สารบัญ
7 ความสัมพันธ์: ภาษาไทยผีเสื้อ (สำนักพิมพ์)ขคฅไตรยางศ์เสียงกัก เพดานอ่อน ไม่ก้อง
ภาษาไทย
ษาไทย เป็นภาษาราชการของประเทศไทย ภาษาไทยเป็นภาษาในกลุ่มภาษาไท ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยของตระกูลภาษาไท-กะได สันนิษฐานว่า ภาษาในตระกูลนี้มีถิ่นกำเนิดจากทางตอนใต้ของประเทศจีน และนักภาษาศาสตร์บางส่วนเสนอว่า ภาษาไทยน่าจะมีความเชื่อมโยงกับตระกูลภาษาออสโตร-เอเชียติก ตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน และตระกูลภาษาจีน-ทิเบต ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีระดับเสียงของคำแน่นอนหรือวรรณยุกต์เช่นเดียวกับภาษาจีน และออกเสียงแยกคำต่อคำ.
ดู ฃและภาษาไทย
ผีเสื้อ (สำนักพิมพ์)
ำนักพิมพ์ผีเสื้อ เป็นสำนักพิมพ์ขนาดเล็ก ที่อยู่ 261.
ข
(ไข่) เป็นพยัญชนะ ตัวที่ 2 ในบรรดาพยัญชนะ 44 ตัวของอักษรไทย ในลำดับถัดจาก ก (ไก่) และก่อนหน้า ฃ (ขวด) จัดอยู่ในกลุ่มอักษรสูง ในระบบไตรยางศ์ มีชื่อเรียกกำกับว่า “ข ไข่” อักษร ข เป็นได้ทั้งพยัญชนะต้น ให้เสียง /kʰ/ และพยัญชนะสะกด ให้เสียง /k̚/.
ดู ฃและข
ค
(ควาย) เป็นพยัญชนะ ตัวที่ 4 ในบรรดาพยัญชนะ 44 ตัวของอักษรไทย ในลำดับถัดจาก ฃ (ขวด) และก่อนหน้า ฅ (คน) จัดอยู่ในกลุ่มอักษรต่ำ ในระบบไตรยางศ์ มีชื่อเรียกกำกับว่า “ค ควาย” อักษร ค เป็นได้ทั้งพยัญชนะต้น ให้เสียง /kʰ/ และพยัญชนะสะกด ให้เสียง /k̚/.
ดู ฃและค
ฅ
ฅ (คน) เป็นพยัญชนะ ตัวที่ 5 ในบรรดาพยัญชนะ 44 ตัวของอักษรไทย ในลำดับถัดจาก ค (ควาย) และก่อนหน้า ฆ (ระฆัง) จัดอยู่ในกลุ่มอักษรต่ำ ในระบบไตรยางศ์ ออกเสียงอย่าง ค (ควาย) นิยมเรียกกันว่า “ฅ คน” อักษรเป็นได้ทั้งพยัญชนะต้น ให้เสียง /kʰ/ และพยัญชนะสะกด ให้เสียง /k̚/ (ในทางทฤษฎี) ฅ เป็นอักษรที่เลิกใช้แล้ว ไม่มีคำศัพท์ในหมวดคำ ฅ ในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน แต่ยังมีการใช้ ฅ อยู่บ้างในบางแวดวง นัยว่าเพื่อเป็นการอนุรักษ์ให้ตัวอักษรไทยมีใช้ครบ 44 ตัว เท่าที่พบเห็น มักจะใช้ในคำว่า ฅน (คน) โดยเฉพาะในบันเทิงคดีต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม ในแบบเรียนอักษรไทย ยังคงมีอักษร ฅ อยู่ อักษร ฅ นี้เป็นอักษรที่ใช้แทนเสียงในภาษาไทดั้งเดิม ในชุดอักษรสำหรับภาษาตระกูลอื่นๆ ที่ลำดับอักษร ก ข ค ฆ ง แบบอักษรอินเดีย เช่น อักษรเทวนาครี อักษรขอม อักษรมอญ ฯลฯ มักจะไม่มีตัวอักษร ฅ น่าจะเป็นการประดิษฐ์แทรกเช่นเดียวกับอักษร ฃ ซ ฎ ด บ ฝ ฟ ฯลฯ ที่ไทยได้เติมเข้าในวรรคอักษรแบบอินเดีย โดยเหตุผลเพื่อต้องการใช้แทนเสียงที่มีอยู่ให้ครบถ้วน โดยมีพัฒนาการควบคู่กันมากับอักษร ฃ (ขวด).
ดู ฃและฅ
ไตรยางศ์
ตรยางศ์ หรือ อักษรสามหมู่ คือระบบการจัดหมวดหมู่อักษรไทย (เฉพาะรูปพยัญชนะ) ตามลักษณะการผันวรรณยุกต์ ของพยัญชนะแต่ละหมวด เนื่องจากพยัญชนะไทย เมื่อกำกับด้วยวรรณยุกต์หนึ่งๆ แล้วจะมีเสียงวรรณยุกต์ที่แตกต่างกัน การจัดหมวดพยัญชนะ ทำให้การเรียนภาษาไทยง่ายขึ้น ด้วยเหตุนี้ จึงเชื่อว่า ในชั้นแรกนั้น การแบ่งหมวดหมู่พยัญชนะน่าจะทำขึ้นเพื่อประโยชน์ในการแต่งตำราสอนภาษาไทยแก่นักเรียน คำว่า ไตรยางศ์ มาจากคำในภาษาสันสกฤตว่า ตฺรย (ไตร) ซึ่งแปลว่า สาม รวมกับ อํศ (องศ์) ซึ่งแปลว่า ส่วน ดังนั้น ไตรยางศ์ จึงแปลรวมกันได้ว่าว่า สามส่วน.
ดู ฃและไตรยางศ์
เสียงกัก เพดานอ่อน ไม่ก้อง
เสียงกัก เพดานอ่อน ไม่ก้อง เป็นเสียงพยัญชนะที่มีใช้ในหลายภาษา สัทอักษรสากลที่ใช้แทนเสียงนี้คือ และสัญลักษณ์ X-SAMPA คือ k เสียงนี้ในภาษาไทยจะสะกดด้วยตัวอักษร ก เมื่อไม่พ่นลม และ ข ฃ ค ฅ ฆ เมื่อพ่นลม หมวดหมู่:เสียงพยัญชนะ หมวดหมู่:เสียงพยัญชนะในภาษาไทย.