ และสวรรคตที่นั่น และจากสงครามครั้งนี้ทำให้โยะชิโตะโมะได้ก้าวขึ้นมาเป็นประมุขคนใหม่ของตระกูลมินะโมะโตะสายเซวะเก็นจิและทำให้ตระกูลไทระและมินะโมะโตะก้าวขึ้นมาเป็นตระกูลที่มีอำนาจในเฮอัง หมวดหมู่:ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองและกบฏปีโฮเง็ง · ดูเพิ่มเติม »

กบฏปีเฮจิ

กบฏปีเฮจิ (Heiji Rebellion) เป็นสงครามกลางเมือง ช่วงสั้น ๆ ในยุคเฮอัง เกิดขึ้นจากความขัดแย้งระหว่างสองตระกูลใหญ่ในเฮอัง ระหว่างไทระและมินะโมะโตะ หลังจากเสร็จสิ้นสงครามตระกูลมินะโมะโตะพ่ายแพ้ต่อตระกูลไทระโยะชิโตะโมะถูกสังหารโดยข้ารับใช้ที่จงรักภักดีส่วนบุตรชายอีก 2 คนของโยะชิโตะโมะถูกสังหารและโยะริโตะโมะถูกเนรเทศไปจังหวัดอิซุทำให้ตระกูลไทระได้เข้ามามีอำนาจในราชสำนักแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด หมวดหมู่:ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองและกบฏปีเฮจิ · ดูเพิ่มเติม »

กฤษฎีกาเพลิงไหม้ไรชส์ทาค

ประกาศของตำรวจอันเป็นผลมาจากกฤษฎีกาเพลิงไหม้ไรชส์ทาค คำสั่งประธานาธิบดีไรช์ว่าด้วยการป้องกันประชาชนและรัฐ หรือรู้จักกันในชื่อ กฤษฎีกาเพลิงไหม้ไรชส์ทาค (Reichstagsbrandverordnung) เป็นคำสั่งของฝ่ายบริหารที่เพาล์ ฟอน ฮินเดนบูร์ก ประธานาธิบดีเยอรมนี ออกเพื่อตอบโต้เหตุเพลิงไหม้ไรชส์ทาค เมื่อวันที่ 27 กุมภาพัน..

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองและกฤษฎีกาเพลิงไหม้ไรชส์ทาค · ดูเพิ่มเติม »

กองกำลังสาธารณะคอสตาริกา

อสตาริกา เป็นประเทศที่ไม่มีกองทั.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองและกองกำลังสาธารณะคอสตาริกา · ดูเพิ่มเติม »

การกบฏ

การกบฏ หรือการขบถ (rebellion) หมายถึง การปฏิเสธการเชื่อฟังหรือคำสั่ง ฉะนั้น จึงอาจมองว่ารวมพฤติกรรมต่าง ๆ ซึ่งมุ่งทำลายหรือเข้าควบคุมตำแหน่งผู้มีอำนาจอันเป็นที่ยอมรับ เช่น รัฐบาล ผู้ว่าราชการ ประธาน ผู้นำทางการเมือง สถาบันการเงิน หรือบุคคลผู้รับผิดชอบ ด้านหนึ่ง รูปแบบพฤติกรรมอาจรวมวิธีปราศจากความรุนแรง เช่น ปรากฏการณ์การดื้อแพ่ง การขัดขืนของพลเรือนและการขัดขืนโดยปราศจากความรุนแรง อีกด้านหนึ่ง อาจรวมการรณรงค์ด้วยความรุนแรง ผู้เข้าร่วมการกบฏ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกบฏด้วยอาวุธ เรียก "กบฏ" หรือ "ขบถ" การกบฏที่มีอาวุธแต่ขอบเขตจำกัด เรียก การก่อการกบฏ (insurrection) และหากรัฐบาลอันเป็นที่ยอมรับไม่รับรองกบฏเป็นคู่สงคราม การกบฏนั้นจะเป็นการก่อการกำเริบ (insurgency) และกบฏจะเป็นผู้ก่อการกำเริบ (insurgent) ในความขัดแย้งที่ใหญ่กว่า อาจมีการรับรองกบฏเป็นคู่สงครามโดยไม่รับรองรัฐบาลของกบฏ ในกรณีนี้ ความขัดแย้งดังกล่าวกลายเป็นสงครามกลางเมือง.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองและการกบฏ · ดูเพิ่มเติม »

การสลายการชุมนุมที่แยกราชประสงค์ พ.ศ. 2553

การสลายการชุมนุมที่แยกราชประสงค์ เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในกรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 7-19 พฤษภาคม..

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองและการสลายการชุมนุมที่แยกราชประสงค์ พ.ศ. 2553 · ดูเพิ่มเติม »

การปฏิวัติเม็กซิโก

การปฏิวัติเม็กซิโก (Mexican Revolution; Revolución mexicana) เกิดขึ้นระหว่างปี..

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองและการปฏิวัติเม็กซิโก · ดูเพิ่มเติม »

การปรองดอง

การปรองดอง (reconciliation) หมายถึง การจัดการความขัดแย้งระหว่างกลุ่มต่าง ๆ ในสังคมที่เคยแตกแยก ต่อสู้ และปะทะกัน ทั้งในระดับความคิดและในระดับการใช้ความรุนแรงทางกายภาพ ในการตกลงเพื่อเข้าสู่การเจรจาสันติภาพ (peace talk) ระหว่างกลุ่มต่าง ๆ โดยไม่ใช้ความรุนแรง และทำการสร้างองค์กรหรือสถาบันที่เป็นประชาธิปไตยในการเข้ามาช่วยปรองดองและต่อรองอำนาจระหว่างกลุ่มต่าง ๆ ในที่นี้อาจจะรวมถึงการใช้มาตรการออกกฎหมายนิรโทษกรรม เพื่อเป็นเครื่องมือเยียวยาความเสียหายโดยเริ่มจากการแสวงหาความจริงในอดีต สาเหตุความไม่เป็นธรรมในสังคม การช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับความเดือดร้อนจากความขัดแย้ง การแสวงหาข้อเท็จจริงของความคิดแต่ไม่หาคนผิด และการจัดสรรอำนาจใหม่ระหว่างกลุ่มต่าง ๆ ในสังคมให้สามารถอยู่ร่วมกันได้ แต่ควรระลึกด้วยว่า การใช้กฎหมายนิรโทษกรรมแต่เพียงอย่างเดียว ไม่สามารถนำไปสู่การปรองดองอย่างแท้จริงได้ การปรองดองจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อต้นตอของความขัดแย้งในสังคมได้รับการแก้ไข การจะเริ่มแก้ไขได้ก็โดยการพิสูจน์ทราบ บันทึก และชี้แจงข้อเท็จจริงในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เพราะสังคมมีสิทธิในการเข้าถึงความจริง การรับทราบความจริงจึงจะนำมาสู่ความเข้าใจ การให้อภัย และเมื่อนั้นการปรองดองจึงจะเกิดขึ้นได้ (Murphy, 2010: 1-37).

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองและการปรองดอง · ดูเพิ่มเติม »

ภาพยนตร์ลาว

นตร์ลาว คือภาพยนตร์ภาษาลาว โดยในยุคแรกประมาณปี ค.ศ. 1950 เป็นต้นมาภาพยนตร์ลาวส่วนใหญ่เป็นหนังสารคดีที่ทำขึ้นเพื่อโน้มน้าวประชาชนให้รักชาติ ภายใต้การอำนวยการสร้างของรัฐบาลและกลุ่มแนวลาวรักชาติ (Lao Patriotic Front) อาทิเช่นภาพยนตร์เรื่อง Gathering in the Zone of Two Provinces ถือเป็นภาพยนตร์ที่เก่าแก่ที่สุด ไม่ปรากฏปีที่สร้าง สร้างโดยคนทำภาพยนตร์เวียดนาม,20 ปีแห่งการปฏิวัติ (1965), ไซซะนะละดูแล้ง (ชัยชนะฤดูแล้ง - 1970) และ แดนแห่งอิดสะระ (1970) ต่อมารัฐบาลลาวเริ่มทำหนังบ้างและมีจุดประสงค์เพื่อปลูกฝังให้คนรักชาติเช่นเดิม เช่น เพื่อนฮัก เพื่อนแค้น และ แผ่นดินของเฮา (ทั้ง 2 เรื่องไม่ปรากฏปีที่ฉาย) มีการเผยแพร่ด้วยวิธีเร่ฉายตามชานเมืองเพื่อให้เข้าถึงคนหมู่มาก หลังปี ค.ศ. 1975 หลังการปลดปล่อยประเทศ วงการหนังลาวเข้าสู่ภาวะซบเซา แต่อย่างไรก็ตามกระทรวงวัฒนธรรมได้ตั้งศูนย์สำเนาฟิล์มขึ้นเพื่อรักษาฟิล์มหนังและผลิตสารคดีเผยแพร่ทางโทรทัศน์ในวาระสำคัญต่างๆ มากกว่าการปลุกระดมดังแต่ก่อน เช่น บันทึกการประชุมนานาชาติ,บันทึกเหตุการณ์น้ำท่วม, บันทึกการสร้างเมืองใหม่ เป็นต้น ต่อมาปี 1983 รัฐบาลลาวและเวียดนามร่วมกันสร้างภาพยนตร์เล่าเรื่องเรื่องแรก คือ เสียงปืนจากทุ่งไห่ กำกับโดย สมจิต พนเสนาและ พัน กี นัม ผู้กำกับชาวเวียดนาม เป็นภาพยนตร์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับกองกำลังทหารยุคคอมมิวนิสต์ แต่ได้ผลลัพธ์ที่ไม่ดีนัก ต่อมารัฐบาลลาวสร้างหนังเรื่อง บัวแดง ในปี 1988 เป็นเรื่องราวรันทดของครอบครัวที่ถูกพรากจากกันโดยสงครามกลางเมือง เป็นเรื่องที่มีฉากหลังอยู่ในปี 1972 ภาพยนตร์เรื่องนี้ประสบความสำเร็จดี"หนังลาวยุคก่อนและหลังการปลดปล่อย".

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองและภาพยนตร์ลาว · ดูเพิ่มเติม »

มหาบุรุษซามูไร

มหาบุรุษซามูไร (The Last Samurai) หรือซามูไรคนสุดท้าย เป็นประเภทผจญภัย สงคราม-ดราม่า ซึ่งออกฉายครั้งแรกในวันที่ 5 ธันวาคม..

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองและมหาบุรุษซามูไร · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการลัดฟอร์ดบริดจ์

ทธการลัดฟอร์ดบริดจ์ (Battle of Ludford Bridge) เป็นยุทธการในสงครามดอกกุหลาบ ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม ค.ศ. 1459 ที่ลัดฟอร์ดบริดจ์ในมณฑลชร็อพเชอร์ในอังกฤษ เป็นการต่อสู้ระหว่างกองทัพของฝ่ายราชวงศ์แลงคาสเตอร์ที่นำโดยสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 6 และฝ่ายราชวงศ์ยอร์คที่นำโดยริชาร์ด ดยุคแห่งยอร์ค ผลของยุทธการครั้งนี้แลงคาสเตอร์เป็นฝ่ายได้รับชัยชนะ หลังจากที่ได้รับชัยชนะในยุทธการบลอร์ฮีธระหว่าเขตแดนชร็อพเชอร์และสตาฟฟอร์ดเชอร์แล้วฝ่ายยอร์คก็เดินทัพไปยังวูสเตอร์ แต่ก็ต้องถอยกลับมาตั้งหลักที่ลัดฟอร์ดบริดจ์ในชร็อพเชอร์หลังจากที่พบกองทัพที่มีกำลังเหนือกว่ามากของฝ่ายแลงคาสเตอร์ เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม ค.ศ. 1459 เซอร์แอนดรูว์ ทรอลล็อพผู้บังคับกองทหารจากคาเลส์ก็หันไปเข้าข้างแลงคาสเตอร์เมื่อพระเจ้าเฮนรีพระราชทานอภัยโทษ ที่ทำให้ทรงทราบถึงข้อมูลและแผนการโจมตีของฝ่ายยอร์ค แลงคาสเตอร์มีกองกำลังมากกว่าฝ่ายยอร์คถึงสามต่อหนึ่ง ค่ำวันนั้นเมื่อรู้ว่าไม่มีทางชนะดยุคแห่งยอร์คและลูกสองคน พร้อมกับเอิร์ลแห่งวอริค และ เอิร์ลแห่งซอลสบรี ก็หนีไปคาเลส์และไอร์แลนด์จากสนามรบ กองทหารที่ตื่นขึ้นมาทราบว่าไม่มีผู้นำต่างก็กระจัดกระจายหนีกันไปตามๆ กันทิ้งให้ฝ่ายยอร์คเข้าปล้นเมืองลัดโลว์ผู้สนับสนุนฝ่ายยอร์ค ที่ตั้งอยู่ไม่ไกลจากสะพานเท่าใดนัก.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองและยุทธการลัดฟอร์ดบริดจ์ · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการที่บอสเวิร์ธฟิลด์

ทธการบอสเวิร์ธฟิลด์ (Battle of Bosworth Field) เป็นยุทธการในสงครามดอกกุหลาบ ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม ค.ศ. 1485 ที่เมืองบริเวณมาร์เค็ตบอสเวิร์ธในมณฑลเลสเตอร์เชอร์ในอังกฤษ เป็นการต่อสู้ระหว่างกองทัพของฝ่ายราชวงศ์ยอร์คที่นำโดยริชาร์ดที่ 3 และฝ่ายราชวงศ์แลงคาสเตอร์ที่นำโดยเฮนรี ทิวดอร์ เอิร์ลแห่งริชมอนด์และจอห์นเดอเวียร์ เอิร์ลแห่งอ๊อกซฟอร์ดที่ 13 ผลของยุทธการครั้งนี้แลงคาสเตอร์ได้รับชัยชนะ ในด้านความเสียหายของทั้งสองฝ่ายไม่มีหลักฐานแน่นอนที่ระบุไว้ การสิ้นสุดของสงครามเป็นการสิ้นสุดของราชวงศ์แพลนทาเจเน็ทและเป็นการเริ่มการปกครองอังกฤษของราชวงศ์ใหม่ราชวงศ์ทิวดอร์โดยมีสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 7 เป็นปฐมกษัตริย์ ในทางประวัติศาสตร์ยุทธการบอสเวิร์ธฟิลด์ถือว่าเป็นยุทธการสุดท้ายของสงครามดอกกุหลาบสงครามดอกกุหลาบและเป็นจุดสิ้นสุดของยุคกลางในราชอาณาจักรอังกฤษ แม้ว่าจะมียุทธการที่เกิดขึ้นหลังจากยุทธการนี้โดยผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์จากฝ่ายราชวงศ์ยอร์คที่ไม่สำเร็จก็ตาม ยุทธการครั้งนี้เป็นการต่อสู้แบบสงครามยุคกลางยุทธการสุดท้ายและพระเจ้าริชาร์ดที่ 3 ทรงเป็นกษัตริย์อังกฤษองค์สุดท้ายที่เสด็จสวรรคตในสนามร.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองและยุทธการที่บอสเวิร์ธฟิลด์ · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการที่สโตกฟิลด์

ทธการสโตคฟิลด์ (Battle of Stoke Field) เป็นยุทธการในสงครามดอกกุหลาบ ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน ค.ศ. 1487 ที่เมืองอีสต์สโตคในมณฑลน็อตติงแฮมเชอร์ในอังกฤษ เป็นการต่อสู้ระหว่างกองทัพของฝ่ายราชวงศ์แลงคาสเตอร์ที่นำโดยสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 7 และฝ่ายราชวงศ์ยอร์คที่นำโดยจอห์น เดอลาโพล เอิร์ลแห่งลิงคอล์นที่ 1 ผลของยุทธการครั้งนี้แลงคาสเตอร์เป็นฝ่ายได้รับชัยชน.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองและยุทธการที่สโตกฟิลด์ · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการที่ทิวก์สบรี

ทธการที่ทิวก์สบรี (Battle of Tewkesbury) เป็นยุทธการในสงครามดอกกุหลาบที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม ค.ศ. 1471 ที่เมืองทิวก์สบรีในเทศมณฑลกลอสเตอร์เชอร์ในอังกฤษ เป็นการต่อสู้ระหว่างกองทัพของฝ่ายราชวงศ์แลงคัสเตอร์ที่นำโดยเอ็ดมันด์ โบฟอร์ต ดุ๊กที่ 4 แห่งซัมเมอร์เซต, มาร์กาเร็ตแห่งอ็องฌู และเอ็ดเวิร์ดแห่งเวสต์มินสเตอร์ เจ้าชายแห่งเวลส์ และฝ่ายราชวงศ์ยอร์กที่นำโดยพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 และริชาร์ด ดุ๊กแห่งยอร์ก พระอนุชา ผลของยุทธการครั้งนี้ยอร์กเป็นฝ่ายได้รับชัยชนะอย่างเด็ดขาด ยุทธการครั้งนี้เป็นยุทธการที่ทำให้ฝ่ายราชวงศ์แลงคัสเตอร์ต้องยุติการยึดราชบัลลังก์อังกฤษเป็นการชั่วคราว จากนั้นมาก็เป็นเวลาอีกสิบสี่ปีก่อนที่เฮนรี ทิวดอร์จะสามารถยุติความขัดแย้งของราชวงศ์แลงคัสเตอร์และราชวงศ์ยอร์กเป็นการถาวรได้.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองและยุทธการที่ทิวก์สบรี · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการที่นอร์แธมป์ตัน (ค.ศ. 1460)

ทธการนอร์ทแธมป์ตัน (ค.ศ. 1460) (Battle of Northampton (1460)) เป็นยุทธการในสงครามดอกกุหลาบ ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม ค.ศ. 1460 ที่เมืองนอร์ทแธมป์ตันในนอร์ทแธมป์ตันเชอร์ในอังกฤษ เป็นการต่อสู้ระหว่างกองทัพของฝ่ายราชวงศ์แลงคาสเตอร์ที่นำโดยพระเจ้าเฮนรีที่ 6 และฮัมฟรีย์ สตาฟฟอร์ด ดยุคแห่งบัคคิงแฮมที่ 1 และฝ่ายราชวงศ์ยอร์คที่นำโดยริชาร์ด เนวิลล์ เอิร์ลแห่งวอริคที่ 16 ผลของยุทธการครั้งนี้ฝ่ายยอร์คได้รับชัยชนะ ในด้านความเสียหายฝ่ายราชวงศ์แลงคาสเตอร์มีผู้เสียชีวิต 300 คน ส่วนฝ่ายราชวงศ์ยอร์คไม่ทราบจำนวน.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองและยุทธการที่นอร์แธมป์ตัน (ค.ศ. 1460) · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการที่เวกฟิลด์

ทธการเวคฟิลด์ (Battle of Wakefield) เป็นยุทธการในสงครามดอกกุหลาบ ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม ค.ศ. 1460 ที่เวคฟิลด์ในมณฑลเวสต์ยอร์คเชอร์ในอังกฤษ เป็นการต่อสู้ระหว่างกองทัพของฝ่ายราชวงศ์แลงคาสเตอร์ผู้มีความจงรักภักดีต่อพระเจ้าเฮนรีที่ 6, พระราชินีมาร์กาเร็ต และพระราชโอรสเจ้าชายเอ็ดเวิร์ดที่ถูกจับตัวไป ฝ่ายนี้นำโดยเฮนรี เพอร์ซีย์ เอิร์ลแห่งนอร์ทธัมเบอร์แลนด์ที่ 3, เฮนรี โบฟอร์ท ดยุคแห่งซัมเมอร์เซ็ทที่ 3 และจอห์น คลิฟฟอร์ด บารอนเดอคลิฟฟอร์ดที่ 9 และฝ่ายตรงข้ามฝ่ายราชวงศ์ยอร์คนำโดยริชาร์ด แพลนทาเจเน็ท ดยุคแห่งยอร์คที่ 3, ริชาร์ด เนวิลล์ เอิร์ลแห่งซอลสบรีที่ 5 และเอ็ดมันด์ เอิร์ลแห่งรัทแลนด์ ผลของยุทธการครั้งนี้ฝ่ายแลงคาสเตอร์ได้รับชัยชนะ กองทัพฝ่ายยอร์คถูกทำลายและดยุคแห่งยอร์คเสียชีวิตในสนามร.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองและยุทธการที่เวกฟิลด์ · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการที่เอ็ดจ์โคทมัวร์

ทธการเอ็ดจโคทมัวร์ (Battle of Edgecote Moor) เป็นยุทธการในสงครามดอกกุหลาบ ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม ค.ศ. 1469 ที่เดนสมัวร์ในมณฑลนอร์ทแธมป์ตันเชอร์ในอังกฤษ เป็นการต่อสู้ระหว่างกองทัพของฝ่ายราชวงศ์แลงคาสเตอร์ที่นำโดยริชาร์ด เนวิลล์ เอิร์ลแห่งวอริคที่ 16 และฝ่ายราชวงศ์ยอร์คที่นำโดยวิลเลียม เฮอร์เบิร์ต เอิร์ลแห่งเพมโบรคที่ 1 ผลของยุทธการครั้งนี้แลงคาสเตอร์เป็นฝ่ายได้รับชัยชน.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองและยุทธการที่เอ็ดจ์โคทมัวร์ · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการที่เซนต์ออลบันส์ครั้งที่ 1

ทธการเซนต์อัลบันส์ครั้งที่ 1 (First Battle of St Albans) เป็นยุทธการแรกของสงครามดอกกุหลาบที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม ค.ศ. 1455 ที่เซนต์อัลบันส์ ราว 35 กิโลเมตรเหนือกรุงลอนดอนในมณฑลฮาร์ทฟอร์ดเชอร์ในอังกฤษ เป็นการต่อสู้ระหว่างกองทัพของฝ่ายราชวงศ์แลงคาสเตอร์ที่นำโดยเอ็ดมันด์ โบฟอร์ท ดยุคแห่งซัมเมอร์เซ็ทที่ 1 และฝ่ายราชวงศ์ยอร์คที่นำโดยริชาร์ด แพลนทาเจเน็ท ดยุคแห่งยอร์คที่ 3 และริชาร์ด เนวิลล์ เอิร์ลแห่งวอริคที่ 16 ผลของยุทธการครั้งนี้ฝ่ายราชวงศ์ยอร์คได้รับชัยชนะ ในด้านความเสียหายฝ่ายแลงคาสเตอร์มีผู้เสียชีวิต 300 คน รวมทั้งดยุคแห่งซัมเมอร์เซ็ท แต่ฝ่ายราชวงศ์ยอร์คมีไม่ทราบจำนวน นอกจากนั้นฝ่ายยอร์คยังจับตัวพระเจ้าเฮนรีที่ 6 ได้ และตั้งตนเป็นผู้ปกครองอังกฤษ.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองและยุทธการที่เซนต์ออลบันส์ครั้งที่ 1 · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการที่เซนต์ออลบันส์ครั้งที่ 2

ทธการเซนต์อัลบันส์ครั้งที่ 2 (Second Battle of St Albans) เป็นยุทธการในสงครามดอกกุหลาบ ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1461 ที่เซนต์อัลบันส์ในฮาร์ทฟอร์ดเชอร์ในอังกฤษ เป็นการต่อสู้ระหว่างกองทัพของฝ่ายราชวงศ์แลงคาสเตอร์ที่นำโดยพระราชินีมาร์กาเร็ต และฝ่ายราชวงศ์ยอร์คที่นำโดยเอิร์ลแห่งวอริคที่ 16 ผลของยุทธการครั้งนี้แลงคาสเตอร์เป็นฝ่ายได้รับชัยชนะ ในด้านความเสียหายของทั้งสองฝ่ายไม่มีหลักฐานแน่นอนที่ระบุไว้.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองและยุทธการที่เซนต์ออลบันส์ครั้งที่ 2 · ดูเพิ่มเติม »

ยุคราชวงศ์เหนือ-ใต้

ราชวงศ์เว่ยเหนือ (ฟ้า) และ ราชวงศ์หลิวซ่ง (เลือดหมู) ในปี ค.ศ. 440 ราชวงศ์เหนือ-ใต้ในช่วงปี ค.ศ. 560 ยุคราชวงศ์เหนือ-ใต้ (Northern and Southern dynasties) ยุค สงครามกลางเมือง และยุคแห่งความวุ่นวายทางการเมืองยุคหนึ่งใน ประวัติศาสตร์จีน อยู่ในช่วงปี ค.ศ. 420 - ค.ศ. 589 ก่อนที่ จักรพรรดิสุยเหวิน ปฐมจักรพรรดิแห่ง ราชวงศ์สุย จะสามารถพิชิต ราชวงศ์โจวเหนือ และรวบรวมแผ่นดินเป็นปึกแผ่นได้สำเร็จเมื่อปี ค.ศ. 589.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองและยุคราชวงศ์เหนือ-ใต้ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐบาลพลัดถิ่น

รัฐบาลพลัดถิ่น (government in exile) เป็นกลุ่มการเมืองซึ่งอ้างตัวเป็นรัฐบาลที่ชอบด้วยกฎหมายของรัฐเอกราชรัฐหนึ่ง แต่ไม่อาจใช้อำนาจตามกฎหมายในรัฐนั้น และจำต้องพำนักอยู่นอกรัฐดังกล่าว รัฐบาลพลัดถิ่นมักคาดหวังว่า วันหนึ่งจะได้กลับคืนบ้านเมืองและครองอำนาจอย่างเป็นทางการอีกครั้ง รัฐบาลพลัดถิ่นต่างจากรัฐตกค้าง (rump state) ตรงที่รัฐตกค้างยังสามารถควบคุมส่วนหนึ่งส่วนใดในดินแดนเดิมได้อยู่ เช่น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง แม้จักรวรรดิเยอรมันเข้ายึดครองประเทศเบลเยียมได้เกือบทั้งประเทศ แต่ประเทศเบลเยียมและพันธมิตรยังครองภาคตะวันตกซึ่งเป็นส่วนน้อยของประเทศได้อยู่ จึงชื่อว่าเป็นรัฐตกค้าง ถ้าเป็นรัฐบาลพลัดถิ่นจะตรงกันข้าม คือ ไม่สามารถครอบครองดินแดนไว้ได้เลย รัฐบาลพลัดถิ่นมักมีขึ้นในช่วงการรบซึ่งดินแดนถูกยึดครองไป หรือมักเป็นผลมาจากสงครามกลางเมือง การปฏิวัติ หรือรัฐประหาร เช่น ระหว่างที่เยอรมนีขยายดินแดนในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง รัฐบาลยุโรปหลายชาติได้เข้าลี้ภัยในสหราชอาณาจักรเพื่อไม่ตกอยู่ในกำมือพวกนาซี รัฐบาลพลัดถิ่นยังอาจจัดตั้งขึ้นเนื่องจากเชื่อถือกันอย่างกว้างขวางว่า รัฐบาลซึ่งกำลังผ่านบ้านครองเมืองอยู่นั้นขาดความชอบธรรม เช่น หลังเกิดสงครามกลางเมืองซีเรีย พันธมิตรกองทัพปฏิวัติและฝ่ายค้านซีเรียแห่งชาติ (National Coalition for Syrian Revolutionary and Opposition Forces) ได้รับการจัดตั้งขึ้นโดยมุ่งหมายจะล้มล้างการปกครองของพรรคบะอัธ (Ba'ath Party) ซึ่งกำลังอยู่ในอำนาจ รัฐบาลพลัดถิ่นจะมีประสิทธิภาพหรือไม่ เบื้องต้นขึ้นอยู่กับว่า ได้รับการสนับสนุนมากหรือไม่ ไม่ว่าจะเป็นการสนับสนุนจากรัฐบาลต่างชาติหรือจากพลเมืองประเทศตนเอง รัฐบาลพลัดถิ่นบางชุดกลายเป็นกองกำลังอันน่าเกรงขาม เพราะสามารถท้าทายผู้ปกครองประเทศนั้น ๆ ได้อย่างฉกาจฉกรรจ์ ขณะที่รัฐบาลพลัดถิ่นอื่น ๆ ส่วนใหญ่มักมีสถานะเชิงสัญลักษณ์เท่านั้น ปรากฏการณ์รัฐบาลพลัดถิ่นมีมาก่อนคำว่า "รัฐบาลพลัดถิ่น" จะได้รับการใช้จริง ในยุคกษัตริย์ พระเจ้าแผ่นดินหรือราชวงศ์ที่ถูกอัปเปหิเคยตั้งราชสำนักพลัดถิ่น เช่น ราชวงศ์สจวร์ตซึ่งถูกโอลิเวอร์ ครอมเวล (Oliver Cromwell) ถอดจากบัลลังก์ ก็ไปตั้งราชสำนักพลัดถิ่น และราชวงศ์บูร์บง (House of Bourbon) ก็ทำเช่นเดียวกันในช่วงปฏิวัติฝรั่งเศสและช่วงนโปเลียน (Napoleon) เถลิงอำนาจ ครั้นเมื่อระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญแพร่หลายขึ้น รัฐบาลกษัตริย์พลัดถิ่นก็เริ่มมีนายกรัฐมนตรีด้วยเหมือนกัน เช่น รัฐบาลพลัดถิ่นเนเธอร์แลนด์ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองตั้ง Pieter Sjoerds Gerbrandy เป็นนายกรัฐมนตรี.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองและรัฐบาลพลัดถิ่น · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์ยอร์ก

อกกุหลาบขาว สัญลักษณ์ราชวงศ์ยอร์คWarsoftheroses.com, Wars of the Roses - http://www.warsoftheroses.com/york.cfmhttp://www.warsoftheroses.com/york.cfm ราชวงศ์ยอร์ค (House of York) เป็นสาขาหนึ่งของ ราชวงศ์แพลนทาเจเน็ท ของ อังกฤษ ราชวงศ์ยอร์คเป็นฝ่ายตรงข้ามของ ราชวงศ์แลงคาสเตอร์ ใน สงครามดอกกุหลาบ ซึ่งเป็น สงครามกลางเมือง ในการแย่ง ราชบัลลังก์อังกฤษ ซึ่งมีผลกระทบกระเทือนต่อ ราชอาณาจักรอังกฤษ และ ราชอาณาจักรเวลส์ ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 15 ชื่อของราชวงศ์ตั้งตามชื่อ เอ็ดมันด์ แลงลีย์ พระราชโอรสองค์ที่สี่ใน พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 ผู้มีตำแหน่งเป็นดยุคแห่งยอร์ค สัญลักษณ์ของราชวงศ์แลงคาสเตอร์คือดอกกุหลาบขาวแห่งยอร์ค พระเจ้าเฮนรีที่ 7 ทรงยุติการแย่งราชบัลลังก์ใน สงครามดอกกุหลาบ ระหว่างราชวงศ์แลงคาสเตอร์กับราชวงศ์ยอร์คโดยการเสกสมรสกับ เอลิซาเบธ แห่งยอร์ค พระราชธิดาของ พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 และตั้งราชวงศ์ใหม่ที่เรียกว่า “ราชวงศ์ทิวดอร์” กษัตริย์ราชวงศ์ยอร์ค ของอังกฤษ.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองและราชวงศ์ยอร์ก · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์แลงคัสเตอร์

'''ราชวงศ์แลงคัสเตอร์'''Warsoftheroses.com, Wars of the Roses - House of Lancasterhttp://www.warsoftheroses.com/lancaster.cfm ราชวงศ์แลงคัสเตอร์ (House of Lancaster) เป็นสาขาหนึ่งของราชวงศ์แพลนทาเจเน็ทของอังกฤษ ราชวงศ์แลงคัสเตอร์เป็นฝ่ายหนึ่งในสงครามดอกกุหลาบ ซึ่งเป็นสงครามกลางเมืองในการแย่งราชบัลลังก์อังกฤษ และมีผลกระทบกระเทือนต่อราชอาณาจักรอังกฤษและราชอาณาจักรเวลส์ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 15 ชื่อของราชวงศ์ตั้งตามชื่อจอห์นแห่งกอนท์ พระราชโอรสของ พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 ผู้มีตำแหน่งเป็นดยุคแห่งแลงคัสเตอร์ สัญลักษณ์ของราชวงศ์แลงคัสเตอร์คือ ดอกกุหลาบแดงแห่งแลงคัสเตอร์ ศัตรูของราชวงศ์แลงคัสเตอร์คือราชวงศ์ยอร์ค ความเป็นคู่แข่งระหว่างแลงคัสเตอร์กับยอร์ค ซึ่งกลายมาเป็นมลฑลสืบต่อกันมาจนถึงทุกวันนี้ แต่อย่างไม่เป็นทางการ เช่น การแข่งกีฬาประจำปีระหว่างสองมหาวิทยาลัยแลงคัสเตอร์ และ มหาวิทยาลัยยอร์ค ที่เรียกว่า “การแข่งขันกีฬาดอกกุหลาบ” (Roses Tournament) ราชวงศ์แลงคัสเตอร์มาสิ้นสุดลงในศึกทูคสบรี (Battle of Tewkesbury) ในปี..

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองและราชวงศ์แลงคัสเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อสนธิสัญญา

การลงนามในสนธิสัญญาแวร์ซายในห้องกระจกของพระราชวังแวร์ซายในฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ. 1919เพื่อยุติสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง รายชื่อสนธิสัญญา เป็นรายชื่อข้อตกลงทางประวัติศาสตร์ฉบับที่สำคัญ ระหว่างรัฐ กองทัพ รัฐบาล และกลุ่มชน.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองและรายชื่อสนธิสัญญา · ดูเพิ่มเติม »

วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2548–2553

วิกฤตการณ์การเมืองไท..

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองและวิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2548–2553 · ดูเพิ่มเติม »

วิกฤตการณ์วังหน้า

กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ ในช่วงต้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประมาณ..

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองและวิกฤตการณ์วังหน้า · ดูเพิ่มเติม »

วิกฤตการณ์คริสต์ศตวรรษที่ 3

ักรวรรดิที่ถูกแบ่งแยกในปี ค.ศ. 271: จักรวรรดิกอลสีเขียว, จักรวรรดิพาลมิรีนสีเหลือง และจักรวรรดิโรมันสีแดง วิกฤติการณ์คริสต์ศตวรรษที่ 3 (Discrimen Tertii Saeculi, Crisis of the Third Century) หรืออนาธิปไตยทางทหาร (Military Anarchy หรือวิกฤติการณ์จักรวรรดิ (Imperial Crisis; ค.ศ. 235–284) เป็นช่วงระยะเวลาที่จักรวรรดิโรมันประสบวิกฤติการณ์ที่แทบจะนำความสิ้นสุดมาสู่จักรวรรดิจากปัญหาหลายอย่างรวมกันที่รวมทั้งการรุกรานของศัตรู, สงครามกลางเมือง, โรคระบาด, และความตกต่ำทางเศรษฐกิจ วิกฤติการณ์เริ่มด้วยการลอบสังหารของจักรพรรดิอเล็กซานเดอร์ เซเวรัส โดยทหารของพระองค์เองที่เป็นจุดเริ่มต้นของห้าสิบปีของความปั่นป่วนที่ในระหว่างนั้นก็มีผู้อ้างตนเป็นจักรพรรดิถึง 20 ถึง 25 คน ส่วนใหญ่แล้วก็เป็นนายพลผู้มีชื่อเสียงของกองทัพโรมันที่เข้ายึดอำนาจทั้งหมดหรือบางส่วนของจักรวรรดิ เมื่อมาถึงปี ค.ศ. 258 ถึงปี ค.ศ. 260 จักรวรรดิโรมันก็แบ่งออกเป็นสามส่วน: จักรวรรดิกอล ที่รวมทั้งจังหวัดโรมันแห่งกอล, บริเตน และฮิสปาเนีย (Hispania); และจักรวรรดิพาลไมรีน ที่รวมทั้งจังหวัดทางตะวันออกของซีเรีย, ปาเลสไตน์ และเอกิบตัส (Aegyptus) สองจักรวรรดิแยกตัวออกจากจักรวรรดิโรมันที่มีศูนย์กลางอยู่ในอิตาลี วิกฤติการณ์ยุติลงด้วยการขึ้นครองราชย์ของจักรพรรดิไดโอคลีเชียน.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองและวิกฤตการณ์คริสต์ศตวรรษที่ 3 · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระเจ้าเลโอโปลด์ที่ 3 แห่งเบลเยียม

มเด็จพระราชาธิบดีเลโอโปลด์ที่ 3 แห่งเบลเยียม (3 พฤศจิกายน 1901 - 25 กันยายน 1983) เป็นพระมหากษัตริย์แห่งชาวเบลเยียม ตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองและสมเด็จพระเจ้าเลโอโปลด์ที่ 3 แห่งเบลเยียม · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมนอร์มัน

องทางเดินกลางของมหาวิหารเดอแรมที่ใช้ซุ้มโค้งครึ่งวงกลมสองข้างแม้ว่าจะมีการใช้โค้งแหลมบนเพดานเหนือช่องทางเดินกลางที่เป็นการนำทางของสถาปัตยกรรมกอทิก สถาปัตยกรรมนอร์มัน (Norman architecture) เป็นคำที่ใช้ในการบรรยายลักษณะสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ที่วิวัฒนาการโดยนอร์มันในดินแดนต่างๆ ที่ได้เข้าปกครองหรือมีอิทธิพลในระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 11 และ 12 โดยเฉพาะในการบรรยายถึงสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์แบบอังกฤษ นอร์มันเป็นผู้ริเริ่มการก่อสร้างปราสาท, ป้อมปราการที่รวมทั้งหอกลางแบบนอร์มัน, สำนักสงฆ์, แอบบี, คริสต์ศาสนสถาน และมหาวิหารเป็นจำนวนมากในอังกฤษ ในลักษณะการใช้โค้งกลม (โดยเฉพาะรอบหน้าต่างและประตู) และมีลักษณะหนาหนักเมื่อเทียบกับสถาปัตยกรรมท้องถิ่น ลักษณะสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ที่กล่าวนี้เริ่มขึ้นในนอร์ม็องดีและแผ่ขยายไปทั่วยุโรปโดยเฉพาะในอังกฤษซึ่งเป็นที่ที่มีการวิวัฒนาการมากที่สุดและยังคงมีสิ่งก่อสร้างจากยุคนั้นที่ยังหลงเหลืออยู่มากกว่าประเทศอื่น ในขณะเดียวกันตระกูลโอตวิลล์ (Hauteville family) ซึ่งเป็นตระกูลนอร์มันที่ปกครองซิซิลีก็สร้างลักษณะสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์อีกลักษณะหนึ่งที่มีอิทธิพลจากสถาปัตยกรรมไบแซนไทน์และซาราเซ็นที่ก็เรียกว่า “สถาปัตยกรรมนอร์มัน” เช่นกันหรือบางครั้งก็เรียกว่า “สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ซิซิลี”.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองและสถาปัตยกรรมนอร์มัน · ดูเพิ่มเติม »

สงครามกลางเมืองอังกฤษ

“หนูเห็นพ่อครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่?” โดย วิลเลียม เฟรดเดอริค ยีมส์ (William Frederick Yeames) เป็นภาพรัฐสภาถามลูกชายของฝ่ายนิยมกษัตริย์ระหว่างสงครามกลางเมือง สงครามกลางเมืองอังกฤษ (English Civil War; ค.ศ. 1642 ถึงปี ค.ศ. 1651) เป็นสงครามกลางเมืองของอังกฤษ, สกอตแลนด์ และไอร์แลนด์ที่ต่อเนื่องกันหลายครั้งระหว่างฝ่ายรัฐสภา และฝ่ายกษัตริย์นิยม สงครามกลางเมืองอังกฤษครั้งที่ 1 เกิดขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1642 ถึงปี ค.ศ. 1646; ครั้งที่ 2 ระหว่างปี ค.ศ. 1648 ถึงปี ค.ศ. 1649 เป็นสงครามของความขัดแย้งระหว่างผู้สนับสนุนพระเจ้าชาลส์ที่ 1 ฝ่ายหนึ่งและผู้สนับสนุนรัฐสภายาวอีกฝ่ายหนึ่ง ขณะที่ครั้งที่ 3 ที่เกิดขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1649 ถึงปี ค.ศ. 1651 เป็นการต่อสู้ระหว่างผู้สนับสนุนพระเจ้าชาลส์ที่ 2 และผู้สนับสนุนรัฐสภารัมพ์อีกฝ่ายหนึ่ง สงครามกลางเมืองจบลงด้วยชัยชนะของฝ่ายรัฐสภาที่ยุทธการวูสเตอร์เมื่อวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 1651 ผลของสงครามกลางเมืองครั้งที่สองนำไปสู่การปลงพระชนม์ของพระเจ้าชาลส์ที่ 1, การลี้ภัยของพระราชโอรสพระเจ้าชาลส์ที่ 2 และการเปลี่ยนระบบการปกครองของอังกฤษจากระบอบพระมหากษัตริย์ไปเป็นระบบเครือจักรภพแห่งอังกฤษ ระหว่างปี ค.ศ. 1649 ถึงปี ค.ศ. 1653 และต่อจากนั้นไปเป็นระบบรัฐผู้พิทักษ์ภายใต้การนำของโอลิเวอร์ ครอมเวลล์ระหว่างปี ค.ศ. 1653 ถึงปี ค.ศ. 1659 เอกสิทธิ์ในการนับถือคริสต์ศาสนาของนิกายเชิร์ชออฟอิงแลนด์ในอังกฤษสิ้นสุดลงด้วยการรวม การปกครองโดยโปรเตสแตนต์ (Protestant Ascendancy) ในไอร์แลนด์ ในด้านรัฐธรรมนูญสงครามครั้งนี้เป็นการวางรากฐานว่าการปกครองระบอบพระมหากษัตริย์ไม่สามารถทำได้โดยมิได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา แต่อันที่จริงแล้วปรัชญานี้ก็มิได้ปฏิบัติกันอย่างจริงจังจนกระทั่งถึงสมัยการปฏิวัติอันรุ่งโรจน์ในปลายคริสต์ศตวรรษ.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองและสงครามกลางเมืองอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

สงครามกลางเมืองอังกฤษครั้งที่ 1

“หนูเห็นพ่อครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่?” โดย วิลเลียม เฟรดเดอริค ยีมส์ (William Frederick Yeames) เป็นภาพรัฐสภาถามลูกชายของฝ่ายนิยมกษัตริย์ระหว่างสงครามกลางเมือง สงครามกลางเมืองอังกฤษครั้งที่ 1 (First English Civil War) (ค.ศ. 1642 ถึงปี ค.ศ. 1646) เป็นสงครามกลางเมืองสงครามแรกในสามสงครามกลางเมืองอังกฤษ สงครามกลางเมืองอังกฤษเป็นสงครามต่อเนื่องฝ่ายรัฐสภา และฝ่ายกษัตริย์นิยมที่เกิดขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1642 ถึงปี ค.ศ. 1651 สงครามกลางเมืองอังกฤษครั้งที่ 1 เกิดขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1642 ถึงปี ค.ศ. 1646; ครั้งที่ 2 ระหว่างปี ค.ศ. 1648 ถึงปี ค.ศ. 1649 เป็นสงครามของความขัดแย้งระหว่างผู้สนับสนุนพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 ฝ่ายหนึ่งและผู้สนับสนุนรัฐสภายาวอีกฝ่ายหนึ่ง ขณะที่ครั้งที่ 3 ที่เกิดขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1649 ถึงปี ค.ศ. 1651 เป็นการต่อสู้ระหว่างผู้สนับสนุนพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 และผู้สนับสนุนรัฐสภารัมพ์อีกฝ่ายหนึ่ง สงครามกลางเมืองจบลงด้วยชัยชนะของฝ่ายรัฐสภาที่ยุทธการวูสเตอร์เมื่อวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 1651.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองและสงครามกลางเมืองอังกฤษครั้งที่ 1 · ดูเพิ่มเติม »

สงครามกลางเมืองอิรัก (พ.ศ. 2557–ปัจจุบัน)

งครามกลางเมืองอิรักเป็นการขัดกันด้วยอาวุธที่กำลังดำเนินอยู่ในตะวันออกกลาง ในปี 2557 การก่อการกำเริบอิรักบานปลายเป็นสงครามกลางเมืองด้วยรัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์พิชิตฟัลลูจาห์ (Fallujah) และโมซูลและพื้นที่สำคัญในภาคเหนือของประเทศอิรัก ส่งผลให้นายกรัฐมนตรีนูรี อัล-มาลิกี (Nouri al-Maliki) ลาออก สหรัฐ อิหร่าน ซีเรียและประเทศอื่นอีกกว่าสิบสองประเทศโจมตีทางอากาศ ทหารอิหร่านเข้าร่วมรบภาคพื้นดิน และรัสเซียช่วยเหลือทางทหารต่ออิรัก.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองและสงครามกลางเมืองอิรัก (พ.ศ. 2557–ปัจจุบัน) · ดูเพิ่มเติม »

สงครามกลางเมืองอเมริกา

งครามกลางเมืองอเมริกา (American Civil War) เป็นสงครามกลางเมืองซึ่งเกิดขึ้นในสหรัฐระหว่างปี 1861 ถึง 1865 สืบเนื่องจากข้อโต้แย้งยืดเยื้อเกี่ยวกับทาส ระหว่างฝ่ายหนึ่งเป็นกลุ่มชาตินิยมสหภาพซึ่งประกาศความภักดีต่อรัฐธรรมนูญสหรัฐ กับกลุ่มแบ่งแยกดินแดนสมาพันธรัฐซึ่งสนับสนุนสิทธของรัฐในการขยายทาสอีกฝ่ายหนึ่ง ในบรรดา 34 รัฐของสหรัฐในเดือนกุมภาพันธ์ 1861 เจ็ดรัฐทาสในภาคใต้ประกาศแยกตัวออกจากสหรัฐเพื่อตั้งเป็นสมาพันธรัฐอเมริกา หรือ "ฝ่ายใต้" สมาพันธรัฐเติบโตจนมี 11 รัฐทาส รัฐบาลสหรัฐไม่เคยรับรองทางการทูตซึ่งสมาพันธรัฐ เช่นเดียวกับประเทศอื่นทุกประเทศ (แม้สหราชอาณาจักรและฝรั่งเศสจะให้สถานภาพคู่สงคราม) รัฐที่ยังภักดีต่อสหรัฐ (รวมทั้งรัฐชายแดนซึ่งทาสชอบด้วยกฎหมาย) เรียก "สหภาพ" หรือ "ฝ่ายเหนือ" สงครามเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 12 เมษายน..

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองและสงครามกลางเมืองอเมริกา · ดูเพิ่มเติม »

สงครามกลางเมืองซีเรีย

งครามกลางเมืองซีเรีย เป็นการขัดกันด้วยอาวุธหลายฝ่ายที่กำลังดำเนินอยู่ในประเทศซีเรีย โดยมีต่างชาติเข้าแทรกแซง ความไม่สงบเริ่มในต้นฤดูใบไม้ผลิปี 2554 ในบริบทการประท้วงอาหรับสปริง โดยมีการประท้วงทั่วประเทศต่อรัฐบาลประธานาธิบดีบัชชาร อัลอะซัด ซึ่งกำลังของเขาสนองโดยการปราบปรามอย่างรุนแรง ความขัดแย้งค่อย ๆ กลายจากการประท้วงของประชาชนเป็นการกบฏมีอาวุธหลังการล้อมทางทหารหลายเดือน รายงานสหประชาชาติฉบับหนึ่งในปลายปี 2555 อธิบายความขัดแย้งว่า "มีสภาพนิยมนิกาย (sectarian) อย่างเปิดเผย" ระหว่างกำลังรัฐบาล ทหารอาสาสมัครซึ่งส่วนใหญ่เป็นอะละวี (Alawite) และกลุ่มชีอะฮ์อื่น ต่อสู้กับกลุ่มกบฏซึ่งมีซุนนีครอบงำเป็นส่วนใหญ่ แม้ทั้งฝ่ายค้านและกำลังรัฐบาลต่างปฏิเสธ ทีแรกรัฐบาลซีเรียอาศัยกองทัพเป็นหลัก แต่ตั้งแต่ปี 2557 หน่วยป้องกันท้องถิ่นซึ่งประกอบจากอาสาสมัครที่เรียก กำลังป้องกันชาติ (National Defence Force) ได้มีบทบาทมากขึ้น ค่อย ๆ กลายเป็นกำลังทหารหลักของรัฐซีเรีย รัฐบาลซีเรียได้รับความช่วยเหลือทางเทคนิค การเงิน การทหารและการเมืองจากประเทศรัสเซีย อิหร่านและอิรักมาตั้งแต่ต้น ในปี 2556 ฮิซบุลลอฮ์ที่อิหร่านสนับสนุนเข้าร่วมสงครามโดยสนับสนุนกองทัพซีเรีย รัสเซียเข้าร่วมปฏิบัติการทางอากาศตั้งแต่เดือนกัยายน 2558 เนื่องจากการเกี่ยวพันของต่างชาติ ความขัดแย้งนี้จึงถูกเรียกว่าเป็น สงครามตัวแทน ระหว่างชาติซุนนีและชีอะฮ์ภูมิภาค ที่สำคัญที่สุดคือความขัดแย้งตัวแทนระหว่างซาอุดีอาระเบียและอิหร่าน ในเดือนกันยายน 2558 รัสเซีย อิรัก อิหร่านและซีเรียตั้งห้องปฏิบัติการร่วม (ศูนย์สารสนเทศ) ในกรุงแบกแดดเพื่อประสานงานกิจกรรมของพวกตนในประเทศซีเรีย วันที่ 30 กันยายน 2558 ประเทศรัสเซียเริ่มการทัพทางอากาศของตนโดยเข้ากับฝ่ายและด้วยคำขอของรัฐบาลซีเรีย จึงเกิดสงครามตัวแทนระหว่างสหรัฐและรัสเซีย ซึ่งนักวิจารณ์บางส่วนบรรยายสถานการณ์ว่าเป็น "ก่อนสงครามโลกโดยมีประเทศเกือบโหลพัวพันในสองความขัดแย้งที่ทับซ้อนกัน" ฝ่ายค้านมีอาวุธประกอบด้วยหลายกลุ่มซึ่งก่อตั้งในห้วงความขัดแย้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กองทัพซีเรียเสรี (FSA) ซึ่งเป็นผู้แรกที่หยิบอาวุธในปี 2554 และแนวร่วมอิสลามซึ่งก่อตั้งในปี 2556 ฝ่ายทางตะวันออก รัฐอิสลามอิรักและเลแวนต์ (ISIL) กลุ่มนักรบญิฮัดซึ่งกำเนิดในประเทศอิรัก ได้ชัยชนะทางทหารอย่างรวดเร็วทั้งในประเทศซีเรียและอิรัก จนลงเอยด้วยพิพาทกับกบฏอื่น ฝ่ายแนวร่วมนานาชาติที่มีสหรัฐเป็นผู้นำมีการสถาปนาขึ้นในปี 2557 โดยมีวัตถุประสงค์ที่ประกาศไว้ว่าเพื่อตอบโต้ ISIL และได้ดำเนินการโจมตีทางอากาศต่อ ISIL ในซีเรีย ตลอดจนเป้าหมายบะอัธซีเรียและให้การสนับสนุนต่อสหพันธรัฐประชาธิปไตยซีเรียเหนือ สหรัฐเลิกให้การสนับสนุนด้านอาวุธโดยตรงต่อ FSA ในปี 2560; ปลายปี 2560 อิทธิพลและดินแดนควบคุมของ ISIL เสื่อมลง จนซีเรียประกาศว่าประเทศได้รับการปลดปล่อยจาก ISIL แล้ว ด้านตุรกีมีความเกี่ยวข้องในสงครามตั้งแต่ปี 2559 และสนับสนุนฝ่ายค้านซีเรียอย่างแข็งขันและยึดพื้นที่ได้เป็นบริเวณกว้างทางภาคเหนือของประเทศซีเรีย องค์การระหว่างประเทศกล่าวหารัฐบาลซีเรีย ISIL และกำลังฝ่ายค้านอื่นว่าละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรง โดยเกิดการสังหารหมู่หลายครั้ง ความขัดแย้งนี้ทำให้เกิดการย้ายประชากรอย่างสำคัญ ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2558 สหประชาชาติประกาศเริ่มการเจรจาสันติภาพซีเรียเจนีวาที่สหประชาชาติเป็นสื่อกลางอย่างเป็นทางการ โดยการสู้รบยังดำเนินไปโดยไม่มีทีท่าลดลง.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองและสงครามกลางเมืองซีเรีย · ดูเพิ่มเติม »

สงครามการ์ลิสต์ครั้งที่ 1

งครามการ์ลิสต์ครั้งที่ 1 (Primera Guerra Carlista) เป็นสงครามกลางเมืองในสเปนตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองและสงครามการ์ลิสต์ครั้งที่ 1 · ดูเพิ่มเติม »

สงครามร้อยปี

งครามร้อยปี (Hundred Years' War) เป็นชุดความขัดแย้งระหว่าง..

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองและสงครามร้อยปี · ดูเพิ่มเติม »

สงครามสามเฮนรี (ค.ศ. 1584–1598)

งครามสามเฮนรี หรือ สงครามสามอองรี (War of the Three Henrys) (ค.ศ. 1584-ค.ศ. 1589) เป็นสงครามในช่วงสุดท้ายของสงครามกลางเมืองของฝรั่งเศสที่เรียกว่าสงครามศาสนา สงครามสามเฮนรีเป็นสงครามครั้งที่แปดและครั้งสุดท้ายที่เริ่มขึ้นในปี..

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองและสงครามสามเฮนรี (ค.ศ. 1584–1598) · ดูเพิ่มเติม »

สงครามสืบราชบัลลังก์

งครามสืบราชบัลลังก์ หรือ สงครามสืบราชสมบัติ (ภาษาอังกฤษ: War of Succession) คือสงครามที่เกิดจากความขัดแย้งเมื่อมึผู้มีสิทธิในการขึ้นครองบัลลังก์มีมากกว่าหนึ่งคน ผู้มีสิทธิแต่ละคนก็จะมีกำลังหนุนและบางครั้งก็จะมีพันธมิตรจากต่างประเทศเข้าหนุนเพื่ออ้างอิงในสิทธิในการครองบัลลังก์ สงครามสืบราชบัลลังก์เป็นวลีที่มักจะใช้เรียกสงครามที่เกิดขึ้นในยุโรปหลายสงครามในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และไม่จำเป็นจะต้องเป็นสงครามกลางเมืองเท่านั้นเช่นสงครามสืบราชบัลลังก์ออสเตรียซึ่งกลายมาเป็นสงครามระหว่างมหาอำนาจในทวีปยุโรปในคริสต์ศตวรรษที่ 18 สงครามสืบราชบัลลังก์ที่เป็นที่รู้จักกันก็ได้แก่.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองและสงครามสืบราชบัลลังก์ · ดูเพิ่มเติม »

สงครามสืบราชบัลลังก์โปแลนด์

งครามสืบราชบัลลังก์โปแลนด์ (ค.ศ. 1733 - 1738) เป็นสงครามครั้งใหญ่ของชาวยุโรปซึ่งปะทุขึ้นจากสงครามกลางเมืองในประเทศโปแลนด์ อันมีสาเหตุสืบเนื่องมาจากการสืบราชสมบัติต่อจากพระเจ้าออกุสตุสที่ 2 แห่งโปแลนด์ ความขัดแย้งดังกล่าวได้ขยายเป็นวงกว้างจากการที่ชาติมหาอำนาจยุโรปต่างให้การสนับสนุนคู่ขัดแย้งแต่ละฝ่ายโดยมุ่งหวังเรื่องผลประโยชน์แห่งชาติของตนเองเป็นหลัก ฝรั่งเศสและสเปน ซึ่งเป็นชาติที่มีกษัตริย์ผู้ปกครองจากราชวงศ์บูร์บงร่วมกัน พยายามทดสอบกำลังอำนาจของราชวงศ์ฮับส์บูร์กแห่งออสเตรียที่มีอยู่ในยุโรปตะวันตก ราชอาณาจักรปรัสเซียเองก็ทำเช่นเดียวกัน ขณะที่ฝ่ายซัคเซินและรัสเซียได้เคลื่อนพลเพื่อสนับสนุนชัยชนะของโปแลนด์ในตอนท้าย การสู้รบที่เกิดขึ้นไม่กี่ครั้งในโปแลนด์ได้นำผลไปสู่การขึ้นเสวยราชสมบัติของออกุสตุสที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ฝักใฝ่รัสเซียและซัคเซิน โดยได้รับการสนับสนุนทางการเมืองจากราชวงศ์ฮับส์บูร์ก.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองและสงครามสืบราชบัลลังก์โปแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

สงครามออตโตมัน-ฮังการี

งครามออตโตมัน-ฮังการี (Ottoman–Hungarian Wars) เป็นสงครามที่เกิดขึ้นต่อเนื่องกันระหว่างจักรวรรดิฮังการี และ ราชอาณาจักรฮังการี หลังจากสงครามกลางเมืองที่เกิดขึ้นในรัชสมัยการปกครองของจักรพรรดิโรมันราชวงศ์พาลาโอโลกอสแห่งจักรวรรดิไบแซนไทน์ ออตโตมันก็ยึดกาลลิโปลิ (Fall of Gallipoli) และได้รับชัยชนะในยุทธการคอซอวอซึ่งดูจะทำให้ออตโตมันอยู่ในฐานะที่สามารถยึดคาบสมุทรบอลข่านได้ทั้งหมด แต่การรุกรานของออตโตมันในเซอร์เบียทำให้ราชอาณาจักรฮังการีเข้าสู่สงครามในการต่อต้านออตโตมันเพราะทั้งสองฝ่ายต่างก็เห็นประโยชน์ร่วมกันในการยึดดินแดนต่างๆ ในคาบสมุทรบอลข่านที่รวมทั้ง อาณาจักรเดสโพเททเซอร์เบีย บัลแกเรีย ราชรัฐวาลเลเคีย และ ราชรัฐโมลดาเวี.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองและสงครามออตโตมัน-ฮังการี · ดูเพิ่มเติม »

สงครามจินชิน

สงครามจินชิน (Jinshin War) สงครามกลางเมือง ระยะสั้น ๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงปี ค.ศ. 672 - ค.ศ. 673 อันสืบเนื่องมาจากความขัดแย้งเรื่องสิทธิในการสืบ ราชบัลลังก์ดอกเบญจมาศ ภายหลังการสวรรคตของ จักรพรรดิเท็นจิ เมื่อปี ค.ศ. 672 ระหว่าง จักรพรรดิโคบุง พระราชโอรสของจักรพรรดิเท็นจิและ เจ้าชายโออะมะ พระราชอนุชาของจักรพรรดิเท็นจิซึ่งสุดท้ายแล้วเป็นฝ่ายเจ้าชายโออะมะที่ได้รับชัยชนะและสถาปนาพระองค์เองขึ้นเป็น จักรพรรดิเท็มมุ พร้อมกับย้ายราชธานีจาก โอมิ-โอสึ (ปัจจุบันคือ โอสึ, จังหวัดชิงะ) กลับไปยัง อะซุกะ (ปัจจุบันคือ จังหวัดนะระ) หมวดหมู่:ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น หมวดหมู่:ยุคอะซุกะ.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองและสงครามจินชิน · ดูเพิ่มเติม »

สงครามขุนนางครั้งที่สอง

งครามบารอนครั้งที่สอง หรือ สงครามขุนนางครั้งที่สอง (Second Barons' War) เป็นสงครามกลางเมืองในราชอาณาจักรที่เริ่มขึ้นในปี ค.ศ. 1264 และสิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 1267 ระหว่างกลุ่มขุนนางที่นำโดยไซมอนเดอมอนฟอร์ท เอิร์ลแห่งเลสเตอรที่ 6 ในการต่อต้านกองทัพของฝ่านสนับสนุนกษัตริย์ที่นำโดยเจ้าชายเอ็ดเวิร.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองและสงครามขุนนางครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

สงครามขุนนางครั้งที่หนึ่ง

งครามขุนนางครั้งที่หนึ่ง (First Barons' War) (ค.ศ. 1215 - ค.ศ. 1217) เป็นสงครามกลางเมืองที่เกิดขึ้นในราชอาณาจักรอังกฤษ ระหว่างกลุ่มขุนนางผู้ปฏิวัติที่นำโดยโรเบิร์ต ฟิทซวอลเตอร์ผู้ได้รับการสนับสนุนโดยกองทัพฝรั่งเศสภายใต้การนำของเจ้าชายหลุยส์ผู้ต่อมาเป็นพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศสฝ่ายหนึ่ง และสมเด็จพระเจ้าจอห์นอีกฝ่ายหนึ่ง สงครามมีสาเหตุมาจากการที่พระเจ้าจอห์นไม่ทรงยอมรับและปฏิบัติตาม มหากฎบัตร ที่พระองค์เองทรงลงพระนามเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม ค.ศ. 1215 และจากความทะเยอทะยานของเจ้าชายหลุยส์ผู้พยายามยืดเยื้อสงครามให้นานออกไปหลังจากที่ขุนนางผู้ทำการปฏิวัติหลายคนได้หันกลับไปสร้างความสันติกับพระเจ้าจอห์นแล้ว.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองและสงครามขุนนางครั้งที่หนึ่ง · ดูเพิ่มเติม »

สงครามดอกกุหลาบ

ที่ตั้งสำคัญในสงครามดอกกุหลาบ สงครามดอกกุหลาบ (Wars of the Roses) เป็นชุดสงครามราชวงศ์ที่ผู้สนับสนุนราชวงศ์แพลนแทเจเนตสองสายที่เป็นคู่แข่งชิงราชบัลลังก์อังกฤษกัน ได้แก่ ราชวงศ์แลงแคสเตอร์และราชวงศ์ยอร์ก (ซึ่งสัญลักษณ์ตราประจำตระกูล คือ ดอกกุหลาบสีแดงและสีขาวตามลำดับ) ทั้งสองฝ่ายรบกันเป็นช่วงห่าง ๆ กันระหว่างปี 1455 ถึง 1485 แม้จะมีการสู้รบที่เกี่ยวข้องอีกทั้งก่อนหน้าและหลังช่วงนี้ สงครามดังกล่าวเป็นผลจากปัญหาทางสังคมและการเงินหลังสงครามร้อยปี ชัยชนะบั้นปลายเป็นของผู้เรียกร้องเชื้อสายแลงแคสเตอร์ค่อนข้างห่าง เฮนรี ทิวดอร์ ผู้กำราบพระเจ้าริชาร์ดที่ 3 พระมหากษัตริย์พระองค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์ยอร์ก และอภิเษกสมรสกับเอลิซาเบธแห่งยอร์ก พระราชธิดาในพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 เพื่อรวมสองราชวงศ์ หลังจากนั้น ราชวงศ์ทิวดอร์ปกครองอังกฤษและเวลส์เป็นเวลา 117 ปี เฮนรีแห่งโบลิงโบรกทรงก่อตั้งราชวงศ์แลงแคสเตอร์ขณะทรงราชย์ในปี 1399 เมื่อทรงถอดพระเจ้าริชาร์ดที่ 2 พระภราดร (ลูกพี่ลูกน้อง) จากราชสมบัติ พระราชโอรส พระเจ้าเฮนรีที่ 5 ยังทรงรักษาการอยู่ในราชสมบัติของตระกูลไว้ได้ แต่เมื่อพระองค์เสด็จสวรรคตในปี 1422 พระเจ้าเฮนรีที่ 6 ทายาทของพระองค์ เป็นทารก การอ้างสิทธิในราชบัลลังก์ของราชวงศ์แลงแคสเตอร์สืบมาจากจอห์นแห่งกอนต์ ดยุกที่ 1 แห่งแลงแคสเตอร์ พระราชโอรสที่ยังมีพระชนมชีพพระองค์ที่สามในพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 สิทธิในราชบัลลังก์ของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 6 ถูกริชาร์ด ดยุคแห่งยอร์คคัดค้าน ผู้สามารถอ้างว่าสืบเชื้อสายจากไลโอเนลแห่งแอนต์เวิร์ป และเอ็ดมันด์แห่งแลงลีย์ ดยุกที่ 1 แห่งยอร์กพระราชโอรสที่ยังมียังมีพระชนมชีพพระองค์ที่สองและสี่ในพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 ริชาร์ดแห่งยอร์ค ผู้ดำรงตำแหน่งสำคัญของรัฐหลายตำแหน่ง ทะเลาะกับราชวงศ์แลงแคสเตอร์สำคัญ ๆ ในราชสำนักและกับมาร์กาเรตแห่งอ็องฌู พระมเหสีในพระเจ้าเฮนรีที่ 6 แม้เคยเกิดการปะทะกันด้วยอาวุธระหว่างผู้สนับสนุนราชวงศ์ยอร์กและแลงแคสเตอร์มาก่อนหน้านั้นแล้ว แต่การสู้รบเปิดเผยครั้งแรกเกิดขึ้นในปี 1455 ที่ยุทธการที่เซนต์ออลบันส์ครั้งที่ 1 ราชวงศ์แลงแคสเตอร์คนที่โดดเด่นหลายคนเสียชีวิต แต่ทายาทที่เหลือยังพยาบาทกับริชาร์ด แม้จะมีการฟื้นฟูสันติภาพชั่วคราว มาร์กาเรตแห่งอ็องฌู ดลให้ราชวงศ์แลงแคสเตอร์คัดค้านอิทธิพลของเอิร์ลแห่งยอร์ค การสู้รบดำเนินต่ออย่างรุนแรงขึ้นในปี 1459 เอิร์ลแห่งยอร์คและผู้สนับสนุนของพระองค์ถูกบีบให้หนีออกนอกประเทศ แต่ผู้สนับสนุนที่โดดเด่นที่สุดของพระองค์คนหนึ่ง เอิร์ลแห่งวอริก บุกครองอังกฤษจากกาเลและสามารถจับพระเจ้าเฮนรีเป็นเชลยได้ที่ยุทธการที่นอร์แธมป์ตัน เอิร์ลแห่งยอร์คเสด็จกลับประเทศและเป็นผู้พิทักษ์อังกฤษ (Protector of England) แต่ทรงถูกปรามมิให้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์ มาร์กาเร็ตและอภิชนแลงแคสเตอร์ผู้ไม่ยอมปรองดองประชุมกำลังทางเหนือของอังกฤษ และเมื่อเอิร์ลแห่งยอร์คเคลื่อนทัพขึ้นเหนือไปปราบ พระองค์กับเอ็ดเวิร์ด พระราชโอรสพระองค์ที่สอง ถูกปลงพระชนม์ทั้งคู่ที่ยุทธการเวคฟีลด์ในเดือนธันวาคม 1460 กองทัพแลงแคสเตอร์รุกลงใต้และจับพระเจ้าเฮนรีเป็นเชลยได้อีกในยุทธการที่เซนต์ออลบันส์ครั้งที่ 2 แต่ไม่สามารถยึดครองกรุงลอนดอนไว้ได้ และถอยกลับไปทางเหนือในเวลาต่อมา พระราชโอรสองค์โตของเอิร์ลแห่งยอร์ค เอ็ดเวิร์ด เอิร์ลแห่งมาร์ช ได้รับการประกาศเป็นพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 พระองค์ระดมกองทัพราชวงศ์ยอร์คและได้ชัยเด็ดขาดที่ยุทธการที่โทว์ทันเมื่อเดือนมีนาคม 1461 หลังการลุกขึ้นต่อต้านของแลงแคสเตอร์ทางเหนือถูกกำราบในปี 1464 และพระเจ้าเฮนรีถูกจับเป็นเชลยอีกครั้ง พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดทะเลาะกับเอิร์ลแห่งวอริก สมญา "ผู้สร้างกษัตริย์" (Kingmaker) ผู้สนับสนุนและที่ปรึกษาหลักของพระองค์ และยังแตกแยกกับพระสหายหลายคน และกระทั่งพระบรมวงศานุวงศ์ โดยทรงสนับสนุนตระกูลของสมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธ วูดวิลล์ซึ่งมีอำนาจขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งพระองค์ทรงอภิเษกสมรสด้วยอย่างลับ ๆ ทีแรก เอิร์ลแห่งวอริกพยายามยกน้องชาย จอร์จ ดยุกแห่งแคลเรนซ์ เป็นพระมหากษัตริย์ แล้วจึงฟื้นฟูพระเจ้าเฮนรีที่ 6 กลับสู่ราชสมบัติ จากนั้นสองปี พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 ทรงได้รับชัยชนะสมบูรณ์อีกครั้งที่บาร์เนต (เมษายน 1471) ที่ซึ่งเอิร์ลแห่งวอริกถูกสังหาร และทูกสบรี (พฤษภาคม 1471) ที่ซึ่งเอ็ดเวิร์ดแห่งเวสต์มินสเตอร์ ทายาทแลงแคสเตอร์ ถูกประหารชีวิตหลังยุทธการ พระเจ้าเฮนรีถูกปลงพระชนม์ในหอคอยลอนดอนหลายวันจากนั้น ยุติลำดับการสืบราชสันตติวงศ์โดยตรงของแลงแคสเตอร์ จากนั้น บ้านเมืองค่อนข้างสงบอยู่พักหนึ่ง จนพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดเสด็จสวรรคตกะทันหันในปี 1483 ริชาร์ด ดยุกแห่งกลอสเตอร์ พระอนุชาที่ยังมีพระชนมชีพของพระองค์ ทีแรกเคลื่อนไหวเพื่อกันมิให้ตระกูลวูดวิลล์ที่ไม่เป็นที่นิยมของพระมเหสีหม้ายของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดเข้าร่วมในรัฐบาลระหว่างที่พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 5 พระราชโอรสของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ด ยังทรงพระเยาว์ จึงยึดราชบัลลังก์เป็นของตน โดยอ้างว่า การสมรสของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เฮนรี ทิวดอร์ พระญาติห่าง ๆ ของพระมหากษัตริย์แลงแคสเตอร์ผู้รับสืบทอดการอ้างสิทธิ์มาด้วย ชนะพระเจ้าริชาร์ดที่บอสเวิร์ธฟิลด์ในปี 1485 พระองค์ราชาภิเษกเป็นพระเจ้าเฮนรีที่ 7 และอภิเษกสมรสกับเอลิซาเบธแห่งยอร์ก พระราชธิดาในพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 เพื่อรวมและประสานราชวงศ์ทั้งสอง.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองและสงครามดอกกุหลาบ · ดูเพิ่มเติม »

สงครามประกาศอิสรภาพสกอตแลนด์

อห์น บัลลิออล, 1292 – 1296 พระมหากษัตริย์แห่งสกอตแลนด์ กับพระชายา สงครามประกาศอิสรภาพสกอตแลนด์ เป็นเหตุการณ์ความขัดแย้งทางทหาร ระหว่างราชอาณาจักรสกอตแลนด์และราชอาณาจักรอังกฤษ ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 13 จนถึงต้นคริสศตวรรษที่ 14 สงครามประกาศอิสรภาพสกอตแลนด์ครั้งแรก (ปี 1296 - 1328) เปิดฉากขึ้นด้วยการรุกรานของฝ่ายอังกฤษเข้ามาในดินแดนสก็อตใน ปี 1296 และจบลงด้วยการลงนามในสนธิสัญญาเอดินบะระ-นอร์ทแธมพ์ตันใน ปี 1328 สงครามครั้งที่สอง (ปี 1332 - 1357) เป็นสงครามชิงอำนาจภายใน ซึ่งเริ่มต้นจากการยกทัพเข้ารุกรานโดยการนำของ เอ็ดเวิร์ด บัลลิออล (Edward Balliol) ทายาทผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์สก็อตของจอห์น บัลลิออล โดยมีอังกฤษเป็นฝ่ายหนุนหลัง และยุติลงด้วยการลงนามในสนธิสัญญาเบอร์วิคใน ปี 1357 หลังสงครามยุติ สก็อตแลนด์ยังคงรักษาสถานะความเป็นรัฐเอกราชของตนเอาไว้ได้ สงครามประกาศอิรภาพสกอตแลนด์เป็นเหตุการณ์ความขัดแย้ง ที่นำไปสู่การพัฒนาอาวุธและยุทธวิธีใหม่ ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การปรากฏตัวของธนูยาวอังกฤษ หรือ "ลองโบว์" (long bow) ซึ่งเป็นอาวุธที่เปลี่ยนโฉมหน้าการรบในยุคกลาง.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองและสงครามประกาศอิสรภาพสกอตแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโบะชิง

งครามโบะชิง บ้างเรียก การปฏิวัติญี่ปุ่น เป็นสงครามกลางเมืองในประเทศญี่ปุ่น รบพุ่งกันตั้งแต..

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองและสงครามโบะชิง · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโอนิน

สงครามโอนิน (Ōnin War) สงครามกลางเมือง ระหว่าง ค.ศ. 1467 - ค.ศ. 1477 ในช่วง ยุคมุโระมะชิ อันเป็นต้นกำเนิดของ ยุคเซ็งโงะกุ สาเหตุของสงครามครั้งนี้เกิดขึ้นมาจากความขัดแย้งเรื่องทายาททางการเมืองของโชกุน อะชิกะงะ โยะชิมะซะ ระหว่าง โฮะโซะกะวะ คะสึโมะโตะ ผู้ดำรงตำแหน่ง คันเร หรือผู้แทนโชกุนที่สนับสนุน อะชิกะงะ โยะชิมิ น้องชายของโชกุนโยะชิมะซะและ ยะมะนะ โซเซ็น พ่อตาของคะสึโมะโตะที่สนับสนุนบุตรชายคนเดียวของโชกุนโยะชิมะซะคือ อะชิกะงะ โยะชิฮิซะ ทำให้ทั้งสองฝ่ายรวบรวมกองทัพจากแคว้นต่าง ๆ ที่เป็นพันธมิตรเข้าสู้รบจนทำให้ นครหลวงเฮอัง หรือ นครหลวงเคียวโตะ ในปัจจุบันได้รับความเสียหายอย่างหนักประชาชนหลบหนีจากเมืองหลวงทำให้เฮอังกลายสภาพเป็นเมืองร้าง ในปี ค.ศ. 1469 โชกุนโยะชิมะซะตัดสินใจตั้งโยะชิฮิซะบุตรชายเป็นทายาททางการเมือง ถึงแม้โซเซ็นและคะสึโมะโตะจะเสียชีวิตทั้งคู่ในปี ค.ศ. 1473 แต่สงครามก็ยังดำเนินต่อไปจนกระทั่งทั้งสองฝ่ายยอมสงบศึกเมื่อปี ค.ศ. 1477 หมวดหมู่:ยุคเซงโงะกุ.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองและสงครามโอนิน · ดูเพิ่มเติม »

สนธิสัญญาสันติภาพ

นธิสัญญาสันติภาพ (peace treaty) เป็นข้อตกลงระหว่างปรปักษ์ทั้งสองฝ่ายเพื่อยุติความขัดแย้งในการใช้กำลัง ซึ่งมักจะเป็นประเทศหรือรัฐบาล.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองและสนธิสัญญาสันติภาพ · ดูเพิ่มเติม »

อาชญากรรมสงคราม

อาชญากรรมสงคราม (war crime) คือ การกระทำอันฝ่าฝืนกฎหมายสงครามอย่างร้ายแรง ทำให้ผู้กระทำต้องรับผิดทางอาญาเป็นการเฉพาะตัว เช่น การฆ่าพลเรือนหรือนักโทษโดยเจตนา, การทรมาน, การทำลายทรัพย์สินพลเรือน, การจับเป็นตัวประกัน, การล่อลวง, การข่มขืนกระทำชำเรา, การใช้เด็กทางทหาร, การปล้นทรัพย์, การไม่ไว้ชีวิต, และการละเมิดอย่างร้ายแรงซึ่งหลักการแยกแยะและหลักความได้สัดส่วน เป็นต้นว่า การทำลายประชากรพลเรือนด้วยระเบิดยุทธศาสตร์ แนวคิดเรื่องอาชญากรรมสงครามปรากฏขึ้นในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของคริสต์ศตวรรษที่ 20 เมื่อมีการประมวลกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศที่ใช้บังคับได้สำหรับการทำสงครามระหว่างรัฐอธิปไตย การประมวลกฎหมายดังกล่าวเกิดขึ้นในระดับชาติ เช่น การเผยแพร่ประมวลกฎหมายลีแบร์ในสหรัฐเมื่อ..

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองและอาชญากรรมสงคราม · ดูเพิ่มเติม »

อาณาจักรแฟรงก์ตะวันออก

อาณาจักรแฟรงก์ตะวันออก (Regnum Francorum Orientalium; Francia Orientalis) เป็นราชอาณาจักรที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกของจักรวรรดิการอแล็งเฌียงที่ตกมาเป็นของลุดวิจชาวเยอรมันพระนัดดาของชาร์เลอมาญตามสนธิสัญญาแวร์เดิงของปี ค.ศ. 843 ราชอาณาจักรแฟรงค์ตะวันออกเป็นราชอาณาจักรที่มาก่อนจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ เมื่อจักรพรรดิหลุยส์ผู้ศรัทธาเสด็จสวรรคต ราชอาณาจักรแฟรงก์อันยิ่งใหญ่ที่ชาร์เลอมาญก่อตั้งขึ้น ครอบคลุมดินแดนส่วนใหญ่ของยุโรปตะวันต ก็ถูกแบ่งแยกหลังจากสงครามกลางเมืองที่ยาวสามปีระหว่างพระราชนัดดาสามพระองค์ในระหว่างปี ค.ศ. 840 ถึงปี ค.ศ. 843 ในระหว่างสงคราม คาร์ลพระเศียรล้านทรงเข้าข้างลุดวิจชาวเยอรมัน พระอนุชาต่างพระมารดา ในข้อขัดแย้งในสิทธิการครองราชบัลลังก์กับจักรพรรดิโลทาร์ที่ 1 พระเชษฐา ผู้ทรงใช้ตำแหน่งจักรพรรดิแห่งชาวโรมันที่เคยเป็นตำแหน่งของพระอัยกา และกลายมาเป็นตำแหน่งที่ใช้กันต่อมาสำหรับจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ตั้งแต่จักรพรรดิออทโทที่ 1 เป็นต้นมา เมื่อสงครามสิ้นสุดลงราชอาณาจักรแฟรงก์ถูกแบ่งแยกออกเป็นสามส่วนตามสนธิสัญญาแวร์เดิง.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองและอาณาจักรแฟรงก์ตะวันออก · ดูเพิ่มเติม »

อาณาจักรแฟรงก์ตะวันตก

ราชอาณาจักรแฟรงค์ตะวันตกทางซ้ายของภาพที่ปัจจุบันคือฝรั่งเศส เวสต์ฟรังเกีย หรือ อาณาจักรแฟรงค์ตะวันตก (West Francia หรือ West Frankish Kingdom) เป็นราชอาณาจักรที่รุ่งเรืองอยู่เพียงระยะเวลาอันสั้น ตั้งอยู่ทางตะวันตกของจักรวรรดิการอแล็งเฌียง ได้ตกมาเป็นของจักรพรรดิคาร์ลพระเศียรล้านตามสนธิสัญญาแวร์เดิงปี ค.ศ. 843 เมื่อจักรพรรดิหลุยส์ผู้ศรัทธาเสด็จสวรรคต ราชอาณาจักรแฟรงก์อันยิ่งใหญ่ที่ชาร์เลอมาญก่อตั้งขึ้น ครอบคลุมดินแดนส่วนใหญ่ของยุโรปตะวันต ก็ถูกแบ่งแยกหลังจากสงครามกลางเมืองที่ยาวสามปีระหว่างพระราชนัดดาสามพระองค์ในระหว่างปี ค.ศ. 840 ถึงปี ค.ศ. 843 ในระหว่างสงคราม คาร์ลพระเศียรล้านทรงเข้าข้างลุดวิจชาวเยอรมัน พระอนุชาต่างพระมารดา ในข้อขัดแย้งในสิทธิการครองราชบัลลังก์กับจักรพรรดิโลทาร์ที่ 1 พระเชษฐา ผู้ทรงใช้ตำแหน่งจักรพรรดิแห่งชาวโรมันที่เคยเป็นตำแหน่งของพระอัยกา และกลายมาเป็นตำแหน่งที่ใช้กันต่อมาสำหรับจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ตั้งแต่จักรพรรดิออทโทที่ 1 เป็นต้นมา เมื่อสงครามสิ้นสุดลงราชอาณาจักรแฟรงก์ถูกแบ่งแยกออกเป็นสามส่วนตามสนธิสัญญาแวร์เดิง.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองและอาณาจักรแฟรงก์ตะวันตก · ดูเพิ่มเติม »

อิตาเลีย (จักรวรรดิโรมัน)

วนหนึ่งของ “แผนที่พิวทินเจอริอานา” (Tabula Peutingeriana) ซึ่งเป็นแผนที่โรมันจากคริสต์ศตวรรษที่ 4 ที่แสดงดินแดนอิตาลีตอนใต้ อิตาเลีย หรือ โรมันอิตาเลีย (Italia) ภายใต้สาธารณรัฐโรมันและต่อมาจักรวรรดิโรมันคือชื่อของคาบสมุทรอิตาลี.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองและอิตาเลีย (จักรวรรดิโรมัน) · ดูเพิ่มเติม »

องค์การบริหารชั่วคราวแห่งสหประชาชาติในกัมพูชา

องค์การบริหารชั่วคราวแห่งสหประชาชาติในกัมพูชา (United Nations Transitional Authority in Cambodia; អាជ្ញាធរអន្តរកាលសហប្រជាជាតិនៅកម្ពុជា อาชฺญาธรอนฺตรกาลสหบฺรชาชาติเนากมฺพุชา) หรือ อันแทก (UNTAC; អ.អ.ស.ប.ក. อ.อ...ก.) เป็นปฏิบัติการรักษาสันติภาพของสหประชาชาติในกัมพูชาระหว่าง..

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองและองค์การบริหารชั่วคราวแห่งสหประชาชาติในกัมพูชา · ดูเพิ่มเติม »

องค์การแพทย์ไร้พรมแดน

องค์การแพทย์ไร้พรมแดน (Médecins Sans Frontières,, เมดแซ็งซ็องฟรงเตียร์) หรือ แอมแอ็สเอ็ฟ (MSF) เป็นองค์การสาธารณประโยชน์ที่ก่อตั้งเพื่อให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม โดยมุ่งช่วยเหลือประเทศที่ตกอยู่ในภาวะสงคราม หรือประเทศกำลังพัฒนาที่ประสบปัญหาโรคระบาด องค์การแพทย์ไร้พรมแดน ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2514 โดยพัฒนามาจากกลุ่มความช่วยเหลือทางการแพทย์และผ่าตัดโดยรีบด่วน (Groupe d'Intervention Médicale et Chirurgicale en Urgence, กรุปแด็งแตร์ว็องซียงเมดีกาเลชีรูร์ฌีกาล็องนูร์ฌ็องส์) ซึ่งเป็นกลุ่มแพทย์อาสาสมัครชาวฝรั่งเศส ที่ให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมภายหลังการเกิดสงครามกลางเมืองในประเทศไนจีเรีย (พ.ศ. 2510 - พ.ศ. 2513) ปัจจุบันบริหารงานโดยคณะกรรมการซึ่งมีสำนักงานอยู่ที่นครเจนีวา สวิตเซอร์แลนด์ ดำเนินงานโดยแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่ประมาณ 3,000 คน ปฏิบัติงานในโครงการต่าง ๆ สำหรับในสหรัฐอเมริกา องค์การนี้ใช้ชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า Doctors Without Borders องค์การแพทย์ไร้พรมแดน ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพประจำปี ค.ศ. 1999 จากการเป็นผู้นำ ให้ความช่วยเหลือด้านการแพทย์ในทวีปต่าง.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองและองค์การแพทย์ไร้พรมแดน · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิแซเวรุส อาแล็กซันแดร์

ักรพรรดิแซเวรุส อาแล็กซันแดร์ หรือ มาร์คัส ออเรลิอัส แซเวรุส อาแล็กซันแดร์ (Alexander Severus; ชื่อเต็ม: Marcus Aurelius Severus Alexander) (1 ตุลาคม ค.ศ. 208 – 18 มีนาคม ค.ศ. 235) แซเวรุส อาแล็กซันแดร์เป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันของราชวงศ์เซเวอรัน ผู้ทรงขึ้นครองราชย์ต่อจากจักรพรรดิเอลากาบาลัสผู้ถูกลอบสังหารในปี ค.ศ. 222 จนเสด็จสวรรคตโดยการถูกลอบสังหารเช่นกันเมื่อวันที่ 18 มีนาคม ค.ศ. 235 ที่เป็นการเริ่มยุคประวัติศาสตร์โรมันที่เรียกว่ายุควิกฤติการณ์ของคริสต์ศตวรรษที่ 3 (Crisis of the Third Century) ที่ยาวนานเกือบห้าสิบปีเมื่อจักรวรรดิโรมันต้องเผชิญกับสงครามกลางเมือง, ภาวะความวุ่นวายทางเศรษฐกิจ, การปฏิวัติในบริเวณต่างๆ ในจักรวรรดิ และอันตรายจากภายนอกที่แทบจะทำให้จักรวรรดิเกือบล่มสลาย แซเวรุส อาแล็กซันแดร์ทรงเป็นทายาทผู้มีสิทธิโดยตรงของจักรพรรดิเอลากาบาลัสผู้เป็นลูกพี่ลูกน้องกัน เอลากาบาลัสและพระมารดาทรงถูกลอบสังหารและโยนร่างลงไปในแม่น้ำไทเบอร์โดยฝ่ายที่เป็นปฏิปักษ์เพราะทรงเป็นจักรพรรดิผู้ไม่ทรงเป็นที่นิยมเท่าใดนัก เอลากาบาลัสและแซเวรุส อาแล็กซันแดร์เป็นหลานของจูเลีย เมซา (Julia Maesa) ผู้มีอิทธิพลและมีอำนาจผู้ที่เป็นผู้จัดการให้เอลากาบาลัสขึ้นเป็นจักรพรรดิโดยกองทหารกอลลิคที่ 3 รัชสมัยของแซเวรุส อาแล็กซันแดร์เริ่มต้นด้วยการเป็นสมัยที่อุดมสมบูรณ์และสงบสุข ทางด้านความขัดแย้งทางการทหารในการต่อต้านการลุกฮือของจักรวรรดิซาสซานิด (Sassanid Empire) รายงานผลไม่เป็นที่ทราบแน่นอนแต่อันตรายทางด้านซาสซานิดก็ยุติลง แต่เมื่อมาถึงการรณรงค์ต่อต้านชนเจอร์มานิคในเจอร์มาเนียแซเวรุส อาแล็กซันแดร์ก็สร้างศัตรูกับกองทหารของพระองค์เองโดยการทรงพยายามหาวิธีเจรจาปรองดองและติดสินบนฝ่ายเจอร์มาเนีย กองทหารจึงสังหารพระองค์ แซเวรุส อาแล็กซันแดร์ทรงเป็นจักรพรรดิองค์สุดท้ายของราชวงศ์เซเวอรัน และของประวัติศาสตร์โรมันสมัยที่เรียกว่า “จักรวรรดิโรมันสมัยแรก” (Principate).

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองและจักรพรรดิแซเวรุส อาแล็กซันแดร์ · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิแนร์วา

มาร์กุส ก็อกแกย์ยุส แนร์วา ไกซาร์ เอากุสตุส (MARCVS COCCEIVS NERVA CAESAR AVGVSTVS; 8 พฤศจิกายน ค.ศ. 30 – 25 มกราคม ค.ศ. 98) แนร์วาเป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันของราชวงศ์เนอร์วัน-อันโตนิน ผู้ทรงขึ้นครองราชย์ต่อจากจักรพรรดิโดมิเชียนเมื่อวันที่ 18 กันยายน ค.ศ. 96 จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 25 มกราคม ค.ศ. 98 โดยมีพระราชโอรสจักรพรรดิทราจันเป็นผู้ครองราชย์ต่อมา แนร์วาขึ้นเป็นจักรพรรดิเมื่ออายุได้ 65 ปีหลังจากการรับราชการภายใต้จักรพรรดิเนโรและกษัตริย์ราชวงศ์เฟลเวียน--เวสเปเซียน, ไททัส และ โดมิเชียน ภายใต้จักรพรรดิเนโรแนร์วาเป็นหนึ่งในผู้ติดตามพระจักรพรรดิและเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการเปิดเผยการคบคิดพิโซเนียน (Pisonian conspiracy) ของปี..

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองและจักรพรรดิแนร์วา · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิโพกัส

ักรพรรดิโพกัส หรือ จักรพรรดิเฟลเวียส โพกัส ออกัสตัส (Phocas; ชื่อเต็ม: Flavius Phocas Augustus) (– ค.ศ. 610) โพกัสทรงขึ้นครองราชย์เป็นพระจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิไบแซนไทน์ โดยการชิงราชบัลลังก์จากจักรพรรดิเมาริกิอุส ต่อมาพระองค์เองก็ถูกโค่นราชบัลลังก์โดยจักรพรรดิเฮราคลิอัสหลังจากที่ทรงพ่ายแพ้ในสงครามกลางเมือง ระยะเวลาการครองราชย์ของพระองค์เริ่มขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 602 และสิ้นสุดลงใน ค.ศ. 610.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองและจักรพรรดิโพกัส · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิโลทาร์ที่ 1

ักรพรรดิโลทาร์ที่ 1แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (Lothaire, Lothar, Lotario, Lothair I) (ค.ศ. 795 – 29 กันยายน ค.ศ. 855) เป็นพระมหากษัตริย์แห่งอิตาลี ระหว่างปี ค.ศ. 818 จนกระทั่งปี ค.ศ. 855 เและเป็นจักรพรรดิโรมันระหว่างปี ค.ศ. 817 จนกระทั่งปี ค.ศ. 855 และเป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิแฟรงก์ระหว่าง ปี ค.ศ. 840 จนกระทั่งปี ค.ศ. 855 จักรพรรดิโลทาร์เป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในจักรพรรดิหลุยส์ผู้ศรัทธาจากราชวงศ์กาโรแล็งฌีย็องและพระราชินีแอร์เมนการ์ดแห่งเฮสเบย์ (Ermengarde of Hesbaye) พระธิดาของอิงเกอร์มัน ดยุคแห่งเฮสเบย์ โลทาร์ทรงนำพระเจ้าเปแป็งพระวรกายเตี้ยพระเชษฐาและลุดวิกชาวเยอรมันในการปฏิวัติต่อต้านพระราชบิดาของพระองค์เองหลายครั้งในการประท้วงในการที่ทรงพยายามแต่งตั้งให้คาร์ลพระเศียรล้านพระอนุชาต่างพระมารดาขึ้นเป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิแฟรงก์คู่กับพระองค์ เมื่อจักรพรรดิหลุยส์ผู้ศรัทธาเสด็จสวรรคตชาร์ลส์และหลุยส์ก็หันไปเป็นพันธมิตรกันในการต่อต้านโลทาร์ในสงครามกลางเมืองสามครั้งระหว่างปี..

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองและจักรพรรดิโลทาร์ที่ 1 · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิข่านอิล

ักรวรรดิข่านอิล (Ilkhanate; ایلخانان, "Ilkhanan"; มองโกเลีย: Хүлэгийн улс, "ดินแดนของฮูเลกู" (Hulagu-yn Ulus)) เป็นรัฐที่แตกมาจากจักรวรรดิมองโกล ครอบคลุมพื้นที่ในตะวันออกกลาง บริเวณประเทศอิหร่านในปัจจุบันเป็นส่วนใหญ่ คำว่า "อิลข่าน" มาจากนามที่กุบไลข่านประทานให้แก่ฮูเลกู ข่าน ผู้ปกครองคนแรก จุดเริ่มต้นของจักรวรรดิข่านอิลมีมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 13 เมื่อเจงกีส ข่าน รบชนะจักรวรรดิควาเรซม์ และพิชิตดินแดนในเอเชียกลางและตะวันออกกลาง ล่วงมาจนถึงฮูเลกู ข่าน พระนัดดา (หลาน) ของเจงกีส ข่าน เมื่อเขารบชนะราชวงศ์อับบาซียะฮ์ที่ครองกรุงแบกแดด ฮูเลกูก็ขยายอำนาจไปในปาเลสไตน์ ก่อนจะพ่ายให้กับชาวแมมลุกในยุทธการที่เอนจาลูต หลังมองเกอ ข่านสวรรคต จักรวรรดิมองโกลก็เกิดสงครามกลางเมือง และแตกออกเป็นหลายอาณาจักร ในปี..

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองและจักรวรรดิข่านอิล · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิโรมัน

ักรวรรดิโรมันในช่วงเวลาต่างๆกัน จักรวรรดิโรมัน (Imperivm Romanvm; Ῥωμαϊκὴ Αὐτοκρατορία หรือ Ἡ Ῥωμαίων βασιλεία; Roman Empire) เป็นช่วงระยะเวลาหนึ่งของอารยธรรมโรมันโบราณซึ่งปกครองโดยรูปแบบอัตตาธิปไตย จักรวรรดิโรมันได้สืบต่อการปกครองมาจากสาธารณรัฐโรมัน (510 ปีก่อนคริสตกาล - ศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสตาล) ซึ่งได้อ่อนแอลงหลังจากความขัดแย้งระหว่างไกอุส มาริอุสและซุลลา และสงครามกลางเมืองระหว่างจูเลียส ซีซาร์และปอมปีย์ มีวันหลายวันที่ได้ถูกเสนอให้เป็นเส้นแบ่งของการเปลี่ยนแปลงระหว่างสาธารณรัฐและจักรวรรดิ ได้แก.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองและจักรวรรดิโรมัน · ดูเพิ่มเติม »

จีนโพ้นทะเล

วจีนโพ้นทะเล (อังกฤษ: Overseas Chinese; จีน: 華僑 huáqiáo หัวเฉียว, 華胞 huábāo หัวเปา, 僑胞 qiáobāo เฉียวเปา, 華裔 huáyì หัวอี้) คือ กลุ่มคนเชื้อสายจีนที่อาศัยอยู่ภายนอกประเทศจีน คำว่าประเทศจีนในที่นี้ หมายความได้ถึง จีนแผ่นดินใหญ่ รวมทั้งดินแดนภายใต้การปกครองของรัฐบาล สาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งได้แก่ ฮ่องกง มาเก๊า และ ไต้หวัน (สาธารณรัฐประชาชนจีน ถือว่า ไต้หวัน เป็นเพียงมณฑลหนึ่งของตน และปัจจุบัน สหประชาชาติ มิได้รับรองฐานะไต้หวันให้เป็นสาธารณรัฐจีนแต่อย่างใ.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองและจีนโพ้นทะเล · ดูเพิ่มเติม »

ทุ่งสังหาร (ภาพยนตร์)

ทุ่งสังหาร (The Killing Fields) เป็นภาพยนตร์ที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2527 ซึ่งกล่าวถึงประเทศกัมพูชาในยุคการปกครองของเขมรแดง โดยอาศัยเค้าโครงเรื่องจากประสบการณ์จริงของนักข่าวหนังสือพิมพ์ที่เข้าไปทำข่าวในกัมพูชาขณะนั้น 3 คน ได้แก่ ซิดนีย์ ชานเบิร์ก นักข่าวชาวอเมริกัน ดิธ ปราน ล่ามและนักข่าวชาวเขมร และจอน สเวน นักข่าวชาวอังกฤษ ภาพยนตร์เรื่องนี้ซึ่งได้รับรางวัลออสการ์ครั้งที่ 57 เป็นผลงานการกำกับของโรแลนด์ จอฟเฟ นำแสดงโดยแซม วอเตอร์สตัน, ดร.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองและทุ่งสังหาร (ภาพยนตร์) · ดูเพิ่มเติม »

คลารา บาร์ตัน

ลารา บาร์ตัน พยาบาลผู้มีชื่อเสียงผู้ก่อตั้งสภากาชาดอเมริกัน คลาริสสา ฮาร์โลว์ บาร์ตัน (Clarissa Harlowe Barton; พ.ศ. 2364 — 2455) หรือ คลารา บาร์ตัน เป็นนักบุกเบิก พยาบาล ครู และนักมนุษยธรรมนิยมชาวอเมริกัน คลารา บาร์ตันได้รับฉายาว่า "จอมทรหด" เป็นผู้ก่อตั้งสภากาชาดอเมริกัน เกิดที่เมืองออกซ์ฟอร์ด รัฐแมสสาชูเสทท์ เริ่มงานเป็นครูระหว่าง..

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองและคลารา บาร์ตัน · ดูเพิ่มเติม »

คณะกรรมการตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดอง

กรุงซันเตียโก ประเทศชิลี คณะกรรมการตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดอง (truth and reconciliation commission) หรือ คณะกรรมการตรวจสอบและค้นหาความจริง (truth commission) เป็นคณะกรรมการซึ่งรัฐที่ตั้งตัวหลังจากความไม่สงบ สงครามกลางเมือง หรือระบอบเผด็จการ มักตั้งขึ้นให้มีหน้าที่ค้นหาและเปิดเผยการกระทำมิชอบของรัฐบาลในอดีต รวมตลอดถึงของเอกชนด้วยสุดแล้วแต่พฤติการณ์ ด้วยหมายจะให้คลี่คลายความขัดแย้งที่สั่งสมมาแต่อดีตนั้น คณะกรรมการทำนองนี้มีชื่อแตกต่างกันไป คณะกรรมการตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองที่ประธานาธิบดีเนลสัน แมนเดลา กับอัครมุขนายกเดสมอนด์ ทูตู ตั้งขึ้นหลังจากกระแสถือผิวนั้นมีชื่อและนับถือกันเป็นที่สุดว่าเป็นแม่แบบแห่งคณะกรรมการตรวจสอบและค้นหาความจริง บทบาทและอำนาจหน้าที่คณะกรรมการเหล่านั้นย่อมต่างกันไปขึ้นอยู่กับอาณัติที่ได้รับ ซึ่งโดยมากแล้วเป็นอาณัติแผ่นดินให้นำตัวผู้ละเมิดสิทธิมนุษยชนในอดีตมาเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม คณะกรรมการอาจจัดทำรายงานรัฐบาลระบุข้อพิสูจน์หักล้างการแก้ประวัติศาสตร์ที่กระทำขึ้นในระบบก่อการร้ายของรัฐ ตลอดจนข้อพิสูจน์ความผิดอาญาอย่างอื่นและการใช้สิทธิมนุษยชนไปในทางมิชอบ แต่บางทีก็เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันว่า ยินยอมให้ผู้กระทำความผิดลอยนวล ซ้ำยังสร้างความคุ้มกันให้แก่บรรดาผู้ใช้สิทธิมนุษยชนไปในทางมิชอบ เช่น ในกรณีประเทศอาร์เจนตินาหลังปี 2526 และประเทศชิลีหลังปี 2533 ที่ปล่อยผู้ใช้สิทธิมนุษยชนไปในทางมิชอบไปเสียเพราะคณะกรรมการตรวจสอบและค้นหาความจริงถูกเหล่าผู้มีอำนาจในฝ่ายทหารขู่ว่าจะยึดอำนาจเพื่อต่อต้านประชาธิปไตย ทั้งนี้ เพราะเหล่าทหารที่ยึดอำนาจมักคืนการปกครองให้แก่รัฐบาลพลเรือนโดยแลกกับความคุ้มกันมิให้ต้องถูกลงโทษจากการกระทำทั้งปวงในอดีต มีตัวอย่างในกฎหมาย "ตัดตอน" (Full Stop) ของประเทศอาร์เจนตินาที่ห้ามดำเนินคดีแก่เจ้าพนักงานในคณะทหารผู้ยึดอำนาจการปกครอง อันเป็นความคุ้มกันที่รัฐบาลพลเรือนจัดใส่พานให้ไว้ตามกฎหมาย ในสังคมที่มีการถ่ายโอนอำนาจ ประเด็นซึ่งยากจะแก้ไขประการหนึ่งในเรื่องบทบาทของคณะกรรมการนั้นอยู่ที่ความสัมพันธ์ระหว่างคณะกรรมการกับการดำเนินคดีอาญ.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองและคณะกรรมการตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดอง · ดูเพิ่มเติม »

ประชาธิปไตยเสรีนิยม

รัฐสภาของประเทศฟินแลนด์ (Eduskunta) - มีประเทศและอาณาเขตหลายแห่งที่เรียกได้ว่า มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งทั่วไปเป็นแห่งแรก รัฐ Grand Duchy of Finland (ก่อนจะเป็นประเทศฟินแลนด์) ได้มีตั้งแต่ปี พ.ศ. 2449 ประชาธิปไตยเสรีนิยม หรือ ประชาธิปไตยแบบเสรีนิยม (Liberal democracy) หรือบางครั้งเรียกว่า ประชาธิปไตยแบบตะวันตก เป็นทั้งคตินิยมทางการเมืองและระบอบการปกครองรูปแบบหนึ่ง ที่การปกครองแบบประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนจะดำเนินการใต้หลักเสรีนิยม คือ การพิทักษ์สิทธิของปัจเจกบุคคล ซึ่งโดยทั่วไปจะระบุไว้ในกฎหมาย ระบอบมีลักษณะเฉพาะ คือ.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองและประชาธิปไตยเสรีนิยม · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์อัฟกานิสถาน

ริเวณที่เป็นประเทศอัฟกานิสถานในอดีตในยุคเปอร์เซียเรืองอำนาจ (559–330ก่อน ค.ศ.) '''พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช''' ผู้เข้ามายึดครองจักรวรรดิเปอร์เซียและนำอิทธิพลของกรีกเข้ามา ประวัติศาสตร์อัฟกานิสถาน เป็นประวัติศาสตร์ของประเทศอัฟกานิสถาน ซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณรอยต่อระหว่างเอเชียกลาง เอเชียตะวันตก และเอเชียใต้ ทำให้ในประวัติศาสตร์ของอัฟกานิสถานเกี่ยวข้องกับการอพยพของผุ้คนกลุ่มต่างๆ เข้ามาในบริเวณนี้ ชนกลุ่มใหญ่ในอัฟกานิสถานเป็นชนเชื้อสายอิหร่านที่พูดภาษากลุ่มอิหร่าน เช่น ภาษาพาซตู ภาษาดารีเปอร์เซีย อิทธิพลของชาวอาหรับที่เข้ามาพร้อมกับศาสนาอิสลามมีผลต่ออัฟกานิสถานยุคใหม่ นอกจากนั้น อัฟกานิสถานในยุคโบราณยังได้รับอิทธิพลจากกรีซ เอเชียกลาง ชาวปะกัน ชาวพุทธในอินเดีย และชาวฮินดู รวมทั้งผู้นับถือศาสนาโซโรแอสเตอร์ที่เข้ามาในบริเวณนี้ หลังจากสิ้นสุดยุคจักรวรรดิ อัฟกานิสถานปกครองด้วยระบอบกษัตริย์ตั้งแต..

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองและประวัติศาสตร์อัฟกานิสถาน · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์เดนมาร์ก

ตราแผ่นดินเดนมาร์ก ประวัติศาสตร์เดนมาร์ก (History of Denmark) ประวัติศาสตร์ราชอาณาจักรเดนมาร์กมีจุดเริ่มต้นเมื่อย้อนกลับไป 12,000 ปีก่อน ในช่วงการสิ้นสุดยุคน้ำแข็งช่วงสุดท้าย ด้วยจากหลักฐานการตั้งถิ่นฐานที่เก่าแก่ที่สุดของมนุษย์ เรื่องราวของชาวเดนส์ได้มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรในเอกสารครั้งแรกในช่วงปี..

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองและประวัติศาสตร์เดนมาร์ก · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอัฟกานิสถาน

อัฟกานิสถาน (Afghanistan; افغانستان) เป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียใต้ มีอาณาเขตทางทิศตะวันตกจรดประเทศอิหร่าน ทางทิศใต้และตะวันออกติดปากีสถาน ทางทิศเหนือติดเติร์กเมนิสถาน อุซเบกิสถาน และทาจิกิสถาน ส่วนทางทิศตะวันออกสุดติดประเทศจีน อัฟกานิสถานเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล ระหว่างการล้มตอลิบานโดยการรุกรานอัฟกานิสถานของสหรัฐอเมริกา และความสำเร็จของโลยา จีร์กา ในปี พ.ศ. 2546 ชาวตะวันตกเรียกอัฟกานิสถานว่า Transitional Islamic State of Afghanistan อย่างไรก็ดี ภายใต้รัฐธรรมนูญของอัฟกานิสถานฉบับปัจจุบัน ประเทศนี้เรียกว่า สาธารณรัฐอิสลามอัฟกานิสถาน ในปัจจุบันเป็นหนึ่งในประเทศที่ยากจนที่สุดในโลก.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองและประเทศอัฟกานิสถาน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศโกตดิวัวร์

กตดิวัวร์ (Côte d'Ivoire) หรือที่รู้จักกันในชื่อ ไอวอรีโคสต์ (Ivory Coast) มีชื่อทางการว่า สาธารณรัฐโกตดิวัวร์ (République de Côte d'Ivoire) เป็นประเทศในทวีปแอฟริกา ตั้งอยู่บริเวณแอฟริกาตะวันตก ทิศตะวันตกติดกับประเทศกินีและประเทศไลบีเรีย ทิศเหนือติดกับประเทศมาลีและประเทศบูร์กินาฟาโซ ทิศตะวันออกติดกับประเทศกานา ส่วนทิศใต้เป็นอ่าวกินี ในอดีตเป็นประเทศที่เจริญรุ่งเรืองแห่งหนึ่งของแอฟริกา แต่ช่วงหลังต้องเผชิญปัญหาสงครามกลางเมืองและการคอร์รัปชัน.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองและประเทศโกตดิวัวร์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเลบานอน

ลบานอน (Lebanon; لُبْنَان) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐเลบานอน (Republic of Lebanon, Lebanese Republic; جمهورية لبنان) เป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ ติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และถือเป็นหนึ่งใน 15 ดินแดนที่ประกอบเป็น "แหล่งกำเนิดแห่งมนุษยชาติ" (Cradle of Humanity) เลบานอนมีพรมแดนติดกับประเทศซีเรียและประเทศอิสราเอล พรมแดนที่ติดกับประเทศอิสราเอลได้รับการรับรองจากองค์การสหประชาชาติแล้ว แต่พื้นที่บางส่วน เรียกว่า "ชีบาฟาร์ม" (Shebaa farms) ตั้งอยู่ในที่ราบสูงโกลันยังคงครอบครองโดยอิสราเอล ซึ่งอ้างว่าเป็นพื้นที่ของซีเรีย กองทัพต่อต้านอ้างว่า "ชีบาฟาร์ม" เป็นพื้นที่ของเลบานอน และในบางโอกาสก็โจมตีที่มั่นของอิสราเอลภายในพื้นที่ดังกล่าว นอกจากนี้ ซีเรียบำรุงรักษากองทัพที่มีทหารประมาณ 14,000 นายในเลบานอน ชาวเลบานอนที่สนับสนุนเลบานอนอ้างว่าเป็นการอยู่อย่างถูกต้องเนืองจากรัฐบาลเลบานอนได้ขอไว้ ตอนเริ่มสงครามกลางเมืองเมื่อ พ.ศ. 2518 (ค.ศ. 1975) ผู้ที่ไม่เห็นด้วยอ้างว่า การอยู่ของซีเรียเป็นประหนึ่งการยึดครองโดยอำนาจต่างชาต.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองและประเทศเลบานอน · ดูเพิ่มเติม »

ปราสาทพระวิหาร

ปราสาทพระวิหาร (ប្រាសាទព្រះវិហារ บฺราสาทพฺระวิหาร; Temple of Preah Vihear) เป็นปราสาทหินตามแบบศาสนาฮินดูที่ตั้งอยู่บริเวณเทือกเขาพนมดงรัก (ភ្នំដងរែក ภฺนํฎงแรก; "ภูเขาไม้คาน") สูงจากระดับทะเลปานกลาง 657 เมตร ที่ตั้งของศาสนสถานแห่งนี้รู้จักกันในนาม เขาพระวิหาร (ភ្នំព្រះវិហារ ภฺนํพฺระวิหาร) อยู่ใกล้อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งเคยเป็นทางขึ้นสู่ปราสาทที่สะดวกที่สุด ปราสาทพระวิหารมีสถาปัตยกรรมแบบเขมร สร้างตามแนวเหนือใต้ซึ่งผิดแปลกไปจากปราสาทขอมส่วนใหญ่ ไทยและกัมพูชามีประวัติพิพาทเหนือตัวปราสาทเป็นเวลานานแล้ว ใน..

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองและปราสาทพระวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

นะกะโอะกะ ชินตะโร

นะกะโอกะ ชินตะโร (6 พฤษภาคม ค.ศ. 1838 - 10 ธันวาคม ค.ศ. 1867) เป็นซามูไรชาวแคว้นโทะซะในยุคบะคุมะสึของญี่ปุ่น เขาเป็นผู้ใกล้ชิดของซะกะโมะโตะ เรียวมะ ซึ่งได้ร่วมกันเคลื่อนไหวทางการเมืองเพื่อล้มล้างรัฐบาลโชกุนโทะกุงะวะNational Diet Library (NDL), Portraits of Modern Japanese Historical Figures,.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองและนะกะโอะกะ ชินตะโร · ดูเพิ่มเติม »

แอมโบรส เบียร์ซ

แอมโบรส เบียร์ซ แอมโบรส กวินเนตต์ เบียร์ซ (Ambrose Gwinnett Bierce, เกิด 24 มิถุนายน ค.ศ. 1842 วันเสียชีวิต ไม่ปรากฏแน่ชัด คาดว่าราวๆ เดือนธันวาคม ค.ศ. 1913 หรือต้นปี ค.ศ. 1914) เป็นนักเขียนเรื่องเสียดสี และเรื่องสั้นชาวอเมริกัน ซึ่งผลงานที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดคือ หนังสือรวบรวมคำคมขบขันและเสียดสีต่าง ๆ The devil’s dictionary (ค.ศ. 1911)และเรื่องสั้นเหนือจริงซึ่งมักเกี่ยวข้องกับความตาย (Tales of soldiers and civilians, ค.ศ. 1891) การหยิบเอาจิตใจของมนุษย์และแนวคิดหน่ายโลกมาเสียดเย้ยทำให้เขาได้รับฉายาว่า ‘เบียร์ซผู้ขมขื่น’ เบียร์ซเกิดในฟาร์มในโอไฮโอ พ่อแม่ซึ่งยากจนต้องเลี้ยงดูลูกถึงสิบสามคน เขาจึงต้องทำงานเป็นลูกจ้างเล็ก ๆ น้อยๆ ทั้งตอนก่อนและหลังเป็นทหารของกองทหารฝ่ายเหนืออยู่สี่ปีในสงครามกลางเมืองสหรัฐ ระหว่างเป็นทหารเขาได้เลื่อนขั้นขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งถูกยิงกระสุนฝังในกะโหลกใต้หูข้างซ้าย ช่วงปลายทศวรรษที่ 1860 เขาย้ายไปอยู่ซานฟรานซิสโก และเริ่มต้นอาชีพคอลัมนิสต์หนังสือพิมพ์ปากสามหาวที่ผู้คนกลัวเกรง เขาทำอาชีพนี้อยู่นานมาก และได้สลับฉากไปอยู่อังกฤษสามปี ในช่วงบั้นปลาย ปี..

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองและแอมโบรส เบียร์ซ · ดูเพิ่มเติม »

แคทเธอรีน เดอ เมดีชี

ระเจ้าอองรีที่ 2 แห่งฝรั่งเศส พระราชสวามี แคทเธอรีน เดอ เมดิชิ (ภาษาอังกฤษ: Catherine de' Medici) (13 เมษายน ค.ศ. 1519 – 5 มกราคม ค.ศ. 1589) เกิดที่เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี ชื่อเมื่อแรกเกิดในภาษาอิตาลีคือ “คาเทอรีนา มารีอา โรโมลา ดี ลอเร็นโซ เดอ เมดิชิ” (Caterina Maria Romola di Lorenzo de' Medici) พระบิดาและมารดาของแคทเธอรีนคือลอเรนโซที่ 2 เดอ เมดิชิ ดยุกแห่งเออร์บิโนและมาเดเลน เดอ ลา ทัวร์ โดแวญ เคาเทสแห่งบูลอยน (Madeleine de la Tour d'Auvergne, Countess of Boulogne) ทั้งสองคนเสียชีวิตไปไม่นานหลังจากที่แคทเธอรีนประสูติ พระนามมาเปลี่ยนมาสะกดแบบฝรั่งเศสต่อมาเป็น “Catherine de Médicis” แคทเธอรีนเป็นพระอัครมเหสีในพระเจ้าอองรีที่ 2 แห่งฝรั่งเศสระหว่างปี ค.ศ. 1547 ถึงปี ค.ศ. 1559 เมื่อมีพระชนม์ได้ 14 พรรษาในปี ค.ศ. 1533 แคทเธอรีนก็ทรงเสกสมรสกับอองรีดยุกแห่งออร์เลอองผู้เป็นพระราชโอรสองค์ที่สองของพระเจ้าฟรองซัวส์ที่ 1 แห่งฝรั่งเศส กับพระราชินีโคลด เมื่อเจ้าชายรัชทายาท ฟรองซัวส์ หรือ “โดแฟ็ง” (Dauphin) พระเชษฐาของอองรีสิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 1536 อองรีก็ได้ขึ้นเป็นโดแฟงแทน แคทเธอรีนจึงทรงมีตำแหน่งเป็น “โดฟีน” (Dauphine) ต่อมาเมื่อพระเจ้าฟรองซัวส์ที่ 1 เสด็จสวรรคต อองรีก็ขึ้นเสวยราชสมบัติเป็นพระเจ้าอองรีที่ 2 แห่งฝรั่งเศส ในปี ค.ศ. 1547 ระหว่างการครองราชพระเจ้าอองรีก็มิได้ให้ความสำคัญต่อพระราชินีแคทเธอรีนเท่าใดนัก แต่ทรงกลับไปปรนเปรอพระสนมคนโปรด ไดแอน เดอ ปอยเตียร์ (Diane de Poitiers) แทน เมื่อพระเจ้าอองรีเสด็จสวรรคตในปี ค.ศ. 1559 พระราชินีแคทเธอรีนจึงทรงเริ่มมีบทบาททางการเมืองโดยการเป็นพระชนนีของพระเจ้าฟรองซัวส์ที่ 2 แห่งฝรั่งเศสผู้มีพระชนมายุเพียง 15 พรรษาเมื่อขึ้นครองราชย์และไม่ทรงแข็งแรงเท่าใดนัก พระเจ้าฟรองซัวส์ทรงปกครองฝรั่งเศสได้เพียงปีเดียวก็เสด็จสวรรคต พระราชินีแคทเธอรีนก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ผู้มีอำนาจเต็มที่ในพระโอรสองค์รอง พระเจ้าชาร์ลที่ 9 ผู้มีพระชนมายุได้เพียง 10 พรรษา หลังจากพระเจ้าชาลส์เสด็จสวรรคตพระราชินีนาถแคทเธอรีนก็ทรงมีบทบาทสำคัญในการปกครองมากขึ้นเมื่อพระราชโอรสองค์ที่สามขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าอองรีที่ 3 พระเจ้าอองรีทรงปรึกษาราชการแผ่นดินต่างๆ กับพระราชชนนีจนระยะสุดท้ายก่อนที่จะสิ้นพระชนม์ พระโอรสผู้อ่อนแอทั้งสามพระองค์ของแคทเธอรีนทรงปกครองฝรั่งเศสในขณะที่บ้านเมืองระส่ำระสายจากการก่อความไม่สงบต่างที่เกิดขึ้นจากสงครามกลางเมืองและสงครามศาสนา ปัญหาความขัดแย้งต่างๆ ที่เกิดขึ้นมิได้อยู่ในความควบคุมของระบบพระมหากษัตริย์และเป็นปัญหาที่ใหญ่แม้แต่สำหรับพระมหากษัตริย์ผู้ทรงอำนาจ เมื่อแรกเริ่มแคทเธอรีนก็พยายามประนีประนอมกับฝ่ายอูเกอโนท์ (Huguenots) หรือชาวฝรั่งเศสที่นับถือนิกายโปรเตสแตนต์เมื่อมีการจลาจลเกิดขึ้น แต่ก็ไม่ทรงเข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงปัญหาความขัดแย้งทางปรัชญาทางคริสต์ศาสนวิทยาและสาเหตุของขบวนการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ซึ่งทำให้พระองค์ไม่มีพระอุตสาหะพอที่จะพยายามแก้ไขสถานการณ์ได้อย่างสันติ และทรงใช้ไม้แข็งในการปราบปรามผู้ก่อความไม่สงบ พระองค์จึงทรงถูกประณามในเหตุการณ์ร้ายต่างๆ ที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะเหตุการณ์การสังหารหมู่วันเซนต์บาโทโลมิว ในปี ค.ศ. 1572 ซึ่งเป็นผลให้อูเกอโนท์ถูกสังหารอย่างทารุณทั้งในปารีสและทั่วไปในประเทศฝรั่งเศส นักประวัติศาสตร์สันนิษฐานกันว่าในปารีสเองมีผู้เสียชีวิตประมาณ 2,000 คนและอีกประมาณ 5,000-10,000 คนในบริเวณอื่นทั่วฝรั่งเศส หลังจากนั้นก็มีเรื่องสยดสยองต่างๆ จากเหตุการณ์ในเอกสารที่แจกจ่ายกันในสมัยนั้นซึ่งเป็นต้นกำเนิด “ตำนานมืด” (The Black Legend) ของ “พระราชินีผู้ชั่วร้าย” จากปากเสียงของผู้เป็นปฏิปักษ์ต่อพระองค์ พระราชินีนาถแคทเธอรีนทรงถูกประณามว่าเป็น “Machiavellian Renaissance prince” ผู้ป้อนความกระหายอำนาจด้วยการอาชญากรรม, การวางยาพิษ และบางทีก็ถึงกับใช้อำนาจเวทมนตร์ “อากริพพา โดบินย์” (Agrippa d'Aubigné) กวีอูเกอโนท์ถึงกับขนานพระนามพระราชินีนาถแคทเธอรีนว่าเป็น “เชี้อโรคจากฟลอเรนซ์” (Florentine plague) ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 นักประวัติศาสตร์จูลส์ มิเชลเลท์ (Jules Michelet) บรรยายพระราชินีนาถแคทเธอรีนว่าเป็น “หนอนที่หลุดออกมาจากหลุมศพของอิตาลี” นักประวัติศาสตร์ปัจจุบันให้เหตุผลสนับสนุนการใช้อำนาจอันเกินควรของพระราชินีนาถแคทเธอรีน แต่อาร์ เจ เนคช (R. J. Knecht) กล่าวว่าความทารุณของพระราชินีนาถแคทเธอรีนจะเห็นได้จากจดหมายที่ทรงเขียน นิโคลา ซัทเธอร์แลนด์ (Nicola Sutherland) กล่าวเตือนถึงความเกินเลยในการบรรยายอำนาจของพระองค์ว่าแทนที่จะเป็นภาพพจน์ที่ทรงปกครองอย่างมั่นคง พระราชินีนาถแคทเธอรีนทรงต้องต่อสู้กับความไม่สงบต่างๆ ที่เกิดขึ้นอย่างแทบไม่มีทางชนะ นโยบายการปกครองของพระองค์จึงเป็นนโยบายของความอยู่รอดของราชวงศ์วาลัวส์ไม่ว่าจะด้วยวิธีใดใด จึงอาจจะกล่าวได้ว่าถ้าไม่มีพระราชินีนาถแคทเธอรีนพระโอรสทั้งสามพระองค์ก็คงไม่ทรงสามารถปกครองฝรั่งเศสด้วยพระองค์เองได้ ระยะการปกครองระหว่างพระโอรสทั้งสามเรียกว่า “สมัยแคทเธอรีน เดอ เมดิชิ” (The Age of Catherine de' Medici).

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองและแคทเธอรีน เดอ เมดีชี · ดูเพิ่มเติม »

โพนีเอกซ์เพรส

แฟรงค์ อี. เวบเบอร์ คนขี่โพนีเอกซ์เพรส ประมาณ พ.ศ. 2404 อนุสาวรีย์โพนีเอกซ์เพรส ที่เซนต์โยเซฟ รัฐมิสซูรี โพนีเอกซ์เพรส (Pony Express) คือบริการไปรษณีย์ม้าด่วนข้ามทวีปอเมริกาเหนือจากเซนต์โยเซฟ มิสซูรีไปซาคราเมนโต แคลิฟอร์เนียระหว่างเดือนเมษายน พ.ศ. 2403 - พ.ศ. 2404 โดยใช้วิธีส่งเอกสารข้อความโดยการบรรทุกหลังม้าแล้วขี่ผลัดไปตามเส้นทางที่ราบทุ่งหญ้า ทะเลทราย และภูเขาตอนกลางของ อเมริกาตะวันตก บริการนี้ช่วยร่นเวลาการจัดส่งไปรษณีย์ภัณฑ์ที่เคยส่งจากชายฝั่งแอตแลนติกไปยังฝั่งแปซิฟิกลงเหลือเพียง 10 วัน จากการเดินทางที่ง่ายและสะดวกกว่าด้วยการขี่ม้าเมื่อเทียบกับการใช้รถสเตทโคชเทียมม้า ทำให้ผู้ริเริ่มการให้บริการโพนีเอกซ์เพรสคาดหวังว่าจะสามารถชนะและได้รับสัญญาจ้างงานจัดส่งไปษณีย์ภัณฑ์ของรัฐบาลมาไว้ในมือได้ บริการโพนีเอกซ์เพรสได้แสดงให้เห็นได้ว่าการควบรวมระบบบริการข้ามทวีปไว้ด้วยกันมีความเป็นไปได้ และจะทำให้การให้บริการทำได้ต่อเนื่องกันตลอดปี ซึ่งแต่ก่อนถือกันว่าไม่มีทางเป็นไปได้ แต่อย่างไรก็ดี โทรเลขข้ามทวีปที่ขึ้นและเข้ามาทดแทน ทำให้การให้บริการโพนีเอกซ์เพรสก้าวเข้าสู่ยุคโรมานซ์ของตำนาน "อเมริกันตะวันตก" (American West) กลายเป็นบริการที่ขึ้นอยู่กับความกล้าหาญอดทนของผู้ขี่ม้าเป็นรายบุคคลที่ต้องต่อสู้กับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและรวมทั้งการกลายเป็นส่วนหนึ่งของตำนาน "ลูกผู้ชายอเมริกัน".

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองและโพนีเอกซ์เพรส · ดูเพิ่มเติม »

โยเวรี มูเซเวนี

โยเวรี มูเซเวนี (Yoweri Museveni, เกิด 15 กันยายน c. 1944) เป็นนักการเมืองชาวยูกันดาและประธานาธิบดีแห่งยูกันดาตั้งแต่ 29 มกราคม 1986 มูเซเวนีมีส่วนร่วมในการก่อกบฎโค่นล้มอดีตผู้นำยูกันดา อีดี้ อามิน (1971–79) และ มิลตัน โอโบเต้ (1980–85) มูเซเวนีได้นำเสถียรภาพและการเติบโตทางเศรษฐกิจมายังประเทศที่เคยเผชิญกับการก่อกบฏและสงครามกลางเมืองมาหลายทศวรรษ (ยกเว้นแต่ทางเหนือของยูกันดา) ภายใต้การปกครองของเขา ยูกันดาเป็นหนึ่งในประเทศที่จัดการกับโรคเอดส์อย่างมีประสิทธิภาพที่สุดในแอฟริกา ในกลางถึงปลายทศวรรษ 1990s มูเซเวนีได้รับการยกย่องจากตะวันตกในฐานะที่เป็นผู้นำแอฟริการุ่นใหม่ อย่างไรก็ตามการปกครองของเขาถูกทำให้เสื่อมเสียจากการที่ยูกันดาได้เข้าร่วมในสงครามคองโกครั้งที่สองและความขัดแย้งอื่นๆใน Great Lakes region การก่อกบฏทางเหนือโดย Lord's Resistance Army ก่อให้เกิดวิกฤตการณ์ด้านมนุษยธรรมที่รุนแรงอย่างต่อเนื่อง การปราบปรามฝ่ายค้านทางการเมืองและการทำประชามติและการเปลี่ยนรัฐธรรมนูญในปี 2005 ขยายวาระประธานาธิบดีออกไปทำให้เกิดความกังวลจากนักวิจารณ์ในประเทศและนอกประเทศ หมวดหมู่:ประธานาธิบดียูกันดา หมวดหมู่:ประเทศยูกันดา.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองและโยเวรี มูเซเวนี · ดูเพิ่มเติม »

โอดะ โนบูนางะ

อดะ โนบุนางะ เป็นไดเมียว และหนึ่งในสามผู้ยิ่งใหญ่แห่งยุคเซงโงกุ เป็นหนึ่งในสามผู้รวบรวมญี่ปุ่นจากความแตกแยกในยุคเซงโงก.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองและโอดะ โนบูนางะ · ดูเพิ่มเติม »

โจเซฟ พูลิตเซอร์

ซพ พูลิตเซอร์ โจเซฟ พูลิตเซอร์ (Joseph Pulitzer; 10 เมษายน พ.ศ. 2390 - 29 ตุลาคม พ.ศ. 2454) ผู้พิมพ์โฆษณาชาวฮังการี-อเมริกันผู้ได้รับการยกย่องหลังการเสียชีวิตว่าเป็นผู้ก่อตั้ง "รางวัลพูลิตเซอร์" (Pulitzer Prize) ร่วมกับวิลเลียม แรนดอฟ เฮิร์ส สำหรับการเป็นต้นตอของหนังสือพิมพ์แบบเยลโลว์ หรือ หนังสือพิมพ์ที่ตีข่าวตื่นเต้นเกินจริง.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองและโจเซฟ พูลิตเซอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ไบโอช็อก อินฟินิต

อช็อก อินฟินิต (BioShock Infinite) เป็นวิดีโอเกมแนวเดินยิงมุมมองบุคคลที่หนึ่งที่พัฒนาโดย Irrational Games และจัดจำหน่ายโดย 2K Games ทั่วโลกในระบบ Microsoft Windows, PlayStation 3 และ Xbox 360 เมื่อ 26 มีนาคม..

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองและไบโอช็อก อินฟินิต · ดูเพิ่มเติม »

เกาะอัลคาทราซ

กาะอัลคราทราซ เกาะอัลคาทราซ (บางครั้งเรียกว่า อัลคาทราซ หรือ เดอะร็อค) เป็นเกาะเล็กๆ ที่ตั้งอยู่กลางอ่าวซานฟรานซิสโก ในแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา เกาะนี้เคยเป็นสถานที่ตั้งประภาคาร ป้อมปราการของกองทัพ และยังเป็นคุกทหารจนถึงปี 1963 หลังจากนั้น เกาะอัลคาทราซก็กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยว ปัจจุบันนี้ เกาะอัลคาทราซเป็นสถานที่ทางประวัติศาสตร์จากการอนุมัติโดยหน่วยงานอุทยาน แห่งชาติ ที่เป็นส่วนหนึ่งของ "Golden Gate National Recreation Area" และเปิดเป็นสถานที่ท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวสามารถไปเยี่ยมชมโดยเรือเฟอร์รี่จากท่าเรือ 33 ใกล้กับ ฟิชเชอร์แมนวาร์ฟ (Fisherman's Wharf) ในซานฟรานซิสโก นอกจากนี้เกาะแห่งนี้ยังได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติในปี 1986 ชื่อของเกาะได้รับการตั้งขึ้นเมื่อปี 1775 เมื่อนักสำรวจชาวสเปน ฮวน มานูเอล เดอ อยาลา ทำการสำรวจอ่าวซานฟานซิสโก และตั้งชื่อตามขนาดของเกาะว่า ลา อิสลา เดอ ลอส อัลคาทราซ ซึ่งแปลว่า "เกาะแห่งนกกระทุง" เกาะแห่งนี้ไม่เหมาะที่จะอยู่อาศัย เนื่องจากกระแสน้ำทะเล พืชผักที่มีปริมาณน้อยมาก และพื้นดินที่แห้งแล้ง เนื่องจากเกาะแห่งนี้ตั้งอยู่โดดเดี่ยวกลางอ่าวตามธรรมชาติ ล้อมรอบด้วยน้ำที่มีอุณหภูมิเยือกแข็งและคลื่นลมแรง เกาะอัลคาทราซ จึงได้รับการพิจารณาให้ใช้เป็นที่คุมขังนักโทษ ในปี 1861 เกาะนี้ได้เป็นที่รองรับนักโทษจากสงครามกลางเมืองจากรัฐต่างๆ และผลพวงจากสงครามสเปน-อเมริกัน ในปี 1898 ทำให้จำนวนนักโทษเพิ่มขึ้นจาก 26 คน เป็น 450 คน จากนั้นในปี 1906 ได้เกิดแผ่นดินไหวในซานฟานซิสโก (ที่ทำลายเมืองนี้อย่างรุนแรง) บรรดานักโทษจึงถูกย้ายไปบนเกาะเพื่อความปลอดภัย ในปี 1912 มีการก่อสร้างคุกขนาดใหญ่ที่ใจกลางเกาะ และในปลายทศวรรษ 1920 อาคารสามชั้นนี้ก็เสร็จสมบูรณ์ กองทัพสหรัฐใช้เกาะอัลคาทราซมามากว่า 80 ปี คือจากปี 1850 จนถึงปี 1933 จากนั้นเกาะนี้ได้ย้ายไปอยู่ภายใต้การดูแลของกระทรวงยุติธรรมเพื่อใช้เป็น ที่คุมขังนักโทษ รัฐบาลได้ใช้เป็นสถานที่ดัดสันดานที่มีระบบรักษาความปลอดภัยสูงสุด ปราศจากสิทธิพิเศษใดๆ เพื่อจัดการกับบรรดานักโทษ และแสดงถึงประสิทธิภาพทางกฎหมายที่รัฐบาลต้องการลดคดีอาชญากรรมที่มีมากมาย ในช่วงปี 1920 และปี 1930 เกาะอัลคาทราซ ไม่ใช่ "เกาะแห่งความชั่วร้ายของอเมริกา" อย่างที่ปรากฏในหนังสือและภาพยนตร์ต่างๆ จำนวนนักโทษโดยเฉลี่ยประมาณคือ 260-275 คน (จำนวนนักโทษนี้ยังไม่ถึงปริมาณที่รองรับได้สูงสุด 336 คน ซึ่งนับได้ว่าจำนวนนักโทษของเกาะมีสัดส่วนน้อยกว่า 1% ของจำนวนนักโทษทั่วประเทศ) มีนักโทษมากมายถูกพิพากษาไว้ชีวิต และมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีกว่านักโทษที่อื่น (ยกตัวอย่างเช่น นักโทษหนึ่งคนต่อหนึ่งห้องขัง) ซึ่งมีนักโทษหลายคนขอย้ายไปอยู่ที่เกาะอัลคาทราซ.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองและเกาะอัลคาทราซ · ดูเพิ่มเติม »

เออร์เนสต์ เฮมิงเวย์

ออร์เนสต์ มิลเลอร์ เฮมิงเวย์ (Ernest Miller Hemingway; พ.ศ. 2442-2504) นักประพันธ์นวนิยายและนักเขียนเรื่องสั้นชาวอเมริกันผู้ใช้ลีลาภาษาที่สั้นกระชับ เกิดที่ โอค ปาร์ก รัฐอิลลินอยส์ เริ่มทำงานเป็นผู้สื่อข่าวกับหนังสือพิมพ์ เดอะแคนซัสซิตีสตาร์ เข้าเป็นทหารในสงครามโลกครั้งที่ 1 ประจำรถพยาบาลทหารจนได้รับบาดเจ็บเมื่อปี..

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองและเออร์เนสต์ เฮมิงเวย์ · ดูเพิ่มเติม »

เทียรี่ เมฆวัฒนา

ทียรี่ เมฆวัฒนา นักร้องและนักดนตรีชาวไทย สมาชิกวงคาราบาว มีชื่อจริงว่า เทียรี่ สุทธิยงค์ เมฆวัฒนา เกิดเมื่อวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2501 ที่ประเทศลาว โดยมีพ่อเป็นชาวไทยเชื้อสายจีนชื่อ เอนก เมฆวัฒนา แม่เป็นชาวสวิตเซอร์แลนด์ จากผู้จัดการออนไลน.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองและเทียรี่ เมฆวัฒนา · ดูเพิ่มเติม »

เขมรแดง

ธงแดงรูปค้อนเคียวของพรรคคอมมิวนิสต์กัมพูชา (ต่อมาคือพรรคกัมพูชาประชาธิปไตย) เขมรแดง (เขมร: ខ្មែរក្រហម; แขฺมรกฺรหม; อ่านว่า คแมร์กรอฮอม /ฝรั่งเศสและอังกฤษ: Khmer Rouge) หรือที่รู้จักกันในชื่อ “กองทัพแห่งชาติกัมพูชาประชาธิปไตย” (Armée nationale du Kampuchéa démocratique) คือ กองกำลังคอมมิวนิสต์กัมพูชา ที่เคยปกครองราชอาณาจักรกัมพูชา ซึ่งในขณะนั้นถูกเปลี่ยนชื่อเป็นกัมพูชาประชาธิปไตย ตั้งแต่ พ.ศ. 2518 ถึง พ.ศ. 2522 เขมรแดงถือเป็นตัวแทนความสำเร็จเชิงอำนาจของพรรคการเมืองลัทธิคอมมิวนิสต์ในกัมพูชา ที่ต่อมาได้พัฒนาไปเป็น “พรรคคอมมิวนิสต์กัมพูชา” (Communist Party of Kampuchea; Parti communiste du Kampuchéa – PCK) และ “พรรคกัมพูชาประชาธิปไตย” (Parti du Kampuchéa démocratique) รูปแบบการปกครองของเขมรแดงมีจุดประสงค์เพื่อสร้าง "สังคมใหม่" โดยใช้รากฐานทางอุดมการณ์ที่เรียกว่า "อุดมการณ์ปฏิวัติแบบเบ็ดเสร็จ" (idéologie de révolution totale) ที่มีการรักษาเผด็จการโดยชนชั้นกรรมาชีพ เป็นตัวขับเคลื่อน สิ่งแรกที่เขมรแดงกระทำหลังจากได้รับอำนาจ คือ การกวาดต้อนประชาชนกัมพูชาทั้งหมดจากกรุงพนมเปญและเมืองสำคัญอื่น ๆ มาบังคับให้ทำการเกษตรและใช้แรงงานร่วมกันในพื้นที่ชนบท เพื่อจำแนกประชาชนที่ถือว่าเป็น "ศัตรูทางชนชั้น" ไม่ว่าจะเป็น ทหาร ข้าราชการ เชื้อพระวงศ์ ผู้มีการศึกษา หรือผู้มีวิชาชีพเฉพาะในด้านต่าง ๆ ออกมาเพื่อขจัดทิ้ง การกระทำดังกล่าวนี้ ส่งผลให้ประชาชนชาวกัมพูชาต้องเสียชีวิตจากการถูกสังหาร ถูกบังคับใช้แรงงาน และความอดอยาก เป็นจำนวนประมาณ 850,000 ถึง 3 ล้านคน ซึ่งเมื่อเทียบอัตราส่วนของประชาชนที่เสียชีวิตต่อจำนวนประชาชนกัมพูชาทั้งหมดในขณะนั้น (ประมาณ 7.5 ล้านคน ใน พ.ศ. 2518) ถือได้ว่าระบอบการปกครองของเขมรแดงเป็นหนึ่งในระบอบที่มีความรุนแรงที่สุดในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 หลังจากที่เขมรแดงปกครองกัมพูชาเป็นระยะเวลา 4 ปี ใน..

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองและเขมรแดง · ดูเพิ่มเติม »

เดอะ เบิร์ธ ออฟ อะ เนชั่น

''The Birth of a Nation'' เดอะ เบิร์ธ ออฟ อะ เนชั่น (The Birth of a Nation) คือ หนังมหากาพย์ประวัติศาสตร์เรื่องแรกที่ดังที่สุดของฮอลลีวูด สร้างเมื่อปี ค.ศ.1915 โดยวางท้องเรื่องไว้ในยุคสงครามกลางเมืองของอเมริกา ได้รับการยกย่องด้านการใช้ภาพระยะไกล, ภาพระยะใกล้, ภาพเลือนหาย และภาพเข้ามาชัด ซึ่งเป็นเทคนิคที่ผู้กำกับชื่อ ดี ดับบลิว.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองและเดอะ เบิร์ธ ออฟ อะ เนชั่น · ดูเพิ่มเติม »

เซเบอร์ (มหาสงครามจอกศักดิ์สิทธิ์)

ซเบอร์ คือหนึ่งในตัวละครหลักของ เฟท/ซีโร่ และเป็นหนึ่งในสามตัวละครหญิงหลักใน เฟท/สเตย์ ไนท์ เธอคือเซอร์แวนท์คลาสเซเบอร์ของ เอมิยะ คิริซึงุ ในสงครามจอกศักดิ์สิทธิ์ครั้งที่สี่และ เอมิยะ ชิโร่ ในสงครามจอกศักดิ์สิทธิ์ครั้งที่ห้า เธอเป็นเซอร์แวนท์ของนอร์มา กู๊ดเฟลโล่ว์ (ซึ่งถูกสิงโดย มานากะ ไซโจว) ในสงครามจอกศักดิ์สิทธิ์ของ แล้วก็ยังเป็นหนึ่งในเหล่าเซอร์แวนท์ของตัวละครหลักในเกม.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองและเซเบอร์ (มหาสงครามจอกศักดิ์สิทธิ์) · ดูเพิ่มเติม »

29 พฤษภาคม

วันที่ 29 พฤษภาคม เป็นวันที่ 149 ของปี (วันที่ 150 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 216 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองและ29 พฤษภาคม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Civil war

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »