โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ภูเขาไฟมายอน

ดัชนี ภูเขาไฟมายอน

250px ภูเขาไฟมายอน (Mayon Volcano) ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศฟิลิปปินส์ บนเกาะลูซอน อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติ ภูเขาไฟมายอนเป็นภูเขาไฟที่ยังไม่ดับ เคยเกิดระเบิดมาแล้ว 40 ครั้ง ในรอบ 400 ปีที่ผ่านมา รูปทรงภูเขาเป็นรูปสมมาตรที่สวยงาม มีความสูง 2,462 เมตร โดยครั้งล่าสุดเกิดระเบิดขึ้นเมื่อ..

5 ความสัมพันธ์: ภูเขาไฟวงแหวนไฟสิงหาคม พ.ศ. 2549ดัชนีการระเบิดของภูเขาไฟเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ภูเขาไฟ

ูเขาไฟโบรโมและภูเขาไฟสิเมรุบนเกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย ภูเขาไฟ เป็นธรณีสัณฐานที่หินหนืดปะทุผ่านขึ้นมายังพื้นผิวของดาวเคราะห์ ภูเขาไฟมักเกิดขึ้นใกล้กับแนวรอยต่อระหว่างแผ่นเปลือกโลก อย่างไรก็ตาม ยังมีภูเขาไฟที่เป็นข้อยกเว้น เรียกว่า จุดร้อนภูเขาไฟ (Volcanic Hotspot) วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับภูเขาไฟ เรียกว่า วิทยาภูเขาไฟ (vulcanology หรือ volcanology).

ใหม่!!: ภูเขาไฟมายอนและภูเขาไฟ · ดูเพิ่มเติม »

วงแหวนไฟ

แผนที่วงแหวนไฟ การปะทุของภูเขาไฟเซนต์เฮเลนส์ เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม ค.ศ. 1980 วงแหวนไฟ (Ring of Fire) เป็นบริเวณในมหาสมุทรแปซิฟิกที่เกิดแผ่นดินไหวและภูเขาไฟระเบิดบ่อยครั้ง มีลักษณะเป็นเส้นเกือกม้า ความยาวรวมประมาณ 40,000 กิโลเมตร และวางตัวตามแนวร่องสมุทร แนวภูเขาไฟและบริเวณขอบแผ่นเปลือกโลก โดยมีภูเขาไฟที่ตั้งอยู่ภายในวงแหวนไฟทั้งหมด 452 ลูก และเป็นพื้นที่ที่มีภูเขาไฟคุกกรุ่นอยู่กว่าร้อยละ 75 ของภูเขาไฟคุกรุ่นทั้งโลก ซึ่งบางครั้งจะเรียกว่า circum-Pacific belt หรือ circum-Pacific seismic belt แผ่นดินไหวประมาณร้อยละ 90 ของแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นทั่วโลกและกว่าร้อยละ 80 ของแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ เกิดขึ้นในบริเวณวงแหวนไฟ นอกจากวงแหวนไฟ ยังมีแนวแผ่นดินไหวอีก 2 แห่ง ได้แก่ แนวเทือกเขาอัลไพน์ ซึ่งมีแนวต่อมาจากเกาะชวาสู่เกาะสุมาตรา ผ่านเทือกเขาหิมาลัย และทะเลเมดิเตอร์เรเนียน แนวแผ่นดินไหวแห่งนี้มีแผ่นดินไหวเกิดขึ้นร้อยละ 17 ของทั้งโลก และอีกแห่งคือ แนวกลางมหาสมุทรแอตแลนติก ซึ่งมีแผ่นดินไหวเกิดขึ้นร้อยละ 5-6 ของทั้งโลก วงแหวนไฟเป็นผลมาจากการเคลื่อนที่และการชนกันของแผ่นเปลือกโลก แบ่งเป็นส่วนวงแหวนทางตะวันออก มีผลมาจากแผ่นนัซกาและแผ่นโกโกส ที่มุดตัวลงใต้แผ่นอเมริกาใต้ ส่วนของแผ่นแปซิฟิกที่ติดกับแผ่นฮวนเดฟูกา ซึ่งมุดตัวลงแผ่นอเมริกาเหนือ ส่วนทางตอนเหนือที่ติดกับทางตะวันตกเฉียงเหนือของแผ่นแปซิฟิก มุดตัวลงใต้บริเวณหมู่เกาะอะลูเชียนจนถึงทางใต้ของประเทศญี่ปุ่น และส่วนใต้ของวงแหวนไฟเป็นส่วนที่มีความซับซ้อนของแผ่นเปลือกโลก มีแผ่นเปลือกโลกขนาดเล็กมากมายที่ติดกับแผ่นแปซิฟิก ซึ่งเริ่มตั้งแต่หมู่เกาะมาเรียนา ประเทศฟิลิปปินส์ เกาะบูเกนวิลล์ ประเทศตองกา และประเทศนิวซีแลนด์ แนววงแหวนไฟยังมีแนวต่อไปเป็นแนวแอลไพน์ ซึ่งเริ่มต้นจากเกาะชวา เกาะสุมาตราของอินโดนีเซีย รอยเลื่อนที่มีชื่อเสียงที่ตั้งบนวงแหวนไฟนี้ ได้แก่ รอยเลื่อนแซนแอนเดรอัสในรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ซึ่งมีการเกิดแผ่นดินไหวขนาดเล็กอยู่เป็นประจำ รอยเลื่อนควีนชาร์ลอตต์ ทางชายฝั่งตะวันตกของหมู่เกาะควีนชาร์ลอตต์ รัฐบริติชโคลัมเบีย ประเทศแคนาดา ซึ่งทำให้เกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ 3 ครั้ง ได้แก่ แผ่นดินไหวแมกนิจูด 7.0 เมื่อ..

ใหม่!!: ภูเขาไฟมายอนและวงแหวนไฟ · ดูเพิ่มเติม »

สิงหาคม พ.ศ. 2549

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: ภูเขาไฟมายอนและสิงหาคม พ.ศ. 2549 · ดูเพิ่มเติม »

ดัชนีการระเบิดของภูเขาไฟ

วามสัมพันธ์กันระหว่างดัชนีการระเบิดของภูเขาไฟและปริมาณตกกระทบ ดัชนีการระเบิดของภูเขาไฟ (Volcanic Explosivity Index หรือ VEI) เป็นมาตราสัมพัทธ์ของการระเบิดของภูเขาไฟ ถูกคิดค้นขึ้นโดยคริสโตเฟอร์ จี นิวฮอลล์แห่งหน่วยงานสำรวจธรณีวิทยาสหรัฐอเมริกาและสตีเฟน เซลฟ์ ที่มหาวิทยาลัยฮาวาย เมื่อปี 1982 ปริมาณของผลผลิต ความสูงของเมฆที่เกิดจากการปะทุ และการสังเกตการณ์เชิงคุณภาพ ใช้เพื่อกำหนดค่าของการระเบิด มาตรานี้เป็นมาตราปลายเปิดโดยมีขนาดของกิจกรรมภูเขาไฟที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ที่ 8 ซึ่งค่าเริ่มจาก 0 สำหรับภูเขาไฟที่ไม่ได้ระเบิด โดยนิยามว่าน้อยกว่า 10,000 ม.3 ของเทบพราที่พุ่งออกมา และ 8 จะนิยามถึงการระเบิดครั้งมหึมา ซึ่งสามารถพ่นเทบพราออกมาได้ 1.0 × 1012 ม.3 และมีเมฆสูงในแนวตั้งกว่า 20 กิโลเมตร มาตราส่วนนี้เป็นลอการิทึมกับแต่ละช่วงเวลาในมาตราที่แสดงถึงการเพิ่มขึ้นเป็นสิบเท่าในเกณฑ์การพุ่งที่สังเกตได้ ยกเว้น VEI 0, 1 และ 2.

ใหม่!!: ภูเขาไฟมายอนและดัชนีการระเบิดของภูเขาไฟ · ดูเพิ่มเติม »

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

อเชียตะวันออกเฉียงใต้, อุษาคเนย์ หรือ เอเชียอาคเนย์ เป็นอนุภูมิภาคของทวีปเอเชีย ประกอบด้วยประเทศต่าง ๆ ซึ่งทิศเหนือติดจีน ทิศตะวันตกติดอินเดีย ทิศตะวันออกติดปาปัวนิวกินี และทิศใต้ติดออสเตรเลีย ภูมิภาคดังกล่าวตั้งอยู่บนรอยต่อของแผ่นทวีปหลายแผ่นที่ยังมีการไหวสะเทือนรุนแรงและการปะทุของภูเขาไฟอยู่ต่อเนื่อง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้แบ่งได้ภาคภูมิศาสตร์ได้สองภาค ได้แก่ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้แผ่นดินใหญ่หรืออินโดจีน ประกอบด้วย กัมพูชา ลาว พม่า ไทย เวียดนาม และมาเลเซียตะวันตก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นสมุทร ประกอบด้วยบรูไน มาเลเซียตะวันออก ติมอร์-เลสเต อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร.

ใหม่!!: ภูเขาไฟมายอนและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »