โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

พระวรสารสหทรรศน์

ดัชนี พระวรสารสหทรรศน์

ระวรสารสหทรรศน์ (คาทอลิก) หรือพระกิตติคุณสัมพันธ์ (โปรเตสแตนต์) (Synoptic Gospels) เป็นพระวรสารสามเล่มแรกจากทั้งหมดสี่เล่มของพระวรสารในสารบบคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาใหม่ ประกอบด้วย พระวรสารนักบุญมัทธิว พระวรสารนักบุญมาระโก และพระวรสารนักบุญลูกา ทั้งสามฉบับมีเนื้อหาและการวางเนื้อหาที่คล้ายคลึงกันรวมไปถึงลักษณะการใช้ประโยคและบทเขียน และมีทัศนะที่คล้ายคลึงกัน พระวรสารเล่มที่สี่ในสารบบคือพระวรสารนักบุญยอห์น แตกต่างจากสามฉบับแรกเป็นอันมากและแตกต่างจากพระวรสารนอกสารบบ (Apocryphal gospels) ฉบับอื่น.

20 ความสัมพันธ์: บัญญัติเอกบารโธโลมิวอัครทูตพระวรสารพระวรสารนักบุญมัทธิวพระวรสารนักบุญมาระโกพระวรสารนักบุญยอห์นพระวรสารนักบุญลูกาพระเยซูพระเยซูทรงจำแลงพระกายการทดลองพระเยซูการตัดศีรษะยอห์นผู้ให้บัพติศมายากอบ บุตรเศเบดีสัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์อัครทูตอาหารค่ำมื้อสุดท้ายจีซัสไครสต์ซูเปอร์สตาร์คัมภีร์นอกสารบบงานสมรสที่หมู่บ้านคานาซีโมนเศโลเทนักบุญโยเซฟ

บัญญัติเอก

ัญญัติเอก (ศัพท์ราชบัณฑิตยสถาน) หรือ บัญญัติของพระเยซูคริสต์ (ศัพท์ศาสนศาสตร์) หรือ พระ‍บัญญัติ​ข้อ​ที่​สำคัญ​ที่​สุด (ศัพท์คัมภีร์ไบเบิล) หรือ พระมหาบัญญัติ (ศัพท์โปรเตสแตนต์) หรือ บทบัญญัติเอก (ศัพท์คาทอลิก) (Great Commandment; Greatest Commandment) เป็นบทบัญญัติของพระเยซู ปรากฏในคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาใหม่ ในพระวรสารสหทรรศน์ ได้แก่ พระวรสารนักบุญมัทธิว พระวรสารนักบุญมาระโก และพระวรสารนักบุญลูกา เป็นบทบัญญัติที่คริสต์ศาสนิกชนยึดถือเพิ่มเติมจากบัญญัติ 10 ประการ ของศาสนายูดาห์ โดยบัญญัติของพระเยซูคริสต์นี้เป็นบทบัญญัติที่รวบรวมบัญญัติ 10 ประการให้สำเร็จใน 2 ข้อ.

ใหม่!!: พระวรสารสหทรรศน์และบัญญัติเอก · ดูเพิ่มเติม »

บารโธโลมิวอัครทูต

รโธโลมิวอัครทูต (Bartholomew the Apostle; Βαρθολομαίος (Bartholomaios)) เป็นนักบุญและมรณสักขีในศาสนาคริสต์ เสียชีวิตที่ประเทศอาร์มีเนีย บารโธโลมิวเป็นหนึ่งในอัครทูตของพระเยซู ชื่อ “บารโธโลมิว” มาจากภาษาแอราเมอิก “bar-Tôlmay” (תולמי‎‎‎‎‎-בר‎‎) หมายความว่า “ลูกของโทลเม” (โทเลมี) หรืออาจจะเป็น “ลูกของคนไถนา” บางครั้งก็เชื่อกันว่าเป็นนามสกุลมากกว่าจะเป็นชื่อตัวEncyclopedia Britannica, micropedia.

ใหม่!!: พระวรสารสหทรรศน์และบารโธโลมิวอัครทูต · ดูเพิ่มเติม »

พระวรสาร

ระวรสาร (โรมันคาทอลิก) หรือพระกิตติคุณ (โปรเตสแตนต์) (Gospels) เป็นหนังสือหมวดแรกในคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาใหม่ รู้จักในอีกนามหนึ่งว่า พระวรสารในสารบบ (Canonical gospels) เพราะเป็นพระวรสารที่ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการจากคริสตจักรให้รวมในสารบบคัมภีร์ไบเบิลได้ คำว่า “gospel” มาจากภาษาอังกฤษเก่า แปลว่า “ข่าวดี” (คัมภีร์ไบเบิลฉบับภาษาไทยของชาวโปรเตสแตนต์แปลว่า "ข่าวประเสริฐ") มีนัยความหมายในคติของศาสนาคริสต์ถึง "การประกาศข่าวดี" ว่าบัดนี้ พระยาห์เวห์ได้ทรงประทานพระบุตรของพระองค์มารับสภาพมนุษย์เป็นพระเยซูแล้ว เพื่อประทานความรอดแก่มวลมนุษย์ ให้พ้นจากบาปและความทุกข์ และกลับเข้าสนิทกับพระเจ้าเช่นเดิม สู่แผ่นดินสวรรค์ ตามคำพยากรณ์ของผู้เผยพระวจนะในพันธสัญญาเดิม พระวรสารในสารบบมีอยู่ 4 เล่ม ในคัมภีร์ภาคพันธสัญญาใหม่ที่มีเนื้อหาโดยตรงเกี่ยวกับพระเยซู บรรยายถึงกำเนิด คำเทศนา การตรึงกางเขน และการคืนพระชนม์ ทั้ง 4 เล่มถูกตั้งชื่อตามชื่อผู้ที่เชื่อกันว่าเป็นผู้เขียน โดยเขียนขึ้นเมื่อระหว่าง ค.ศ. 65 ถึง ค.ศ. 100 ได้แก่ สามเล่มแรกเรียกว่าพระวรสารสหทรรศน์ เนื่องจากมีมุมมองในชีวิตของพระคริสต์ที่คล้ายกัน ขณะที่พระวรสารนักบุญยอห์น มีแง่มุมทางเทววิทยาและจิตวิญญาณที่ต่างออกไป.

ใหม่!!: พระวรสารสหทรรศน์และพระวรสาร · ดูเพิ่มเติม »

พระวรสารนักบุญมัทธิว

ระวรสารนักบุญมัทธิว (ศัพท์คาทอลิก) หรือ พระกิตติคุณมัทธิว (ศัพท์โปรเตสแตนต์) (Gospel of Matthew) เป็นหนังสือพระวรสารในคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาใหม่ เป็นหนึ่งในสี่ “พระวรสารในสารบบ” และเป็นหนึ่งในสาม “พระวรสารสหทรรศน์” แม้พระวรสารนักบุญมัทธิวไม่มีชื่อกำกับไว้ว่าใครเป็นผู้เขียน แต่ตั้งแต่คริสตชนตั้งแต่ศาสนาคริสต์ยุคแรกก็เชื่อกันสืบมาว่าเขียนโดยมัทธิวผู้นิพนธ์พระวรสาร อัครทูต และคนเก็บภาษี หนังสือเล่มนี้น่าจะถูกเขียนขึ้นก่อนที่กรุงเยรูซาเล็มจะพินาศในปี..

ใหม่!!: พระวรสารสหทรรศน์และพระวรสารนักบุญมัทธิว · ดูเพิ่มเติม »

พระวรสารนักบุญมาระโก

ระวรสารนักบุญมาระโก (ศัพท์คาทอลิก) หรือ พระกิตติคุณมาระโก (ศัพท์โปรเตสแตนต์) (Gospel of Mark) เป็นพระวรสารในสารบบคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาใหม่ และเป็นพระวรสารหนึ่งใน “พระวรสารสหทรรศน์” สามฉบับ ผู้เขียนไม่ได้ระบุนามของตนเองไว้ แต่เชื่อกันทั่วไปว่าเขียนโดยมาระโกผู้นิพนธ์พระวรสาร ซึ่งเป็นบุตรชายของมารีย์ และเป็นลูกพี่ลูกน้องกับบารนาบัส มาระโกได้ร่วมเดินทางกับเปาโลและบารนาบัสในการเดินทาง เพื่อทำการประกาศข่าวดีครั้งแรก เปาโลกล่าวถึงมาระโกในฐานะของเพื่อนในกรุงโรมและยกย่องการรับใช้ของเขาเป็นอย่างสูง เชื่อกันว่าในบรรดา “พระวรสารในสารบบ” ทั้งสี่เล่ม พระวรสารนักบุญมาระโก ถูกเขียนขึ้นเป็นฉบับแรก ในช่วงก่อนสงครามกลางเมืองในกรุงโรม เพราะฉะนั้นหนังสือเล่มนี้น่าจะถูกเขียนในราว..55 คริสตจักรยุคแรกมีความเห็นตรงกันว่า เนื้อหาในหนังสือเล่มนี้ถอดแบบมาจากคำสอนของเปโตร โดยเน้นที่การบันทึกข้อเท็จจริงของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น จากลีลาการเขียนแสดงถึงการเขียนขึ้นอย่างเร่งรีบ ไม่ถูกผ่านการขัดเกลาให้สละสลวย ทำให้ผู้อ่านรู้สึกว่า หลายเหตุการณ์เกิดขึ้นอย่างฉับพลันทันที การกระทำต่าง ๆ ที่ได้บันทึกไว้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งสังเกตได้จากคำว่า "ในทันใดนั้น" ถูกใช้มากกว่า 40 ครั้ง แม้ว่า พระวรสารนักบุญมาระโก จะมีความยาวน้อยที่สุดในบรรดาพระวรสารทั้งสี่เล่ม แต่ในบางเหตุการณ์กลับถูกบันทึกไว้โดยละเอียด นอกจากนี้ ยังมีบางบทที่ได้อธิบายถึงขนบธรรมเนียมของชาวยิวไว้ด้วย เพื่อให้ผู้อ่านชาวโรมันจะเข้าใจได้ วัตถุประสงค์ของ พระวรสารนักบุญมาระโก มีอยู่ 4 ประการ โดยประการแรกสำคัญที่สุดคือ มาระโกต้องการให้ผู้อ่านทราบว่า ข่าวดีคืออะไร นั่นคือการที่พระเยซูสิ้นพระชนม์เพื่อไถ่บาปของเรา ถูกฝังไว้แล้วเป็นขึ้นมาอีกครั้ง ดังนั้นมาระโกจึงให้ความสำคัญของเรื่องราวตั้งแต่การสิ้นพระชนม์ จนถึงการคืนพระชนม์ของพระเยซูมากกว่าเรื่องอื่น หนังสือเล่มนี้มีทั้งหมด 16 บท ใน 10 บทแรก บันทึกเรื่องราวตั้งแต่พระเยซูรับบัพติศมา จนถึงเสด็จเข้ากรุงเยรูซาเล็ม ซึ่งเป็นระยะเวลาประมาณ 3 ปี ในขณะที่อีก 6 บทที่เหลือ เป็นการบันทึกเรื่องราวช่วงสุดท้ายของชีวิตพระเยซู ซึ่งเป็นระยะเวลาเพียงแค่สัปดาห์เดียว แสดงให้เห็นว่ามาระโกต้องการเน้นว่า ข่าวดีคือหัวใจของหนังสือเล่มนี้ ประการที่สองที่มาระโกต้องการกล่าวคือ แม้ว่าพระเยซูคือพระบุตรพระเป็นเจ้า แต่พระเยซูทรงเป็นมนุษย์ พระองค์มีความรู้สึกเหน็ดเหนื่อย หิวโหย อ่อนล้า ฯลฯ เหมือนกับมนุษย์ พระเยซูจึงทรงเป็นแบบอย่างในการตอบสนองต่อความรู้สึกต่าง ๆ ดังนั้นในฐานะของคริสต์ศาสนิกชน ทุกคนควรเรียนรู้จากพระองค์และตอบสนองด้วยท่าทีอย่างเดียวกัน ประการที่สาม มาระโกเขียนเพื่อหนุนใจคริสเตียนที่ถูกกดขี่ข่มเหง เมื่อพระเยซูทรงยืนหยัดในขณะที่ถูกต่อต้าน จะเป็นกำลังใจให้กับคริสเตียนที่อยู่ในภาวะเดียวกันได้ ประการสุดท้าย มาระโกต้องการให้ผู้อ่านทราบถึงฤทธิ์อำนาจของพระเยซู ซึ่งมีชัยชนะเหนือผี โรคร้าย และความตายได้ พระวรสารนักบุญมาระโก ใช้ “มาระโก” หรือ “มก” ในการอ้างอิง.

ใหม่!!: พระวรสารสหทรรศน์และพระวรสารนักบุญมาระโก · ดูเพิ่มเติม »

พระวรสารนักบุญยอห์น

ระวรสารนักบุญยอห์น (ศัพท์คาทอลิก) หรือ พระกิตติคุณยอห์น (ศัพท์โปรเตสแตนต์) (Gospel of John; ภาษากรีก: Κατά Ιωαννην, “Kata Iōannēn”) เป็นพระวรสารฉบับที่สี่ของ “พระวรสารในสารบบ ” (Canonical gospels) ซึ่งเป็นเอกสารหนึ่งในคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาใหม่ แต่มิได้ถูกนับเป็นพระวรสารสหทรรศน์สามฉบับซึ่งประกอบด้วยพระวรสารนักบุญมาระโก พระวรสารนักบุญลูกา และ พระวรสารนักบุญมัทธิว พระวรสารนักบุญยอห์น เป็นพระวรสารที่เขียนโดยยอห์นผู้นิพนธ์พระวรสาร ชาวคริสต์เชื่อว่าเป็นท่านเดียวกับยอห์นอัครทูตซึ่งเป็น "สาวกที่พระองค์ทรงรัก" (john 13:23 One of his disciples, whom Jesus loved, was reclining at table close to Jesus) ผู้ซึ่งรู้วิถีชีวิตของชาวยิวเป็นอย่างดี และได้อ้างถึงขนบธรรมเนียมของชาวยิวอยู่หลายบทในพระวรสารเล่มนี้ ยอห์นเป็นอัครทูตแห่งความรัก ไม่มีใครบรรยายถึงพระลักษณะของพระเจ้าได้อย่างยอห์น เช่น "เพราะว่าพระเจ้าทรงรักโลก จนได้ทรงประทานพระบุตรองค์เดียวของพระองค์ เพื่อทุกคนที่วางใจในพระบุตรนั้นจะไม่พินาศ แต่มีชีวิตนิรันดร์" กับอีกหลายเหตุการณ์ที่ยอห์นบรรยายถึงพระเยซูได้อย่างจับใจ แสดงว่าเรื่องราวต่างๆถูกบันทึกจากความทรงจำที่ได้เห็นมากับตา พระวรสารเล่มนี้น่าจะถูกเขียนขึ้นประมาณปี..85 หรือหลังจากนั้นเล็กน้อย เช่นเดียวกับพระวรสารอีกสามฉบับที่เล่าเรื่องชีวิตของพระเยซูคริสต์ แต่บางเหตุการณ์มีการตีความอย่างละเอียด พระวรสารนักบุญยอห์นเป็นพระวรสารของ “ความเชื่อ” ที่เขียนขึ้นเพื่อจะยืนยันกับผู้อ่านว่าพระเยซูเป็น "พระเมสสิยาห์" และเป็น “พระบุตรพระเป็นเจ้า” ดังที่ปรากฏอยู่ในพระวรสารว่า "แต่การที่ได้บันทึกเหตุการณ์เหล่านี้ไว้ ก็เพื่อท่านทั้งหลายจะได้เชื่อว่า พระเยซูทรงเป็นพระคริสต์ พระบุตรพระเป็นเจ้า และเมื่อมีความเชื่อแล้ว ท่านก็จะมีชีวิตโดยพระนามของพระองค์" *คือการเข้าอาศัยอยู่ในพระเยซูคริสต์ รักษาชีวิตให้บริสุทธิ์ดั่งพระองค์ เชื่อและปฏิบัติตามคำสั่ง และคำสอนของพระองค์ ในแง่ของเทววิทยาศาสนาคริสต์แล้ว พระวรสารนักบุญยอห์นเป็นฉบับที่มีน้ำหนักที่สุดในทางคริสตวิทยา (Christology) ซึ่งบรรยายพระเยซูพระบุตรของพระเจ้าว่าเป็น “พระวจนะ” (Logos) (ภาษากรีกหมายความว่า “คำ” “เหตุผล” “ความเป็นเหตุเป็นผล” “ภาษา” หรือ “โอวาท”) ผู้เป็น “Arche” (ภาษากรีกหมายความว่า “ผู้เป็นตัวตนมาตั้งแต่ต้น” หรือ “เป็นสิ่งที่สุดของทุกอย่าง”), กล่าวถึงความเป็นผู้ที่มาช่วยมวลมนุษย์ และประกาศพระองค์ว่าเป็นพระเจ้า พระวรสารของยอห์นได้รับการทรงนำจากพระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาเดิมเป็นอย่างมาก บทเริ่มต้นของพระวรสารนำผู้อ่านกลับไปสู่ช่วงก่อนกาลเวลา ซึ่งมีแต่พระเจ้าเท่านั้นที่ทรงเป็นอยู่ คล้ายกับบทเริ่มต้นในพระธรรมปฐมกาลที่พระเจ้าทรงสร้างโลก รวมทั้งการกล่าวถึงเทศกาลของชาวยิวอยู่บ่อยๆ "ใน​ปฐม​กาล​พระ​วาทะ​ดำรง​อยู่ และ​พระ​วาทะ​ทรง​สถิต​อยู่​กับ​พระ​เจ้า และ​พระ​วาทะ​ทรง​เป็น​พระ​เจ้า ใน​ปฐม​กาล​พระ​องค์​ทรง​ดำรง​อยู่​กับ​พระ​เจ้า​ ​พระ​เจ้า​ทรง​สร้าง​สิ่ง​ทั้ง​ปวง​ขึ้น​มา​โดย​พระ​วาทะ ใน​บรรดา​สิ่ง​ที่​เป็นมา​นั้น ไม่​มี​สัก​สิ่ง​เดียว​ที่​ได้​เป็นมา​นอกเหนือ​พระ​วาทะ​ ​พระ​องค์​ทรง​เป็น​แหล่ง​ชีวิต และ​ชีวิต​นั้น​เป็น​ความ​สว่าง​ของ​มนุษย์​ ความ​สว่าง​ส่อง​เข้า​มา​ใน​ความ​มืด และ​ความ​มืด​หา​ได้​ชนะ​ความ​สว่าง​ไม่" (john 1:1-5) พระวรสารฉบับนี้กล่าวถึงพระเยซูอย่างมีเนื้อหา มีคำสอนเป็นอันมากที่พระองค์ทรงสอนกับสาวก อีกทั้งยังได้บันทึกเหตุการณ์บางอย่างที่พระวรสารเล่มอื่นไม่ได้กล่าวถึงไว้ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงเวลาที่เรียกว่า "ห้องชั้นบน" เป็นช่วงเวลาของการร่วมรับประทานอาหารค่ำมื้อสุดท้าย พระเยซูคริสต์ตรัสเป็นส่วนตัวกับเหล่าสาวกของพระองค์ถึงเรื่องความรอด ประตูซึ่งนำไปสู่ความรอด พระบัญญัติแห่งพระเยซู ความรักที่พระองค์มีให้ต่อเหล่าสาวก การเปิดเผยถึงการทรยศของยูดาส อิสคาริโอท​ การสำแดงพระเจ้าและพระเยซูคริสต์ถึงความเป็นหนึ่งเดียว การเปิดเผยและทำนายการตายของพระองค์เอง และฟื้นขึ้นในวันที่สาม และความชื่นชมยินดี ยอห์นได้รับการทรงนำในการเขียนพระวรสารเล่มนี้ และพระวรสารเล่มนี้ได้บอกให้ทราบว่า พระเยซูทรงเป็นหนึ่งเดียวกับพระเจ้า เพราะว่าตั้งแต่ก่อนที่พระเยซูคริสต์จะเสด็จเข้ามาในโลก พระองค์ทรงดำรงอยู่กับพระเจ้า และยอห์นได้เน้นคุณลักษณะความเป็นมนุษย์ของพระเยซู เช่น พระองค์มีความรู้สึกเหมือนมนุษย์ มีการกันแสงด้วยความเศร้าเสียใจ ฯลฯ ยอห์นยังได้บันทึกพระวรสารเล่มนี้ เพื่อให้ผู้ใดที่เชื่อในพระเยซู แล้ว "ก็จะมีชีวิตโดยพระนามของพระองค์" *พระองค์โปรดประทานพระนามพระองค์ให้เหล่าผู้เชื่อ เพื่อเป็นสิทธิอำนาจในการอธิษฐาน และเกิดขึ้นจริงตามนั้นโดยพระนามของพระองค์ และยอห์นบอกเล่าถึงเหตุการณ์ล่วงหน้า เช่น "เราเป็นผู้เลี้ยงที่ดี ผู้เลี้ยงที่ดีนั้นย่อมสละชีวิตของตนเพื่อฝูงแกะ" ซึ่งนำมาสู่การสิ้นพระชนม์บนกางเขนของพระองค์ เพื่อไถ่บาปแก่คนที่เชื่อในพระองค์ทั้งสิ้น ให้ได้รับความรอดจากการถูกพิพากษา เป็นต้น พระวรสารนักบุญยอห์น ใช้ “ยอห์น” หรือ “ยน” ในการอ้างอิง.

ใหม่!!: พระวรสารสหทรรศน์และพระวรสารนักบุญยอห์น · ดูเพิ่มเติม »

พระวรสารนักบุญลูกา

ระวรสารนักบุญลูกา (ศัพท์คาทอลิก) หรือ พระกิตติคุณลูกา (ศัพท์โปรเตสแตนต์) (Gospel of Luke) เป็นพระวรสารในสารบบคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาใหม่ และเป็นพระวรสารหนึ่งใน “พระวรสารสหทรรศน์” สามฉบับ แม้ว่าจะไม่ปรากฏชื่อผู้เขียนพระวรสารเล่มนี้ แต่จากหลักฐานที่เชื่อถือได้เป็นจำนวนมากระบุตรงกันว่าเขียนโดยลูกาผู้นิพนธ์พระวรสาร ผู้ซึ่งไม่ได้เป็นชาวยิว แต่น่าจะเป็นชาวกรีก เพราะมีความรู้ในเรื่องวัฒนธรรมของชาวกรีกเป็นอย่างดี เคยเป็นเพื่อนร่วมเดินทางไปประกาศกับเปาโลหลายครั้ง นอกจากนี้ลูกายังมีอาชีพเป็นนายแพทย์ในสมัยนั้นด้วย พระวรสารเล่มนี้น่าจะถูกเขียนขึ้นระหว่างปี..59 - 63 จากลักษณะของโครงสร้างและภาษาที่ใช้ในพระวรสารเล่มนี้ เหมือนกันกับในหนังสือกิจการของอัครทูต ดังนั้นเป็นไปได้อย่างยิ่งว่า ลูกาเป็นผู้เขียนหนังสือกิจการของอัครทูตด้วย จากพระวรสารในสารบบทั้งหมด 4 เล่ม พระวรสารนักบุญลูกา เป็นพระวรสารเล่มที่ยาวที่สุด และจัดว่าเป็นพระวรสารที่มีเนื้อหาที่สวยงามที่สุด เขียนเล่าเรื่องราวของพระเยซูได้ครบถ้วนและตามลำดับเหตุการณ์มากที่สุด สาระสำคัญของพระวรสารเล่มนี้คือ ความรู้สึกปิติยินดีที่พระเยซูนำความหวังและการไถ่บาปมาสู่โลกมนุษย์ ความรักที่พระเยซูมีต่อมนุษย์ทุกคน โดยเฉพาะคนยากจนและผู้ถูกกดขี่ข่มเหง สังเกตได้จากคำอุปมาที่พระเยซูตรัสสั่งสอน ซึ่งผู้อ่านจะรู้สึกได้ตลอดทั้งเล่ม แรกเริ่มลูกาผู้นิพนธ์พระวรสารเขียนพระวรสารเล่มนี้ขึ้น เพื่อให้เจ้าหน้าที่โรมันคนหนึ่งชื่อ เธโอฟิลัส ได้อ่าน โดยเขียนขึ้นจากมุมมองของชาวกรีก จากลักษณะการเขียนที่มีการอ้างอิงเหตุการณ์ต่างๆกับเวลาที่เกิดขึ้น แสดงว่าผู้เขียนต้องเป็นผู้ที่มีการศึกษาสูง เพราะข้อมูลที่เขียนผ่านการค้นคว้ามาอย่างละเอียด ตัวอย่างเช่น "เมื่อปีที่สิบห้า ในรัชกาลทิเบริอัสซีซาร์ ปอนทิอัส ปีลาตเป็นเจ้าเมืองยูเดีย เฮโรดเป็นเจ้าเมืองกาลิลี ฟีลิปน้องชายของเฮโรดเป็นเจ้าเมืองอิทูเรียกับเมืองตราโคนิติส ลีซาเนียสเป็นเจ้าเมืองอาบีเลน และอันนาสกับคายาฟาสเป็นมหาปุโรหิต คราวนั้นพระวจนะของพระเจ้ามาถึงยอห์นบุตรเศคาริยาห์ในถิ่นทุรกันดาร" ซึ่งก็ตรงกับคุณสมบัติของผู้ที่มีอาชีพนายแพทย์เป็นอย่างดี ลูกาเขียนพระวรสารเล่มนี้ขึ้นจากการศึกษาและวิจัย โดยตรวจสอบข้อเท็จจริงทั้งกับคนที่อยู่แวดล้อมพระเยซูมาตั้งแต่ต้น และประกอบกับเอกสารต่างๆมากมาย ลูกามีวัตถุประสงค์ในการเขียนพระวรสารเล่มนี้อยู่ 5 ประการ หนึ่งคือ ต้องการให้ประจักษ์ว่าพระเยซูเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์โลก ลูกาได้ลำดับพงศ์ของพระเยซูย้อนไปจนถึงสมัยอาดัม นั่นคือตั้งแต่พระเจ้าเริ่มสร้างโลก แม้ว่าข้อมูลนี้จะมีความหมายไม่มากนักสำหรับชาวกรีก แต่ข้อมูลนี้ทำให้พระเยซูถูกบันทึกเป็นประวัติศาสตร์โลก ประการที่สองคือ ลูกาต้องการบันทึกเรื่องราวของพระเยซูในช่วงที่ยังทรงพระเยาว์ ซึ่งไม่มีพระวรสารเล่มใดบันทึกไว้ ประการที่สามคือ ลูกาต้องการให้ผู้อ่านทราบว่าพระเยซูนำข่าวดีมายังคนยากจน คนที่ถูกกดขี่ข่มเหง คนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมในโลก กลุ่มคนเหล่านี้รู้สึกท้อแท้ เนื่องจากรู้สึกว่าไม่ได้มีอะไรเท่าคนร่ำรวย และคิดว่าชีวิตไม่มีค่า แต่พระเยซูเสด็จมาเพื่อปลดปล่อยให้เป็นไท และประกาศถึงแผ่นดินสวรรค์ที่รออยู่ในโลกหน้า ประการที่สี่คือ ลูกาต้องการให้ความสำคัญกับผู้หญิง โดยบันทึกบทบาทของผู้หญิงในหมู่สาวกของพระเยซู ประการที่ห้าคือ ลูกาต้องการให้ผู้อ่านทราบว่า พระกิตติคุณของพระเยซูเป็นสากล มาถึงคนทุกชาติ ไม่ใช่เฉพาะชนชาติใดชาติหนึ่ง พระวรสารนักบุญลูกา ใช้ “ลูกา” หรือ “ลก” ในการอ้างอิง.

ใหม่!!: พระวรสารสหทรรศน์และพระวรสารนักบุญลูกา · ดูเพิ่มเติม »

พระเยซู

ระเยซู (Jesus) หรือ เยซูชาวนาซาเร็ธ (Jesus of Nazareth; 4-2 ปีก่อนคริสตกาล - ค.ศ. 30-33Sanders (1993).) เป็นชาวยิวผู้เป็นศาสดาของศาสนาคริสต์ คริสต์ศาสนิกชนเรียกพระองค์ว่า พระเยซูคริสต์ เพราะถือว่าพระองค์เป็นพระคริสต์ พระผู้ช่วยให้รอด เป็นพระบุตรพระเป็นเจ้า และเป็นพระเจ้าพระบุตรซึ่งเป็นพระบุคคลหนึ่งในพระตรีเอกภาพ นอกจากนี้ในคัมภีร์ไบเบิลยังบันทึกว่าพระเยซูทรงแสดงปาฏิหาริย์ทรงรักษาคนตาบอดให้หายขาด รักษาคนพิการ โดยตรัสว่า บาปของเจ้าได้รับการให้อภัยแล้ว หลังพระเยซูสิ้นพระชนม์ ก็ได้ทรงฟื้นขึ้นจากความตายหลังสิ้นพระชนม์ได้เพียง 3 วัน และเสด็จขึ้นสู่สวรรค์ ชาวมุสลิมก็ให้ความเคารพพระเยซูเช่นกัน แต่เชื่อต่างจากชาวคริสต์ โดยชาวมุสลิมเรียกพระเยซูว่านบีอีซา คัมภีร์อัลกุรอานระบุว่าพระเยซูไม่ใช่ทั้งพระเจ้าและพระบุตรของพระเจ้า แต่เป็นบ่าวคนหนึ่งของพระเจ้า และเป็นเราะซูลที่พระเจ้าส่งมาเป็นแบบอย่างทางศีลธรรมให้แก่ชาวอิสราเอลเช่นเดียวกับเราะซูลอื่น ๆ นอกจากนี้กุรอานยังอ้างว่าพระเยซูได้ทำนายถึงเราะซูลอีกท่านหนึ่งที่จะมาในอนาคตด้วยว่าชื่ออะหมัด คำว่า "เยซู" มาจากคำในภาษากรีกคือ "เยซุส" Ιησους ซึ่งมาจากการถ่ายอักษรชื่อ Yeshua ในภาษาแอราเมอิกหรือฮีบรูอีกทอดหนึ่ง คริสตชนอาหรับเรียกเยซูว่า "ยาซูอฺ" ตามภาษาซีรีแอก ส่วนชาวอาหรับมุสลิมเรียกว่า "อีซา" ตามอัลกุรอาน ความหมายคือ "ผู้ช่วยให้รอด" เป็นชื่อที่ใช้กันมากในหมู่ชาวยิวตั้งแต่สมัยโยชูวาเป็นต้นมา ภาษาละตินแผลงเป็นเยซูส ภาษาโปรตุเกสแผลงต่อเป็นเยซู ภาษาไทยทับศัพท์ภาษาโปรตุเกสมาจนทุกวันนี้ ส่วนคำว่า "คริสต์" เป็นสมญาซึ่งมาจากคำในภาษากรีกว่า "คริสตอส" Χριστός ซึ่งเป็นคำแปลของคำภาษาฮีบรู Messiah อันหมายถึง "ผู้ได้รับการเจิม" ชาวอาหรับเรียกว่า "มะซีฮฺ" ซึ่งหมายถึงการแต่งตั้งให้ทำหน้าที่สูงส่ง เช่น พระมหากษัตริย์ ปุโรหิต ผู้เผยพระวจนะ เป็นต้น เมื่อราชอาณาจักรยูดาห์เสียแก่บาบิโลน ก็สิ้นกษัตริย์ที่ได้รับการเจิม ต่อจากนั้นชาวยิวก็โหยหาพระเมสสิยาห์ที่จะมาสร้างอาณาจักรใหม่ของพระเจ้า "พระคริสต์" จึงเป็นชื่อตำแหน่ง ไม่ใช่ชื่อตัวบุคคล ผู้นิพนธ์พระวรสารสี่ท่านมักเรียกพระองค์ว่า "พระเยซู" และเพื่อให้แตกต่างจากคนอื่น ๆ ที่ชื่อเหมือนกัน ก็เรียกเป็น "พระเยซูชาวนาซาเรธ" หรือ "พระเยซูบุตรของโยเซฟ" แต่นักบุญเปาโลหรือเปาโลอัครทูตมักเรียกพระองค์ว่า "พระคริสต์" หรือ "พระเยซูคริสต์" ที่เรียกว่า "พระคริสต์เยซู" ก็มี.

ใหม่!!: พระวรสารสหทรรศน์และพระเยซู · ดูเพิ่มเติม »

พระเยซูทรงจำแลงพระกาย

“พระเยซูทรงจำแลงพระกาย” วาดโดยลูโดวีโก การ์รัจจี ในปี ค.ศ. 1594 พระเยซูทรงจำแลงพระกาย(โปรเตสแตนต์) หรือพระเยซูเจ้าทรงสำแดงพระองค์อย่างรุ่งเรือง (คาทอลิก) (Transfiguration of Jesus) เป็นฉากหนึ่งของภาพชุดชีวิตของพระเยซูที่บันทึกในพระวรสารสหทรรศน์ ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่พระเยซูสำแดงพระองค์บนภูเขาลูกหนึ่ง (มัทธิว, มาระโก, ลูกา) พระกายของพระเยซูมีรัศมีเรืองรอง และตรัสกับโมเสสและเอลียาห์ ขณะนั้นพระยาห์เวห์เรียกพระเยซูว่าเป็น “บุตรสุดที่รักของเรา” เหมือนตอนพระเยซูทรงรับบัพติศมา การจำแลงพระกายจึงทำให้พระองค์ดูเหนือกว่าโมเสสและเอลียาห์ซึ่งเป็นผู้เผยพระวจนะในศาสนายูดาห์ และเป็นการสนับสนุนในตัวพระองค์ว่าเป็น “พระบุตรพระเป็นเจ้า” แต่พระเยซูทรงสั่งให้ซีโมนเปโตร ยากอบ บุตรเศเบดี และยอห์นอัครทูต ซึ่งอยู่ในเหตุการณ์ต้องเก็บเรื่องนี้เป็นความลับจนกว่าพระองค์จะคืนพระชนม์หลังจากถูกตรึงที่กางเขน การจำแลงพระกายถือเป็นหนึ่งในห้าเหตุการณ์สำคัญในชีวิตของพระเยซู อีกสี่เหตุการณ์ที่เหลือ ได้แก่ การรับบัพติศมา การถูกตรึงที่กางเขน การกลับคืนพระชนม์ และการเสด็จขึ้นสวรรค์Essays in New Testament interpretation by Charles Francis Digby Moule 1982 ISBN 0-521-23783-1 page 63 คริสตจักรโรมันคาทอลิกกำหนดวันฉลองเหตุการณ์นี้ในวันที่ 6 สิงหาคมของทุกปี โดยเรียกว่า "วันฉลองพระเยซูเจ้าทรงประจักษ์พระวรกาย" ส่วนคริสตจักรอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ กำหนดฉลองเหตุการณ์นี้ในวันที่ 19 สิงหาคมของทุกปี ตามปฏิทินจูเลียน โดยเรียกว่า "วันฉลองพระเยซูเจ้าทรงจำแลงพระวรกาย".

ใหม่!!: พระวรสารสหทรรศน์และพระเยซูทรงจำแลงพระกาย · ดูเพิ่มเติม »

การทดลองพระเยซู

การทดลองพระเยซู (Temptation of Christ) ในศาสนาคริสต์ หมายถึง เหตุการณ์ในชีวิตของพระเยซูเมื่อทรงถูกทดลองโดยมารร้ายจากรายละเอียดจาก “พระวรสารสหทรรศน์” พระวรสารนักบุญมัทธิว พระวรสารนักบุญมาระโก พระวรสารนักบุญลูกา ในการแปลต่าง ๆ ในคริสต์ศาสนามักจะใช้คำว่า “ซาตาน” ในการบรรยายถึงศัตรูของพระเยซู แต่ในคัมภีร์ไบเบิลจะใช้คำว่า “diabolos” ในภาษากรีกซึ่งแปลว่า “ผู้กล่าวร้าย” ในพระวรสารนักบุญมัทธิวและ พระวรสารนักบุญลูกาไม่ได้ใช้คำว่า “ซาตาน” แต่พระวรสารนักบุญมาระโก ใช้คำว่า “ซาตาน” ตามที่กล่าวถึงในพระวรสาร หลังจากพระเยซูทรงรับบัพติศมา ก็ทรงอดพระกระยาหารเป็นเวลา 40 วันในทะเลทราย ระหว่างนี้ปีศาจร้ายก็มาปรากฏตัวต่อพระเยซูและยั่วให้พระองค์แสดงปาฏิหาริย์เพื่อพิศูจน์ว่าเป็นเทพจริง แต่ทุกครั้งที่พยายามพระเยซูก็ทรงปฏิเสธด้วยการอ้างหนังสือเฉลยธรรมบัญญัติจากคัมภีร์ไบเบิล พระวรสารกล่าวต่อไปว่าเมื่อไม่สำเร็จปีศาจก็หายตัวไป เทวดาก็นำอาหารที่บำรุงร่างกายมาถวายพระเยซู พระวรสารนักบุญมาระโกกล่าวถึงชีวิตตอนนี้เพียงสั้น ๆ แต่พระวรสารนักบุญมัทธิงและพระวรสารนักบุญลูกาบรรยายการทดสอบของมารอย่างละเอียด โดยการบรรยายถึงคำสนทนาระหว่างพระเยซูกับมาร จากวิธีเขียนของพระวรสารนักบุญมัทธิงและลูกาที่ส่วนใหญ่จะเป็นคำอ้างอิงที่เป็นคู่ ๆ แทนที่จะเป็นคำบรรยาย ทำให้นักวิชาการเชื่อกันว่ารายละเอียดเหล่านี้มีรากฐานมาจาก “เอกสารคิว”.

ใหม่!!: พระวรสารสหทรรศน์และการทดลองพระเยซู · ดูเพิ่มเติม »

การตัดศีรษะยอห์นผู้ให้บัพติศมา

การตัดศีรษะยอห์นผู้ให้บัพติศมา (Beheading of John the Baptist) เป็นเหตุการณ์หนึ่งที่ปรากฏในพระวรสารสหทรรศน์ โดยเฉพาะในพระวรสารนักบุญมาระโก.

ใหม่!!: พระวรสารสหทรรศน์และการตัดศีรษะยอห์นผู้ให้บัพติศมา · ดูเพิ่มเติม »

ยากอบ บุตรเศเบดี

กอบ บุตรเศเบดี (James, son of Zebedee หรือ Yaakov Ben-Zebedee) หรือนักบุญยากอบองค์ใหญ่ (James the Greater) เป็นนักบุญและมรณสักขีในศาสนาคริสต์ เสียชีวิตราว..

ใหม่!!: พระวรสารสหทรรศน์และยากอบ บุตรเศเบดี · ดูเพิ่มเติม »

สัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์

ัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 221-2, 252-3, 395-6 (Holy Week) เป็นสัปดาห์สำคัญในปีพิธีกรรมของศาสนาคริสต์ ตรงกับสัปดาห์สุดท้ายของเทศกาลมหาพรต ซึ่งครอบคลุมช่วงเวลา 1 สัปดาห์ก่อนวันอีสเตอร์ ในสัปดาห์นี้มีวันสำคัญหลายวัน ได้แก่ วันอาทิตย์ใบลาน วันพฤหัสบดีศักดิ์สิทธิ์ วันศุกร์ประเสริฐ และวันเสาร์ศักดิ์สิทธิ์ แต่ไม่รวมวันอีสเตอร์ สำหรับนิกายอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ สัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์จะเริ่มจากวันเสาร์ลาซารัส (ก่อนวันอาทิตย์ใบลาน).

ใหม่!!: พระวรสารสหทรรศน์และสัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

อัครทูต

ระเยซูและอัครทูต อัครทูตราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 59 (Apostles; Ἀπόστολος, apostolos แปลว่า "ผู้ถูกส่งออกไป" เช่น ข่าวสารหรือตัวแทน) ตามพระวรสารสหทรรศน์และธรรมเนียมทางศาสนาคริสต์ใช้หมายถึงอัครสาวกสิบสองคน ที่พระเยซูทรงเลือก ตั้งชื่อ และฝึกเพื่อจะได้ส่งออกไปทำการประกาศข่าวดี หลังจากยูดาส อิสคาริโอท ทรยศต่อพระเยซู อัครสาวกที่เหลือภายใต้การนำของซีโมนเปโตรจึงจับฉลากเลือกมัทธีอัสซึ่งติดตามพระเยซูมาตั้งต้นขึ้นมาเป็นอัครทูตแทน ฉะนั้นเมื่อถึงเทศกาลเพนเทคอสต์ที่พระวิญญาณบริสุทธิ์เสด็จลงมาประทับกับสาวกของพระเยซู จำนวนอัครทูตจึงมีสิบสองคนเท่าเดิม.

ใหม่!!: พระวรสารสหทรรศน์และอัครทูต · ดูเพิ่มเติม »

อาหารค่ำมื้อสุดท้าย

“อาหารค่ำมื้อสุดท้าย” โดย ไซมอน อูชาคอฟ (Simon Ushakov) ราว ค.ศ. 1685 อาหารค่ำมื้อสุดท้าย (Last Supper, Lord's Supper, Mystical Supper) ตามความเชื่อของคริสต์ศาสนิกชนคืออาหารมื้อสุดท้ายที่พระเยซูเสวยร่วมกับสาวกของพระองค์ ก่อนจะมีการตรึงพระเยซูที่กางเขน “อาหารค่ำมื้อสุดท้าย” เป็นหัวเรื่องที่นิยมกันในการสร้างงานจิตรกรรม ภาพที่มีชื่อเสียงที่สุดคือภาพที่เขียนโดยเลโอนาร์โด ดา วินชี ตามคำกล่าวของนักบุญเปาโลอัครทูตในหนังสือโครินธ์ ระหว่างเสวยพระกระหารที่มีขนมปังและเหล้าองุ่น พระเยซูตรัสต่อสาวกว่า “จงดื่มเป็นที่ระลึกถึงเรา” เหตุการณ์อื่นและบทสนทนาบันทึกในพระวรสารสหทรรศน์และพระวรสารนักบุญยอห์น คริสต์ศาสนิกชนบางคนถือว่าเป็นรากฐานของศีลมหาสนิท ถ้วยที่ใช้ใส่ไวน์บางทีก็เรียกว่าจอกศักดิ์สิทธิ์ (Holy Chalice) และเป็นหนึ่งในวรรณกรรมเกี่ยวกับเรื่องถ้วยศักดิ์สิทธิ์ (Holy Grail) ในปรัมปราวิทยาในศาสนาคริสต.

ใหม่!!: พระวรสารสหทรรศน์และอาหารค่ำมื้อสุดท้าย · ดูเพิ่มเติม »

จีซัสไครสต์ซูเปอร์สตาร์

อล นิโคลัส รับบทเป็นพระเยซูในปี 1972 จีซัสไครสต์ซูเปอร์สตาร์ (Jesus Christ Superstar) เป็นละครเพลงแนวร็อกโอเปรา ผลงานประพันธ์ของแอนดรูว์ ลอยด์ เวบเบอร์ และคำร้องโดยทิม ไรซ์ มีที่มาจากคอนเซ็ปอัลบั้มของเวบเบอร์และไรซ์ในปี..

ใหม่!!: พระวรสารสหทรรศน์และจีซัสไครสต์ซูเปอร์สตาร์ · ดูเพิ่มเติม »

คัมภีร์นอกสารบบ

ัมภีร์นอกสารบบ (Apocrypha; ἀπόκρυφα สิ่งที่ซ่อนเร้น, ยากที่จะเข้าใจ, หลอกลวง, จากแหล่งข้อมูลที่ไม่อาจยืนยันได้) ในทางศาสนาคริสต์ หมายถึง หนังสือเกี่ยวกับประวัติชีวิตของพระเยซู แต่ไม่ได้บรรจุในสารบบคัมภีร์ไบเบิล และไม่ได้รับการยอมรับจากคริสตจักรส่วนใหญ่ คัมภีร์ดังกล่าวมักเขียนไม่สอดคล้องกับหลักความเชื่อของศาสนาคริสต์กระแสหลัก โดยทั่วไปแล้วจะเป็นคำที่ใช้กับวรรณกรรมทางศาสนาคริสต์ที่ถือว่ามีประโยชน์แต่อาจจะไม่มีคุณสมบัติที่เรียกว่าการดลใจจากพระเจ้า ฉะนั้นการที่จะกล่าวว่าพระวรสารชาวฮีบรูหรืองานเขียนเชิงอไญยนิยมเป็นงาน “คัมภีร์นอกสารบบ” จึงเป็นการไม่ถูกต้อง เพราะวรรณกรรมเหล่านี้จะไม่จัดอยู่ในกลุ่มคัมภีร์นอกสารบบโดยคริสตชนนิกายออร์ทอดอกซ์ งานวรรณกรรมที่ไม่ใช่พระวรสารคืองานวรรณกรรมที่ความเที่ยงแท้ของเนื้อหาเป็นที่น่ากังขาหรือการเขียนที่เป็นยังคงเป็นที่โต้เถียงกันอยู่ เมื่อพิจารณาถึงความเชื่อของลัทธิหรือแนวต่างๆ ในการระบุว่าวรรณกรรมฉบับใดเป็นของแท้แล้ว ก็จะสรุปได้ว่างานเขียนหลายฉบับก็จะถือว่าเป็น “คัมภีร์นอกสารบบ” นิกายโรมันคาทอลิกและอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ใช้คัมภีร์พันธสัญญาเดิมตามสารบบเซปตัวจินต์ จึงยอมรับ "คัมภีร์อธิกธรรม" เป็นคัมภีร์สารบบที่สองในพันธสัญญาเดิมด้วย แต่นิกายโปรเตสแตนต์ใช้สารบบคัมภีร์ตามสภาแจมเนียซึ่งไม่ยอมรับคัมภีร์ชุดดังกล่าว จึงถือว่าคัมภีร์อธิกธรรมเป็นคัมภีร์นอกสาร.

ใหม่!!: พระวรสารสหทรรศน์และคัมภีร์นอกสารบบ · ดูเพิ่มเติม »

งานสมรสที่หมู่บ้านคานา

“งานสมรสที่หมู่บ้านคานา” โดย จอตโต ดี บอนโดเน งานสมรสที่หมู่บ้านคานา (Marriage at Cana เป็นฉากหนึ่งของภาพชุดชีวิตของพระเยซูที่บันทึกในพระวรสารนักบุญยอห์นแต่ไม่มีบันทึกในพระวรสารสหทรรศน์ “งานสมรสที่หมู่บ้านคานา” เป็นหัวเรื่องหนึ่งในศิลปะคริสต์ศาสนาที่ศิลปินนิยมสร้างหรือเขียน.

ใหม่!!: พระวรสารสหทรรศน์และงานสมรสที่หมู่บ้านคานา · ดูเพิ่มเติม »

ซีโมนเศโลเท

ซีโมนเศโลเท (Σίμων ο Ζηλωτής) หรือซีโมนผู้ร้อนรน (Simon the Zealot) หรือซีโมน พรรคชาตินิยม (Simon the Canaanite) เป็นหนึ่งในอัครทูตของพระเยซู เสียชีวิตราว..

ใหม่!!: พระวรสารสหทรรศน์และซีโมนเศโลเท · ดูเพิ่มเติม »

นักบุญโยเซฟ

ซฟ (יוֹסֵף Yosef) ชาวคาทอลิกเรียกว่านักบุญยอแซฟ เป็นนักบุญในศาสนาคริสต์ เกิดเมื่อประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 1 และเสียชีวิตในคริสต์ศตวรรษเดียวกัน ที่เมืองนาซาเร็ธในประเทศอิสราเอลปัจจุบัน นักบุญโยเซฟสืบสายมาจากตระกูลกษัตริย์ดาวิด คัมภีร์พันธสัญญาใหม่ระบุว่าเป็นสามีของนางมารีย์ (มารดาพระเยซู) นักบุญโยเซฟมิใช่บิดาตามเชึ้อสายของพระเยซูแต่ก็ถือกันว่าเป็นบิดาบุญธรรมและเป็นหัวหน้าของ “ครอบครัวศักดิ์สิทธิ์” หรือ “ครอบครัวพระเยซู” (Holy Family) เชี้อสายตามหลักฐานของพระวรสารนักบุญมัทธิว กล่าวว่าพ่อของนักบุญโยเซฟชื่อยาโคบ แต่ตามหลักฐานของพระวรสารนักบุญลูกา กล่าวว่าพ่อของนักบุญโยเซฟชื่อเฮลี พระวรสารในสารบบไม่ได้ระบุวันและสถานที่เกิดและตายของโยเซฟ เท่าที่ทราบโยเซฟอยู่ที่เมืองนาซาเรธ ใน กาลิลี อยู่ที่เบธเลเฮม ในแคว้นยูเดียเป็นเวลาอีกสองปี และถูกบังคับให้ไปลี้ภัยไปอยู่อียิปต์อีกระยะหนึ่ง แม้ว่า “พระวรสารสหทรรศน์” จะไม่ได้กล่าวถึงอายุของโยเซฟแต่จากเอกสารอื่น ๆ โยเซฟเป็นพ่อหม้ายลูกติดเมื่อแต่งงานกับมารีย์ และมารีย์เป็นหม้ายเมื่อพระเยซูออกเทศนาและเมื่อพระเยซูทรงรับพระทรมาน ฉะนั้นจึงสันนิษฐานว่าโยเซฟเสียชีวิตก่อนที่พระเยซูสิ้นพระชนม์ อาชีพของโยเซฟตามที่บรรยายในพระวรสารว่าเป็น τεκτων, ภาษากรีกหมายถึงช่างแต่ในศาสนาคริสต์ถือกันว่าโยเซฟเป็นผู้ทำงานกับไม้หรือช่างไม้ แต่ในภาษาอังกฤษปัจจุบันใช้คำว่า “joiner” หรือ “cabinet-maker” หรือช่างทำเฟอร์นิเจอร์ซึ่งเหมาะกับความหมายในภาษากรีกมากกว่า นอกจากนั้นแล้วพระวรสารก็มิได้กล่าวถึงโยเซฟ และไม่มีบทพูด มิได้บอกสถานที่เกิดและสถานที่เสียชีวิต และเวลาต่างที่เกี่ยวกับโยเซฟก็แตกต่างกัน บางครั้งก็จะกล่าวว่าอายุมากกว่ามารีมาก และบางครั้งก็เพียงไม่กี่ปี บางวรสารกล่าวว่าโยเซฟเป็นพ่อหม้ายลูกติดเมื่อแต่งงานกับมารีย์ ในพระวรสารกล่าวถึงโยเซฟเมื่อพระเยซูไปเยรูซาเลมเมื่ออายุสิบสองปี แต่ไม่มีอะไรที่กล่าวถึงโยเซฟหลังจากนั้น เอกสารเกี่ยวกับเวลาเสียชีวิตไม่ชัดเจนแต่เมื่อพระเยซูออกเทศนามารีย์ก็เป็นหม้ายแล้ว ในนิกายโรมันคาทอลิกถือว่านักบุญโยเซฟเป็นนักบุญองค์อุปถัมภ์กรรกรและมีวันสมโภชหลายวัน และในปี..

ใหม่!!: พระวรสารสหทรรศน์และนักบุญโยเซฟ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Synoptic Gospels

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »