โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

พระวรสารนักบุญยอห์น

ดัชนี พระวรสารนักบุญยอห์น

ระวรสารนักบุญยอห์น (ศัพท์คาทอลิก) หรือ พระกิตติคุณยอห์น (ศัพท์โปรเตสแตนต์) (Gospel of John; ภาษากรีก: Κατά Ιωαννην, “Kata Iōannēn”) เป็นพระวรสารฉบับที่สี่ของ “พระวรสารในสารบบ ” (Canonical gospels) ซึ่งเป็นเอกสารหนึ่งในคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาใหม่ แต่มิได้ถูกนับเป็นพระวรสารสหทรรศน์สามฉบับซึ่งประกอบด้วยพระวรสารนักบุญมาระโก พระวรสารนักบุญลูกา และ พระวรสารนักบุญมัทธิว พระวรสารนักบุญยอห์น เป็นพระวรสารที่เขียนโดยยอห์นผู้นิพนธ์พระวรสาร ชาวคริสต์เชื่อว่าเป็นท่านเดียวกับยอห์นอัครทูตซึ่งเป็น "สาวกที่พระองค์ทรงรัก" (john 13:23 One of his disciples, whom Jesus loved, was reclining at table close to Jesus) ผู้ซึ่งรู้วิถีชีวิตของชาวยิวเป็นอย่างดี และได้อ้างถึงขนบธรรมเนียมของชาวยิวอยู่หลายบทในพระวรสารเล่มนี้ ยอห์นเป็นอัครทูตแห่งความรัก ไม่มีใครบรรยายถึงพระลักษณะของพระเจ้าได้อย่างยอห์น เช่น "เพราะว่าพระเจ้าทรงรักโลก จนได้ทรงประทานพระบุตรองค์เดียวของพระองค์ เพื่อทุกคนที่วางใจในพระบุตรนั้นจะไม่พินาศ แต่มีชีวิตนิรันดร์" กับอีกหลายเหตุการณ์ที่ยอห์นบรรยายถึงพระเยซูได้อย่างจับใจ แสดงว่าเรื่องราวต่างๆถูกบันทึกจากความทรงจำที่ได้เห็นมากับตา พระวรสารเล่มนี้น่าจะถูกเขียนขึ้นประมาณปี..85 หรือหลังจากนั้นเล็กน้อย เช่นเดียวกับพระวรสารอีกสามฉบับที่เล่าเรื่องชีวิตของพระเยซูคริสต์ แต่บางเหตุการณ์มีการตีความอย่างละเอียด พระวรสารนักบุญยอห์นเป็นพระวรสารของ “ความเชื่อ” ที่เขียนขึ้นเพื่อจะยืนยันกับผู้อ่านว่าพระเยซูเป็น "พระเมสสิยาห์" และเป็น “พระบุตรพระเป็นเจ้า” ดังที่ปรากฏอยู่ในพระวรสารว่า "แต่การที่ได้บันทึกเหตุการณ์เหล่านี้ไว้ ก็เพื่อท่านทั้งหลายจะได้เชื่อว่า พระเยซูทรงเป็นพระคริสต์ พระบุตรพระเป็นเจ้า และเมื่อมีความเชื่อแล้ว ท่านก็จะมีชีวิตโดยพระนามของพระองค์" *คือการเข้าอาศัยอยู่ในพระเยซูคริสต์ รักษาชีวิตให้บริสุทธิ์ดั่งพระองค์ เชื่อและปฏิบัติตามคำสั่ง และคำสอนของพระองค์ ในแง่ของเทววิทยาศาสนาคริสต์แล้ว พระวรสารนักบุญยอห์นเป็นฉบับที่มีน้ำหนักที่สุดในทางคริสตวิทยา (Christology) ซึ่งบรรยายพระเยซูพระบุตรของพระเจ้าว่าเป็น “พระวจนะ” (Logos) (ภาษากรีกหมายความว่า “คำ” “เหตุผล” “ความเป็นเหตุเป็นผล” “ภาษา” หรือ “โอวาท”) ผู้เป็น “Arche” (ภาษากรีกหมายความว่า “ผู้เป็นตัวตนมาตั้งแต่ต้น” หรือ “เป็นสิ่งที่สุดของทุกอย่าง”), กล่าวถึงความเป็นผู้ที่มาช่วยมวลมนุษย์ และประกาศพระองค์ว่าเป็นพระเจ้า พระวรสารของยอห์นได้รับการทรงนำจากพระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาเดิมเป็นอย่างมาก บทเริ่มต้นของพระวรสารนำผู้อ่านกลับไปสู่ช่วงก่อนกาลเวลา ซึ่งมีแต่พระเจ้าเท่านั้นที่ทรงเป็นอยู่ คล้ายกับบทเริ่มต้นในพระธรรมปฐมกาลที่พระเจ้าทรงสร้างโลก รวมทั้งการกล่าวถึงเทศกาลของชาวยิวอยู่บ่อยๆ "ใน​ปฐม​กาล​พระ​วาทะ​ดำรง​อยู่ และ​พระ​วาทะ​ทรง​สถิต​อยู่​กับ​พระ​เจ้า และ​พระ​วาทะ​ทรง​เป็น​พระ​เจ้า ใน​ปฐม​กาล​พระ​องค์​ทรง​ดำรง​อยู่​กับ​พระ​เจ้า​ ​พระ​เจ้า​ทรง​สร้าง​สิ่ง​ทั้ง​ปวง​ขึ้น​มา​โดย​พระ​วาทะ ใน​บรรดา​สิ่ง​ที่​เป็นมา​นั้น ไม่​มี​สัก​สิ่ง​เดียว​ที่​ได้​เป็นมา​นอกเหนือ​พระ​วาทะ​ ​พระ​องค์​ทรง​เป็น​แหล่ง​ชีวิต และ​ชีวิต​นั้น​เป็น​ความ​สว่าง​ของ​มนุษย์​ ความ​สว่าง​ส่อง​เข้า​มา​ใน​ความ​มืด และ​ความ​มืด​หา​ได้​ชนะ​ความ​สว่าง​ไม่" (john 1:1-5) พระวรสารฉบับนี้กล่าวถึงพระเยซูอย่างมีเนื้อหา มีคำสอนเป็นอันมากที่พระองค์ทรงสอนกับสาวก อีกทั้งยังได้บันทึกเหตุการณ์บางอย่างที่พระวรสารเล่มอื่นไม่ได้กล่าวถึงไว้ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงเวลาที่เรียกว่า "ห้องชั้นบน" เป็นช่วงเวลาของการร่วมรับประทานอาหารค่ำมื้อสุดท้าย พระเยซูคริสต์ตรัสเป็นส่วนตัวกับเหล่าสาวกของพระองค์ถึงเรื่องความรอด ประตูซึ่งนำไปสู่ความรอด พระบัญญัติแห่งพระเยซู ความรักที่พระองค์มีให้ต่อเหล่าสาวก การเปิดเผยถึงการทรยศของยูดาส อิสคาริโอท​ การสำแดงพระเจ้าและพระเยซูคริสต์ถึงความเป็นหนึ่งเดียว การเปิดเผยและทำนายการตายของพระองค์เอง และฟื้นขึ้นในวันที่สาม และความชื่นชมยินดี ยอห์นได้รับการทรงนำในการเขียนพระวรสารเล่มนี้ และพระวรสารเล่มนี้ได้บอกให้ทราบว่า พระเยซูทรงเป็นหนึ่งเดียวกับพระเจ้า เพราะว่าตั้งแต่ก่อนที่พระเยซูคริสต์จะเสด็จเข้ามาในโลก พระองค์ทรงดำรงอยู่กับพระเจ้า และยอห์นได้เน้นคุณลักษณะความเป็นมนุษย์ของพระเยซู เช่น พระองค์มีความรู้สึกเหมือนมนุษย์ มีการกันแสงด้วยความเศร้าเสียใจ ฯลฯ ยอห์นยังได้บันทึกพระวรสารเล่มนี้ เพื่อให้ผู้ใดที่เชื่อในพระเยซู แล้ว "ก็จะมีชีวิตโดยพระนามของพระองค์" *พระองค์โปรดประทานพระนามพระองค์ให้เหล่าผู้เชื่อ เพื่อเป็นสิทธิอำนาจในการอธิษฐาน และเกิดขึ้นจริงตามนั้นโดยพระนามของพระองค์ และยอห์นบอกเล่าถึงเหตุการณ์ล่วงหน้า เช่น "เราเป็นผู้เลี้ยงที่ดี ผู้เลี้ยงที่ดีนั้นย่อมสละชีวิตของตนเพื่อฝูงแกะ" ซึ่งนำมาสู่การสิ้นพระชนม์บนกางเขนของพระองค์ เพื่อไถ่บาปแก่คนที่เชื่อในพระองค์ทั้งสิ้น ให้ได้รับความรอดจากการถูกพิพากษา เป็นต้น พระวรสารนักบุญยอห์น ใช้ “ยอห์น” หรือ “ยน” ในการอ้างอิง.

55 ความสัมพันธ์: บารโธโลมิวอัครทูตบาป (ศาสนาคริสต์)ชุบชีวิตลาซารัส (คาราวัจโจ)พระวรสารพระวรสารสหทรรศน์พระวรสารเคลล์สพระวจนะทรงรับเป็นมนุษย์พระผู้สร้างพระคริสตราชาพระเยซูพระเยซูทรงรับบัพติศมาพระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์พระเจ้าพระบุตรพันธสัญญาใหม่การอัญเชิญพระศพลงจากกางเขนการคืนพระชนม์ของพระเยซูการตรึงกางเขนการประสูติของพระเยซูมัทธิวผู้นิพนธ์พระวรสารมารีย์ชาวมักดาลายอห์นอัครทูตยอห์นผู้นิพนธ์พระวรสารยากอบ บุตรอัลเฟอัสยูดาส อิสคาริโอทรับบีรูปเคารพลาซารัสแห่งเบธานีวังเชอนงโซสัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์หนังสือพระวรสารหนังสือปฐมกาลอย่าหน่วงเหนี่ยวเราไว้อันล่วงละเมิดมิได้อาหารค่ำมื้อสุดท้ายอาณาจักรของพระเป็นเจ้าผู้นิพนธ์พระวรสารสี่ท่านจอห์น (ชื่อ)จดหมายของนักบุญยอห์น ฉบับที่ 1จดหมายของนักบุญยอห์น ฉบับที่ 2จดหมายของนักบุญยอห์น ฉบับที่ 3ธงชาติสาธารณรัฐโดมินิกันทวนศักดิ์สิทธิ์ทอมัสกังขาขนมปังแห่งชีวิตความกังขาของนักบุญทอมัส (คาราวัจโจ)คัมภีร์ไบเบิลงานสมรสที่หมู่บ้านคานาตราแผ่นดินของสาธารณรัฐโดมินิกันซิริลแห่งอะเล็กซานเดรียปฏิกิริยาลาซารัส...นักบุญลองกินุสนักบุญอันดรูว์นักบุญจอห์นโยเซฟชาวอาริมาเธียโธมัสอัครทูต ขยายดัชนี (5 มากกว่า) »

บารโธโลมิวอัครทูต

รโธโลมิวอัครทูต (Bartholomew the Apostle; Βαρθολομαίος (Bartholomaios)) เป็นนักบุญและมรณสักขีในศาสนาคริสต์ เสียชีวิตที่ประเทศอาร์มีเนีย บารโธโลมิวเป็นหนึ่งในอัครทูตของพระเยซู ชื่อ “บารโธโลมิว” มาจากภาษาแอราเมอิก “bar-Tôlmay” (תולמי‎‎‎‎‎-בר‎‎) หมายความว่า “ลูกของโทลเม” (โทเลมี) หรืออาจจะเป็น “ลูกของคนไถนา” บางครั้งก็เชื่อกันว่าเป็นนามสกุลมากกว่าจะเป็นชื่อตัวEncyclopedia Britannica, micropedia.

ใหม่!!: พระวรสารนักบุญยอห์นและบารโธโลมิวอัครทูต · ดูเพิ่มเติม »

บาป (ศาสนาคริสต์)

ในศาสนาคริสต์ บาป (sin; חָטָא khatah ทำผิด) คือการไม่บรรลุถึงความครบถ้วนแห่งกฎหมายอันชอบธรรมที่พระเจ้าทรงจัดเตรียมสำหรับมนุษย์ (กฎทางศีลธรรม) การไม่บรรลุเช่นนั้น ยังผลให้มนุษย์ตกเข้าสู่แนวทางการดำเนินชีวิตที่ไม่สมบูรณ์ ความไม่สมบูรณ์อันเป็นผลจากบาปได้เป็นเหมือนนายที่กดขี่เขา ให้อยู่ในสภาพเป็นทาส สภาพเช่นนั้นคือ ความบกพร่องของทั้งจิตวิญญาน (ทั้งหมดในตัวบุคคล) ที่ต้องเสื่อมลงทุกด้าน และที่สุดคือ ความตาย ดังที่คัมภีร์ไบเบิลกล่าวไว้ว่า "เพราะ‍ว่า​ค่า‍จ้าง​ของ​บาป​คือ​ความ​ตาย".

ใหม่!!: พระวรสารนักบุญยอห์นและบาป (ศาสนาคริสต์) · ดูเพิ่มเติม »

ชุบชีวิตลาซารัส (คาราวัจโจ)

ีวิตลาซารัส (ภาษาอังกฤษ: The Raising of Lazarus) เป็นภาพเขียนสีน้ำมันที่เขียนโดยคาราวัจโจจิตรกรสมัยเรอเนซองส์คนสำคัญชาวอิตาลีที่ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์เรจิโอนาเล, เมสสินาในประเทศอิตาลี ภาพ “ชุบชีวิตลาซารัส” เขียนเสร็จราวปี ค.ศ. 1609 ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1608 คาราวัจโจหนีจากมอลตาที่ที่ถูกจำขังโดยไม่ทราบข้อหาไปพำนักอยู่ที่ซิซิลีกับเพื่อนศิลปินมาริโอ มินนิติ (Mario Minniti) จากความช่วยเหลือของมินนิติคาราวัจโจก็ได้รับงานสำคัญหลายชิ้นรวมทั้งภาพนี้สำหรับวัดที่เมสสินา ที่ถูกนำเสนอให้กับพ่อค้าผู้มั่งคั่งจากเจนัว จิโอวานนิ บัตติสตา เดลัซซาริเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน ค.ศ. 1609 ค่าจ้างสำหรับงานชิ้นนี้เป็นจำนวนหนึ่งพันสคุดิซึ่งมากกว่าสองเท่าของจำนวนที่คาราวัจโจได้รับก่อนหน้านั้น พระวรสารนักบุญจอห์นกล่าวถึงนักบุญลาซารัสพี่ของมาร์ธาและนักบุญแมรี แม็กดาเลนที่ล้มป่วย, เสียชีวิต, ถูกฝัง และในที่สุดก็ถูกชุบชีวิตโดยพระเยซู ภาพนี้ก็เช่นเดียวกับภาพอื่นของคาราวัจโจที่เขียนในช่วงเดียวกันที่ฉากหลังเป็นเพียงผนังว่างๆ ที่ทำให้ผู้อยู่ในภาพดูเล็กลงมาก ปฏิกิริยาต่อกันและกันของคนในภาพมีความรู้สึกร่วมกันในทางอารมณ์โดยมีช่องว่างใหญ่อยู่ด้านบนซึ่งต่างจากการเน้นนาฏกรรมอย่างใกล้เคียงเช่นที่เคยทำกันมาก่อน และตามแบบฉบับของคาราวัจโจแสงเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างนาฏกรรมที่ทำให้เห็นรายละเอียดเช่นมือของลาซารัส มือหนึ่งปล่อยและหงายขึ้นเหมือนจะรับและอีกมือหนึ่งยื่นไปทางพระเยซู และใบหน้าที่ตื่นตระหนกของผู้เห็นเหตุการณ์ เรื่องที่เล่ากันว่าคาราวัจโจให้คนขุดร่างคนที่เพิ่งถูกฝังขึ้นมาเป็นแบบเขียนเป็นเรื่องที่ “น่าจะไม่ใช่เรื่องจริง แต่ก็ไม่เกินเลยเกินกว่าความเป็นไปได้” ตัวแบบบางคนกล่าวกันว่าเป็นผู้คนในชุมชนนั้น แต่คาราวัจโจก็ใช้ความทรงจำ การวางรูปทั้งหมดมีพื้นฐานมาจากภาพพิมพ์ลายแกะโดยจูลีโอ โรมาโน และภาพพระเยซูเป็นภาพกลับด้านกับภาพพระเยซูในภาพ “พระเยซูเรียกนักบุญแม็ทธิว” ภาพเขียนอยู่ในสภาพที่ไม่ดีนักและได้รับการซ่อมอย่างมากและอาจจะเป็นไปได้ว่าบางส่วนเขียนโดยผู้ช่วย สิ่งที่น่าสังเกตในภาพนี้อีกอย่างหนึ่งคือความแตกต่างระหว่างร่างที่อ่อนระทวยของมาร์ธาและแมรี แม็กดาเลนผู้ที่เต็มไปด้วยความระทมกับร่างที่แข็งของลาซารัสพี่ชาย ในพระวรสารมาร์ธาๆ กล่าวเตือนพระเยซูว่าลาซารัสตายมาได้สี่วันแล้วและคงจะมีกลิ่น แต่ในภาพนี้ไม่มีใครที่แสดงท่าขยะแขยงกับกลิ่น เพราะปาฏิหาริย์ที่เกิดขึ้น งานเขียนเกี่ยวกับศาสนาของคาราวัจโจมักจะเน้นความทุกข์, ความทรมานและความต.

ใหม่!!: พระวรสารนักบุญยอห์นและชุบชีวิตลาซารัส (คาราวัจโจ) · ดูเพิ่มเติม »

พระวรสาร

ระวรสาร (โรมันคาทอลิก) หรือพระกิตติคุณ (โปรเตสแตนต์) (Gospels) เป็นหนังสือหมวดแรกในคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาใหม่ รู้จักในอีกนามหนึ่งว่า พระวรสารในสารบบ (Canonical gospels) เพราะเป็นพระวรสารที่ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการจากคริสตจักรให้รวมในสารบบคัมภีร์ไบเบิลได้ คำว่า “gospel” มาจากภาษาอังกฤษเก่า แปลว่า “ข่าวดี” (คัมภีร์ไบเบิลฉบับภาษาไทยของชาวโปรเตสแตนต์แปลว่า "ข่าวประเสริฐ") มีนัยความหมายในคติของศาสนาคริสต์ถึง "การประกาศข่าวดี" ว่าบัดนี้ พระยาห์เวห์ได้ทรงประทานพระบุตรของพระองค์มารับสภาพมนุษย์เป็นพระเยซูแล้ว เพื่อประทานความรอดแก่มวลมนุษย์ ให้พ้นจากบาปและความทุกข์ และกลับเข้าสนิทกับพระเจ้าเช่นเดิม สู่แผ่นดินสวรรค์ ตามคำพยากรณ์ของผู้เผยพระวจนะในพันธสัญญาเดิม พระวรสารในสารบบมีอยู่ 4 เล่ม ในคัมภีร์ภาคพันธสัญญาใหม่ที่มีเนื้อหาโดยตรงเกี่ยวกับพระเยซู บรรยายถึงกำเนิด คำเทศนา การตรึงกางเขน และการคืนพระชนม์ ทั้ง 4 เล่มถูกตั้งชื่อตามชื่อผู้ที่เชื่อกันว่าเป็นผู้เขียน โดยเขียนขึ้นเมื่อระหว่าง ค.ศ. 65 ถึง ค.ศ. 100 ได้แก่ สามเล่มแรกเรียกว่าพระวรสารสหทรรศน์ เนื่องจากมีมุมมองในชีวิตของพระคริสต์ที่คล้ายกัน ขณะที่พระวรสารนักบุญยอห์น มีแง่มุมทางเทววิทยาและจิตวิญญาณที่ต่างออกไป.

ใหม่!!: พระวรสารนักบุญยอห์นและพระวรสาร · ดูเพิ่มเติม »

พระวรสารสหทรรศน์

ระวรสารสหทรรศน์ (คาทอลิก) หรือพระกิตติคุณสัมพันธ์ (โปรเตสแตนต์) (Synoptic Gospels) เป็นพระวรสารสามเล่มแรกจากทั้งหมดสี่เล่มของพระวรสารในสารบบคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาใหม่ ประกอบด้วย พระวรสารนักบุญมัทธิว พระวรสารนักบุญมาระโก และพระวรสารนักบุญลูกา ทั้งสามฉบับมีเนื้อหาและการวางเนื้อหาที่คล้ายคลึงกันรวมไปถึงลักษณะการใช้ประโยคและบทเขียน และมีทัศนะที่คล้ายคลึงกัน พระวรสารเล่มที่สี่ในสารบบคือพระวรสารนักบุญยอห์น แตกต่างจากสามฉบับแรกเป็นอันมากและแตกต่างจากพระวรสารนอกสารบบ (Apocryphal gospels) ฉบับอื่น.

ใหม่!!: พระวรสารนักบุญยอห์นและพระวรสารสหทรรศน์ · ดูเพิ่มเติม »

พระวรสารเคลล์ส

ระวรสารเคลล์ส หรือ พระวรสารโคลัมบา (Leabhar Cheanannais Book of Kells หรือ Book of Columba) เป็นหนังสือพระวรสารวิจิตรที่เขียนเป็นภาษาละตินที่ประกอบด้วยพระวรสารทั้งสี่ฉบับของพันธสัญญาใหม่พร้อมด้วยเนื้อหาอื่นๆ และตาราง “พระวรสารเคลล์ส” ที่เป็นงานที่เขียนขึ้นโดยนักบวชเคลต์เมื่อราวปี ราว ค.ศ. 800 หรือไม่นานก่อนหน้านั้น เป็นงานศิลปะชิ้นเอกชิ้นหนึ่งของงานเขียนอักษรวิจิตรของยุโรปและเป็นงานที่แสดงถึงจุดสุดยอดของงานเขียนหนังสือวิจิตรของสมัยศิลปะเกาะ และเป็นสมบัติของชาติชิ้นสำคัญของไอร์แลนด์ เนื้อหาของพระวรสารส่วนใหญ่นำมาจากคัมภีร์ไบเบิลฉบับภาษาละติน แต่ก็มีหลายส่วนที่มาจากพระคัมภีร์ไบเบิลฉบับก่อนหน้านั้นที่เรียกกันว่า “คัมภีร์ไบเบิลฉบับภาษาละตินเดิม” (Vetus Latina) ภาพวาดและงานตกแต่ง “พระวรสารเคลล์ส” เป็นฝีมือที่งดงามกว่าพระวรสารฉบับอื่นใดของหนังสือวิจิตรของสมัยศิลปะเกาะ ทั้งในด้านความหรูหราและความซับซ้อน การตกแต่งรวมธรรมเนียมนิยมของการเขียนรูปสัญลักษณ์ของศิลปะคริสต์ศาสนา เข้ากับลวดลายสอดผสานอันเป็นแบบฉบับของศิลปะเกาะอันหรูหรา รูปลักษณ์ของมนุษย์, สัตว์ และ สัตว์ในตำนาน พร้อมด้วยเงื่อนเคลติค และ ลายสอดประสานอันเต็มไปด้วยสีสันอันสดใสทำให้งานหนังสือวิจิตรเป็นงานที่เต็มไปด้วยพลังและมีชีวิตจิตใจ องค์ประกอบของสิ่งตกแต่งข้างเคียงเหล่านี้ผสานไปด้วยสัญลักษณ์ทางคริสต์ศาสนา ซึ่งเป็นการช่วยเน้นเนื้อหาของภาพหลักที่ต้องการที่จะสื่อให้ผู้อ่านหรือผู้ชมไปด้วย “พระวรสารเคลล์ส” ปัจจุบันมีด้วยกันทั้งหมด 340 สี่หน้ายกและตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: พระวรสารนักบุญยอห์นและพระวรสารเคลล์ส · ดูเพิ่มเติม »

พระวจนะทรงรับเป็นมนุษย์

"''การรับเป็นมนุษย์''" เป็นส่วนหนึ่งของวัฏจักรชีวิตของพระเยซู โดยมีพระตรีเอกภาพอยู่ตรงกลางภาพ ฟรีโดลิน ไลเบอร์ วาดไว้ราวคริสต์ศตวรรษที่ 19 พระวจนะทรงรับเป็นมนุษย์ (ศัพท์ราชบัณฑิตยสถาน) หรือ พระวจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์ (ศัพท์โรมันคาทอลิก) หรือ พระวาทะทรงเกิดเป็นมนุษย์ (ศัพท์โปรเตสแตนต์) (Incarnation of the Word) ในศาสนาคริสต์หมายถึงการที่พระเยซูซึ่งเชื่อว่าเป็นพระเจ้าพระบุตรหรือพระวจนะ ได้เสด็จลงมาบนโลกเพื่อรับสภาพมนุษย์ผ่านทางครรภ์ของนางมารีย์ (บางคริสตจักร เช่น โรมันคาทอลิก อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ จึงยกย่องพระนางมารีย์พรหมจารีเป็นพระมารดาพระเจ้าด้วย) เรื่องพระเจ้ามารับสภาพมนุษย์ถือเป็นหลักคำสอนทางเทววิทยาที่หลักข้อเชื่อไนซีนให้การรับรอง โดยถือว่าพระเยซูเป็นพระบุคคลที่สองในพระเป็นเจ้าซึ่งเป็นตรีเอกภาพ ได้มารับสภาพมนุษย์โดยที่ธรรมชาติพระเป็นเจ้าเดิมยังดำรงอยู่ในตัว หลักข้อเชื่อนี้จึงถือว่าพระเยซูทรงเป็นทั้งมนุษย์และพระเป็นเจ้าโดยสมบูรณ์ ดังที่พระวรสารนักบุญยอห์นระบุว่า "พระวจนะเป็นพระเจ้...

ใหม่!!: พระวรสารนักบุญยอห์นและพระวจนะทรงรับเป็นมนุษย์ · ดูเพิ่มเติม »

พระผู้สร้าง

ระยาห์เวห์ทรงสร้างอาดัม พระผู้สร้าง (Creator) หมายถึง พระเป็นเจ้า (ตามความเชื่อแบบเอกเทวนิยม) หรือเทวดาผู้เป็นใหญ่ (ตามความเชื่อแบบพหุเทวนิยม) ที่มีอำนาจบันดาลให้โลก (ทั้งเอกภพและจักรวาล) เกิดขึ้น.

ใหม่!!: พระวรสารนักบุญยอห์นและพระผู้สร้าง · ดูเพิ่มเติม »

พระคริสตราชา

"พระคริสตราชา" ผลงานของยัน ฟัน ไอก์ พระคริสตราชา (Christ the King) เป็นสมัญญาที่คริสต์ศาสนิกชนถวายแด่พระเยซู ในฐานะที่ทรงเป็นพระคริสต์และเป็นกษัตริย์แห่งกษัตริย์ทั้งหล.

ใหม่!!: พระวรสารนักบุญยอห์นและพระคริสตราชา · ดูเพิ่มเติม »

พระเยซู

ระเยซู (Jesus) หรือ เยซูชาวนาซาเร็ธ (Jesus of Nazareth; 4-2 ปีก่อนคริสตกาล - ค.ศ. 30-33Sanders (1993).) เป็นชาวยิวผู้เป็นศาสดาของศาสนาคริสต์ คริสต์ศาสนิกชนเรียกพระองค์ว่า พระเยซูคริสต์ เพราะถือว่าพระองค์เป็นพระคริสต์ พระผู้ช่วยให้รอด เป็นพระบุตรพระเป็นเจ้า และเป็นพระเจ้าพระบุตรซึ่งเป็นพระบุคคลหนึ่งในพระตรีเอกภาพ นอกจากนี้ในคัมภีร์ไบเบิลยังบันทึกว่าพระเยซูทรงแสดงปาฏิหาริย์ทรงรักษาคนตาบอดให้หายขาด รักษาคนพิการ โดยตรัสว่า บาปของเจ้าได้รับการให้อภัยแล้ว หลังพระเยซูสิ้นพระชนม์ ก็ได้ทรงฟื้นขึ้นจากความตายหลังสิ้นพระชนม์ได้เพียง 3 วัน และเสด็จขึ้นสู่สวรรค์ ชาวมุสลิมก็ให้ความเคารพพระเยซูเช่นกัน แต่เชื่อต่างจากชาวคริสต์ โดยชาวมุสลิมเรียกพระเยซูว่านบีอีซา คัมภีร์อัลกุรอานระบุว่าพระเยซูไม่ใช่ทั้งพระเจ้าและพระบุตรของพระเจ้า แต่เป็นบ่าวคนหนึ่งของพระเจ้า และเป็นเราะซูลที่พระเจ้าส่งมาเป็นแบบอย่างทางศีลธรรมให้แก่ชาวอิสราเอลเช่นเดียวกับเราะซูลอื่น ๆ นอกจากนี้กุรอานยังอ้างว่าพระเยซูได้ทำนายถึงเราะซูลอีกท่านหนึ่งที่จะมาในอนาคตด้วยว่าชื่ออะหมัด คำว่า "เยซู" มาจากคำในภาษากรีกคือ "เยซุส" Ιησους ซึ่งมาจากการถ่ายอักษรชื่อ Yeshua ในภาษาแอราเมอิกหรือฮีบรูอีกทอดหนึ่ง คริสตชนอาหรับเรียกเยซูว่า "ยาซูอฺ" ตามภาษาซีรีแอก ส่วนชาวอาหรับมุสลิมเรียกว่า "อีซา" ตามอัลกุรอาน ความหมายคือ "ผู้ช่วยให้รอด" เป็นชื่อที่ใช้กันมากในหมู่ชาวยิวตั้งแต่สมัยโยชูวาเป็นต้นมา ภาษาละตินแผลงเป็นเยซูส ภาษาโปรตุเกสแผลงต่อเป็นเยซู ภาษาไทยทับศัพท์ภาษาโปรตุเกสมาจนทุกวันนี้ ส่วนคำว่า "คริสต์" เป็นสมญาซึ่งมาจากคำในภาษากรีกว่า "คริสตอส" Χριστός ซึ่งเป็นคำแปลของคำภาษาฮีบรู Messiah อันหมายถึง "ผู้ได้รับการเจิม" ชาวอาหรับเรียกว่า "มะซีฮฺ" ซึ่งหมายถึงการแต่งตั้งให้ทำหน้าที่สูงส่ง เช่น พระมหากษัตริย์ ปุโรหิต ผู้เผยพระวจนะ เป็นต้น เมื่อราชอาณาจักรยูดาห์เสียแก่บาบิโลน ก็สิ้นกษัตริย์ที่ได้รับการเจิม ต่อจากนั้นชาวยิวก็โหยหาพระเมสสิยาห์ที่จะมาสร้างอาณาจักรใหม่ของพระเจ้า "พระคริสต์" จึงเป็นชื่อตำแหน่ง ไม่ใช่ชื่อตัวบุคคล ผู้นิพนธ์พระวรสารสี่ท่านมักเรียกพระองค์ว่า "พระเยซู" และเพื่อให้แตกต่างจากคนอื่น ๆ ที่ชื่อเหมือนกัน ก็เรียกเป็น "พระเยซูชาวนาซาเรธ" หรือ "พระเยซูบุตรของโยเซฟ" แต่นักบุญเปาโลหรือเปาโลอัครทูตมักเรียกพระองค์ว่า "พระคริสต์" หรือ "พระเยซูคริสต์" ที่เรียกว่า "พระคริสต์เยซู" ก็มี.

ใหม่!!: พระวรสารนักบุญยอห์นและพระเยซู · ดูเพิ่มเติม »

พระเยซูทรงรับบัพติศมา

''พระคริสต์ทรงรับพิธีล้าง'' ของฟรันเชสโก อัลบานีสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 17''Medieval art: a topical dictionary'' by Leslie Ross 1996 ISBN 978-0-313-29329-0 page 30 เหตุการณ์พระเยซูทรงรับบัพติศมา (โปรเตสแตนต์) หรือ พระเยซูทรงรับพิธีล้าง (คาทอลิก) (Baptism of Jesus) ถือเป็นจุดเริ่มต้นการปฏิบัติพระภารกิจของพระเยซู เหตุการณ์นี้ถูกบันทึกในพระวรสารทั้ง 4 ฉบับ คือ มัทธิว มาระโก ลูกา และยอห์น และถือเป็นหนึ่งในห้าเหตุการณ์สำคัญในชีวิตของพระเยซู อีกสี่เหตุการณ์ที่เหลือ ได้แก่ การจำแลงพระกาย การถูกตรึงที่กางเขน การกลับคืนพระชนม์ และการเสด็จขึ้นสวรรค์Essays in New Testament interpretation by Charles Francis Digby Moule 1982 ISBN 0-521-23783-1 page 63 ยอห์นผู้ให้บัพติศมาประกาศพิธีบัพติศมาด้วยน้ำเพื่อแสดงการกลับใจและขอรับการอภัยบาปจากพระเจ้า ท่านกล่าวว่าจะมีผู้หนึ่งมาภายหลัง ผู้นั้นจะให้บัพติศมาด้วยพระวิญญาณบริสุทธิ์และไฟ ท่านจึงได้เตรียมหนทางขององค์พระผู้เป็นเจ้าพระองค์นั้น พระเยซูได้เสด็จไปแม่น้ำจอร์แดนและรับบัพติศมาจากยอห์นด้วย พระวรสารยังบรรยายเหตุการณ์ขณะนั้นว่าฟ้าสวรรค์ได้เปิดออก พระวิญญาณบริสุทธิ์ปรากฏรูปเหมือนนกพิราบบินลงมาเหนือพระเยซู พร้อมกับมีเสียงจากสวรรค์ประกาศว่า "ท่านเป็นบุตรที่รักของเรา เราชอบใจท่านมาก" คริสต์ศาสนิกชนส่วนมากถือว่าเหตุการณ์นี้เป็นเหตุการณ์สำคัญ และเป็นต้นกำเนิดของพิธีบัพติศมาซึ่งเป็นพิธีศักดิ์สิทธิ์ในศาสนาคริสต์ แนวคิดบุตรบุญธรรมนิยมซึ่งศาสนาคริสต์ยุคแรกประณามว่าเป็นความเชื่อนอกรีตก็เกิดขึ้นเพราะให้ความสำคัญกับเหตุการณ์นี้ ศาสนาคริสต์ตะวันออกจัดฉลองพระเยซูทรงรับบัพติศมาในวันที่ 6 มกราคม ส่วนคริสตจักรโรมันคาทอลิก แองกลิคันคอมมิวเนียน และบางนิกายจัดการฉลองในสัปดาห์ถัดมาเรียกว่าวันฉลององค์พระผู้เป็นเจ้าทรงรับพิธีล้าง.

ใหม่!!: พระวรสารนักบุญยอห์นและพระเยซูทรงรับบัพติศมา · ดูเพิ่มเติม »

พระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์

จุลจิตรกรรม "พระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์" จากพระวรสารรับบิวลาจากคริสต์ศตวรรษที่ 6 พิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโพลิทัน พระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์ (Ascension of Jesus) เป็นเหตุการณ์ที่พระเยซูลอยขึ้นสวรรค์ต่อหน้าอัครทูตของพระองค์หลังจากที่ทรงกลับคืนพระชนม์ได้ 40 วัน และมีทูตสวรรค์องค์หนึ่งกล่าวขึ้นในขณะนั้นว่าเมื่อพระเยซูกลับมา ก็จะมีลักษณะเดียวกัน เมื่อพระเยซูขึ้นสวรรค์แล้วก็ไปประทับอยู่ทางขวาของพระบิดา พระวรสารในสารบบที่กล่าวถึงเหตุการณ์นี้คือพระวรสารนักบุญลูกาบทที่ 24 และพระวรสารนักบุญมาระโกบทที่ 16 และยังปรากฏในหนังสือกิจการของอัครทูตบทที่ 1 ด้วย เหตุการณ์นี้ยังได้รับการยอมรับให้เป็นส่วนหนึ่งของหลักข้อเชื่อของอัครทูตและหลักข้อเชื่อไนซีน คริสต์ศาสนิกชนจัดการเฉลิมฉลองถึงเหตุการณ์นี้ในวันที่ 40 หลังวันอีสเตอร์ในแต่ละปี (จึงตรงกับวันพฤหัสบดีเสมอ) พิธีนี้มีมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 4 และถือเป็นหนึ่งในห้าเหตุการณ์สำคัญในชีวิตของพระเยซู (อีก 4 เหตุกาณ์ที่เหลือ คือ รับบัพติศมา จำแลงพระกาย ถูกตรึงกางเขน และคืนพระชนม์)Essays in New Testament interpretation by Charles Francis Digby Moule 1982 ISBN 0-521-23783-1 page 63 จดหมายของนักบุญเปาโล (ราว ค.ศ. 56-ค.ศ. 57) ได้กล่าวถึงพระเยซูบนสวรรค์และการเสด็จสู่แดนผู้ตายซึ่งเป็นการอ้างอิงถึงการขึ้นสวรรค์ของพระเยซูเป็นครั้งแรก แต่การอ้างอิงที่มีอิทธิพลที่สุดตามการกล่าวอ้างของโรเบิร์ต ดับเบิลยู ฟังค์ (Robert W. Funk) มาจาก คือพระเยซูขึ้นสวรรค์หลังจากที่มีพระบัญชาเอก (Great Commission) คือสี่สิบวันหลังจากที่คืนพระชนม์โดยมีอัครทูตเป็นพยาน ในพระวรสารนักบุญลูกา "การเสด็จขึ้นสวรรค์" เกิดขึ้นในค่ำวันอีสเตอร์Robert W. Funk and the Jesus Seminar.

ใหม่!!: พระวรสารนักบุญยอห์นและพระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าพระบุตร

ตามหลักเทววิทยาศาสนาคริสต์ ถือว่าพระเจ้าพระบุตร (God the Son) คือพระบุคคลที่สองในตรีเอกภาพ โดยเชื่อว่าพระเจ้าพระบิดา พระเจ้าพระบุตร และพระเจ้าพระวิญญาณบริสุทธิ์ เป็นพระเจ้าในสารัตถะเดียว แต่ต่างบุคคลกัน และเชื่อว่าพระเจ้าพระบุตรก็คือพระเยซู ตามความเชื่อนี้ พระเจ้าพระบุตรดำรงอยู่มาก่อนที่จะรับสภาพมนุษย์เป็นพระเยซู และเป็นพระเป็นเจ้าที่ดำรงอยู่ชั่วนิรันดร์เช่นเดียวกับพระบิดาและพระวิญญาณบริสุทธิ์ คำว่า "พระเจ้าพระบุตร" จึงเน้นถึงความเป็นพระเจ้าของพระเยซู ต่างจากคำว่า พระบุตรของพระเจ้า ที่เน้นความเป็นมนุษย์มากกว.

ใหม่!!: พระวรสารนักบุญยอห์นและพระเจ้าพระบุตร · ดูเพิ่มเติม »

พันธสัญญาใหม่

ันธสัญญาใหม่ หรือ พระคริสตธรรมใหม่ (Καινή Διαθήκη; New Testament) เป็นภาคที่สองของคัมภีร์ไบเบิล จากทั้งหมด 2 ภาค ประกอบด้วยหนังสือภาษากรีกทั้งสิ้น 27 เล่ม ทุกเล่มเขียนโดยนักบุญ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นอัครทูตและนักบุญในช่วงเวลาเดียวกัน และทุกเล่มเขียนขึ้นหลังการตรึงพระเยซูที่กางเขน แม้ว่าพระเยซูจะไม่ได้ทรงเขียนด้วยพระองค์เอง แต่คริสต์ศาสนิกชนก็เชื่อว่าผู้เขียนได้เขียนขึ้นจากการดลใจและการทรงนำของพระเป็นเจ้าและพระเยซูผ่านทางพระวิญญาณบริสุทธิ์ ส่วนชาวมุสลิมแม้จะนับถือพระเยซูเป็นนบีอีซา แต่ก็ไม่ยอมรับคัมภีร์ไบเบิลในปัจจุบันว่าเป็นพระวจนะของพระเจ้า เพราะนักวิชาการอิสลามเห็นว่าคัมภีร์นี้ถูกตัดเสริมแต่งและสังคายนากันหลายครั้ง.

ใหม่!!: พระวรสารนักบุญยอห์นและพันธสัญญาใหม่ · ดูเพิ่มเติม »

การอัญเชิญพระศพลงจากกางเขน

“ชะลอร่างจากกางเขน” โดย รอสโซ ฟิโอเร็นทิโน (Rosso Fiorentino) ค.ศ. 1521 ที่มหาวิหารโวลเทอรรา ในประเทศอิตาลี “ชะลอร่างจากกางเขน” โดยโรเจียร์ แวน เดอ เวย์เด็น ประมาณปี ค.ศ. 1435 สีน้ำมันบนไม้โอ้ค, 220 x 262 เซนติเมตร ที่พิพิธภัณฑ์ปราโด, มาดริด “ชะลอร่างจากกางเขน” ไม้แกะทาสีที่มหาวิหารโวลเทอรรา ในประเทศอิตาลี การอัญเชิญพระศพลงจากกางเขน (Descent from the Cross/Deposition from the Cross หรือ Deposition; Αποκαθελωσις, “Apokathelosis”) เป็นฉากที่สร้างในศิลปะเช่นจิตรกรรม หรือ ประติมากรรม เนื้อความมาจากพระวรสารนักบุญจอห์นซึ่งบรรยายการอัญเชิญพระศพพระเยซูลงจากกางเขนหลังจากที่มีการตรึงพระเยซูที่กางเขนแล้ว โดยโยเซฟแห่งอาริมาเธียและนิโคเดมัส (Nicodemus) (ยอห์น).

ใหม่!!: พระวรสารนักบุญยอห์นและการอัญเชิญพระศพลงจากกางเขน · ดูเพิ่มเติม »

การคืนพระชนม์ของพระเยซู

การคืนพระชนม์ของพระเยซู (Resurrection of Jesus) หมายถึง เหตุการณ์สองเหตุการณ์ที่มีความสำคัญที่สุดในความเชื่อทางคริสต์ศาสนาที่เป็นพื้นฐานของปรัชญาและหลักการทางคริสต์ศาสนวิทยา ตามพันธสัญญาใหม่พระเยซูผู้เป็นหัวใจของคริสต์ศาสนาถูกตรึงกางเขน, สิ้นพระชนม์, ถูกนำไปไว้ในที่เก็บศพ, และทรงคืนพระชนม์สามวันหลังจากนั้น (ยอห์น, มาระโก, มาระโก). พันธสัญญาใหม่ยังกล่าวถึงการคืนพระชนม์และการสำแดงพระองค์ของพระเยซูคริสต์อีกหลายครั้งต่ออัครสาวกสิบสององค์ และสาวกคนอื่นๆ รวมทั้ง “พี่น้องอีกห้าร้อยคนพร้อมกัน” () ก่อนที่จะเสด็จขึ้นสวรรค์ เหตุการณ์สำคัญสองเหตุการณ์นี้ฉลองกันระหว่างวันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์ และ อีสเตอร์ ชนกลุ่มอื่นๆ เช่น ชาวยิว มุสลิม บาไฮ และนิกายหรือลัทธิบางลัทธิของคริสต์ศาสนาไม่เห็นด้วยหรือไม่เชื่อว่าพระเยซูทรงคืนพระชนม์จริงหรือไม.

ใหม่!!: พระวรสารนักบุญยอห์นและการคืนพระชนม์ของพระเยซู · ดูเพิ่มเติม »

การตรึงกางเขน

นักบุญปีเตอร์ตรึงกางเขน” โดย คาราวัจโจ การตรึงกางเขน (crucifixion) เป็นวิธีการประหารชีวิตซึ่งผู้ถูกสั่งให้ประหารจะถูกผูกหรือตอกตะปูบนไม้กางเขนและปล่อยทิ้งไว้ให้ตาย วิธีการประหารชีวิตแบบนี้เป็นวิธีที่ใช้ในสมัยจักรวรรดิโรมันและในประเทศเพื่อนบ้านในบริเวณเมดิเตอร์เรเนียน และวิธีที่คล้ายคลึงกันในจักรวรรดิเปอร์เชีย การประหารชีวิตโดยการตรึงกางเขนโดยจักรวรรดิโรมันมาจนถึงปี..

ใหม่!!: พระวรสารนักบุญยอห์นและการตรึงกางเขน · ดูเพิ่มเติม »

การประสูติของพระเยซู

“การประสูติ” โดยเปตรุส คริสตุส (Petrus Christus) ราว ค.ศ. 1445 การประสูติของพระเยซู (The Nativity of Jesus; the Nativity) หรือพระคริสตสมภพ ถูกกล่าวถึงในพระวรสารนักบุญมัทธิวและพระวรสารนักบุญลูกาซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาใหม่ ส่วนพระวรสารนักบุญมาระโกและพระวรสารนักบุญยอห์นมิได้กล่าวถึงการประสูติของพระเยซูไว้ แหล่งข้อมูลอื่นเกี่ยวกับเหตุการณ์นี้ก็มีแต่มิได้รวมอยู่ในสารบบคัมภีร์ไบเบิล คำบรรยายของพระวรสารนักบุญมัทธิวและพระวรสารนักบุญลูกากล่าวว่าพระเยซูชาวนาซาเร็ธเป็นบุตรของนางมารีย์ ขณะมีตั้งครรภ์ได้หมั้นอยู่กับโยเซฟจากตระกูลเดวิด เรื่องนี้คริสตชนเชื่อว่าพระเยซูประสูติจากหญิงพรหมจารีเพราะเป็นการกำเนิดโดยอำนาจของพระวิญญาณบริสุทธิ์โดยมารดามิได้ร่วมประเวณีกับโยเซฟเลย คริสตชนจึงถือว่าโยเซฟเป็นเพียงบิดาบุญธรรม ทูตสวรรค์ได้ประกาศถึงการประสูติพระเยซูต่อคนเลี้ยงแกะ โหราจารย์สามคนก็ทราบเพราะได้เห็นดวงดาว พระวรสารกล่าวว่าการกำเนิดของพระเยซูเป็นไปตามคำพยากรณ์ของเหล่าผู้เผยพระวจนะชาวอิสราเอล การระลึกถึง การแสดง หรือการสร้างสัญลักษณ์เกี่ยวกับการกำเนิดของพระเยซูถือเป็นหัวใจของการฉลองเทศกาลคริสต์มาส เพื่อแสดงความเชื่อว่าพระเยซูชาวนาซาเรธเป็น “พระคริสต์” หรือ “พระเมสสิยาห์” ตามที่ทำนายไว้คัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาเดิม ในบางคริสตจักร เช่น โรมันคาทอลิก ถือว่าจุดยอดของการฉลองอยู่ที่พิธีมิสซาเที่ยงคืน หรือเช้าวันคริสต์มาสซึ่งจะเป็นวันที่ 25 ธันวาคมเสมอ ทางอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์จะอดอาหารก่อนวันคริสต์มาส 40 วัน และวันอาทิตย์สี่วันก่อนคริสต์มาสคริสต์ศาสนิกชนทั้งนิกายโรมันคาทอลิกและแองกลิคันก็จะฉลองเทศกาลเตรียมรับเสด็จพระเยซู เพื่อเป็นการเตรียมตัวทางใจเพื่อความพร้อมที่จะฉลองวันประสูติของพระเยซู.

ใหม่!!: พระวรสารนักบุญยอห์นและการประสูติของพระเยซู · ดูเพิ่มเติม »

มัทธิวผู้นิพนธ์พระวรสาร

มัทธิว (Matthew the Evangelist; מתי - ของขวัญของพระเจ้า; ภาษาฮีบรูมาตรฐาน และ ภาษาฮีบรูไทบีเรียน “Mattay”; Μαθθαίος, “Matthaios”) เป็นอัครทูตของพระเยซู และเป็นหนึ่งในผู้นิพนธ์พระวรสารสี่ท่าน (อีกสามท่านคือ มาระโก ยอห์น และลูกา) เชื่อกันว่าท่านเป็นผู้ประพันธ์พระวรสารนักบุญมัทธิวซึ่งเป็นพระวรสารฉบับหนึ่งในพันธสัญญาใหม่ และเชื่อกันว่าเป็นคนเดียวกับ “เลวี” (Levi) ผู้เก็บภาษี.

ใหม่!!: พระวรสารนักบุญยอห์นและมัทธิวผู้นิพนธ์พระวรสาร · ดูเพิ่มเติม »

มารีย์ชาวมักดาลา

มารีย์ชาวมักดาลา หรือพบเขียนว่าแมรี แม็กดาเลน (Μαρία ἡ Μαγδαληνή, Mary Magdalene) เป็นหนึ่งในผู้ติดตามพระเยซูที่ได้รับการสรรเสริญสูงสุดคนหนึ่ง และเป็นสาวกสตรีคนสำคัญที่สุดในการเคลื่อนไหวของพระเยซู พระเยซูทรงขับ "เจ็ดผี" ออกจากตัวนาง ซึ่งตามฉบับนั้นตีความว่าหมายถึงอาการป่วยอันซับซ้อนSaint Mary Magdalene.

ใหม่!!: พระวรสารนักบุญยอห์นและมารีย์ชาวมักดาลา · ดูเพิ่มเติม »

ยอห์นอัครทูต

นักบุญยอห์นอัครทูตราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 59-60 (John the Apostle; Ιωάννης) เป็นนักบุญและมรณสักขีในศาสนาคริสต์ เกิดเมื่อราว..

ใหม่!!: พระวรสารนักบุญยอห์นและยอห์นอัครทูต · ดูเพิ่มเติม »

ยอห์นผู้นิพนธ์พระวรสาร

อห์นผู้นิพนธ์พระวรสาร (John the Evangelist; “יוחנן” (The LORD); ภาษาฮีบรูมาตรฐาน: “Yoḥanan”, ภาษาฮีบรูไทบีเรียน: “Yôḥānān”) หรือที่เรียกว่า “สาวกผู้เป็นที่รัก” (Beloved Disciple)) (เสียชีวิตประมาณปี..

ใหม่!!: พระวรสารนักบุญยอห์นและยอห์นผู้นิพนธ์พระวรสาร · ดูเพิ่มเติม »

ยากอบ บุตรอัลเฟอัส

กอบ บุตรอัลเฟอัส (James, son of Alphaeus) เป็นนักบุญและมรณสักขีในศาสนาคริสต์ ไม่ทราบสถานที่เกิดและปีที่เกิด และเสียชีวิตโดยการตรึงกางเขนที่ออสตราไคน์ ทางตอนใต้ของประเทศอียิปต์ราว..

ใหม่!!: พระวรสารนักบุญยอห์นและยากอบ บุตรอัลเฟอัส · ดูเพิ่มเติม »

ยูดาส อิสคาริโอท

นักบุญยูดาส อิสคาริโอท (Judas Iscariot; יהודה איש־קריות Yəhûḏāh ʾΚ-qəriyyôṯ) เป็นหนึ่งในอัครทูตของพระเยซูผู้กล่าวว่ามีหน้าที่ถือ “ถุงเงิน” (ภาษากรีก: γλωσσόκομον) และเป็นผู้ที่รู้จักกันว่าเป็นผู้ทรยศต่อพระเยซูโดยการบอกทหารประจำพระวิหารว่าใครคือพระเยซูซึ่งเป็นผลให้พระเยซูถูกจั.

ใหม่!!: พระวรสารนักบุญยอห์นและยูดาส อิสคาริโอท · ดูเพิ่มเติม »

รับบี

ราไบโมเช ไฟน์สไตน์ผู้นำคนสำคัญของศาสนายูดาห์ออร์ทอดอกซ์ของครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 20 รับบี (רב รับบี; Rabbi, แรบาย) เป็นภาษาฮิบรูแปลว่า “อาจารย์” เป็นคำที่ใช้ในศาสนายูดาห์ที่หมายถึงผู้สอนศาสนา คำว่า “rabbi” มีรากมาจากภาษาฮิบรูว่า “רַב” หรือ “rav” ที่ในคัมภีร์ฮีบรูหมายความว่า “ยิ่งใหญ่” หรือ “เป็นที่เคารพ” คำนี้มีรากมาจากรากภาษากลุ่มเซมิติก R-B-B เทียบเท่ากับภาษาอาหรับ “ربّ” หรือ “rabb” ที่แปลว่า “lord” (ที่โดยทั่วไปเป็นการเอ่ยถึงพระเจ้าทางโลกด้วย เพื่อเป็นการแสดงความนับถือบางครั้งรับบีผู้มีชื่อเสียงก็จะเรียกกันว่า “The Rav.” รับบีไม่ใช่งานอาชีพตามคัมภีร์โทราห์ ฉะนั้นจึงไม่มีการใช้ตำแหน่งที่เกี่ยวข้องเช่น “Rabban” “Ribbi” หรือ “Rab” เพื่อกล่าวถึงนักปราชญ์ในบาบิโลเนียหรือในอิสราเอล แม้แต่ศาสดาผู้มีความสำคัญในพระคัมภีร์ก็ยังไม่เรียกว่ารับบี แต่เรียกว่า “ฮักไก” ตำแหน่ง “รับบัน” หรือ “รับบี” เริ่มใช้กันเป็นครั้งแรกในคัมภีร์ฮีบรูในมิชนาห์ (ราว 200 ปีก่อนคริสต์ศักราช) คำนี้ใช้เป็นครั้งแรกสำหรับรับบันกามาลิเอลผู้อาวุโส (Rabban Gamaliel the elder), ราบันซิเมอันลูกชาย และโยฮานัน เบน ซัคไค ซึ่งต่างก็เป็นประธานสภาซันเฮดริน คำนี้ในภาษากรีกพบในพระวรสารนักบุญมัทธิว พระวรสารนักบุญมาระโก และพระวรสารนักบุญยอห์นในพันธสัญญาใหม่เมื่อกล่าวถึงพระเยซู. การพัฒนาความคิดเกี่ยวกับรับบีเริ่มขึ้นในสมัยฟาริสีและทาลมุด เมื่อปรจารย์มาประชุมกันเพื่อร่างกฎเกี่ยวกับศาสนายูดาห์ทั้งทางภาษาเขียนและภาษาพูด ในคริสต์ศตวรรษที่ผ่านมา หน้าที่ของรับบีก็ยิ่งเพิ่มความมีอิทธิพลมากขึ้น ที่ทำให้เกิดคำใหม่ๆ เช่น “รับบีแท่นเทศน์” (pulpit rabbi) และในคริสต์ศตวรรษที่ 19 หน้าที่ของราไบก็รวมการเทศนา, การให้คำปรึกษา และ การเป็นผู้แทนชองประชาคมในโลกภายนอกก็เพิ่มความสำคัญขึ้นเป็นลำดับ ในนิกายต่างๆ ของศาสนายูดาห์ ข้อกำหนดเกี่ยวกับกฎเกณฑ์ในการแต่งตั้งรับบีก็แตกต่างกันออกไป หรือกฎที่ใครควรจะเรียกว่าเป็นรับบี.

ใหม่!!: พระวรสารนักบุญยอห์นและรับบี · ดูเพิ่มเติม »

รูปเคารพ

“พระเยซู” โดยอันเดร รูเบลฟ (Andrei Rublev) ราวปี ค.ศ. 1410 รูปเคารพทำจากเซรามิคจากราวปีค.ศ. 900 จากเพรสลาฟ ประเทศบัลกาเรีย รูปเคารพ (ภาษาอังกฤษ: icon; ภาษากรีก: εἰκών, eikon) คือรูป, รูปเหมือน หรือสิ่งที่สร้างแทน ที่ทำขึ้นเพื่อใช้เป็นสัญลักษณ์แทนสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ในสมัยปัจจุบัน “รูปเคารพ” โดยเฉพาะในวัฒนธรรมสมัยนิยมโดยทั่วไปจะหมายถึงสัญลักษณ์เช่นชื่อ, หน้า, รูป หรือคนที่เป็นที่รู้จักที่มีชื่อเสียงที่มีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง การใช้สิ่งของหรือรูปเป็นสัญลักษณ์ของสิ่งที่มีความสำคัญเหนือกว่าไม่ว่าจะเป็นตามตัวอักษรหรือตามการตีความหมายมักจะใช้ในศาสนา, วัฒนธรรม, การเมือง, หรือทางเศรษฐกิจ ในประวัติศาสตร์ลัทธินิยมทางศาสนาหรือวัฒนธรรมทางศาสนารูปเคารพจะมีอิทธิพลมาจากรูปที่เป็นตัวเป็นตนไม่ว่าจะเป็นรูปสองหรือสามมิติ ความประสงค์ของรูปเคารพไม่ว่าจะเป็นเพื่อการสั่งสอนหรือเป็นแรงบันดาลใจ หรือวิธีใช้เช่นเพื่อการบูชาหรือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือความสำคัญของการใช้รูปเคารพก็ขึ้นอยู่กับสถาบันที่ใช้และสมัยของการใช้.

ใหม่!!: พระวรสารนักบุญยอห์นและรูปเคารพ · ดูเพิ่มเติม »

ลาซารัสแห่งเบธานี

นักบุญลาซารัสแห่งเบทธานี หรือ นักบุญลาซารัส (Lazarus of Bethany หรือ Lazarus of the Four เป็นบุคคลควรเอาแบบอย่างเป็นคนดี รักผู้อื่น Days) เป็นนักบุญในคริสต์ศาสนาเป็นหัวเรื่องของปาฏิหาริย์อันสำคัญที่ทรงปฏิบัติโดยพระเยซูในพระวรสารนักบุญจอห์นที่กล่าวว่าพระเยซูทรงชุบชีวิตของนักบุญลาซารัสสี่วันหลังจากที่เสียชีวิตไปแล้ว นิกายอีสเติร์นออร์โธด็อกซ์ และ นิกายโรมันคาทอลิก บรรยายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหลังจากที่ได้รับการชุบชีวิตที่ต่างกัน ชื่อ "Lazarus" มาจากภาษาฮิบรู "אלעזר" (Elʿāzār) ที่แปลว่า "พระเจ้าทรงช่วย" และเป็นชื่อที่ให้แก่บุคคลที่สองในพระคัมภีร์ไบเบิลในเรื่อง Lazarus and Dives ในพระวรสารนักบุญลู.

ใหม่!!: พระวรสารนักบุญยอห์นและลาซารัสแห่งเบธานี · ดูเพิ่มเติม »

วังเชอนงโซ

วังเชอนงโซ (Château de Chenonceau) ตั้งอยู่ที่หมู่บ้านเชอนงโซ (Chenonceaux) ในจังหวัดแอ็งเดรลัวร์ แคว้นซ็องทร์-วาลเดอลัวร์ ประเทศฝรั่งเศส วังเดิมสร้างบนโรงป่นแป้งเก่าบนฝั่งแม่น้ำแชร์ และสร้างมาก่อนหน้าที่จะมีหลักฐานทางเอกสารเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 11 วังปัจจุบันออกแบบโดยฟีลีแบร์ เดอ ลอร์ม (Philibert De l'Orme) สถาปนิกเรอเนซองซ.

ใหม่!!: พระวรสารนักบุญยอห์นและวังเชอนงโซ · ดูเพิ่มเติม »

สัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์

ัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 221-2, 252-3, 395-6 (Holy Week) เป็นสัปดาห์สำคัญในปีพิธีกรรมของศาสนาคริสต์ ตรงกับสัปดาห์สุดท้ายของเทศกาลมหาพรต ซึ่งครอบคลุมช่วงเวลา 1 สัปดาห์ก่อนวันอีสเตอร์ ในสัปดาห์นี้มีวันสำคัญหลายวัน ได้แก่ วันอาทิตย์ใบลาน วันพฤหัสบดีศักดิ์สิทธิ์ วันศุกร์ประเสริฐ และวันเสาร์ศักดิ์สิทธิ์ แต่ไม่รวมวันอีสเตอร์ สำหรับนิกายอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ สัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์จะเริ่มจากวันเสาร์ลาซารัส (ก่อนวันอาทิตย์ใบลาน).

ใหม่!!: พระวรสารนักบุญยอห์นและสัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

หนังสือพระวรสาร

หนังสือพระวรสาร (Εὐαγγέλιον, Evangélion, Gospel Book หรือ Book of the Gospels) เป็นประเภทของวรรณกรรมคริสต์ศาสนา ที่เป็นประมวลหรือหนังสือรวมเล่มที่ประกอบด้วยพระวรสารในสารบบทั้งสี่ฉบับในพันธสัญญาใหม่ของคริสต์ศาสนา หนังสือพระวรสารจะมีเนื้อหาที่สมบูรณ์ครบถ้วนและจัดเรียงตามลำดับพระวรสาร ซึ่งต่างจาก “หนังสือพระวรสารฉบับตัดตอน” (Evangeliary) ซึ่งมีเนื้อหาเฉพาะบางตอนจากพระวรสารเท่านั้นที่ใช้ในการทำพิธีมิสซาหรือคริสต์ศาสนพิธีอื่น.

ใหม่!!: พระวรสารนักบุญยอห์นและหนังสือพระวรสาร · ดูเพิ่มเติม »

หนังสือปฐมกาล

หนังสือปฐมกาล (Book of Genesis; בראשית; ܣܦܪܐ ܕܒܪܝܬܐ; Γένεση) มาจากภาษากรีกว่า “การเกิด” หรือ “ที่มา” เป็นหนังสือที่กล่าวถึงจุดเริ่มต้นของโลก มนุษย์ และอิสราเอล ซึ่งเป็นตัวแทนของชนชาติที่พระเจ้าได้เลือกไว้ (ซึ่งมีความนัยทางเทววิทยา) ชื่อ "ปฐมกาล" แปลมาจากคำแรกของคัมภีร์ฮีบรูคำว่า בראשית (B'reshit or Bərêšîth) แปลว่า "ในปฐมกาล..." (in the begining...).

ใหม่!!: พระวรสารนักบุญยอห์นและหนังสือปฐมกาล · ดูเพิ่มเติม »

อย่าหน่วงเหนี่ยวเราไว้

“Noli me Tangere” (อย่าหน่วงเหนี่ยวเราไว้)โดยฮันส์ โฮลไบน์ (ผู้ลูก) อย่าหน่วงเหนี่ยวเราไว้ หรือเดิมใช้ว่า อย่าแตะต้องเรา (Noli me tangere; Do not cling to meNew Testament, John, Chapter 20, Paragraph 17:"Jesus said to her, Do not cling to me, for I have not yet ascended to the Father; but go to my brothers and say to them, 'I am ascending to my Father and your Father, to my God and your God." หรือ Do not touch me หรือ Touch me not) เป็นถ้อยคำที่พระเยซูกล่าวกับมารีย์ชาวมักดาลา เมื่อทรงพบนางหลังจากที่ทรงฟื้นขึ้นจากความตายตามที่บันทึกใน ประโยคนี้เป็นที่นิยมในเพลงสวดเกรกอเรียน (Gregorian chant) ในยุคกลาง และเป็นหัวข้อที่นิยมกันในงานจิตรกรรมที่เกี่ยวกับการคืนพระชนม์ของพระเยซู (Resurrection) ประโยคเดิม “Μή μου ἅπτου” ในพระวรสารนักบุญยอห์นซึ่งเป็นภาษากรีกแปลว่า “จะหยุดยั้งเรานั้นหาได้ไม่” หรือ “จงอย่าหยุดยั้งเรา” มากกว่าที่จะแปลว่า “อย่าแตะต้องเรา” (Don't touch me) เช่นที่เคยแปลกันในบางฉบั.

ใหม่!!: พระวรสารนักบุญยอห์นและอย่าหน่วงเหนี่ยวเราไว้ · ดูเพิ่มเติม »

อันล่วงละเมิดมิได้

อันล่วงละเมิดมิได้ (Touch Me Not; Noli Me Tangere) เป็นนวนิยายอมตะเรื่องหนึ่งของประเทศฟิลิปปินส์ ประพันธ์โดยโฮเซ รีซัล นักเขียนและนักปฏิวัติในยุคเรียกร้องเอกราชจากประเทศสเปน เขาเขียนนวนิยายเรื่องนี้ด้วยภาษาสเปนขณะที่อาศัยอยู่ในยุโรป และเป็นหนังสือต้องห้ามเล่มหนึ่งในอาณานิคมฟิลิปปินส์สมัยนั้น นิยายเรื่องนี้แปลเป็นภาษาไทยโดยจิตราภรณ์ ตันรัตนกุล.

ใหม่!!: พระวรสารนักบุญยอห์นและอันล่วงละเมิดมิได้ · ดูเพิ่มเติม »

อาหารค่ำมื้อสุดท้าย

“อาหารค่ำมื้อสุดท้าย” โดย ไซมอน อูชาคอฟ (Simon Ushakov) ราว ค.ศ. 1685 อาหารค่ำมื้อสุดท้าย (Last Supper, Lord's Supper, Mystical Supper) ตามความเชื่อของคริสต์ศาสนิกชนคืออาหารมื้อสุดท้ายที่พระเยซูเสวยร่วมกับสาวกของพระองค์ ก่อนจะมีการตรึงพระเยซูที่กางเขน “อาหารค่ำมื้อสุดท้าย” เป็นหัวเรื่องที่นิยมกันในการสร้างงานจิตรกรรม ภาพที่มีชื่อเสียงที่สุดคือภาพที่เขียนโดยเลโอนาร์โด ดา วินชี ตามคำกล่าวของนักบุญเปาโลอัครทูตในหนังสือโครินธ์ ระหว่างเสวยพระกระหารที่มีขนมปังและเหล้าองุ่น พระเยซูตรัสต่อสาวกว่า “จงดื่มเป็นที่ระลึกถึงเรา” เหตุการณ์อื่นและบทสนทนาบันทึกในพระวรสารสหทรรศน์และพระวรสารนักบุญยอห์น คริสต์ศาสนิกชนบางคนถือว่าเป็นรากฐานของศีลมหาสนิท ถ้วยที่ใช้ใส่ไวน์บางทีก็เรียกว่าจอกศักดิ์สิทธิ์ (Holy Chalice) และเป็นหนึ่งในวรรณกรรมเกี่ยวกับเรื่องถ้วยศักดิ์สิทธิ์ (Holy Grail) ในปรัมปราวิทยาในศาสนาคริสต.

ใหม่!!: พระวรสารนักบุญยอห์นและอาหารค่ำมื้อสุดท้าย · ดูเพิ่มเติม »

อาณาจักรของพระเป็นเจ้า

อาณาจักรของพระเป็นเจ้าพจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล, หน้า 303 (ศัพท์ราชบัณฑิตยสถาน) หรือ พระอาณาจักรของพระเจ้า (ศัพท์คาทอลิก) หรือ แผ่นดินของพระเจ้า (โปรเตสแตนต์) หมายถึง พระอำนาจของพระเป็นเจ้าในการปกครองทุกสิ่งโดยตลอดชั่วนิรันดร์ ในศาสนาคริสต์ถือว่าเรื่องอาณาจักรของพระเป็นเจ้าเป็นหัวใจของการประกาศข่าวดี พระวรสารนักบุญยอห์นระบุว่า พระเยซูสอนว่าเฉพาะผู้เกิดใหม่ด้วยน้ำและพระวิญญาณบริสุทธิ์เท่านั้นจึงจะเข้าในอาณาจักรนี้ได้ พระวรสารนักบุญมัทธิวเรียกอาณาจักรของพระเป็นเจ้าว่า "อาณาจักรสวรรค์" (ศัพท์คาทอลิก) หรือ "แผ่นดินสวรรค์" (โปรเตสแตนต์).

ใหม่!!: พระวรสารนักบุญยอห์นและอาณาจักรของพระเป็นเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

ผู้นิพนธ์พระวรสารสี่ท่าน

ผู้นิพนธ์พระวรสารสี่ท่านล้อมรอบพระเยซู วาดราว ค.ศ. 850 โดย แฮริกาเรียสแห่งทัวรส์ (Haregarius ofTours) ผู้นิพนธ์พระวรสารสี่ท่านบนเพดานบริเวณสงฆ์ในวัดเซ็นต์โมริทซ (St. Moritz) ที่โรทเท็นเบิร์กอัมเนคคาร์ (Rottenburg am Neckar) ประเทศเยอรมันจากบนซ้ายนักบุญมัทธิว (มนุษย์) นักบุญมาระโก (สิงโต) นักบุญลูกา (วัว) และนักบุญยอห์น (อินทรี) ผู้นิพนธ์พระวรสารสี่ท่าน (Four Evangelists) หมายถึงผู้ประพันธ์พระวรสารสี่เล่มซึ่งเป็นเอกสารส่วนหนึ่งของพันธสัญญาใหม่ในคัมภีร์ไบเบิล วรสาร แปลว่า ข่าวประเสริฐ ซึ่งหมายถึงข่าวการเสด็จมาของพระเยซู หรือชีวประวัติของพระองค์นั่นเอง อย่างไรก็ดีพระวรสารเขียนขึ้นประมาณหลังจากพระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์ไปแล้วเกือบหนึ่งร้อยปี.

ใหม่!!: พระวรสารนักบุญยอห์นและผู้นิพนธ์พระวรสารสี่ท่าน · ดูเพิ่มเติม »

จอห์น (ชื่อ)

อห์น (John) เป็นชื่อตัวในภาษาอังกฤษsakda.

ใหม่!!: พระวรสารนักบุญยอห์นและจอห์น (ชื่อ) · ดูเพิ่มเติม »

จดหมายของนักบุญยอห์น ฉบับที่ 1

หมายของนักบุญยอห์น ฉบับที่ 1 (1 John) เป็นหนังสือฉบับที่ 23 ของคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาใหม่ เป็นหนึ่งในเจ็ดจดหมายสากล อันได้แก่ จดหมายของนักบุญยากอบ จดหมายของนักบุญเปโตร ฉบับที่ 1 จดหมายของนักบุญเปโตร ฉบับที่ 2 จดหมายของนักบุญยอห์น ฉบับที่ 1 จดหมายของนักบุญยอห์น ฉบับที่ 2 จดหมายของนักบุญยอห์น ฉบับที่ 3 และจดหมายของนักบุญยูดา เนื่องจากจดหมายเหล่านี้ถูกส่งถึงคริสต์ศาสนิกชนทั่วไป ไม่ได้ระบุว่าเป็นคริสตจักรใด หนังสือเล่มนี้แต่แรกเป็นจดหมาย ซึ่งแม้ว่าจะไม่ได้ระบุชื่อผู้เขียนว่าเป็นใคร แต่คริสตจักรในยุคแรกเชื่อต่อกันมาว่า ผู้เขียนคือยอห์นผู้นิพนธ์พระวรสารที่ได้เขียนพระวรสารนักบุญยอห์น อันเป็นหนึ่งในสี่พระวรสาร และจากการวิเคราะห์เนื้อหาในจดหมายโดยผู้เชี่ยวชาญแล้วพบว่า ทั้งตอนเริ่มต้นของจดหมายและเนื้อหาภายในจดหมายถึง 11 ประโยคคล้ายกันกับในพระวรสารนักบุญยอห์น ผู้เชี่ยวชาญจึงสรุปตรงกัน ช่วงเวลาในการเขียนจดหมายฉบับนี้ยากที่จะระบุให้ชัดเจนได้ แต่จากหลักฐานอื่น ๆ ประกอบ พอจะคาดได้ว่าเป็นช่วงปลายศตวรรษแรก หรือราวปี..

ใหม่!!: พระวรสารนักบุญยอห์นและจดหมายของนักบุญยอห์น ฉบับที่ 1 · ดูเพิ่มเติม »

จดหมายของนักบุญยอห์น ฉบับที่ 2

หมายของนักบุญยอห์น ฉบับที่ 2 (Second Epistle of John) เป็นหนังสือฉบับที่ 24 ของคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาใหม่ เป็นหนึ่งในเจ็ดจดหมายสากล อันได้แก่ จดหมายของนักบุญยากอบ จดหมายของนักบุญเปโตร ฉบับที่ 1 จดหมายของนักบุญเปโตร ฉบับที่ 2 จดหมายของนักบุญยอห์น ฉบับที่ 1 จดหมายของนักบุญยอห์น ฉบับที่ 2 จดหมายของนักบุญยอห์น ฉบับที่ 3 และจดหมายของนักบุญยูดา เนื่องจากจดหมายเหล่านี้ถูกส่งถึงคริสต์ศาสนิกชนทั่วไป ไม่ได้ระบุว่าเป็นคริสตจักรใด หนังสือเล่มนี้แต่แรกเป็นจดหมาย ส่งถึงผู้รับที่ไม่ได้เอ่ยนาม เพียงแต่ถูกเรียกว่า ท่านสุภาพสตรีที่ทรงเลือกไว้และบรรดาบุตร ส่วนชื่อผู้เขียนก็ไม่ได้ระบุเช่นกัน แต่ผู้เขียนเรียกตนเองว่า ข้าพเจ้าผู้ปกครอง คริสตจักรในยุคแรกเชื่อต่อกันมาว่า ผู้เขียนคือยอห์นผู้นิพนธ์พระวรสาร ผู้เดียวกันกับที่ได้เขียนพระวรสารนักบุญยอห์นและจดหมายของนักบุญยอห์น ฉบับที่ 1 อันเป็นจดหมายฉบับแรกก่อนหน้านี้ด้วย จากการวิเคราะห์เนื้อหาในจดหมายโดยผู้เชี่ยวชาญแล้วพบว่า ในจดหมายของนักบุญยอห์น ฉบับที่ 1 และจดหมายของนักบุญยอห์น ฉบับที่ 2 มีเนื้อหาภายในจดหมายหลายข้อความที่คล้ายกัน เช่น 2 ยอห์น 5 กับ 1 ยอห์น 2:7, 2 ยอห์น 6 กับ 1 ยอห์น 5:3, 2 ยอห์น 7 และ 1 กับ 1 ยอห์น 4:2 - 3 และ 2 ยอห์น 12 กับ 1 ยอห์น 1:4 เป็นต้น ผู้เชี่ยวชาญจึงสรุปตรงกันว่าเป็นผู้เขียนคนเดียวกัน ช่วงเวลาในการเขียนจดหมายฉบับนี้น่าจะใกล้เคียงกับฉบับแรก นั่นคือช่วงปลายศตวรรษแรก หรือราวปี..

ใหม่!!: พระวรสารนักบุญยอห์นและจดหมายของนักบุญยอห์น ฉบับที่ 2 · ดูเพิ่มเติม »

จดหมายของนักบุญยอห์น ฉบับที่ 3

หมายของนักบุญยอห์น ฉบับที่ 3 (Third Epistle of John) เป็นหนังสือเล่มที่ 25 ของคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาใหม่ เป็นหนึ่งในเจ็ดจดหมายทั่วไป อันได้แก่ ยากอบ 1 เปโตร 2 เปโตร 1 ยอห์น 2 ยอห์น 3 ยอห์น และ ยูดา เนื่องจากจดหมายเหล่านี้ถูกส่งถึงคริสเตียนทั่วไป ไม่ได้ระบุว่าเป็นคริสตจักรใด พระธรรมเล่มนี้แต่แรกเป็นจดหมาย ส่งถึงผู้รับที่มีชื่อว่า กายอัส (ผู้ซึ่งถูกอ้างถึงครั้งหนึ่งใน กิจการของอัครทูต 19:29) ส่วนชื่อผู้เขียนไม่ได้ระบุ แต่ผู้เขียนเรียกตนเองว่า ข้าพเจ้าผู้ปกครอง เช่นเดียวกันกับใน 2 ยอห์น คริสตจักรในยุคแรกเชื่อสืบกันมาว่าผู้เขียนคือนักบุญยอห์นผู้นิพนธ์พระวรสารซึ่งประพันธ์พระวรสารนักบุญยอห์น 1 ยอห์น และ2 ยอห์น อันเป็นจดหมายฉบับก่อนหน้านี้ด้วย จากการวิเคราะห์เนื้อหาในจดหมายโดยผู้เชี่ยวชาญแล้วพบว่า ใน2 ยอห์น และ3 ยอห์น มีเนื้อหาภายในจดหมายบางตอนที่ใช้ข้อความเดียวกัน เช่น "รักเนื่องในสัจจะ" ใน 2 ยอห์น 1 กับ 3 ยอห์น 1 หรือข้อความคล้ายกัน เช่น "ดำเนินตามสัจจะ" ใน 2 ยอห์น 4 กับ "ประพฤติตามสัจธรรม" ใน 3 ยอห์น 4 เป็นต้น นอกจากนี้รูปแบบของจดหมายยังเหมือนกันอีกด้วย ผู้เชี่ยวชาญจึงสรุปตรงกันว่าเป็นผู้เขียนคนเดียวกัน ช่วงเวลาในการเขียนจดหมายฉบับนี้น่าจะใกล้เคียงกับสองฉบับแรก นั่นคือช่วงปลายศตวรรษแรก หรือราวปี..

ใหม่!!: พระวรสารนักบุญยอห์นและจดหมายของนักบุญยอห์น ฉบับที่ 3 · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติสาธารณรัฐโดมินิกัน

งชาติสาธารณรัฐโดมินิกัน เป็นธงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 5 ส่วน ยาว 8 ส่วน ภายในธงชาติแบ่งพื้นที่ออกเป็น 4 ส่วน ด้วยแถบสีขาวพาดผ่านกึ่งกลางธงทั้งแนวนอนและแนวตั้งตัดกันเป็นรูปกางเขน ช่องสี่เหลี่ยมเล็กที่เกิดขึ้นนั้นแบ่งเป็นพื้นสีน้ำเงินที่ช่องซ้ายบนและช่องขวาล่าง และเป็นสี่เหลี่ยมสีแดงที่ช่องขวาบนและช่องซ้ายล่าง ตรงใจกลางของกางเขนสีขาวนั้นมีภาพตราแผ่นดินของสาธารณรัฐโดมินิกันขนาดเล็ก ลักษณะของตราเป็นโล่ลายสีธงชาติ ที่ใจกลางโล่มีหอก 2 เล่ม และธงชาติติดคันธงปลายหอก 4 ผืนไขว้กัน ซ้อนทับด้วยคัมภีร์ไบเบิลภายใต้ไม้กางเขนสีเหลืองซึ่งกางออก เปิดหน้าของพระวรสารนักบุญยอห์น บทที่ 8 ข้อที่ 32 ความว่า "Y la verdad nos hará libre" ("และสัจจะจะทำให้ท่านทั้งหลายเป็นไท") เบื้องบนของโล่เป็นแพรแถบสีน้ำเงินเขียนคำขวัญประจำชาติด้วยอักษรโรมันสีเหลืองไว้ว่า "Dios, Patria, Libertad" (พระเจ้า ปิตุภูมิ เสรีภาพ) ขนาบข้างโล่นั้นมีช่อใบลอเรลโอบขึ้นมาทางด้านซ้าย ด้านขวาโอบด้วบช่อใบปาล์ม ด้านล่างเป็นอักษรสีเหลืองจารึกนามประเทศเป็นภาษาสเปนในแพรแถบสีแดงว่า "República Dominicana" หรือ "สาธารณรัฐโดมินิกัน" สำหรับธงเรือพลเรือนนั้นลักษณะของธงเป็นดังที่บรรยายไว้ข้างต้น เว้นแต่ว่ายกเอาเครื่องหมายตราแผ่นดินออกเท่านั้น และสัดส่วนธงนั้นกว้าง 3 ส่วน ยาว 5 ส่วน.

ใหม่!!: พระวรสารนักบุญยอห์นและธงชาติสาธารณรัฐโดมินิกัน · ดูเพิ่มเติม »

ทวนศักดิ์สิทธิ์

ทวนศักดิ์สิทธิ์ทิ่มแทงพระวรกายของพระเยซู วาดโดยฟราอันเจลีโก ทวนศักดิ์สิทธิ์ (Holy Lance; Heilige Lanze), หอกศักดิ์สิทธิ์ (Holy Spear), ทวนลอนไจนัส (Lance of Longinus), หรือ หอกแห่งโชคชะตา (Spear of Destiny) ตามที่ระบุไว้ในพระวรสารนักบุญยอห์น เป็นทวนที่นายทหารโรมันนามลอนไจนัส ใช้แทงสีข้างพระเยซูขณะที่พระองค์ถูกตรึงกางเขน เพื่อตรวจว่าพระองค์สิ้นพระชนม์แล้วหรือยัง มีศาสนจักรและอารามมากมายในโลกที่อ้างว่าตนเองมีทวนเล่มนี้ไว้ในครอบครอง แต่ก็ไม่มีการพิสูจน์และตรวจสอบใด ๆ จนถึงทุกวันนี้ ในบรรดาทวนทั้งหมดที่มีการอ้าง มีเพียง 3 เล่มเท่านั้นที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดว่า เล่มใดเล่มหนึ่งอาจเป็นทวนศักดิ์สิทธิ์ของจริง ทวนเล่มแรกอยู่ที่วาติกัน เล่มสองอยู่อาร์มีเนีย เล่มสามอยู่เวียนนา แม้ตำนานจะไม่ได้ระบุว่าทวนเล่มนี้มีพลังอานุภาพเหนือธรรมชาติใด ๆ แต่ผู้คนมากมายก็เชื่อว่าทวนเล่มนี้จะทำให้ผู้ครอบครองมีพลังอำนาจเกรียงไกร ดังนั้นทวนจึงเป็นที่หมายปองของบรรดาผู้นำประเทศในอดีต เช่น ใน..

ใหม่!!: พระวรสารนักบุญยอห์นและทวนศักดิ์สิทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

ทอมัสกังขา

วามกังขาของนักบุญทอมัส” โดย คาราวัจโจ ทอมัสกังขา หรือ ทอมัสขี้สงสัย (Doubting Thomas) เป็นวลีที่หมายถึงผู้ที่ปฏิเสธไม่ยอมเชื่อในสิ่งที่ได้ฟังโดยไม่ได้สัมผัสหรือเห็นหลักฐานโดยตรง หรือ คนขี้สงสั.

ใหม่!!: พระวรสารนักบุญยอห์นและทอมัสกังขา · ดูเพิ่มเติม »

ขนมปังแห่งชีวิต

นมปังแห่งชีวิต เป็นคำสอนหนึ่งที่ปรากฎในพระวรสารนักบุญยอห์น คำว่า "ขนมปังแห่งชีวิต" นั้นความหมายถึงพระเยซู พระวรสารดังกล่าวระบุชื่อนี้ไม่นานภายหลังจากเหตุกาณ์ประทานอาหาร (เหตุการณ์ที่พระเยซูได้ประทานอาหารให้แก่ผู้คนกว่า 5,000 คน ด้วยขนมปังด้วยขนมปังห้าแถวและปลาสองตัว) ซึ่งหลังเหตุการณ์นั้น พระเยซูได้ดำเนินบนน้ำไปยังด้านตะวันตกของทะเลกาลิลี มวลชนจึงได้ติดตามพระองค์ไปด้วยเรือเพื่อตามพระองค์ โดยพระเยซูได้เปรียบตัวพระองค์เสมือนขนมปังแห่งชีวิตที่จะช่วยให้มนุษย์ไม่หิวกระหาย ในพระวรสารนักบุญยอห์น ระบุไว้ดังนี้ พระเยซูได้ตรัสกับพวกเขาว่า "เรื่องที่ข้าบอกเจ้าเป็นเรื่องจริงแท้ โมเสสไม่ใช่คนที่มอบขนมปังแห่งสรวงสวรรค์ให้แก่พวกเจ้า แต่เป็นพระบิดาข้าต่างหากที่มอบขนมปังจากสรวงสวรรค์ที่แท้จริงแก่พวกเจ้า ขนมปังแห่งพระเจ้าคือสิ่งที่ลงมาจากสวรรค์และมอบชีวิตให้แก่โลก" พวกเขาได้พูดกับพระองค์ว่า "ท่านโปรดมอบขนมปังที่ว่านี้ให้แก่พวกเราตลอดไปเถิด" พระเยซูจึงตอบกลับพวกเขาไปว่า "ข้าคือขนมปังแห่งชีวิต ใครก็ตามที่เข้ามาหาข้า จะไม่มีวันอดอยาก ใครก็ตามที่เชื่อในตัวข้า จะไม่มีวันหิวกระหาย" (ยอห์น 6:32-5).

ใหม่!!: พระวรสารนักบุญยอห์นและขนมปังแห่งชีวิต · ดูเพิ่มเติม »

ความกังขาของนักบุญทอมัส (คาราวัจโจ)

วามกังขาของนักบุญทอมัส (The Incredulity of Saint Thomas) เป็นภาพเขียนสีน้ำมันที่เขียนโดยคาราวัจโจ จิตรกรสมัยบาโรกคนสำคัญชาวอิตาลีที่ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่พระราชวังซองส์ซูซิ, พอทสดัมในประเทศเยอรมนี ภาพ “ความกังขาของนักบุญทอมัส” เขียนราวระหว่างปี ค.ศ. 1601 ถึงปี ค.ศ. 1602 เป็นภาพที่ในกลุ่มเดียวกับ “แรงบันดาลใจของนักบุญแม็ทธิว” และ “สังเวยไอแซ็ค” ที่อุฟฟิซิเพราะตัวแบบอัครสาวกในทุกภาพเป็นคนคนเดียวกัน เช่นเดียวกับภาพ “นักบุญแม็ทธิวและเทวดา” ภาพนี้เดิมเป็นของวินเชนโซ จุสตินิอานิและต่อมาเป็นส่วนหนึ่งของงานสะสมหลวงของปรัสเซีย แต่โชคดีที่เก็บไว้ที่พอทสดัมจึงรอดจากการทำลายด้วยระเบิดระหว่างสงครามโลกครั้งที่สองมาได้ ภาพนี้เป็นภาพที่นิยมก็อปปีกันมากที่สุด ซึ่งมีด้วยกันทั้งสิ้น 22 ก็อปปีจากคริสต์ศตวรรษที่ 17 ตามบันทึกของพระวรสารนักบุญจอห์น นักบุญทอมัสไม่ได้เห็นการปรากฏตัวของพระเยซูแก่อัครสาวกหลังจากที่ทรงฟื้นชีพ นักบุญทอมัสจึงประกาศว่านอกจากว่าจะได้ยื่นมือไปสัมผัสแผลของพระองค์ก็จะไม่เชื่อในสิ่งที่ได้ยิน สัปดาห์หนึ่งต่อมาพระเยซูก็ทรงมาปรากฏตัวและบอกให้ทอมัสสัมผัสพระองค์และกล่าวว่า “ขอสมพรแก่ผู้ที่ยังไม่เห็นแต่เชื่อ” ความกังขาของนักบุญทอมัสประทับใจคาราวัจโจเป็นการส่วนตัวเป็นอันมาก ไม่มีภาพเขียนภาพอื่นใดของคาราวัจโจที่สร้างความประหลาดใจได้เท่าภาพนี้ นักบุญทอมัสมีความกังขาจนถึงกับต้องเอานิ้วจิ้มแผลเพื่อพิสูจน์ก่อนที่จะอุทานเมื่อทราบแน่ว่าเป็นพระเยซูว่า “My Lord and my God” การวางภาพชายสี่คนยืนรวมกันจนศีรษะแทบชนกันโดยมีพระพักตร์ของพระเยซูอยู่ในเงามืดเป็นการเพิ่มอารมณ์ของภาพ ตัวแบบอีกสามคนมีแสงส่องบนใบหน้าว่า “รู้”.

ใหม่!!: พระวรสารนักบุญยอห์นและความกังขาของนักบุญทอมัส (คาราวัจโจ) · ดูเพิ่มเติม »

คัมภีร์ไบเบิล

ัมภีร์ไบเบิลกูเทนแบร์ก คัมภีร์ไบเบิลฉบับพิมพ์ครั้งแรก คัมภีร์ไบเบิลราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 99 (Bible; ביבליה; ܟܬܒܐ ܩܕܝܫܐ; Αγία Γραφή) (มาจากภาษากรีกโบราณว่า Βίβλος บิบลิออน แปลว่า หนังสือ) ชาวโปรเตสแตนต์เรียกว่า พระคริสตธรรมคัมภีร์ (Holy Bible) เรียกโดยย่อว่า พระคัมภีร์ เป็นหนังสือที่บันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับพระยาห์เวห์ มนุษย์ ความบาป และแผนการของพระเจ้าในการช่วยมนุษย์ให้รอดพ้นจากความพินาศอันเนื่องจากความบาปสู่ชีวิตนิรันดร์ เป็นหนังสือที่บันทึกหลักธรรมคำสอนของศาสนาคริสต์ ซึ่งในบางเล่มมีพื้นฐานมาจากหลักคำสอนของศาสนายูดาห์ของชาวยิว ชาวคริสต์เรียกคัมภีร์ไบเบิลในชื่ออื่น ๆ อีกหลายชื่อเช่น พระวจนะของพระเจ้า (Word of God) หนังสือดี (Good Book) และคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ (Holy Scripture) คริสตชนทุกคนเชื่อว่าพระคัมภีร์ทุกบททุกข้อนั้นมนุษย์เขียนขึ้นโดยการดลใจจากพระเจ้า ประกอบด้วยหนังสือจำนวน 66 หรือ 73 หรือ 78 เล่ม (แล้วแต่นิกาย) ประกอบด้วยภาคพันธสัญญาเดิมและพันธสัญญาใหม่ พันธสัญญาเดิมถูกเขียนขึ้นก่อนที่พระเยซูคริสต์ประสูติ ทั้งหมดเขียนเป็นภาษาฮีบรู ยกเว้นส่วนที่เป็นคัมภีร์อธิกธรรม (ยอมรับเฉพาะชาวคาทอลิก) ถูกเขียนด้วยภาษากรีกและภาษาอียิปต์ ส่วนพันธสัญญาใหม่ถูกเขียนขึ้นหลังจากพระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์แล้ว โดยบันทึกถึงเรื่องราวของพระเยซูตลอดพระชนม์ชีพ รวมทั้งคำสอน และการประกาศข่าวดีแห่งความรอด การยอมรับการทรมาน และการไถ่บาปของมนุษย์โดยพระเยซู การกลับคืนชีพอย่างรุ่งโรจน์ การส่งพระวิญญาณบริสุทธิ์มายังอัครทูต ประวัติศาสตร์ของคริสตจักรในยุคแรกเริ่ม ภายหลังการกลับคืนพระชนม์ชีพของพระเยซูแล้ว การเบียดเบียนคริสตจักรในรูปแบบต่าง ๆ พระคัมภีร์เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นหนังสือที่ขายดีที่สุดของเวลาทั้งหมดที่มียอดขายต่อปีประมาณ 100 ล้านเล่มและได้รับอิทธิพลสำคัญในวรรณคดีและประวัติศาสตร.

ใหม่!!: พระวรสารนักบุญยอห์นและคัมภีร์ไบเบิล · ดูเพิ่มเติม »

งานสมรสที่หมู่บ้านคานา

“งานสมรสที่หมู่บ้านคานา” โดย จอตโต ดี บอนโดเน งานสมรสที่หมู่บ้านคานา (Marriage at Cana เป็นฉากหนึ่งของภาพชุดชีวิตของพระเยซูที่บันทึกในพระวรสารนักบุญยอห์นแต่ไม่มีบันทึกในพระวรสารสหทรรศน์ “งานสมรสที่หมู่บ้านคานา” เป็นหัวเรื่องหนึ่งในศิลปะคริสต์ศาสนาที่ศิลปินนิยมสร้างหรือเขียน.

ใหม่!!: พระวรสารนักบุญยอห์นและงานสมรสที่หมู่บ้านคานา · ดูเพิ่มเติม »

ตราแผ่นดินของสาธารณรัฐโดมินิกัน

ตราแผ่นดินของสาธารณรัฐโดมินิกัน มีลักษณะเป็นตราอาร์มสีธงชาติสาธารณรัฐโดมินิกัน กล่าวคือ พื้นโล่นั้นแบ่งเป็นสี่ส่วนด้วยรูปกากบาทสีขาว แต่ละช่องที่ถูกแบ่งนั้น แบ่งเป็นพื้นสีน้ำเงินที่ช่องซ้ายบนกับช่องขวาล่าง และเป็นพื้นสีแดงที่ช่องขวาบนและช่องซ้ายล่าง ภายในโล่สีธงชาตินั้นมีรูปธงชาติติดคันธงปลายหอกไขว้กัน 4 ผืน และหอกไขว้ 2 เล่ม ที่ตรงกลางมีรูปไม้กางเขนสีทอง วางไว้เหนือคัมภีร์ไบเบิล ซึ่งเปิดหน้าพระวรสารนักบุญยอห์น บทที่ 8 ข้อที่ 32 อันมีใจความในภาษาสเปนว่า "Y la verdad nos hará libre" (ในพระคริสตธรรมคัมภีร์ภาษาไทยแปลไว้ว่า "และสัจจะจะทำให้ท่านทั้งหลายเป็นไท") เบื้องบนของโล่เป็นแพรแถบสีน้ำเงินเขียนคำขวัญประจำชาติว่า "Dios, Patria, Libertad" (พระเจ้า ปิตุภูมิ เสรีภาพ) ขนาบข้างโล่นั้นมีช่อใบลอเรลโอบขึ้นมาทางด้านซ้าย ด้านขวาโอบด้วบช่อใบปาล์ม ด้านล่างเป็นแพรแถบสีแดงบอกนามประเทศด้วยอักษรสีเหลืองเป็นภาษาสเปนว่า "República Dominicana" หรือ "สาธารณรัฐโดมินิกัน".

ใหม่!!: พระวรสารนักบุญยอห์นและตราแผ่นดินของสาธารณรัฐโดมินิกัน · ดูเพิ่มเติม »

ซิริลแห่งอะเล็กซานเดรีย

นักบุญซิริลแห่งอะเล็กซานเดรีย (Cyril of Alexandriaˈ) บาทหลวงชาวอียิปต์ ได้รับแต่งตั้งเป็นบิชอปแห่งอะเล็กซานเดรีย และได้รับยกย่องเป็นนักปราชญ์แห่งคริสตจักรภายหลังถึงแก่มรณกรรม ท่านเป็นนักเทววิทยาที่โดดเด่น จนมีบทบาทสำคัญในการสังคายนาเอเฟซัสครั้งที่หนึ่ง (ค.ศ. 431) เพื่อรับรองหลักความเชื่อเรื่องพระมารดาพระเจ้.

ใหม่!!: พระวรสารนักบุญยอห์นและซิริลแห่งอะเล็กซานเดรีย · ดูเพิ่มเติม »

ปฏิกิริยาลาซารัส

ปฏิกิริยาลาซารัส หรือ อาการแสดงลาซารัส เป็นปฏิกิริยาตอบสนองของร่างกายอย่างหนึ่งซึ่งพบในผู้ป่วยสมองตายหรือก้านสมองตาย แสดงออกมาเป็นลักษณะของการยกแขนขึ้นและปล่อยแขนตกลงในท่ากอดอก (คล้ายกับที่พบในมัมมี่อียิปต์) ได้ชื่อจากนักบุญลาซารัส ซึ่งได้ฟื้นคืนชีพจากพรของพระเยซู ตามเรื่องที่เขียนไว้ในหนังสือพระวรสารนักบุญยอห์น.

ใหม่!!: พระวรสารนักบุญยอห์นและปฏิกิริยาลาซารัส · ดูเพิ่มเติม »

นักบุญลองกินุส

ลองกินุส (Longinus) หรือ ลอนไจนัส เป็นชื่อที่ตั้งให้กับบุคคลในตำนานของศาสนาคริสต์ เขาเป็นนายทหารผู้แทงหอกลงบนร่างพระเยซูที่ถูกตรึงกางเขน ซึ่งหอกนี้ได้กลายเป็นหอกในตำนานที่ถูกเรียกว่า "หอกศักดิ์สิทธิ์" ทั้งนี้ใน "สารของเฮรอดถึงปิลาตุส" ได้ระบุว่า ลองกินุสรู้สึกผิดและเป็นทุกข์ใจต่อการที่ได้แทงร่างของพระเยซู เขาถูกส่งไปในถ้ำที่ในทุกๆคืนจะถูกสิงโตกัดฉีกร่างเนื้อ และเมื่อถึงรุ่งเช้าร่างกายเขาก็กลับฟื้นคืนเป็นปกติ และก็ถูกกัดฉีกอีกเป็นวังวนเรื่อยๆจนสิ้นสุด หลังจากนั้นเขาจึงหันไปนับถือคริสต์ อย่างไรก็ตาม มีนักบวชอังกฤษชื่อ ซาบีน บาริง-กูดได้พบว่า "ชื่อลองกินุสนั้นไม่เคยเป็นที่รู้จักในหมู่ชาวกรีกมาก่อนจนกระทั่งถึงยุคสังฆราชเยอรมานุสในปี 715 ชื่อลองกินุสนั้นถูกเริ่มใช้ในหมู่ชาวตะวันตกจากพระวรสารนักบุญนิโคเดอมุส ไม่มีข้อมูลที่เชื่อถือได้ใดๆที่ยืนยันถึงการกระทำและความทุกข์ทรมานของนักบุญผู้นี้" ถึงกระนั้น ก็ยังมีความเชื่อดั้งเดิมที่ว่าบ้านเกิดของลองกินุสเป็นหมู่บ้านเล็กๆในลานเซียโน แคว้นอาบรุซโซ ภาคกลางของอิตาลี มีข้อสันนิฐานว่า ลองกินุส เป็นคำละตินที่อาจมีรากศัพท์มาจากคำกรีก λόγχη (ลองชี) ที่หมายถึงหอกซึ่งคำนี้ปรากฏในพระวรสารนักบุญยอห์น 19:34 นอกจากนี้ ในหอสมุดชาวฟลอเรนซ์ยังพบเอกสารโบราณที่เขียนขึ้นในปี 586 มีคำกรีกนี้ถูกเขียนเป็นตัวพิมพ์ใหญ่ ΛΟΓΙΝΟC (ลองกินอส) อยู่ข้างภาพนายทหารถือหอก เป็นเอกสารตัวเขียนสีวิจิตรฉากตรึงกางเขน.

ใหม่!!: พระวรสารนักบุญยอห์นและนักบุญลองกินุส · ดูเพิ่มเติม »

นักบุญอันดรูว์

อันดรูว์อัครทูต (Ανδρέας อันเดฺรอัส; Andrew แอนดฺรูว) ชาวคาทอลิกเรียกว่านักบุญอันดรูว์ เป็นนักบุญและมรณสักขีในคริสต์ศาสนา เกิดเมื่อราวต้นคริสต์ศตวรรษที่ 1 ที่เมืองเบ็ธไซดาบนฝั่งทะเลกาลิลี และเสียชีวิตโดยการถูกตรึงกางเขนบนกางเขนรูป “X” เมื่อราวกลางหรือปลายคริสต์ศตวรรษที่ 1 ที่เมืองเพ็ทราส์ ในประเทศกรีซปัจจุบัน นักบุญอันดรูว์ เป็นหนึ่งในอัครทูตสิบสององค์ของพระเยซู ในคริสตจักรออร์ทอดอกซ์ เรียกนักบุญอันดรูว์ว่า “Protocletos” หรือ “ผู้ถูกเรียกคนแรก” ชื่อ “แอนดรูว” มาจากภาษากรีกที่แปลว่า “เกียรติ” เช่นเดียวกับชื่อภาษากรีกอื่น ๆ เป็นชื่อที่ชาวยิวใช้กันทั่วไปในระหว่างร้อยถึงสองร้อยปีก่อนคริสต์ศตวรรษ เท่าที่ทราบนักบุญอันดรูว์ไม่มีชื่อบ่งเป็นภาษาฮิบรูและภาษาอราเมอิก ตามพันธสัญญาใหม่นักบุญแอนดรูว์เป็นลูกของโยนาห์หรือยอห์น (มัทธิว; ยอห์น) เกิดที่เมืองเบ็ธไซดาบนฝั่งทะเลกาลิลี(ยอห์น) และเป็นน้องชายของซีโมนเปโตร เปโตรและอันดรูว์เดิมเป็นชาวประมงฉะนั้นเมื่อพระเยซูเรียกตัวมาเป็นอัครทูตโดยกล่าวว่าเจ้าจงเป็น “ชาวประมงหามนุษย์” (ภาษากรีก: ἁλιείς ἀνθρώπων “halieis anthropon”)Metzger & Coogan (1993) Oxford Companion to the Bible, p 27.

ใหม่!!: พระวรสารนักบุญยอห์นและนักบุญอันดรูว์ · ดูเพิ่มเติม »

นักบุญจอห์น

นักบุญจอห์น หรือ นักบุญยอห์น ในศาสนาคริสต์ สามารถหมายถึงนักบุญต่อไปนี้.

ใหม่!!: พระวรสารนักบุญยอห์นและนักบุญจอห์น · ดูเพิ่มเติม »

โยเซฟชาวอาริมาเธีย

ซฟชาวอาริมาเธีย (Joseph of Arimathea) เป็นผู้จัดการฝังพระศพพระเยซูหลังจากทรงถูกตรึงที่กางเขน พระวรสารนักบุญมัทธิวระบุว่าเขาเป็นเศรษฐี และพระวรสารนักบุญมาระโกระบุว่าเขา "เป็นสมาชิกสภาและเป็นที่นับถือของคนทั้งหลาย อีกทั้งยังเป็นคนที่กำลังคอยท่าแผ่นดินของพระเจ้า" และตามพระวรสารนักบุญยอห์นว่าโยเซฟเป็นสาวกของพระเยซูอย่างลับ ๆ เมื่อได้ข่าวว่าพระเยซูสิ้นพระชนม์ โยเซฟก็รีบไปหาป็อนติอุส ปีลาตุสและขอพระศพของพระเยซู ตามความเห็นของผู้รู้อีกมุมหนึ่งกล่าวว่า “เป็นสิ่งที่ไม่คาด…โยเซฟนำพระเยซูเข้ามาในครอบครัวของตนเองหรือ?” เมื่อทหารโรมันมาบอกปีลาตุสว่าพระเยซูสิ้นพระชนม์แล้ว ปีลาตุสก็อนุญาตให้โยเซฟไปเอาร่างพระเยซู โยเซฟก็รีบไปซึ้อผ้าลินินอย่างดี (มาร์ค 15:46) แล้วก็เดินทางไปกอลกอธา (Golgotha) ซึ่งเป็นที่ที่พระเยซูถูกตรึงกางเขนเพื่อทำการอัญเชิญพระศพลงจากกางเขน โดยมีนิโคเดอมัส (Nicodemus) เป็นผู้ช่วย ร่างที่นำลงมาก็ห่อด้วยผ้าลินินพรมด้วยของหอมที่นิโคเดอมัสนำติดตัวมา (จอห์น) เสร็จแล้วก็นำร่างไปไว้ในที่เก็บศพที่ถูกเตรียมไว้ก่อนหน้านั้นสำหรับตัวโยเซฟเอง ซึ่งเป็นที่เก็บศพที่ขุดเข้าไปในหินในสวนไม่ไกลนัก ผู้ที่เป็นพยานเมื่อโจเซฟวางร่างพระเยซูไว้ในที่เก็บศพก็คือมารีย์ชาวมักดาลา มารีย์ (มารดาพระเยซู) และสตรีคนอื่น ๆ แล้วก็เอาก้อนหินปิดก่อนจะกลับ (ลูค 23:53, 55) โยเซฟต้องรีบทำเพราะใกล้จะเป็นวันซับบัธ ในสมัยกลางมีตำนานหลายเรื่องที่เกี่ยวกับโยเซฟแห่งอาริมาเธียซึ่งโยงโยเซฟว่าเป็นผู้นำจอกศักดิ์สิทธิ์มายังประเทศอังกฤษ นอกจากนั้นโยเซฟแห่งอาริมาเธียยังมักจะปรากฏในจิตรกรรมหรือประติมากรรมเกี่ยวกับ “การอัญเชิญพระศพลงจากกางเขน”.

ใหม่!!: พระวรสารนักบุญยอห์นและโยเซฟชาวอาริมาเธีย · ดูเพิ่มเติม »

โธมัสอัครทูต

มัสอัครทูต (Απόστολος Θωμάς อะโปสโตโลส ธอมัส) เป็นนักบุญและมรณสักขีในคริสต์ศาสนา เสียชีวิตเมื่อราว..

ใหม่!!: พระวรสารนักบุญยอห์นและโธมัสอัครทูต · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Gospel of Johnพระกิตติคุณยอห์นพระวรสารนักบุญจอห์น

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »