โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

รับบี

ดัชนี รับบี

ราไบโมเช ไฟน์สไตน์ผู้นำคนสำคัญของศาสนายูดาห์ออร์ทอดอกซ์ของครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 20 รับบี (רב รับบี; Rabbi, แรบาย) เป็นภาษาฮิบรูแปลว่า “อาจารย์” เป็นคำที่ใช้ในศาสนายูดาห์ที่หมายถึงผู้สอนศาสนา คำว่า “rabbi” มีรากมาจากภาษาฮิบรูว่า “רַב” หรือ “rav” ที่ในคัมภีร์ฮีบรูหมายความว่า “ยิ่งใหญ่” หรือ “เป็นที่เคารพ” คำนี้มีรากมาจากรากภาษากลุ่มเซมิติก R-B-B เทียบเท่ากับภาษาอาหรับ “ربّ” หรือ “rabb” ที่แปลว่า “lord” (ที่โดยทั่วไปเป็นการเอ่ยถึงพระเจ้าทางโลกด้วย เพื่อเป็นการแสดงความนับถือบางครั้งรับบีผู้มีชื่อเสียงก็จะเรียกกันว่า “The Rav.” รับบีไม่ใช่งานอาชีพตามคัมภีร์โทราห์ ฉะนั้นจึงไม่มีการใช้ตำแหน่งที่เกี่ยวข้องเช่น “Rabban” “Ribbi” หรือ “Rab” เพื่อกล่าวถึงนักปราชญ์ในบาบิโลเนียหรือในอิสราเอล แม้แต่ศาสดาผู้มีความสำคัญในพระคัมภีร์ก็ยังไม่เรียกว่ารับบี แต่เรียกว่า “ฮักไก” ตำแหน่ง “รับบัน” หรือ “รับบี” เริ่มใช้กันเป็นครั้งแรกในคัมภีร์ฮีบรูในมิชนาห์ (ราว 200 ปีก่อนคริสต์ศักราช) คำนี้ใช้เป็นครั้งแรกสำหรับรับบันกามาลิเอลผู้อาวุโส (Rabban Gamaliel the elder), ราบันซิเมอันลูกชาย และโยฮานัน เบน ซัคไค ซึ่งต่างก็เป็นประธานสภาซันเฮดริน คำนี้ในภาษากรีกพบในพระวรสารนักบุญมัทธิว พระวรสารนักบุญมาระโก และพระวรสารนักบุญยอห์นในพันธสัญญาใหม่เมื่อกล่าวถึงพระเยซู. การพัฒนาความคิดเกี่ยวกับรับบีเริ่มขึ้นในสมัยฟาริสีและทาลมุด เมื่อปรจารย์มาประชุมกันเพื่อร่างกฎเกี่ยวกับศาสนายูดาห์ทั้งทางภาษาเขียนและภาษาพูด ในคริสต์ศตวรรษที่ผ่านมา หน้าที่ของรับบีก็ยิ่งเพิ่มความมีอิทธิพลมากขึ้น ที่ทำให้เกิดคำใหม่ๆ เช่น “รับบีแท่นเทศน์” (pulpit rabbi) และในคริสต์ศตวรรษที่ 19 หน้าที่ของราไบก็รวมการเทศนา, การให้คำปรึกษา และ การเป็นผู้แทนชองประชาคมในโลกภายนอกก็เพิ่มความสำคัญขึ้นเป็นลำดับ ในนิกายต่างๆ ของศาสนายูดาห์ ข้อกำหนดเกี่ยวกับกฎเกณฑ์ในการแต่งตั้งรับบีก็แตกต่างกันออกไป หรือกฎที่ใครควรจะเรียกว่าเป็นรับบี.

8 ความสัมพันธ์: ชาวยิวในประเทศไทยพระเจ้าเฮโรดมหาราชการเหมารวมอาคารแห่งหนังสือจอห์น (ชื่อ)ธรรมศาลาคาร์ล มากซ์นัยน์ตาปีศาจ

ชาวยิวในประเทศไทย

ประวัติศาสตร์ชาวยิวในประเทศไทยนั้นมีมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 ด้วยการมาถึงของครอบครัวชาวยิวแบกแดดจำนวนหนึ่ง ถึงแม้ว่าชาวยิวในประเทศไทยปัจจุบันนั้นส่วนใหญ่จะประกอบด้วยชาวยิวอัชเคนาซิ ซึ่งเป็นผู้ลี้ภัยจากรัสเซีย และสหภาพโซเวียตในเวลาต่อมา นอกจากนี้ ยังมีชาวยิวเปอร์เซียอพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศเพื่อหนีการไล่ล่าและสังหารในอิหร่าน ช่วงคริสต์ทศวรรษ 1970 และ 1980 ชาวยิวที่ตั้งรกรากถาวรในประเทศไทยส่วนใหญ่ ซึ่งประกอบด้วยชาวยิวไม่เกิน 1,000 คน อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บริเวณถนนข้าวสาร) ถึงแม้ว่าประชาคมชาวยิวที่มีขนาดเล็กกว่าและมีธรรมศาลายิวจะมีอยู่ในจังหวัดภูเก็ต จังหวัดเชียงใหม่ และเกาะสมุย ในช่วงวันหยุดของชาวยิว จำนวนชาวยิวในบริเวณดังกล่าวเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก (เป็นหลายพัน) เนื่องจากมีชาวยิวเดินทางเข้ามาในช่วงวันหยุดเป็นจำนวนมาก ซึ่งส่วนใหญ่มาจากอิสราเอลและสหรัฐอเมริกา ตามการขอจัดตั้งธรรมศาลายิวสองแห่งขึ้นในกรุงเทพมหานคร เบธ อีลิเชวาและอีเวน เชน, ราไบโยเซฟ ชาอิม คันทอร์ ได้ดำรงตำแหน่งราไบถาวรคนแรกในกรุงเทพมหานคร ใน..

ใหม่!!: รับบีและชาวยิวในประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าเฮโรดมหาราช

ระเจ้าเฮโรดมหาราช (Herod the Great หรือ Herod I; הוֹרְדוֹס Horodos, Ἡρῴδης (Hērōdēs)) (73 - 4 ปีก่อนคริสต์ศักราช) เป็นพระเจ้าแผ่นดินแห่งมณฑลยูเดีย (Iudaea Province) ของจักรวรรดิโรมัน เฮโรดมิได้สืบเชื้อสายมาจากชาวยิว และตอนแรกเป็นเพียงคนรับใช้ กล่าวกันว่าเป็น “ผู้บ้าอำนาจและฆาตกรรมครอบครัวของตนเองและรับบีอีกหลายคน” พระเจ้าเฮโรดมหาราชมักจะสับสนกับเฮโรด อันทิปาสที่มาจากราชวงศ์เฮโรเดียน (Herodian dynasty) เดียวกัน ผู้เป็นประมุขของกาลิลี ระหว่างปีที่ 4 ก่อนคริสต์ศักราช จนถึง..

ใหม่!!: รับบีและพระเจ้าเฮโรดมหาราช · ดูเพิ่มเติม »

การเหมารวม

รูปลักษณ์ของโฮเมอร์ ซิมป์สันแสดงถึงการมองชายวัยกลางคนผิวขาวจากอเมริกากลางแบบเหมารวม การเหมารวม หรือ สามัญทัศน์ (Stereotype) คือ คตินิยมหรือทัศนคติของสังคมทั่วไปที่มีต่อกลุ่มคนอื่น ชาติอื่น หรือลักษณะของบุคคลบางประเภทจนกลายเป็นมาตรฐาน มีพื้นฐานมาจากการสรุปเอาจากข้อสมมุติพื้นฐานที่มีแนวโน้มที่เป็นอัตวิสัย การเหมารวมเกิดขึ้นจากความคิดที่คุ้นเคยทางมโนธรรม เช่น จากพฤติกรรมบางอย่าง หรือลักษณะพิเศษอันแตกต่างจากผู้อื่นที่ปรากฏและเป็นที่สังเกตอยู่ชั่วระยะเวลาอันยาวพอประมาณ การที่แนวคิดทางวัฒนธรรม (Meme) จะกลายมาเป็นสิ่งที่ยอมรับกันโดยสังคมโดยทั่วไปได้ สามัญทัศน์ไม่อาจจะเป็นแนวคิดที่ผิดไปทั้งหมด และจะต้องมีองค์ประกอบที่สังคมยอมรับ (Social recognition) การเหมารวมมิได้ใช้แต่เฉพาะกลุ่มคนแต่อาจจะใช้ในสถานะการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอจนสามารถทำนายผลที่จะออกมาได้ การเหมารวมอาจจะเป็นได้ทั้ง “ดี” และ “ไม่ดี” แต่แนวคิดทางของการเหมารวมส่วนใหญ่แล้วยากที่จะเสนอภาพพจน์ทางบวกของกลุ่มชน.

ใหม่!!: รับบีและการเหมารวม · ดูเพิ่มเติม »

อาคารแห่งหนังสือ

มุมมองของอาคารจากภายนอก ทางเข้าสู่อาคารแห่งหนังสือ โดมสีขาวกับกำแพงสีดำ อาคารแห่งหนังสือ (היכל הספר‎. Heikhal HaSefer), เป็นปีกหนึ่งของพิพิธภัณฑ์อิสราเอลที่ใกล้กับบริเวณเมืองเยรูซาเลมฝั่งตะวันตก สถานที่แห่งนี้ได้เก็บรักษาม้วนหนังสือแห่งทะเลสาบเดดซี ซึ่งได้ถูกค้นพบระหว่างปี..

ใหม่!!: รับบีและอาคารแห่งหนังสือ · ดูเพิ่มเติม »

จอห์น (ชื่อ)

อห์น (John) เป็นชื่อตัวในภาษาอังกฤษsakda.

ใหม่!!: รับบีและจอห์น (ชื่อ) · ดูเพิ่มเติม »

ธรรมศาลา

ลาธรรมยิวในเมืองทรานี ในศาสนายูดาห์ ธรรมศาลา (ศัพท์โปรเตสแตนต์) หรือ ศาลาธรรม (ศัพท์โรมันคาทอลิก) (synagogue; συναγωγή; หมายถึง การชุมนุมหรือรวมตัว) เป็นศาสนสถานที่ใช้รวมกลุ่มกันทำการอธิษฐาน ทว่าสำหรับชาวยิวแล้ว พวกเขาไม่จำเป็นต้องไปธรรมศาลาเพื่อประกอบพิธี หากรวมตัวได้ครบองค์ประชุม (Quorum) ที่ประกอบด้วยผู้ชายที่บรรลุนิติภาวะแล้วจำนวนสิบคน เรียกว่า "องค์คณะสิบ" หรือ "มินยัน" (Minyan) ก็สามารถประกอบพิธีได้ เมื่อก่อนไม่อนุญาตให้สตรีเป็นหนึ่งในองค์คณะสิบ แต่เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2001, ยิวอนุรักษ์นิกายอนุญาตให้สตรีเป็นหนึ่งในคณะมินยันได้ ในชุมชนยิวปัจจุบัน ธรรมศาลาไม่ได้มีไว้สำหรับพิธีกรรมทางศาสนาเท่านั้น แต่ยังมีสิ่งอำนวยความสะดวกอื่น เช่น สถานที่จัดเลี้ยง โรงเรียนสอนศาสนา ห้องสมุด ศูนย์รับเลี้ยงเด็กเวลากลางวัน และครัวโคเชอร์ (Kosher) ตามหลักมาตรฐานอาหารยิว.

ใหม่!!: รับบีและธรรมศาลา · ดูเพิ่มเติม »

คาร์ล มากซ์

ร์ล ไฮน์ริช มากซ์ (Karl Heinrich Marx, 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2361 — 14 มีนาคม พ.ศ. 2426) เป็นนักปรัชญา นักเศรษฐศาสตร์ นักประวัติศาสตร์ นักทฤษฎีการเมือง นักสังคมวิทยา นักหนังสือพิมพ์และนักสังคมนิยมปฏิวัติชาวเยอรมัน มากซ์เกิดในครอบครัวชนชั้นกลางในเทรียร์ เขาศึกษากฎหมายและปรัชญาแบบเฮเกิล เนื่องจากงานพิมพ์การเมืองของเขาทำให้เขาไร้สัญชาติและอาศัยลี้ภัยในกรุงลอนดอน ซึ่งเขายังพัฒนาความคิดของเขาต่อโดยร่วมมือกับนักคิดชาวเยอรมัน ฟรีดริช เองเงิลส์ และจัดพิมพ์งานเขียนของเขา เรื่องที่ขึ้นชื่อของเขา ได้แก่ จุลสารปี 2391, แถลงการณ์พรรคคอมมิวนิสต์ และทุน จำนวนสามเล่ม ความคิดทางการเมืองและปรัชญาของเขามีอิทธิพลใหญ่หลวงต่อปัญญาชนรุ่นหลัง วิชาประวัติศาสตร์เศรษฐกิจและประวัติศาสตร์การเมือง ชื่อของเขาเป็นคำคุณศัพท์ นามและสำนักทฤษฎีสังคม ทฤษฎีของมากซ์เกี่ยวกับสังคม เศรษฐศาสตร์และการเมือง ที่เรียกรวมว่า ลัทธิมากซ์ ถือว่าสังคมมนุษย์พัฒนาผ่านการต่อสู้ระหว่างชนชั้น ในทุนนิยม การต่อสู้ระหว่างชนชั้นแสดงออกมาในรูปการต่อสู้ระหว่างชนชั้นปกครอง (เรียก ชนชั้นกระฎุมพี) ซึ่งควบคุมปัจจัยการผลิตและชนชั้นแรงงาน (เรียก ชนกรรมาชีพ) นำปัจจัยการผลิตดังกล่าวไปใช้โดยขายากำลังแรงงานของพวกตนเพื่อแลกกับค่าจ้าง มากซ์ใช้แนวเข้าสู่การศึกษาวิพากษ์ที่เรียก วัสดุนิยมทางประวัติศาสตร์ ทำนายว่าทุนนิยมจะก่อเกิดความตึงเครียดภายในซึงจะนำไปสู่การทำลายตนเองเช่นเดียวกับระบบสังคมและเศรษฐกิจก่อนหน้านี้ และแทนท่ด้วยระบบใหม่ คือ สังคมนิยม; สำหรับมากซ์ การต่อต้านชนชั้นภายใต้ทุนนิยมซึ่งบางส่วนมีสาเหตุจากความไม่มั่นคงและสภาพที่มีแนวโน้มเกิดวิกฤติ จะลงเอยด้วยการพัฒนาความสำนึกเรื่องชั้นชนของชนชั้นแรงงาน และนำไปสู่การพิชิตอำนาจทางการเมืองและสุดท้ายการสถาปนาสังคมคอมมิวนิสต์ปราศจากชนชั้นอันประกอบด้วยการรวมกันเป็นสมาคมอิสระของผู้ผลิต มากซ์เรียกร้องให้นำความคิดดังกล่าวไปปฏิบัติอย่างแข็งขัน โดยแย้งว่าชนชั้นแรงงานควรเป็นผู้ลงมือปฏิวัติแบบจัดระเบียบเพื่อโค่นทุนนิยมและนำมาซึ่งการปลดปล่อยให้เป็นอิสระทางสังคมและเศรษฐกิจ มีผู้อธิบายว่ามากซ์เป็นบุคคลทรงอิทธิพลมากที่สุดคนหนึ่งในประวัติศาสตร์มนุษย์ และงานของเขาได้รับการสรรเสริญและวิพากษ์ งานของเขาในวิชาเศรษฐศาสตร์วางรากฐานสำหรับความเข้าใจในปัจจุบันของแรงงานและความสัมพันธ์กับทุน และความคิดทางเศษฐศาสตร์สมัยหลัง ปัญญาชน สหภาพแรงงาน ศิลปินและพรรคการเมืองจำนวนมากทั่วโลกได้รับอิทธิพลจากงานของมากซ์ มีหลายคนดัดแปลงหรือรับความคิดของเขามาใช้ มักออกชื่อมากซ์ว่าเป็นผู้สร้างสังคมศาสตร์สมัยใหม่คนสำคัญคนหนึ่ง.

ใหม่!!: รับบีและคาร์ล มากซ์ · ดูเพิ่มเติม »

นัยน์ตาปีศาจ

นัยน์ตาปีศาจนาซาร์” ที่ใช้ในการเป็นเครื่องรางในการป้องกันจากนัยน์ตาปีศาจที่ขายกันแพร่หลายในตุรกี นัยน์ตาปีศาจ (Evil eye) เป็นการมองที่เชื่อกันในหลายวัฒนธรรมว่าสามารถทำให้ผู้ถูกมองได้รับการบาดเจ็บหรือโชคร้าย อันเกิดจากการจ้องมองด้วยความอิจฉาหรือความเดียดฉันท์ คำนี้มักจะหมายถึงอำนาจของบุคคลใดบุคคลหนึ่งในการก่อให้เกิดสิ่งที่เลวร้ายได้ด้วยการมองอย่างประสงค์ร้าย ความเชื่อดังกล่าวทำให้วัฒนธรรมหลายวัฒนธรรมพยายามหาทางป้องกันก่อนที่จะเกิดสิ่งที่เลวร้ายขึ้น ความคิดและความสำคัญของนัยน์ตาปีศาจก็แตกต่างกันออกไปเป็นอันมากระหว่างวัฒนธรรมต่างๆ ความเชื่อนี้ปรากฏหลายครั้งในบทแปลของพันธสัญญาเดิม และแพร่ขยายออกไปอย่างกว้างขวางในบรรดาอารยธรรมของกลุ่มชนต่าง ๆ ในบริเวณเมดิเตอร์เรเนียน กรีซคลาสสิกอาจจะเรียนรู้จากอียิปต์โบราณ และต่อมาก็ผ่านความเชื่อนี้ต่อไปยังโรมันโบราณ.

ใหม่!!: รับบีและนัยน์ตาปีศาจ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Orthodox RabbiRabbiRabbinicalRabbisราไบราไบออร์โธด็อกซ์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »