โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

วอสตอค 1

ดัชนี วอสตอค 1

วอสตอค 1 (Vostok 1) เป็นภารกิจอวกาศครั้งแรกในโครงการวอสตอค และเป็นครั้งแรกของการบินอวกาศที่มีมนุษย์ขึ้นไปในประวัติศาสตร์ วอสตอค 3เคเอถูกส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อวันที่ 12 เมษายน ค.ศ. 1961 เที่ยวบินนี้มียูริ กาการิน นักบินอวกาศจากสหภาพโซเวียตขึ้นสู่อวกาศ เป็นเที่ยวบินครั้งแรกที่มีมนุษย์ขึ้นสู่อวกาศ เช่นเดียวกับเที่ยวบินแรกของวงโคจรของยานพาหนะบรรจุ วอสตอค 1 ถูกส่งโดยโครงการอวกาศโซเวียต และได้รับการออกแบบโดยวิศวกรชาวโซเวียตนำโดย เซอร์ไก โคโรเลฟ ภายใต้การกำกับดูแลของKerim Kerimov และคนอื่น.

12 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2504ยูริ กาการินรัฐวิสาหกิจรอสคอสมอสสหภาพโซเวียตอวกาศนักบินอวกาศโครงการวอสตอคโครงการอวกาศโซเวียตไบโคนูร์คอสโมโดรมเวลาสากลเชิงพิกัดเซียร์เกย์ โคโรเลฟ12 เมษายน

พ.ศ. 2504

ทธศักราช 2504 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1961 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอาทิตย์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: วอสตอค 1และพ.ศ. 2504 · ดูเพิ่มเติม »

ยูริ กาการิน

นาวาอากาศเอก ยูริ อะเลคเซเยวิช กาการิน (Юрий Алексеевич Гагарин; อักษรโรมัน: Yuri Alekseyevich Gagarin) ชาวโซเวียต เป็นนักบินอวกาศคนแรกของโลกที่สามารถเดินทางกลับโลกอย่างปลอดภัย เกิดเมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2476 ในเมืองกชาทสค์ และเสียชีวิตวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2511 ใกล้กรุงมอสโก กาการินเป็นบุตรช่างไม้ในนารวม (เมื่อครั้งรัสเซียเป็นประเทศคอมมิวนิสต์) ได้เรียนเป็นช่างปั้นจากโรงเรียนการค้าใกล้กรุงมอสโก ปี พ.ศ. 2494 จากนั้นศึกษาต่อในวิทยาลัยอุตสาหกรรมที่เมืองซาราตอฟ และในเวลาเดียวกันก็เข้าอบรมการบินด้วย เมื่อสำเร็จหลักสูตรก็เข้าโรงเรียนนายเรืออากาศโซเวียต ในโอเรนบูร์ก และสำเร็จการศึกษาในปี พ.ศ. 2500 ภารกิจของยูริกาการินครั้งนี้ไม่ได้ประกาศเป็นการล่วงหน้า ยานวอสตอค 1 (Vostok 1) ของกาการินมีน้ำหนัก 4 ¾ ตัน ปล่อยจากฐานยิงเมื่อเวลา 9.07 น. วันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2504 และโคจรรอบโลก 1 รอบ ใช้เวลา 1 ชั่วโมง 48 นาที ที่ระดับความสูงมากที่สุด 187 ไมล์ (301 กิโลเมตร) และลงจอดเมื่อเวลา 10.55 นาฬิกา ตามเวลาในรัสเซีย ซึ่งการบินในอวกาศครั้งนี้ทำให้กาการินมีชื่อเสียงก้องไปทั่วโลก และได้รับเครื่องประดับเกียรติยศเลนิน และได้ตำแหน่งเป็นวีรบุรุษแห่งสหภาพโซเวียต นอกจากนี้ยังมีการสร้างอนุสรณ์สถานและตั้งชื่อถนนเพื่อเป็นเกียรติแต่กาการินในสถานที่หลายแห่งทั่วประเทศ ยูริ กาการินไม่ใช่มนุษย์คนแรกที่ขึ้นไปยังอวกาศ ก่อนหน้านั้น สหภาพโซเวียตได้พยายามส่งมนุษย์ขึ้นไปหลายครั้ง คนที่ได้รับการเปิดเผยคือ วลาดีมีร์ โคมารอฟ เพื่อนของกาการิน ที่เสียชีวิตในเที่ยวบินทดสอบในโครงการโซยูส เนื่องจากร่มไม่กางระหว่างเดินทางกลับโลก ทำให้ร่างเขาแหลกด้วยแรงกระแทกพื้นโลก.

ใหม่!!: วอสตอค 1และยูริ กาการิน · ดูเพิ่มเติม »

รัฐวิสาหกิจรอสคอสมอส

องค์การอวกาศสหพันธรัฐรัสเซีย (Федеральное космическое агентство России Federal'noye kosmicheskoye agentstvo Rossii; Russian Federal Space Agency) หรือชื่อเรียกโดยทั่วไปว่า รอสคอสมอส (Роскосмос Roskosmos; Roscosmos) ตัวย่อว่า FKA (ФКА) และ RKA (РКА) เป็นองค์การของรัฐบาลที่รับผิดชอบกิจการด้านโครงการวิทยาศาสตร์และอวกาศของรัสเซีย รวมถึงการวิจัยด้านอวกาศยานโดยทั่วไป เดิมมีชื่อว่า Russian Aviation and Space Agency (Российское авиационно-космическое агентство Rossiyskoe aviatsionno-kosmicheskoe agentsvo, รู้จักโดยทั่วไปว่า "Rosaviakosmos") สำนักงานใหญ่ของรอสคอสมอสตั้งอยู่ในมอสโคว์ ศูนย์ควบคุมภารกิจการบินในอวกาศหลักตั้งอยู่ที่เมืองใกล้เคียงคือ โคโรเลฟ ศูนย์ฝึกอบรมนักบินอวกาศ (Cosmonauts Training Centre หรือ GCTC) อยู่ที่เมืองสตาร์ ฐานปล่อยใช้ Baikonur Cosmodrome ซึ่งอยู่ในคาซัคสถาน (การส่งยานทั้งแบบมีมนุษย์และไม่มีมนุษย์ควบคุมส่วนมากจะปล่อยจากที่นี่) และ Plesetsk Cosmodrome ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของรัสเซียใช้สำหรับภารกิจที่ไม่มีมนุษย์ควบคุม โดยมากในการระบุตำแหน่งที่ตั้งทางทหาร.

ใหม่!!: วอสตอค 1และรัฐวิสาหกิจรอสคอสมอส · ดูเพิ่มเติม »

สหภาพโซเวียต

หภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต (Сою́з Сове́тских Социалисти́ческих Респу́блик - CCCP; Union of Soviet Socialist Republics - USSR) หรือย่อเป็น สหภาพโซเวียต (Soviet Union) เป็นประเทศอภิมหาอำนาจในอดีตบนทวีปยูเรเชีย ระหว่างปี..

ใหม่!!: วอสตอค 1และสหภาพโซเวียต · ดูเพิ่มเติม »

อวกาศ

อวกาศ (outer space, หรือ space) คือ ความว่างเปล่าที่มีอยู่ระหว่างวัตถุท้องฟ้า รวมถึงโลก อวกาศมิได้ว่างเปล่าอย่างสิ้นเชิง แต่ประกอบด้วยสุญญากาศแข็งที่ประกอบด้วยอนุภาคความหนาแน่นต่ำ ซึ่งมีพลาสมาของไฮโดรเจนและฮีเลียมเป็นหลัก เช่นเดียวกับรังสีแม่เหล็กไฟฟ้า สนามแม่เหล็กและนิวตริโน ปัจจุบัน การสังเกตได้พิสูจน์แล้วว่าอวกาศยังมีสสารมืดและพลังงานมืดอยู่ด้วย อุณหภูมิเส้นฐานกำหนดโดยรังสีพื้นหลังที่หลงเหลือจากบิกแบงมีค่าเพียง 2.7 เคลวิน ในทางตรงข้าม อุณหภูมิในโคโรนาของดาวฤกษ์อาจสูงถึงหนึ่งล้านเคลวิน พลาสมาที่มีความหนาแน่นต่ำมาก (น้อยกว่าหนึ่งอะตอมไฮโดรเจนต่อลูกบาศก์เมตร) และอุณหภูมิสูง (หลายล้านเคลวิน) ในอวกาศระหว่างดาราจักรเป็นที่มาของสสารแบริออน (baryonic matter) ในอวกาศ ความเข้มข้นเฉพาะถิ่นรวมกันเป็นดาวฤกษ์และดาราจักร อวกาศระหว่างดาราจักรกินปริมาตรส่วนใหญ่ของเอกภพ กระนั้น แม้แต่ดาราจักรและระบบดาวฤกษ์ก็แทบเป็นอวกาศที่ว่างเปล่าสิ้นเชิง หมวดหมู่:สุญญากาศ หมวดหมู่:โครงสร้างขนาดใหญ่ในเอกภพ.

ใหม่!!: วอสตอค 1และอวกาศ · ดูเพิ่มเติม »

นักบินอวกาศ

รูซ แมคแคนด์เลส 2 นักบินอวกาศชาวอเมริกัน ขณะทำงานอยู่นอกกระสวยอวกาศชาเลนเจอร์ เมื่อ พ.ศ. 2527 (ภาพจากองค์การนาซา) นักบินอวกาศ คือ บุคคลที่เดินทางไปกับยานอวกาศ ไม่ว่าจะไปในฐานะใด และไม่ว่าจะไปด้วยยานอวกาศแบบไหน ทั้งที่โคจรรอบโลก (ในระยะสูงจากพื้นราว 80-100 กิโลเมตรขึ้นไป) หรือที่เดินทางออกไปยังตำแหน่งอื่นใดนอกวงโคจรของโลก คำว่า นักบินอวกาศ ในภาษาไทย นั้น ตรงกับคำศัพท์ในภาษาอังกฤษ ว่าแอสโตรนอท (astronaut) ซึ่งมีความหมายอย่างที่กล่าวมา เป็นที่น่าสังเกตว่า คำว่า นักบินอวกาศ ไม่ได้มีความหมายเฉพาะผู้ที่เป็นนักบิน (pilot) เท่านั้น แต่มีความหมายอย่างที่อาจเข้าใจได้ง่ายๆ ว่า ลูกเรืออวกาศ นั่นเอง อย่างไรก็ตาม ในภาษาไทยยังมีคำศัพท์อีกคำ ที่มีความหมายเช่นนี้ นั่นคือ มนุษย์อวกาศ คำว่า แอสโตรนอท ในภาษาอังกฤษนั้น มีที่มาจากคำศัพท์ในภาษากรีก สองคำ คือ astro หมายถึงดวงดาว และ nautes ซึ่งหมายถึง กะลาสี ปัจจุบันมีนักบินอวกาศหลายชาติ จึงมีการสร้างคำสำหรับเรียกนักบินอวกาศของแต่ละชาติต่างๆ กัน เช่น นักบินในโครงการอวกาศของรัสเซีย เรียกว่า คอสโมนอท (cosmonaut) อันเป็นการสร้างคำจากคำศัพท์จากภาษากรีกเช่นกัน โดยใช้คำว่า kosmo ที่หมายถึง อวกาศ และคำว่า nautes ที่หมายถึง กะลาสี ส่วนในยุโรป มีการสร้างศัพท์ขึ้นใหม่ ว่า สเปชันนอท (spationaut) เป็นคำประสม ระหว่าง space ในภาษาละติน (อวกาศ) และ nautes ในภาษากรีก (กะลาสี) โดยมีความหมายว่านักบินอวกาศ หรือมนุษย์อวกาศ นั่นเอง นอกจากนี้ยังมีคำว่า ไทโคนอท (Taikonaut) เป็นคำศัพท์ที่คิดขึ้นใหม่ เมื่อ เดือนพฤษภาคม ปี..

ใหม่!!: วอสตอค 1และนักบินอวกาศ · ดูเพิ่มเติม »

โครงการวอสตอค

นวอสตอค โครงการวอสตอค (Vostok Programme) “วอสตอค” แปลว่าตะวันออก เป็นโครงการส่งมนุษย์สู่อวกาศของสหภาพโซเวียตที่จะส่งนักบินขึ้นบินโคจรรอบโลกเป็นครั้งแรกของโลก โครงการวอสตอคได้พัฒนาต่อมาจากโครงการดาวเทียมสอดแนมชื่อ “เซนิท” และปรับปรุงจรวดส่งยานจากแบบของขีปนาวุธข้ามทวีป (ICBM) เดิม ก่อนการออกข่าวเปิดเผยโครงการ ชื่อโครงการวอสตอคถูกจัดไว้ในชั้นความลับ ชุดของโครงการยานวอสตอคประกอบด้วย การส่งสัตว์ขึ้นสู่อวกาศก่อนแล้วตามด้วยการบินทดสอบด้วยหุ่นมนุษย์ 5 โครงการ เพื่อให้แน่ใจว่ายานมีความเหมาะสมกับมนุษย์ ลำดับของการส่งยานอวกาศตามโครงการมีดังนี้.

ใหม่!!: วอสตอค 1และโครงการวอสตอค · ดูเพิ่มเติม »

โครงการอวกาศโซเวียต

รวดอาร์-7 โครงการอวกาศโซเวียต ประกอบด้วยการพัฒนา จรวด และ การสำรวจอวกาศเป็นโครงการที่จัดทำโดยอดีต สหภาพโซเวียตจากช่วงทศวรรษที่ 1930 จนถึงการ สลายตัว ในปี..

ใหม่!!: วอสตอค 1และโครงการอวกาศโซเวียต · ดูเพิ่มเติม »

ไบโคนูร์คอสโมโดรม

"กาการินส์สตาร์ท" หนึ่งในฐานปล่อยของไบโคนูร์คอสโมโดรม แผนที่แสดงตำแหน่งที่ตั้งของไบโคนูร์คอสโมโดรมในประเทศคาซัคสถาน ไบโคนูร์คอสโมโดรม (Космодром Байконур; Байқоңыр ғарыш айлағы; Baikonur Cosmodrome) หรือเรียกว่า ไทยูเรตัม (Tyuratam) เป็นศูนย์ปล่อยอวกาศยานแห่งแรกและใหญ่ที่สุดของโลก ตั้งอยู่ในเขตทะเลทรายทุ่งหญ้าสเตปป์ของประเทศคาซัคสถาน ห่างจากทะเลอารัลไปทางทิศตะวันออกราว 200 กิโลเมตร ทางเหนือของแม่น้ำเซียร์ดาเรีย ใกล้กับสถานีรถไฟไทยูเรตัม ที่ความสูง 90 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล รัฐบาลรัสเซียเช่าศูนย์ดังกล่าวจากรัฐบาลคาซัคสถาน (จนถึง ค.ศ. 2050) และอยู่ภายใต้การบริหารร่วมกันขององค์การอวกาศสหพันธรัฐรัสเซียและกำลังป้องกันห้วงอากาศ-อวกาศรัสเซีย สหภาพโซเวียตสร้างศูนย์ดังกล่าวเมื่อปลายคริสต์ทศวรษ 1950 เป็นฐานปฏิบัติการโครงการอวกาศภายใต้โครงการอวกาศรัสเซียในปัจจุบัน ไบโคนูร์ยังเป็นศูนย์ที่คับคั่ง โดยมีภารกิจทางพาณิชย์ ทางทหารและทางวิทยาศาสตร์ถูกปล่อยจำนวนมากทุกปี วอสตอก 1 ยานอวกาศที่มีมนุษย์โดยสารขึ้นไปด้วยลำแรกในประวัติศาสตร์ ถูกปล่อยขึ้นสู่อวกาศจากหนึ่งในฐานปล่อยของไบโคนูร์ ซึ่งปัจจุบันเป็นที่รู้จักกันว่า "กาการินส์สตาร์ท" ตามชื่อของนักบินคือ ยูริ กาการิน เช่นเดียวกับดาวเทียมดวงแรกของโลก ดาวเทียมสปุตนิก 1.

ใหม่!!: วอสตอค 1และไบโคนูร์คอสโมโดรม · ดูเพิ่มเติม »

เวลาสากลเชิงพิกัด

แผนที่โลกแสดงเขตเวลาในปัจจุบัน เวลาสากลเชิงพิกัด (Coordinated Universal Time; ตัวย่อ: UTC) คือ หน่วยเวลาที่ใช้ในการอ้างอิงการหมุนของโลก โดยใช้เครื่องหมายบวก (+) หรือลบ (-) เทียบจากหน่วยเวลาสากลซึ่งเป็นระบบอ้างอิงจากเวลามาตรฐานกรีนิช (GMT) จุดอ้างอิงของเวลาสากลเชิงพิกัดคือที่ลองจิจูด ที่ 0° ที่ตัดผ่านหอดูดาวหลวงกรีนิชในกรีนิช ลอนดอน สหราชอาณาจักร (และเป็นสาเหตุหลักที่เวลามาตรฐานกรีนิชยังคงมีใช้อยู่ในปัจจุบัน).

ใหม่!!: วอสตอค 1และเวลาสากลเชิงพิกัด · ดูเพิ่มเติม »

เซียร์เกย์ โคโรเลฟ

ซียร์เกย์ ปัฟโลวิช โคโรเลฟ (a, translit) Sergei Pavlovich Korolev,12 มกราคม..

ใหม่!!: วอสตอค 1และเซียร์เกย์ โคโรเลฟ · ดูเพิ่มเติม »

12 เมษายน

วันที่ 12 เมษายน เป็นวันที่ 102 ของปี (วันที่ 103 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 263 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: วอสตอค 1และ12 เมษายน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Vostok 1

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »