โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ภาษาไทขาว

ดัชนี ภาษาไทขาว

ษาไทขาว หรือ ภาษาไทด่อน (Tai Dón language) มีผู้พูดทั้งหมด 490,000 คน พบในประเทศเวียดนาม 280,000 คน (พ.ศ. 2545) ทางตอนเหนือตามแนวแม่น้ำแดงและแม่น้ำดำ พบในประเทศลาว 200,000 คน (พ.ศ. 2538) ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ไม่สามารถเข้าใจกันได้กับภาษาไทดำ ได้รับอิทธิพลจากภาษาลาว จัดอยู่ในตระกูลภาษาไท-กะได กลุ่มภาษากัม-ไท สาขาเบ-ไท สาขาย่อยไท-แสก.

9 ความสัมพันธ์: กลุ่มภาษาไทภาษาตั่ยเติ๊กภาษาไทฮ่างตงภาษาไททัญรายชื่อภาษาอักษรไทเวียดตระกูลภาษาไท-กะไดไม้ม้วน

กลุ่มภาษาไท

กลุ่มภาษาไท หรือ᩵ กลุ่มภาษาไต (Tai languages; 台語支, พินอิน: tái yǔ zhī) เป็นกลุ่มภาษาย่อยของตระกูลภาษาไท-กะได ประกอบด้วยภาษาไทยในประเทศไทย ภาษาลาวในประเทศลาว ภาษาไทใหญ่ในรัฐฉานของประเทศพม่า และภาษาจ้วง หนึ่งในภาษาหลักของประเทศจีนตอนใต้.

ใหม่!!: ภาษาไทขาวและกลุ่มภาษาไท · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาตั่ยเติ๊ก

ษาไตเติ๊ก จำนวนผู้พูดทั้งหมดไม่แน่นอน ใช้ในเมืองเติ๊ก (Muang Tâk, Mương Tấc) ตอนนี้จัดเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดเซินลา ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศเวียดนาม จัดอยู่ในตระกูลภาษาไท-กะได กลุ่มภาษากัม-ไท ใกล้เคียงกับ ภาษาไทแดง และภาษาไทขาว คนไตเติ๊กมีระบบอักษรส่วนตัว มีเสียงพยัญชนะ 22 เสียง สระ 13 เสียง วรรณยุกต์มี 6 เสียงสำหรับพยางค์เปิด และ 3 เสียงสำหรับพยางค์ป.

ใหม่!!: ภาษาไทขาวและภาษาตั่ยเติ๊ก · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาไทฮ่างตง

ษาไทฮ่างตง (Tai Hang Tong language) เป็นภาษาหนึ่งในตระกูลภาษาไท-กะได ชาวไทฮ่างตงใช้พูดในภาคเหนือของประเทศเวียดนาม มีผู้พูด 10,000 คน (พ.ศ. 2545) ใกล้เคียงกับภาษาไทขาวและภาษาไทดำ.

ใหม่!!: ภาษาไทขาวและภาษาไทฮ่างตง · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาไททัญ

ษาไททัญ (Tai Thanh language) หรือภาษาไทมันทัญ มีผู้พูดในประเทศเวียดนาม 20,000 คน (พ.ศ. 2545) ทางภาคเหนือ จัดอยู่ในตระกูลภาษาไท-กะได กลุ่มภาษากัม-ไท สาขาเบ-ไท สาขาย่อยไท-แสก ใกล้เคียงกับภาษาไทขาว ภาษาไทดำ และภาษาไทฮ่างตง.

ใหม่!!: ภาษาไทขาวและภาษาไททัญ · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อภาษา

รายชื่อภาษาต่าง ๆ ทั่วโลกเรียงตามลำดับตัวอักษร.

ใหม่!!: ภาษาไทขาวและรายชื่อภาษา · ดูเพิ่มเติม »

อักษรไทเวียด

อักษรไทเวียด (Tai Viet) ต้นกำเนิดยังไม่ทราบแน่ชัด พยัญชนะแบ่งเป็น 2 ชุด คือเสียงสูงและเสียงต่ำ มีเครื่องหมายวรรณยุกต์ 2 ตัว ใช้กำหนดเสียง 6 เสียง รูปพยัญชนะที่เป็นตัวสะกด แม่เกอว เกย กม กน และ กง ใช้รูปอักษรเสียงต่ำ ส่วนแม่ กกใช้รูปอักษรเสียงสูง ไม่มีรูปแบบการเรียงพยัญชนะที่แน่นอน.

ใหม่!!: ภาษาไทขาวและอักษรไทเวียด · ดูเพิ่มเติม »

ฃ (ขวด) เป็นพยัญชนะตัวที่ 3 จากพยัญชนะทั้งหมด 44 ตัวในอักษรไทย อยู่ในลำดับถัดจาก ข (ไข่) และก่อนหน้า ๒ค (ควาย) จัดอยู่ในกลุ่มอักษรสูงในระบบไตรยางศ์ มีชื่อเรียกกำกับว่า "ฃ ขวด" เข้าในพวกกัณฐชะ (เกิดจากเพดานอ่อน-) เป็นพยัญชนะชนิดหัวหยักหรือหัวแตก ออกเสียงอย่าง ข (ไข่) เมื่อเป็นพยัญชนะต้น ให้เสียง /kʰ/ สามารถใช้เป็นพยัญชนะสะกดในมาตรากกได้ ให้เสียง /k̚/ (ในทางทฤษฎี) ซึ่งเดิมทีนั้น ได้มีการคาดกันว่าเสียงของ ฃ นั้นมีความแตกต่างจากเสียง ข แต่กลับเพี้ยนไป ปัจจุบันไม่มีคำศัพท์ในหมวดคำ ฃ ในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 โดยระบุว่า ฃ เป็นอักษรที่ไม่นิยมใช้แล้ว อย่างไรก็ตาม ยังมีการใช้อักษร ฃ ในบางแวดวง นัยว่าเพื่อเป็นการอนุรักษ์ให้ตัวอักษรไทยมีใช้ครบ 44 ตัว รวมถึงมีการพูดถึงการฟื้นฟูการใช้งานอักษร ฃ ขึ้นมาใหม่ รวมทั้งในแบบเรียนอักษรไทยและบนแป้นพิมพ์ภาษาไทยก็ยังคงมีอักษร ฃ อยู่ อักษร ฃ นี้เป็นอักษรของไทยาดั้งเดิม และไม่ปรากฏในชุดอักษรภาษาอื่น ๆ ซึ่งหมายความว่า ในชุดอักษรภาษาอื่น ๆ ที่ลำดับอักษร ก ข ค ฆ ง แบบเดียวกันกับอักษรอินเดีย เช่น อักษรเทวนาครี อักษรขอม อักษรมอญ ฯลฯ ล้วนไม่มีตัวอักษร ฃ ทั้งสิ้น จึงให้เหตุผลว่า อักษร ฃ น่าจะเป็นการประดิษฐ์แทรกเช่นเดียวกับอักษร ฅ ซ ฎ ด บ ฝ ฟ ฯลฯ เมื่อพ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นใน พ.ศ. 1826 และก็ได้เติมพยัญชนะและวรรณยุกต์เข้าในวรรคอักษรแบบอินเดีย เพื่อใช้แทนเสียงที่ภาษาในสมัยนั้นมีอยู่ให้ครบถ้วน หรือไม่ก็คาดว่า ฃ ได้รับการดัดแปลงมาจากภาษาสันสกฤตนั่นเอง นอกจากตัวอักษร ฃ จะปรากฏในภาษาไทยแล้ว ตัวอักษร ฃ นี้ยังมีประวัติการใช้งานอยู่ในภาษาไทยถิ่นอื่นอีก เช่น คำเมืองมาลา คำจันทร.

ใหม่!!: ภาษาไทขาวและฃ · ดูเพิ่มเติม »

ตระกูลภาษาไท-กะได

ตระกูลภาษาไท-กะได (Tai–Kadai languages) หรือรู้จักกันในนาม กะได (Kadai), ขร้าไท (Kradai) หรือ ขร้า-ไท (Kra–Dai) เป็นตระกูลภาษาของภาษาที่มีเสียงวรรณยุกต์ที่พบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และตอนใต้ของประเทศจีน ในช่วงแรก ตระกูลภาษาไท-กะไดเคยถูกกำหนดให้เป็นอยู่ในตระกูลภาษาจีน-ทิเบต แต่ปัจจุบันได้แยกมาเป็นอีกตระกูลภาษาหนึ่ง และยังมีผู้เห็นว่าตระกูลภาษาไท-กะไดนี้มีความสัมพันธ์กับตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน โดยอยู่ในกลุ่มภาษาที่เรียกว่า "ออสโตร-ไท" หรือจัดเป็นตระกูลภาษาใหญ่ออสตริก รอเจอร์ เบลนช์ (Roger Blench) ได้กล่าวว่า ถ้าข้อจำกัดของความเชื่อมต่อของตระกูลภาษาออสโตร-ไทมีความสำคัญมาก แสดงว่าความสัมพันธ์ทั้งสองตระกูลอาจไม่ใช่ภาษาที่เป็นพี่น้องกัน กลุ่มภาษากะไดอาจเป็นสาขาของภาษาตระกูลออสโตรนีเซียนที่อพยพจากฟิลิปปินส์ไปสู่เกาะไหหลำ แล้วแพร่สู่จีนแผ่นดินใหญ่ ในขณะที่สาขาไดของภาษากลุ่มกะไดมีการปรับโครงสร้างใหม่โดยได้รับอิทธิพลจากกลุ่มภาษาม้ง-เมี่ยนและภาษาจีน โลร็อง ซาการ์ (Laurent Sagart) ได้เสนอว่า ภาษาไท-กะไดดั้งเดิมได้เกิดขึ้นในยุคต้นของตระกูลภาษาออสโตรนีเซียนที่อาจจะอพยพกลับจากทางตะวันตกเฉียงเหนือของไต้หวันไปยังชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของจีน หรือจากจีนไปไต้หวันและเกิดการพัฒนาของภาษาตระกูลออสโตรนีเซียนบนเกาะนี้ ความสัมพันธ์ระหว่างภาษาตระกูลออสโตรนีเซียนและไท-กะไดอาจจะอธิบายได้จากคำศัพท์ที่ใกล้เคียงกัน คำยืมในยุคก่อนประวัติศาสตร์และอื่น ๆ ที่ยังไม่รู้ นอกจากนั้นภาษาตระกูลออสโตรนีเซียนอาจจะมีความสัมพันธ์กับตระกูลภาษาจีน-ทิเบต ซึ่งมีจุดเริ่มต้นในบริเวณชายฝั่งของจีนภาคเหนือและภาคตะวันออก ความหลากหลายของตระกูลภาษาไท-กะไดในทางตอนใต้ของประเทศจีนบ่งบอกถึงมีความสัมพันธ์กับถิ่นกำเนิดของภาษา ผู้พูดภาษาสาขาไทอพยพจากตอนใต้ของจีนลงทางใต้เข้าสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้แต่ครั้งโบราณ เข้าสู่ดินแดนที่เป็นประเทศไทยและลาวบริเวณนี้เป็นบริเวณที่พบผู้พูดภาษาในตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก ชื่อ "ไท-กะได" มาจากการจัดแบ่งตระกูลภาษาออกเป็นสองสาขาคือ "ไท" และ "กะได" ซึ่งเลิกใช้แล้ว เนื่องจากกะไดจะเป็นกลุ่มภาษาที่เป็นไปได้ก็ต่อเมื่อมีกลุ่มภาษาไทรวมอยู่ด้วย ในบางบริบทคำว่ากะไดจึงใช้เรียกตระกูลภาษาไท-กะไดทั้งตระกูล แต่บางบริบทก็จำกัดการใช้คำนี้ให้แคบลง โดยหมายถึงกลุ่มภาษาขร้าที่เป็นส่วนหนึ่งของตระกูลภาษานี้.

ใหม่!!: ภาษาไทขาวและตระกูลภาษาไท-กะได · ดูเพิ่มเติม »

ไม้ม้วน

ตนา ไม้ม้วน (ใ) ใช้เป็นสระ ใอ เมื่ออยู่หน้าพยัญชนะต้น.

ใหม่!!: ภาษาไทขาวและไม้ม้วน · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »