โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กลุ่มภาษาไท

ดัชนี กลุ่มภาษาไท

กลุ่มภาษาไท หรือ᩵ กลุ่มภาษาไต (Tai languages; 台語支, พินอิน: tái yǔ zhī) เป็นกลุ่มภาษาย่อยของตระกูลภาษาไท-กะได ประกอบด้วยภาษาไทยในประเทศไทย ภาษาลาวในประเทศลาว ภาษาไทใหญ่ในรัฐฉานของประเทศพม่า และภาษาจ้วง หนึ่งในภาษาหลักของประเทศจีนตอนใต้.

39 ความสัมพันธ์: พ่าเกกลุ่มภาษากัม-ไทกลุ่มภาษาไทตะวันตกเฉียงใต้ภาษาพวนภาษาลาวภาษาผู้ไทภาษาจ้วงภาษาคำยังภาษาตั่ยภาษาตั่ยเติ๊กภาษาปลังภาษาปาดีภาษาปู้อีภาษาแสกภาษาโย้ยภาษาไทยภาษาไทยถิ่นอีสานภาษาไทยถิ่นใต้ภาษาไทยถิ่นเหนือภาษาไทฮ่างตงภาษาไทขาวภาษาไทดั้งเดิมภาษาไทดำภาษาไทใหญ่ภาษาไทใต้คงรายชื่อภาษาเรียงตามจำนวนผู้ใช้เป็นภาษาแม่สำนักงานราชบัณฑิตยสภาสงครามโลกครั้งที่สองในประเทศไทยที่มาของประชากรลาวขุนบรมตระกูลภาษาไท-กะไดซาวลาประวัติศาสตร์ไทย (พ.ศ. 2475–2516)ประเทศไทยแขวงหัวพันไม้ม้วนไทไทหย่า

พ่าเก

วไทพ่าเก เป็นชาวไทกลุ่มหนึ่งที่อพยพมาอาศัยอยู่ที่ประเทศอินเดีย โดยอพยพเข้าทางทิวเขาปาดไก่ ทางตอนเหนือของประเทศพม่าปัจจุบัน ถิ่นเดิมของชาวไทพ่าเกอยู่ที่เมืองเมาหลวง ต่อมาได้ติมตามกษัตริย์อาหมมาอยู่ที่เมืองกอง (โมกอง) บริเวณถ้ำผาใหญ่ และผานั้นเป็นผาอันเก่าแก่มาก จึงได้ชื่อว่า ชาวไทพ่าเก ถึงปี พ.ศ. 2358 จึงอพยพข้ามทิวเขาปาดไก่จึงอพยพสู่เมืองนุนสวนคำ ตั้งถิ่นฐานอยู่ที่รัฐอรุณาจัลประเทศ ต่อมาถูกน้ำท่วมบ้านเรือนเสียหาย จึงอพยพมาอยู่ริมลำน้ำจิก ครั้งอังกฤษเข้ามาปกครองเมืองนุนสวนคำ จึงย้ายไปอยู่ริมแม่น้ำทิหิงจนถึงปัจจุบัน.

ใหม่!!: กลุ่มภาษาไทและพ่าเก · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มภาษากัม-ไท

กลุ่มภาษากัม-ไท (Kam–Tai languages) หรือ กลุ่มภาษาจ้วง-ต้ง (Zhuang–Dong languages) เป็นสาขาภาษาหลักที่มีการเสนอให้จัดแบ่งขึ้นในตระกูลภาษาไท-กะได ประกอบด้วยภาษาของชนชาติต่าง ๆ ในจีนตอนใต้และในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประมาณกว่าร้อยละ 80 ของภาษาทั้งหมดในตระกูลดังกล่าว กลุ่มภาษากัม-สุย, เบ และไท (ซึ่งเป็นกลุ่มภาษาหลัก 3 ใน 5 กลุ่มของตระกูลไท-กะได) มักถูกจัดอยู่รวมกันในกลุ่มภาษากัม-ไทเนื่องจากมีคำศัพท์ที่ใช้ร่วมกันจำนวนมาก อย่างไรก็ตามการจัดแบ่งเช่นนี้มีผู้โต้แย้งโดยมองว่าเป็น "หลักฐานของการไม่มีจริง" (negative evidence) ซึ่งอาจเป็นเพราะมีการแทนที่ศัพท์เข้าไปในสาขาอื่น ความคล้ายกันของระบบหน่วยคำทำให้มีนักภาษาศาสตร์จัดสาขาขร้ากับกัม-สุย เป็นกลุ่มกะไดเหนือทางหนึ่ง และสาขาไหลกับไท เป็นกลุ่มกะไดใต้อีกทางหนึ่งแทน ตำแหน่งของภาษาอังเบในข้อเสนอดังกล่าวไม่ได้ถูกพิจารณาไปด้ว.

ใหม่!!: กลุ่มภาษาไทและกลุ่มภาษากัม-ไท · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มภาษาไทตะวันตกเฉียงใต้

กลุ่มภาษาไทตะวันตกเฉียงใต้ (Southwestern Tai languages) เป็นกลุ่มภาษาไทในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กลุ่มภาษานี้มี ภาษาไทย ภาษาลาว ภาษาไทยถิ่นเหนือ และภาษาไทใหญ่ เป็นต้น.

ใหม่!!: กลุ่มภาษาไทและกลุ่มภาษาไทตะวันตกเฉียงใต้ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาพวน

ษาพวน หรือ ภาษาลาวพวน เป็นภาษาในตระกูลไท-กะได เป็นภาษาของชาวไทพวนหรือลาวพวน คำศัพท์ใกล้เคียงกับภาษาลาวและภาษาไทยถิ่นอีสานมากกว่าภาษาไทยภาคกลางและเป็นภาษาที่ใกล้เคียงกันกับภาษาผู้ไทมาก มีเสียงพยัญชนะ 20 เสียง เป็นตัวสะกดได้ 9 เสียง มีเสียงควบกล้ำเฉพาะ /คฺว/ เท่านั้น สระมี 21 เสียง เป็นสระเดี่ยว 18 เสียง สระประสม 3 เสียง วรรณยุกต์มี 6 เสียง ลักษณะเด่นของคำพวนเช่น ถ้าใช้ ก เป็นตัวสะกดจะไม่ออกเสียงตัวสะกด ดังเช่น หูก พวนออกเสียงเป็น หุ ปาก พวนออกเสียงเป็น ปะ แบก พวนออกเสียง แบะ ส่วนคำที่ใช้สระไม้ม้วน(สระ-ใ-)จะออกเสียงเป็น สระเออ เช่น บ้านใต้ พวนออกเสียงเป็น บ้านเต้อ ใกล้ พวนออกเสียงเป็น เค่อ ให้ พวนออกเสียงเป็น เห้อ ส่วนสระไม้มลาย(สระ-ไ-)จะออกเสียงตามรูป เช่น ผัดไทยใส่ไข่ พวนออกเสียงเป็น ผัดไทยเส่อไข่ จะไม่พูดว่า ผัดเทอเส่อเข่อ พวนใช้เสียง ซ แทนเสียง ช เช่น ช้าง เป็น ซ้าง ช่วย เป็น ซ่อย ไม่มีเสียง ร ซึ่งมักจะออกเป็น ฮ แทน เช่น เรือน เป็น เฮือน ร่ำเรียน เป็น ฮ่ำเฮียน ไร่นา เป็น ไฮ่นา การออกเสียง ย และ ญ ลักษณะการออกเสียงของภาษาไทยนั้น ลิ้นจะอยู่กลางปาก แต่การออกเสียงของคนพวน ลิ้นจะแตะเพดานปากด้านหน้.

ใหม่!!: กลุ่มภาษาไทและภาษาพวน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาลาว

ษาลาว (ลาว: ພາສາລາວ พาสาลาว) เป็นภาษาราชการของประเทศลาว เป็นภาษาที่มีวรรณยุกต์ในภาษากลุ่มไท และสัมพันธ์ใกล้ชิดกับภาษาอีสานของประเทศไทย ระบบการเขียนในภาษาลาวจะใช้อักษรลาว ซึ่งเป็นระบบอักษรสระประกอบ (ระบบการเขียนที่ประกอบด้วยสัญลักษณ์แทนพยัญชนะและตามด้วยสระที่จะอยู่ด้านหน้า หลัง บน ล่าง ของพยัญชนะ) และสัมพันธ์ใกล้ชิดกับอักษรไท.

ใหม่!!: กลุ่มภาษาไทและภาษาลาว · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาผู้ไท

ษาผู้ไท (เขียน ผู้ไท หรือ ภูไท ก็มี) เป็นภาษาในตระกูลภาษาไท-กะได มีผู้พูดจำนวนไม่น้อย กระจัดกระจายในภูมิภาคต่าง ๆ ของไทยและลาว เข้าใจว่า ผู้พูดภาษาผู้ไทมีถิ่นที่อยู่ดั้งเดิมอยู่ในเมือง นาน้อยอ้อยหนู ยังเป็นที่ถกเถียงกันว่า เมืองนาน้อยอ้อยหนู อันเป็นถิ่นฐานดั้งเดิมของผู้ไทอยู่ทีไหน เพราะปัจจุบันมีเมืองนาน้อยอ้อยหนูอยู่ถึงสามแห่ง ตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองแถงหรือปัจจุบันคือจังหวัดเดียนเบียนฟู แห่งที่สองอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองแถง และแห่งที่สามอยู่ห่างจากเมืองลอของเวียดนามประมาณ 10 กิโลเมตร ชาวไทดำกับผู้ไทเป็นคนละชาติพันธุ์กัน นักภาษาศาสตร์สันนิษฐานว่า อพยพแยกจากกันนานกว่า 1,500 ปีมาแล้ว ในปัจจุบัน มีการจัดให้ภาษาผู้ไทเป็นกลุ่มย่อยของภาษาไทดำซึ่งไม่ถูกต้อง ผู้ไทอพยพจากนาน้อยอ้อยหนูไปอยู่ที่เมืองวังอ่างคำ ซึ่งคือเมืองวีระบุรี ในแขวงสุวรรณเขต ประเทศลาว ก่อนถูกกวาดต้อนมาอยู่ในดินแดนประเทศไทยเมื่อไม่ถึง 200 ปีมานี้ ผู้ไทที่ถูกกวาดต้อนมาอยู่ฝั่งขวาแม่น้ำโขงมีจำนวนไม่น้อย แต่ผู้ไทซึ่งอยู่ฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงแถบแขวงสุวรรณเขตและแขวงคำม่วนในลาว ก็ยังมีประปราย มักจะเรียกผู้ไททั้งสองกลุ่มนี้รวม ๆ กันว่า "ผู้ไทสองฝั่งโขง".

ใหม่!!: กลุ่มภาษาไทและภาษาผู้ไท · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาจ้วง

ษาจ้วง (จ้วง: Vahcuengh) เป็นภาษาของชาวจ้วงในเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง ประเทศจีน เป็นภาษาตระกูลไท-กะได มีวรรณยุกต์ 6 เสียง ระบบการเขียนมีทั้งแบบที่ยืมมาจากอักษรจีน คล้ายกับอักษรจื๋อโนมของเวียดนาม เรียก สือดิบผู้จ่อง และแบบที่เขียนด้วยอักษรละติน ซึ่งเริ่มใช้เมื่อ พ.ศ. 2500 และปรับปรุงอีกครั้งเมื่อ พ.ศ. 2529 ภาษาจ้วงแบ่งเป็นสองกลุ่มใหญ่ ๆ คือ.

ใหม่!!: กลุ่มภาษาไทและภาษาจ้วง · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาคำยัง

ษาคำยัง (Shyam ศยามฺ) มีผู้พูดทั้งหมด 50 คน ในหมู่บ้านโป่อ่ายมุข (Pawaimukh) ในเขตทินซูเกีย (Tinsukia District) รัฐอัสสัม ประเทศอินเดีย ภาษาคำยังนี้มีความคล้ายคลึงกับภาษาพ่าเกและภาษาไทใหญ่ในประเทศพม่า ผู้ใช้ภาษาคำยังในปัจจุบันหลายคนสามารถอ่านและเขียนภาษาอัสสัมได้ แต่กลายเป็นว่ามีผู้เฒ่าผู้แก่เท่านั้นที่สามารถอ่านและเขียนภาษาคำยังได้ ซึ่งส่วนมากใช้สำหรับพิธีกรรมทางศาสนาในปี ค.ศ. 1981 ชาวคำยังมีความสามารถอ่านและเขียนภาษาอัสสัมเป็นภาษาที่สองได้ถึงร้อยละ 58 ชาวคำยังมีความสนิทสนมกับชาวคำตี่ในรัฐอรุณาจัลประเทศเป็นพิเศษ ปัจจุบันภาษาคำยังถือว่าเป็นภาษาที่ใกล้สูญพันธุ์ ในอนาคตภาษาคำยังคงกลายเป็นเพียงความทรงจำครั้งหนึ่งของชาวคำยังที่มีภาษาและอักษรเป็นของตนเองอยู่ เช่นเดียวกับคนไทกลุ่มอื่น ๆ ที่อยู่ในประเทศอินเดียอย่างกลุ่มอาหมที่ลืมภาษาอาหมของตนเกือบหลายร้อยปีทีเดียว และคงเป็นภาษาที่ใช้ในพิธีกรรมทางศาสนาแบบเดียวกับภาษาอาหมในไม่ช้.

ใหม่!!: กลุ่มภาษาไทและภาษาคำยัง · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาตั่ย

ษาตั่ย (Tày language) มีผู้พูดทั้งหมด 1,480,000 คน (พ.ศ. 2542) ในประเทศเวียดนามทางตอนเหนือและตะวันตกเฉียงเหนือใกล้กับชายแดนประเทศจีน อาจจะมีผู้พูดภาษานี้ในประเทศลาว ฝรั่งเศส และสหรัฐอเมริกา ส่วนใหญ่พูดภาษาเวียดนามได้ด้วย จัดอยู่ในตระกูลภาษาไท-กะได กลุ่มภาษากัม-ไท เขียนด้วยอักษรละติน.

ใหม่!!: กลุ่มภาษาไทและภาษาตั่ย · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาตั่ยเติ๊ก

ษาไตเติ๊ก จำนวนผู้พูดทั้งหมดไม่แน่นอน ใช้ในเมืองเติ๊ก (Muang Tâk, Mương Tấc) ตอนนี้จัดเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดเซินลา ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศเวียดนาม จัดอยู่ในตระกูลภาษาไท-กะได กลุ่มภาษากัม-ไท ใกล้เคียงกับ ภาษาไทแดง และภาษาไทขาว คนไตเติ๊กมีระบบอักษรส่วนตัว มีเสียงพยัญชนะ 22 เสียง สระ 13 เสียง วรรณยุกต์มี 6 เสียงสำหรับพยางค์เปิด และ 3 เสียงสำหรับพยางค์ป.

ใหม่!!: กลุ่มภาษาไทและภาษาตั่ยเติ๊ก · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาปลัง

ษาปลังหรือภาษาบลัง ภาษาปูลัง เป็นภาษาตระกูลออสโตรเอเชียติก กลุ่มมอญ-เขมร สาขาปะหล่อง มีผู้พูดทั้งสิ้น 37,200 คน พบในจีน 24,000 คน (พ.ศ. 2533) ทางตะวันตกเฉียงใต้ของยูนนาน ในสิบสองปันนา บางส่วนอยู่ร่วมกับชาวว้า ผู้พูดภาษานี้มักใช้ภาษาไท ภาษาว้าหรือภาษาจีนได้ด้วย พบในพม่า 12,000 คน (พ.ศ. 2537) ทางตะวันออกของรัฐฉาน พบในไทย 1,200 คน ในอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย และในกรุงเทพฯ อัตราการรู้หนังสือต่ำ อพยพมาจากสิบสองปันนาโดยเข้าไปอยู่ในพม่าระยะหนึ่งแล้วจึงเข้ามาไทยเมื่อ..

ใหม่!!: กลุ่มภาษาไทและภาษาปลัง · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาปาดี

ษาปาดี (Pa Di language) มีผู้พูดทั้งหมด 1,300 คน พบในประเทศจีน 1,000 คน ส่วนใหญ่อยู่ในมณฑลยูนนาน พบในประเทศเวียดนามทางภาคเหนือและภาคตะวันตกเฉียงเหนือ 300 คน จัดอยู่ในตระกูลภาษาไท-กะได กลุ่มภาษากัม-ไท เป็นภาษาที่มีวรรณยุกต.

ใหม่!!: กลุ่มภาษาไทและภาษาปาดี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาปู้อี

ษาปู้อี (ปู้อี: Haausqyaix หรืออาจพบสะกดเป็น Buyi, Bouyei, Tujia หรือ Puyi;; tiếng người Bố Y) มีผู้พูดทั้งหมด 2,649,205 คน พบในจีน 2,600,000 คน (พ.ศ. 2543) ในบริเวณที่ราบกุ้ยโจว-ยูนนาน ในมณฑลยูนนานและเสฉวน พบในเวียดนาม 49,100 คน (พ.ศ. 2542) มีบางส่วนในฝรั่งเศสและสหรัฐอเมริกา จัดอยู่ในตระกูลภาษาไท-กะได กลุ่มภาษากัม-ไท สาขาเบ-ไท สาขาย่อยไท-แสก ส่วนใหญ่ใช้ในเขตปกครองตนเองของชาวปูยี มีการออกหนังสือพิมพ์ในภาษานี้ เขียนด้วยอักษรละติน ในจีนจะพูดภาษาจีนเป็นภาษาที่สอง เรียงประโยคแบบประธาน–กริยา–กรรม ส่วนใหญ่เป็นพยางค์เดี่ยว มีวรรณยุกต์ 6 เสียงสำหรับคำเป็น และ 4 เสียงสำหรับคำต.

ใหม่!!: กลุ่มภาษาไทและภาษาปู้อี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาแสก

ษาแสก เป็นภาษาตระกูลไท-กะไดที่ใช้พูดบริเวณสองฝั่งแม่น้ำโขงในประเทศลาวและจังหวัดนครพนม ประเทศไทย ผู้พูดภาษานี้เหลือน้อยเพราะคนรุ่นใหม่หันไปพูดภาษาลาวและภาษาไทยถิ่นอีสานมากขึ้น.

ใหม่!!: กลุ่มภาษาไทและภาษาแสก · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาโย้ย

ษาโย้ย (Yoy language) เป็นภาษาในตระกูลภาษาไท-กะได ผู้พูดภาษานี้ตั้งถิ่นฐานในจังหวัดสกลนคร ประเทศไทย และในประเทศลาว มีผู้พูดในประเทศไทยประมาณ 50,000 คน (พ.ศ. 2547) พูดภาษาไทยถิ่นอีสานได้ด้วย ภาษาโย้ยมีไวยากรณ์คล้ายกับภาษาไทยถิ่นอีสานแต่ใช้คำศัพท์และไวยากรณ์ที่แตกต่างกันอยู่บ้าง แต่เดิมใช้คู่กับ อักษรธรรมลาว และ อักษรไทน้อยซึ่งเป็นตัวอักษรของอาณาจักรล้านช้าง.

ใหม่!!: กลุ่มภาษาไทและภาษาโย้ย · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาไทย

ษาไทย เป็นภาษาราชการของประเทศไทย ภาษาไทยเป็นภาษาในกลุ่มภาษาไท ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยของตระกูลภาษาไท-กะได สันนิษฐานว่า ภาษาในตระกูลนี้มีถิ่นกำเนิดจากทางตอนใต้ของประเทศจีน และนักภาษาศาสตร์บางส่วนเสนอว่า ภาษาไทยน่าจะมีความเชื่อมโยงกับตระกูลภาษาออสโตร-เอเชียติก ตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน และตระกูลภาษาจีน-ทิเบต ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีระดับเสียงของคำแน่นอนหรือวรรณยุกต์เช่นเดียวกับภาษาจีน และออกเสียงแยกคำต่อคำ.

ใหม่!!: กลุ่มภาษาไทและภาษาไทย · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาไทยถิ่นอีสาน

ษาไทยถิ่นอีสาน หรือ ภาษาลาวอีสาน เป็นภาษาท้องถิ่นที่ใช้พูดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย เป็นภาษาลาวสำเนียงหนึ่งในสำเนียงภาษาถิ่นของภาษาลาวซึ่งแบ่งเป็น 6 สำเนียงใหญ่ คือ.

ใหม่!!: กลุ่มภาษาไทและภาษาไทยถิ่นอีสาน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาไทยถิ่นใต้

ษาไทยถิ่นใต้ หรือ ภาษาตามโพร (Dambro) เป็นภาษาถิ่น ที่ใช้ในภาคใต้ของประเทศไทย นับแต่จังหวัดชุมพรลงไปถึงชายแดนประเทศมาเลเซียรวม 14 จังหวัด และตอนล่างของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ อีกทั้งบางหมู่บ้าน ในรัฐกลันตัน, รัฐปะลิส, รัฐเกอดะฮ์ (ไทรบุรี), รัฐเประก์ และรัฐตรังกานู ประเทศมาเลเซีย รวมถึงบางหมู่บ้าน ในเขตตะนาวศรี ทางตอนใต้ของประเทศพม่าด้วย ภาษาไทยถิ่นใต้ มีเพียงภาษาพูดเท่านั้น ไม่มีตัวอักษรเขียนเฉ.

ใหม่!!: กลุ่มภาษาไทและภาษาไทยถิ่นใต้ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาไทยถิ่นเหนือ

ำเมือง (40px)) หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า ภาษาถิ่นภาคพายัพ เป็นภาษาถิ่นของชาวไทยวนทางภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย ซึ่งเป็นอาณาจักรล้านนาเดิม ได้แก่ เชียงใหม่, เชียงราย, อุตรดิตถ์, แพร่, น่าน, แม่ฮ่องสอน, ลำพูน, ลำปาง, พะเยา และยังมีการพูดและการผสมภาษากันในบางพื้นที่ของจังหวัดตาก, สุโขทัย และเพชรบูรณ์ ปัจจุบันกลุ่มคนไทยวนได้กระจัดกระจายและมีถิ่นที่อยู่ในจังหวัดสระบุรี, จังหวัดราชบุรี และอำเภอของจังหวัดอื่นที่ใกล้เคียงกับราชบุรีอีกด้วย คำเมืองยังสามารถแบ่งออกเป็นสำเนียงล้านนาตะวันตก (ในจังหวัดเชียงใหม่, ลำพูน และแม่ฮ่องสอน) และสำเนียงล้านนาตะวันออก (ในจังหวัดเชียงราย, พะเยา, ลำปาง, อุตรดิตถ์, แพร่ และน่าน) ซึ่งจะมีความแตกต่างกันบ้าง คือ สำเนียงล้านนาตะวันออกส่วนใหญ่จะไม่พบสระเอือะ เอือ แต่จะใช้สระเอียะ เอียแทน (มีเสียงเอือะและเอือเพียงแต่คนต่างถิ่นฟังไม่ออกเอง เนื่องจากเสียงที่ออกมาจะเป็นเสียงนาสิกใกล้เคียงกับเอียะ เอีย) ส่วนคนในจังหวัดลำพูนมักจะพูดสำเนียงเมืองยอง เพราะชาวลำพูนจำนวนมากสืบเชื้อสายมาจากชาวยองในรัฐฉาน จึงมีสำเนียงที่เป็นเอกลักษณ์ คำเมืองมีไวยากรณ์คล้ายกับภาษาไทยกลางแต่ใช้คำศัพท์ไม่เหมือนกันและไวยากรณ์ที่แตกต่างกันอยู่บ้าง แต่เดิมใช้คู่กับ อักษรธรรมล้านนา ซึ่งเป็นตัวอักษรของอาณาจักรล้านนาที่ใช้อักษรมอญเป็นต้นแ.

ใหม่!!: กลุ่มภาษาไทและภาษาไทยถิ่นเหนือ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาไทฮ่างตง

ษาไทฮ่างตง (Tai Hang Tong language) เป็นภาษาหนึ่งในตระกูลภาษาไท-กะได ชาวไทฮ่างตงใช้พูดในภาคเหนือของประเทศเวียดนาม มีผู้พูด 10,000 คน (พ.ศ. 2545) ใกล้เคียงกับภาษาไทขาวและภาษาไทดำ.

ใหม่!!: กลุ่มภาษาไทและภาษาไทฮ่างตง · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาไทขาว

ษาไทขาว หรือ ภาษาไทด่อน (Tai Dón language) มีผู้พูดทั้งหมด 490,000 คน พบในประเทศเวียดนาม 280,000 คน (พ.ศ. 2545) ทางตอนเหนือตามแนวแม่น้ำแดงและแม่น้ำดำ พบในประเทศลาว 200,000 คน (พ.ศ. 2538) ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ไม่สามารถเข้าใจกันได้กับภาษาไทดำ ได้รับอิทธิพลจากภาษาลาว จัดอยู่ในตระกูลภาษาไท-กะได กลุ่มภาษากัม-ไท สาขาเบ-ไท สาขาย่อยไท-แสก.

ใหม่!!: กลุ่มภาษาไทและภาษาไทขาว · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาไทดั้งเดิม

ษาไทดั้งเดิม หรือ ภาษาโปรโต-ไต (Proto-Tai language) เป็นภาษาดั้งเดิม (proto-language) หรือภาษาบรรพบุรุษที่ได้รับการสืบสร้างขึ้นของภาษาไททั้งมวล ซึ่งได้แก่ ภาษาไทย ภาษาลาว ภาษาคำเมือง ภาษาไทใหญ่ ภาษาไทลื้อ ภาษาไทดำ เป็นต้น ทั้งนี้ ภาษาไทดั้งเดิมมิได้ปรากฏเป็นหลักฐานในเอกสารใด ๆ ที่หลงเหลืออยู่โดยตรง แต่ได้รับการสืบสร้างตามระเบียบวิธีเปรียบเทียบ (comparative method) โดยนักภาษาศาสตร์หลี่ ฟางกุ้ย ใน..

ใหม่!!: กลุ่มภาษาไทและภาษาไทดั้งเดิม · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาไทดำ

ษาไทดำ (Tai Dam language, Black Tai language; 傣担语, Dǎidānyǔ) มีผู้พูดทั้งหมด 763,700 คน อาศัยอยู่ระหว่างแม่น้ำแดงกับแม่น้ำดำ ทางภาคเหนือของประเทศเวียดนาม 699,000 คน (พ.ศ. 2545) อยู่ในแขวงคำม่วน ประเทศลาว 50,000 คน (พ.ศ. 2538) อยู่ในจังหวัดเลย ประเทศไทย 700 คน (พ.ศ. 2547) อพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2428 ลาวโซ่งก็คือคนไทดำกลุ่มแรกที่เข้ามาสู่ประเทศไทยในสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี นอกจากนี้ยังมีผู้พูดภาษานี้ในออสเตรเลีย จีน ฝรั่งเศส และสหรัฐอเมริกา ภาษาไทดำอยู่ในตระกูลภาษาไท-กะได ภาษากลุ่มกัม-ไท สาขาเบ-ไท สาขาย่อยไท-แสก อัตราการรู้หนังสือภาษาแม่ราวร้อยละ 1-5 เป็นภาษาของชนกลุ่มน้อยที่สำคัญในเวียดนาม.

ใหม่!!: กลุ่มภาษาไทและภาษาไทดำ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาไทใหญ่

ษาไทใหญ่ หรือ ภาษาฉาน (ไทใหญ่:, ความไท, /kwáːm.táj/; Shan language) เป็นภาษาตระกูลไท-กะได ใช้พูดในภาคเหนือของประเทศพม่า ประเทศไทย และทางตอนใต้ของประเทศจีน มีเสียงวรรณยุกต์ 5 เสียง ไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนผู้พูดที่แน่นอน เนื่องจากสงครามระหว่างพม่ากับไทใหญ่ ทำให้การเข้าไปศึกษาเกี่ยวกับชาวไทใหญ่ทำได้ยาก คาดว่ามีผู้พูดราว 4-30 ล้านคน มีอักษรเป็นของตนเอง 2 ชนิดคือ อักษรไทใหญ่ ใช้ในพม่า และอักษรไทใต้คง ใช้ในจีน แม้ว่าจะมีคำกล่าวว่า "อย่ากิ๋นอย่างม่าน อย่าตานอย่างไต" ซึ่งเปรียบเทียบวิถีชีวิตของชาวพม่าที่ให้ความสำคัญกับการกินอยู่ ซึ่งแตกต่างจากชาวไทใหญ่ที่ให้ความสำคัญแก่การทำบุญ ถึงกระนั้นไทใหญ่ก็รับวัฒนธรรม ศาสนา ตลอดจนถึงคำในภาษาพม่าเข้ามามาก จนคำไทใหญ่หลายถิ่นเป็นกวามไตลอแล คือไทใหญ่พูดคำพม่าปนไปหมด เช่นที่เมืองสีป้อและเมืองยางเป็นต้น.

ใหม่!!: กลุ่มภาษาไทและภาษาไทใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาไทใต้คง

ษาไทใต้คง (ไทใต้คง: ᥖᥭᥰᥖᥬᥳᥑᥨᥒᥰ; Dehong Dai language, Tai Dehong language) หรือ ภาษาไทเหนือ (Tai Nüa language; ภาษาจีน: 傣哪语 ไต๋หนาอยู่, 德宏傣语 เต๋อหงไต๋อยู่) เป็นภาษาที่ใช้พูดในเขตปกครองตนเองชนชาติไทและจิงผ่อ เต๋อหง มีเสียงพยัญชนะ 17 เสียง เป็นพยัญชนะต้นได้ 16 เป็นตัวสะกดได้ 8 เสียง เสียง /น/ เป็นตัวสะกดได้อย่างเดียว สระมี 10 เสียง โดยทั่วไปไม่มีความแตกต่างระหว่างสระเสียงยาวและสระเสียงสั้น ยกเว้นสระ /อะ/ และสระ /อา/ มีวรรณยุกต์ 6 เสียง.

ใหม่!!: กลุ่มภาษาไทและภาษาไทใต้คง · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อภาษาเรียงตามจำนวนผู้ใช้เป็นภาษาแม่

นี่คือ รายชื่อภาษาเรียงตามจำนวนผู้ที่ใช้เป็นภาษาแม.

ใหม่!!: กลุ่มภาษาไทและรายชื่อภาษาเรียงตามจำนวนผู้ใช้เป็นภาษาแม่ · ดูเพิ่มเติม »

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

ำนักงานราชบัณฑิตยสภา (Office of the Royal Society) หรือชื่อเดิมว่า ราชบัณฑิตยสถาน (the Royal Institute), ข่าวประชาสัมพันธ์ เว็บไซต.

ใหม่!!: กลุ่มภาษาไทและสำนักงานราชบัณฑิตยสภา · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่สองในประเทศไทย

อาณาเขตของประเทศไทยระหว่างสงคราม สงครามโลกครั้งที่สองในประเทศไท.

ใหม่!!: กลุ่มภาษาไทและสงครามโลกครั้งที่สองในประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

ฃ (ขวด) เป็นพยัญชนะตัวที่ 3 จากพยัญชนะทั้งหมด 44 ตัวในอักษรไทย อยู่ในลำดับถัดจาก ข (ไข่) และก่อนหน้า ๒ค (ควาย) จัดอยู่ในกลุ่มอักษรสูงในระบบไตรยางศ์ มีชื่อเรียกกำกับว่า "ฃ ขวด" เข้าในพวกกัณฐชะ (เกิดจากเพดานอ่อน-) เป็นพยัญชนะชนิดหัวหยักหรือหัวแตก ออกเสียงอย่าง ข (ไข่) เมื่อเป็นพยัญชนะต้น ให้เสียง /kʰ/ สามารถใช้เป็นพยัญชนะสะกดในมาตรากกได้ ให้เสียง /k̚/ (ในทางทฤษฎี) ซึ่งเดิมทีนั้น ได้มีการคาดกันว่าเสียงของ ฃ นั้นมีความแตกต่างจากเสียง ข แต่กลับเพี้ยนไป ปัจจุบันไม่มีคำศัพท์ในหมวดคำ ฃ ในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 โดยระบุว่า ฃ เป็นอักษรที่ไม่นิยมใช้แล้ว อย่างไรก็ตาม ยังมีการใช้อักษร ฃ ในบางแวดวง นัยว่าเพื่อเป็นการอนุรักษ์ให้ตัวอักษรไทยมีใช้ครบ 44 ตัว รวมถึงมีการพูดถึงการฟื้นฟูการใช้งานอักษร ฃ ขึ้นมาใหม่ รวมทั้งในแบบเรียนอักษรไทยและบนแป้นพิมพ์ภาษาไทยก็ยังคงมีอักษร ฃ อยู่ อักษร ฃ นี้เป็นอักษรของไทยาดั้งเดิม และไม่ปรากฏในชุดอักษรภาษาอื่น ๆ ซึ่งหมายความว่า ในชุดอักษรภาษาอื่น ๆ ที่ลำดับอักษร ก ข ค ฆ ง แบบเดียวกันกับอักษรอินเดีย เช่น อักษรเทวนาครี อักษรขอม อักษรมอญ ฯลฯ ล้วนไม่มีตัวอักษร ฃ ทั้งสิ้น จึงให้เหตุผลว่า อักษร ฃ น่าจะเป็นการประดิษฐ์แทรกเช่นเดียวกับอักษร ฅ ซ ฎ ด บ ฝ ฟ ฯลฯ เมื่อพ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นใน พ.ศ. 1826 และก็ได้เติมพยัญชนะและวรรณยุกต์เข้าในวรรคอักษรแบบอินเดีย เพื่อใช้แทนเสียงที่ภาษาในสมัยนั้นมีอยู่ให้ครบถ้วน หรือไม่ก็คาดว่า ฃ ได้รับการดัดแปลงมาจากภาษาสันสกฤตนั่นเอง นอกจากตัวอักษร ฃ จะปรากฏในภาษาไทยแล้ว ตัวอักษร ฃ นี้ยังมีประวัติการใช้งานอยู่ในภาษาไทยถิ่นอื่นอีก เช่น คำเมืองมาลา คำจันทร.

ใหม่!!: กลุ่มภาษาไทและฃ · ดูเพิ่มเติม »

ที่มาของประชากรลาว

ที่มาของประชากรลาว (Peopling of Laos) หมายถึงการที่กลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆในลาวเกิดขึ้นเป็นชุมชนในประเทศลาวปัจจุบัน โดยเชื่อว่าประชากรลาวในปัจจุบันมีความเกี่ยวพันกับกลุ่มประชากรที่มีดีเอ็นเอในโครโมโซมวายแบบฮาโลกรุป O ซึ่งมีความใกล้เคียงกับชนกลุ่มน้อยในจีนเมื่อ 35,000 ปีที่ผ่านมา ซึ่งต่อมากลุ่มชนดังกล่าวได้แพร่กระจาย จนบางส่วนเข้ามาอยู่ในดินแดนที่เป็นประเทศลาวในปัจจุบัน.

ใหม่!!: กลุ่มภาษาไทและที่มาของประชากรลาว · ดูเพิ่มเติม »

ขุนบรม

นบรมราชาธิราช หรือ ขุนบรม เป็นพ่อต้นตระกูลของกลุ่มชาติพันธุ์ไทในตำนานของชาวลาวปัจจุบัน.

ใหม่!!: กลุ่มภาษาไทและขุนบรม · ดูเพิ่มเติม »

ตระกูลภาษาไท-กะได

ตระกูลภาษาไท-กะได (Tai–Kadai languages) หรือรู้จักกันในนาม กะได (Kadai), ขร้าไท (Kradai) หรือ ขร้า-ไท (Kra–Dai) เป็นตระกูลภาษาของภาษาที่มีเสียงวรรณยุกต์ที่พบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และตอนใต้ของประเทศจีน ในช่วงแรก ตระกูลภาษาไท-กะไดเคยถูกกำหนดให้เป็นอยู่ในตระกูลภาษาจีน-ทิเบต แต่ปัจจุบันได้แยกมาเป็นอีกตระกูลภาษาหนึ่ง และยังมีผู้เห็นว่าตระกูลภาษาไท-กะไดนี้มีความสัมพันธ์กับตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน โดยอยู่ในกลุ่มภาษาที่เรียกว่า "ออสโตร-ไท" หรือจัดเป็นตระกูลภาษาใหญ่ออสตริก รอเจอร์ เบลนช์ (Roger Blench) ได้กล่าวว่า ถ้าข้อจำกัดของความเชื่อมต่อของตระกูลภาษาออสโตร-ไทมีความสำคัญมาก แสดงว่าความสัมพันธ์ทั้งสองตระกูลอาจไม่ใช่ภาษาที่เป็นพี่น้องกัน กลุ่มภาษากะไดอาจเป็นสาขาของภาษาตระกูลออสโตรนีเซียนที่อพยพจากฟิลิปปินส์ไปสู่เกาะไหหลำ แล้วแพร่สู่จีนแผ่นดินใหญ่ ในขณะที่สาขาไดของภาษากลุ่มกะไดมีการปรับโครงสร้างใหม่โดยได้รับอิทธิพลจากกลุ่มภาษาม้ง-เมี่ยนและภาษาจีน โลร็อง ซาการ์ (Laurent Sagart) ได้เสนอว่า ภาษาไท-กะไดดั้งเดิมได้เกิดขึ้นในยุคต้นของตระกูลภาษาออสโตรนีเซียนที่อาจจะอพยพกลับจากทางตะวันตกเฉียงเหนือของไต้หวันไปยังชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของจีน หรือจากจีนไปไต้หวันและเกิดการพัฒนาของภาษาตระกูลออสโตรนีเซียนบนเกาะนี้ ความสัมพันธ์ระหว่างภาษาตระกูลออสโตรนีเซียนและไท-กะไดอาจจะอธิบายได้จากคำศัพท์ที่ใกล้เคียงกัน คำยืมในยุคก่อนประวัติศาสตร์และอื่น ๆ ที่ยังไม่รู้ นอกจากนั้นภาษาตระกูลออสโตรนีเซียนอาจจะมีความสัมพันธ์กับตระกูลภาษาจีน-ทิเบต ซึ่งมีจุดเริ่มต้นในบริเวณชายฝั่งของจีนภาคเหนือและภาคตะวันออก ความหลากหลายของตระกูลภาษาไท-กะไดในทางตอนใต้ของประเทศจีนบ่งบอกถึงมีความสัมพันธ์กับถิ่นกำเนิดของภาษา ผู้พูดภาษาสาขาไทอพยพจากตอนใต้ของจีนลงทางใต้เข้าสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้แต่ครั้งโบราณ เข้าสู่ดินแดนที่เป็นประเทศไทยและลาวบริเวณนี้เป็นบริเวณที่พบผู้พูดภาษาในตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก ชื่อ "ไท-กะได" มาจากการจัดแบ่งตระกูลภาษาออกเป็นสองสาขาคือ "ไท" และ "กะได" ซึ่งเลิกใช้แล้ว เนื่องจากกะไดจะเป็นกลุ่มภาษาที่เป็นไปได้ก็ต่อเมื่อมีกลุ่มภาษาไทรวมอยู่ด้วย ในบางบริบทคำว่ากะไดจึงใช้เรียกตระกูลภาษาไท-กะไดทั้งตระกูล แต่บางบริบทก็จำกัดการใช้คำนี้ให้แคบลง โดยหมายถึงกลุ่มภาษาขร้าที่เป็นส่วนหนึ่งของตระกูลภาษานี้.

ใหม่!!: กลุ่มภาษาไทและตระกูลภาษาไท-กะได · ดูเพิ่มเติม »

ซาวลา

ซาวลา หรือ วัวหวูกว่าง (sao la; Vu Quang ox; ลาว: ເສົາຫຼາ, ເສົາຫລາ) สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับสัตว์กีบคู่ชนิดใหม่ที่เพิ่งค้นพบในปี ค.ศ. 1992 มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pseudoryx nghetinhensis มีรูปร่างคล้ายแพะผสมกับเลียงผา จัดอยู่ในวงศ์เดียวกับวัว (Bovidae) จัดเป็นสิ่งมีชีวิตเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Pseudoryx โดยที่ชื่อนี้ (รวมถึงชื่อวิทยาศาสตร์ทั้งหมด) มาจากภาษากรีกแปลว่า "ออริกซ์ปลอมแห่งเหงะติ๋ง" เนื่องจากมีเขาที่ดูคล้ายออริกซ์ แอนทิโลปเขาตรงที่พบในทวีปแอฟริกา โดย "ซาวลา" ซึ่งเป็นชื่อสามัญในภาษาเวียดนาม มาจากภาษาไต แปลว่า "เขาบิดเกลียว" อีกทั้งยังแฝงความหมายว่า "ล้ำค่าดุจเดือนและดาว" และยังได้สมญาว่าเป็น "ยูนิคอร์นแห่งเอเชีย".

ใหม่!!: กลุ่มภาษาไทและซาวลา · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์ไทย (พ.ศ. 2475–2516)

ประวัติศาสตร์ไทยตั้งแต..

ใหม่!!: กลุ่มภาษาไทและประวัติศาสตร์ไทย (พ.ศ. 2475–2516) · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

ใหม่!!: กลุ่มภาษาไทและประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

แขวงหัวพัน

หัวพัน (ຫົວພັນ) เป็นหนึ่งในแขวงของประเทศลาว ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ ติดกับประเทศเวียดนาม เดิมแขวงนี้รู้จักในชื่อ "หัวพันห้าทั้งหก" (มักเรียกผิดเป็น หัวพันทั้งห้าทั้งหก) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในเหตุการณ์สงครามปราบฮ่อ แขวงหัวพันตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของแขวงเชียงขวาง ประวัติศาสตร์ของสองแขวงนี้มีความคล้ายคลึงกัน ในอดีตหัวพันเคยตกเป็นเมืองขึ้นของเวียดนามสลับกับการดำรงอยู่ในฐานะรัฐเอกราช และเพิ่งถูกรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของลาวในสมัยที่ตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส ปัจจุบันมีประชากรราว 322,200 คน ภูมิประเทศเป็นภูเขาสลับซับซ้อน พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าไม้ อากาศค่อนข้างหนาว ประกอบด้วยชนกลุ่มน้อยกว่า 20 เผ่า เช่น ไทขาว ไทแดง ไทเหนือ ไทน้อย ม้ง ขมุ ยูนนาน ส่วนใหญ่ใช้ภาษาในกลุ่มภาษาไท.

ใหม่!!: กลุ่มภาษาไทและแขวงหัวพัน · ดูเพิ่มเติม »

ไม้ม้วน

ตนา ไม้ม้วน (ใ) ใช้เป็นสระ ใอ เมื่ออยู่หน้าพยัญชนะต้น.

ใหม่!!: กลุ่มภาษาไทและไม้ม้วน · ดูเพิ่มเติม »

ไท

ท อาจหมายถึง.

ใหม่!!: กลุ่มภาษาไทและไท · ดูเพิ่มเติม »

ไทหย่า

ทหย่า คือกลุ่มชนชาวไทกลุ่มหนึ่ง ซึ่งมีถิ่นอาศัยเดิมในตำบลโมซาเจียง อำเภอซินผิง จังหวัดยิ่วซี มณฑลยูนนาน ประเทศจีน ชาวจีนเรียกคนไทกลุ่มนี้ว่าฮวาเย่าไต แปลว่าไทเอวลาย ชาวไทหย่าบางส่วนได้อพยพมายังสิบสองปันนา บางส่วนเข้าสู่พม่าและไทยมีประชากร 60,000 คน พูดภาษาไท (ไทตะวันตกเฉียงใต้) ซึ่งเป็นภาษาในกลุ่มภาษากัม-ไท ตระกูลภาษาไท-กะได ชื่อของชาวไทหย่าหรือไตหย่า ซึ่งแท้จริงแล้วคือชื่อเมืองหย่าในมณฑลยูนนาน ประเทศจีน ซึ่งเป็นถิ่นฐานเดิมของชาวไทกลุ่มนี้ จึงเรียกว่าไทหย่าหรือไตหย่า มีผู้กล่าวไว้เพื่อจะดึงดูดศาสนิกไว้ว่าเป็นคำที่พวกไทด้วยกันเรียกชาวไทพวกหนึ่งที่มิได้นับถือพระพุทธศาสนา ซ้ำอธิบายด้วยว่า พระพุทธเจ้าเสด็จมาพบพวกนี้ ทรงเห็นว่าเป็นพวกกิเลสหนาและโของประเทศจีนง่เขลาจนไม่สามารถจะเข้าใจพุทธวจนะ เปรียบดังเหล่าเวไนยสัตว์ ที่พระพุทธเจ้าทรงเปรียบเป็นดอกบัวใต้น้ำลึกมาก ไม่สามารถที่จะโผล่ขึ้นมารับแสงดวงอาทิตย์ได้ เป็นพวกที่พระพุทธเจ้าเองก็ไม่สามารถจะสอนได้ พระพุทธเจ้าตัดสินพระทัยไม่สอน คนไทพวกนี้จึงถูกเรียกว่า "ไทหย่า" เป็นพวกไม่มีศาสนาจนทุกวันนี้ ชาวไทหย่ายังนับถือศาสนาคริสต์อยู่ร้อยละ 96 นับถือศาสนาพุทธร้อยละ 3 และไม่มีศาสนาอยู่ร้อยละ 1 ชื่อชาวไท หรือไตนั้นมาจากกลุ่มชนที่อยู่เทือกเขาภาคเหนือของไทย พม่า และตอนใต้ ทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีน มีภาษาในตระกูลไทเช่นเดียวกัน ชาวไตหรือไทนั้นมีหลายกลุ่ม อพยร่นลงมาจนถึง 12 ปันนา เป็นหนึ่งในอณาจักรน่านเจ้าในอดีต พระพทธเจ้าไม่เคยมาสอนหรือเจอกลุ่มไทหย่า ตามที่อ้าง ไทหย่าเป็นกลุ่มที่ไม่ได้อพยมาจาก 12 ปันนาสู่ประเทศไทย อาศัยเมืองที่แยกกันตรงนั้นเรียกเมืองหย่า ต่อมาส่วนหนึ่งนับถือศาสนาคริสต์จึงอพยจาก 12 ปันนาเข้าสู่ประเทศไท.

ใหม่!!: กลุ่มภาษาไทและไทหย่า · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

กลุ่มภาษาไตภาษากลุ่มไตภาษาไทภาษาไต

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »