โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ยูริ กาการิน

ดัชนี ยูริ กาการิน

นาวาอากาศเอก ยูริ อะเลคเซเยวิช กาการิน (Юрий Алексеевич Гагарин; อักษรโรมัน: Yuri Alekseyevich Gagarin) ชาวโซเวียต เป็นนักบินอวกาศคนแรกของโลกที่สามารถเดินทางกลับโลกอย่างปลอดภัย เกิดเมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2476 ในเมืองกชาทสค์ และเสียชีวิตวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2511 ใกล้กรุงมอสโก กาการินเป็นบุตรช่างไม้ในนารวม (เมื่อครั้งรัสเซียเป็นประเทศคอมมิวนิสต์) ได้เรียนเป็นช่างปั้นจากโรงเรียนการค้าใกล้กรุงมอสโก ปี พ.ศ. 2494 จากนั้นศึกษาต่อในวิทยาลัยอุตสาหกรรมที่เมืองซาราตอฟ และในเวลาเดียวกันก็เข้าอบรมการบินด้วย เมื่อสำเร็จหลักสูตรก็เข้าโรงเรียนนายเรืออากาศโซเวียต ในโอเรนบูร์ก และสำเร็จการศึกษาในปี พ.ศ. 2500 ภารกิจของยูริกาการินครั้งนี้ไม่ได้ประกาศเป็นการล่วงหน้า ยานวอสตอค 1 (Vostok 1) ของกาการินมีน้ำหนัก 4 ¾ ตัน ปล่อยจากฐานยิงเมื่อเวลา 9.07 น. วันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2504 และโคจรรอบโลก 1 รอบ ใช้เวลา 1 ชั่วโมง 48 นาที ที่ระดับความสูงมากที่สุด 187 ไมล์ (301 กิโลเมตร) และลงจอดเมื่อเวลา 10.55 นาฬิกา ตามเวลาในรัสเซีย ซึ่งการบินในอวกาศครั้งนี้ทำให้กาการินมีชื่อเสียงก้องไปทั่วโลก และได้รับเครื่องประดับเกียรติยศเลนิน และได้ตำแหน่งเป็นวีรบุรุษแห่งสหภาพโซเวียต นอกจากนี้ยังมีการสร้างอนุสรณ์สถานและตั้งชื่อถนนเพื่อเป็นเกียรติแต่กาการินในสถานที่หลายแห่งทั่วประเทศ ยูริ กาการินไม่ใช่มนุษย์คนแรกที่ขึ้นไปยังอวกาศ ก่อนหน้านั้น สหภาพโซเวียตได้พยายามส่งมนุษย์ขึ้นไปหลายครั้ง คนที่ได้รับการเปิดเผยคือ วลาดีมีร์ โคมารอฟ เพื่อนของกาการิน ที่เสียชีวิตในเที่ยวบินทดสอบในโครงการโซยูส เนื่องจากร่มไม่กางระหว่างเดินทางกลับโลก ทำให้ร่างเขาแหลกด้วยแรงกระแทกพื้นโลก.

22 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2476พ.ศ. 2494พ.ศ. 2500พ.ศ. 2504พ.ศ. 2511กิโลเมตรมอสโกรัฐวิสาหกิจรอสคอสมอสลัทธิคอมมิวนิสต์วลาดีมีร์ โคมารอฟวอสตอค 1วันนักบินอวกาศสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซียสหภาพโซเวียตอักษรละตินคืนยูริซาราตอฟนักบินอวกาศเดอะนิวยอร์กไทมส์12 เมษายน27 มีนาคม9 มีนาคม

พ.ศ. 2476

ทธศักราช 2476 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1933.

ใหม่!!: ยูริ กาการินและพ.ศ. 2476 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2494

ทธศักราช 2494 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1951.

ใหม่!!: ยูริ กาการินและพ.ศ. 2494 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2500

ทธศักราช 2500 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1957 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอังคารตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น.

ใหม่!!: ยูริ กาการินและพ.ศ. 2500 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2504

ทธศักราช 2504 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1961 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอาทิตย์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: ยูริ กาการินและพ.ศ. 2504 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2511

ทธศักราช 2511 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1968 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันจันทร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: ยูริ กาการินและพ.ศ. 2511 · ดูเพิ่มเติม »

กิโลเมตร

กิโลเมตร อักษรย่อ กม. (mètre, km) เป็นหน่วยวัดความยาว มีขนาดเท่ากับ 1 × 103 เมตร.

ใหม่!!: ยูริ กาการินและกิโลเมตร · ดูเพิ่มเติม »

มอสโก

มอสโก (Moscow; Москва́, มะสฺกฺวา) เป็นเมืองหลวงของประเทศรัสเซีย เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การเงิน การศึกษา และ การเดินทางของประเทศ โดยตั้งอยู่ใกล้แม่น้ำมัสกวา ซึ่งในตัวเมืองมีประชากรอยู่อาศัยกว่า 1 ใน 10 ของประเทศ ทำให้เป็นเมืองที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดในยุโรป และเมื่อสมัยครั้งที่สหภาพโซเวียตยังไม่ล่มสลาย กรุงมอสโกก็ยังเป็นเมืองหลวงของสหภาพโซเวียตอีกด้วย ในปี..

ใหม่!!: ยูริ กาการินและมอสโก · ดูเพิ่มเติม »

รัฐวิสาหกิจรอสคอสมอส

องค์การอวกาศสหพันธรัฐรัสเซีย (Федеральное космическое агентство России Federal'noye kosmicheskoye agentstvo Rossii; Russian Federal Space Agency) หรือชื่อเรียกโดยทั่วไปว่า รอสคอสมอส (Роскосмос Roskosmos; Roscosmos) ตัวย่อว่า FKA (ФКА) และ RKA (РКА) เป็นองค์การของรัฐบาลที่รับผิดชอบกิจการด้านโครงการวิทยาศาสตร์และอวกาศของรัสเซีย รวมถึงการวิจัยด้านอวกาศยานโดยทั่วไป เดิมมีชื่อว่า Russian Aviation and Space Agency (Российское авиационно-космическое агентство Rossiyskoe aviatsionno-kosmicheskoe agentsvo, รู้จักโดยทั่วไปว่า "Rosaviakosmos") สำนักงานใหญ่ของรอสคอสมอสตั้งอยู่ในมอสโคว์ ศูนย์ควบคุมภารกิจการบินในอวกาศหลักตั้งอยู่ที่เมืองใกล้เคียงคือ โคโรเลฟ ศูนย์ฝึกอบรมนักบินอวกาศ (Cosmonauts Training Centre หรือ GCTC) อยู่ที่เมืองสตาร์ ฐานปล่อยใช้ Baikonur Cosmodrome ซึ่งอยู่ในคาซัคสถาน (การส่งยานทั้งแบบมีมนุษย์และไม่มีมนุษย์ควบคุมส่วนมากจะปล่อยจากที่นี่) และ Plesetsk Cosmodrome ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของรัสเซียใช้สำหรับภารกิจที่ไม่มีมนุษย์ควบคุม โดยมากในการระบุตำแหน่งที่ตั้งทางทหาร.

ใหม่!!: ยูริ กาการินและรัฐวิสาหกิจรอสคอสมอส · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิคอมมิวนิสต์

ในทางรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ ลัทธิคอมมิวนิสต์ (communism; communis แปลว่า "ร่วมกัน" หรือ "สากล") คืออุดมการณ์และขบวนการทางสังคม การเมือง และเศรษฐกิจ ซึ่งมีจุดมุ่งหมายสูงสุดคือการสถาปนาสังคมคอมมิวนิสต์ อันเป็นระเบียบทางสังคมบนพื้นฐานของความเป็นเจ้าของร่วมกัน (Common ownership) ของปัจจัยการผลิต (Means of production) และปราศจากชนชั้นทางสังคม เงินตรา และรัฐ ลัทธิคอมมิวนิสต์ปรากฏอยู่ในปรัชญาหรือแนวคิดหลากหลายทฤษฎีที่โดยรวม ๆ แล้วจะรวมถึงลัทธิมากซ์-อนาธิปไตย (ลัทธิคอมมิวนิสต์-อนาธิปไตย) และอุดมการณ์ทางการเมืองอื่น ๆ ซึ่งเชื่อมโยงกับสองแนวคิดนี้ โดยที่ทั้งหมดนี้มีบทวิเคราะห์สรุปร่วมกันว่าระเบียบทางสังคมในปัจจุบันอันถือกำเนิดถึงจากระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ประกอบไปด้วยชนชั้นทางสังคมสองชนชั้นหลักคือ "ชนชั้นแรงงาน" ผู้ที่ต้องทำงานเพื่ออยู่รอดและถือเป็นกลุ่มคนส่วนมากในสังคม และ "ชนชั้นนายทุน" อันเป็นชนกลุ่มน้อยในสังคม ผู้ถือเอากำไรจากการจ้างวานชนชั้นแรงงานผ่านการครอบครองปัจจัยการผลิตไว้เฉพาะส่วนตน ที่ซึ่งความขัดแย้งระหว่างสองชนชั้นนี้เองที่จะก่อให้เกิดการปฏิวัติ อันเป็นองค์ประกอบตั้งต้นที่จะช่วยให้เกิดการเปลี่ยนผ่านไปสู่การเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตร่วมกันของคนในสังคม (Social ownership) ด้วยความที่ลัทธิคอมมิวนิสต์มีอุดมคติที่ตรงกันข้ามกับลัทธิเสรีนิยมทางเศรษฐกิจ (Economic Liberalism) จึงทำให้เกิดความหวาดกลัวและการต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์อย่างกว้างขวางในช่วงสงครามเย็น ดังจะเห็นได้จากกระแส "ความหวาดกลัวแดง" (Red Scare) หรือ ลัทธิแม็คคาร์ธี ในอเมริกาช่วงต้นสงครามเย็น.

ใหม่!!: ยูริ กาการินและลัทธิคอมมิวนิสต์ · ดูเพิ่มเติม »

วลาดีมีร์ โคมารอฟ

วลาดีมีร์ มีคายโลวิช โคมารอฟ (Влади́мир Миха́йлович Комаро́в) เป็นนักบินทดสอบ, วิศวกรอวกาศยาน และ นักบินอวกาศ ของสหภาพโซเวียต เขาเป็นนักบินอวกาศรุ่นแรกของสหภาพโซเวียต ภารกิจ โซยูส 1 ทำให้เขากลายเป็นนักบินอวกาศคนแรกของโลกที่เดินทางไปอวกาศมากกว่าหนึ่งครั้ง และกลายเป็นมนุษย์คนแรกที่เสียชีวิตระหว่างปฏิบัติภารกิจด้านอวกาศ (ที่ได้รับการเปิดเผย) เขาเสียชีวิตระหว่างที่ยาน โซยูส 1 เดินทางกลับมายังโลก ในวันที่ 24 มีนาคม 1967 ระบบเกิดความผิดพลาดบางอย่างทำให้ร่มชูชีพไม่ทำงาน ทำให้กระสวยอวกาศของเขาพุ่งกระแทกพื้นโลกอย่างรุนแรง และทำให้เขาเสียชีวิตในทันที ซึ่งนั่นเองทำให้ไม่ถือว่าเขาเป็นมนุษย์คนแรกที่ตายในอวกาศ ในวันที่ 26 เมษายน 1967 รัฐบาลได้จัดรัฐพิธีศพให้แก่โคมารอฟในมอสโก และเถ้าอังคารของเขาก็ถูกฝังไว้ที่สุสานกำแพงเครมลิน บริเวณจัตุรัสแดง ในการนี้ นักบินอวกาศของสหรัฐอเมริกาได้ขอเป็นผู้แทนเข้าร่วมรัฐพิธีศพด้วย แต่ได้รับการปฏิเสธจากโซเวียต ภารกิจสุดท้ายบนดวงจันทร์ของ นีล อาร์มสตรอง ในโครงการ อะพอลโล 11 ก่อนที่จะกลับโลก อาร์มสตรองได้วางแผ่นเหล็กเพื่อเป็นอนุสรณ์และเกียรติยศไว้บนผืนดวงจันทร์ บนแผ่นเหล็กนั้นจารึกชื่อนักบินอวกาศโซเวียตคือ ยูริ กาการิน, วลาดิมีร์ โคมารอฟ และนักบินอวกาศของอะพอลโล 1 ได้แก่ เวิร์จิล กริสซัม, เอ็ดวาร์ด ไวท์ และ โรเจอร์ แคฟฟี.

ใหม่!!: ยูริ กาการินและวลาดีมีร์ โคมารอฟ · ดูเพิ่มเติม »

วอสตอค 1

วอสตอค 1 (Vostok 1) เป็นภารกิจอวกาศครั้งแรกในโครงการวอสตอค และเป็นครั้งแรกของการบินอวกาศที่มีมนุษย์ขึ้นไปในประวัติศาสตร์ วอสตอค 3เคเอถูกส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อวันที่ 12 เมษายน ค.ศ. 1961 เที่ยวบินนี้มียูริ กาการิน นักบินอวกาศจากสหภาพโซเวียตขึ้นสู่อวกาศ เป็นเที่ยวบินครั้งแรกที่มีมนุษย์ขึ้นสู่อวกาศ เช่นเดียวกับเที่ยวบินแรกของวงโคจรของยานพาหนะบรรจุ วอสตอค 1 ถูกส่งโดยโครงการอวกาศโซเวียต และได้รับการออกแบบโดยวิศวกรชาวโซเวียตนำโดย เซอร์ไก โคโรเลฟ ภายใต้การกำกับดูแลของKerim Kerimov และคนอื่น.

ใหม่!!: ยูริ กาการินและวอสตอค 1 · ดูเพิ่มเติม »

วันนักบินอวกาศ

วันนักบินอวกาศ (Cosmonautics Day, День Космона́втики) เป็นวันหยุดในรัสเซียและบางประเทศอดีตสหภาพโซเวียตอื่น ตรงกับวันที่ 12 เมษายนของทุกปี เพื่อเฉลิมฉลองการบินอวกาศครั้งแรกของมนุษย์ในวันที่ 12 เมษายน..

ใหม่!!: ยูริ กาการินและวันนักบินอวกาศ · ดูเพิ่มเติม »

สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย

หพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย (date|r.

ใหม่!!: ยูริ กาการินและสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

สหภาพโซเวียต

หภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต (Сою́з Сове́тских Социалисти́ческих Респу́блик - CCCP; Union of Soviet Socialist Republics - USSR) หรือย่อเป็น สหภาพโซเวียต (Soviet Union) เป็นประเทศอภิมหาอำนาจในอดีตบนทวีปยูเรเชีย ระหว่างปี..

ใหม่!!: ยูริ กาการินและสหภาพโซเวียต · ดูเพิ่มเติม »

อักษรละติน

อักษรละติน หรือ อักษรโรมัน เป็นระบบตัวเขียนแบบตัวอักษร สันนิษฐานว่าอักษรละตินมีที่มาจากอักษรคิวมี (Cumae alphabet) ซึ่งดัดแปลงมาจากอักษรกรีกอีกทอดหนึ่ง ที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก โดยเฉพาะประเทศในยุโรปและอเมริกา และประเทศในเอเชียที่นำอักษรละตินมาใช้ในภายหลังเช่น ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศเวียดนาม ประเทศมาเลเซีย ประเทศเติร์กเมนิสถาน ประเทศทาจิกิสถาน ประเทศอาเซอร์ไบจาน ประเทศตุรกี และประเทศฟิลิปปินส์ รวมถึงการเขียนภาษาด้วยอักษรโรมัน (romanization) ในภาษาต่างๆ เช่น พินอิน (ภาษาจีน) หรือ โรมะจิ (ภาษาญี่ปุ่น).

ใหม่!!: ยูริ กาการินและอักษรละติน · ดูเพิ่มเติม »

คืนยูริ

ลโก้ คืนยูริ (Yuri's Night) เป็นการเฉลิมฉลองระหว่างประเทศ ตรงกับวันที่ 12 เมษายนของทุกปี จัดขึ้นเพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์สำคัญในการสำรวจอวกาศ คือ การส่งยูริ กาการิน เป็นมนุษย์อวกาศคนแรก ขึ้นสู่อวกาศไปกับยานวอสตอค 1 เมื่อวันที่ 12 เมษายน..

ใหม่!!: ยูริ กาการินและคืนยูริ · ดูเพิ่มเติม »

ซาราตอฟ

ซาราตอฟ (p เป็นนครในประเทศรัสเซีย เป็นศูนย์กลางการปกครองของแคว้นซาราตอฟ เป็นท่าเรือที่สำคัญบนฝั่งแม่น้ำวอลกา ตั้งอยู่บริเวณต้นน้ำ (ทิศเหนือ) ของวอลโกกราด เมืองมีประชากร 837,900 คน (ค.ศ. 2010); 873,055 คน (ค.ศ. 2002); 904,643 คน (ค.ศ. 1989).

ใหม่!!: ยูริ กาการินและซาราตอฟ · ดูเพิ่มเติม »

นักบินอวกาศ

รูซ แมคแคนด์เลส 2 นักบินอวกาศชาวอเมริกัน ขณะทำงานอยู่นอกกระสวยอวกาศชาเลนเจอร์ เมื่อ พ.ศ. 2527 (ภาพจากองค์การนาซา) นักบินอวกาศ คือ บุคคลที่เดินทางไปกับยานอวกาศ ไม่ว่าจะไปในฐานะใด และไม่ว่าจะไปด้วยยานอวกาศแบบไหน ทั้งที่โคจรรอบโลก (ในระยะสูงจากพื้นราว 80-100 กิโลเมตรขึ้นไป) หรือที่เดินทางออกไปยังตำแหน่งอื่นใดนอกวงโคจรของโลก คำว่า นักบินอวกาศ ในภาษาไทย นั้น ตรงกับคำศัพท์ในภาษาอังกฤษ ว่าแอสโตรนอท (astronaut) ซึ่งมีความหมายอย่างที่กล่าวมา เป็นที่น่าสังเกตว่า คำว่า นักบินอวกาศ ไม่ได้มีความหมายเฉพาะผู้ที่เป็นนักบิน (pilot) เท่านั้น แต่มีความหมายอย่างที่อาจเข้าใจได้ง่ายๆ ว่า ลูกเรืออวกาศ นั่นเอง อย่างไรก็ตาม ในภาษาไทยยังมีคำศัพท์อีกคำ ที่มีความหมายเช่นนี้ นั่นคือ มนุษย์อวกาศ คำว่า แอสโตรนอท ในภาษาอังกฤษนั้น มีที่มาจากคำศัพท์ในภาษากรีก สองคำ คือ astro หมายถึงดวงดาว และ nautes ซึ่งหมายถึง กะลาสี ปัจจุบันมีนักบินอวกาศหลายชาติ จึงมีการสร้างคำสำหรับเรียกนักบินอวกาศของแต่ละชาติต่างๆ กัน เช่น นักบินในโครงการอวกาศของรัสเซีย เรียกว่า คอสโมนอท (cosmonaut) อันเป็นการสร้างคำจากคำศัพท์จากภาษากรีกเช่นกัน โดยใช้คำว่า kosmo ที่หมายถึง อวกาศ และคำว่า nautes ที่หมายถึง กะลาสี ส่วนในยุโรป มีการสร้างศัพท์ขึ้นใหม่ ว่า สเปชันนอท (spationaut) เป็นคำประสม ระหว่าง space ในภาษาละติน (อวกาศ) และ nautes ในภาษากรีก (กะลาสี) โดยมีความหมายว่านักบินอวกาศ หรือมนุษย์อวกาศ นั่นเอง นอกจากนี้ยังมีคำว่า ไทโคนอท (Taikonaut) เป็นคำศัพท์ที่คิดขึ้นใหม่ เมื่อ เดือนพฤษภาคม ปี..

ใหม่!!: ยูริ กาการินและนักบินอวกาศ · ดูเพิ่มเติม »

เดอะนิวยอร์กไทมส์

อะนิวยอร์กไทมส์ (The New York Times) เป็นหนังสือพิมพ์รายวันที่ตีพิมพ์ในนครนิวยอร์กและจัดจำหน่ายไปทั่วโลก จัดการโดยบริษัทเดอะนิวยอร์กไทมส์ซึ่งตีพิมพ์หนังสือพิมพ์อื่นๆอีก 15 ฉบับ รวมถึง International Herald Tribune และ The Boston Globe ด้วย เดอะนิวยอร์กไทมส์เป็นหนังสือพิมพ์มหานครที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา มีฉายาว่า "Gray Lady" (สุภาพสตรีสีเทา) ก็เพราะหน้าตาและสำนวนที่ขรึมขลัง ถูกเรียกว่าเป็นหนังสือพิมพ์ที่บันทึกแห่งการณ์ต่างๆของชาติ เพราะมันมักถูกใช้เป็นแหล่งอ้างอิงที่เป็นทางการและได้รับความเชื่อถือ ก่อตั้งเมื่อ..

ใหม่!!: ยูริ กาการินและเดอะนิวยอร์กไทมส์ · ดูเพิ่มเติม »

12 เมษายน

วันที่ 12 เมษายน เป็นวันที่ 102 ของปี (วันที่ 103 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 263 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ยูริ กาการินและ12 เมษายน · ดูเพิ่มเติม »

27 มีนาคม

วันที่ 27 มีนาคม เป็นวันที่ 86 ของปี (วันที่ 87 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 279 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ยูริ กาการินและ27 มีนาคม · ดูเพิ่มเติม »

9 มีนาคม

วันที่ 9 มีนาคม เป็นวันที่ 68 ของปี (วันที่ 69 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 297 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ยูริ กาการินและ9 มีนาคม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Yuri Gagarinกาการิน

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »